แมลงต่างถิ่นที่ปักหลักแล้วในไทย เกษตรกรผวาทั้งประเทศ

หนอนชนิดนี้ นอกจากข้าวโพดที่มันชอบมากแล้ว มันยังสามารถเข้าโจมตี พืชได้อีกกว่า 80 ชนิด ได้แก่ ข้าว อ้อย พืชตระกูลผักทั้งหมด ไม้ดอกไม้ประดับ และปักหลักแพร่ระบาดแล้วเกือบทั่วประเทศ

ในวงการผู้ปลูกข้าวโพด ณ ขณะนี้ไม่มีเรื่องไหน จะฮ็อตเท่าเรื่อง หนอนกระทู้ระบาดอีกแล้ว
และไม่ใช่ว่าเฉพาะเกษตรกรชาวไทย แต่เป็นเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเกือบครึ่งโลก เพราะหนอนตัวนี้ เดิมทีเป็นหนอนเฉพาะถิ่นทวีปอเมริกา แต่ปัจจุบัน ระบาดลามไปทั่ว เริ่มที่แอฟริกา เข้ามาเอเชีย อินเดีย พม่า ไทย ส่วนทางยุโรปก็มีพบ แต่ไม่มาก เพราะทางยุโรปมีอากาศหนาวและมีเทคโนโลยีการจัดการที่ดี

แมลงศัตรูพืชตัวนี้เป็นหนอนผีเสื้อกลางคืน ชื่อหนอนกระทู้ ฟอลล์ อาร์มีวอร์ม (fall armyworm) เรียกย่อๆ ว่า FAW เนื่องจากหนอนตัวนี้เป็นแมลงศัตรูพืชสำคัญที่เพิ่งเข้ามาในประเทศไทย ตอนแรกจึงเรียกทับศัพท์ว่า “หนอนกระทู้ ฟอลล์ อาร์มีวอร์ม” (fall armyworm) ล่าสุดเพิ่งมีการตั้งชื่อสามัญภาษาไทยว่า “หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด”

และเหตุที่เรียกว่าอาร์มี หรือที่แปลว่า กองทัพ นั่นก็คือเป็นเพราะว่าช่วงการระบาดหนักของหนอน มันเดินไปเป็นกองทัพ บุกหน้ากระดานมาจำนวนมหาศาล อย่างที่บอก หนอนตัวนี้ทำสะเทือนไปครึ่งโลก เริ่มเข้าไทยปลายปีที่แล้ว ผ่านมาทางอินเดีย พม่า โดยเจ้าแมลงศัตรูพืชที่สามารถบินได้ไกลเฉลี่ยคืนละ 100 กิโลเมตร ขยายพันธุ์ได้รวดเร็วใช้เวลาแค่รุ่นละ 30-40 วัน (ระบาดเร็ว เพราะวงจรชีวิตมันสั้นมาก ไข่-หนอน-ดักแด้-ตัวเต็มวัย ใช้เวลา 31 วัน) และเป็นแมลงศัตรูพืชที่กินพืชได้มากกว่า 80 ชนิด

นักวิชาการกรมวิชาการเกษตร คุณศรุต สุทธิอารมณ์ ผู้อำนวยการกลุ่มบริหารศัตรูพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร ถึงกับบอกว่า หนอนชนิดนี้ สร้างการระบาดที่รุนแรงและรวดเร็ว เผลอๆ จะที่สุดในโลกด้วยซ้ำ

นอกจากนี้ เทคโนโลยีชาวบ้านออนไลน์ ยังได้พูดคุยกับ ดร. ณิชานันท์ เกินอาษา อาจารย์ประจำภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน เพิ่มเติม จนสามารถประมวล ข้อควรรู้ต่างๆ พร้อมกับทำความรู้จักกับหนอนตัวนี้เป็นข้อๆ ดังนี้

เป็นแมลงต่างถิ่นที่เรียกว่า เป็นเอเลี่ยนสปีชี่ส์ จากทวีปอเมริกา

2. การระบาดในทวีปอเมริกา จะหยุดการระบาดเป็นพักๆ หากเข้าฤดูหนาว เนื่องจากแมลงจะตายที่อุณหภูมิต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียส

3. องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (อังกฤษ: Food and Agriculture Organization of the United Nations หรือ FAO) เคยออกมาเตือน ตั้งแต่ปี 2016 ว่าแมลงตัวนี้ เริ่มข้ามจาก ทวีปอเมริกา มาแอฟริกา แล้ว

4. ความสามารถพิเศษคือ ช่วงเป็นผีเสื้อ บินได้ไกล คืนละนับ 100 กิโลเมตร ฉะนั้น ไม่ต้องแปลกใจที่มันสามารถแพร่ระบาดจากแอฟริกา ผ่านมาทางอินเดีย พม่า และไทย โดยการข้ามพรมแดนประเทศมาเรื่อย ในลักษณะ transboundary

5. พบการระบาดที่ประเทศไทย เมื่อปลายปี 2561 ในช่วงต้น ระบาดหนักในบางพื้นที่ จนถึงปัจจุบัน ( พฤษภาคม 2562) พบการระบาดหนักเกือบทุกภาคของประเทศ

หนอนชนิดนี้ นอกจากข้าวโพดที่มันชอบมากแล้ว มันยังสามารถเข้าโจมตีพืชได้อีกกว่า 80 ชนิด ได้แก่ ข้าว อ้อย พืชตระกูลผักทั้งหมด ไม้ดอกไม้ประดับ

7. ในช่วงที่เป็นผีเสื้อ มันจะชอบข้าวโพดต้นอ่อนมากที่สุด อายุ 10-20 วัน โดยเข้าไปวางไข่ในต้นข้าวโพด ตรงที่เป็นส่วนกรวย แล้วฝังตัวอยู่ในนั้น ซึ่งทำให้เกษตรกรมองไม่เห็น ฉีดพ่นสารเคมีที่สัมผัสตัวตาย ก็ไม่ได้ผล

8. เนื่องจากวงจรชีวิตสั้น ราว 30 วัน ทำให้เกิดการดื้อยาสูงมาก สารเคมีที่ใช้ทั่วไปในกลุ่ม คาร์บาเมต ออร์กาโนฟอสเฟต หรือไพริทอย มักไม่ได้ผล (ดื้อยามาตั้งแต่ผ่านจากอินเดีย พม่าแล้ว) ต้องสารเคมีกลุ่มใหม่ๆ จัดการ

9. แม่ผีสื้อ 1 ตัว วางไข่ได้ราว 2,000 ฟอง ใน 1 ชั่วชีวิต ทำให้การระบาดเร็ว และแรง ยิ่งได้ภูมิอากาศแบบร้อนชื้นในบ้านเรา ทำให้เป็นสวรรค์ของหนอนตัวนี้

10. ถ้ายังนึกถึงความรุนแรงของการระบาดไม่ออก ลองนึกถึง ตั๊กแตนปาทังก้า ที่บุกทำลายข้าวโพดเมื่อราวปี 2525-2530 แต่ปัจจุบันปัญหานี้หมดไป เพราะคนไทยจับมากินจนหมด กระทั่งต้องนำเข้ามาจากกัมพูชาจำนวนมากในแต่ละปี

11. สรุป ถ้ายังควบคุมไม่ได้ หรือรับมือไม่ได้ หนอนตัวนี้จะสร้างปัญหาให้กับเกษตรกรอย่างยิ่ง และส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจอีกมหาศาล เพราะไม่ใช่แค่ ข้าวโพดคนกิน แต่รวมถึงข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อันหมายถึงอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ทั้งประเทศ

เมื่อเร็วๆ นี้ นักวิชาการ ข้าราชการ นักธุรกิจเคมีเกษตร เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดในประเทศไทย และผู้สื่อข่าว จากหลายประเทศในเอเชีย มารวมตัวกันในงาน Fall armyworm Education Forum ที่ โรงแรมเซนทารา ลาดพร้าว จัดโดย สภาหอการค้าสหรัฐอเมริกา-อาเซียน, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน และ Corteva Agriscience

