แปรรูปเอาใจตลาดคนรุ่นใหม่ ในช่วงที่มีกระแสเข้ามานั้น

เริ่มมีการหากลุ่มตลาดทั้งที่เป็นคนในพื้นที่หรือกลุ่มที่เป็นลูกค้าจากต่างจังหวัด โดยในการทำการตลาดในช่วงแรกก็ได้มีการนำลำต้นของไม้ไผ่มาตัดขายเป็นเมตร ขายในราคา 3 เมตร 20 บาท แต่ถ้าท่อนเล็กๆ ประมาณ 1 เมตรกว่าๆ ก็มีราคาประมาณ 15 บาท ต่อมาได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่องจากที่มีขายแค่ลำไผ่ ต่อยอดจากรุ่นพ่อสู่รุ่นลูกแปรรูปจากไม้ไผ่กลายมาเป็นกระปุกออมสิน แก้วน้ำ หลอดน้ำดื่ม จนทำให้เป็นที่รู้จักทั้งที่เข้ามาเที่ยวและสื่อสมัยใหม่อย่างโลกโซเชียล

นอกจากการขายตามตลาดทั่วไปแล้วยังมีการสร้างร้านค้าในโลกโซเชียล อย่างเฟซบุ๊กอีกด้วย ทั้งนี้ ก็เพื่อเจาะกลุ่มตลาดกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ชอบความสะดวกและประหยัดเวลาได้อีกด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้คือที่มาก่อนที่จะมาทำการตลาดจนประสบผลสำเร็จและการันตีรายได้ที่มั่นคงมาถึงทุกวันนี้

ทั้งนี้ คุณสำราญได้ฝากถึงคนที่กำลังต้องการศึกษาความรู้ในการปลูกไผ่ ก็สามารถติดต่อเข้ามาได้ที่ บ้านเลขที่ 46/2 หมู่ที่ 8 ตำบลป่าระกำ อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช หมายเลขโทรศัพท์ (087) 284-1309

วันนี้ ได้รับเชิญจาก คุณชาวิช จันทร์เกษ ประธานสหกรณ์การเกษตรผสมผสานสกลนคร จำกัด ทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานเครือข่าย มหาวิทยาลัยชาวนาสกลนครร่วมกันขับเคลื่อนโครงการเกษตรเพื่ออาหารและการท่องเที่ยว โดยมีเกษตรกรรุ่นใหม่ young smart farmer เป็นแกนนำเนื่องจากเป็นคนหนุ่มไฟแรงมีแนวความคิดหัวก้าวหน้าทันต่อโลกในสถานการปัจจุบัน ให้มาร่วมงานเปิด สถาบันพัฒนาเกษตรกร (มหาวิทยาลัยชาวนาสกลนคร) ที่ศูนย์บ่มเพาะเกษตรกรรุ่นใหม่ หรือกลุ่มผสมผสานและเทคโนโลยี กลุ่ม Young Smart Farmer สกลนคร โดยพื้นที่ดังกล่าวเป็นของ คุณสิทธิ์ศักดิ์ พุ้ยมอม อยู่ที่บ้านดอนเชียงบาน หมู่ที่ 3 ตำบลเชียงเครือ อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร

อาศัยติดรถร่วมกับ ว่าที่ ร.ต. ประสิทธิชัย บุระเนตร รักษาการสหกรณ์จังหวัดสกลนคร มารับ และออกจากตัวเมืองสกลนคร มุ่งหน้าไปตามถนนสายสกลนคร-นครพนม ใช้เวลาประมาณ 30 นาที หรือราว 30 กม. ผ่านทางเข้า เข้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และเลยไปอีกราว 3 กม. ก็ถึงบ้านดอนเชียงบาน เป็นสามแยก ไปทางอำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม เลี้ยวซ้ายไปตามถนนดอนเชียงบาน-นาหว้า ราว 2 กม. ก็จะพบกับพื้นที่ของการเปิดงาน “สถาบันพัฒนาเกษตรกร”

