แนะวิธีปราบ “ด้วงแรดมะพร้าว”ด้วงแรดตัวเต็มวัย แมลงศัตรูพืช

สำคัญของมะพร้าวและปาล์มน้ำมัน ด้วงแรดมี 2 ชนิด คือ ด้วงแรดชนิดเล็ก และด้วงแรดชนิดใหญ่ ด้วงแรดชนิดเล็ก พบทั่วทุกภาคของประเทศไทยและพบบ่อยที่สุด สำหรับด้วงแรดชนิดใหญ่ มักพบไม่บ่อยนัก พบได้ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปทางภาคใต้ของประเทศ จากการปลูกปาล์มน้ำมันแทนการปลูกมะพร้าวจำนวนมากในประเทศไทย การโค่นล้มต้นมะพร้าวหรือต้นปาล์มที่มีอายุมากและปลูกต้นปาล์มทดแทนใหม่ ทำให้มีแหล่งขยายพันธุ์ของด้วงแรดมากขึ้น จึงเข้าทำลายต้นปาล์มที่ปลูกใหม่และต้นมะพร้าว

โดยปกติ ด้วงแรดมะพร้าว ไม่สามารถระบาดได้ เหตุที่เกิดการระบาด อาจกล่าวได้ว่าส่วนใหญ่เกิดจากความละเลยของมนุษย์ที่ปล่อยให้มีแหล่งขยายพันธุ์จำนวนมาก ทำให้ด้วงแรดเพิ่มปริมาณมากจนเข้าทำลายพืชให้ได้รับความเสียหาย สาเหตุของการระบาดที่เกิดเองตามธรรมชาตินั้นน้อยมาก เช่น การเกิดวาตภัย พายุลมแรง ทำให้ต้นมะพร้าวและปาล์มน้ำมันล้มตายเป็นจำนวนมาก จึงเป็นแหล่งขยายพันธุ์ขนาดใหญ่ของด้วงแรดในเวลาต่อมา

ช่วงที่มีสภาพอากาศร้อน และมีฝนตกในบางพื้นที่ เกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวควรเฝ้าระวังด้วงแรดมะพร้าว สามารถพบได้ทั้งในระยะที่ต้นมะพร้าวยังไม่ให้ผลผลิตและให้ผลผลิตแล้ว ให้สังเกตการเข้าทำลายของด้วงแรดมะพร้าว จะพบตัวเต็มวัยบินขึ้นไปกัดเจาะโคนทางใบหรือยอดอ่อนของมะพร้าว โดยเจาะทำลายยอดอ่อนที่ใบยังไม่คลี่ ทำให้ใบใหม่ไม่สมบูรณ์ มีรอยขาดแหว่งเป็นริ้วๆ คล้ายหางปลาหรือรูปพัด

กรณีถูกทำลายมาก ใบใหม่แคระแกร็น รอยแผลตรงบริเวณเนื้อเยื่ออ่อนที่ถูกด้วงแรดมะพร้าวกัดเป็นช่องทางให้ด้วงงวงมะพร้าวเข้ามาวางไข่ หรือเกิดยอดเน่าจนถึงต้นตายได้ในที่สุด สำหรับด้วงแรดมะพร้าวในระยะตัวหนอน จะพบตามพื้นดินบริเวณกองปุ๋ยหมักและปุ๋ยคอก ซึ่งตัวหนอนจะเจาะชอนไชกัดกินและทำลายระบบรากของมะพร้าวปลูกใหม่ ทำให้ยอดเหี่ยวและแห้งเป็นสีน้ำตาล ต้นแคระแกร็นไม่เจริญเติบโต

หากพบการเข้าทำลายของด้วงแรดมะพร้าว กรมวิชาเกษตรแนะนำให้เกษตรกรใช้วิธีป้องกันกำจัดแบบผสมผสาน คือ วิธีเขตกรรม ชีววิธี และการใช้สารเคมี สำหรับวิธีเขตกรรม ให้เกษตรกรหมั่นรักษาความสะอาดและกำจัดเศษวัสดุต้นมะพร้าวบริเวณสวนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อกำจัดแหล่งขยายพันธุ์ กรณีมีกองปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก กองขยะ กองขี้เลื่อย กองแกลบ ควรกำจัดออกไปจากสวนมะพร้าว หรือกองให้เป็นที่แล้วหมั่นกลับกองเพื่อตรวจดูหนอนด้วงแรดมะพร้าว หากพบหนอนให้จับมาทำลายหรือเผากองนั้นทิ้งทันที

