แนะนำมือใหม่หัดปลูก ต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง?เกษตรกรมือใหม่

ที่มีความสนใจในการปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์เพื่อสร้างรายได้ พี่หยกแนะนำว่า 1. ต้องคำนึงถึงศักยภาพของตนเองก่อนว่าหากปลูกแล้วจะสามารถดูแลได้ดีแค่ไหน เพราะหากจะปลูกเป็นอาชีพให้สามารถเลี้ยงตัวเองได้ต้องมีพื้นที่อย่างน้อย 3-5 ไร่ การดูแลถือเป็นปัจจัยสำคัญในการให้ผลผลิต 2. น้ำ ผู้ปลูกหากจะให้มีผลผลิตเก็บเกี่ยวได้ตลอดทั้งปีแหล่งน้ำคือสิ่งจำเป็น 3. เริ่มทำการตลาดตั้งแต่เริ่มปลูก พยายามเรียนรู้และใช้สื่อออนไลน์ในการขาย 4. พื้นที่ ต้องคำนึงด้วยว่าพื้นที่ปลูกอยู่ใกล้กับพื้นที่ทำปศุสัตว์เยอะหรือไม่ หากอยู่ใกล้ก็จะง่ายต่อการทำตลาด การขนส่งทั้งกับตัวเองและลูกค้าด้วย ข้อนี้ก็สำคัญเพราะบางทีตรงที่เราปลูกไม่มีคนเลี้ยงสัตว์ก็จะเปลืองต้นทุนค่าขนส่งระยะทางไกล

แก้วมังกร เป็นพืชอยู่ในวงศ์ Cactaceae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับตะบองเพชร มีแหล่งกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในประเทศแถบอเมริกากลาง เมื่อประมาณ 100 ปีก่อน มีบาทหลวงจากประเทศฝรั่งเศสนำเข้ามาปลูกในประเทศแถบเอเชียแห่งแรกคือเวียดนามก่อน มีการปลูกแพร่หลายตามแนวชายฝั่งทะเลตะวันออกจากเมืองญาตรังไปจนถึงไซ่ง่อน แล้วจึงแพร่หลายมาในประเทศไทย

ในสมัย 10 กว่าปีก่อน แก้วมังกรมีราคาซื้อขายกันในตลาด กิโลกรัมละ 100 บาท ซึ่งถือว่าแพงมาก แต่คนมีกะตังค์ก็ยังนิยมซื้อกิน เนื่องจากเป็นของโก้เก๋ แต่จริงแล้วรสชาติของแก้วมังกรไม่ได้มีอะไรวิเศษวิโสสมกับราคา และอีกประการหนึ่งแก้วมังกรขยายพันธุ์ได้ง่าย มีการปลูกกันอย่างแพร่หลาย จึงทำให้ราคาของแก้วมังกรในเวลาต่อมามีราคาตกต่ำลง แต่เหมือนมีอัศวินม้าขาวมาช่วย เนื่องจากสังคมไทยเริ่มจะเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย หรือ ชช. ผู้เชี่ยวชาญชีวิต โรคถาวรต่างๆ ที่ต้องติดตัวเราจนตาย เช่น ความดัน ไขมัน และเบาหวาน เป็นโรคฮิตสำหรับท่านเหล่านี้ เผอิญคนไทยนิยมบริโภคอาหารรสจัดจ้าน รวมถึงผลไม้ด้วย เช่น ทุเรียน ลำไย ลิ้นจี่ ลองกอง เป็นต้น ผลไม้รสจัดเหล่านี้เป็นผลไม้ต้องห้ามสำหรับโรคดังกล่าว โดยเฉพาะเบาหวาน หันไปหันมาเหลือแต่ลูกตะขบ กะทกรก ชำมะเลียง ซึ่งการนำมาบริโภคอาจจะเป็นที่อุจาดตาและตลกขบขันสำหรับคนเมืองเป็นยิ่งนัก จึงมาลงเอยที่แก้วมังกรผลไม้ต่างชาติต่างศาสนา ซึ่งมีความหวานน้อยและรสไม่จัดจ้าน จนกลายเป็นผลไม้สำหรับสุขภาพไป

