แนะปลูกไม้ป่า สร้างความมั่นคงทางอ้อมให้เกษตรกร

ตั้งแต่เริ่มมีการปลดล็อกไม้หวงห้าม ทำให้ช่วง 1-2 ปีหลังมานี้ มีเกษตรกรหลายท่านหันมาให้ความสนใจในการที่จะเริ่มต้นปลูกไม้ป่าไว้ในพื้นที่ตามกรรมสิทธิ์ของตัวเอง ด้วยจุดมุ่งหมายที่แตกต่างกันออกไป บางคนปลูกเพื่อให้เกิดระบบนิเวศ บางคนปลูกไว้สร้างรายได้ในอนาคต เพราะไม้ป่าเหล่านี้มีมูลค่าที่สูง ซึ่งนอกจากประโยชน์ที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังมีประโยชน์ที่พ่วงมาจากการปลูกไม้ป่าที่หลายท่านนึกไม่ถึงคือการคำนวณคาร์บอนเครดิต เพื่อนำไปแลกซื้อขายสร้างรายได้โดยที่ไม่ต้องตัดต้นไม้ทิ้งสักต้น

คุณปรีชา หงอกสิมมา หรือ พี่แขก เกษตรกรนักคิดนักพัฒนา เจ้าของ วนพรรณ ออร์แกนิค การ์เด้น บ้านเลขที่ 96 หมู่ที่ 7 ตำบลบ้านกง อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น ผู้น้อมนำเกษตรทฤษฎีใหม่ของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาใช้ในกิจการงานเกษตรได้เป็นอย่างดี และยังเป็นแบบอย่างสร้างแนวคิดให้กับเกษตรกรได้อีกหลายๆ ท่าน

พี่แขก เล่าถึงจุดเริ่มต้นการทำเกษตรว่า ตนเองเรียนจบสาขาวิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น จากนั้นได้ประกอบอาชีพเป็นนักฝึกอบรมโครงการส่วนพระองค์ มูลนิธิชัยพัฒนา โดยทำหน้าที่เป็นวิทยากรฝึกอบรมให้เกษตรกรที่สนใจแนวพระราชดำริ ได้เข้าใจหลักเกษตรทฤษฎีใหม่ของในหลวงรัชกาลที่ 9 เพื่อแก้ปัญหาการเกษตร รวมถึงด้านการพัฒนา ดิน น้ำ ป่า และการส่งเสริมอาชีพ การแปรรูปสินค้าเกษตรต่างๆ ให้กับทุกคนที่สนใจได้มาเรียนรู้เป็นระยะเวลานานกว่า 8 ปี จึงตัดสินใจลาออกจากงาน เพื่อกลับมาทำเกษตรในพื้นที่ของตนเองที่บ้านเกิด บนพื้นที่ 15 ไร่

เริ่มต้นด้วยการปรับปรุงแปลง พลิกผืนนาเดิมเป็นเกษตรทฤษฎีใหม่ มีการจัดการน้ำ ขุดบ่อ วางผังออกแบบพื้นที่ในการจัดการพื้นที่แต่ละส่วน ดังนี้

พื้นที่ปลูกป่า
พื้นที่ปลูกสมุนไพร
พื้นที่ผลิตอาหาร
พื้นที่ปลูกผัก ผลไม้
พื้นที่ปลูกข้าว
พื้นที่สำหรับการจัดการอื่นๆ
จากนั้นเริ่มเก็บรายละเอียดของการทำแปลง อย่างเช่น ตรงไหนจะปลูกต้นไม้ ก็ลงไม้ป่าไว้ก่อน ตรงไหนจะปลูกสมุนไพร ก็ต้องปรับปรุงดิน และดูแลจัดการแผนการผลิตไว้ก่อน ว่าจะปลูกสมุนไพรชนิดใด หมุนเวียนกันเท่าไร เป็นต้น