คุณชัยสรรค์ อภัยนอก เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพด ที่ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา เล่าในงานสัมมนาว่า หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด ได้เข้าโจมตีแปลงข้าวโพดที่ทำอยู่จำนวน 500 ไร่ ทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น ราวๆ เกือบ 30 เปอร์เซ็นต์ คือจากเดิมที่มีต้นทุนการผลิตอยู่ที่ 5,000 บาท ต่อไร่ แต่เมื่อต้องใช้สารเคมีกำจัดหนอน ทำให้เพิ่มต้นทุนการผลิตขึ้นไปอีก 1,500 บาท ต่อไร่

ในขณะที่ คุณสมชาติ รักษาลิกร เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดจำนวน 30 ไร่ ที่ อ.แม่วงก์ จ. นครสวรรค์ ก็บอกว่า ครั้งแรกที่เจอหนอนตัวนี้ ยังไม่ทราบว่าเป็นหนอนอะไร กระทั่งได้รับการแจ้งเตือนจากกรมวิชาการเกษตร และพยายามหาทางรับมือกับหนอนตัวนี้อยู่

ทางด้าน คุณสมศักดิ์ สมานวงศ์ หัวหน้าทีมฝ่ายถ่ายทอดเทคโนโลยี ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก คอร์เทว่า อะกริซายน์ เผยว่า ในเบื้องต้นได้ให้คำแนะนำเกษตรกรให้เพิ่มการเฝ้าระวัง และใช้สารเคมีให้ถูกต้องตามเวลาและตามสถานการณ์ ไม่ใช่เจอปุ๊บใช้สารเคมีเลย จุดคุ้มทุนต่อการใช้สารเคมีในการกำจัดหนอน อยู่ที่การเข้าทำลาย 20 เปอร์เซ็นต์

นอกจากนี้ ยังอาจเริ่มต้นด้วยการใช้สารคลุกเมล็ด หรือซื้อเมล็ดข้าวโพดที่คลุกสารป้องกันหนอน ก็จะช่วยป้องกันหนอนไปได้ตั้งแต่ เริ่มปลูก ไปจนถึง 18-20 วัน จากนั้นก็เฝ้าระวัง หากต้องใช้สารเคมี ก็ใช้สารเคมีตามที่กรมวิชาการเกษตรแนะนำ จะดีที่สุด

ซึ่งในส่วนของ “คอร์เทว่า อะกริซายน์” ก็แนะนำ “สารสไปนีโทแรม” ซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์ตัวเดียวกับที่กรมวิชาการเกษตรแนะนำ รวมทั้งสารชีวภัณฑ์จากแบคทีเรียอย่าง “บาซิลัส ทรูรินจิเอนซิส” อีกด้วย ( Bacillus thruringiensis var.aizawai และ Bacillus thruringiensis var.Kurstaki)

“ชา” เป็นพืชเศรษฐกิจหนึ่งในอันดับต้นๆ ของจังหวัดเชียงราย

สวนชาดอยตุง เป็นหนึ่งในกลุ่มที่ผลิตชาได้อย่างมีคุณภาพ เป็นที่ยอมรับในอันดับต้นๆ ของจังหวัดเช่นกัน เพราะสวนชาดอยตุง มี คุณสุนันต์ทา แซ่บู้ ชายผู้ซึ่งเริ่มต้นปลูกชาจากความไม่รู้ แต่สั่งสมประสบการณ์ด้วยตนเอง จนสามารถรวมกลุ่มก่อตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสวนชาดอยตุง สหกรณ์สวนชาดอยตุง เพื่อรวบรวมผลผลิตจากเกษตรกรชาวเขาในพื้นที่อำเภอแม่ฟ้าหลวงไว้ด้วยกัน ทั้งยังสามารถควบคุมการผลิตให้ชาที่ผลิตออกมาจำหน่าย เป็นชาปลอดสารพิษ ตั้งเป้าหลักของการปลูกชาให้เป็นชาอินทรีย์

