แนะวิธีปราบ โรค-ศัตรูพืช ทุเรียนสภาพอากาศแปรปรวน ที่มีทั้ง

ภาวะอากาศร้อนปนฝน เสี่ยงเจอโรคผลเน่าในทุเรียน พบได้ตั้งแต่ระยะผลอ่อน ช่วง 1 เดือน ก่อนที่จะเก็บเกี่ยวผลผลิตทุเรียน หรือในระยะเก็บเกี่ยวผลผลิตทุเรียน และหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตทุเรียนแล้ว อาจพบโรคผลเน่าในระหว่างการบ่มผลทุเรียนให้สุก โดยอาการเริ่มแรกจะพบเปลือกผลทุเรียนเกิดจุดแผลขนาดเล็กสีน้ำตาลดำ ต่อมาจุดแผลจะลุกลามขยายใหญ่มากขึ้นตามการสุกของผลทุเรียน กรณีที่สภาพอากาศมีความชื้นสูง อาจพบเส้นใยสีขาวของเชื้อราสาเหตุโรคบริเวณแผล ซึ่งสามารถพบอาการของโรคได้ตั้งแต่ผลทุเรียนที่ยังอยู่บนต้น ถ้าอาการรุนแรงมาก ผลทุเรียนจะเน่าและร่วงหล่นก่อนกำหนด

แนวทางป้องกันโรคผลเน่า เกษตรกรควรหมั่นตรวจผลทุเรียนในแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ ควรตัดผลทุเรียนที่เป็นโรคและเก็บผลทุเรียนเน่าที่ร่วงหล่นใต้ต้นนำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก เพื่อลดปริมาณเชื้อสะสมในแปลง หลีกเลี่ยงการนำเครื่องมือตัดแต่งที่ใช้กับต้นที่เป็นโรคไปใช้ต่อกับต้นปกติ และควรทำความสะอาดอุปกรณ์การเกษตรเมื่อใช้กับต้นที่เป็นโรคก่อนนำกลับมาใช้ใหม่ทุกครั้ง อีกทั้งโรคผลเน่าจะมีเชื้อสาเหตุโรคชนิดเดียวกับโรครากเน่าและโคนเน่า เกษตรกรควรป้องกันกำจัดโรครากเน่าโคนเน่าไปพร้อมกัน เพื่อให้การป้องกันกำจัดโรคได้ผลดียิ่งขึ้น

ส่วนแปลงปลูกที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคผลเน่าสูง สืบเนื่องมาจากในแปลงมีต้นที่เป็นโรครากเน่าและโคนเน่ามาก รวมถึงมีฝนตกชุกหรือมีความชื้นในอากาศสูงในช่วงที่ทุเรียนใกล้เก็บเกี่ยวผลผลิต อาจส่งผลให้เชื้อสาเหตุโรคติดไปกับผลได้โดยยังไม่แสดงอาการของโรค ดังนั้น การเก็บเกี่ยวผลทุเรียนต้องระมัดระวังไม่ให้ผลสัมผัสกับพื้นดินโดยตรง ให้เกษตรกรปูพื้นดินด้วยวัสดุหรือกระสอบที่สะอาดเพื่อวางผลทุเรียนที่เก็บเกี่ยวแล้ว วิธีนี้จะช่วยลดโอกาสที่ผลจะสัมผัสกับพื้นดินที่มีเชื้อสาเหตุโรคได้ และให้ระมัดระวังการขนย้ายไม่ให้เกิดบาดแผลขึ้นกับผลทุเรียน

หากพบการระบาดของโรคผลเน่า ให้เกษตรกรพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชเมทาแลกซิล 25% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 30-50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารฟอสอีทิล-อะลูมิเนียม 80% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 30-50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร โดยพ่นให้ทั่วทรงพุ่ม 1-2 ครั้ง ทุก 7-10 วัน และควรหยุดพ่นก่อนการเก็บเกี่ยวผลผลิตทุเรียนอย่างน้อย 15 วัน