ส่วนเรื่องของการสร้างรายได้ จากสวนผสมผสานที่ทำช่วงแรกของที่สวนผลิตข้าวไว้บริโภคเอง ส่วนพืชผักส่วนอื่นๆ จะมีทั้งส่วนปลูกไว้กินเองและปลูกไว้ขาย เริ่มทำการตลาดในท้องถิ่นก่อนอันดับแรก เมื่อเริ่มเป็นที่รู้จักได้มีการขยายตลาดต่อไปเรื่อยๆ ทั้งนำไปขายในตัวจังหวัด เข้าไปร่วมกับตลาดกรีนมาร์เก็ตของขอนแก่นบ้าง จากนั้นค่อยขยับทำพรีออเดอร์รวบรวมผลผลิตของตัวเองและเครือข่ายเข้าไปส่งของลูกค้าสัปดาห์ละ 2 ครั้ง โดยที่ไม่จำเป็นต้องรอให้ลูกค้าวิ่งเข้ามาหา เมื่อผ่านไประยะหนึ่งต้นไม้เริ่มโต สมุนไพรมีเยอะขึ้น ได้มีการปรับเปลี่ยนจากการขายผักสดเป็นการแปรรูปสินค้า พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น เครื่องสำอาง สบู่ แชมพู โดยสินค้าทุกตัวได้รับมาตรฐาน อย. มาตรฐานคลีนโปรดักส์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ทั้งในส่วนที่ผลิตขายในแบรนด์ของตนเองและในส่วนของการรับจ้างผลิตด้วย รวมๆ รายได้แล้วอยู่ที่ประมาณหลักแสนบาทต่อเดือน นี่คือ ส่วนหนึ่งของรายได้ที่เกิดจากผลของการรู้จักการวางแผนที่ดี แล้วมาดูกันต่อว่ารายได้และประโยชน์อีกส่วนหนึ่งที่ลงทุนปลูกไม้ป่าไว้จะได้อะไรบ้าง

ประโยชน์ของการปลูกไม้ป่า
สร้างระบบนิเวศ ออมเงินแทนธนาคาร
เจ้าของบอกว่า เริ่มต้นปลูกไม้ป่ามาเป็นระยะเวลานานกว่า 10 ปี ปลูกตั้งแต่ยังไม่มีการปลดล็อกไม้หวงห้าม โดยมีหลักการและแนวคิดสืบเนื่องมาจากเกษตรทฤษฎีใหม่ คือ ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง โดยเอาต้นไม้มาเป็นตัวนำเพื่อสร้างระบบนิเวศให้มีความสมดุลและยั่งยืน ฉะนั้น สิ่งที่จะดึงความยั่งยืนของระบบนิเวศได้คือ ป่าไม้ จึงใช้ป่าไม้นำก่อน พอเอาป่าไม้นำ ผลพลอยได้จากการสร้างป่าก็เกิดขึ้น ทั้งเห็ด ทั้งฟืน จุลินทรีย์ และปุ๋ย และสุดท้ายแล้วไม้ป่าเหล่านี้เป็นหลักทรัพย์สามารถมาค้ำประกันได้ จึงมองว่าต้นไม้ปลูกครั้งเดียวแล้วเราสามารถใช้ประโยชน์จากเขาได้ตลอด

ตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงชั่วลูกชั่วหลาน ถ้าไม่ตัดก็ยิ่งเพิ่มมูลค่าไปเรื่อยๆ “ตอนปลูก ซื้อกล้าไม้ราคาต้นละ 10 บาท ผ่านไป 10-20 ปี ราคาขึ้นเป็นหลักพันถึงหลักหมื่นบาท ก็เหมือนกับการออมเงิน เงินมีการเติบโตไปเรื่อยๆ ในขณะที่เราแบ่งพื้นที่ของเราปลูกไม้พวกนี้ไว้เยอะๆ แล้วเราก็ใช้พื้นที่อื่นๆ มาบริหารจัดการวนเกษตร หาปลูกพืชสร้างกิจกรรมอะไรก็ได้ที่มีรายได้ทุกวัน และในขณะที่เราทำกิจกรรมไปเรื่อย ต้นไม้ที่เราปลูกข้างๆ มันก็เติบโตไปเรื่อยๆ มันก็เหมือนกับสร้างเงินบำนาญให้เราในอนาคต ซึ่งรวมๆ ที่สวนปลูกไม้ป่ารวมๆ แล้ว กว่า 50 ชนิด ประมาณ 500 กว่าต้น หลักๆ จะเป็นยางนา ตะเคียน ไม้สัก ประดู่ พะยูง พะยอม ก้ามปู ไม้เต็ง ไม้รัง ไม้พวง ไม้ตะแบง” เป็นต้น

