แปลงใหญ่ข้าวอู่ทอง ต้นแบบความสำเร็จ ที่เชื่อมโยงเครือข่าย

ต.บ้านดอน อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ชูจุดแข็งประความสำเร็จการทำเกษตรในรูปแบบแปลงใหญ่ตามนโยบายของรัฐบาล จากการที่เกษตรกรสามารถเชื่อมโยงการทำงานระหว่างศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) และแปลงใหญ่เข้าด้วยกันอย่างอย่างเข้มแข็ง ส่งผลให้เกษตรกรสามารถปรับเปลี่ยนวิถีการทำเกษตรในทิศทางที่สามารถพึ่งพาตนเองได้มากยิ่งขึ้น จากการวางแผนการผลิต การใช้องค์ความรู้ที่เหมาะสม การนำนวัตกรรมเข้ามาใช้ด้วยกันอย่างลงตัว

นายสืบพงษ์ ออเพชร ประธานกลุ่มนาแปลงใหญ่ ต.บ้านดอน อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี กล่าวว่า พื้นที่ ต.บ้านดอน อ.อู่ท่อง จ.สุพรรณบุรี ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบลุ่ม มีคลองส่งน้ำชลประทานตัดผ่าน จึงทำให้เกษตรกรส่วนใหญ่มีอาชีพการทำนาเป็นหลัก เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวมีความเหมาะสมสำหรับปลูกข้าวเป็นอย่างยิ่ง

แต่ที่ผ่านมาเกษตรกรต้องประสบกับภาวะต้นทุนการผลิตข้าวที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ราคาข้าวตกต่ำ ดินเสื่อมโทรม ส่งผลให้การอาชีพการปลูกข้าวของเกษตรกรในพื้นที่ค่อนข้างไม่มั่นคง จนกระทั่งในปี 2559 รัฐบาลมีนโยบายการทำเกษตรในรูปแบบแปลงใหญ่ พร้อมกับมีการส่งเสริมให้จัดตั้งศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางด้านองค์ความรู้ครอบคลุมทุกด้านในการทำเกษตรกรรมทุกสาขา เพื่อขับเคลื่อนการทำเกษตรแปลงใหญ่ให้เกิดขึ้น ภายใต้นโยบายหลักต้องการให้เกษตรกรพึ่งพาตนเองได้ โดยเน้นไปที่การลดต้นทุนการผลิต เพิ่มผลผลิต และการผลิตสินค้าเกษตรให้มีคุณภาพ

สำหรับการรวมแปลงใหญ่ของ ต.บ้านดอน อ.อู่ทอง ประกอบด้วยพื้นที่การทำนาแปลง 1 แปลง ในพื้นที่ 1387 ไร่ เกษตรกร 101 ราย โดยก่อนที่จะมีการรวมแปลงใหญ่เกษตรกรส่วนใหญ่จะมีต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 4000-5000 บาท/ไร่ ซึ่งมีต้นทุนการผลิตสูงมาจากค่าเมล็ดพันธุ์ ปุ๋ยเคมี และสารเคมี แต่หลังจากที่มีการรวมแปลงใหญ่ทางศพก.ได้มีการถ่ายทอดความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรมในการเพาะปลูกข้าว ด้วย “เทคโนโลยี 3 ลด 1 เพิ่ม 2 ปฏิบัติ” มาใช้ได้แก่ 3 ลด ประกอบด้วย

ลดที่ 1 ลดการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าว จากเดิมใช้ 30-40 กิโลกรัม/ไร่ให้เหลือเพียง 8-10 กิโลกรัม/ไร่ โดยใช้เครื่องหยอดเมล็ดพันธุ์แทนการใช้แรงงานคน ช่วยให้สามารถลดเงินลงไปได้ 150-300 บาท/ไร่

ลดที่ 2 ลดการใช้ปุ๋ยเคมี หันมาใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินในปริมาณที่เหมาะสมและเกิดประโยชน์ต่อพืชสูงสุด

ลดที่ 3 ลดการใช้สารเคมีลง หันมาผลิตสารชีวภัณฑ์ใช้เอง ได้แก่ ไตรโคเดอร์มา บิวเวอเรีย และบีที ส่วน 1 เพิ่ม ประกอบด้วย เพิ่มมูลค่าของดิน ด้วยการไถกลบตอซัง ปลูกปอเทือง ปลูกพืชตระกูลถั่ว เพื่อปรับปรุงบำรุงดิน และ 2 ปฏิบัติ ประกอบด้วย 1 ปฏิบัติ ทำบัญชีครัวเรือน เกษตรกรจะต้องรู้ทำบัญชีครัวเรือนเพื่อรู้รายได้ รายจ่าย 2 ปฏิบัติ ก็คือการนำเกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรผสมผสานมาปรับใช้สร้างรายได้รายวัน และสร้างอาหารให้กับครัวเรือนของตนเอง