ส่วนลำต้นและตอมะพร้าวที่โค่นทิ้งไว้ หรือมะพร้าวที่ยืนต้นตายควรโค่นลงมาเผาทำลาย กรณีต้นมะพร้าวที่ถูกตัดแล้วยังสดอยู่ ให้นำมาทำกับดักล่อให้ด้วงแรดมะพร้าวมาวางไข่ โดยให้ตัดทอนออกเป็นท่อนสั้นๆ นำมาวางเรียงรวมกันไว้ให้เปลือกมะพร้าวติดกับพื้นดิน เพราะด้วงแรดมะพร้าวจะวางไข่บริเวณที่ชุ่มชื้นสูงและผุเร็ว จากนั้น ให้เกษตรกรเผาทำลายท่อนกับดักเพื่อกำจัดทั้งไข่ หนอน และดักแด้ของด้วงแรดมะพร้าว สำหรับตอมะพร้าวที่เหลือให้ใช้น้ำมันเครื่องที่ใช้แล้วราดให้ทั่วตอ เพื่อป้องกันการวางไข่ได้

การใช้ชีววิธีในการกำจัด

เกษตรกรควรใช้เชื้อราเขียวเมตาไรเซียมใส่ตามกองขยะ กองปุ๋ยคอก หรือกับดักท่อนมะพร้าวที่มีหนอนด้วงแรดมะพร้าวอาศัยอยู่ และเกลี่ยเชื้อให้กระจายทั่วกอง เพื่อให้เชื้อมีโอกาสสัมผัสกับตัวหนอนให้มากที่สุด จากนั้นรดน้ำให้ความชื้นและหาวัสดุใบมะพร้าวมาคลุมกองไว้ เพื่อรักษาความชื้นและป้องกันแสงแดด ซึ่งเชื้อราเขียวเมตาไรเซียมจะเข้าทำลายในทุกระยะการเจริญเติบโตของด้วงแรดมะพร้าว

ส่วนการใช้สารเคมีในต้นมะพร้าวอายุ 3-5 ปี ที่ยังไม่สูงมาก ให้ใช้ลูกเหม็นใส่บริเวณคอมะพร้าวที่โคนทางใบรอบๆ ยอดอ่อน ทางละ 2 ลูก ต้นละ 6-8 ลูก กลิ่นของลูกเหม็นจะไล่ไม่ให้ด้วงแรดมะพร้าวบินเข้าไปทำลายคอมะพร้าว

หากระบาดมาก ให้ใช้สารฆ่าแมลงสารไดอะซินอน 60% อีซี หรือสารคาร์โบซัลแฟน 20% อีซี ชนิดใดชนิดหนึ่ง อัตรา 80 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร ราดบริเวณคอมะพร้าวให้เปียกตั้งแต่โคนยอดอ่อนลงมา โดยใช้ปริมาณ 1-1.5 ลิตร ต่อต้น ทุก 15-20 วัน และควรใช้ 1-2 ครั้ง ในช่วงระบาด

แถบตำบลห้วยขมิ้น อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี มีงานเกษตรหลากหลาย ตั้งแต่พืชไร่ พืชสวน รวมถึงปศุสัตว์ การผลิตทำคล้ายๆ กัน แต่มีกิจกรรมของเกษตรกรรายหนึ่ง ที่ดูแตกต่างจากคนอื่น คือ แปลงปลูกไผ่ซางหม่น ของ คุณอุดร สังข์วรรณะ อยู่บ้านเลขที่ 96 หมู่ที่ 1 ตำบลห้วยขมิ้น อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี 72180

เขาไม่ได้ปลูกไร่สองไร่ แต่ปลูกมากถึง 100 ไร่ จำนวน 1 หมื่นกอ ซางหม่น ดีอย่างไร

คุณอุดร สังข์วรรณะ เรียนจบมาทางสายเกษตร คือระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง จากวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชลบุรี ปริญญาตรี มทร. ตะวันออก วิทยาเขตบางพระ