การซื้อขายคาร์บอนเครดิต
ประโยชน์ทางอ้อมของการปลูกป่า
ประโยชน์อีกข้อของการปลูกป่าที่นอกเหนือจากการสร้างระบบนิเวศให้มีความสมดุลอย่างยั่งยืนแล้ว หลายคนยังไม่ทราบเรื่องของการซื้อขายคาร์บอนเครดิต แล้วการซื้อขายคาร์บอนคืออะไร พี่แขก อธิบายว่า การซื้อขายคาร์บอนเครดิตเปรียบเสมือนผลพลอยได้ของการปลูกป่า คือสามารถสร้างรายได้จากคาร์บอนได้โดยที่ไม่ต้องเสียต้นไม้สักต้น ซึ่งโครงการนี้เป็นโครงการที่ทางชุมชน ร่วมกับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) เป็นผู้พัฒนาโครงการร่วมกับ ธ.ก.ส. มีการสำรวจทำฐานข้อมูลเพื่อที่จะซื้อขายในระบบสมัครใจ โดยมีกระบวนการตรวจวัดดังนี้

วัดแปลงระบุพิกัดแปลง
ระบุพิกัดต้นไม้
ระบุชนิดและขนาดความโตของต้นไม้
จากนั้นคำนวณออกมาเป็นค่าคาร์บอน โดยจะมีสูตรคำนวณคาร์บอนอยู่ 3 สูตร ซึ่งทางเราจะเลือกใช้สูตรที่ถนัดสามารถจัดการได้ เมื่อคำนวณปริมาณคาร์บอนออกมาได้แล้ว จากนั้นนำข้อมูลเหล่านี้ให้กรรมการตรวจรับรอง เมื่อผ่านการรับรองข้อมูลตรงนี้ จะเป็นข้อมูลที่นำไปซื้อขายได้

รูปแบบการขาย ขายเป็นตันคาร์บอน ราคาตลาดโลกอยู่ที่ ตันละ 200-500 บาท โดยการทำสัญญาซื้อขายกันปกติทั่วไปจะทำสัญญาซื้อขายเป็นระยะเวลา 10-20 ปี โดยมีเงื่อนไขว่า ระหว่างที่อยู่ในระยะสัญญา ผู้ขายจะไม่สามารถตัดต้นไม้ได้ แต่หลังจากที่หมดสัญญาแล้วเจ้าของสามารถตัดขายหรือทำประโยชน์อย่างอื่นต่อไปได้ ถือเป็นประโยชน์ทางอ้อมสำหรับคนที่ชอบปลูกป่า แต่หากจะนับเอาผลตอบแทนทางเศรษฐกิจการขายคาร์บอนยังไม่คุ้มกับค่าใช้จ่าย แต่จุดประสงค์ของชุมชนคือ อยากทำเป็นโมเดลสำหรับคนที่จะทำตรงนี้ต่อ “โครงการนี้ยังมีคนทำน้อย เมื่อมีคนทำน้อย ค่าใช้จ่ายก็จะสูงมาก เพราะคอร์สค่าตรวจแต่ละครั้งจะสูงมาก แต่ถ้ามีชุมชนทั้งประเทศทำ หน่วยงานรับรองเยอะขึ้น ค่าใช้จ่ายจะถูกลงๆ เพราะมีคนทำเยอะขึ้น เพราะฉะนั้น เราจึงยอมเป็นชุมชนแรกที่ทำเรื่องนี้เพื่อให้สำเร็จก่อน ถ้าเราสำเร็จมันมีคนทำเยอะขึ้น ค่าใช้จ่ายต่างๆ ก็จะถูกลงตามจำนวน วันนี้ยังไม่คุ้ม เราทำเพื่อส่งเสริมคนปลูกต้นไม้ได้มีรายได้จากการปลูกต้นไม้โดยที่ไม่ต้องตัดต้นไม้ แต่ในอนาคตทำแล้วคุ้มค่าแน่นอน”