นายสืบพงษ์ กล่าวอีกว่า จากภาพรวมสมาชิกกลุ่มแปลงใหญ่ อ.อู่ทอง ที่มีการนำองค์ความรู้และเทคโนโลยีต่างๆ ที่ได้รับการถ่ายทอดมาจาก ศพก. มีการบริหารจัดการแปลงปลูกอย่างเหมะสมและถูกต้อง ส่งผลให้สามารถลดต้นทุนการผลิตลงข้าวลงเหลือเฉลี่ยไร่ละ 3200 บาท/ไร่ คิดเป็นร้อยละ 20

ขณะเดียวกันยังเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวขึ้นจากเดิมเฉลี่ยร้อยละ 12.5 หรือคิดเป็น 100 กิโลกรัม/ไร่ รวมทั้งเกษตรกรยังหันมาทำเกษตรในรูปแบบทฤษฎีใหม่ผสมผสานการปลูกพืช แม้จะเน้นไปที่การทำนาเป็นอาชีพหลัก แต่ก็จะมีการแบ่งพื้นที่มาทำเกษตรผสมผสาน เลี้ยงสัตว์ ทำประมง ปลูกพืชผักสวนครัว ไม้ผล สมุนไพร เพื่อบริโภคในครัวเรือนเป็นการลดรายจ่ายแล้ว ส่วนที่เหลือก็แบ่งขายสร้างรายได้ได้ตลอดทั้งปี

สายฝนโปรยสู่ผืนป่าต้นน้ำอำเภอแม่ใจ ไหลรินสู่ลำห้วยป่ากล้วย สายน้ำที่หล่อเลี้ยงผืนดินทำกินของเกษตรกรมานานกว่า 50 ปี โดยก่อนนั้น พ่ออุ้ยจันทร์ ภาชนนท์ นำต้นลิ้นจี่ จำนวน 12 ต้น ทดลองปลูกบนพื้นที่ลุ่มน้ำแห่งนี้ ได้ผลลิ้นจี่คุณภาพเป็นที่พึงพอใจ เกษตรกรหลายครอบครัวจึงเริ่มหันมาปลูกลิ้นจี่ป้อนสู่ตลาดจนเป็นที่เลื่องลือ

คุณยอดชัย มะโนใจ ประธานกลุ่มอนุรักษ์ผลิตลิ้นจี่คุณภาพห้วยป่ากล้วย เล่าว่า ลิ้นจี่ในพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยป่ากล้วย มีเรื่องราวเล่าขานมากมาย โดยวันที่ 27 เมษายน 2564 เป็นวันครบกำหนดเริ่มเก็บเกี่ยว ผลลิ้นจี่ปลอดภัยจากสารเคมีจะเติบโตเต็มที่ และจะเก็บเกี่ยวเพื่อจัดส่งให้กับผู้บริโภคทั่วประเทศ

ต้นกำเนิดลิ้นจี่แม่ใจ “กลุ่มอนุรักษ์ผลิตลิ้นจี่คุณภาพห้วยป่ากล้วย” เป็นกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกลิ้นจี่ที่มีเรื่องราวมายาวนาน ห้วยป่ากล้วย เป็นพื้นที่ปลูกลิ้นจี่แห่งแรกของอำเภอแม่ใจ ตอนนั้นเริ่มปลูกลิ้นจี่ จำนวน 12 ต้น ปัจจุบัน เหลืออยู่ 11 ต้น เริ่มปลูกเมื่อปี พ.ศ. 2512-2513 โดยการนำของ พ่ออุ้ยจันทร์ ภาชนนท์ คณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนบ้านป่าข่า ท่านมีแนวความคิดว่า โรงเรียนบ้านป่าข่า ปลูกลิ้นจี่ 22 ต้น มีผลผลิตดีก็เลยทดลองนำมาปลูกในสวนของตนเอง บริเวณห้วยป่ากล้วย หมู่ที่ 8 ตำบลศรีถ้อย อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา ผลผลิตลิ้นจี่เป็นที่พึงพอใจของผู้บริโภคอย่างมาก ทั้งรูป รส กลิ่น สี เกษตรกรจึงขยายพื้นที่เพาะปลูก เปลี่ยนจากอาชีพอื่นหันมาปลูกลิ้นจี่กันทั่วอำเภอแม่ใจ