เขามีประสบการณ์มากมายจากภาคตะวันออก สามารถเลือกทำกิจกรรมการเกษตรได้หลายอย่าง แต่มีอยู่ช่วงหนึ่ง เขากลับมาบ้านที่สุพรรณบุรี แล้วพบว่า ญาติพี่น้องได้ปลูกไผ่ซางหม่น ในแง่การผลิต ทำได้ดีมาก การตลาดก็ยังเปิดกว้าง จริงๆ แล้ว ตอนเรียนเขามีความชำนาญเรื่องเห็ด เขาคิดว่า หากมีการประยุกต์ผสมผสาน นำเห็ดเพาะในแปลงไผ่ น่าจะทำได้ดี

คุณอุดร ปลูกไผ่จริงจัง 4 ปี มาแล้ว โดยทยอยปลูกจึงมีหลายรุ่น

“ไผ่ซางหม่น ลำตรง ไม่ค่อยมีแขนง แปรรูปได้หลายอย่าง เข้าเครื่องจักรได้หมด หน่อไผ่ก็รสชาติดี ลำไผ่ที่เจริญเติบโตเต็มที่ สูงได้ถึง 25 เมตร ลำมีขนาดใหญ่ ต้นอายุ 4 ปี เส้นผ่านศูนย์กลาง 3 นิ้ว อายุ 7 ปี เส้นผ่านศูนย์กลาง 7 นิ้ว… ลุงที่เป็นญาติกัน ปลูกส่งโรงงานอยู่แล้วที่สระบุรี” คุณอุดร ให้เหตุผล ว่าทำไมถึงปลูกไผ่ซางหม่น คุณอุดร บอกว่า ไผ่ซางหม่น สามารถขยายพันธุ์ได้โดยการตัดชำ ตอน และขุดเหง้า วิธีการที่ดีที่สุดคือ การตอนกิ่ง เพราะทำได้ครั้งละมากๆ เปอร์เซ็นต์รอดสูง การตัดชำเปอร์เซ็นต์ติดน้อย ส่วนการชำเหง้า ถึงแม้จะติดดี แต่ทำได้น้อย

ระยะปลูกที่ใช้อยู่ คือระหว่างต้นระหว่างแถว 4 คูณ 4 เมตร พื้นที่ 1 ไร่ จึงปลูกได้ 100 ต้น

ระบบน้ำ ใช้ระบบสปริงเกลอร์ ความจำเป็นของการให้น้ำ หากปลูกเพื่อผลิตหน่อ จำเป็นต้องให้น้ำมากหน่อย หากผลิตเพื่อตัดลำขาย ปริมาณและเวลาการให้อาจจะไม่ต้องมากก็ได้

เรื่องปุ๋ย ใส่ปุ๋ยขี้วัวหรือขี้ไก่ ปีละ 1 กระสอบปุ๋ย ต่อกอ หากต้องการผลิตหน่อ ควรใส่ปุ๋ยก่อนให้หน่อ สูตร 21-0-0 หรือ 25-7-7 จำนวน 2 กำมือ ต่อกอ

ปลูกไผ่ขายอะไร

เจ้าของบอกว่า หลังปลูกไผ่ได้ 1 ปี ไผ่จะเริ่มให้หน่อ ส่วนลำไผ่ สามารถนำมาใช้งานเมื่ออายุ 2 ปีไปแล้ว

หน่อไผ่ เมื่อต้นอายุได้ 4 ปี หากลำสมบูรณ์ จะให้หน่อ 50 หน่อ ต่อกอ ต่อปี น้ำหนักหน่อเฉลี่ย 1 กิโลกรัมขึ้นไป ส่วนนี้มีแม่ค้ามาซื้อจากสวน กิโลกรัมละ 20 บาท เมื่อไปถึงผู้บริโภค ราคาจะสูงกว่านี้ ผลผลิตหน่อเริ่มออกปลายเดือนเมษายน หมดช่วงปลายฝน ไผ่ความยาว 15 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางครึ่งนิ้ว จำหน่าย 15 บาท

