แปลงปลูกลิ้นจี่ ที่เดินชมในครั้งนี้ ปลูกต้นลิ้นจี่พันธุ์ป้าชิด

และพันธุ์ป้าอี๊ดไว้หลายรุ่น ต้นลิ้นจี่มีอายุตั้งแต่ 10-40 ปี สำหรับต้นลิ้นจี่ที่มีอายุมากถึง 40 ปี กลับมีลักษณะต้นเตี้ย เพียง 3 เมตรกว่า เมื่อเทียบกับต้นลิ้นจี่ในสวนทั่วไป ที่มักมีความสูงประมาณ 7-8 เมตร เนื่องจากต้นลิ้นจี่ใน ไร่ บี.เอ็น. ผ่านการทำสาวมาแล้วนั่นเอง สามารถลดค่าใช้จ่ายในการดูแลต้นลิ้นจี่แบบเดิมลงได้ถึง 80%

จะเน้นตัดแต่งกิ่งอย่างหนักหลังจากที่เก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จในแต่ละปี กิ่งที่มีความสูงเกิน 3 เมตร จะตัดออกทั้งหมดเพื่อให้ต้นลิ้นจี่สามารถรับแสงแดดได้ง่ายขึ้น หลังจากตัดแต่งกิ่งเสร็จแล้ว ต้นลิ้นจี่จะแตกกิ่งออกมาเป็นจำนวนมาก จะต้องคัดเลือกตัดแต่งทิ้งอีกรอบ สำหรับกิ่งที่แตกออกด้านข้างจะเก็บไว้ตลอด แต่กิ่งน้ำค้างหรือกิ่งกระโดงที่อยู่สันกิ่ง ตรงกลางทรงพุ่ม คุณโจ้จะเก็บไว้ในช่วงแรกไม่เกิน 2 ปี จึงค่อยตัดกิ่งออก เพื่อให้ลำต้นแบกน้ำหนักกิ่งน้อยลง เทคนิคการตัดแต่งกิ่งดังกล่าว ช่วยให้ต้นลิ้นจี่ติดผลทั้งในทรงพุ่มและที่ปลายทรงพุ่ม ผลผลิตที่อยู่ภายในทรงพุ่มจะมีคุณภาพที่ดีกว่าปลายทรงพุ่มด้วยซ้ำไป

เทคนิคการดูแลตัดแต่งลิ้นจี่ให้มีลำต้นที่เตี้ยลง ช่วยให้ต้นลิ้นจี่เติบโตได้ดีขึ้นด้วย เพราะต้นลิ้นจี่สามารถดูดกินน้ำและแร่ธาตุได้ดีกว่าเดิม ให้ผลผลิตเร็วขึ้น และมีคุณภาพดีเป็นการตอบแทนแล้ว ยังช่วยให้คนงานดูแลเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ง่ายขึ้น ประหยัดเวลาและแรงงานไปพร้อมๆ กัน

การพัฒนาปรับปรุงดินให้มีคุณภาพควรมีการบูรณาการหลายอย่าง ฉะนั้น จึงมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการดินด้วยการใช้นวัตกรรมที่เหมาะสมในพื้นที่ตัวเอง โดยพิจารณาและปรับตามผลวิเคราะห์ดิน มีการประยุกต์ปรับใช้ภูมิปัญญาในท้องถิ่นมาแก้ไขปัญหาในพื้นที่ อาทิ การปรับปรุงดินที่เป็นกรดโดยการใช้โดโลไมท์ ใช้ปุ๋ยสดหว่านแล้วกลบ การใช้จุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ทางการเกษตร

แล้วยังเพิ่มคุณภาพดินด้วยปุ๋ยหมัก/น้ำหมัก ได้มาจากผลไม้สุก 4 ชนิด ได้แก่ กล้วยน้ำว้า มะละกอ ฟักทอง และสับปะรด ผสมกับเปลือกกุ้ง เปลือกไข่นกกระทา โดยมีอัตราผสม ได้แก่ ถ้าใช้น้ำในปริมาณ 150 ลิตร ให้ใช้ผลไม้อย่างน้อยชนิดละ 5 กิโลกรัม ใส่สารซุปเปอร์ พด. 2 ใส่กากน้ำตาล 10 ลิตร เติมน้ำพอสมควรอย่าให้ล้น แล้วถ้าใส่ยาคูลท์ด้วยยิ่งดี อย่างไรก็ตาม การนำไปใช้กับพืชแต่ละชนิดจะมีอัตราการผสมไม่เท่ากัน อย่างถ้าน้ำหมัก 1 ลิตร กับน้ำ 10 ลิตร ใช้กับพืช ไม้ผล แต่ถ้าเป็นพืชผักใบสวนครัวควรผสมในอัตรา 1 ต่อ 20