สรรพคุณของแก้วมังกรพอสดับได้ดังนี้ คือ ช่วยดับกระหายคลายร้อน ซึ่งแหงๆ อยู่แล้ว ผลไม้ที่มีน้ำเยอะๆ เช่น แตงโม สรรพคุณพื้นฐานคือดับกระหาย เพราะมีน้ำเยอะ แก้วมังกรสามารถช่วยควบคุมระบบน้ำตาลในเลือดสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน บรรเทาโรคโลหิตจาง เพิ่มธาตุเหล็กและช่วยป้องกันหลอดเลือดหัวใจอุดตัน ช่วยกระตุ้นระบบขับถ่าย เนื่องจากเป็นผลไม้ที่มีกากใยอาหารสูง นอกจากนี้ แก้วมังกรพันธุ์เนื้อแดง ซึ่งมีสารไลโคปีนอยู่เป็นจำนวนมาก จะมีคุณสมบัติในการต่อต้านอนุมูลอิสระ

ส่วนสุขภาพด้านอื่นๆ สำหรับคนที่รักสุขภาพแล้ว แก้วมังกร เป็นผลไม้ที่มีแคลอรีต่ำ เหมาะที่เป็นผลไม้สำหรับลดน้ำหนัก กินแล้วอิ่มนานไม่หิวบ่อย และวิตามินต่างๆ ที่จำเป็นต่อผิว ทำให้ผิวพรรณสดชื่นเปล่งปลั่ง อยากจะต่อว่า ดูมีน้ำมีนวลเหมือนกินยาสตรีอะไรก็ว่าไป พอดีเขาไม่ได้ว่าไว้ ส่วนเมล็ดของแก้วมังกรสามารถดูดซับสารพิษที่ค้างอยู่ในร่างกายได้อีกด้วย สรรพคุณมากมายอย่างนี้ สาวๆ ถึงอยากกินแก้วมังกร

แถบบริเวณตำบลหนองย่างเสือของอำเภอมวกเหล็ก สระบุรี และตำบลหนองอีเหลอ อำเภอปากช่อง นครราชสีมา ซึ่งเป็นเขตติดต่อกัน ชาวบ้านนิยมปลูกแก้วมังกร เนื่องจากเป็นพื้นที่ดอน น้ำไม่ท่วม มีพื้นที่ดินส่วนหนึ่งที่เป็นดินลูกรัง เหมาะสำหรับปลูกแก้วมังกร มีโอกาสได้เจอกับ ป้าศรี หรือ คุณบุญศรี จันทบุญ ซึ่งมีที่ทางอยู่ทั้งสองแหล่งที่ว่านี้ และได้ปลูกแก้วมังกรมาหลายปีแล้ว ทำให้มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับเรื่องนี้ ป้าศรี เล่าให้ฟังว่า “เริ่มปลูกแก้วมังกรตั้งแต่ ปี 2549 เป็นเวลา 10 ปีแล้ว ครั้งแรกปลูกที่บ้านไว้กิน 70 ต้น เนื่องจากเป็นคนชอบกินแก้วมังกร ต่อมาเห็นว่าปลูกเลี้ยงได้ง่าย จึงขยายพื้นที่ไปเรื่อยๆ โดยเอากิ่งจากน้องเขยมาปลูก ประมาณ 40 ไร่ ลงทุนไปเกือบ 2 ล้านบาท ปีที่สามเริ่มให้ผลผลิตเต็มที่ ก็จะมีรายได้ปีละประมาณ 2-3 ล้านบาท โดยยังไม่หักค่าใช้จ่าย