วันนี้ทราบจากคณะมาร่วมเดินทางว่า ได้มีการเชิญกลุ่มเครือข่าย ตลอดจนผู้ที่ต้องการศึกษาเรียนรู้เพิ่มเติม มาร่วมฟังด้วย โดยมี พล.อ. วิบูลย์พงษ์ กลั่นเสนาะ ผู้บริหารโรงแรมอิมพิเรียล เข้าเชื่อมโยงด้านการตลาดรับซื้อผลิตภัณฑ์จากเครือข่าย (มหาวิทยาลัยชาวนาสกลนคร) ผอ.อดิศร เชื้อไทย ตัวแทนเกษตรจังหวัดสกลนคร ร่วมพิธีเปิดสถาบันพัฒนาเกษตรกร (มหาวิทยาลัยชาวนาสกลนคร) ว่าที่ ร.ต. ประสิทธิชัย บุระเนตร รักษาการสหกรณ์จังหวัดสกลนครร่วมพิธีเปิดสถาบันเกษตรกร (มหาวิทยาลัยชาวนาสกลนคร) รศ.ดร.สมบัติ ชิณะวงศ์ ผอ.สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประธานเปิดสถาบันพัฒนาเกษตรกร (มหาวิทยาลัยชาวนาสกลนคร) เข้าร่วมเป็นวิทยากรและให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมด้วย

ก่อนที่จะมาเป็น มหาวิทยาลัยชาวนา

คุณสิทธิศักดิ์ พุ้ยมอม อายุ 43 ปี อยู่ที่ 282 หมู่ที่ 3 บ้านดอนเชียงบาน ตำบลเชียงเครือ อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร เล่าว่า หลังจากเข้าเรียนและได้รับประกาศนียบัตรบุณฑิตวิชาชีพครูก็ไปเรียนต่อจนจบปริญญาตรี หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ โปรแกรมวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม แขนงเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม แล้วออกมาหาประสบการณ์ชีวิต

ประวัติการทำงานในบริษัทอุตสาหกรรม ปี 2528-2539 อยู่บริษัท เกษตรรุ่งเรือง ปี 2539-2540 บริษัท ซับไมครอน จำกัด มหาชน ปี 2540-2553 บริษัท ฮานาเซมิคอนดักเตอร์ จำกัด (มหาชน) ปี 2553-2557 บริษัท ฟาบริเนท จำกัด (มหาชน)

ปี 2557จนถึงปัจจุบัน ได้หันกลับมาทำการเกษตร โดยการพัฒนาในแนวคิดที่นำเทคโนโลยีมาพัฒนา เป็นโครงการวิศวกรรมการเกษตร สกลนคร ทำการเกษตรในพื้นที่ 12 ไร่ ซึ่งที่ดินดังกล่าวคุณแม่ทิ้งไว้ให้ แบ่งเป็น 2 เฟส…เฟส 1 ทำการปลูกป่าแบบผสมผสาน ระหว่างต้นไม้ยืนต้น และพืชผักผลไม้ เฟส 2 ทำการเกษตรปลูกกล้วยน้ำว้า ผสมผสาน ข่า ตะไคร้ และพืชผักสวนครัว

คุณสิทธิศักดิ์ บอกว่า อันนี้คงมาจาก ได้มองเห็นครอบครัว ชีวิตเกษตรกรในชุมชนของตนเองและพื้นที่ใกล้เคียง ตลอดจนที่เคยไปเยี่ยมชมมาหลายสถานที่ที่ทำการเกษตรมีความยากลำบาก ในเรื่องของการจัดการระบบการให้น้ำ ระบบการจัดการเรื่องบำรุงดิน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการทำการเกษตร ที่ผ่านมาคนในชุมชนส่วนใหญ่ให้น้ำต้นไม้ใช้สายยางรดน้ำต้นไม้และให้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ในการบำรุงต้นพืช เสียค่าใช้จ่ายมากเกินไป

จึงเป็นมูลเหตุทำให้ตัดสินใจอยากนำความสามารถและความรู้ที่ตัวเองมีอยู่นำมาประดิษฐ์และพัฒนาอุปกรณ์เครื่องมือทำการเกษตร ให้เข้าถึงและใช้งานง่าย สิ่งสำคัญของเกษตรกร ทำการเกษตรแล้วได้อะไร

เจ้าของบอกว่า

ได้แหล่งปัจจัย 4 ของครอบครัว อาหาร ยารักษาโรค เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย สร้างงาน สร้างรายได้ให้กับสมาชิกในครอบครัว สามารถต่อยอดได้ในวัยที่เกษียณอายุ หรือโดนเลิกจ้างงาน

สร้างความรัก ความสามัคคีในครอบครัว ครอบครัวได้อยู่ด้วยกัน สร้างรายได้ให้กับครอบครัวอย่างยั่งยืน