ช่วงเริ่มแรกปลูกลิ้นจี่ราคาดี แต่เมื่อมีการแข่งขันราคาลิ้นจี่ก็เริ่มลดลง พ.ศ. 2530 ลิ้นจี่ราคาตกต่ำ สมัยก่อนระบบการซื้อขายลิ้นจี่เป็นแบบ “หยง” หรือพ่อค้ารับซื้อผลผลิตบริเวณหน้าสวนลิ้นจี่ เกษตรกรไม่มีปัญหาด้านการขาย มีกลุ่มนักวิชาการ หน่วยงานภาครัฐ ส่งเสริมทำลิ้นจี่คุณภาพ เช่น การห่อลิ้นจี่ด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ ผลออกมาสีสดสวย กลิ่นหอม ลิ้นจี่ต้นใดพร้อมเก็บเกี่ยวเวลาเดินผ่านใต้ต้นลิ้นจี่จะมีกลิ่นหอม เราจะรู้ได้ทันทีว่า ลิ้นจี่ต้นนั้นพร้อมที่จะเก็บเกี่ยวได้ ต่อมาระบบการซื้อขายเปลี่ยนแปลง พ่อค้ารับซื้อลิ้นจี่ผลสดโดยไม่ต้องห่อ เกษตรกรเห็นว่ามีความสะดวก รวดเร็ว เป็นการทำการเกษตรที่ลดต้นทุน ทุกคนเห็นชอบรูปแบบการทำการเกษตรแบบนี้ ผลผลิตลิ้นจี่จึงถูกกดราคา ลิ้นจี่จำหน่ายในตลาดราคากิโลกรัม 50 บาท พ่อค้ารับซื้อเพียง 30 บาท เมื่อราคาลิ้นจี่เริ่มลดลงอย่างต่อเนื่อง เกษตรกรผู้ปลูกลิ้นจี่ก็ได้รับความเดือดร้อน ปัญหาเกิดขึ้น เมื่อเกษตรกรกดดันภาครัฐ ตัวอย่างเหตุการณ์ปิดถนนด้วยลิ้นจี่ มีการนำลิ้นจี่เทบริเวณสามแยกมะพร้าวเผาแม่ใจเพื่อประท้วงรัฐบาล

เดินทางสู่วิถีเกษตรอินทรีย์ ประธานยอดชัย จึงกลับมาปรึกษาสมาชิกกลุ่มว่า น่าจะตั้งกลุ่มทำลิ้นจี่คุณภาพโดยการห่อ ก็เลยรวมกันกับเกษตรกรในพื้นที่ตั้งกลุ่มอนุรักษ์ผลิตลิ้นจี่คุณภาพห้วยป่ากล้วย ผลผลิตลิ้นจี่บริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยป่ากล้วยมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เมื่อแกะเปลือกลิ้นจี่จะพบว่า เนื้อลิ้นจี่ที่ปลูกบริเวณลุ่มน้ำห้วยป่ากล้วย มีเนื้อสีขาวขุ่น เนื้อจะกรอบ น้ำในเนื้อลิ้นจี่มีน้อย กลิ่นจะหอม เหมือนกับคำขวัญลิ้นจี่ของเราคือ ไหล่ยก อกตั้ง หนามหด ก้นป้าน พอเริ่มทำเกษตรอินทรีย์ก็มีกลุ่มอาจารย์มหาวิทยาลัยพะเยา ลงพื้นที่เก็บข้อมูลโดยมี ผศ.นสพ. สมชาติ ธนะ และคณะนักวิจัย ได้พิจารณาให้ดำเนินการส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรกลุ่มอนุรักษ์ผลิตลิ้นจี่คุณภาพห้วยป่ากล้วย เริ่มตั้งแต่กระบวนการทำวิจัย ทำการตลาด ทำลิ้นจี่คุณภาพ 100 เปอร์เซ็นต์ หลังจากนั้น พื้นที่เพาะปลูกลิ้นจี่บริเวณลุ่มน้ำห้วยป่ากล้วยกลายเป็นพื้นที่ทำงานวิจัย

