แนวโน้มสำคัญของเกษตรไทยยุคใหม่ โดยแบ่งออกเป็น 3 เทรนด์

เกษตรเชิงข้อมูล (Data-driven farming) เกษตรกรนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาปรับใช้ในการวางแผนการทำงาน เพื่อ ทำให้เกิดความแม่นยำในการทำการเกษตร ลดต้นทุน เพิ่มคุณภาพของผลผลิต และสอดคล้องต่อความต้องการของตลาด พลังงานหมุนเวียน (Renewable energy) คิดค้นนวัตกรรมเครื่องมือที่ทำให้เกิดการนำพลังงานมาใช้อย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดประสิทธิภาพในการผลิต ควบคุมศัตรูพืชด้วยชีววิธี (Bio-pesticides) ใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านร่วมกับงานวิจัยที่เกษตรกรคิดค้นขึ้น ทำให้ได้ผลผลิตที่มีความปลอดภัยและลดต้นทุนจากสารเคมีได้

ทางด้าน นายบุญชัย เบญจรงคกุล ประธานกรรมการ มูลนิธิร่วมด้วยช่วยกันสำนึกรักบ้านเกิด ยังกล่าวว่า โครงการประกวดเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด ได้ดำเนินการต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 9 ปีนี้จัดขึ้นภายใต้แนวคิดเกษตรแบบครบวงจร โดยเน้นการใช้นวัตกรรมเป็นตัวขับเคลื่อนภาคเกษตรกรรม สอดคล้องกับยุทธศาสตร์พัฒนาประเทศ Thailand 4.0

เกษตรกรต้นแบบที่เข้ารอบทั้ง 10 คนในปีนี้ มีคุณลักษณะโดดเด่นในเรื่องทักษะการบริหารจัดการทรัพยากรที่ดิน แรงงาน ทุน ตลอดจนการเพาะปลูกและแปรรูปสินค้าที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค อยู่บนพื้นฐานการใช้องค์ความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ตลอดจนการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ามาประยุกต์ใช้กับนวัตกรรมสมัยใหม่ เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์การเกษตรให้มีคุณภาพมากขึ้น

นอกจากนี้ ยังมีทักษะความเป็นเกษตรกรมืออาชีพ สามารถใช้เทคโนโลยีเพื่อเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร และนำมาใช้ในการบริหารจัดการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ เปลี่ยนการเกษตรแบบดั้งเดิมสู่เกษตรสมัยใหม่ รู้จักการวางแผนธุรกิจ ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมสร้างการตลาดนำการผลิต พร้อมทั้งแบ่งปันบทเรียนและถ่ายทอดประสบการณ์แก่เกษตรกรทั่วไป

มูลนิธิฯ มีความภาคภูมิใจเป็นอย่างมาก เพราะปีนี้ นอกจากเราจะได้เกษตรกรต้นแบบ 10 ท่านที่เป็นคนเก่งแล้ว เรายังได้เกษตรกรที่มีความภูมิใจในการเป็นเกษตรกรอย่างยิ่ง รวมทั้งเป้นผู้ที่มีจิตสำนึกที่ดีในการคำนึงถึงคุณภาพสินค้า ความปลอดภัยของผู้บริโภค ตลอดจนความใส่ใจในการมีส่วนร่วมสร้างสรรค์สังคมและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

สำหรับผู้ได้รับรางวัล โครงการประกวดเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด ประจำปี 2560 คณะกรรมการได้ตัดสินให้เกษตรกรหัวคิดแบบนักวิจัย นางสาวจิราวรรณ คำซาว เกษตรกรผู้เพาะเห็ดถั่งเช่าจากปุ๋ยชีวภาพ จากจังหวัดเชียงใหม่ เป็นผู้ชนะเลิศ รองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ นายพิเชษฐ์ กันทะวงศ์ เกษตรกรผู้เพาะปลูกเมล่อน ภายใต้แบรนด์โอโซนฟาร์ม จากจังหวัดเชียงราย และรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ นางสาวสิริพร เที่ยงสันเที้ยะ เกษตรกรยุคดิจิทัล ผู้ปลูกข้าวไรซ์เบอรี่จากไร่พวงทรัพย์ จังหวัดสุพรรณบุรี

นางสาวจิราวรรณ คำซาว เกษตรกรผู้เพาะเห็ดถั่งเช่าจากปุ๋ยชีวภาพ จากจังหวัดเชียงใหม่ ผู้ชนะเลิศโครงการประกวดเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด ประจำปี พ.ศ.2560 โดยชูจุดเด่นด้านนวัตกรรม พัฒนาสินค้าเกษตรอินทรีย์ ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคในปัจจุบัน และมีแนวโน้มเติบโตในอนาคต โดยนำความรู้ที่เรียนในระดับปริญญาเอก มาต่อยอดพัฒนาปุ๋ยชีวภาพทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมี สร้างแบรนด์ของตัวเอง ทั้งยังใช้เทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด ทำให้ผู้บริโภคตรวจสอบที่มาของสินค้าได้ นอกจากนี้ ยังรวมกลุ่มกับวิสาหกิจชุมชนกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น