เป็นตัวอย่างและส่งเสริมให้กับเกษตรกรในชุมชน ได้มีความรู้และทำการเกษตรอย่างเข้าใจ

สามารถรวบรวมสินค้าการเกษตรของเกษตรกร ทำให้เกษตรกรมีตลาดและมีรายได้ สามารถประกอบประกอบกิจการเป็นธุรกิจส่งขายภายในแประเทศและต่างประเทศได้ อะไรที่โดดเด่นที่สุดในการทำการเกษตรที่ฟาร์ม

การนำพลังงานทดแทนมาใช้ในฟาร์ม โดยยึดหลักการที่ว่า สร้างและประดิษฐ์เอง ซ่อมบำรุง ดูแลเองได้ เช่น ระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ ระบบให้น้ำพืชแบบอัตโนมัติ เปิด-ปิดตามโปรแกรมที่ตั้งไว้ ทำการเกษตรแบบปลอดภัย (ปลูกผักอินทรีย์)

เกษตรกรในชุมชนได้อะไรบ้าง

เกษตรกรจะได้ความรู้ จากการทำเป็นตัวอย่างของฟาร์มเราโดยไม่ต้องลองผิดลองถูกให้เสียต้นทุน

เกษตรกรสามารถนำความรู้ที่เรามอบให้ ไปใช้ได้อย่างยั่งยืน และพัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง

เกษตรกรสามารถสร้างรายได้ ปัญหาอุปสรรคในการทำการเกษตร

ขาดแหล่งความรู้บางอย่างและการช่วยเหลือจากองค์กรต่างๆ

คุณสิทธิศักดิ์ บอกอีกว่า จากประสบการณ์ต่างๆ จึงได้จัดตั้งจัดสร้างโครงการวิศวกรรมเพื่อการเกษตร นำเทคโนโลยีมาพัฒนาใช้เกี่ยวกับการเกษตร Agriculture Engineering Project โครงการวิศวกรรมเพื่อการเกษตร โดยบริษัท อเดคนิค เอ็นเจียเนียริ่ง โซลูชั่น (AEP) จำกัด ตั้งอยู่ที่ 282 หมู่ที่ 3 บ้านดอนเชียงบาน ตำบลเชียงเครือ อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร

แผนยุทธศาสตร์ของ AEP คือ 1. สร้างแลนด์มาร์ค จุดเยี่ยมชม “สวนเกษตรผสมผสาน ธรรมชาติและเทคโนโลยี” เป้าหมายเป็นจุดท่องเที่ยวติด 1 ใน 10 สถานที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตร 2. สร้างจุดเด่นและสร้างสรรค์ อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่สงเสริมการทำเกษตรว่าด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพผลิตด้วยเทคโนโลยีและการจัดการ 3. มุ่งเน้นหรือแสดงศักยภาพว่าด้วยการทำเกษตรแบบผสมผสาน,เกษตรอินทรีย์ ก็สามารถเข้ากันกับเทคโนโลยี (มีความลงตัว ไม่บ้าเทคโนโลยีมาก ไม่เกษตรอินดี้จ๋า) ซึ่งทำได้จริงและเห็นผลจริง

“หลักปรัชญาของ AEP (Agriculture Engineering Project : โครงการวิศวกรรมเพื่อการเกษตร) คือ คัดสรรและคิดค้นสร้างสินค้าที่เป็นเครื่องมือในการสนับสนุนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การทำเกษตร 4.0 โดยนวัตกรรมคนไทยเพื่อเกษตรไทยให้ยั่งยืนและสู่สากล” คุณสิทธิศักดิ์ บอก

กิจกรรมเด่นของ โครงการวิศวกรรมเพื่อการเกษตร

Solar Inverter Pump (อุปกรณ์แปลงพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้า)

– ระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ ปศุสัตว์สกลนคร

– วาว์ลอัตโนมัติ โรงสีพลังงานแสงอาทิตย์

ตัวควบคุม ระยะไกลตัวขับปั๊มน้ำระบบพลังงานแสงอาทิตย์ หรือ Smart Solar Pump Inverter Monitoring มีให้เลือกใช้ 2 แบบ ได้แก่ NB-IoT GateWay และ WiFi/EtherNet

ด้วยการใช้ AI เฝ้าตรวจสอบระบบสูบน้ำ และการจัดการจ่ายน้ำ ทำให้การบำรุงรักษาเป็นไปด้วยง่ายและประหยัด ในด้านการป้องกัน ความเสียหายสินค้านี้เหมาะกับโครงการประปาหมู่บ้าน หรือหอน้ำบาดาลขนาดใหญ่ ทั้งสวนฟาร์มและสถานที่ที่ใช้น้ำเยอะๆ ความภาคภูมิใจในอาชีพเกษตรกรรม