ไผ่ความยาว 15 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 2 นิ้ว จำหน่าย 25 บาท

ไผ่ความยาว 15 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 3 นิ้ว จำหน่าย 50 บาท

“เรื่องลำ ทุกวันนี้ ยังขายน้อยอยู่ อนาคตคงขายมากขึ้น จะเน้นเป็นไม้โครงสร้าง โดยศึกษาเรื่องการชุบน้ำยา ให้เก็บรักษาได้นาน…” คุณอุดร บอก ตั้งแต่สมัยที่เรียนอยู่แล้ว คุณอุดรสนใจงานเพาะเห็ด เมื่อมาปลูกไผ่ จึงนำก้อนเชื้อเห็ดมาฝังดินระหว่างกอไผ่ จากนั้นรดน้ำ เห็ดก็จะงอกขึ้นมา

“เห็ดที่ปลูกลงดิน ไม่ใช่เห็ดเยื่อไผ่ เป็นสายพันธุ์ใหม่ เป็นลูกผสมระหว่างพันธุ์ไทยกับต่างประเทศ ทำก้อนเชื้อเอง หากซื้อขาย ก้อนละ 15 บาท ขนาดเท่ากับก้อนเห็ดนางฟ้า และเห็ดอื่นๆ การเพาะแบบนี้ อาจจะเรียกเห็ดโต่งฝนก็ได้ คือฝังดินรดน้ำ เห็ดจะงอกขึ้นมา จัดว่าเป็นเห็ดที่มีรสชาติดีมาก นุ่ม หนึบ คล้ายหูหมู จำหน่ายกิโลกรัมละ 150 บาท เห็ดชนิดนี้กินได้ทั้งหมด รวมทั้งก้านดอก ไม่ต้องตัดทิ้ง การเพาะเห็ดสำคัญมากคือ ไม่มีการใช้สารเคมีในแปลงไผ่”

คุณอุดร บอกและเล่าต่ออีกว่า

“พื้นที่ 100 ไร่ ใช้แรงงานหมุนเวียน งานมากๆ อาจจะ 8-9 คน หลักๆ ที่ทำกันคือ ขยายพันธุ์ แทงหน่อ สำหรับต้นพันธุ์ มีคิวจองยาวมาก ต้นละ 50 บาท อยู่ต่างจังหวัดไกลๆ ส่งทางไปรษณีย์ ทางบริษัทขนส่ง” ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม หรืออุดหนุนผลผลิต สอบถามได้ตามที่อยู่ หรือโทรศัพท์ 092-668-2054 หรือ เฟซบุ๊ก : อุดร สังข์วรรณะ

ศูนย์เกษตรกรรมทหารเรือโยทะกา เป็นหน่วยงานในสังกัดกองอาชีวสงเคราะห์ กรมสวัสดิการทหารเรือ ตั้งอยู่ในพื้นที่ 5,000 ไร่ ครอบคลุม 3 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดนครนายก จังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นศูนย์เกษตรกรรมทฤษฎีใหม่ของกองทัพเรือ ปัจจุบันดำเนินการปลูกพืช ปลูกข้าว เมล่อน เลี้ยงไก่ไข่ ฯลฯ และเป็นศูนย์ศึกษาเกษตรทฤษฎีใหม่ ใช้ชื่อว่าศูนย์เศรษฐกิจพอเพียงทหารเรือโยทะกา

ในยามที่ศัตรูรุกล้ำอธิปไตย เหล่าทหารต้องจับอาวุธสู้เพื่อปกป้องอธิปไตย แต่ในยามประเทศชาติสงบ ทหารบางหน่วยหันมาผลิตเสบียงเพื่อป้อนกำลังพลอีกด้วยการทำนา ทำไร่ ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ ทำประมง เป็นต้น โดยกองทัพเรือ มีศูนย์เกษตรกรรมทหารเรือ 3 แห่ง กระจายใน 3 ภูมิภาค ผลิตพืชผลทางการเกษตร เพื่อจำหน่ายในราคาสวัสดิการให้แก่ทหารและครอบครัว ทั้งข้าราชการและลูกจ้างในกองทัพเรือ ที่สำคัญยังเป็นหน่วยงานที่คอยให้คำแนะนำและส่งเสริมอาชีพด้านเกษตรให้แก่ทหารกองประจำการโดยตรงอีกด้วย เพื่อให้สามารถนำไปประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้หลังจากที่ปลดประจำการ