แก้วมังกร เป็นพืชที่พันขึ้นกับหลัก โดยหลักแก้วมังกรไม่ควรที่จะสูงมาก เพื่อสะดวกในการดูแลรักษาและการเก็บเกี่ยวผลผลิต โดยปกติจะใช้หลักปูนเพื่อความคงทนแข็งแรง เนื่องจากแก้วมังกรมีอายุหลายปีและมีน้ำหนักกิ่งมาก จึงควรที่จะใช้เสาปูนหน้าสี่ ซึ่งจะรองรับน้ำหนักได้ดี ความยาวของเสาปูน 2 เมตร ก็เพียงพอ ฝังลงไปในพื้น 50 เซนติเมตร จะเหลือความยาวของเสา 1.5 เมตร ซึ่งเป็นขนาดที่เหมาะสมที่สุด ในอดีตที่เคยใช้เสาไม้หรือเสารั้วปูนหน้าสามจะมีปัญหาหักโค่นได้ง่ายเมื่อแก้วมังกรมีอายุหลายปีและจำนวนกิ่งมาก ด้านบนของเสาปูน จะเจาะรูทะลุด้านซ้ายขวา จำนวน 1 รู และด้านหน้า-หลัง จำนวน 1 รู รูทั้งสองจะอยู่ห่างกันประมาณ 1 นิ้ว เพื่อสอดเหล็ก เหล็กที่ใช้ จะมีขนาด 4 หุน เป็นเหล็กปล้องอ้อยเพื่อความแข็งแรง แล้วจึงใช้ล้อยางจักรยานยนต์ที่มีขนาดใหญ่ หรือเป็นยางรถยนต์ที่ตัดมาเฉพาะขอบ ความยาวของเหล็ก 2 เส้น ที่ตัดเส้นละประมาณ 60 เซนติเมตร จะรองรับล้อพอดี แล้วจึงใช้ลวดผูกเหล็กผูกยึดกับล้อ

การปลูกและดูแลรักษาแก้วมังกร
ในพื้นที่ 1 ไร่ จะฝังเสาได้ประมาณ 200 ต้น ซึ่งจะใช้ต้นแก้วมังกร จำนวน 800 ต้น ระยะห่างของหลัก บางสวนใช้ 2.5×3 เมตร หรือ 3×3 เมตร แล้วแต่ชอบ แต่การที่มีพื้นที่ขนาดกว้างจะสามารถใช้เครื่องจักรทำงานได้สะดวก หลังจากฝังหลักเรียบร้อยแล้ว ก็จะนำต้นแก้วมังกรมาปลูก ต้นที่ปลูกยิ่งมีขนาดยาวใกล้หัวเสามากเท่าไหร่ยิ่งดี เพราะจะให้ผลผลิตได้เร็ว จำนวนต้นที่ปลูกต่อหลัก จะใช้จำนวน 4 ต้น โดยปลูกทุกด้านของเสาทั้ง 4 ด้าน ในการปลูกจะต้องใช้เชือกมัดต้นให้ติดกับเสา ส่วนโคนฝังลงไปแค่เล็กน้อยก็เพียงพอ เมื่อต้นมีขนาดสูงขึ้นเรื่อยๆ จะต้องใช้เชือกมัดและคอยจัดให้ยอดแก้วมังกรสอดเข้าไปในวงล้อและพาดห้อยออกมา การปลูกในต้นฤดูฝนจะทำให้เกษตรกรไม่ต้องรดน้ำเลย นอกจากเกิดฝนทิ้งช่วงไปนานๆ แก้วมังกรเป็นพืชทะเลทราย ดังนั้น จึงไม่ชอบน้ำแฉะ เพราะจะเกิดโรคเน่าโคนได้ง่าย

ป้าศรี เล่าประสบการณ์เรื่องการปลูกแก้วมังกรว่า “แก้วมังกร เป็นพืชที่ชอบอยู่ในที่โล่ง จึงต้องทำโคนให้เตียนสะอาดอยู่ตลอดเวลา รากแก้วมังกรจะอยู่บริเวณโคนไม่ลึกสานต่อกันหมด รอบโคนจะใช้คนถากหญ้าออก ส่วนทางเดินจะใช้รถไถ เมื่อหญ้าที่ถากแห้งค่อยนำมาใส่โคนเป็นปุ๋ย โดยปกติจะใช้ปุ๋ยขี้วัวแห้งใส่แก้วมังกร ช่วงประมาณเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี 1 หลัก ใช้ครึ่งถุง ปุ๋ยขี้วัวเราสามารถใส่ติดโคนได้เลย แต่ถ้าเป็นขี้ไก่ควรใส่ห่างโคน เพราะจะทำให้โคนเน่า ส่วนปุ๋ยเคมี จะใช้สูตร 15-15-15 หรือ 20-20-20 เพื่อบำรุงทุกส่วน แก้วมังกรไม่จำเป็นต้องใช้สูตรเร่งอย่างอื่น ใช้สูตรเสมอก็เพียงพอแล้ว เพราะแก้วมังกรเป็นพืชที่ให้ผลผลิตเยอะอยู่แล้ว ปุ๋ยเคมีที่ใช้จะให้ช่วงติดผล ปีละ 2-3 ครั้ง ถ้าติดลูกมากก็ให้มากหน่อย ปริมาณที่ใช้ประมาณ 2-3 ขีด ต่อ 1 หลัก” ดอกของแก้วมังกรจะบานตอนกลางคืน ประมาณ 2-3 วัน ใช้ระยะเวลาประมาณ 20 กว่าวันแก้วมังกรก็จะสามารถเก็บผลได้ ช่วงที่อากาศร้อนแดดจัดแก้วมังกรจะสุกเร็ว ช่วงไหนแดดน้อยอากาศไม่ร้อนแก้วมังกรจะสุกช้ากว่าปกติ