มักเกิดได้ง่ายในช่วงที่มีฝนตกชุกและน้ำท่วมขังในแปลงปลูกทุเรียน ทำให้เชื้อราเข้าทำลายกิ่งต้นทุเรียน โดยเฉพาะบริเวณง่ามกิ่ง ส่งผลให้ใบมีสีเหลืองร่วงหล่นไปคล้ายกับอาการกิ่งแห้งและใบร่วงที่เกิดจากโรคโคนเน่า โรคราสีชมพูจุดสังเกตอาการได้ง่ายคือ มีเส้นใยของเชื้อราลักษณะเป็นขุยสีชมพู ปกคลุมบริเวณโคนกิ่งที่มีใบแห้ง ทำให้เปลือกของกิ่งทุเรียนปริแตกและล่อนจากเนื้อไม้ เมื่อถากเปลือกจะพบว่าเนื้อไม้ภายในมีสีน้ำตาล ถ้าเกิดรอบกิ่งจะทำให้กิ่งทุเรียนแห้งตายในที่สุด หากตรวจพบว่าต้นทุเรียนเกิดปัญหาโรคราสีชมพูอย่างรุนแรง ควรตัดและเผาทำลาย แล้วพ่นด้วยสารคอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ 85% ดับบลิวพี อัตรา 50 กรัม หรือสารคาร์เบนดาซิม 60% ดับบลิวพี อัตรา 10 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ให้ทั่ว โดยเน้นพ่นบริเวณกิ่งในทรงพุ่ม

ในภาวะอากาศร้อน และมีฝนตก มักพบการแพร่ระบาดของหนอนเจาะผลทุเรียนได้ทุกช่วงอายุ ตั้งแต่ขนาดผลทุเรียนเล็กจนถึงผลโตพร้อมเก็บเกี่ยว ทำให้ผลทุเรียนเป็นแผล ผลเน่าและร่วงหล่นเนื่องจากเชื้อราเข้าทำลายซ้ำ หากหนอนเจาะกินเข้าไปจนถึงเนื้อผล จะทำให้บริเวณนั้นเน่าเมื่อผลสุก โดยจะสังเกตเห็นมูลและรังของหนอนได้อย่างชัดเจนที่บริเวณเปลือกผลทุเรียน มีน้ำไหลเยิ้มเมื่อผลทุเรียนใกล้แก่ หนอนจะเข้าทำลายผลทุเรียนที่อยู่ชิดติดกันมากกว่าผลที่อยู่เดี่ยวๆ เพราะผีเสื้อตัวเต็มวัยชอบวางไข่ในบริเวณรอยสัมผัสนี้ ถ้าผลทุเรียนที่มีรอยแมลงทำลาย จะส่งผลทำให้ผลผลิตทุเรียนขายไม่ได้ราคา

กรมวิชาการเกษตร แนะนำให้เกษตรกรหมั่นสังเกตตรวจดูผลทุเรียนภายในสวน หากพบรอยทำลายของหนอนเจาะผลทุเรียน ให้ใช้ไม้หรือลวดแข็งเขี่ยตัวหนอนออกมาทำลายทิ้ง จากนั้น ให้ตัดแต่งผลทุเรียนที่มีจำนวนมากเกินไป โดยเฉพาะผลที่อยู่ติดกัน เกษตรกรควรใช้กิ่งไม้หรือกาบมะพร้าวคั่นระหว่างผล เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวเต็มวัยวางไข่หรือตัวหนอนเข้าหลบอาศัย และควรเริ่มห่อผลทุเรียนตั้งแต่มีอายุ 6 สัปดาห์ เป็นต้นไป ด้วยถุงมุ้งไนล่อน ถุงรีเมย์ หรือถุงพลาสติกสีขาวขุ่นที่เจาะรูบริเวณขอบล่าง เพื่อให้น้ำระบายออกมาได้ ซึ่งจะช่วยลดความเสียหายของผลทุเรียนได้

หากพบการระบาดรุนแรงของหนอนเจาะผลทุเรียน ให้เกษตรกรพ่นด้วยสารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพ คือ สารแลมบ์ดา-ไซฮาโลทริน 2.5% อีซี อัตรา 20 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารคลอร์ไพริฟอส 40% อีซี อัตรา 20 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารคาร์โบซัลแฟน 20% อีซี อัตรา 50 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร โดยพ่นเฉพาะส่วนผลทุเรียนที่พบการทำลายของหนอนเจาะผล สำหรับในแหล่งที่มีการระบาด ให้พ่นหลังจากทุเรียนติดผลแล้ว 1 เดือน โดยพ่น 3-4 ครั้ง ทุก 20 วัน