ทั้งนี้ เกษตรกรยุคใหม่ที่เข้าร่วมการโครงการประกวดเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิดทุกคนล้วนได้รับความรู้เรื่องเทคโนโลยีการสื่อสารยุคใหม่เพื่อมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนเองให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย เป็นการเพิ่มรายได้ในช่องทางออนไลน์ที่อาจจะไม่ต้องพึ่งการมีหน้าร้าน นับว่าโครงการประกวดนี้สามารถสร้างเกษตรกรที่มีคุณภาพเข้าใจสื่อยุคใหม่และสามารถนำมาปรับใช้กับผลิตภัณฑ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เกษตรกรนับเป็นอาชีพที่เต็มไปด้วยความความวิริยะอุตสาหะ ต้องอุทิศทั้งกายและใจ ไม่ง่ายเลยที่เกษตรกรคนหนึ่งจะประสบความสำเร็จได้ง่ายๆ เพราะมีหลายปัจจัยที่ต้องฝ่าฟันในแต่ละวัน

อนาวิน รุ่งโรจน์พันทวี ชาวเขาเผ่าอาข่าคนหนึ่ง ได้ใช้ความพยายาม อดทน และมุ่งมั่น เอาชนะความยากลำบากต่างๆ จนกระทั่งเขาประสบความสำเร็จในธุรกิจกาแฟ สามารถส่งออกเมล็ดกาแฟไปขายต่างประเทศ และสร้างแบรนด์เป็นของตนเองชื่อ “กาแฟชาวอาข่า” ด้วยความแข็งแกร่งและความมุ่งมั่นของอนาวิน ทำให้เขาได้รับเลือกเป็นหนึ่งใน “เกษตรคนแกร่ง” จากฟอร์ด ประเทศไทยเพื่อร่วมถ่ายทอดเรื่องราวสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ผู้อื่นต่อไป

อนาวิน รุ่งโรจน์พันทวี เกษตรกรบ้านแม่จันใต้ อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย เติบโตมาในชุมชนซึ่งมีการปลูกฝิ่นสืบทอดกันมาตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายาย แต่เขาตระหนักได้ว่า การปลูกฝิ่นนอกจากผิดกฎหมายแล้ว การเสพติดฝิ่นก็ยังส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายของชาวบ้านอีกด้วย

เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 มีพระราชดำริให้ชาวไทยภูเขาเลิกปลูกฝิ่นหันมาปลูกพืชเมืองหนาวอื่นทดแทน อนาวินจึงได้เริ่มต้นการปลูกกาแฟสายพันธุ์อาราบิกาหาเลี้ยงชีพโดยรับตัวอย่างกล้ากาแฟจากศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดเชียงราย หรือเกษตรที่สูง เมื่อเห็นว่าหลายๆ พื้นที่ เช่น ดอยช้างสามารถปลูกกาแฟได้ผลดี บ้านแม่จันใต้ ซึ่งมีสภาพพื้นที่และสภาพอากาศใกล้เคียงกันก็น่าจะปลูกได้เหมือนกัน

สำหรับการปลูกกาแฟนั้น อนาวินเผยว่า “เราเริ่มที่จะปลูกในฤดูฝนและเลือกต้นกล้าที่แข็งแรง ปัจจัยสำคัญขึ้นอยู่กับสภาพภูมิประเทศและสภาพอากาศ คือ ต้องอยู่บนดอยที่ไม่สูงนัก ไม่เช่นนั้นจะแห้งแล้งเกินไป มีอากาศเย็นตลอดปี อย่างเช่นพื้นที่ที่เคยปลูกฝิ่นมาก่อนเป็นพื้นที่ที่สามารถปลูกกาแฟได้ดีมีคุณภาพ นั่นจึงเป็นที่มาของคำว่า “เปลี่ยนแดนฝิ่น เป็นถิ่นกาแฟ” นั่นเอง”

นอกจากกาแฟอาราบิกาแล้ว อนาวินยังปลูกชาอัสสัมและผลไม้เมืองหนาวอื่นๆ รวมอยู่ด้วย เช่น บ๊วย ท้อ เชอร์รี่ พลับ และส้ม เขาให้เหตุผลว่า ผลไม้เหล่านี้ทำให้กาแฟมีกลิ่นหอมและจะมีรสชาติของผลไม้ติดอยู่ กลายเป็นจุดเด่นหนึ่งของกาแฟชาวอาข่าที่สามารถส่งออกไปขายยังหลายๆ ประเทศ และอีกสิ่งหนึ่งที่เป็นจุดเด่นของกาแฟชาวอาข่าคือ อนาวินรับรองว่าไม่มีตัวมอดมากินเมล็ดกาแฟแน่นอน เพราะสภาพอากาศของบ้านแม่จันใต้หนาวเย็นจนมอดไม่สามารถอยู่ได้ และเขาจะไม่ใช้กระสอบจากหมู่บ้านอื่นมาบรรจุเมล็ดกาแฟของบ้านแม่จันใต้ด้วย

อย่างไรก็ดี เส้นทางการทำไร่กาแฟของชาวอาข่าผู้นี้ก็ไม่ได้ราบรื่นนัก ทั้งกล้ากาแฟที่ได้รับแจกจากเกษตรที่สูงไม่เพียงพอต่อความต้องการ ซ้ำยังโดนกดราคาจากพ่อค้าคนกลาง เนื่องจากเริ่มมีผู้ปลูกกาแฟมากขึ้นทำให้เกิดการแข่งขันสูง เรื่องที่ทำให้เขาทดท้อใจมากที่สุดคือ การถูกหมู่บ้านอื่นๆ กีดกัน และกล่าวหาว่าเป็นต้นเหตุของการทำลายระบบนิเวศน์ ทำให้แหล่งน้ำปนเปื้อน แม้ว่าเขาไม่ได้ใช้สารเคมี หรือยาฆ่าแมลงในการทำไร่ก็ตาม