สวนชาดอยตุง มีแหล่งกำเนิดที่หมู่บ้านปางพระราชทานในเขตโครงการพัฒนาดอยตุง เป็นพื้นที่ป่าเปิดใหม่ จึงสามารถดำเนินการปลูกชาในระบบอินทรีย์ได้

การรวมกลุ่มของเกษตรกรที่ปลูกชาในพื้นที่ตำบลแม่ฟ้าหลวง อำเภอแม่ฟ้าหลวง ตั้งแต่ระยะเริ่มต้นในปี 2545 มีเพียงไม่กี่ราย จากกลุ่มอิสระ ที่มีผู้นำหมู่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน และคณะกรรมการหมู่บ้าน เป็นผู้รวบรวมผลผลิตชาของสมาชิก ช่วงนั้นกลุ่มมีสมาชิกเพียงไม่กี่ราย โดยกลุ่มได้ดำเนินการเพาะปลูกชาบนพื้นที่เขตป่าสงวนฯ ได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ให้ปลูกชาในเขตพื้นที่ดังกล่าวภายใต้โครงการพัฒนาดอยตุง

เริ่มจากราษฎรตำบลแม่ฟ้าหลวง เข้าจับจองพื้นที่ได้ รายละ 2 ไร่

ระยะแรก กลุ่มจึงมีพื้นที่ปลูกชา ประมาณ 500 ไร่ ปัจจุบัน เหลือเพียงกว่า 300 ไร่ เนื่องจากสมาชิกบางรายปรับเปลี่ยนพื้นที่ปลูกชาไปเป็นสวนยางพารา ถึงวันนี้สมาชิกที่สนใจจริงและปลูกชามีมากกว่า 200 ราย ชาที่นิยมปลูกมากที่สุด คือ ชาอูหลง เบอร์ 12 จำนวน 409 ไร่ อยู่ระหว่างการส่งเสริมให้ปลูกอีก 178 ราย รายละ 1 ไร่ รวมเป็น 587 ไร่ และน่าจะมีเกษตรกรปลูกเพิ่มเองอีกหลายร้อยไร่ในอนาคตข้างหน้า ส่วนชาอูหลงก้านอ่อน ปัจจุบันมี 100 ไร่ ชาอัสสัม ประมาณ 200 ไร่ ซึ่งชาอัสสัม เป็นชาที่อยู่ระหว่างการส่งเสริมพื้นที่ปลูกเพิ่ม

การปลูกชา คุณสุนันต์ทา บอกว่า แม้ต้นชาจะเป็นไม้ใบ ไม่ใช่ไม้ผล ที่ต้องดูแลอย่างละเอียดลออ แต่ทุกขั้นตอนของการปลูกชาก็ใช่จะเป็นเรื่องง่ายไปทั้งหมด โดยเฉพาะการเพาะกล้าชา ก่อนนำไปลงแปลงปลูก เป็นขั้นตอนที่ยากที่สุดของการปลูกชา ไม่นับรวมถึงขั้นตอนการบ่มใบชาให้ได้คุณภาพ

“กล้าที่ดี ต้องปล่อยให้ต้นออกใบยาว ตัดส่วนยอดชำไว้ ขึ้นแปลงกล้า เตรียมน้ำยาเร่งราก เมื่อนำไปเพาะให้ชุบน้ำยาที่กล้าชำ เจาะรูดินแล้วปักลงไป รดน้ำ นำผ้ายางคลุมไว้ ป้องกันไม่ให้อากาศเข้า ไม่อย่างนั้นต้นกล้าชาจะตาย และนำซาแรน 50 เปอร์เซ็นต์ มาคลุมไว้ ทิ้งไว้ประมาณ 2 เดือน ต้นกล้าชาจะเริ่มมีรากออกมา”