มักพบการเข้าทำลายในช่วงที่ทุเรียนมีผลรุ่นที่ 2 อายุ 65-70 วัน หลังดอกบาน เกษตรกรควรหมั่นสำรวจสวนทุเรียนในระยะนี้ จะพบตัวเต็มวัยหนอนเจาะเมล็ดทุเรียนวางไข่เป็นฟองเดี่ยวบนผลทุเรียนช่วงที่ผลยังอ่อน จากนั้น ตัวหนอนที่เพิ่งฟักจากไข่จะเจาะเข้าไปกัดกินเมล็ดภายในผล และไม่สามารถสังเกตเห็นร่องรอยการเข้าทำลายจากผิวผลภายนอกได้ เนื่องจากหนอนมีขนาดเล็กมากและเปลือกทุเรียนที่กำลังขยายจะปิดรูเจาะของหนอน

สำหรับทุเรียนที่ถูกทำลายส่วนใหญ่อยู่ในระยะที่เมล็ดแข็งแล้ว การทำลายของหนอนเจาะเมล็ดทุเรียนจะเจาะเข้าไปในเมล็ดกัดกินและถ่ายมูลออกมา ทำให้เนื้อทุเรียนเปรอะเปื้อนเสียหาย หนอนจะอาศัยอยู่ภายในผลทุเรียนจนกระทั่งผลทุเรียนแก่ เมื่อหนอนโตเต็มที่ขนาดยาวประมาณ 4 เซนติเมตร หรือถ้าผลร่วงก่อนหนอนจะเจาะผลทุเรียนเป็นรูกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5-8 มิลลิเมตร ออกมาภายนอกเพื่อเข้าสู่ระยะดักแด้ในดินที่ชื้นนาน 1-9 เดือน (กรณีที่สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมหนอนอาจอยู่ในดักแด้นานกว่านั้น) จึงฟักเป็นตัวเต็มวัย ซึ่งตรงกับช่วงใกล้เก็บเกี่ยวผลผลิตทุเรียน

หากพบการเข้าทำลายของหนอนเจาะเมล็ดทุเรียน เกษตรกรควรติดตามตรวจดูภายในสวนทุเรียน และหมั่นทำความสะอาดสวนอย่างสม่ำเสมอ เก็บผลร่วงที่ถูกทำลายออกจากแปลงไปเผาทำลายทิ้งนอกสวน และควรเริ่มห่อผลทุเรียนเมื่ออายุได้ 6 สัปดาห์ ด้วยถุงพลาสติกสีขาวขุ่น ขนาด 40×75 เซนติเมตร ที่เจาะมุมก้นถุงด้านล่าง เพื่อให้น้ำระบายออกมาได้ ก่อนห่อผลควรตรวจสอบผลทุเรียนที่จะห่อให้ปราศจากเพลี้ยแป้ง ถ้ามีให้กำจัดโดยใช้แปรงปัดออก แล้วพ่นด้วยสารฆ่าแมลงคลอร์ไพริฟอส 40% อีซี อัตรา 15 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร ซึ่งจะช่วยลดความเสียหายของผลทุเรียนได้

เกษตรกรไม่ควรขนย้ายเมล็ดทุเรียนจากที่อื่นเข้ามาในแหล่งปลูก หากมีความจำเป็นควรคัดเลือกเมล็ดหรือแช่เมล็ดทุเรียนด้วยสารฆ่าแมลงมาลาไทออน 83% อีซี อัตรา 40 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารคาร์บาริล 85% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ก่อนขนย้ายจะสามารถช่วยกำจัดหนอนได้

กรณีพบหนอนเจาะเมล็ดทุเรียนตัวเต็มวัย 1 ตัว ในกับดักแสงไฟ ให้เกษตรกรสำรวจไข่ของหนอนเจาะเมล็ดทุเรียนที่ร่องหนามผลทุเรียน แล้วเก็บทำลาย จากนั้นให้พ่นด้วยสารเคมีคาร์บาริล 85% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารเดลตาเมทริน 3% อีซี อัตรา 15 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารแลมบ์ดา-ไซฮาโลทริน 2.5% ซีเอส อัตรา 20 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารเบตา-ไซฟลูทริน 2.5% อีซี อัตรา 20 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร โดยเริ่มพ่นเมื่อผลมีอายุ 6 สัปดาห์ และพ่นห่างกันครั้งละ 1 สัปดาห์ งดพ่นสารเคมีก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิตอย่างน้อย 14 วัน

ผมปลูกมังคุดไว้ในสวนจำนวนหนึ่ง ร่วมกับไม้ผลอื่นๆ อีกสองสามชนิด ปรากฏว่าในบางปีมังคุดที่ผมปลูกไว้เป็นเนื้อแก้ว ไม่ทราบว่าเกิดจากสาเหตุอะไร และจะแก้ไขได้อย่างไร ขอคำแนะนำด้วยครับ