งานวิจัยกลุ่มอนุรักษ์ผลิตลิ้นจี่คุณภาพห้วยป่ากล้วยมีหลากหลาย เช่น ไฟล่อแมลง แผ่นกาวดักแมลง ถุงตาข่ายห่อผลลิ้นจี่ เราใช้ภูมิปัญญาดั้งเดิมควบคู่กับการใช้นวัตกรรม นวัตกรรมล่อแมลงเป็นการกำจัดแมลงตัวเต็มวัยก่อนการผสมพันธุ์แล้ววางไข่ในผลลิ้นจี่ โคมไฟดักแมลง ดักผีเสื้อกลางคืนที่จะมาวางไข่ แผ่นกาวดักแมลงวัน ขวดล่อแมลงวันทอง ล้วนเป็นการกำจัดแมลงก่อนมีการวางไข่ หากไม่มีแมลงมาวางไข่ หรือหนอนเจาะขั้ว ซึ่งเป็นตัวอ่อนของผีเสื้อมาทำลายผลลิ้นจี่ สารเคมีก็ไม่มีความจำเป็นสำหรับการทำการเกษตร กลุ่มทำงานวิจัยมาเป็นเวลา 3 ปี พบว่าลิ้นจี่คุณภาพต้องประกอบด้วยกระบวนการต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ มีความสม่ำเสมอ ประธานกลุ่มเองทดลองนวัตกรรมการกางมุ้งให้ต้นลิ้นจี่ พบว่า ถ้ากางมุ้งให้ลิ้นจี่ตั้งแต่ลิ้นจี่เป็นลูกเล็ก แมลงไม่สามารถเข้าไปในมุ้ง ลิ้นจี่ปลอดภัย เกษตรกรปลอดภัย ผู้บริโภคปลอดภัย

ภูมิปัญญาและนวัตกรรมส่วนใดใช้ได้ผลก็จะมีการประเมินอยู่ทุกปี มีการจดบันทึกอย่างเป็นระบบว่า ใช้วัสดุชนิดใดแล้วได้ผลอย่างไร เช่น ใช้ถุงสีดำห่อลิ้นจี่ ผลลิ้นจี่จะเกิดผลขาวอมแดง ใช้ถุงสีแดงห่อลิ้นจี่ ผลลิ้นจี่จะเป็นขาวอมชมพู ใช้กระดาษสีขาวขุ่นห่อลิ้นจี่ ผลลิ้นจี่จะเป็นสีแดงอมชมพู การทำลิ้นจี่ต้องลดต้นทุนการผลิต ลดการใช้สารเคมี แต่มีการใช้วัตถุดิบอย่างอื่นทดแทน สมาชิกในกลุ่มทุกคนต้องทำเหมือนกัน เช่น ใช้ปุ๋ยหมักทดแทนปุ๋ยเคมี การลดสารเคมีโดยใช้ไฟล่อแมลง ตั้งกาวดักแมลง ตั้งไฟล่อแมลง ขวดล่อแมลง ซึ่งงานวิจัยในแต่ละชิ้นเป็นงานวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัยพะเยา

ลิ้นจี่ปลอดสารพิษสู่ตลาดยุคใหม่ การทำลิ้นจี่คุณภาพ เราสามารถกำหนดราคาเองได้ แต่ต้องทบทวนอยู่เสมอว่า ลิ้นจี่มีคุณภาพตามราคาที่กำหนดหรือไม่ ตัวอย่างเช่น เกษตรกรกำหนดราคาขายไว้ กิโลกรัมละ 80 บาท ผลผลิตต้องมีคุณภาพ รสชาติต้องมีความหวานตามเกณฑ์กำหนด กลิ่นต้องหอม สีของเปลือกอมชมพู สัมผัสผิวดีไม่มีหนามคมตำมือตอนแกะเนื้อ ถ้าผลผลิตเป็นไปตามมาตรฐาน เกษตรกรสามารถกำหนดราคาจำหน่ายได้เอง สำหรับกลุ่มอนุรักษ์ผลิตลิ้นจี่คุณภาพห้วยป่ากล้วย สามารถกำหนดราคาขายบริเวณหน้าสวน เพราะกลุ่มตั้งใจทำลิ้นจี่คุณภาพ ได้รับการรับรองจากหน่วยงานภาครัฐ ได้รับการรับรองจากสมาพันธ์เกษตรอินทรีย์ ซึ่งสินค้าเป็นไปตามคุณภาพมาตรฐานการรับรอง

ด้านการจำหน่ายสินค้าของกลุ่มอนุรักษ์ผลิตลิ้นจี่คุณภาพห้วยป่ากล้วย วางจำหน่ายที่เลม่อนฟาร์ม เดอะมอลล์ ตลาดของภาครัฐ ตลาดองค์การตลาดเพื่อการเกษตร (อ.ต.ก.) และการตลาดแบบออนไลน์ ในช่วงหลังลิ้นจี่ของกลุ่มอนุรักษ์ผลิตลิ้นจี่คุณภาพห้วยป่ากล้วยเป็นที่รู้จักในตลาดมากขึ้น มีการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์มากขึ้น ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ต้องมีการบริหารจัดการสินค้าเพื่อสินค้าส่งถึงมือผู้บริโภคด้วยความสด หอม หวาน อร่อย ถูกใจลูกค้า มีการเตรียมความพร้อมเพื่อจัดส่งสินค้าให้กับผู้บริโภคในช่วงปลายเดือนเมษายน-พฤษภาคม ของทุกปี