ในส่วนของศูนย์เกษตรกรรมทหารเรือโยทะกา ที่ตำบลโยธะกา อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา มีพื้นที่ 4,000 ไร่ และที่ตำบลบางสมบูรณ์ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก มีพื้นที่ 1,356 ไร่ รวมเป็น 5,356 ไร่ ทำแปลงสาธิต สาขาการทำนา การปลูกพืชสวน และการประมง อาทิ โครงการปลูกข้าวนาปีและนาปรัง โครงการพืชสวน ปลูกผักปลอดสารพิษ ต้นยูคาลิปตัส มะกอกน้ำ โครงการประมงเพื่อเพาะขยายพันธุ์ปลาน้ำจืด การเลี้ยงไก่ไข่ มีโรงสีข้าวสวัสดิการทหารเรือ เป็นต้น

เน้นการทำการเกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชน ในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์

ปัจจุบันศูนย์เกษตรกรรมทหารเรือโยทะกาได้ดำเนินการทดลองปลูกเมล่อน โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อแนะนำ ส่งเสริม พัฒนาวิชาชีพทางการเกษตร ตลอดจนผลิตสินค้าเกษตรให้แก่กำลังพลกองทัพเรือและหน่วยต่างๆ รวมทั้งเป็นสวัสดิการภายในให้แก่กำลังพลของกองทัพเรือและครอบครัว เพื่อได้บริโภคสินค้าเกษตรกรรมที่มีคุณภาพมาตรฐานและในราคาสวัสดิการที่ถูกกว่าท้องตลาด

ส่วนสายพันธุ์เมล่อนที่คัดเลือกนำมาปลูกในพื้นที่นี้ คือ ปริ๊นเซส 434 เนื่องจากเป็นสายพันธุ์ที่มีความแข็งแรงเรื่องการเจริญเติบโตและให้ผลใหญ่ อีกทั้งเหมาะสมกับสภาพอากาศร้อน และพื้นที่ที่เป็นดินเปรี้ยวของอำเภอบางน้ำเปรี้ยว จึงทดลองปลูกในกระถาง จำนวน 2 โรงเรือน ขนาด 6.4×20 เมตร ลักษณะโรงเรือนปิดมุ้งเพื่อป้องกันแมลง ปรากฏว่าประสบความสำเร็จ ให้ผลผลิตเฉลี่ยเป็นเมล่อนเกรด A และ B มีน้ำหนักผลละ 2 กิโลกรัม โดยเฉลี่ย ปัจจุบันปลูก 6 โรงเรือน จำนวน 304 ต้น พื้นที่ 8 ไร่ ปลูกมาแล้ว 22 รุ่น อนาคตมีเป้าหมายให้ถึง 25 ไร่

โดยผลผลิตจะนำมาจำหน่ายให้กับทางกำลังพลและครอบครัวในราคาถูก เพื่อเป็นการลดรายจ่ายให้กำลังพล ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ (berry) เป็นผลไม้ลูกเล็กๆ สีสันสดใส มีรสเปรี้ยวหรือหวาน เช่น สตรอเบอร์รี่ บลูเบอร์รี่ ราสป์เบอร์รี่ ฯลฯ ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ มีคุณค่ามากมาย ยังอุดมไปด้วยวิตามิน และสารต้านอนุมูลอิสระที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย จนหลายคนเชื่อว่า “ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่” เป็นยาอายุวัฒนะจากธรรมชาติกันเลยทีเดียว

เมืองไทยก็มีผลไม้ตระกูลเบอร์รี่เช่นกัน โดยเบอร์รี่สายพันธุ์ไทยที่รู้จักกันดี ได้แก่ ลูกหว้า มะเกี๋ยง มะเม่า มะขามป้อม ลูกหม่อน มะยม เชอร์รี่ไทย โทงเทงฝรั่ง ตะขบ เป็นต้น ซึ่งแต่ละชนิดสามารถพบได้ในแต่ละภาคของประเทศ