อาการมังคุดเนื้อแก้ว มีเนื้อสีขาวใส อาจเกิดขึ้นเพียงบางเมล็ด หรือเป็นทั้งผลก็มี หากสังเกตให้ดีจะพบรอยปริที่ผิวของผล มียางสีเหลืองไหลออกมาตามรอยปริ มักเกิดขึ้นกับผลที่แก่เกือบเก็บเกี่ยวได้แล้ว อาการดังกล่าวเกิดขึ้นเนื่องจากการได้รับน้ำไม่สม่ำเสมอ หรือขาดน้ำในระยะใดระยะหนึ่งขณะมังคุดติดผลแล้ว เมื่อเกิดมีฝนตกลงมา หรือให้น้ำมากเกินไปในระยะดังกล่าว ซึ่งเป็นระยะหิวกระหาย เมื่อต้นมังคุดได้น้ำมันจะดูดน้ำเข้าไปอย่างรวดเร็วและส่งต่อไปยังผล ทำให้เนื้อผลขยายตัวอย่างรวดเร็ว ในขณะที่เปลือกผลพัฒนาไม่ทัน เมื่อการขยายตัวไม่เท่ากัน เปลือกของผลปริแตกออกในช่วงเดียวกัน เนื้อผลจะเปลี่ยนสีขาวใสหรือโปร่งใสปรากฏให้เห็น

วิธีแก้ไข ต้องให้น้ำในสวนอย่างสม่ำเสมอ ปัจจุบัน เกษตรกรชาวสวนที่จังหวัดจันทบุรีและระยอง จะขุดร่อง กว้าง 30-50 เซนติเมตร ลึก 1 เมตร ระหว่างแถวของต้นไม้ผลเพื่อระบายน้ำออกจากแปลง ขณะฝนตกก่อนฤดู หรือฝนหลงฟ้า หรือการให้น้ำมากไป หากปฏิบัติได้ตามข้อแนะนำข้างต้นแล้วปัญหามังคุดเนื้อแก้วจะหมดไป

ถั่วลิสง เป็นผลผลิตทางการเกษตรประเภทหนึ่ง ที่ผู้คนนิยมบริโภคในหลายรูปแบบ เช่น ถั่วลิสงต้มสุก ถั่วลิสงคั่ว นำไปแปรรูปอาหารได้หลากหลายชนิด เป็นส่วนผสมของขนมคาวหวาน เช่น แกงฮังเล น้ำพริกคั่ว ถั่วลิสงต้มกระดูกหมู ไก่สามอย่าง เมี่ยงคำ ส้มตำไทย ส่วนผสมของน้ำจิ้มต่างๆ ถั่วลิสงชุบแป้งทอด สกัดเป็นน้ำมันถั่วลิสง ส่วนที่เหลือจากการสกัดน้ำมัน นำไปทำเป็นอาหารสัตว์ ฯลฯ ทั้งนี้ เพราะถั่วลิสงมีคุณค่าทางอาหารสูง เป็นแหล่งโปรตีนและพลังงาน มีโปรตีนเท่ากับถั่วแดง ถั่วดำ และถั่วเขียว นอกจากประโยชน์มากมายแล้ว ในทางตรงกันข้ามก็มีโทษเช่นกัน คือถั่วลิสงมักเกิดเชื้อราชนิดหนึ่งที่เรียกว่า อะฟลาท็อกซิน ซึ่งเป็นสารพิษร้ายแรงต่อสุขภาพ หากได้รับในปริมาณมาก อาจเป็นสาเหตุเกิดโรคมะเร็งที่ตับ หัวใจ สารพิษนี้สามารถเกิดขึ้นได้ทุกขั้นตอนของการปลูก การเก็บเกี่ยว การตากแห้ง รวมถึงการเก็บรักษาก่อนถึงมือผู้บริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูฝน เชื้อราชนิดนี้จะเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว จะเริ่มปนเปื้อนในระยะการสร้างฝัก