น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้การดำเนินชีวิตในปัจจุบัน

ได้ทำงานอยู่กับครอบครัวและสร้างรากฐานรายได้ที่มั่นคงไว้ให้ญาติพี่น้อง

เป็นจุดแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของ young smart farmer และเป็นจุดถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการเกษตรของจังหวัดสกลนคร

คิดค้นและพัฒนาเทคโนโลยีให้เหมาะสมและนำมาใช้ในการทำเกษตร ซึ่งเกิดจากเราทำเองและใช้เอง

เป็น young smart farmer ต้นแบบของจังหวัดสกลนคร

“เศรษฐกิจพอเพียง” จึงไม่ใช่แนวคิดลอยๆ ตามกระแสสังคมเท่านั้น หากแต่สามารถนำมาปรับใช้ และแปลงแนวคิดไปสู่การปฏิบัติได้เป็นรูปธรรม ซึ่งปัจจุบันปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางจากทั้งประชาชนชาวไทยและชาวต่างประเทศ

สำหรับหน่วยงานท่านที่สนใจ อยากชม และศึกษา สามารถติดต่อได้ที่ คุณสิทธิศักดิ์ พุ้ยมอม เลขที่ 282 หมู่ที่ 3 บ้านดอนเชียงบาน ตำบลเชียงเครือ อำเภอเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร 47000 โทร. (089) 688-3319

ความจริง โก้โก้ เป็นพืชที่เกษตรกรส่วนหนึ่งในบ้านเราปลูกกันมานานหลายสิบปีแล้ว แต่อาจจะเป็นเพราะตลาดยังไม่กว้างขวาง และหน่วยงานภาครัฐยังไม่ได้ส่งเสริมอย่างจริงจัง ประกอบกับพืชเศรษฐกิจตัวอื่นๆ อย่างเช่น ยางพารา ได้ราคาดี เกษตรกรส่วนใหญ่จึงหันไปปลูกยางพารากัน จนกระทั่งยางพาราราคาตกต่ำต่อเนื่องกันมาหลายปี และยังไม่มีทีท่าว่าราคาจะดีเหมือนในอดีต เกษตรกรกลุ่มหนึ่งจึงหันเหมาปลูกโกโก้แทน ขณะเดียวกันมีบริษัทเอกชนหลายรายเข้ามาทำธุรกิจอย่างจริงจัง โดยนำต้นพันธุ์มาให้ปลูกและรับซื้อ

“คุณปัทมพร พิชัย” อายุ 37 ปี เกษตรกรในตำบลยอด อำเภอสองแคว จังหวัดน่าน เป็นอีกคนหนึ่งที่สนใจมาปลูกโกโก้ เพราะมองว่าเป็นพืชที่คนทุกเพศทุกวัยกินกัน ตั้งแต่เด็กจนถึงผู้ใหญ่ เป็นตลาดที่กว้างกว่ากาแฟเสียอีก แต่คนปลูกมีจำนวนไม่มากเท่าไร ขณะที่มีคนทำช็อกโกแลตเยอะมาก แต่ส่วนใหญ่มักส่งมาจากเมืองนอก ไม่ได้ซื้อในบ้านเรา

นอกจากจะปลูกแล้ว คุณปัทมพรยังรับซื้อจากเกษตรกรในเครือข่ายด้วย เป็นการส่งเสริมเกษตรแบบครบวงจร โดยได้ใช้ความรู้และประสบการณ์ในอดีตที่เคยทำงานกับทางปิดทองหลังพระฯ น่าน และทำงานที่โครงการแม่ฟ้าหลวงมาก่อน ในเรื่องการรวมกลุ่ม เรื่องการตลาดและการจัดการแปลง ที่สำคัญคุณปัทมพรอยากทำ “เกษตรทฤษฎีใหม่” ให้ประสบความสำเร็จ และเป็นแบบอย่างให้กับคนในชุมชน โดยตอนนี้เธอเป็นรองประธานวิสาหกิจชุมชนโกโก้เกษตรบนดอยน่าน