จากลักษณะที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของจังหวัดตราด ที่อยู่ปลายสุดแผ่นดินของประเทศไทย และมีพื้นที่ด้านหนึ่งติดฝั่งทะเลตะวันออกของอ่าวไทย ทำให้สภาพของอากาศ ความชื้นและสภาพดินเหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพืชกลุ่มไม้ผล เช่น ทุเรียน เงาะ มังคุด และลองกอง

เกษตรกรที่นี่จึงทำสวนไม้ผลกันมายาวนานตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน โดยมีสับปะรดตราดสีทองที่เป็นพืชเศรษฐกิจอันดับต้นๆ ของเกษตรกรจังหวัดตราด เป็นพืชที่สร้างรายได้ให้เกษตรกรค่อนของสูง มีการปลูกและเก็บเกี่ยวผลผลิตตลอดปี ผลผลิตเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ จัดเป็นสับปะรดบริโภคผลสดพันธุ์เดียวของไทย ที่ผลผลิตไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด ด้วยลักษณะเด่นที่รูปทรงผล สีผิวเหลืองส้ม รสชาติหวานมาก เนื้อเหลืองทองสม่ำเสมอ เนื้อแห้งกรอบและมีกลิ่นหอมกว่าสับปะรดทุกสายพันธุ์

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของสับปะรดพันธุ์นี้ จัดเป็นสับปะรดกลุ่มควีน (Queen) ลักษณะเด่นภายนอก คือ ขอบใบที่ต้นและขอบใบที่จุกผลมีหนามสั้นๆ แหลมคม ทรงโค้งสีน้ำตาลแดง ผลเป็นรูปทรงกระบอก ผิวเปลือกเมื่อแก่สุกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเข้มหรือเหลืองส้ม ตาใหญ่ ร่องตาลึก เปลือกหนาตาลึก ทนทานต่อการขนย้าย

ลักษณะภายในนั้นมีความหวาน 16-20 บริกซ์ กลิ่นหอมมาก เนื้อสีเหลืองเข้ม เนื้อและไส้กรอบ เนื้อแห้งไม่ฉ่ำน้ำ เนื้อมีเส้นใยอ่อนนุ่ม เคี้ยวไม่ติดฟัน สอบถามเกษตรกรและนักวิชาการสำนักงานเกษตรจังหวัดตราดว่า สับปะรดตราดสีทองเข้ามาเมื่อไร เป็นเรื่องระบุได้ยากมาก เพราะไม่มีการบันทึกไว้ แต่อาจเป็นไปได้ว่าในช่วงแรกๆ เป็นการนำเข้ามาจากทางภาคใต้เป็นพันธุ์ภูเก็ต ต่อมามีการยกระดับขึ้นมาเป็นพืชเศรษฐกิจโดยสำนักงานเกษตรจังหวัดตราด ซึ่งสมัยนั้นเกษตรจังหวัด และเกษตรอำเภอเขาสมิง จัดให้มีการประกวดสับปะรดตราดสีทอง ในงานเทศกาลผลไม้ประจำปีของดีจังหวัดตราด ทั้งที่ก่อนนั้นจัดประกวดเฉพาะสับปะรดพันธุ์ปัตตาเวียอย่างเดียว ในปีนั้นจึงได้จัดประกวดสับปะรดตราดสีทองอีกชนิดหนึ่ง นับเป็นจุดเริ่มต้นของการส่งเสริมสับปะรดตราดสีทองอย่างจริงจัง

สับปะรดผลสดสินค้าใหม่ตลาดโลก จากข้อมูลด้านการส่งออกสับปะรดของไทยที่มีสัดส่วนการครองตลาดเป็นอันดับ 1 ของโลกมาตลอดมากกว่า 10 ปี แต่เป็นการส่งออกผลิตภัณท์สับปะรดแปรรูปเกือบทั้งสิ้น ส่วนสับปะรดผลสดนั้นส่งออกน้อยมาก เทียบไม่ได้กับประเทศเพื่อนบ้านอย่างฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ไต้หวัน และประเทศผู้ผลิตสับปะรดแถบอเมริกาใต้และแอฟริกา

ทั้งนี้เพราะขาดการส่งเสริมด้านการวิจัย การพัฒนาและการส่งเสริมที่จริงจัง และขาดความต่อเนื่อง ยังไม่มีการพัฒนาสายพันธุ์สับปะรดใหม่ๆ ที่เป็นของไทยเอง ทั้งพันธุ์สับปะรดเพื่อใช้ในอุตสาหกรรม และพันธุ์สับปะรดเพื่อบริโภคผลสด เกษตรกรและภาคโรงงานจึงไม่มีทางเลือก และไม่มีโอกาสแข่งขันการค้าในตลาดต่างประเทศ จะเห็นได้ว่าประเทศที่ผลิตสับปะรดเป็นการค้า มีพันธุ์สับปะรดผลสดเป็นของตัวเอง การส่งออกสับปะรดผลสดทำเงินเข้าประเทศกันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน เช่น พันธุ์ Tainung และHoney Gold ของไต้หวัน พันธุ์ Josapine ของมาเลเซีย