“ผมเคยท้อใจว่าจะทำอย่างไรดี ถ้าเราไม่ได้ปลูกกาแฟ เราก็ไม่รู้จะทำอะไรกิน เพราะตอนนี้กาแฟกับชาเป็นแหล่งรายได้หลัก แต่ผมก็ใช้ความบริสุทธิ์ใจเข้าสู้ พูดไปตามที่เราใช้ชีวิตกันจริง เราทำมาหากินยังไงก็บอกไปตามนั้น หน่วยงานราชการก็เห็นแล้วว่าพวกเราชาวบ้านแม่จันใต้มีความซื่อสัตย์ พูดความจริง ไม่มีใครยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด เรามีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้นได้เพราะปลูกชากาแฟ” เกษตรคนแกร่งกล่าว โดยเสริมว่า บ้านแม่จันใต้ยังได้รับคำชื่นชมจากทางการด้วยว่าสามารถอนุรักษ์ป่าต้นน้ำได้ดี

เมื่อไร่กาแฟเริ่มอยู่ตัว อนาวินก็ได้ขยายธุรกิจเปิดร้านกาแฟเพิ่มรายได้อีกทางหนึ่งโดยเริ่มจากการเช่าพื้นที่ในเมืองเปิดร้านกาแฟเล็กๆ และตอนนี้ขยายกิจการมาเปิดร้านกาแฟบนต้นไม้ในพื้นที่ของตัวเอง รายได้ส่วนหนึ่งมอบให้กับมูลนิธิหัวใจอาข่าที่เขาเป็นคนตั้งขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือเด็กด้อยโอกาส คอยดูแลและส่งเสริมให้เด็กเหล่านั้นให้ได้รับโอกาสทางการศึกษาเพื่อจะได้เป็นอนาคตที่ดีของประเทศชาติต่อไป

“เมื่อก่อนเคยมีคนช่วยให้ผมได้มีการศึกษา แม้จะไม่สูงนัก ผมจบแค่ ม.3 วันนี้ถึงเวลาที่ผมจะช่วยเหลือคนอื่น ถ้าเขามีใจเรียน ผมก็อยากจะช่วยจนเขาเรียนจบปริญญาตรี” อนาวินกล่าว

ด้วยความกล้าที่จะเปลี่ยนแปลงเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน ความแกร่งในการยืนหยัดต่อสู้ เอาชนะสิ่งกีดขวาง ท้าทายทุกอุปสรรคจนประสบความสำเร็จ อนาวินจึงได้รับเลือกจากฟอร์ด ประเทศไทยให้เป็นหนึ่งใน “เกษตรคนแกร่ง” อันเป็นแคมเปญเพื่อสร้างแรงบันดาลใจและส่งเสริมอาชีพเกษตรกร ที่ต้องมีความแกร่งทั้งกายและใจในการฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ เช่นเดียวกับ ฟอร์ด เรนเจอร์ กระบะ “เกิดมาแกร่ง” ที่มีเครื่องยนต์อันทรงพลัง พร้อมช่วงล่างและสมรรถนะการขับขี่เหนือระดับ ผสมผสานกับเทคโนโลยีอันล้ำสมัยเพื่อความปลอดภัย จึงสามารถตอบโจทย์ทั้งการบรรทุกงานหนัก และการใช้งานที่สมบุกสมบันในทุกรูปแบบของงานเกษตร

“ที่ผ่านมาการใช้ชีวิต การทำไร่ของผมเจออุปสรรคมาไม่น้อย แม้แต่การเดินทางและการช่วยเหลืองานจิตอาสาต่างๆ ในแต่ละวันต้องเจอกับเส้นทางที่ยากลำบาก ทั้งขึ้นเขา ลงเขา ลุยน้ำ ลุยโคลน แต่ผมหมดห่วงเพราะมี ฟอร์ด เรนเจอร์ ที่ผมเชื่อมั่นในสมรรถนะ ทำให้ผมรู้สึกปลอดภัยทุกครั้งที่ขับ ทั้งยังบรรทุกปุ๋ย ต้นกล้า เมล็ดกาแฟและสิ่งของอื่นได้เต็มที่ แกร่งถูกใจผมจริงๆ” เกษตรคนแกร่งกล่าว

“ผมดีใจ แล้วก็ภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของแคมเปญนี้ เพื่อจะได้มีโอกาสเผยแพร่ความเป็นอยู่ของชาวบ้านแม่จันใต้และโปรโมทอาชีพเกษตรกร ผมหวังว่าแคมเปญนี้ของฟอร์ดจะช่วยเป็นแรงบันดาลให้คนที่ทำอาชีพเดียวกับผม และคนอื่นๆ ใช้ความแกร่งในตัวคุณ เอาชนะทุกอุปสรรคเหมือนกับผม”

ทั้งนี้ ฟอร์ดขอเชิญชวนผู้เป็นเจ้าของ ฟอร์ด เรนเจอร์ ทุกท่าน ร่วมกันส่งเรื่องราวความแกร่งในแบบฉบับของตัวคุณกับ ฟอร์ด เรนเจอร์ คู่ใจ ผ่านเฟซบุ๊กฟอร์ด ประเทศไทยและสื่อพันธมิตร ในระหว่างวันที่ 1-17 ธันวาคม พ.ศ.2560 โดยฟอร์ดและสมาคมสื่อมวลชนเกษตรแห่งประเทศไทยจะคัดเลือกสุดยอดเกษตรกรคนแกร่ง 3 คนสุดท้าย เพื่อร่วมโหวตกันบนเฟซบุ๊กฟอร์ด ประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 20-27 ธันวาคม