แปลงโกโก้ของคุณปัทมพรอยู่ที่ตำบลยอด ในเนื้อที่ 10 ไร่ ประมาณ 800 กว่าต้น โดยปลูกแซมในพื้นที่ที่ปลูกมะม่วงโชคอนันต์ มะนาว และทุเรียน เพราะโกโก้เป็นไม้ร่มเงาเหมือนกาแฟอาราบิก้า ต้องการแสงประมาณ 50-80% (ต้นอ่อนต้องการแสงแดดน้อยกว่า) ขึ้นอยู่กับระยะเวลาการปลูก ซึ่งเจ้าตัวมีแผนจะขยายพื้นที่ปลูกอีก พร้อมใช้พื้นที่บริเวณนั้นทำเป็นตลาดชุมชน เพื่อใช้เป็นแหล่งขายปลีก-ขายส่งด้วย

เกษตรกรสาวรายนี้เล่าที่มาที่ไปของการปลูกโกโก้ว่า เกษตรกรในจังหวัดน่านต่างนิยมปลูกข้าวโพดกัน จึงมีแนวคิดอยากหาพืชเศรษฐกิจตัวใหม่มาทดแทน อยากพัฒนาบ้านเกิด ตลาดจะกว้างกว่าพืชตัวอื่น ก่อนหน้านี้ไม่มีความรู้เรื่องโกโก้เลย จึงได้ค้นหาตามเฟซบุ๊กและในอินเตอร์เน็ต ทำให้รู้ว่าเป็นพืชตัวใหม่ ตลาดจะกว้างกว่าพืชตัวอื่น โดยเฉพาะสายพันธุ์ชุมพร 1 จะออกลูกตลอดทั้งปี

“มองว่า โกโก้ เป็นพืชที่คนกินทั่วโลก ทำไมเราจะไม่ปลูก ที่สำคัญขายได้ทุกเดือน เป็นพืชที่สามารถตอบโจทย์ให้เกษตรกรได้ว่าพวกเขาสามารถมีรายได้จากรายเดือน โดยที่ไม่ต้องเป็นข้าราชการ และอาจจะได้เยอะกว่าด้วยซ้ำไป เพราะในการปลูก 1 ไร่ ใช้เวลา 3-5 ปี ก็จะได้ผลผลิตประมาณ 2-5 ตัน ต่อ 1 ไร่”

คุณปัทมพร บอกว่า ช่วงที่ทำงานอยู่มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย เมื่อหลายปีก่อน มีพี่ที่รู้จักส่งเมล็ดมาให้เพาะ เลยลองเพาะดู ครั้งแรกไม่งอก เพราะไม่รู้วิธี พอเพาะครั้งที่สอง แกะเมล็ดออกมา นำมาล้างน้ำแล้วบ่มไว้ 2-3 คืน จะมีตางอกออกมา แล้วค่อยนำไปลงถุงเพาะ ขึ้นประมาณ 600 กว่าต้น จากนั้นใช้วิธีเพาะเมล็ดเหมือนกาแฟ คือเอาไปโรยที่ขุยมะพร้าว แล้วใช้ขุยมะพร้าวทับไปอีกรอบ ประมาณ 3-7 วัน แล้วแต่สภาพอากาศ ซึ่งต้องใช้ความร้อนพอสมควรเมล็ดถึงจะงอก จากนั้นเขี่ยแล้วนำไปลงถุง

สำหรับการปลูก เริ่มแรกควรรองก้นหลุมด้วยขี้ไก่ แกลบ และปุ๋ยหมักทำเอง ไม่ใช้ขี้วัว เพราะถ้าใช้ขี้วัวสดไม่ผ่านการหมัก จะทำให้ต้นไหม้ และควรปลูกหน้าฝน ตั้งแต่ต้นเดือนพฤษภาคม-กันยายน เพื่อให้ได้น้ำตามธรรมชาติ พร้อมให้ปุ๋ยอินทรีย์ตอนต้นฝน ปลายฝนให้อีกครั้งหนึ่ง และใส่ปุ๋ยยูเรีย เพื่อเร่งต้น จากนั้นใส่ปุ๋ยเดือนละครั้ง

ในส่วนหลุมปลูก ขุดให้ลึก 7-8 นิ้ว หรือ 15 เซนติเมตร กว้าง 4-5 นิ้ว ควรมีระยะห่าง 3×3 เมตร สาเหตุที่ใช้วิธีการเพาะเมล็ด เพราะจะทนทานกว่า ถ้าเป็นกิ่งตอน โดนลมก็จะล้ม อีกอย่างการปลูกเมล็ดไม่กลายพันธุ์ เนื่องจากใช้ต้นแม่จากชุมพรที่มีอายุประมาณ 42 ปี พันธุ์ชุมพร 1 เป็นพันธุ์โบราณของไทยที่ต่างชาติชื่นชอบ เพราะมีรสชาติดี ติดรสเปรี้ยว มีกลิ่นผลไม้ กินแล้วได้รสชาติดี