การปลูกดูแลไม้ป่าเบื้องต้น
พี่แขก บอกว่า การปลูกดูแลไม้ป่าเป็นอะไรที่ไม่ยุ่งยาก เพียงแต่ว่าต้องดูแลให้รอดแล้งในช่วงปีแรกก่อน เนื่องจากสภาพฝน ฟ้า อากาศ เป็นอะไรที่ไม่แน่นอน ฉะนั้น การปลูกไม้ป่าในปีแรกต้องทำให้ต้นไม้รอดตายก่อน พอรอดตายปีที่ 2 ก็ให้ดูแลตามลักษณะการเจริญเติบโต มีการตัดหญ้า ควบคุมวัชพืช และปล่อยให้ต้นไม้โตตามธรรมชาติ ถ้าผ่านแล้งในปีแรกไปได้ ก็จะง่ายในปีที่ 2-3 เมื่อเข้าปีที่ 4-5 แทบไม่ต้องดูอะไรเลย ปล่อยตามธรรมชาติ จากนั้นเลือกใช้ประโยชน์ของไม้แต่ละชนิดได้แล้ว โดยไม้แต่ละชนิดมีการเจริญเติบโตไม่เท่ากัน

ไม้โตเร็ว ที่น่าสนใจคือไม้ตระกูลอะเคเซีย เช่น กระถินณรงค์ กระถินเทพา กระถินลูกผสม ระยะการปลูก 3-5 ปี นำไปทำงานก่อสร้าง หรือทำเฟอร์นิเจอร์

ไม้โตช้า เช่น สัก พะยูง ประดู่ ตะเคียนทอง อายุรอบตัดฟัน 15 ปีขึ้นไป ใช้ระยะเวลาค่อนข้างนานแต่เป็นไม้ที่มีมูลค่าสูง เป็นที่ต้องการของตลาด

การสร้างรายได้จากไม้ป่า
ทั้งปัจจุบันและอนาคต

“การสร้างรายได้จากสวนป่าของผมแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือส่วนของการสร้างรายได้ในปัจจุบันคือ การทำถ่านหุงต้ม ถ่านดูดกลิ่น ถ่านบำรุงดิน รวมถึงการนำส่วนผสมจากพืชบางตัวมาทำเครื่องสำอาง ทำเป็นยา ส่วนการสร้างรายได้ในอนาคตคือ อุตสาหกรรมการแปรรูปไม้ โรงเลื่อยชุมชน แม้กระทั่งโรงไฟฟ้าชีวมวล แต่ต้องมีเทคโนโลยีที่ควบคุมมลพิษเป็นอย่างดี ซึ่งผมมองว่าถ้าต่อไปชุมชนมีต้นไม้เยอะขึ้น พลังงานจากชีวมวลก็จะดีขึ้น รวมถึงการส่งเสริมการใช้วัสดุจากไม้ ซึ่งตอนนี้ประเทศไทยมีการนำเข้าไม้จากต่างประเทศเยอะมาก อาทิ นิวซีแลนด์ สหรัฐอเมริกา มาดากัสการ์ และลาว เป็นต้น

พูดง่ายๆ ว่า ไม้ที่ใช้ในวงการก่อสร้างของประเทศไทยเป็นไม้นำเข้าเกือบทั้งหมด เพราะฉะนั้น ต่อไปถ้าในประเทศไทยมีไม้เยอะขึ้น ก็ต้องพัฒนาอุตสาหกรรมไม้มากขึ้น ทำเป็นชาร์โคล ชาร์โคลสามารถนำไปทำประโยชน์ได้อีกหลายอย่าง ทั้งเป็นวัสดุปรับปรุงดิน หรือนำมาใช้ในอุตสาหกรรมที่ต้องกรองน้ำ กรองอากาศ เหล่านี้ล้วนใช้ประโยชน์จากถ่านชาร์โคลทั้งหมด

รวมทั้งการทำพลังงานทางเลือกจากชีวมวลก็จะเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง แต่ว่าต้องได้รับการสนับสนุนจากองค์กรภาครัฐ และกฎหมายบางอย่างก็ยังไม่ได้เอื้อสิ่งอำนวยเหล่านี้เท่าที่ควร ซึ่งก็ต้องผลักดันกันต่อไป” พี่แขก กล่าวทิ้งท้าย

นางศรีนวล แก้ววัน ผู้ทำอาชีพเพาะถั่วงอกแบบโบราณ ได้บอกถึงขั้นตอนการเพาะถั่วงอกในโอ่งแบบโบราณให้ได้ผลผลิตดีว่า