สำหรับเรื่องราวความแกร่งของผู้ชนะการโหวต นอกจากจะได้ขึ้นทำเนียบ “เกษตรคนแกร่ง” ของฟอร์ดแล้ว ยังจะได้รับการจัดทำเป็นวิดีโอเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ผู้อื่นต่อไป พร้อมรับแพ็คเกจการบำรุงรักษารถฟอร์ดมูลค่า 50,000 บาทอีกด้วย

เกษตรกรชาว ต.นาตาล่วง อ.เมืองตรัง นำนวัตกรรมการเจาะยาง มาใช้แทนการกรีดยาง ควบคู่กับการใช้ฮอร์โมน เพื่อแก้ปัญหาฝนตก หน้าเปียก ทำให้มีผลผลิตเพิ่มขึ้น 3 เท่า และมีรายได้แน่นอน

นายจิรโชติ จรูญศักดิ์ วัย 48 ปี หรือโกซึ้งน้ำยาง เกษตรกรหมู่ที่ 5 บ้านทุ่งควน ในเขตเทศบาลตำบลนาตาล่วง อำเภอเมืองตรัง ได้ประดิษฐ์คิดค้นนวัตกรรมการกรีดยางพารายุคใหม่ เพื่อเอาชนะปัญหาดินฟ้าอากาศ อันเนื่องมาจากสภาพฝนที่ตกชุกในพื้นที่ภาคใต้เกือบตลอดทั้งปี จนกรีดยางได้เดือนละไม่กี่วันเท่านั้น สร้างผลกระทบต่อรายได้และความเป็นอยู่ของเกษตรกรอย่างยิ่ง

กระทั่งเมื่อมีการนำระบบปิดมาใช้กับสวนยาง ทำให้กรีดได้แม้วันฝนตก และหน้ายางเปียก หรือต้นเปียก รวมทั้งไม่ต้องรีบเร่งเก็บน้ำยาง เพราะถึงมีฝนตกลงมา ผลผลิตก็ไม่เสียหาย จึงสามารถกำหนดวันกรีด การเก็บ และรายได้ อย่างแน่นอน

ทั้งนี้ เป็นผลมาจากประสบการณ์ในการใช้ฮอร์โมน หรือสารเอทิลีน มาช่วยควบคุมการหยดของน้ำยางเพื่อให้เกิดความสมดุลย์ มานานถึง 15 ปี จากนั้น ล่าสุดได้พัฒนามาสู่วิธีการเจาะยางด้วยสว่านขนาด 5 มิลลิเมตร แทนการกรีดยางด้วยมีด พร้อมต่อสายยาง ขนาดความยาว 25 ซม. ไปยังจอกยางชนิดที่มีฝาปิด เพื่อกันน้ำกันฝน ทำให้น้ำยางไหลออกมาต้นโดยตรง และไม่ต้องสัมผัสหน้ายางเป็นบริเวณกว้างแบบการกรีด จึงมีรอยแผลเป็นรูเล็กๆ ขนาดตะเกียบ ทำให้สมานเนื้อได้เรียบและรวดเร็ว ส่วนเปลือกหรือหน้ายาง ก็ไม่เป็นร่องรอยขรุขระเหมือนการกรีด อีกทั้งยังให้ปริมาณผลผลิตที่สูงกว่าถึง 3 เท่า

โดยวิธีการเจาะยาง จะทำ 1 วัน หยุด 2 วัน หรือเก็บผลผลิตแค่เดือนละ 10 วัน เพื่อมิให้ต้นยางโทรม แถมยังทำงานสบาย เพราะไม่ต้องตื่นมากรีดยางตอนเช้ามืด เนื่องจากการเจาะยางจะทำในเวลา 4-5 โมงเย็น แต่ทั้งนี้การเจาะจะเหมาะสำหรับต้นยางที่มีอายุ 12 ปีขึ้นไป หรือมีสภาพสมบูรณ์เท่านั้น แต่ไม่ควรนำมาใช้กับต้นยางอ่อน หรือต้นยางแก่ใกล้โค่น เพราะมีเปลือกบาง อย่างไรก็ตาม แม้การเจาะจะมีต้นทุนประมาณต้นละ 80 บาท และต้องซื้อสว่านที่มีราคาตัวละ 850 บาท แต่ในระยะยาวถือว่าคุ้มค่า เพราะวัสดุอุปกรณ์เหล่านี้ใช้ได้ 4-5 ปี และทำงานได้ทุกวันที่ต้องการ ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่ (084) 1823-806

ระยะนี้จะเข้าสู่ช่วงที่มะม่วงเริ่มออกดอก กรมวิชาการเกษตรฝากคำเตือนถึงเกษตรกรชาวสวนมะม่วงในเขตภาคเหนือตอนล่างให้เฝ้าระวังในช่วงที่มีสภาพอากาศแห้งแล้ง และหมั่นสังเกตการระบาดของโรคราดำ มักพบคราบราสีดำติดตามส่วนต่างๆ ของต้น เช่น ใบ ยอด ช่อดอก และผล

ซึ่งโรคราดำจะทำให้ช่อดอกบานช้า หรือบานผิดปกติ เหี่ยว และหลุดร่วงลงได้ บางครั้งอาจทำให้ไม่ติดผล ถ้าพบอาการของโรคที่ผลมะม่วง จะทำให้ ผลเหี่ยวและหลุดร่วงในที่สุด โดยมากจะพบการระบาดของโรคราดำในช่วงที่มีแมลงปากดูด อาทิ เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยหอย และเพลี้ยแป้ง