ผลผลิตของแก้วมังกรจะทยอยออกเป็นรุ่นๆ ตั้งแต่ปลายเดือนเมษายนจนถึงปลายเดือนกันยายน เป็นเวลาถึง 5 เดือน เป็นเวลาที่ให้ผลผลิตนานมากถ้านับเป็นรุ่น ได้เกือบ 10 รุ่น แต่ละรุ่นมากน้อยต่างกัน โดยปกติจะสลับกัน รุ่นแรกมาก รุ่นสองก็น้อย รุ่นสามมาก เป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ผลผลิตของต้นที่สมบูรณ์จะอยู่ระหว่าง 40-50 กิโลกรัม ต่อฤดูการผลิต แก้วมังกรควรเก็บผลผลิตเมื่อสุกประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ จะเก็บต่อได้อีกหลายวันกว่าจะถึงผู้บริโภค ถ้าเก็บก่อนรสชาติจะไม่อร่อย

เมื่อแก้วมังกรหยุดให้ผลผลิตประมาณเดือนกันยายน เดือนตุลาคมก็จะสามารถตัดแต่งกิ่งได้แล้ว กิ่งที่ตัดแต่งจะเป็นกิ่งที่ให้ผลผลิตในปีนี้ เนื่องจากกิ่งของแก้วมังกรจะให้ผลผลิตแค่ครั้งเดียวจึงจำเป็นต้องตัดกิ่งออก และในช่วงนี้เริ่มหมดฝนจึงเป็นฤดูที่เหมาะสมที่จะตัดแต่งกิ่ง การตัดแต่งควรตัดแต่งให้ชิดโคนกิ่ง เพื่อไม่ให้มีรอยแผลขนาดใหญ่ การตัดกลางกิ่งอาจเกิดเชื้อราที่รอยแผลได้ หรือหลังจากการตัดแต่งกิ่งจะฉีดยากันราเพื่อป้องกันโรคจะเป็นการดี ในช่วงที่มีผลผลิตการฉีดยากันราเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อป้องกันไม่ให้มีลูกลายเกิดขึ้นมาก

ราคาของแก้วมังกรจะขึ้นๆ ลงๆ อยู่ที่จำนวนของผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แก้วมังกรของที่นี่มักจะออกดอกพร้อมๆ กัน จึงทำให้วันเก็บเกี่ยวเป็นวันเดียวกัน ถ้าผลผลิตออกมาเยอะมากจะทำให้มีราคาค่อนข้างต่ำ แต่ราคาโดยเฉลี่ยส่วนใหญ่ 15-20 บาทต่อกิโลกรัม เกษตรกรก็ยังมีกำไร ถ้าสวนไหนมีผลผลิตไม่ตรงกับสวนอื่นก็จะได้ราคาดี การปลูกพืชเพื่อจำหน่ายเกษตรกรควรคิดเรื่องตลาดเป็นหลัก ไม่ควรปลูกกันตามกระแส เพราะจะทำให้ผลผลิตล้นตลาดจนกลายเป็นขาดทุนไป