ขั้นตอนแรกนั้น ต้องไปหาเลือกซื้อโอ่ง ขนาดความสูง 1.5 ฟุต กว้าง 1 ฟุต แล้วนำมาเจาะรู้ขนาดนิ้วก้อย 2 รู ที่ตูดโอ่ง เพื่อให้น้ำสามารถซึมออกได้ ขั้นตอนที่ 2 ให้ซื้อเมล็ดถั่วเขียว คัดเกรด A ในปัจจุบัน ราคากิโลกรัมละ 60 บาท แล้วนำเมล็ดถั่วเขียวนั้น มาแช่ไว้ในกะละมัง ประมาณ 5 ชั่วโมง ก่อน

ขั้นตอนที่ 3 นำเมล็ดถั่วเขียวที่แช่น้ำไว้ก่อนหน้านั้นแล้ว มาใส่ไว้ในโอ่ง ประมาณโอ่งละ 2 กิโลกรัม แล้วคลุมด้วยกระสอบทิ้งไว้ 1 คืน เพื่อให้รากงอกออก ขั้นตอนที่ 5 หมั่นรดน้ำใส่ในโอ่ง วันละ 4 เวลา ติดต่อกันเป็นระยะเวลา 3 วัน

ขั้นตอนที่ 6 ดึงไม้ไผ่ที่ขัดไว้ออก แล้วเปิดเอาใบสะแกออกด้วย ซึ่งก็จะได้ถั่วงอกที่มีความขาว อวบ พร้อมที่จะเก็บไปขายได้ทันที

ส่วนขั้นตอนการคัดเอาเปลือกถั่วเขียวออกจากถั่วงอกนั้น ก็จะใช้พัดลมขนาดใหญ่เป่า แล้วนำผ้ามุ้งมาปู และนำถั่วงอกมาใส่กระด้งเพื่อร่อนให้เปลือกถั่วเขียวปลิวออกจากถั่วงอก พอคัดได้ถั่วงอกล้วนแล้ว ก็เก็บใส่ถุงชั่งกิโลพร้อมนำไปขายได้แล้ว

มะพร้าวอ่อน โดยทั่วไปเรียกกันว่า มะพร้าวน้ำหอม

แรกๆ มะพร้าวอ่อน อาจจะมีน้ำหวานพร้อมทั้งให้กลิ่นหอม แต่นานเข้าพบว่า มะพร้าวอ่อนที่นิยมบริโภคกันนั้นน้ำมีรสชาติหวาน แต่กลิ่นหอมน้อยลงหรือหายไป ระยะหลังนักวิจัยได้คิดค้นวิธีการวัดกลิ่นหอมของมะพร้าวขึ้น โดยมีหน่วยวัดชัดเจน

ในมะพร้าวอ่อน หากน้ำมีรสชาติหวาน บวกกับมีกลิ่นหอมมากๆ ก็จะได้รับความนิยมจากผู้ปลูกและผู้บริโภค คุณนงนารถ ห่วงเจริญ อยู่บ้านเลขที่ 12/2 หมู่ที่ 2 ตำบลบางตลาด อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นเกษตรกรทำสวน เธอเรียนจบจากวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีฉะเชิงเทรา

คุณนงนารถ เล่าว่า ตนเองทำเกษตรในพื้นที่ 50 ไร่ เพื่อจำหน่ายผลผลิตและต้นพันธุ์มะพร้าว…อย่างอื่นมีปลูกมะม่วง

มะพร้าวที่ปลูกในเขตอำเภอบางคล้ามีชื่อเสียงมากทางด้านรสชาติ เพราะหวานกลมกล่อม มีกลิ่นหอมที่ชัดเจน แต่นานๆ ไป มีการผสมข้าม จึงเกิดการกลายพันธุ์ โดยที่กลิ่นหอมมีน้อยลง

จากประสบการณ์ของคุณนงนารถ หลังจากเพาะมะพร้าวจนต้นและรากงอกแล้วดูที่ราก สามารถระบุได้ว่า ผลไหนหากนำไปปลูกแล้วได้รสชาติหวานและมีกลิ่นหอมด้วย “ที่สวน มีมะพร้าว 1,200 ต้น…เมื่อเราเพาะ มีรากออกมา หากไส้ในของรากมีสีชมพูออกแดง หมวกรากสีชมพู ใช้มือขยี้ดูมีกลิ่นหอม เมื่อนำไปปลูก ผลผลิตที่ได้มีกลิ่นหอมมากและหวาน…ส่วนผลมะพร้าวที่เพาะแล้วไส้ในรากสีขาว หมวกรากสีเหลือง เมื่อนำไปปลูกได้ผลผลิตหวานจริง แต่กลิ่นหอมน้อย” คุณนงนารถ อธิบาย