หากพบการระบาดของโรคราดำ กรมวิชาการเกษตรแนะนำให้เกษตรกรพ่นด้วยน้ำเปล่าล้างสารเหนียวที่แมลงปากดูด ขับถ่ายไว้และคราบราดำ เพื่อลดปริมาณเชื้อสาเหตุโรค เนื่องจากเชื้อราจะเจริญบนสารเหนียวที่แมลงปากดูด ขับถ่ายไว้ คือ เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยหอย และเพลี้ยแป้ง

ทั้งนี้เกษตรกรควรพ่นด้วยสารกำจัดแมลง กรณีพบเพลี้ยจักจั่น ให้พ่นด้วยสารแลมบ์ดา-ไซฮาโลทริน 2.5% อีซี อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารคาร์บาริล 85% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 60 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารอิมิดาโคลพริด 10% เอสแอล อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร

หากพบเพลี้ยหอย ให้พ่นด้วยสารมาลาไทออน 83% อีซี อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ส่วนถ้าพบเพลี้ยแป้ง ให้พ่นด้วยสารมาลาไทออน 83% อีซี อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารไทอะมีทอกแซม 25% ดับเบิ้ลยูจี อัตรา 2.5 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เดินหน้าวิจัยพืชมุ่งเป้า BIO-ARCHITECTURE: Opportunity for Thai Agricultural Industry ได้พันธุ์ข้าวทนต่อสภาพแวดล้อม ต้านทานโรค และแมลงศัตรูพืชได้ดีเยี่ยม ช่วยเพิ่มผลผลิตสร้างรายได้ ตอบโจทย์กลุ่มเกษตรกร และยังให้โภชนาการสูงตอบโจทย์กลุ่มผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพ

ดร. สมวงษ์ ตระกูลรุ่ง ผู้อำนวยการศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สวทช. กล่าวว่า การปรับปรุงพันธุ์พืชเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับเกษตรกรผู้ทำการเพาะปลูกในยุคปัจจุบัน ซึ่งเกษตรกรทุกคนควรรู้เรื่องราว รู้จักการเลือกใช้เมล็ดพืชพันธุ์ดี และเหมาะสมกับพื้นที่เพาะปลูก เพื่อให้ได้ผลิตผลทางการเกษตรที่ดี

โดยฐานข้อมูลด้านเชื้อพันธุกรรมพืช (Germplasm) ตัวบ่งชี้ทางพันธุกรรม (Genotype) คุณลักษณะของพืช (Phenotype) ถือเป็นหัวใจสำคัญในการสร้างและปรับปรุงพืชสายพันธุ์ใหม่ ซึ่งต้องมีฐานข้อมูลของพืชที่หลากหลายมิติ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ เช่น การประเมินเพื่อให้ทราบลักษณะดีเด่นในแต่ละพันธุ์ เพื่อปรับปรุงพันธุ์ทั้งในแง่การเพิ่มผลผลิต และการปรับตัวได้ดีในสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง ต้านทานโรคและแมลงศัตรูพืชต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ผลิตและผู้บริโภค

ดังนั้นการใช้เทคโนโลยีชีวภาพ มีบทบาทสำคัญอย่างมากในการปรับปรุงพันธุ์พืช ยกตัวอย่างเช่น ข้าว ซึ่งประเทศไทยได้ร่วมมือกับ IRGSP (โครงการนานาชาติว่าด้วยการหาลำดับเบสจีโนมข้าว (International Rice Genome Sequencing Project: IRGSP) เพื่อถอดรหัสจีโนมข้าว และนำไปสู่การนำเสนอข้อมูลจีโนมข้าวในปี 2545 จากความสำเร็จในครั้งนั้นทำให้นักวิจัยไทยนำข้อมูลจีโนมข้าวมาใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ เพื่อให้ได้พันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพดี ให้ผลผลิตสูง และมีคุณลักษณะตรงต่อความต้องการ เช่น ทนต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม ทนต่อโรคและแมลงศัตรูพืช เพื่อตอบโจทย์กลุ่มเกษตรกร มีโภชนาการสูง เพื่อตอบโจทย์กลุ่มคนรักสุขภาพ หรือมีคุณลักษณะที่เหมาะสมในการทำเป็นแป้งจากข้าว เพื่อตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรม เป็นต้น

อย่างไรก็ดี ไบโอเทค สวทช. มีตัวอย่างการปรับปรุงพันธุ์ข้าวที่ประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี และสามารถตอบโจทย์ทั้งภาคเกษตร และกลุ่มคนรักษ์สุขภาพได้ อาทิ การปรับปรุงพันธุ์ข้าวเพื่อตอบโจทย์กลุ่มเกษตรกร

ข้าวหอมชลสิทธิ์ ทนน้ำท่วมฉับพลัน ข้าวพันธุ์นี้มีการหุงต้มแบบข้าวขาวดอกมะลิ เมล็ดข้าวมีกลิ่นหอม และเป็นสายพันธุ์ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง ทำให้ปลูกได้มากกว่า 1 ครั้งต่อปี และสามารถทนอยู่ใต้น้ำได้นาน 2-3 สัปดาห์ จึงเหมาะกับพื้นที่นาภาคกลางที่เกิดน้ำท่วมฉับพลันได้ง่าย มีผลผลิตข้าวเปลือกในระดับ 900 – 1,000 กิโลกรัมต่อไร่