นอกจากนั้น ยังมีการปลูกพืชสมุนไพรหลายชนิดที่สำคัญ เพื่อนำมาใช้เป็นยารักษาโรคแทนการใช้ยาแผนปัจจุบัน แล้วยังต่อยอดด้วยการนำสารจากสมุนไพรเหล่านั้นมาผลิตเป็นสารป้องกันและไล่แมลง แล้วยังมีการก่อสร้างโรงอบสมุนไพรพลังงานแสงอาทิตย์ด้วย

เครื่องมือสำคัญที่ช่วยทำให้การทำสวนผสมผสานตามแนวทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงเห็นผลจริงอย่างเป็นรูปธรรมคือ การจัดทำบัญชีครัวเรือน ทั้งนี้ ผลดีของการทำบัญชีครัวเรือนจะช่วยเป็นเครื่องมือในการควบคุมทิศทางการใช้จ่าย ทำให้ทราบว่าควรกำหนดรายจ่ายให้สอดคล้องกับรายรับ เพื่อให้มีเงินเหลือเก็บ และควรบริหารเงินอย่างไรเพื่อให้ครอบครัวอยู่รอด

บนโต๊ะอาหาร สำรับกับข้าววันนี้ ผักเคียงที่นิยมคู่อาหารประเภท ลาบ ยำ พร่า ก้อย น้ำพริก เพิ่มรสชาติกับข้าวเราขึ้นเยอะมาก หากจะสำรวจความนิยมและเรารู้จักกันมากคือ “สะระแหน่” เชื่อว่าหลายบ้านคงมีปลูกไว้ ใส่กระบะ กระถาง อ่าง ปี๊บ ลงแปลงดิน เป็นผักเครื่องเทศ และสมุนไพรชั้นยอด ที่ทุกบ้านไม่ควรละเลยที่จะมีปลูกไว้ ถึงแม้อาจจะดูแลยากไปนิด แต่ถ้ารู้วิธีดูแลรักษา วิธีปลูก ก็จะเป็นเรื่องง่ายๆ สำหรับทุกคน

เคยมีหลายคนที่ได้สัมผัสรู้จักกับสรรพคุณของสะระแหน่กันมาแล้ว ช่วงเข้าสู่ฤดูกาล ปลายฝน ต้นหนาว มักจะเป็นหวัดคัดจมูก ได้เคี้ยวสะระแหน่สักยอดสองยอด เป็นหายใจโล่งสะดวกสบาย ไข้หวัดไม่ได้เกาะแกะแซะตามตัวเรา ไม่เคี้ยวกิน ก็เด็ดยอด ใบแช่น้ำร้อน ดื่มแทนน้ำชา เป็นน้ำยาที่ได้ผลดีเช่นกัน และบ้านเรามีคำพ้องเสียงอยู่คำหนึ่ง ไม่รู้ว่า มีความเกี่ยวพันกันอย่างไรบ้าง สมัยนี้มักจะเอามาใช้ปนกัน ว่ากันตรงๆ คือคำว่า “สาระแน” แปลว่า สู่รู้ไม่เข้าเรื่อง หรือเสือกนั่นกระมัง

“สะระแหน่” เป็นพืชล้มลุก อายุหลายปี แตกต้นกิ่งก้านสาขา เลื้อยไปตามดิน มีขนสั้นๆ นิ่มๆ ปกคลุมทุกส่วนของลำต้น ใบกลมมนรูปไข่ ขอบใบจักแบบซี่ฟัน ออกใบสลับกัน ทุกส่วนมีกลิ่นหอม น้ำมันหอมระเหย

สะระแหน่ เป็นพืชในวงศ์ LABIATAE ชื่อวิทยาศาสตร์ Mentha cordifolia Opiz. มีชื่อเรียกกันหลากหลาย ตามภูมิภาคต่างๆ ภาคกลางเรียก สะระแหน่ หรือ สะระแหน่สวน ภาคใต้เรียก สะแน่ มักเงาะ ภาคเหนือเรียก หอมด่วน