ในบรรดาผักเชื้อสายจีน ที่เข้ามาแพร่หลายในไทย เดิมทีมี 16 ชนิด พวกตระกูล กะหล่ำ คะน้า ผักกาด ต้นหอม ผักชี กระเทียมใบ ตั้งโอ๋ ผักโขมจีน และก็มี “กุยช่าย” ที่เข้ามาแพร่หลายนานมาก ทั้งดอก ต้น ใบ เป็นที่นิยม พัฒนาการให้ผลผลิตออกมาเป็น กุยช่ายขาว ผัดเต้าหู้น้ำมันหอย หรือซีอิ๊วเปล่าๆ รสชาติเยี่ยมมาก คอข้าวต้มยามดึกชอบกันนัก ร่วมกับข้าวต้มแบน น้ำสีอำพัน เราเพื่อนกันตลอดไป

พี่น้องเชื้อสายเดียวกับกระเทียมนั่นเอง มี 2 ชนิด คือ กุยช่ายเขียว และ กุยช่ายขาว ลักษณะต่างกันที่สีต้นใบ เนื่องมาจากการดัดแปลงกรรมวิธีการปลูก ส่วนลักษณะอื่นๆ ก็คือ กุยช่าย เหมือนกันทุกอย่าง รสชาติกุยช่าย เผ็ดร้อน มีกลิ่นหอมฉุน มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ จีนแต้จิ๋วเรียก กูไฉ่ คนไทยภาคเหนือเรียก ผักแป้น ภาคกลางเรียก ผักไม้กวาด มีปลูกกันแพร่หลายในแถบเอเชียตะวันออก จีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน และแถบหิมาลัย อินเดีย เข้ามาปลูกในไทยนานแล้ว คาดว่าเข้ามาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย จนกลายเป็นผักไทย ที่นิยมกินกันมานาน หน้าหนาวกินทำให้ร่างกายอบอุ่นดีมาก กระตุ้นเซลล์ปลายประสาท เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ รักษาบำบัดโรคภัยไข้เจ็บได้สารพัดอย่าง

กุยช่าย เป็นพืชผักมีอายุหลายปี สูง 30-50 เซนติเมตร มีเหง้า ซึ่งเป็นลำต้นใต้ดิน แตกกอ ชูใบขึ้นเป็นลักษณะกาบใบ อัดรวมกันเป็นลำ ดูเหมือนเป็นลำต้น ใบรูปขอบขนาน แบน ยาว 30-40 เซนติเมตร โคนใบเป็นกาบซ้อนสลับกัน

ดอก เป็นลักษณะดอกไม้กวาด ชาวภาคกลางนิยมกินดอกกุยช่ายมาก จึงเรียกว่า ผักไม้กวาด ดอกสีขาวออกเป็นช่อ มีกลิ่นหอม ช่อแบบซี่ร่ม ก้านช่อดอกกลมตัน ยาว 40-45 เซนติเมตร ชูยาวกว่าใบ ออกดอกที่ปลายช่อดอกในระดับเดียวกัน มีใบประดับหุ้มช่อดอก เจริญแตกออกเป็นริ้วสีขาว 6 กลีบ โคนติดกัน ปลายแยก กลางกลีบมีเส้นสีเขียวอ่อน เกสรตัวผู้ 6 ก้าน ตัวเมีย 1 ก้าน ผลกลม โตประมาณ 4 มิลลิเมตร ผลแก่แตกตามรอยตะเข็บ มีเมล็ดแบน ช่อละ 1-2 เมล็ด ผิวเมล็ดขรุขระ สีน้ำตาล

คุณประโยชน์ทางโภชนาการของกุยช่าย ในส่วนของดอก และใบ มีความแตกต่างกันบ้างเล็กน้อย เช่น ในกุยช่ายหนัก 100 กรัม ดอกให้พลังงาน 38 กิโลแคลอรี ใบให้ 28 กิโลแคลอรี มีเส้นใยอาหารหรือไฟเบอร์ ดอกมี 34 กรัม ใบมี 39 กรัม คาร์โบไฮเดรต ดอกให้ 6.3 กรัม กับใบให้ 4.1 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม กับ 0.3 กรัม เบต้าแคโรทีน 152.92 ไมโครกรัม และ 136.79 ไมโครกรัม แคลเซียม 31 มิลลิกรัม กับ 98 มิลลิกรัม เหล็ก 1.6 มิลลิกรัม กับ 15 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 62 มิลลิกรัม กับ 46 มิลลิกรัม ดอกมีวิตามินซี 13 มิลลิกรัม แหล่งรวมสรรพคุณทางอาหารมีมากมายขนาดนี้ คงเข้าใจกันได้ว่า ต้องมีคุณค่าต่อร่างกายเป็นอย่างมากทีเดียว