เจ้าของสวนบอกว่า ผลมะพร้าวที่คัดอย่างดี หมวกรากสีชมพู จำหน่ายต้นละ 180-200 บาท ส่วนมะพร้าวไส้ในรากสีขาว จำหน่ายต้นละ 70 บาท ผู้ที่สนใจสอบถามได้ที่

นายธวัชชัย เทศรำลึก เจ้าของสวนมีตังค์ ต.กำเนิดนพคุณ อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ร่วมกับสำนักงานเกษตรจังหวัด เปิดตัวทุเรียนทองบางสะพาน หลังจากนำทุเรียน “พันธุ์ทองบางสะพาน” จดทะเบียนรับรองสายพันธุ์จากกรมวิชาการเกษตร โดยนำพันธุ์ทุเรียนพันธุ์หมอนทองจาก จ.นนทบุรี มาปลูกในสวนเมื่อปี 2526 แต่หลังจากปลูกได้ระยะหนึ่ง ยอดของต้นทุเรียนเดิมหัก แต่ต้นตอจากการเพาะจากเมล็ดทุเรียนได้งอกใหม่บริเวณส่วนโคน ทำให้ได้ทุเรียนพันธุ์ผสมที่มีลักษณะดี ซึ่งคาดว่าต้นเดิมจะเป็นทุเรียนสายพันธุ์โบราณใน จ.นนทบุรี

จากนั้นได้ปล่อยให้ต้นทุเรียนเจริญเติบโตจนกระทั่งออกดอกและติดผลในปี 2533 พบว่า เนื้อทุเรียนมีความแตกต่างจากพันธุ์หมอนทองเดิม เนื่องจากมีเนื้อละเอียด มีสีเหลืองเข้มคล้ายทองคำ กลิ่นหอมเฉพาะตัว รสชาติมันอมหวาน น้ำหนักผลโดยเฉลี่ย 2-5 กิโลกรัม

หลังจากติดตามความคงตัวของลักษณะสายพันธุ์ทุเรียนนาน 25 ปี จึงตั้งชื่อพันธุ์ทุเรียนใหม่ พร้อมยื่นขอจดทะเบียนรายชื่อพันธุ์พืชจากกรมวิชาการเกษตรและขยายพันธุ์ทุเรียนทองบางสะพานด้วยการเสียบยอดเพิ่มอีก โดยต้นทุเรียนชุดใหม่จะเริ่มให้ผลผลิตได้ในอีก 4 ปีข้างหน้า

นอกจากนั้นได้จำหน่ายกิ่งพันธุ์ให้กับผู้สนใจนำไปเพาะขยายพันธุ์ในราคากิ่งละ 400 บาท ซึ่งได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก และขณะนี้ได้ตั้งเป้าหมายในการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกและขยายพันธุ์ทุเรียนพันธุ์ทองบางสะพานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อผลักดันให้ทุเรียนพันธุ์ทองบางสะพานเป็นสินค้าอัตลักษณ์ชุมชน รวมทั้งส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของอำเภอบางสะพาน

ก่อนหน้านี้ อำเภอปราณบุรีเคยจัดงานมหกรรมของดีปราณบุรี ทุเรียนเขาจ้าว ในช่วงเดือนพฤษภาคม- มิถุนายน ที่บริเวณสนามหน้าที่ว่าการอำเภอปราณบุรี เพื่อนำเสนอผลผลิตสินค้าเกษตร โดยเฉพาะทุเรียนจาก ต.เขาจ้าว ที่มีรสชาติหวาน หอม เป็นที่นิยมรับประทานของผู้บริโภคไม่ต่างจากทุเรียนป่าละอู นอกจากนี้มีการจำหน่ายพืชผักปลอดสารพิษ สินค้าประมง สินค้าเกษตรแปรรูปจากสับปะรด