สะระแหน่ พบมีอยู่ในหลายประเทศทั่วโลก ภูมิภาคแถบอบอุ่นและแถบร้อน แบบทวีปเอเชีย โดยเฉพาะในประเทศไทยเรา มีปลูกกันมาก ทั้งปลูกเป็นการค้าและปลูกเป็นพืชผักสวนครัว สวนหลังบ้าน แม้แต่ปลูกเป็นสวนหย่อมประดับ สวนครัวลอยฟ้า

การปลูกสะระแหน่ เราต้องเข้าใจธรรมชาติของสะระแหน่ก่อนว่า เป็นพืชที่ชอบดินร่วนซุย ชอบที่ลุ่ม มีความชื้นสูง แต่ไม่ชอบที่น้ำขัง ต้องการแสงแดดรำไร ถึงแดดจัด สามารถปรับตัวกับสภาพอากาศได้ดีพอสมควร เช่น อากาศร้อน แดดจัด น้ำน้อย ใบจะเล็ก ก้านใบจะแกร่งแข็ง อาจจะออกสีน้ำตาลถึงสีม่วง เพื่อลดการคายน้ำ การปรุงอาหาร

ถ้าอยู่ในที่ร่มจะพยายามเลื้อยกิ่ง ชูยอดใบไปหาแสง ถ้าอยู่ในกระถางที่จำกัดพื้นที่ รากจะขดเต็มแน่น ต้องคอยเปลี่ยนดิน แยกปลูกที่ใหม่ได้ ไม่เช่นนั้นจะยุบตายซะก่อน เพราะขาดอาหาร ทั้งๆ ที่ให้น้ำตลอด ก็ไม่รอด

การขยายพันธุ์ ใช้วิธีแยกไหล ชำก้าน ที่ยังไม่แก่จัด หรือยอดที่ไม่อ่อนมากนัก บางส่วนถ้าหาก้านที่เริ่มออกรากบ้างแล้ว ก็จะปลูกติดได้เร็วขึ้น หรือถ้าซื้อสะระแหน่มาจากตลาด สามารถชำกิ่งก้านเพื่อให้ออกรากเล็กน้อยได้ โดยเมื่อเด็ดยอดไปกินแล้ว ก้านที่เหลือนำมาทำเป็นแพ หุ้มโคนก้านด้วยกาบกล้วย ไว้ในที่เย็น มีความชื้น 3-5 วัน จะได้ก้านสะระแหน่ที่มีรากงอกออกมา นำไปปลูกใหม่ได้

หรือจะใช้วิธีชำกระบะทราย ขี้เถ้าแกลบดำ ก็ได้ มีเวลาไม่มากพอหรือขี้เกียจมากๆ ก็จิ้มก้านลงดินที่เตรียมไว้เลยก็ได้ แนะนำถ้าเป็นการชำก้านหรือชำยอดอ่อน ควรใช้วิธีชำแบบ “ควบแน่น” คือชำในกระถางขนาดกลาง ใส่ลงในถุงพลาสติกขนาดใหญ่ ชำแล้วปิดปากถุงให้แน่น วางไว้ที่แสงรำไร 3 วัน 5 วัน ได้ต้นสะระแหน่ใหม่ เปิดถุง เอากระถางออกมา แยกต้นปลูกลงกระถางใหม่ หรือแปลงดินที่เตรียมไว้ได้

ข้อสำคัญในการปฏิบัติดูแลรักษา สะระแหน่ไม่ชอบปุ๋ยเคมีเลย เจอเป็นยุบ โดยเฉพาะปุ๋ยยูเรียและปุ๋ยสูตรต่างๆ ถ้ากระถางสะระแหน่มีดินดีอยู่แล้วก็ไม่มีปัญหาด้านการเจริญเติบโต ดินปลูกสะระแหน่ต้องมีสัดส่วนของอินทรียวัตถุมากๆ เช่น มูลสัตว์ ใบไม้ ขุยกาบมะพร้าว แต่ถ้าต้องการจะบำรุงให้ได้ต้นที่อวบอ้วน ปุ๋ยที่ดีที่สุดคือ น้ำล้างปลา ที่มีทั้งเมือกคาว เลือด หรือน้ำล้างเนื้อ ล้างไก่ ก็ได้ คือสุดยอดปุ๋ยสำหรับสะระแหน่

การบำรุงให้สะระแหน่เจริญเติบโตอวบอ้วนสวยงามเป็นการดี แต่ก็มีข้อเสียตรงที่ ความคงทน สะระแหน่ไม่ใช่พืชที่เราเด็ดกินทุกวัน และไม่ได้เด็ดกินปริมาณมาก ให้เขาเจริญอยู่ตามแบบธรรมชาติของสะระแหน่ จะอยู่นาน