ใบกุยช่าย นิยมนำมาทำขนมกุยช่ายแป้งสด มีทั้งแบบนึ่ง และทอด ผัดไทยถ้าขาดใบกุยช่ายที่ใส่ผัดไปพร้อมกับเส้นก๋วยเตี๋ยว และวางจานคู่กับถั่วงอก หัวปลี ผัดไทยก็จะเป็นเหมือนก๋วยเตี๋ยวผัดธรรมดาไป ใส่ผัดบะหมี่สำเร็จรูป ผัดหมี่ขาว ใส่หมี่กรอบ ดอกกุยช่ายผัดเต้าหู้ ผัดหมูกรอบ ต้มเลือดหมู และอีกสารพัดเมนูอาหาร ให้ประโยชน์ต่อร่างกาย เป็นยาบำรุงสายตา กระดูก ฟัน สรรพคุณทางยา

ใบช่วยลดคอเลสเตอรอล ความดันโลหิตสูง บำรุงกระดูก ป้องกันความเสี่ยงมะเร็ง เพิ่มสมรรถนะทางเพศ กระตุ้นกำหนัด แก้อาการหลั่งเร็ว รักษาอาการไร้สมรรถภาพ ต้มร่วมกับหอยน้ำจืดรักษาโรคเบาหวาน วัณโรค หูเป็นน้ำหนวก หวัด เลือดกำเดาไหลไม่หยุด

รากและใบ กินขับลมในกระเพาะ ท้องอืด ริดสีดวงทวาร บำรุงไต ป้องกันตับอักเสบ คั้นน้ำหยอดไล่แมลงเข้าหู ต้นกุยช่าย รักษานิ่ว ท้องเสีย เมล็ดใช้ป้องกันแมงกินฟัน ปัสสาวะกะปริบกะปรอย ควรระวังอย่ากินมาก จะร้อนใน ยามเมื่อใดที่ดื่มเหล้ามามาก กุยช่ายจะเพิ่มความร้อนภายในมากขึ้น ยามท้องว่าง คนที่ระบบย่อยอาหารไม่ดี กุยช่ายมีไฟเบอร์มาก ต้นใบแก่ยิ่งเหนียว ระบบย่อยทำงานหนักพึงระวัง

ต้นกุยช่าย เป็นพืชผักที่อายุยืนอยู่ได้หลายปีอย่างที่บอกไว้ตอนต้น เจริญเติบโตทั้งใบและดอก เมื่อตัดไปบริโภค ไปจำหน่ายแล้วจะงอกงามขึ้นมาใหม่ ทดแทนไปเรื่อยๆ หลายปี

การปลูกเป็นแปลง เมื่อเตรียมดินดีแล้ว ปลูกแม่พันธุ์ หลุมละ 2-3 ต้น ตัดไปและแต่งให้มีรากติด ระยะ 30×30 เซนติเมตร ปลูกครั้งเดียว ตัดใบ ดอกไปเป็นประโยชน์ได้ 5-6 ปี กุยช่ายเขียว จำหน่ายได้ กิโลกรัมละ 30-50 บาท

มีร้านอาหาร ภัตตาคาร ต้องการให้เกษตรกร ทำกุยช่ายขาวให้เพื่อใช้เป็นผักประกอบเมนูอาหาร กุยช่ายขาว ทำยากหน่อย ราคาดีมาก กิโลกรัมละ 120-150 บาท มีเกษตรกรหลายรายทำแล้วมีรายได้ดี แต่มีหลักอยู่ว่า ทำแต่พอแรง และมีตลาดที่แน่นอน

การทำไม่ใช่เรื่องยาก ปลูกกุยช่ายปกติ พันธุ์ใบเขียวนั่นแหละ แบ่งแปลงออกเป็น 3-4 ช่วง เพื่อผลิตเป็นกุยช่ายขาว โดยเพิ่มวัสดุอุปกรณ์ คือ กระถางดินเผา ตัดต้นกุยช่ายเขียวช่วงที่ 1 ตัดให้ชิดผิวดิน ครอบกระถางดินเผาปิดไว้ ต้นกุยช่ายจะเจริญเติบโตตามปกติ แต่ไม่ปกติคือ ไม่ได้รับแสงแดด แสงสว่างเลย ใช้เวลาไม่ปกตินั้น 9-10 วัน เปิดครอบกระถาง ตัดกุยช่ายขาวได้ และก็ให้คำนวณระยะเวลาของช่วงอื่น ที่จะตัด โดยกำหนดวันตัดเขียว ครอบกระถาง วันตัดขาว จะได้กุยช่ายขาวส่งร้านอาหารต่อเนื่อง