สำหรับโรคและศัตรูพืชนั้น คุณปัทมพรให้ข้อมูลว่า มีปัญหาหนอนกระทู้กินใบและเจาะลำต้นในช่วงฤดูฝน รวมถึงเพลี้ยแป้งด้วย ต้องใช้สารเคมีกำจัด แต่มีความปลอดภัย หลัง 7 วัน ก็ไม่มีสารตกค้าง นอกจากนี้ ใช้เชื้อราบิวเวอเรียตามที่ทางสำนักงานเกษตรมาสอนให้ทำ เป็นการปลูกแบบเกษตรปลอดภัย เพราะยังมีการใช้สารเคมีอยู่บ้าง โดยเฉพาะการกำจัดหญ้า ปีหนึ่งจะใช้ครั้งเดียวในช่วงก่อนฤดูฝน

คุณปัทมพร ให้ข้อมูลว่า ปลูกมาได้เกือบ 3 ปีแล้ว ซึ่งโกโก้จะให้ผลเต็มที่ใช้เวลาประมาณ 5 ปี แต่ช่วงระหว่าง 2-3 ปี ก็เริ่มให้ดอกให้ผล เริ่มติดดอก แต่มีดอกร่วงบ้าง บางต้นเริ่มติดๆ ให้ผลต้นละ 2-3 กิโลกรัม แล้วให้กลุ่มเกษตรกรที่สนใจมาดูงาน ตอนนี้มีเกษตรกรเป็นสมาชิกของกลุ่มประมาณ 200 กว่าราย ในเนื้อที่กว่า 3,000 ไร่ ซึ่งมีการการันตีราคารับซื้อขั้นต่ำไว้ที่ กิโลกรัมละ 5 บาท เป็นเวลานานถึง 15 ปี แต่ตอนนี้รับซื้อกิโลกรัมละ 10 บาท ถือว่าแพงกว่าที่อื่น ซึ่งรับซื้อแค่กิโลกรัมละ 8 บาท เท่านั้น

คุณปัทมพร เล่าถึงเหตุผลที่รับซื้อโกโก้ กิโลกรัมละ 10 บาท ว่า เป็นเพราะมีตลาดเอง โดยทำสัญญากับต่างประเทศด้วย ประเทศหลักๆ ที่ส่งเมล็ดโกโก้แห้งไปขายคือ แคนาดา และสิงคโปร์

ต่างชาติชอบ โกโก้พันธุ์ชุมพร 1

ทั้งนี้ต้องใช้ โกโก้พันธุ์ชุมพร 1 เท่านั้น เพราะเป็นสายพันธุ์ที่ได้รับการรับรองจากกรมวิชาการเกษตร เป็นต้นพันธุ์ที่มาจากจังหวัดชุมพร ที่มีอายุเกือบ 50 ปี โดยเมื่อรับซื้อผลผลิตมาจากเกษตรกรในกลุ่มแล้ว คุณปัทมพรจะนำมาหมักและตากเพื่อขายเมล็ดแห้ง ซึ่งเป็นการส่งเสริมแบบครบวงจร เริ่มตั้งแต่เกษตรกรรายไหนต้องการจะปลูก คุณปัทมพรจะไปดูแปลงให้ ว่าควรจะปลูกอย่างไร พร้อมแนะนำวิธีการบำรุงรักษาต้น

ในการเข้าร่วมเป็นสมาชิกของวิสาหกิจชุมชนโกโก้เกษตรบนดอยน่านนั้น สามารถซื้อต้นกล้าจากคุณปัทมพรได้เลย แต่ต้องสั่งจองไว้ล่วงหน้า เพราะจะทำตามออเดอร์เท่านั้น

อย่างที่คุณปัทมพรแจกแจงให้ฟังว่า จะให้สั่งต้นกล้าตั้งแต่เดือนธันวาคมถึงกุมภาพันธ์จึงปิดการจอง จากนั้นเริ่มนำเมล็ดมาเพาะ และขายในราคาต้นละ 35 บาท ทั้งนี้เกษตรกรจะต้องรวมกลุ่มกันก่อน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในเรื่องการตลาดและการขนส่งผลผลิต และอย่างน้อยต้องมีพื้นที่ปลูกรวมกันไม่น้อยกว่า 20 ไร่ เพื่อประโยชน์ในการรับซื้อผลผลิต