การเก็บหรือเด็ดสะระแหน่ ควรใช้วิธีตัดยอดด้วยมีดหรือกรรไกร อย่าใช้วิธีเด็ด เพราะจะพลั้งเผลอ เวลาเด็ดมักจะออกแรงดึงต้นขึ้นมา ทำให้รากขาดได้ โบราณว่า ผู้หญิงมีประจำเดือน ไม่ให้ไปเด็ดสะระแหน่ เพราะจะนั่งยองๆ เด็ดยอดสะระแหน่ ก็ลำบาก มักจะยืนแล้วก้มไปดึงเด็ดยอดสะระแหน่ ยุบ ตาย เป็นข้อสันนิษฐานของผู้เขียนเมื่อได้ฟังคำบอกเล่าจากผู้แก่

สะระแหน่ มีรสเผ็ด เย็น ก็คือรสเมนทอลนั่นแหละ มีสรรพคุณเป็นยาช่วยขับลม ขับเหงื่อลดความร้อน ระบายความร้อน แก้ไข้หวัด รักษาอาการท้องอืด ขับเลือดที่คั่งค้างภายในร่างกาย ชงน้ำร้อนดื่มช่วยย่อยอาหาร สามารถนำมาเป็นผักสด แกล้มกับยำ พร่า ลาบ ใบสะระแหน่ทอด ปรุงรสและกลิ่นข้าวหมกไก่ ข้าวหมกแพะ ช่วยดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ ปลาได้ ให้กลิ่นและสีสัน ชวนให้อาหารน่ารับประทาน เป็นทั้งเครื่องเทศ เป็นทั้งสมุนไพร เป็นผักสด มีสารอาหารต่างๆ มากมาย และมีเส้นใยอาหารอย่างมากด้วย

การทำให้เกษตรกรชาวสวนลำไย ได้รับผลตอบแทนที่ดียิ่งขึ้นนั้น จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตลำไยโดยใช้เทคโนโลยีการบริหารต้นทุนและการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตลำไย ดังนี้

การทำลำไยนอกฤดูแบบปีเว้นปี…เพื่อไม่เสี่ยงต่อการขาดทุน และเป็นการบังคับลำไยให้ออกดอกได้ดี โดยผลผลิตเฉลี่ย ประมาณ 3,000 กิโลกรัม/ไร่ ลดต้นทุนการผลิตได้ถึง 9,950 บาท/ไร่
การแบ่งสวนแบ่งส่วนทำ…เป็นการลดความเสี่ยงด้านการผลิต การตลาด เป็นการทยอยการลงทุน ซึ่งใช้ต้นทุนไม่มาก และเป็นการใช้แรงงานอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เพิ่มมูลค่าของผลผลิตได้ถึง 7,500 บาท/ไร่ โดยแบ่งเป็น 3 แปลง
แปลงที่ 1 ทำช่วงตรุษจีน ใส่สาร 20 พฤษภาคม เก็บเกี่ยวผลผลิตจำหน่าย 20 มกราคม-20 กุมภาพันธ์

แปลงที่ 2 ทำก่อนฤดูกาล ใส่สาร 15 กันยายน-5 ตุลาคม เก็บเกี่ยวผลผลิตจำหน่ายเดือนมิถุนายน

แปลงที่ 3 ทำในฤดูก่อนล้นตลาด ใส่สาร 1-10 ธันวาคม เก็บเกี่ยวผลผลิตจำหน่าย 1-15 กรกฎาคม

การทำผลผลิตในฤดูให้ผลโตและมีคุณภาพ…เพื่อแก้ไขปัญหาลำไยผลเล็ก ผลแตกและผลร่วง โดยใช้เทคโนโลยี ดังนี้
– ตัดแต่งช่อผลทิ้งบางส่วน ประมาณ 10-25% และตัดแต่งผลให้เหลือที่ช่อ ประมาณ 50-70 ผล/ช่อ สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตได้ ทำให้เพิ่มมูลค่าของผลผลิตได้ 4,500 บาท/ไร่

– ในช่วงที่ผลผลิตลำไยล้นตลาด เกษตรกรควรเลือกเก็บผลผลิต โดยคัดผลที่มีขนาดโตออกจำหน่าย ประมาณ 20-30% สามารถเพิ่มมูลค่าได้ 3,000 บาท/ไร่