จะใช้สูตรวิธีทำ กับกุยช่ายที่ปลูกไว้กินที่บ้านก็ได้ จำกัดแสง บำรุงปุ๋ยคอกปุ๋ยหมัก ราดน้ำล้างปลาล้างเนื้อตามปกติ ทั้งกุยช่ายเขียว กุยช่ายขาว ทั้งต้นใบดอก บำรุงร่างกายได้อย่างสุดยอด สังเกตคนเชื้อสายจีนสิ ส่วนใหญ่จะแข็งแรงดี มีอายุวรรณะ สุขะ พละ อาซ้อ อาม้า แก้มแดง หูแดง ลูกเต็มบ้าน หลานเต็มเมือง

คุณธีระพงษ์ สุขสว่าง หรือ คุณตั้ม อยู่บ้านเลขที่ 43 หมู่ที่ 5 ตำบลหนองสามวัง อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี ยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์รุ่นใหม่ที่หันมาสนใจอยากจะอนุรักษ์พันธุ์กล้วยโบราณหายากและมากคุณค่าให้คงอยู่ ซึ่งนอกเหนือจากคุณค่าทางจิตใจแล้ว การอนุรักษ์กล้วยสายพันธุ์แปลกยังกลายเป็นการสร้างรายได้เสริมให้กับคุณตั้มได้เป็นอย่างดี

คุณตั้ม เรียนจบปริญญาโท สาขาวิศวกรรมเคมี จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หลังจากเรียนจบได้มีโอกาสทำงานตามสายที่ตนเองเรียนมาเป็นระยะเวลากว่า 3-4 ปี และมีเหตุจำเป็นที่ต้องลาออกมาช่วยพ่อแม่ที่มีอายุมากขึ้น โดยพื้นฐานครอบครัวคุณตั้มเป็นเกษตรกรมาก่อน คุณพ่อคุณแม่เป็นชาวสวนส้ม แต่ทำได้สักระยะสวนส้มแถวปทุมธานีก็เกิดวิกฤต ส้มเป็นโรคตาย ที่บ้านจึงปรับเปลี่ยนมาปลูกไม้ประดับ ลีลาวดี หมากแดง เป็นไม้ขุดล้อมขายแทน จนกระทั่งในปี 2554 ตนเองและคุณพ่อคุณแม่ก็เริ่มหันมาสนใจเกี่ยวกับกล้วยพันธุ์แปลกหายาก ซึ่งมีจุดเริ่มต้นมาจากพี่ข้างบ้าน

ปลูกกล้วยน้ำว้า กล้วยหอม สร้างรายได้หลัก
ขายต้นพันธุ์กล้วยแปลก เป็นรายได้เสริม
คุณตั้ม เล่าว่า สาเหตุที่ตนเองเริ่มสนใจที่จะปลูกกล้วยพันธุ์แปลก ส่วนหนึ่งมาจากความมีใจรักและอีกส่วนคือมองเห็นช่องทางการสร้างรายได้เสริมให้ครอบครัวด้วย เนื่องจากช่วงนั้นมีเพื่อนบ้านหลังติดกันเขาเป็นพ่อค้าขายต้นไม้ และมักจะมีกล้วยพันธุ์แปลกติดไปขายและก็ขายดี จึงเกิดความสนใจและได้ไปสอบถามข้อมูลจากเขา เขาเห็นตนชอบจึงให้กล้วยพันธุ์แปลกมาให้ทดลองปลูก ประมาณ 4-5 สายพันธุ์ ซึ่งในระหว่างนั้นก็เห็นว่าธุรกิจของพี่เขาดีขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดความคิดที่จะทำบ้าง จึงบอกให้พี่เขาช่วยหาพันธุ์แปลกมาขายให้เพิ่ม จากนั้นก็เริ่มสะสมมาเรื่อยๆ ตั้งแต่ ปี 2554 จนถึงปัจจุบันสะสมได้ร้อยกว่าสายพันธุ์ นับได้ว่าเป็น 1 ใน 3 เจ้า ที่มีกล้วยสายพันธุ์แปลกและหายากที่สุดในตอนนี้