• ข้าวพันธุ์ กข51 ทนน้ำท่วมฉับพลัน ข้าวพันธุ์แรกที่ได้จากการปรับปรุงพันธุ์โดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลช่วยในการคัดเลือก ที่ได้รับการรับรองพันธุ์จากกรมการข้าว ซึ่งข้าวพันธุ์นี้มีลักษณะคุณภาพเมล็ดทางกายภาพ เคมี การหุงรับประทานใกล้เคียงกับข้าวขาวดอกมะลิ 105 และสามารถทนน้ำท่วมฉับพลันในระยะเจริญเติบโตทางลำต้นได้ 12 วัน ผลผลิตในสภาวะน้ำท่วมฉับพลับสูงกว่าพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 โดยให้ผลผลิตเฉลี่ยสูงสุด 736 กิโลกรัมต่อไร่

• ข้าวพันธุ์ กข73 ทนดินเค็มและต้านทานโรคไหม้ เป็นการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ที่มีคุณภาพการหุงต้มและรับประทานดี มีกลิ่นหอม กับข้าวสายพันธุ์ที่มีความทนต่อดินเค็มและต้านทานโรคไหม้ โดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลที่เกี่ยวข้องกับยีนทนเค็มและต้านทานโรคไหม้และคุณภาพหุงต้มในการคัดเลือกร่วมกับการปรับปรุงพันธุ์แบบวิธีมาตรฐาน โดยเริ่มผสมพันธุ์ที่ศูนย์วิจัยข้าวอุบลราชธานี กรมการข้าว และใช้เครื่องหมายโมเลกุลช่วยในการคัดเลือก จากนั้นนำกลับไปปลูกทดสอบการให้ผลผลิต การปรับตัว และความทนเค็ม และต้านทานโรคไหม้ จนได้พันธุ์ข้าวเจ้าทนดินเค็มและต้านทานโรคไหม้ เหมาะกับการปลูกในพื้นที่ดินเค็มและมีการระบาดของโรคไหม้ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

• ข้าวเหนียวธัญสิริน ต้านทานโรคไหม้ เป็นพันธุ์ข้าวเหนียวที่ได้จากการผสมระหว่างพันธุ์ กข 6 และพันธุ์เจ้าหอมนิลที่มีความต้านทานโรคไหม้ โดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลที่เกี่ยวข้องกับยีนต้านทานโรคไหม้และคุณภาพในการคัดเลือก ร่วมกับเทคนิคการปรับปรุงพันธุ์แบบวิธีมาตรฐาน ส่งผลให้ได้พันธุ์ข้าวเหนียวที่มีคุณลักษณะในการต้านทานโรคไหม้ พร้อมกับยังคงลักษณะที่ดีของพันธุ์ กข6 เดิม ทั้งเรื่องความหอม คุณภาพในการหุง ให้ผลผลิตเฉลี่ย 500-600 กิโลกรัมต่อไร่

ข้าวเหนียวพันธุ์ กข6 ต้นเตี้ย ต้านทานโรคไหม้และโรคขอบใบแห้ง เป็นข้าวนาปีที่มีความไวต่อช่วงแสง สามารถต้านทานต่อโรคไหม้และโรคขอบใบแห้ง มีขนาดลำต้นสูงเฉลี่ย 130 เซนติเมตร ทำให้สามารถเก็บเกี่ยวได้ง่ายด้วยเครื่องจักร มีการแตกกอดี ลำต้นมีความแข็งแรง จึงมีความทนทานต่อลมแรง ลดปัญหาการหักล้ม เมล็ดเรียวยาว เมื่อนำมาหุงต้ม มีคุณภาพและความเหนียวนุ่มคล้ายพันธุ์ กข6 มีผลผลิตข้าวแห้งเฉลี่ย 700-800 กิโลกรัมต่อไร่

การปรับปรุงพันธุ์ข้าวเพื่อตอบโจทย์กลุ่มคนรักสุขภาพ
ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ได้จากการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างข้าวเจ้าหอมนิลกับข้าวขาวดอกมะลิ 105 ลักษณะเป็นข้าวเจ้าสีม่วงเข้ม รูปร่างเมล็ดเรียวยาว ข้าวกล้องมีความนุ่มนวลมาก สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี ให้ผลผลิตต่อปานกลาง ต้านทานต่อโรคไหม้ ไม่ต้านทานโรคหลาว

เกษตรกรจึงควรเปลี่ยนเมล็ดพันธุ์ทุกรอบการปลูก คุณสมบัติเด่นทางด้านโภชนาการของข้าวไรซ์เบอรี่ คือมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ได้แก่ เบต้าแคโรทีน, แกมมาโอไรซานอล, วิตามินอี, แทนนิน, สังกะสี, โฟเลตสูง, มีดัชนีน้ำตาลต่ำ-ปานกลาง นอกจากนี้รำข้าวและน้ำมันรำข้าว ยังมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระที่ดีเหมาะสำหรับใช้ทำผลิตภัณฑ์อาหารเชิงบำบัดอีกด้วย

โดยข้าวพันธุ์นี้มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และกระทรวงพาณิชย์ ส่งเสริมสนับสนุนให้มีการปลูกและจำหน่ายเป็นข้าวไรซ์เบอร์รี่ แบบเกษตรอินทรีย์ อีกทั้งยังมีการสีข้าวแบบข้าวกล้องจากโรงสีข้าวที่ได้รับการรับรองเกษตรอินทรีย์อีกด้วย