การจัดและควบคุมทรงพุ่มไม่ให้สูงเกิน 4 เมตร…เพราะทรงพุ่มลำไยที่ต่ำจะทำให้การพ่นปุ๋ยทางใบและการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชได้ผลดีมีประสิทธิภาพและลดต้นทุน อีกทั้งการเก็บเกี่ยวทำได้ง่าย และง่ายต่อการตัดแต่งช่อ ตัดแต่งผลทิ้ง ทำให้ผลมีขนาดโตสม่ำเสมอ สามารถเพิ่มมูลค่าผลผลิตได้ 4,500 บาท/ไร่

การตัดแต่งกิ่งเพื่อลดปริมาณไม้ค้ำ…ไม้ค้ำเป็นปัจจัยที่สำคัญในการผลิตลำไย โดยเฉพาะลำไยต้นสูง หากไม่ใช้จะทำให้กิ่งที่ติดผลฉีกหักหรือลำต้นโค่นล้ม เมื่อตัดแต่งกิ่งให้ลำไยติดผลเป็นกลุ่มๆ จะทำให้ลดต้นทุนค่าไม้ค้ำได้ 2,500 บาท/ไร่

การทำปุ๋ยหมักใต้ต้นลำไยโดยใช้ใบลำไย…โดยใบลำไยใน 1 ต้น สามารถทำปุ๋ยหมักได้ ประมาณ 100 กิโลกรัม คิดเป็นมูลค่าการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ 500 บาท/ต้น หรือ 12,500 บาท/ไร่ รวมทั้งเป็นการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในสวนลำไย ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์ ส่งผลให้ต้นลำไยสมบูรณ์ให้ผลผลิตดีและลดค่าใช้จ่ายปุ๋ยเคมีลงได้ประมาณ 400 บาท/ไร่ นอกจากนี้แล้ว เป็นการรักษาสิ่งแวดล้อมและลดการเผาที่สร้างมลพิษทางอากาศ

การให้น้ำแบบรู้คุณค่าและเหมาะสม…โดยใช้ระบบสปริงเกลอร์ มีวาล์วปิด-เปิด บังคับการให้น้ำ สามารถประหยัดน้ำ ลดแรงงานและลดค่าใช้จ่ายได้ ไร่ละ 1,500 บาท/ปี

การให้น้ำโดยใช้ระบบสปริงเกลอร์ มีวาล์วปิด-เปิด บังคับการให้น้ำ สามารถประหยัดน้ำ ลดแรงงาน และลดค่าใช้จ่ายได้ ไร่ละ 1,500 บาท/ปี
การใช้สารชีวภัณฑ์เพื่อลดหรือทดแทนการใช้สารเคมี…โดยใช้เชื้อราบิวเวอเรียป้องกันกำจัดศัตรูพืช เช่น เพลี้ยและแมลง ศัตรูพืชช่วงใบอ่อน สามารถลดต้นทุนลง ไร่ละ 300 บาท/ปี อีกทั้งเป็นการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เกษตรกรมีความปลอดภัยและผู้บริโภคมีความมั่นใจ
การผสมปุ๋ยใช้เอง…โดยนำปุ๋ย สูตร 46-0-0 ผสมกับ ปุ๋ย สูตร 15-15-15 อัตรา 1:1 จะได้สูตรใกล้เคียง 25-7-7 (กระสอบ 1,200 บาท) ที่ใช้เพื่อการแตกใบอ่อนและรักษาช่อผล ทำให้ลดต้นทุนได้ 200 บาท/กระสอบ
การใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน…เพื่อให้ปริมาณการใช้และจำนวนครั้งในการใช้เป็นไปตามความต้องการของพืชในแต่ละช่วงเวลา สามารถลดต้นทุนได้ ประมาณ 200 บาท/ไร่/ปี ซึ่งโดยปกติเกษตรกรไม่ได้เก็บดินวิเคราะห์

“ฝรั่ง” เป็นผลไม้ที่มีคุณค่าทางด้านโภชนาการ เนื้อกรอบมีรสชาติอร่อยกลมกล่อม ฝรั่งปลูกดูแลง่าย ให้ผลผลิตจำนวนมาก ขายได้ราคาดี เป็นที่ต้องการของตลาดตลอดทั้งปี เกษตรกรจึงนิยมปลูกฝรั่งเป็นไม้ผลทำเงินกันอย่างแพร่หลาย