ซึ่งหลังจากที่เริ่มสะสมและมีพันธุ์แปลกมากมายหลายสายพันธุ์ เว็บแทงบอลออนไลน์ ก็เริ่มมองเห็นช่องทางการตลาดของตัวเอง เริ่มทำการตลาดเอง มีจุดเด่นที่การจัดส่งต้นพันธุ์ให้ลูกค้าทางไปรษณีย์ ผลตอบรับค่อนข้างดี จนกระทั่งเมื่อปี 2560 ก็เริ่มขยับขยายพื้นที่ปลูกกล้วยหอม และกล้วยน้ำว้าเป็นพันธุ์ขายผลเพิ่ม โดยแบ่งปลูกกล้วยน้ำว้า 3 ไร่ กล้วยหอม จำนวน 1 ไร่ครึ่ง เนื่องจากเริ่มเห็นช่องว่างของการขายหน่ออย่างเดียว ว่าไม่สามารถสร้างรายได้ที่แน่นอนได้ เพราะตนไม่สามารถที่จะกำหนดได้ว่า ครั้งนี้หน่อจะออกมากี่หน่อ หรือกำหนดไม่ได้ว่า ครั้งนี้ลูกค้าจะต้องการมากน้อยขนาดไหน แต่ถ้าขายผลก็ยังสามารถที่จะรู้ล่วงหน้าวันที่ผลผลิตออก และคำนวณปริมาณผลผลิตได้ แต่ถ้าการขายหน่อต้องรอลูกค้ามาซื้อ บางเดือนขายได้แค่หลักพัน บางเดือนขายได้หลักหลายหมื่นมันไม่แน่นอน จึงเลือกปลูกทั้งสองอย่างเพื่อความมั่นคง ขายผลเป็นรายได้หลัก พันธุ์แปลกเป็นรายได้เสริมที่ดี

เริ่มอนุรักษ์พันธุ์กล้วยแปลก ตั้งแต่ ปี 54
จนถึงปัจจุบัน สะสมได้มากกว่า 170 สายพันธุ์
เจ้าของบอกว่า กล้วยพันธุ์แปลกที่สะสมไว้ ส่วนใหญ่ได้มาจากพี่ข้างบ้าน และที่ตนเองหาเองเพิ่มเติม ซึ่งความยากของการอนุรักษ์กล้วยพันธุ์แปลกไม่ใช่แค่เพียงหายาก แต่บางครั้งกล้วยพันธุ์เดียวกัน แต่ต่างจังหวัดหรือต่างภาคเรียกชื่อไม่เหมือนกัน บางครั้งตนเองไปแลกพันธุ์กับคนที่ไม่รู้จริงก็จะได้พันธุ์เดิมพันธุ์ซ้ำกลับมา หรืออีกกรณีคือ โดนหลอก แนะนำว่าถ้าจะซื้อต้องไปซื้อสวนที่รู้จักและไว้ใจได้

วิธีการจัดการแปลงปลูก
การปลูกกล้วยของที่นี้จะเน้นความถูกต้องของสายพันธุ์ โดยจะเน้นตั้งแต่การขุดหน่อ การวางตำแหน่งก่อนปลูกของกล้วยแต่ละสายพันธุ์ จนถึงขั้นตอนการปลูก

ในขั้นตอนการปลูกเราสามารถกำหนดทิศทางในการออกเครือของผลกล้วยได้ด้วย โดยการหันรอยตัดของหน่อให้ตรงข้ามกับทิศทางที่จะให้เครือของกล้วยออกผล การปลูกต้องวางเหง้ากล้วยลงไปในหลุม แล้วกลบดินให้มิดเหง้ากล้วย แล้วต้องเหยียบดินที่กลบให้แน่นเพื่อให้ไม่มีช่องว่างระหว่างดินกับเหง้ากล้วย จากนั้นรดน้ำให้ชุ่มแล้วปิดด้วยฟางหรือเศษหญ้าแห้ง