ดินที่ใช้ควรเป็นดินแดง จะช่วยให้รากชาเจริญเติบโตได้เร็ว

ทิ้งไว้อย่างนั้น ไม่รดน้ำ 6-8 เดือน

นำดินใส่ถุงดำ ย้ายต้นกล้าชาลงถุงดำ รดน้ำทุกวัน แต่ยังคงดูแลในโรงเพาะกล้า

ต้นกล้าอายุ 1 ปี จึงเหมาะแก่การนำไปลงแปลงปลูก

การปลูกชา ควรขุดหลุมลึก 30 เซนติเมตร ความกว้างของหลุม 15 เซนติเมตร กลบให้เสมอกับหน้าดิน ระยะห่างระหว่างต้นและแถว คือ 4×4 นิ้ว พื้นที่ 1 ไร่ ปลูกชาได้ 1,200 ต้น การปลูกชา ควรทำในช่วงเข้าฤดูฝน เพื่อให้น้ำฝนหล่อเลี้ยงต้นชาให้รอด หากร้อนมากเกินไป ต้นชาจะตาย เมื่อลงปลูกในแปลงแล้ว ไม่ต้องรดน้ำเลย จนกว่าต้นชาจะมีอายุ 7 เดือน จึงให้ปุ๋ย แล้วรดน้ำตาม ในช่วงฤดูฝน ไม่ต้องรดน้ำ แต่ถ้าฤดูร้อน ควรรดน้ำทุกๆ 7 วัน และควรรดน้ำในช่วงเวลากลางคืน เพราะหากรดน้ำในช่วงเวลากลางวัน อาจมีน้ำค้างตามใบชา เมื่อแสงแดดถูกน้ำบนใบชา จะทำให้น้ำร้อนและต้นชาอาจตายได้

การให้ปุ๋ย เพราะกลุ่มมีนโยบายผลิตชาอินทรีย์ การให้ปุ๋ยจึงเป็นปุ๋ยหมัก ในการให้ปุ๋ยแต่ละครั้ง ต้องขุดรอบต้นชา ใส่ปุ๋ยรอบต้น ปริมาณ 1 กิโลกรัม ต่อชา 1 ต้น และให้ปุ๋ยราวปลายเดือนเมษายนของทุกปี

การกำจัดวัชพืชเป็นสิ่งสำคัญ หากพบให้กำจัดออก และงดใช้สารเคมี ตามนโยบายการปลูกชาอินทรีย์

การเก็บใบชา ในครั้งแรกจะเริ่มเก็บใบชาได้เมื่อต้นชามีอายุ 3 ปี เทคนิคการเก็บยอดชาให้ดี ต้องเลือกยอดสุดท้ายของต้น หลังเด็ดยอดมาแล้ว ชาจะแตกยอดใหม่จนเก็บได้อีก ในระยะ 45-47 วัน ใบชาจึงจะมีความสมบูรณ์ ทุกการเก็บยอดชา 2 ครั้ง ต้องตัดแต่งต้นชา 1 ไร่ ให้มีความสูงไม่เกิน 100 เซนติเมตร ถือว่าความสูงเหมาะสม

คุณสุนันต์ทา บอกว่า ชา สามารถปลูกพื้นที่ราบได้ แต่การปลูกชาบนพื้นที่สูงจะทำให้ได้รสชาติชาที่ดีกว่า โดยเฉพาะเรื่องของกลิ่นชาเมื่อชง ทั้งยังจะทำให้จำนวนครั้งของการชงชามากขึ้นอีกด้วย สินค้าของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มสวนชาดอยตุงได้แบ่งเป็น 3 ประเภทหลัก ได้แก่ ชาเขียว ชากึ่งหมัก และชาหมัก ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ชาอินทรีย์ทั้งหมด และได้รับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) ได้รับการรับรองมาตรฐานจากสำนักคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ตลอดจนมาตรฐาน GMP โดยมีผลิตภัณฑ์สินค้าชาที่จำหน่ายหน้าร้านดังนี้

ปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์จากสวนชาดอยตุงได้มี คุณคมสันต์ สุยะใหญ่ ซึ่งเป็นเด็กหนุ่มไฟแรงจบมาหมาดๆ และเป็นลูกชายของ คุณสุนันต์ทา แซ่บู๊ ให้ความสนใจในด้านการจัดการบริหารตั้งแต่กระบวนการผลิตชาถึงด้านการตลาดส่งออกชาที่มีคุณภาพ อีกทั้งยังมีการเตรียมรองรับประชาคมอาเซียนและกระแสความเปลี่ยนแปลงของโลก อีกทั้งยังได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับชาคุณค่าชาต่างๆ ดังนี้

ชาอูหลง ชาเขียวหรือ “โอชะ” (Ocha) ในภาษาญี่ปุ่น มาจากพืชชนิดเดียวกับชาดำ หรือชาอูหลง ในตระกูลคาเมลเลียไซเนนซิส (GamelliaSinenisis) ต่างกันแค่กระบวนการผลิต กล่าวคือ ชาเขียวต้องนำใบชาอ่อนสองใบกับหนึ่งยอด ที่เรียกว่า “อิจอบังฉะ” มานึ่งเพื่อยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ คลอโรฟิลล์จึงไม่ถูกทำลาย ใบคงงามเขียวสด เมื่อนำไปชงกับน้ำร้อนจึงได้น้ำชาสีเขียวถึงเหลืองอ่อน ส่วนชาดำหรือชาอูหลง นั้น เนื่องจากผ่านการหมักบ่มที่ออกซิเจนเข้าไปทำปฏิกิริยาออกซิเดชัน ใบชาจึงมีสีเข้มข้น ชาดำออกรสเข้มจนถึงขม เพราะใบชาผ่านการหมักบ่มเต็มที่ ส่วนชาอูหลงหรือชาแดงออกรสเข้มกลางๆ ระหว่างชาดำและชาเขียว เพราะใบชาถูกหมักไม่นาน

การที่ชาเขียวไม่ผ่านการหมักบ่ม ทำให้สารที่มีประโยชน์ต่างๆ ในใบชายังคงมีอยู่อย่างครบถ้วนเหมือนใบชาสด โดยเฉพาะสารแอนตี้ออกซิแดนซ์ จำพวก Epigallocatechin-3-Gallate เรียกสั้นๆ ว่า EGCG หรือแคททิคิน แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าในใบชาอื่นๆ ไม่มีสารดังกล่าว หากแต่เปรียบเทียบกันแล้วชาเขียวมีปริมาณสารแอนตี้ออกซิแดนซ์สูงสุด

สรรพคุณของแอนตี้ออกซิแดนซ์ ในใบชาเขียว ช่วยต้านพิษและสารปนเปื้อนต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง ช่วยลดปริมาณคอเลสเตอรอลและอัตราเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน อีกทั้งช่วยชะลอความแก่และริ้วรอยก่อนวัย เพราะสารแคททิคินมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระมากกว่าวิตามินอีถึง 20 เท่า

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณสุนันต์ทา แซ่บู๊ เป็นประธานกลุ่มสวนชาดอยตุง โทรศัพท์ (053) 763-349 หรือ (086) 911-2589 หรือติดต่อผ่าน คุณคมสันต์ สุยะใหญ่ โทร. (082) 628-8982 ได้ตลอดเวลา หากต้องการไปชมสวนชาดอยตุงเอง ควรเดินทางไปที่ร้านสวนชาดอยตุง เลขที่ 109 หมู่ที่ 17 ตำบลแม่ฟ้าหลวง อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย คุณชัยยศ ตั้งนิยม อยู่บ้านเลขที่ 137 หมู่ที่ 1 ตำบลวังยาง อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร ปัจจุบัน อายุ 47 ปี จบการศึกษาจากศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6

ด้วยความวิริยะอุตสาหะ มุ่งมั่นกับไร่อ้อยมานานกว่า 30 ปี ทำให้เขาได้รับคัดเลือกเป็นเกษตรกรดีเด่น สาขาทำไร่ ปี 2562 “การเริ่มต้นที่ดีถือว่าสำเร็จไปครึ่งหนึ่งแล้ว” เริ่มด้วยการเตรียมดินให้ดีตั้งแต่เริ่มปลูก โดยใช้กากหม้อกรอง (Filter cake) เป็นปัจจัยที่ทำให้ได้ผลผลิตตอบแทนที่ดี