รศ.ดร. บุญเสฐียร บุญสูง อาจารย์ประจำภาควิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดเผยถึงความสำเร็จในการค้นพบตัวอ่อนแมลงชีปะขาวหายาก ชนิดใหม่ของโลก Paegniodes sapanensis ซึ่งเป็นชนิดที่หายาก พบได้น้อย ทั่วโลกพบเพียง 2 ชนิด และพบเฉพาะเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เท่านั้น คือ จีน ฮ่องกง ทิเบต 1 ชนิด เวียดนาม 1 ชนิด (พบเมื่อ ค.ศ. 2004) สำหรับประเทศไทย การค้นพบแมลงชีปะขาวหายาก ชนิดใหม่ของโลกครั้งนี้ พบเป็นครั้งแรก และเป็นชนิดที่ 3 ของสกุล Paegniodes ซึ่งพบได้ที่ลำธารน้ำตกสะปัน อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน เท่านั้น

คณะวิจัยที่ร่วมกันค้นพบ ได้แก่ รศ.ดร. บุญเสฐียร บุญสูง อาจารย์ประจำภาควิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และผู้ร่วมวิจัย ประกอบด้วย ดร. ชลกรานต์ อวยจินดา อาจารย์ประจำสาขาวิชาชีววิทยาและวิทยาศาสตร์สุขภาพ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จังหวัดนครปฐม Dr. Michel Sartori สังกัด Museum of Zoology (MZL) เมืองโลซาน สมาพันธรัฐสวิส และนายณัฐกันต์ ขันยม นิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4 ภาควิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

สำหรับที่มาของการค้นพบครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการสำรวจความหลากชนิดของตัวอ่อนแมลงชีปะขาวในลำธาร อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน ภายใต้โครงงานวิจัยนิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4 คือ นายณัฐกันต์ ขันยม พบว่าในพื้นที่ดังกล่าวมีความหลากชนิดของตัวอ่อนแมลงชีปะขาวค่อนข้างสูง และงานวิจัยชิ้นนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากศูนย์ความเป็นเลิศด้านความหลากหลายทางชีวภาพ (BDC-PG4-161004)

รศ.ดร. บุญเสฐียร บุญสูง กล่าวว่า แมลงชีปะขาวชนิดใหม่ อยู่ในสกุล Paegniodes Eaton, 1881 วงศ์ Heptageniidae มักเรียกชื่อสามัญทั่วไปวงศ์นี้ว่า แมลงชีปะขาวตัวแบน หรือหัวโต เนื่องจากส่วนหัวมีขนาดใหญ่และลำตัวแบน ชอบเกาะกับก้อนหินบริเวณน้ำไหลได้ดี ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Paegniodes sapanensis Boonsoong, Sartori & Auychinda, 2021 โดยตั้งชื่อตามสถานที่พบครั้งแรก และเพื่อให้เกิดการอนุรักษ์พื้นที่แหล่งอาศัยที่พบไว้ ถิ่นกำเนิดของแมลงชีปะขาวชนิดใหม่ สกุล Paegniodes Eaton, 1881 วงศ์ Heptageniidae

สกุลนี้ถูกตั้งชื่ออย่างถูกต้อง เมื่อปี ค.ศ. 1881 ทั่วโลกพบเพียง 2 ชนิด และพบเฉพาะเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เท่านั้น ได้แก่ จีน ฮ่องกง ทิเบต 1 ชนิด เวียดนาม 1 ชนิด (พบเมื่อ ค.ศ. 2004) ความรู้เกี่ยวกับแมลงชีปะขาวสกุลนี้มีน้อยมาก เนื่องจากพบได้ไม่บ่อยและหายาก มีการกระจายตัวในระบบนิเวศที่จำเพาะ และยังมีรายงานการพบค่อนข้างน้อย ตัวอ่อนแมลงชีปะขาวสกุลนี้มีลักษณะเด่นที่แตกต่างจากสกุลอื่น คือ แผ่นเหงือกคู่ที่ 1 ลดรูป ส่วนคู่ที่ 2-7 พัฒนาดี แพนหางมีแถวขนยาวชัดเจน ริมฝีปากบนมีความกว้างมากกว่าความยาว ลักษณะผิวไข่ยังมีความเฉพาะในสกุลนี้