การเตรียมแปลงปลูก
เกษตรกรนิยมปลูกฝรั่งบนคันร่อง ก่อนปลูกดินจะต้องตากแดดทิ้งไว้ประมาณ 15 วัน เพื่อทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยของโรคแมลงศัตรูพืชต่างๆ ให้หมดไป จากนั้นเตรียมหลุมปลูกกว้างยาวลึกด้านละประมาณ 1 ศอก หรือด้านละ 30 เซนติเมตร ใส่ปุ๋ยคอกหรือขี้ไก่ และแกลบ รองก้นหลุมเพื่อช่วยทำให้ดินชุ่ม ดินฟู แล้วนำต้นพันธุ์ฝรั่งลงปลูกเกลี่ยดินกลบแล้วรดน้ำให้ชุ่ม

ฝรั่ง เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูงประมาณ 3 เมตร แตกกิ่งก้านบริเวณใกล้โคนต้น แตกหน่อจากราก เปลือกสีน้ำตาลอมแดงหรือน้ำตาลอมเขียว เมื่อลำต้นแก่เปลือกจะลอกออกมาเอง ใบเป็นใบคู่ ใบอ่อนสีเขียว ใบไม่เรียบ ด้านบนใบมีร่องลึก ด้านหลังใบเรียบ ใบเป็นรูปไข่ ปลายใบมน ผลมีรูปร่างกลมในลักษณะต่างๆ กัน เส้นผ่าศูนย์กลาง 5-9 เซนติเมตร เนื้อกรอบ รสชาติอร่อย เกษตรกรนิยมปลูกฝรั่งไร้เมล็ดและฝรั่งแป้นสีทอง เพราะเป็นสายพันธุ์ที่ได้รับความนิยมจากผู้ซื้อ

หลังปลูกเกษตรกรต้องคอยดูแลรักษาแปลงปลูกฝรั่งอย่างสม่ำเสมอ คอยป้องกันโรคแมลงศัตรูฝรั่งที่จะเข้ามาทำลายไม่ให้เกิดความเสียหาย การใส่ปุ๋ยครั้งแรกได้ใส่ปุ๋ยคอกหรือขี้ไก่ และแกลบ ใส่รองก้นหลุมเพื่อช่วยทำให้ดินชุ่ม ดินฟู สำหรับต้นเล็กที่ปลูกใหม่จะใส่ปุ๋ยสูตร 25-7-7 กำมือ ต่อต้น ส่วนต้นใหญ่เพิ่มอัตราส่วนตามคำแนะนำการใช้ปุ๋ยในฉลาก

น้ำ เป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตของต้นฝรั่ง การให้น้ำทุกครั้ง ต้องคอยสังเกตความชุ่มชื้นของดินบนแปลงปลูกเพื่อประกอบการตัดสินใจในการให้น้ำในปริมาณเท่าใดต่อครั้ง โดยเฉลี่ยได้ให้น้ำต้นฝรั่ง 2-3 ครั้ง ต่อสัปดาห์

เผยเทคนิค เพิ่มผลผลิต “ฝรั่ง”
การตัดยอด การรูดใบ และโน้มกิ่ง เป็นเทคนิคหนึ่งที่เกษตรกรนิยมนำมาใช้เพื่อเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้น ซึ่งมีเทคนิควิธีการ ดังต่อไปนี้

การตัดยอดหรือเด็ดยอด เป็นวิธีการเพิ่มจำนวนยอดและให้ผลผลิตได้มากขึ้น วิธีการปฏิบัติคือจะนับจากปลายยอดลงมายาวประมาณ 1 ศอก ใช้กรรไกรตัดบริเวณที่ต้องการ หลังจากตัดยอดได้ประมาณ 1 เดือนครึ่ง ต้นฝรั่งจะเริ่มให้ผลผลิตและได้จำนวนผลต่อต้นมากขึ้นด้วย ข้อควรระวัง ต้องใช้ไม้ค้ำเพื่อป้องกันหรือเพื่อการรองรับน้ำหนักจำนวนผลฝรั่งที่มีมากและไม่ให้กิ่งฉีกขาด

การโน้มกิ่ง หลังจากปลูกแล้ว 5 เดือน จะเริ่มโน้มกิ่งเพื่อทำทรงพุ่มให้สวย การโน้มกิ่งจะจัดกิ่งให้โค้งพอประมาณ โดยจุดที่ผูกกิ่งกับไม้ค้ำกิ่งควรให้ห่างจากปลายกิ่งประมาณ 2 ศอก หรือพิจารณาระยะตามความเหมาะสม จากนั้นใช้เชือกฟางมัด หลังจากนั้นที่บริเวณตากิ่งจะแตกยอดออกมาเป็นกิ่งใหม่ วิธีนี้เป็นการเพิ่มจำนวนกิ่งให้ได้มากขึ้นซึ่งก็เท่ากับเป็นการเพิ่มปริมาณผลผลิตได้มากขึ้นเช่นกัน