“มีอ้อยไม่มีหญ้า มีหญ้าไม่มีอ้อย” ป้องกันกำจัดวัชพืชอย่างถูกต้องและถูกวิธีตั้งแต่ตอนต้น ช่วยลดการแพร่พันธุ์ของวัชพืช

ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ประยุกต์เครื่องจักรกลการเกษตร ได้แก่ ผาลปรับพื้นที่ให้เรียบ เครื่องปลูกอ้อยแบบหลังแบน กระเช้าบรรทุกอ้อยลดการเกิดดินดาน ดังนี้
1.1 การปรับพื้นที่ให้เรียบ ดัดแปลงใช้ใบมีดเกรดดินติดท้ายรถไถปรับพื้นที่ให้เรียบลาดเอียงเล็กน้อย เพื่อควบคุมการให้น้ำแบบผิวดินและร่องคู ช่วยระบายน้ำ ลดปัญหาน้ำท่วมขัง ง่ายต่อการควบคุมวัชพืช พื้นที่แปลงที่เรียบจะสะดวกต่อการเข้าเก็บเกี่ยวโดยการใช้รถตัดอ้อย

1.2 ประยุกต์เครื่องปลูกอ้อย โดยปลูกแบบสันร่องแบนด้วยผาลหัวหมู ชักร่องทำให้ตออ้อยอยู่ลึก ไว้ตอได้นาน ตออ้อยไม่หลุดเมื่อตัดด้วยรถตัด ให้น้ำง่ายขึ้น แล้วตามด้วยริปเปอร์ติดปีก ชักร่องวางท่อนพันธุ์อ้อยด้วยเครื่องปลูกมีร่องลึก ทำให้รากหาอาหารได้ลึก ก้นร่องอยู่ต่ำกว่าสันร่องให้น้ำสะดวก ตออ้อยไม่ถูกถอนด้วยรถตัด

ประยุกต์ทำกระเช้าบรรทุกอ้อยที่มีน้ำหนักเบากว่ารถบรรทุกอ้อย ทำให้อ้อยตอไม่เสียหายจากน้ำหนักกดทับของรถบรรทุก

คัดเลือกพันธุ์อ้อย และใช้พันธุ์อ้อยเหมาะสมกับชนิดดิน และเลือกปลูกพันธุ์อ้อยที่มีอายุเก็บเกี่ยวต่างกัน ได้แก่ พันธุ์เบา (สะสมน้ำตาลเร็ว) อ้อยพันธุ์กลาง และอ้อยพันธุ์หนัก (เก็บเกี่ยวหลัง)
ปรับปรุงบำรุงดินด้วยกากหม้อกรอง สมัคร GClub (Filter cake) ผลพลอยได้จากโรงงาน เพื่อปรับปรุงบำรุงดินและลดต้นทุน
ตัดอ้อยต่ำชิดดิน ทำให้ได้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น และได้ความหวานเพิ่ม เนื่องจากโคนอ้อยมีเปอร์เซ็นต์ความหวานมากกว่าส่วนอื่น ตัดอ้อยชิดดิน ทำให้หน่อของตออ้อยที่เกิดใหม่เกิดมาจากรากเหง้าที่อยู่ใต้ดิน แข็งแรงและเจริญเติบโตได้ดีกว่าหน่อที่เกิดจากตออ้อยบนดิน
บริหารจัดการเครื่องจักรด้านการเกษตรอย่างเป็นระบบ มีอุปกรณ์การเกษตรที่ทันสมัยในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อย

การนำเทคโนโลยีมาใช้

ไถระเบิดดินดานทุกรอบการผลิตใหม่ เพื่อปรับโครงสร้างของดิน โดยใช้เครื่องมือในการระเบิดดินดานให้เหมาะสมกับขนาดรถไถ เพื่อลดความแน่นของดิน โดยใช้ริปเปอร์ 2/3/5 ขา ในอ้อยปลูกใหม่ 2 ครั้ง สลับเป็นแบบตาราง
ใช้ผาลสับใบอ้อยระหว่างแถวอ้อยตอ ทำให้ได้ใช้ใบอ้อยในการบำรุงดิน
ใช้รถตัดอ้อย ตัดได้ 100-300 ตัน ต่อวัน ช่วยทดแทนแรงงานคน และวางแผนการตัดอ้อยได้ตามกำหนด การแก้ไขปัญหา