แมลงชีปะขาวชนิดใหม่ที่พบนี้ ติดต่อ UFABET พบเป็นครั้งแรกในประเทศไทยและเป็นชนิดที่ 3 ของสกุล Paegniodes มีลักษณะคล้ายกับชนิด P. cupulatus (Eaton, 1871) แต่มีลักษณะแตกต่างกัน คือ แผ่นเหงือกคู่ที่ 1 โครงสร้างปาก และลักษณะตัวเต็มวัย นอกจากนี้ เมื่อวิเคราะห์ ดีเอ็นเอ บาร์โค้ดด้วยยีน COI เทียบกับชนิด P. cupulatus พบว่า มีค่าระยะห่างทางพันธุกรรมระหว่างชนิด (interspecific genetic distance) สูงถึงร้อยละ 11 ช่วยยืนยันว่าเป็นชนิดใหม่

ในด้านความหลากหลายและการอนุรักษ์พืชและสัตว์ชนิดใหม่ของโลกที่มีการค้นพบนั้น รศ.ดร. บุญเสฐียร บุญสูง ให้ความเห็นว่า การค้นพบตัวอ่อนแมลงชีปะขาวหายากชนิดใหม่ของโลก นอกจากจะสะท้อนให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์และความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทยแล้ว ยังแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยยังมีพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ มีระบบนิเวศจำเพาะต่อการดำรงชีวิตของแมลงชีปะขาวหายากสกุลนี้ ซึ่งมีโอกาสพบได้น้อยและเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ได้

จากการสำรวจความหลากหลายของแมลงชีปะขาวในประเทศไทยที่ผ่านมาเป็นระยะเวลาเกือบ 20 ปี คณะผู้วิจัยพบแมลงชีปะขาวสกุลนี้ที่น้ำตกสะปัน อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่านเท่านั้น ตัวอ่อนชนิดนี้พบอาศัยในลำธารต้นน้ำที่มีคุณภาพน้ำดีมาก อยู่ในพื้นที่ภูเขาสูง การอนุรักษ์แหล่งต้นน้ำและพื้นที่ป่าจะช่วยคงความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศมีความเกื้อหนุนกัน ข้อมูลความจำเพาะระบบนิเวศของสัตว์น้ำจืดเหล่านี้สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในแหล่งน้ำ และผลักดันการวิจัยในอนาคต เพื่อเป็นข้อมูลในการกำหนดกลยุทธ์เพื่อการจัดการด้านอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทยต่อไป

จุดเด่น ของ ลิ้นจี่พันธุ์ป้าชิด
ลิ้นจี่พันธุ์ป้าชิด เริ่มเป็นที่รู้จักในท้องตลาดตั้งแต่เมื่อ 10 ปีก่อน เนื่องจากมีลักษณะเด่นที่โดนใจผู้บริโภคทั่วไป นั่นคือ ผลโต มีรสชาติหวาน กรอบ เนื้อแห้งหนา มีเมล็ดเล็กลีบเป็นจำนวนมาก ทางไร่จะคัดผลผลิตออกขายใน 2 เกรด คือเกรดพรีเมี่ยม เน้นคัดผลสวย เมล็ดลีบเล็ก และตัดก้านสั้น และสินค้าเกรด เอ คัดผลสวย มีก้าน เมล็ดขนาดปกติ แต่มีรสชาติอร่อยเหมือนเกรดพรีเมี่ยม

ปลูกต้นลิ้นจี่ในระบบชิด
การปลูกลิ้นจี่ใหม่ในระบบชิด เช่นเดียวกับการปลูกลิ้นจี่ของจีน โดยทดลองปลูกลิ้นจี่ในระยะห่าง 3×3.50 เมตร จำนวน 150 ต้น ในพื้นที่ 1 ไร่ เมื่อต้นลิ้นจี่อายุ 1 ปีครึ่ง จะดูแลควบคุมทรงต้นไม่ให้สูงเกิน 2 เมตร เพื่อให้ง่ายต่อการดูแลจัดการสวน ซึ่งต้นลิ้นจี่ที่ปลูกในระบบชิด สามารถผลิดอกออกผลได้เร็วขึ้นกว่าเดิม โดยให้ผลผลิตครั้งแรกเมื่ออายุปลูกเพียงปีเศษเท่านั้น นอกจากนี้ ยังได้ประยุกต์เทคนิคการควั่นกิ่งจากจีนมาใช้ในช่วงที่ต้นลิ้นจี่ติดผล สามารถลดปัญหาผลร่วง และช่วยให้ต้นลิ้นจี่มีรสชาติดีขึ้น