คุณปัทมพร บอกว่า จากการศึกษาและทดลองปลูกมาเกือบ 3 ปี ทำให้เห็นว่า โกโก้ สามารถเป็นพืชรายเดือนให้เกษตรกร อย่างน้อยก็ลดค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าจิปาถะในครัวเรือนได้ เดือนหนึ่งคิดขั้นต่ำต่อไร่ จะมีรายได้ ไร่ละ 3,000 บาท ถ้าปลูก 2 ไร่ ก็ได้เงินเดือน 6,000 บาท นอกจากนี้ ก็ปลูกพืชหรือทำอย่างอื่นเสริมไปด้วย

ขายกล้าพริกไทย-มะแขว่น

ปีนี้เป็นปีแรกที่โกโก้ของคุณปัทมพรเพิ่งให้ผลผลิต ได้ประมาณ 200 กิโลกรัม คุณปัทมพรจึงนำมาหมักและตากแห้งก่อนส่งเมล็ดช็อกโกแลตแห้งไปยังร้านช็อกโกแลตในกรุงเทพฯ โดยขายกิโลกรัมละ 400 บาท อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้คุณปัทมพรก็เพาะต้นกล้าโกโก้พันธุ์ชุมพร 1 ขาย ตั้งแต่ ปี 2559 และได้เงินหลายแสนบาทแล้ว ส่วนใหญ่จะขายให้กับเกษตรกรในอำเภอแม่จริม นอกจากนี้ คุณปัทมพรยังเพาะต้นพริกไทยและต้นมะแขว่นขายด้วย

ในการปลูกของคุณปัทมพรและสมาชิกนั้น เจ้าตัวระบุว่า เป็นการปลูกแบบเกษตรปลอดภัย ยังใช้สารเคมีอยู่ โดยใช้ยาฆ่าหญ้า แต่เป็นแบบเผาไหม้ ใช้ก่อนฤดูฝน เพื่อไม่ให้หญ้าขึ้นเยอะ 1 ปี จะใช้ครั้งเดียว

คุณปัทมพร เล่าถึงขั้นตอนในการทำเป็นเมล็ดโกโก้แห้งว่า หลังรับซื้อผลสดก็นำมากะเทาะเปลือก แล้วหมัก คล้ายกับกาแฟ แต่ยากกว่า ถ้าหมักไม่ดีความร้อนไม่ได้ที่ จะขึ้นราดำ โดยต้องใช้ลังไม้ในการหมัก ใช้เวลา 7-8 วัน ในอุณหภูมิ 45-60 องศาเซลเซียส พอหมักเสร็จนำไปตากแดดอีก ใช้วิธีตากในตู้พลังงานแสงอาทิตย์ ไม่ให้ความชื้นเกิน 5-7% ตากจนได้ที่จนแห้ง รวมเวลาประมาณ 15-20 วัน ถึงได้เมล็ดแห้ง เพื่อส่งขาย

ในส่วนของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการปลูกโกโก้กับคุณปัทมพรต่างแฮปปี้ เพราะขายได้ราคาดีกว่าข้าวโพด ที่ขายได้กิโลกรัมละ 7 บาท ที่สำคัญโกโก้ออกลูกได้ตลอดทั้งปี เฉลี่ยต้นละ 2-5 กิโลกรัม ในต้นที่มีอายุ 3-4 ปี แต่ถ้าอายุมากขึ้นจะให้ผลผลิตมากกว่านี้ ซึ่งถ้าเป็นผลใหญ่จะให้เมล็ดใหญ่และไม่ฝ่อ

สนใจศึกษาดูงานการปลูกโกโก้ของวิสาหกิจชุมชนโกโก้เกษตรบนดอยน่าน ติดต่อสอบถามได้ที่ 097-960-1926 จากปัญหาด้านสุขภาพ ทำให้ คุณสอาด คำทราย จำต้องเกษียณตัวเองออกราชการก่อนกำหนด ทั้งๆ ที่ใจยังรักอยากจะทำงานต่อ แต่เพราะกลัวความเครียดจากการทำงานที่เพิ่มขึ้นตามภาระงานที่ได้รับซึ่งเป็นสาเหตุเร่งเร้าทำให้สุขภาพทรุดโทรม จึงตัดสินใจเกษียณตัวเองจากอดีตเจ้าพนักงานการเกษตร อำลาหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรให้แก่เกษตรกรมา 31 ปี