อีกวิธีหนึ่งคือ เขานำเข้าสับปะรดพันธุ์ดีจากต่างประเทศเข้ามาส่งเสริมเกษตรกรเพื่อผลิตเป็นการค้า เช่น พันธุ์ MD-2 หรือพันธุ์ Gold เป็นสับปะรดพันธุ์ล่าสุดจากฮาวายที่ใช้ประโยชน์ได้ 2 อย่าง คือ เป็นสับปะรดบริโภคผลสดและอุตสาหกรรมแปรรูปต่างๆ ที่กำลังมาแรงแซงหน้าทุกพันธุ์ เนื่องจากเข้าครองตลาดยุโรปและสหรัฐอเมริกาไปเรียบร้อย แม้จุดกำเนิดจะอยู่ที่ฮาวาย แต่ผลผลิตส่วนใหญ่ถูกส่งออกมาจากหลายประเทศ เช่น คอสตาริกา ฮอนดูรัส กานา ไอวอรีโคสต์ เม็กซิโก เอกวาดอร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เป็นต้น ขณะที่ไทยเราคงมีแต่พันธุ์ปัตตาเวียเท่านั้นที่ใช้เป็นผลสด และใช้ในอุตสาหกรรมแปรรูป แล้วก็ใช้กันมายาวนาน มากว่าประมาณ 40-50 ปี แต่ก็ไม่มีการพัฒนาสับปะรดพันธุ์ใหม่ๆ เกิดขึ้น

ผลผลิตน้อยตลาดต้องการมาก
ข้อมูลการผลิตสับปะรดตราดสีทอง ปี 2553 ของสำนักงานเกษตรจังหวัดตราด สรุปไว้ดังนี้ พื้นที่ปลูก 8,947 ไร่ พื้นที่เก็บเกี่ยว 6,180 ไร่ ผลผลิตรวม 24,700 ตัน มีแหล่งปลูกที่สำคัญ คือ เขตอำเภอเมือง เขาสมิง บ่อไร่ และแหลมงอบ ตามลำดับ จากข้อมูลการบริโภคสับปะรดผลสดในประเทศตกประมาณ 400,000-500,000 ตัน ต่อปี เป็นสับปะรดปัตตาเวียเกือบทั้งหมด เมื่อครั้งที่ผู้เขียนได้มีโอกาสได้นำคาราวานผลไม้พวกเงาะ ทุเรียน มังคุด และลองกอง จากจังหวัดระยองไปออกร้านประชาสัมพันธ์ของดีภาคตะวันออกที่ตลาดสดในอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ระหว่าง วันที่ 17-19 มิถุนายน 2554 ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ที่สุดของจังหวัดขอนแก่น โดยเปิดให้มีการซื้อขายสินค้าเกษตรและสินค้าอื่นทั้งแบบขายส่งและขายปลีกตลอด 24 ชั่วโมง มีผู้เกี่ยวข้องและผู้มาใช้บริการประมาณ 20,000-30,000 คน ต่อวัน

ครั้งนั้นทีมคาราวานจากระยองได้นำผลไม้ 4 ชนิด คือ เงาะ ทุเรียน มังคุด และลองกอง ไปเปิดตลาด จึงนำสับปะรดพันธุ์ปัตตาเวียไปทดลองการตลาดด้วย จำนวน 2,000 กิโลกรัม ดูว่าจะเป็นอย่างไร ทั้งๆ ตอนที่ไปเป็นช่วงที่เงาะ ทุเรียน มังคุด และลองกอง มีผลผลิตออกมากที่สุด ราคาก็ต่ำที่สุด ในวันที่เริ่มมีการซื้อขายผลไม้ ผู้คนที่มารออยู่นั้น ต่างกรูเข้าซื้อผลไม้ทุกอย่างกันแบบโกลาหล ปรากฏว่าสับปะรดปัตตาเวีย 2 ตัน (ประมาณ 1,500 ผล) ที่ขายกิโลกรัมละ 15-20 บาทนั้น ขายหมดเกลี้ยงในพริบตา