“ลูกหม่อน” หรือที่หลายคนรู้จักกันดีในชื่อ “มัลเบอร์รี่” เป็นหนึ่งในไม้ผลทางเลือกสำหรับผู้รักสุขภาพ เพราะมัลเบอร์รี่ มีสารพฤกษเคมี ทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น กลุ่มแทนนิน ฟลาโวนอยด์ เทอร์ปีน แอนโทไซยานิน ซึ่งช่วยให้ภูมิร่างกายแข็งแรง ต้านการอักเสบ ต้านเชื้อไวรัส ต้านเชื้อรา ต้านเชื้อแบคทีเรีย ป้องกันการเกิดเซลล์มะเร็ง ป้องกันความเสื่อมของร่างกาย มีใยอาหาร (ไฟเบอร์) ที่ช่วยทำให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น มีวิตามินสูง เช่น วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินบีรวม และมีแร่ธาตุที่สำคัญ เช่น โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส สังกะสี ซีลีเนียม ช่วยผลาญพลังงานและช่วยระบบฮอร์โมนในร่างกายทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดการเกิดสิวและอาการปวดประจำเดือน

คุณจิรารัตน์ จัยวัฒน์ หรือ “คุณรัตน์” พนักงานการเกษตรชำนาญงาน โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยโมง จังหวัดหนองคาย เป็นหนึ่งในกลุ่มเกษตรกรที่เล็งเห็นคุณค่าและคุณประโยชน์ของไม้ผลชนิดนี้จากประสบการณ์ตรงของตัวเธอเอง ที่บริโภคมัลเบอร์รี่เป็นประจำ สามารถบำบัดอาการโรควัยทองได้ดีขึ้น เธอจึงหันมาส่งเสริมให้คนไทยปลูกและบริโภคไม้ผลชนิดนี้อย่างแพร่หลาย

คุณรัตน์ เล่าว่า เมื่อ 5 ปีก่อน เธอมีปัญหาสุขภาพ ด้านระบบสืบพันธุ์ ถึงขั้นตัดมดลูกทิ้ง ภายหลังการผ่าตัด เธอมีอารมณ์ปรวนแปรง่าย ร่างกายร้อนวูบวาบ ซึ่งเป็นลักษณะอาการของสตรีวัยทอง เธอจึงท่องโลกอินเตอร์เน็ตเพื่อค้นคว้าหาวิธีรักษาอาการดังกล่าว ก็ได้คำตอบว่า หากกินมัลเบอร์รี่เป็นประจำจะช่วยลดอาการวัยทองได้

คุณรัตน์ หาซื้อต้นพันธุ์หม่อนเชียงใหม่ 60 มาปลูกที่บ้าน จำนวน 30 ต้น เพื่อเก็บผลสดกินบำรุงร่างกาย หลังปลูกได้ 7 เดือน ต้นมัลเบอร์รี่ก็มีผลผลิตให้เก็บกินได้จำนวนมหาศาล จนกินไม่ทันต้องปล่อยผลทิ้งไปอย่างน่าเสียดาย เธอเปลี่ยนวิธีคิด นำมัลเบอร์รี่ผลสด ที่มีรสเปรี้ยวมากกว่าหวาน นำมาแปรรูปแบบง่ายๆ คือ ใช้ผลสดต้มน้ำ ผสมน้ำตาลเล็กน้อยเพื่อให้ได้รสชาติหวานอมเปรี้ยวพอเหมาะ ดื่มบำรุงร่างกายทุกวัน ติดต่อกันประมาณ 2-3 เดือน อาการวัยทองของเธอก็หายไป

คุณรัตน์ ทำน้ำมัลเบอร์รี่ไปแจกจ่ายให้เพื่อนในที่ทำงานได้ดื่มกินฟรี เนื่องจากน้ำมัลเบอร์รี่ของเธอมีรสชาติอร่อยและมีคุณประโยชน์ต่อร่างกาย ทำให้เพื่อนๆ เกิดความประทับใจและสั่งซื้อน้ำมัลเบอร์รี่ของเธอเป็นจำนวนมาก เกิดการพัฒนาสู่การผลิตเชิงการค้าในที่สุด