ทั้งนี้การปรับปรุงพันธุ์พืชโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพนอกจากจะทำให้ได้พืชในรูปแบบที่ต้องการแล้ว ยังสามารถช่วยลดระยะเวลาในการปรับปรุงพันธุ์จากปกติใช้เวลา 6-10 ปี เหลือเพียง 3-5 ปีเท่านั้น ซึ่งสามารถตอบสนองต่อความต้องการบริโภค ซึ่งพืชถือเป็นแหล่งอาหารหลักของประชากรโลก นอกจากนี้เทคโนโลยีชีวภาพยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการตรวจสอบเอกลักษณ์ของพืช ตรวจสอบความบริสุทธิ์ของสินค้าด้านการเกษตร และการอนุรักษ์พันธุ์พืชได้อีกด้วย

ผู้สนใจสอบถามข้อมูลได้ที่ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ไบโอเทค (คุณไพรัช) โทร “ปาล์มน้ำมัน” เป็นพืชยืนต้นในตระกูลปาล์ม มีหลายสายพันธุ์ ปาล์มน้ำมันเป็นพืชที่ให้ผลผลิตน้ำมันต่อหน่วยพื้นที่ปลูกสูงกว่าพืชน้ำมันชนิดอื่นทุกชนิด สามารถผลิตน้ำมันได้สูงถึงประมาณ 520 กิโลกรัม/ไร่ สูงกว่าถั่วเหลืองถึงเกือบ 10 เท่า แถมยังมีต้นทุนการผลิตน้ำมันต่อกิโลกรัมยังถูกกว่าพืชน้ำมันชนิดอื่น ทำให้หลายประเทศหันมาปลูกปาล์มน้ำมันเป็นพืชเศรษฐกิจกันอย่างกว้างขวางเพื่อใช้ประโยชน์จากปาล์มน้ำมันใน 3 ช่องทาง คือ พืชอาหาร (แปรรูปเป็นน้ำมันปาล์มเพื่อการบริโภค) โอลีโอเคมี (สำหรับอุปโภคและบริโภค) และเป็นพืชพลังงาน (ผลิตเป็นไบโอดีเซล)

ปาล์มน้ำมัน ถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่ปลูกดูแลง่าย เพราะทนต่อสภาพแวดล้อมรุนแรงได้ดีกว่าพืชน้ำมันอื่นๆ สามารถใช้เป็นพืชพลังงานได้เหมาะสม เป็นพืชที่ไม่มีการปรุงแต่งพันธุกรรมแปลกปลอมในปัจจุบัน เป็นพืชอายุยืนปลูกแล้วเก็บเกี่ยวได้เป็นเวลานาน เป็นพืชที่มีตลาดอุตสาหกรรมรองรับได้หลายชนิดทำให้มีการขยายพื้นที่การปลูกปาล์มน้ำมันอย่างต่อเนื่องทุกๆ ปี นอกจากนี้ ปาล์มน้ำมันเป็นพืชที่สามารถนำเอาส่วนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทางใบ ลำต้น ทะลายเปล่า กะลา เส้นใย น้ำเสียจากโรงงานมาใช้ประโยชน์ได้อย่างสมบูรณ์ ไม่มีส่วนเหลือใช้

กล่าวได้ว่า “ปาล์มน้ำมัน” เป็นพืชที่มีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย เพราะปาล์มน้ำมันทำให้เกิดการกระจายรายได้ทั้งระบบ เช่น เกษตรกร โรงงานหีบสกัดน้ำมันปาล์มดิบ โรงงานกลั่นบริสุทธิ์น้ำมันปาล์มดิบ อุตสาหกรรมผลิตอาหาร และเครื่องอุปโภค

ขณะเดียวกันปาล์มน้ำมันมีบทบาทเป็นพืชพลังงาน ที่ผ่านมารัฐบาลได้สนับสนุนการเพิ่มพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันเพื่อผลิตและนำน้ำมันปาล์มไปแปรรูปผลิตเป็นไบโอดีเซลเพื่อทดแทนน้ำมันดีเซล เพื่อประหยัดเงินงบประมาณจากการนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศ และส่งเสริมการสร้างงานภายในประเทศให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม

ปาล์มน้ำมันเป็นพืชยืนต้น มีร่มเงาของพุ่มใบช่วยรักษาป้องกันอุณหภูมิร้อนจากแสงแดด ทำให้ชะลอการระเหยของน้ำจากดินชั้นล่างได้ สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของปาล์มน้ำมันคือ ปลูกในแหล่งที่มีปริมาณฝน 1,800-2,400 มิลลิเมตร/ปี มีปริมาณแสงแดดต้องไม่ต่ำกว่า 5 ชั่วโมง ต่อวันโดยเฉลี่ย อุณหภูมิโดยเฉลี่ย 28-32 องศาเซลเซียส และไม่ควรมีฤดูแล้งติดต่อกันเกิน 90 วัน

ปัจจุบัน “อินโดนีเซีย” นับเป็นแหล่งผลิตปาล์มน้ำมัน อันดับ 1 ของโลก ขณะที่ “มาเลเซีย” รั้งตำแหน่งผู้ปลูกปาล์มน้ำมันมากเป็น อันดับ 2 ของโลก หากเปรียบเทียบในบทบาทผู้นำตลาดน้ำมันปาล์ม รวมทั้งผลประกอบการแล้ว มาเลเซียกินขาดทุกประเทศ เพราะมาเลเซียมีขยายพื้นที่ปลูกและพัฒนานวัตกรรมด้านการแปรรูปเพื่อสร้างเพิ่มมูลค่าปาล์มน้ำมันอย่างต่อเนื่อง