จากการสอบถามพ่อค้าแม่ค้าและผู้ที่มาซื้อของที่ตลาดแห่งนี้ ทราบว่าคนขอนแก่นชอบทานสับปะรดมาก โดยเฉพาะสับปะรดจากภาคตะวันออก เพราะมีรสชาติหวานกว่าสับปะรดจากจังหวัดหนองคาย ราคาในตลาดก็ซื้อขายกัน 15–20 บาท ต่อกิโลกรัม แต่ไม่ค่อยเห็นสับปะรดพันธุ์ตราดสีทองวางขายที่ตลาดเลย จึงขอยืนยันว่าสับปะรดตราดสีทองเป็นสายพันธุ์หนึ่งที่มีศักยภาพด้านตลาดในประเทศที่ไม่จำกัดขอบเขตภูมิภาค เพียงแต่จัดการด้านการกระจายผลผลิต และการขนส่งสู่จุดจำหน่ายให้ดี จะช่วยส่งเสริมการผลิตของเกษตรกรให้ขยายพื้นที่ปลูกมากขึ้น และควรดำเนินการพัฒนาเพื่อการส่งออกอย่างจริงจัง แม้มีรายงานผลการวิจัยที่ยังไม่สรุปแน่ชัดว่า มีการทดลองส่งไปประเทศญี่ปุ่นโดยทางเรือแล้วเกิดอาการไส้สีน้ำตาล (internal browning) ที่ยังแก้ไขไม่ได้ ขณะที่บางการทดลองสรุปว่า ไม่เกิดอาการดังกล่าวหรือเกิดขึ้นน้อยมาก และคุ้มค่ากับการลงทุนในการทำธุรกิจส่งออกไปญี่ปุ่น

อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลที่ได้มาจากหลายส่วนสรุปได้ว่า สับปะรดตราดสีทอง เป็นสับปะรดบริโภคผลสดหนึ่งเดียวที่ยังโดดเด่นมาก แม้ระยะหลังจะมีการพัฒนาสับปะรดภูแล นางแลและห้วยมุ่นขึ้นมาเป็นทางเลือกของผู้บริโภคก็ตาม แต่ก็ยังมีปริมาณที่น้อยมากและมีจุดอ่อนบางอย่างเมื่อเทียบกับสับปะรดตราดสีทอง

การผลิตง่าย ต้นทุนต่ำ กำไรสูง
การทำไร่สับปะรดอาจมองดูว่ามีการลงทุนที่สูงมากกว่าพืชชนิดอื่น นั่นเพราะมีการบริหารจัดการผลิตที่ไม่เหมาะสม แต่ชาวไร่ที่เป็นมืออาชีพกลับเห็นว่าสับปะรดเป็นพืชที่ดูแลไม่ยาก เมื่อเทียบกับไม้ผลจำพวกเงาะ ทุเรียน มังคุด ลองกอง หรือลำไย เพราะสับปะรดทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศที่ฝนไม่มากเกินไป ความต้องการน้ำปานกลาง ไม่มากเท่าไม้ผล โรคแมลงศัตรูก็ไม่ค่อยมี ที่สำคัญสับปะรดเป็นพืชที่สามารถกำหนดแผนการผลิตได้ค่อนข้างแน่นอน จัดเป็น programe crop ได้จริง สามารถกำหนดวันปลูก เก็บเกี่ยวได้ กระจายการผลิตได้ตลอดปี มีความแน่นอน แผนการผลิตและเก็บเกี่ยวจะผิดพลาดไม่มาก

สับปะรดตราดสีทองยังมีอายุการเก็บเกี่ยวนับแต่วันที่บังคับการออกดอกเพียง 135 วัน ซึ่งเร็วกว่าพันธุ์ปัตตาเวีย 15-20 วัน บังคับการออกดอกง่าย คือจะออกดอก 95-100 เปอร์เซ็นต์ โดยใช้สารบังคับดอกเพียง 1 ครั้ง เท่านั้น ให้จำนวนหน่อที่มากกว่า ซึ่งจะเป็นรายได้ของเกษตรกรอีกทางหนึ่ง นอกจากนี้ ทรงผลของสับปะรดตราดสีทองยังมีความสม่ำเสมอทั้งขนาด ความยาวผล น้ำหนัก รูปทรงที่ดีมาก หากมีการดูแลและบำรุงตามข้อแนะนำที่ดี จะให้ความยาวของผล ระหว่าง 17- 20 เซนติเมตร ที่เรียกว่า ผลจัมโบ้ (ผลใหญ่) ขายได้ราคาหน้าฟาร์ม 8-14 บาทผ ต่อล ซึ่งปกติผลผลิตสับปะรดตราดสีทองช่วงเก็บเกี่ยว จะให้ขนาดของผลเป็นผลจัมโบ้ 40-50 เปอร์เซ็นต์ ผลขนาดกลาง 30-40 เปอร์เซ็นต์ ผลเล็กและจิ๋ว 10 เปอร์เซ็นต์