จังหวัดลำปาง มีพื้นที่ปลูกถั่วลิสงอยู่หลายอำเภอ อาจจะเรียกได้ว่าเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่งของจังหวัดก็ว่าได้ ส่วนใหญ่จะปลูกหลังจากเก็บเกี่ยวข้าวนาปีแล้ว ดังนั้น ในการสนับสนุนถั่วลิสงของเกษตรกรในจังหวัดลำปาง จึงได้หาแกนนำในการส่งเสริมการแปรรูปถั่วลิสงให้มีคุณภาพ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง โดยความร่วมมือกันทุกภาควิชา ตั้งแต่วิชาการเพาะปลูก การปฏิบัติดูแลรักษา การป้องกันรักษาศัตรูพืช การเก็บเกี่ยว การแปรรูป ตลอดจนการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ในด้านการอบแห้งถั่วลิสงให้มีคุณภาพนั้น อาจารย์วิชัย สินจักร เล่าให้ฟังว่า ได้คัดเลือกโรงงานรับซื้อถั่วลิสงของ คุณเฉลิมชัย ใจวังเย็น หมู่ที่ 3 บ้านกล้วย ตำบลกล้วยแพะ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง เป็นศูนย์เรียนรู้เรื่องถั่วลิสงครบวงจร คณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้นำเอาเครื่องอบความชื้นที่ใช้พลังงานจากแก๊สหุงต้ม ที่มีลักษณะคล้ายเครื่องอบลำไยแห้ง มาใช้อบถั่วลิสง ในรอบปีที่ผ่านมานับว่าประสบผลสำเร็จในระดับหนึ่ง ในขณะเดียวกัน ในเรื่องของการอบถั่วลิสงให้มีคุณภาพนั้น อีกวิธีการหนึ่งคือ การอบด้วยความเย็น

อาจารย์ประเทือง ฝั้นแก้ว เล่าว่า ในการอบให้ถั่วลิสงมีคุณภาพอีกวิธีหนึ่งคือ การอบด้วยความเย็นดูดความชื้นสัมพัทธ์ออกจากฝักถั่วลิสง โครงสร้างทรงสี่เหลี่ยม ผนังแบบสองชั้น เพื่อเก็บกักความเย็นไว้ภายใน ที่ได้จากการติดตั้งเครื่องปรับอากาศ เครื่องอบแบบนี้จะใช้ได้ดีในช่วงฤดูฝนที่มีความชื้นมากๆ หลังจากกระบวนการอบแห้งแล้ว จะนำไปเข้าเครื่องคั่วสุก เพื่อให้เนื้อหรือเมล็ดภายในฝักถั่วลิสงสุก พร้อมที่จะนำไปบรรจุภัณฑ์และจำหน่ายต่อไป ที่นี่ใช้ชื่อการค้าว่า “มิตรเกษตร” ถั่วลิสงอบ-กรอบ ท่านที่สนใจผลิตภัณฑ์ถั่วลิสงอบกรอบคุณภาพดี ติดต่อได้ที่ โทร. (089) 433-0368, (091) 065-4571 สำหรับเครื่องอบถั่วลิสงแห้ง

การทำเกษตรให้ดี มีกำไร พิสูจน์แล้วว่าไม่จำเป็นต้องมีพื้นที่เยอะ ไม่ต้องมีเงินทุนมาก ก็สามารถประสบความสำเร็จได้เหมือนกัน เพียงก่อนทำต้องมีการวางแผนให้รัดกุม เลือกชนิดพืชให้เหมาะกับพื้นที่ และเงินทุนที่มี หรือถ้าอยากทำแล้วได้ผลเร็วเกษตรกรต้องมีไหวพริบสักหน่อย พยายามหาพืชที่มีราคา หากเลือกพืชที่คนทั่วไปปลูกได้ราคาหลักสิบ ก็จะได้จับเงินหลักสิบ แต่ถ้าเลือกปลูกพืชที่ตลาดต้องการ มีคนทำน้อย ราคาต้นละเป็นพันบาทคุณก็ขายได้

คุณปฏิภาณ ฤทธิ์นอก (สิทธิ์) เกษตรกรสายชิล เลือกปลูกพืชที่ให้ผลตอบแทนสูง มีพื้นที่น้อยแต่รายได้มาก อยู่บ้านเลขที่ 49 หมู่ที่ 4 บ้านห้วยไผ่ ตำบลห้วยส้ม อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย เล่าว่า เดิมทำงานเป็นโอเปอเรเตอร์อยู่ที่จังหวัดชลบุรีมาก่อน แต่มีใจรักธรรมชาติมาตั้งแต่เด็ก เห็นพ่อแม่ทำก็ซึมซับมาเรื่อยๆ คิดว่าสักวันจะต้องกลับบ้านมาสร้างสวนในฝันให้ได้