การรูดใบที่กิ่ง เป็นอีกวิธีหนึ่งในการเพิ่มผลผลิตคือ เลือกกิ่งที่เหมาะสมแล้วใช้มืดรูดใบออกทั้งหมดจะทำให้บริเวณตากิ่งแตกยอดออกมาเป็นกิ่งใหม่ วิธีการนี้ทำได้สะดวกรวดเร็ว นอกจากนี้ ใบที่อยู่ใกล้กับผลฝรั่งยังไปเสียดสีถูกจะทำให้ผิวผลฝรั่งเป็นลายไม่สวย ตลาดไม่ต้องการ ขายยาก

“วิธีการห่อผล” ช่วยให้ฝรั่งมีผิวสวย
การห่อผล เป็นการดูแลรักษาวิธีหนึ่งที่ต้องการให้ผลฝรั่งมีผิวผลสีสวย ไม่เป็นรอยขีดข่วน คุณภาพดี วิธีปฏิบัติคือ ใช้ถุงพลาสติกขนาด 6×14 นิ้ว ห่อผลฝรั่งที่มีขนาดโตกว่าผลมะนาว สวมถุงพลาสติกเข้าไปมัดปากถุงให้แน่น จากนั้นนำกระดาษหนังสือพิมพ์เก่าห่อทับลงไปอีกครั้ง ใช้ลวดเย็บกระดาษเย็บบริเวณโคนถุง หลังจากนั้นอีกประมาณ 2 เดือนครึ่ง ก็จะเก็บผลฝรั่งไปขายหรือรับประทาน

ฝรั่ง เป็นผลไม้ที่มีโรคแมลงรบกวนน้อย วิธีการป้องกันกำจัดจึงใช้วิธีผสมผสาน ผลผลิตที่ได้จึงปลอดภัยจากสารพิษ เมื่อต้นฝรั่งมีอายุได้ 8 เดือน หลังจากปลูกจะเริ่มเก็บเกี่ยวได้ ใน 1 สัปดาห์ เก็บผลฝรั่ง 2 ครั้ง และต้นฝรั่งที่มีอายุ 2 ปี หลังปลูกจะให้ผลฝรั่งมากขึ้น เมื่อเก็บผลฝรั่งแล้วนำไปบรรจุใส่เข่ง น้ำหนักเฉลี่ยเข่งละ 25 กิโลกรัม ก่อนนำไปขาย

ลิ้นจี่ พันธุ์นครพนม 1 หรือ นพ.1 เป็นลิ้นจี่ที่คัดเลือกและพัฒนาโดยกรมวิชาการเกษตร จนปัจจุบันเป็นผลไม้และเป็นสินค้า GI ที่มีชื่อเสียงของจังหวัดนครพนม ข้อมูลปี 2560 มีผลผลิตรวม 580.8 ตัน พื้นที่เก็บเกี่ยว 1,098 ไร่ จากพื้นที่ปลูกทั้งหมด 2,711 ไร่

พันธุ์ลิ้นจี่ที่ปลูกในประเทศไทย แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1.กลุ่มที่ปลูกในภาคกลางและภาคอื่นๆ เป็นพันธุ์ที่ต้องการความหนาวเย็นที่ไม่เย็นมากและระยะเวลาหนาวเย็นที่ต่อเนื่องกันไม่นานก็สามารถชักนำให้ออกดอกได้ เรียกว่า ลิ้นจี่กลุ่มพันธุ์เบา เก็บเกี่ยวผลผลิตช่วงปลายเดือนมีนาคมหรือเมษายน เช่น พันธุ์ค่อม สำเภาแก้ว เขียวหวาน กระโถนท้องพระโรง สาแหรกทอง และพันธุ์นครพนม 1 เป็นต้น

2.กลุ่มพันธุ์ที่ปลูกทางภาคเหนือ เป็นพันธุ์ที่ต้องการความหนาวเย็นมากและต่อเนื่องยาวนานในการกระตุ้นและชักนำการออกดอก ให้ผลผลิตในช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม เช่น พันธุ์ฮงฮวย จักรพรรดิ กิมเจ็งบริวสเตอร์ และกิมจี๊ เป็นต้น