หม่อนผลสดพันธุ์เชียงใหม่ เป็นพันธุ์หม่อนผลสดที่ให้ผลผลิตสูง คุณภาพดี เหมาะสำหรับบริโภคผลสดและแปรรูปสู่ระบบอุตสาหกรรม เว็บไซต์ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่ ระบุว่า หม่อนผลสดพันธุ์เชียงใหม่ เป็นพันธุ์หม่อนผลสดที่นำเข้ามาปลูกในประเทศไทยมานานหลายสิบปีแล้ว แต่ไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจน อีกทั้งไม่มีชื่อพันธุ์มาก่อน สามารถสืบค้นต้นกำเนิดได้เพียงว่า ในราว ปี 2515 นายโกสิ่ว แซ่โก ได้นำพันธุ์จากอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ มาปลูกไว้ในสวนที่อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งแต่ พ.ศ. 2526-2547

ศูนย์วิจัยหม่อนไหมอุดรธานี ศูนย์หม่อนไหมแพร่ และสถานีทดลองหม่อนไหมเชียงใหม่ กรมหม่อนไหมได้ดำเนินการสำรวจ รวบรวมพันธุ์หม่อนผลสด นำมาเปรียบเทียบผลผลิต ศึกษาวิธีการเขตกรรม ขยายพันธุ์ ตลอดจนวิธีการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ วิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการและเภสัชวิทยา จนพบว่า เป็นพันธุ์หม่อนที่ให้ผลผลิตสูง คุณภาพดี เหมาะสำหรับบริโภคผลสดและแปรรูปในเชิงอุตสาหกรรม จึงเสนอเป็นพันธุ์หม่อนผลสดแนะนำให้เกษตรกรปลูกในเวลาต่อมา

หม่อนพันธุ์ “เชียงใหม่ 60” มีลักษณะเด่น ดังนี้

ให้ผลผลิตผลสดไม่ต่ำกว่า 1,000 กิโลกรัม ต่อไร่ ต่อปี
ผลมีขนาดใหญ่ และปริมาณกรดสูง เหมาะสมสำหรับบริโภคสดและการแปรรูป
สามารถกำหนดเวลาให้ผลผลิตได้ ด้วยวิธีการบังคับให้ออกดอกติดผลนอกฤดูกาล
ขยายพันธุ์ได้ง่าย กรมหม่อนไหม แนะนำให้เกษตรกรปลูกหม่อนพันธุ์นี้ในพื้นที่ดอนของภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
หากแหล่งปลูกเป็นพื้นที่ที่สามารถให้น้ำได้ ในระหว่างที่ต้นหม่อนออกดอกติดผลจนถึงเก็บเกี่ยว จะทำให้ได้ผลผลิตสูงขึ้น ข้อควรระวังคือ

หม่อนพันธุ์นี้ไม่ต้านทานต่อโรครากเน่า
ต้องการน้ำในระยะเวลาประมาณ 3 เดือน ระหว่างการออกดอกติดผลจนเก็บเกี่ยว เพื่อให้มีผลผลิตสูง
การปลูก ดูแลรักษา

ทุกวันนี้ เกษตรกรไทยหันมาปลูกมัลเบอร์รี่หรือหม่อนผลสดหลากหลายสายพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็นมัลเบอร์รี่ที่ผ่านการพัฒนาปรับปรุงขึ้นเองในประเทศหรือสายพันธุ์มัลเบอร์รี่ที่นำเข้าจากต่างประเทศ แต่คุณรัตน์เลือกปลูกต้นมัลเบอร์รี่สายพันธุ์เชียงใหม่ 60 เพราะเป็นสายพันธุ์ที่ให้ผลดกมาก มีรสชาติหวานอร่อยถูกใจผู้ซื้อ เมื่อนำมาแปรรูป จะได้น้ำมัลเบอร์รี่ที่มีคุณภาพดีที่สุด