คุณสอาด คำทราย Sa Gaming อยู่บ้านเลขที่ 35 หมู่ 6 บ้านปงวัง ตำบลพิชัย อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง สัมผัสชีวิตเกษตรมาโดยตลอด เมื่อเรียนที่วิทยาลัยเกษตรกรรมลำปาง (ปัจจุบัน เป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จังหวัดลำปาง) ปี พ.ศ. 2520 ในระดับ ปวช. และ ปวส. จบปี พ.ศ. 2524 (ต่อมาจบปริญญาตรี วท.บ. เทคโนโลยีการเกษตร จากมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ปี พ.ศ. 2535) ในปี พ.ศ. 2524 ได้บรรจุเป็นเจ้าพนักงานการเกษตรที่อำเภอลอง จังหวัดแพร่ และย้ายมาอยู่จังหวัดลำปางเมื่อปี พ.ศ. 2531

ระหว่างรับราชการอยู่ที่จังหวัดลำปาง ได้ใช้พื้นที่หลังบ้านตนเองประมาณ 400 ตารางเมตร ยกแปลงปลูกผักเป็นแปลงๆ เริ่มปลูกได้ก็แจกจ่ายให้เพื่อนบ้าน เมื่อมีมากขึ้นจึงมีแม่ค้าใกล้เคียงมาซื้อกัน ส่วนใหญ่เป็นผักตามฤดูกาล ในเวลานั้นไม่ได้ปลูกมาก เพราะมีเวลาให้หลังเลิกงานและวันหยุดเท่านั้น หลังจากเกษียณจึงมีเวลาให้อย่างเต็มที่ เป็นการทำเกษตรปลอดสารเคมีที่ไม่ใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืช

เขาเลือกใช้สารสกัดจากสะเดา, น้ำส้มควันไม้, กาวดักจับแมลง, กะเพราล่อแมลงวันทอง, ปลูกดาวเรืองเพื่อขับไล่ไส้เดือนฝอย, ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา, ใช้น้ำหมักชีวภาพ และจับทำลายปลูกผักตามฤดูกาล ได้แก่ พริก, กะหล่ำปลี, ผักบุ้ง, กุยช่าย, โหระพา, หอม, กระเทียม ผักที่ถูกกล่าวขานกันมากก็คือ กะหล่ำปลี เพราะสามารถปลูกจนได้หัวหนัก 6 กิโลกรัม เป็นพันธุ์หัวกลมจากญี่ปุ่น

ผักบุ้ง เป็นพืชที่ทำรายได้ดี เพราะปลูกเพียง 20 วัน ก็ถอนไปขายได้ ในการเตรียมแปลงปลูกผักบุ้งกับแปลงผักทั่วไปมีวิธีการคือ แช่เมล็ดด้วยน้ำอุ่นทิ้งไว้ 1 คืน จากนั้นผึ่งให้แห้ง หว่านในแปลงที่หว่านปุ๋ยสูตร 15-15-15 แล้วสับคลุกเมล็ดลงดินเข้ากับปุ๋ยก่อนเก็บ 1 สัปดาห์ รดด้วยปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 จะได้ผักบุ้งต้นใหญ่ ต้นยาวและกรอบ แต่การปลูกในแปลงเดิมจะทำได้ไม่เกิน 3 ครั้ง เพราะหลังจากนั้นถ้าปลูกซ้ำที่เดิมจะเป็นโรคใบลายใบด่าง ต้องเปลี่ยนไปปลูกผักชนิดอื่นแทนแล้วกลับเวียนมาปลูกครั้ง

พอเข้าสู่ฤดูหนาวจึงเริ่มเพาะกะหล่ำ ปลูกกะหล่ำไว้ 1,000 หลุม ด้วยการเพาะเมล็ดในหลุมถาดเพาะเมล็ด อายุได้ 30 วัน จึงย้ายปลูกได้ หลุมปลูกคลุกเคล้าด้วยสินแร่ธรรมชาติ ธาตุอาหารพืช (ซี ฟอส Ze-PHOS) ชนิดผงผสมกับแกลบ ส่วนแปลงปลูกรองก้นหลุมด้วยปุ๋ย สูตร 15-15-15 ประมาณ 1 ช้อนแกง อายุได้ 15 วัน จึงรดด้วยยูเรีย ปักแผ่นพลาสติกทากาวดักจับแมลงเป็นระยะๆ มีร้านขายอาหารอีสานในพื้นที่ใกล้เคียงมาซื้อประจำ เพราะมั่นใจว่าเป็นผักปลอดสารเคมี ลูกค้ารับประทานเป็นผักสดได้สนิทใจ