“ตอนทำงานประจำ คิดมาตลอดว่า ถ้าออกจากงานเพื่อไปทำเกษตร จะทำอย่างไรให้มีรายได้เดือนละสองสามหมื่น หลายเสียงพูดว่า จะต้องมีพื้นที่เยอะ มีเงินทุนมาก และต้องมีแหล่งน้ำที่สมบูรณ์นะถึงจะทำได้ แต่เราไม่มองแบบนั้นเราคิดนอกกรอบไปอีกว่า การทำเกษตรให้อยู่รอด ต้องมีความรู้ครบองค์ประกอบ เช่น ถ้าจะปลูกต้นไม้ ต้องรู้วิธีการทำปุ๋ย ต้องรู้ปัญหาและธรรมชาติของต้นไม้

ที่สำคัญปลูกแล้วขายใคร ผลผลิตออกช่วงไหน เรียนรู้เลยว่าคนในประเทศไทยกินอะไรเป็นหลัก จำแนกออกเป็นกลุ่ม ถ้าในชุมชนเรากินอะไร เขาก็กินแบบนั้น แต่ถ้าเป็นตลาดออนไลน์ จะมีหลายกลุ่ม เช่น กลุ่มคนรักสุขภาพ ผักต้องเป็นผักอินทรีย์ ผักออร์แกนิก เราต้องจำแนกสินค้าและกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน ถ้าทำได้ก็ไม่สำคัญว่าจะมีพื้นที่น้อย เงินลงทุนน้อย”

เริ่มต้นทำเกษตร ด้วยเงินทุน 2,000 บาท
ต่อยอดเป็นเงินหลักแสน
ก่อนจะลาออกจากงานประจำ คุณปฏิภาณปูทางงานเกษตรด้วยงบเพียง 2,000 บาท ช่วงนั้น ปี 2554 จำได้ว่า มะนาวราคาแพง คุณปฏิภาณมองเห็นช่องทางจึงเลือกหารายได้เสริมด้วยการตอนกิ่งพันธุ์มะนาวขายให้เพื่อนที่ทำงาน เริ่มจากซื้อมะนาวมา 10 ต้น เป็นเงิน 1,000 บาท ซื้อวงบ่อซีเมนต์ 10 บ่อ บ่อละ 100 บาท ทำขายต่อยอดจากเงิน 2,000 เป็นเงิน 15,000 บาท ตลาดไปได้ดีจึงตัดสินใจขยายแปลงปลูกเพิ่ม แต่พื้นที่มีจำกัด จึงเปลี่ยนจากการขยายพันธุ์เองเป็นการส่งเงินกลับไปให้พ่อกับแม่ขยาย แล้วช่วยกันขายแทน ผ่านไป 5 เดือน ขายกิ่งตอนมะนาวได้เงินแสนกว่าบาทก็นำมาต่อยอด ขยายแปลงปลูกไผ่เพิ่มอีก 1 ไร่

ไผ่บงหวานเพชรน้ำผึ้ง พืชสร้างรายได้งาม
ตลาดมีความต้องการสูง
เจ้าของบอกว่า หากท่านใดอยากออกจากงานประจำมาทำเกษตร ขอย้ำทุกคนว่า อย่าใจร้อน ถ้าคิดจะออกท่านต้องปูทางปลูกพืชไว้ก่อนออกจากงาน และพืชที่ปลูกไว้ต้องสร้างรายได้ให้เราอย่างน้อย 2-3 ชนิด ถ้ายังไม่เริ่มต้นทำล่วงหน้าแต่ออกจากงานเพื่อมาลุยทำเกษตร แนะนำว่าอย่า เพราะหนทางข้างหน้าจะมืดมาก

“ก่อนออกจากงาน ผมเลือกที่จะปลูกไผ่บงหวานเพชรน้ำผึ้งไว้สร้างรายได้เป็นขั้นที่หนึ่ง ไผ่ตัวนี้ผมศึกษาหาข้อมูลมานานกว่า 8 ปี ถือเป็นพืชที่น่าสนใจ และคิดว่าจะสร้างรายได้ดีในอนาคต ด้วยคุณสมบัติที่พิเศษ รสชาติหวาน สามารถทานดิบได้ คนเป็นเก๊าต์ทานได้ ไม่มีไซยาไนด์ ปลูกง่าย ไม่ต้องดูแลมาก มีเวลาว่างช่วงไหนค่อยกลับมาขุดขายสร้างรายได้หลายหมื่น” เจ้าตัวบอก