พื้นที่ 1 ไร่ ปลูกต้นมัลเบอร์รี่ได้ 80 ต้น สมัครบาคาร่าออนไลน์ โดยปลูกในระยะห่าง 4×4 เมตร หรือปลูกในระยะห่าง 4×5 เมตร เพื่อให้ง่ายต่อการดูแลจัดการผลผลิต ควรปลูกแบบเกษตรอินทรีย์ ไม่ใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลง แต่ดูแลบำรุงต้นโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ประเภทปุ๋ยคอก ปุ๋ยน้ำหมักจุลินทรีย์ โดยธรรมชาติของต้นมัลเบอร์รี่ชอบน้ำ แต่ไม่ชอบน้ำขัง ไม่ควรปลูกในพื้นที่ที่เสี่ยงน้ำท่วมขัง เพราะต้นมัลเบอร์รี่มีโอกาสยืนต้นตายได้ หากแช่น้ำท่วมไม่กี่วัน ก็ยังอยู่รอดได้ หลังน้ำลด บำรุงรักษาโดยพูนโคนต้นใหม่ ดูแลตัดแต่งกิ่ง ต้นมัลเบอร์รี่ก็จะให้ผลผลิตได้ตามปกติ

หลังปลูกแค่ 7 เดือน ก็เก็บผลผลิตออกขายหรือนำไปบริโภคได้ ฤดูการให้ผลผลิตของมัลเบอร์รี่ โดยปกติอยู่ในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน จะเก็บผลผลิตได้ประมาณ 1,000 กิโลกรัม หรือเฉลี่ย 1 ตัน ต่อไร่ ทั้งนี้ต้นมัลเบอร์รี่จะให้ผลผลิตทุกๆ 4 เดือน หากไปตรงจังหวะกับช่วงฤดูฝน จะเก็บผลผลิตได้ลดลง เหลือแค่ 400-500 กิโลกรัม ต่อไร่

โดยทั่วไป มัลเบอร์รี่ผลแดง มีรสชาติเปรี้ยวจัด ผลม่วงดำ มีรสชาติหวาน ระวังอย่าปล่อยให้ผลสุกคาต้นจนเกินไป เพราะผลมัลเบอร์รี่จะมีรสหวานติดฝาด จึงควรเก็บเกี่ยวผลผลิตในระยะเวลาที่เหมาะสมด้วย ช่วงฤดูฝน ต้นมัลเบอร์รี่ฉ่ำน้ำ จะมีรสหวานลดลงหน่อย ผลผลิตในช่วงฤดูร้อนและฤดูหนาว มัลเบอร์รี่ผลสุกสีดำจะมีรสชาติหวานอร่อยชื่นใจ

“มัลเบอร์รี่ จัดอยู่ในกลุ่มไม้ยืนต้น แค่ลงทุนปลูกต้นมัลเบอร์รี่เพียงแค่ครั้งเดียว มีอายุการเก็บเกี่ยวยาวนานถึง 30 ปี หากต้องการให้มีผลผลิตคุณภาพดีสม่ำเสมอ ต้องคอยตัดแต่งกิ่งเพื่อทำสาวบ้าง สำหรับเกษตรกรรายย่อยหรือผู้ที่ต้องการปลูกเพื่อเก็บผลสดไว้บริโภคในครัวเรือน ไม่ควรปลูกเกิน 1 ไร่ เพราะต้นมัลเบอร์รี่ให้ผลดกมาก ระยะเวลา 1 ปี สามารถเก็บผลผลิตได้ 3 รอบ” คุณรัตน์ กล่าว

เพลี้ยไฟ ศัตรูพืชในแปลงปลูก

“เพลี้ยไฟ” คือ อุปสรรคสำคัญในการปลูกมัลเบอร์รี่ มักเจอปัญหาเพลี้ยไฟระบาดรบกวนในแปลงปลูกมัลเบอร์รี่ในช่วงภาวะอากาศร้อนและมีสภาพแล้งจัด ในระยะนี้หากเจอการระบาดให้ตัดแต่งกิ่งอ่อนไปเผาทำลาย ไม่ต้องกลัวผลผลิตจะลดลง เพราะต้นมัลเบอร์รี่ยิ่งตัดยิ่งแตกกิ่งออกมาเรื่อยๆ เพราะการตัดแต่งกิ่งจะช่วยกระตุ้นให้ต้นมัลเบอร์รี่ผลิดอกออกผลออกมามากกว่าเดิมนั่นเอง