ราคาขายที่ต่างกันแต่ละขนาด เว็บยูฟ่าเบท ทำให้เกษตรกรมีรายได้จากการขายแบบคละหรือขายเหมาเป็นไร่ เฉลี่ย 8-10 บาท ต่อผล เกษตรกรมีกำไรสุทธิจากการลงทุน 50-200 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นกับช่วงเดือนที่เก็บเกี่ยวผลผลิต เช่น เดือนกรกฎาคม-กันยายน ราคาสับปะรดจะสูงมาก ส่วนเดือนเมษายน-มิถุนายน ราคาจะตกลงมาบ้าง เพราะเป็นฤดูกาลของผลไม้พวก ทุเรียน มังคุด เงาะ และลองกอง ที่ออกสู่ตลาดมาก

ขณะที่เกษตรกรที่ปลูกสับปะรดตราดสีทองแซมสวนยางพารา ใช้หน่อปลูกระหว่าง 4,000-6,000 ต้น/ไร่ แต่หากปลูกเป็นพืชเดี่ยวจะปลูกได้ 7,000- 8,000 ต้น/ไร่ ทำให้เกษตรกรมีรายได้และกำไรจากการลงทุนปลูกสับปะรดตราดสีทองค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับพืชอื่น อย่างไรก็ตาม ราคาที่เกษตรกรขายได้จะสะท้อนผลกำไรหรือไม่นั้นต้องขึ้นอยู่กับการปฏิบัติของเกษตรกรด้วยว่ามีการปฏิบัติอย่างไร ด้านการใช้ปัจจัยการผลิต ปุ๋ยเคมี สารกำจัดวัชพืช สารบังคับการออกดอก ฮอร์โมน อาหารเสริม รวมทั้งแผนการปลูก การบังคับการออกดอกของสับปะรดด้วย สำหรับเกษตรกรที่มีประสบการณ์และเป็นมืออาชีพจะทำ

ต้นทุนการผลิตสับปะรดตราดสีทอง 3.50-4.00 บาท/ต้น แต่มีเกษตรกรหลายคนที่ใช้ปุ๋ยน้ำชีวภาพและปุ๋ยขี้ไก่ ทดแทนปุ๋ยเคมีกลับมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า คือระหว่าง 2.80-3.00 บาท/ต้น เท่านั้น ลองคิดดูว่าเกษตรกรจะมีกำไรสุทธิต่อการลงทุนระหว่าง 20,000-30,000 บาท/ไร่ จึงเป็นพืชทองของคนเมืองตราดอย่างแท้จริง

มะนาว ถือเป็นหนึ่งในพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของอำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร บ้านแพ้ว ในแต่ละวันจะมีผลผลิตมะนาวออกสู่ผู้บริโภค โดยผ่านพ่อค้าคนกลาง ซึ่งจะไปเดินทางรวบรวมนะนาวจากสวนต่างๆ ส่งตลาดค้าส่งที่สำคัญ เช่น ตลาดปากคลองตลาด ตลาดไท เป็นต้น คุณสมใจ หรือ บอย เทพจินดา อยู่บ้านเลขที่ 14 หมู่ 9 ตำบลหนองสองห้อง อำเภอบ้านแพ้ว เป็นหนึ่งในเกษตรกรผู้ปลูกมะนาว ที่เน้นการจำหน่ายทั้งผลมะนาวและกิ่งพันธุ์มะนาว โดยมีพื้นที่ปลูกทั้งสิ้น 22 ไร่ คุณบอย บอกว่า ครอบครัวเทพจินดาได้ปลูกมะนาวกันมานานกว่า 10 ปีแล้ว และได้หยุดไปปลูกองุ่นอยู่ระยะหนึ่ง ประมาณ 4 ปี แต่การปลูกองุ่นต้องประสบปัญหาต้นทุนที่สูงมาก ทำให้รับไม่ไหว จึงปรับเปลี่ยนกิจกรรมการปลูกพืชกลับมาเป็นมะนาวเหมือนเดิมจนถึงทุกวันนี้

“มะนาวยังเป็นไม้ผลที่ให้ผลตอบแทนดี แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นกับราคาตลาดด้วย ถ้าราคาดี ไม่มีการให้นำเข้าจากต่างประเทศ นับเป็นพืชที่สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรได้ดีชนิดหนึ่งทีเดียว” คุณบอย กล่าวปัจจุบันที่สวนแห่งนี้จะมีผลผลิตมะนาวพันธุ์แป้นทะวายออกสู่ตลาดอย่างสม่ำเสมอทั้งปี