ลิ้นจี่พันธุ์เบา มีข้อได้เปรียบคือ ให้ผลผลิตเร็ว บาคาร่าออนไลน์ ช่วงที่ผลผลิตมีน้อย ทำให้ขายได้ราคาสูง ควรจะมีการส่งเสริมให้ปลูกในพื้นที่ที่มีศักยภาพ ซึ่งพันธุ์นครพนม 1 หรือ นพ.1 เหมาะสมกับสภาพอากาศของจังหวัดนครพนมและหลายจังหวัดในภูมิภาคนี้

นักวิชาการคัดเลือกและพัฒนาพันธุ์ จนได้ พันธุ์ นพ.1

คุณนิยม ไข่มุกข์ นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ ปัจจุบัน รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครพนม สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 3 กรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า จังหวัดนครพนมมีสภาพอากาศเอื้ออำนวยต่อการผลิตผลไม้หลายชนิด สถานีทดลองพืชสวนนครพนม คุณปรีชา เชยชุ่ม อดีตหัวหน้าสถานีในสมัยนั้น ปัจจุบัน เป็นที่ปรึกษากรมวิชาการเกษตร เป็นผู้เริ่มพัฒนาพันธุ์และเผยแพร่พันธุ์ และมีนักวิชาการเกษตรคือ คุณชำนาญ กสิบาล เป็นผู้ร่วมงาน ซึ่งต่อมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครพนม

คุณปรีชา เชยชุ่ม ได้จัดทำโครงการพัฒนาและคัดเลือกชนิดพันธุ์ไม้ผลใหม่ๆ ที่เหมาะสมกับพื้นที่และมีศักยภาพทางการตลาดสูง เห็นว่าลิ้นจี่เป็นผลไม้ชนิดหนึ่งที่มีความเป็นไปได้ค่อนข้างสูง โดยเฉพาะพื้นที่ที่ติดแม่น้ำโขง มีดินอุดมสมบูรณ์และมีสภาพอากาศหนาวเย็น เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของลิ้นจี่ ซึ่งมีปริมาณน้ำฝนช่วงปลายฤดูฝนน้อย ไม่เกิน 60-80 มิลลิเมตร และมีอุณหภูมิในเดือพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ ต่ำสุดน้อยกว่า 20 องศาเซลเซียส

คุณนิยม กล่าวต่อไปว่า ในช่วงปี 2528-2533 สถานีทดลองพืชสวนนครพนม ได้ทดลองนำลิ้นจี่พันธุ์กลุ่มพันธุ์ภาคกลางและกลุ่มพันธุ์ทางภาคเหนือมาทดลองปลูกในพื้นที่ของศูนย์ ปรากฏว่าลิ้นจี่พันธุ์ค่อมให้ผลดี แต่ผลมีขนาดเล็กและมีรสฝาดปน ส่วนกลุ่มพันธุ์ภาคเหนือ ได้แก่ พันธุ์ฮงฮวย และกิมจี๊ ให้ผลผลิตเฉพาะในปีที่อากาศหนาวเย็นมากและหนาวเย็นนาน ต้องคอยควั่นกิ่งเพื่อกระตุ้นการสร้างตาดอกร่วมด้วย ประกอบกับผลผลิตออกช้า คือประมาณเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับลิ้นจี่ภาคเหนือออกสู่ตลาด ทำให้ราคาตกต่ำ และยังมีปัญหาเปลือกผลแห้งมีสีน้ำตาลและผลแตก เนื่องจากสภาพอากาศร้อนจัดในเดือนเมษายนและพฤษภาคม

ในช่วงปี 2533-2535 ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครพนม ได้คัดเลือกและพัฒนาพันธุ์ลิ้นจี่จนประสบความสำเร็จ และในที่สุด ศูนย์ก็ได้ลิ้นจี่ พันธุ์นครพนม 1 หรือ นพ.1 ที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เพราะลิ้นจี่ พันธุ์ นพ.1 ต้องการสภาพอากาศหนาวเย็นไม่มากและไม่ยาวนานในการกระตุ้นการออกดอก ต่างจากพันธุ์อื่นที่ปลูกในประเทศไทย

“ลักษณะที่โดดเด่นของ ลิ้นจี่ นพ.1 คือ รสหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย ผลใหญ่ เนื้อแห้ง ไม่เละ เป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตเร็ว สามารถเก็บเกี่ยวได้ในเดือนเมษายนของทุกปี ทำให้จำหน่ายได้ในราคาดี และไม่มีปัญหาด้านการตลาด”