ขั้นตอนการปลูก…ลงทุนด้วยงบ 20,000 บาท ปลูกแค่ 1 ไร่ 200 ต้น ขุดหลุมกว้างxยาวxลึก 30x30x30 เซนติเมตร ระยะห่างระหว่างแถว 2×4 เมตร ถ้าปลูกลึกกว่านี้ เวลาขุดหน่อจะลำบากมาก แต่ทางที่ดีต้องเลือกแปลงทำพันธุ์กับทำหน่อ มีที่ไม่เยอะจึงทำได้เท่านี้

การดูแล…ง่ายมาก หากอยากให้หน่อออกตลอดทั้งปีช่วงหน้าแล้ง ให้รดน้ำ ปลูก 1 เดือน ใส่ปุ๋ย ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี ใส่ขี้ไก่แกลบแทน ใส่ทุกๆ สองเดือน และหาใบไม้หรือฟางมาคลุมเพื่อรักษาความชื้นและทำให้หน้าดินร่วนซุย

ระบบน้ำ… 1 ไร่ ไม่ต้องใช้ระบบน้ำ รากสายยางรด ให้รดน้ำตั้งแต่วันแรกที่ปลูก รดน้ำทุก 3 วัน ฤดูปลูกที่เหมาะสมให้ปลูกก่อนฤดูฝน 1 เดือน จะประหยัดค่าน้ำ หลังจากนั้นให้ฝนช่วย ไผ่ถ้าติดแล้วจะไม่ตาย ปลูกทิ้งแล้วไปทำงาน มีเวลาค่อยกลับมาขุดขายก็ไม่มีปัญหา

เจ้าของเล่าต่ออีกว่า ตอนเริ่มปลูกไผ่คิดว่าจะปลูกเพื่อขายหน่อ คำนวณว่าจะตัดหน่อขายได้วันละ 30-40 กิโลกรัม ขายกิโลกรัมละ 60 บาท จะได้เงินวันละ 2,000 บาท แต่พอผลผลิตออกมาจริงๆ กลับมีอะไรที่คุ้มค่ากว่านั้นคือ การขุดต้นพันธุ์ขาย ตอนแรกไม่ได้คิดอะไร ถ่ายรูปโพสต์ลงเฟซบุ๊กตามปกติ แต่พอลงไปแล้วเพื่อนในเฟซบุ๊กเมนต์มาถามกันเป็นจำนวนมากว่า คือไผ่พันธุ์อะไร เราก็บอกว่าเป็นไผ่บงหวานเพชรน้ำผึ้ง สามารถรับประทานดิบได้ คนเป็นเก๊าต์ก็รับประทานได้ ออกหน่อทั้งปี แค่รดน้ำ เท่านั้นแหละ ยอดสั่งซื้อมาเป็นหลักแสน แต่ทำให้ไม่ทัน จึงเริ่มมองเห็นโอกาสเบนเข็มมาขายต้นพันธุ์แทน

คิดง่ายๆ ว่า ไผ่ 1 ลำ สามารถทยอยเก็บหน่อขายได้ทุกวันก็จริง ถ้าขายหน่อจะเก็บได้วันละประมาณ 40 กิโลกรัม ขายส่งกิโลกรัมละ 40 บาท คิดเป็นรายได้วันละพันกว่าบาท แต่ถ้าขายต้นพันธุ์เราขุดขายได้ต้นละ 100 บาท

ไผ่สามารถขุดได้ปีละ 2 ครั้ง ใน 1 กอ อาจจะมี 15-18 ลำ ซึ่งใน 1 กอนั้น ให้เก็บไว้ 5-6 ลำ ที่เหลือขุดไปขายให้หมด ดังนั้น ไผ่เฉลี่ย 200 กอ เราขุดต้นพันธุ์ได้ 8-10 ต้น/กอ คิดเป็นเงิน 800-1,000 บาท/กอ แล้วคูณ 2 เข้าไป เพราะ 1 ปี ขุดได้ 2 ครั้ง ถือเป็นพืชที่สร้างรายได้ดีมากๆ แต่คนมองข้าม ทุกวันนี้ผมปลูกไผ่ 1 ไร่ แต่สร้างรายได้จากการขายต้นพันธุ์ได้ปีละ 200,000 บาท