แก้ไขปัญหาการให้น้ำในการปลูกอ้อย โดยปรับพื้นที่ในการปลูกอ้อยให้มีระดับเสมอ เพื่อลดปัญหาในการให้น้ำ
ลดการใช้ปุ๋ยเคมี ด้วยการใช้กากหม้อกรอง (Filter cake) ในการบำรุงดินแทน เป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย
ใช้เครื่องจักรกลเข้ามาทำงานเพื่อลดความเสี่ยงในเรื่องการขาดแรงงาน
ขยายผลต่อยอด

– ช่วยแนะนำเกษตรกรในการผลิตอ้อยให้ได้คุณภาพ มีเกษตรกรนำความรู้ไปเป็นแบบอย่างในการผลิตอ้อย

– เป็นศูนย์เครือข่ายการบริหารจัดการไร่อ้อย ของศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ของอำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร

ผลงานและความสำเร็จของผลงาน ทั้งด้านปริมาณและคุณภาพตลอดจนระยะเวลาที่ปฏิบัติงานและความยั่งยืนในอาชีพ

รายได้/ต้นทุน/กำไร (ย้อนหลัง 3 ปี)

ปี 2558/2559 (พื้นที่ปลูกอ้อย จำนวน 1,100 ไร่)
รายได้ทั้งหมด 16,650,000 บาท

ราคาขาย 900 บาท/ตัน

ค่าใช้จ่าย 9,210,000 บาท

รายได้สุทธิ 7,440,000 บาท (6,763.64 บาท/ไร่)

ปี 2559/2560 (พื้นที่ปลูกอ้อย จำนวน 1,100 ไร่)
รายได้ทั้งหมด 19,950,000 บาท

ราคาขาย 1,050 บาท/ตัน

ค่าใช้จ่าย 9,410,000 บาท

รายได้สุทธิ 10,540,000 บาท (9,581.82 บาท/ไร่)

ปี 2560/2561 (พื้นที่ปลูกอ้อย จำนวน 1,349 ไร่ 3 งาน 90 ตารางวา)
รายได้ทั้งหมด 21,060,450 บาท

ราคาขาย 850 บาท/ตัน

ค่าใช้จ่าย 11,745,000 บาท

รายได้สุทธิ 9,315,450 บาท (6,900.33 บาท/ไร่) ผลผลิต

– ปี 2558/2559 รวม 18,500 ตัน เฉลี่ย 16.36 ตัน/ไร่ (ผลผลิตเฉลี่ยของประเทศ = 9.15 ตัน/ไร่)

– ปี 2559/2560 รวม 19,000 ตัน เฉลี่ย 17.27 ตัน/ไร่ (ผลผลิตเฉลี่ยของประเทศ = 9.43 ตัน/ไร่)

– ปี 2560/2561 รวม 24,777 ตัน เฉลี่ย 18.35 ตัน/ไร่ (ผลผลิตเฉลี่ยของประเทศ = 11.68 ตัน/ไร่)

(ผลผลิตสูงสุด 27 ตัน/ไร่)

คุณภาพผลผลิต

ค่าความหวานเฉลี่ย 12 ccs. (สูงสุด 14 ccs.)

สรุปเปรียบเทียบข้อมูล ปี 2560/61 (ต่อหน่วยการผลิต)

– ผลผลิต 18.35 ตัน/ไร่

– ราคาขาย 850 บาท/ตัน

– ต้นทุน 8,700 บาท/ไร่ 474 บาท/ตัน

– รายได้ 5,600 บาท/ไร่

– กำไร 6,900.33 บาท/ไร่ 376 บาท/ตัน