ทุกวันนี้ มาเลเซียมีพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันสูงกว่าไทย 7-8 เท่า นอกจากนี้ คณะกรรมการปาล์มมาเลเซีย (MPOB) ได้กำหนดนโยบายว่า ภายใน 2563 มาเลเซียจะขยายพื้นที่ปลูกปาล์ม 100,000 เฮกตาร์/ปี (625,000 ไร่) จากปัจจุบันที่มีพื้นที่ปลูกรวม 35.27 ล้านไร่ และเพิ่มผลผลิตต่อไร่เฉลี่ยปีละ 5% จาก 3 เป็น 4.1 ตัน/ไร่ และเพิ่มอัตราการสกัดน้ำมัน (OER) จาก 20.49% เป็น 23%

หันกลับมามองอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันของประเทศไทยที่ผ่านมา กระทรวงพาณิชย์ประกาศยุทธศาสตร์พัฒนาปฏิรูปปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม 6 ด้าน ระยะเวลา 20 ปี (2559-2579) โดยวางแผนเพิ่มผลผลิตปาล์มน้ำมันจาก 2.6 ตัน/ไร่เป็น 3.51 ตัน/ไร่ และพัฒนาคุณภาพปาล์มให้มีเปอร์เซ็นต์น้ำมันสูงขึ้น จาก 17% เป็น 20% เพื่อสร้างรายได้เพิ่มให้แก่เกษตรกรไทย จากปีละ 90 ล้านบาท เป็น 300 ล้านบาท ภายในปี 2579

ผลผลิตปาล์มน้ำมัน ปี 2560

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรคาดว่า สมัครสโบเบ็ต ผลผลิตปาล์มน้ำมัน ปี 2560 จะมีปริมาณ 12.47 ล้านตัน ใกล้เคียงกับ ปี 2557-2558 หากเปรียบเทียบกับปี 2559 ซึ่งมีผลผลิต 10.997 ล้านตัน ถือว่าปีนี้มีผลผลิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 13.39 อย่างไรก็ตาม ในปีนี้ถือว่าประเทศไทยมีปริมาณสต๊อกน้ำมันปาล์มน้ำมันค่อนข้างมาก สืบเนื่องมาจากปริมาณผลปาล์มที่ออกสู่ตลาดมีมากเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2560 ปริมาณผลปาล์ม อยู่ที่ 1.11 ล้านตัน จนถึงเดือนตุลาคม 2560 อยู่ที่ 1.57 ล้านตัน ประกอบกับมีการส่งเสริมให้เกษตรกรทำปาล์มคุณภาพโดยการตัดปาล์มสุก เปอร์เซ็นต์น้ำมันเพิ่มขึ้น จาก 15-16% เป็น 17-18% ทำให้มีปริมาณน้ำมันปาล์มดิบเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

ถือว่า กระทรวงพาณิชย์ประสบความสำเร็จในการพัฒนาคุณภาพผลปาล์มน้ำมันเพื่อเพิ่มเปอร์เซ็นต์น้ำมันในการตัดปาล์มสุก โดยใช้วิธีการสร้างเครือข่ายในวงจรการค้าปาล์มน้ำมัน จัดอบรมเกษตรกรผู้ตัดปาล์ม จัดทำบันทึกข้อตกลง (MOU) ระหว่างเกษตรกร ลานเท และโรงงานสกัด รณรงค์เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ทางสื่อวิทยุ สื่อโทรทัศน์ โซเชียลมีเดีย และป้ายประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรตัดปาล์มสุกเพื่อเพิ่มเปอร์เซ็นต์น้ำมันเป็นการเพิ่มรายได้เกษตรกร รวมทั้งขอความร่วมมือผู้ว่าราชการจังหวัดแหล่งผลิตปาล์มน้ำมัน

นอกจากนี้ กระทรวงพาณิชย์ได้ใช้วิธีการแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อกำกับดูแลตรวจสอบการรับซื้อผลปาล์มน้ำมันคุณภาพตามเปอร์เซ็นต์น้ำมันอย่างเคร่งครัด พร้อมทั้งกำหนดมาตรการเพื่อไม่ให้นำผลปาล์มน้ำมันที่ไม่ได้คุณภาพ กลับเข้าสู่โรงงานสกัดน้ำมันปาล์มได้อีก และขอให้สภาเกษตรกรจังหวัดชี้แจงทำความเข้าใจเกษตรกรในพื้นที่เกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพปาล์มน้ำมัน

ซึ่งผลการสร้างเครือข่ายดังกล่าว ส่งผลให้เกษตรกรสามารถเพิ่มเปอร์เซ็นต์น้ำมันปาล์ม โดยมีการทดสอบเปอร์เซ็นต์น้ำมันเพื่อหาค่าเปอร์เซ็นต์น้ำมันปาล์มที่สกัดได้ ณ บริษัท สหอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม จำกัด (มหาชน) จังหวัดกระบี่ โดยการรวบรวมผลปาล์มน้ำมันคุณภาพจากเกษตรกร 129 คน ใน 7 จังหวัดแหล่งผลิต ได้แก่ สุราษฎร์ธานี กระบี่ ชุมพร นครศรีธรรมราช พังงา ตรัง และสระบุรี มาทดสอบจำนวน 696.46 ตัน เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2560 ได้น้ำมันปาล์มดิบ จำนวน 140.565 ตัน เปอร์เซ็นต์น้ำมันที่สกัดได้อยู่ที่ 20.18% เพิ่มขึ้นจากครั้งแรกที่ได้เปอร์เซ็นต์น้ำมัน 19.77%