ปลูกไผ่สำเร็จ วางแผนปลูกผักเมืองหนาว
เสียบยอดไม้ผล สร้างรายได้เพิ่มอีก 2-3 ชนิด
หลังจากปลูกไผ่ได้สำเร็จ คุณสิทธิ์ได้ขยายแปลงปลูกผักเมืองหนาว และเสียบยอดไม้ผลอีกหลายชนิดเพื่อเป็นการเสริมรายได้เพิ่ม โดยแบ่งเป็นปลูกผักสวนครัวและผักเมืองหนาว 2 งาน ปลูกไม้ผลเพื่อขยายพันธุ์อีก 2 งาน และแบ่งพื้นที่ไว้เลี้ยงไก่ไข่ไว้รับประทานเองอีกเล็กน้อย ทำมา 1 ปี ตอนนี้เริ่มมีรายได้มาบ้างแล้ว

ตอนนี้การขายต้นพันธุ์ไผ่ถือเป็นรายได้หลัก M8BET ส่วนตัวที่กำลังสร้างรายได้ตามไผ่มาติดๆ คือ การเสียบยอดไม้ผลขาย วิธีนี้เป็นวิธีที่ง่าย ได้เงินไว มีพื้นที่น้อยก็ทำได้ หลักการคือ การเสียบยอดไม้ผลขาย มีหลายชนิด เช่น ฝรั่ง อะโวกาโด มะเดื่อฝรั่ง ลำไยแดง ข้าวโพดหลายสายพันธุ์ ผักหวานป่า 1,000 ต้น โดยซื้อมาแค่อย่างละ 2 ต้น นำมาขยายพันธุ์เอง

ยกตัวอย่าง ถ้าเราอยากทำพันธุ์ฝรั่งขาย เราไม่จำเป็นต้องปลูก ผมแค่ซื้อต้นมาต้นละ 3 บาท นำมาชำไว้ 1 เดือน แล้วสั่งยอดมาเสียบ คิดง่ายๆ ว่า เราสั่งมา 100 ยอด ยอดละ 50 บาท คิดเป็นเงิน 5,000 บาท ต้นตอต้นละ 8 บาท แต่ทำขายได้ ต้นละ 100 บาท ทำได้ 5,000 ต้น เท่ากับเงิน 50,000 บาท ในเวลา 3 เดือน แบบไม่ต้องลงแรงให้เหนื่อย

เกษตรกรยุคใหม่ หาตลาดไม่ยาก
ใช้สื่อโซเชียลในมือให้เป็นประโยชน์
หากเปรียบการตลาดสมัยก่อนกับสมัยนี้ ความสะดวกสบายต่างกันอยู่มาก เมื่อก่อนหากเจ้าของธุรกิจเจ้าของสินค้าอยากที่จะลงโฆษณาสินค้า จะต้องเสียเงินหลายบาทเพื่อที่จะซื้อพื้นที่บนสื่อสิ่งพิมพ์ หรือสื่อวิทยุโทรทัศน์ต่างๆ แต่ในยุคปัจจุบันการตลาดหาได้ง่ายแค่ปลายนิ้ว

“ตอนนั้น ผมอายุ 19 ปี คิดว่าถ้าทำเกษตรสิ่งแรกที่ต้องทำคือ การตลาด ต้องโปรโมตผ่านหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ หรือทำโบชัวร์ แต่เมื่อโซเชียลเข้ามา มีเฟซบุ๊กเราไม่ต้องทำไรมาก แค่สร้างพืชและสร้างสตอรี่ของสวนเราเท่านั้น ผมเป็นเกษตรกรสายชิว ตอนเช้าลุกมาทำสวนถึง 11 โมง แล้วกลับเข้าบ้านไปพัก บ่ายสามค่อยออกมาทำต่อ ผมไม่เคยประกาศขายของเลยสักครั้ง แต่ในเฟซบุ๊กของผมกลับมีแต่คนสนใจเข้ามาสั่งสินค้าของผม

ผมแนะว่าเกษตรกรรุ่นใหม่ไม่ต้องทำไรมาก แค่หมั่นสร้างสตอรี่ หมั่นนำเสนอตัวเองในกลุ่มต่างๆ ขยันถ่ายรายละเอียดก่อนและหลังปลูกพืช โพสต์เรื่องราวในสวนเรื่อยๆ พอมีคนมาชอบ มีคนมาคอมเมนต์ เราก็กลับไปแอดคนเหล่านี้ให้หมด การตลาดก็ได้มาแต่ตอนนั้นผลผลิตมีเท่าไรก็ไม่พอ รายได้ถืออยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ ทำงานแบบสบาย อยากตื่นตอนไหนก็ตื่น อยากนอนตอนไหนก็ได้” เกษตรกรสายชิวบอก