แมลงวันพริก เป็นแมลงศัตรูพริกที่มีความสำคัญมากถ้ามีการระบาด

ทำลายผลผลิตให้เกิดความเสียหายได้มากถึง 60–100 เปอร์เซ็นต์ เพศเมียวางไข่ที่ผลพริกเมื่อไข่ฟักออกมาจะทำให้ผลพริกเน่าเสียและร่วงหล่น
การป้องกันกำจัด เก็บผลพริกที่ร่วงหล่นทำลายโดยการแช่น้ำไว้ 1-2 คืน แล้วนำไปทำปุ๋ยหมัก ใช้เชื้อรา เมทาไรเซียม พ่นเป็นประจำ แต่ถ้าจำเป็นจึงควรใช้สารเคมี เช่น อิมิดาโคลพริด (imidacloprid) ผสมน้ำพ่นในแปลงพริกช่วงพริกติดผล

เพลี้ยอ่อนพริก เป็นแมลงปากดูดชนิดหนึ่งที่ขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว ป้องกันกำจัดโดยพ่นด้วยปิโตรเลียมออย หรือสารสกัดจากเมล็ดน้อยหน่าที่ทุบแตกแล้ว 40 กรัม/น้ำ 1 ลิตร
แมลงหวี่ขาวพริก เป็นแมลงปากแทงดูด เป็นพาหะนำโรคไวรัสมาสู่ต้นพืช ควรรีบป้องกันกำจัดเช่นเดียวกับเพลี้ยอ่อน คือ พ่นด้วยปิโตรเลียมออย หรือสารสกัดจากต้นยาสูบ, หางไหล
ไรขาว พบว่ามีการระบาดในช่วงฤดูที่มีการปลูกพริกกันมาก ไรขาวจะเข้าทำลายที่ยอดก่อน เมื่อเป็นหลายๆ ยอด จะดูเป็นพุ่มใบ พริกจะหงิกงอ ใบอ่อนหยาบย่น หรือเป็นคลื่นขอบใบม้วนลงทางด้านล่าง ใบจะค่อยๆ ร่วง และยอดจะตายไปในที่สุด
การป้องกันกำจัด หมั่นตรวจดูแปลงพริกเสมอๆ เมื่อพบไรขาวในปริมาณมากให้รีบกำจัดด้วยสารเคมี เคลเทน หรือไดโฟคอล และเลบโตฟอส หรือฟอสเวล เป็นต้น แต่ถ้าตรวจพบว่ามีการระบาดของเพลี้ยไฟและไรขาวพร้อมกัน ควรใช้สารเคมีกำจัดของทั้งสองชนิด ฉีดพ่นพร้อมกันเลย จะได้ผลสมบูรณ์ขึ้น หรือใช้กำมะถันที่อยู่ในรูปผงผสมน้ำ พ่น 2-3 ครั้ง ห่างกัน 7 วัน ถ้ายอดอ่อนเป็นปกติจึงหยุดพ่น

นอกจากศัตรูพริกที่กล่าวมาแล้ว พริกยังมีโรคระบาดซึ่งเกิดจากเชื้อรา มีผลเสียหายต่อการปลูกพริก ซึ่งที่พบเห็นในขณะนี้ ได้แก่

โรคกุ้งแห้ง มีสาเหตุมาจากเชื้อรา พบระบาดมากในระยะที่ผลผลิตพริกกำลังเจริญเติบโต การเข้าทำลายจะเห็นได้ชัดเจนบนผลพริกที่แก่จัดหรือสุก อาการเริ่มแรกจะเห็นเป็นจุดสีน้ำตาลช้ำ เนื้อเยื่อบุ๋มไปจากเดิมเล็กน้อย และจุดสีน้ำตาลจะค่อยๆ ขยายวงกว้างออกเป็นแผลวงกลมหรือวงรี โดยมีขนาดแผลไม่จำกัด จะทำให้ผลพริกเน่า และจะระบาดติดต่อกันอย่างรวดเร็ว
การป้องกันกำจัดทำได้ดังนี้

1.1 ก่อนปลูกนำเมล็ดพันธุ์มาล้างน้ำให้สะอาด แล้วแช่ในน้ำอุ่นประมาณ 30 นาที

1.2 ใช้สารเคมีคลุกเมล็ดพันธุ์เพื่อทำลายโรคที่ติดมากับเมล็ด

1.3 ฉีดพ่นสารเคมี เช่น ไซเนบ มาเนบ หรือเบนโนมิล แมนโคเซบ เพื่อป้องกันกำจัดเชื้อราทุกๆ 7–15 วัน/ครั้ง

โรคเหี่ยวของพริกจากเชื้อราหรือโรคหัวโกร๋น การเข้าทำลายจะแตกต่างจากอาการเหี่ยวที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย อาการเหี่ยวจากเชื้อราจะเริ่มจากใบล่างก่อน แล้วจึงค่อยแสดงอาการที่ใบบน ต่อมาใบที่เหลืองจะเหี่ยวลู่ลงดินและร่วง ต้นพริกจะแสดงอาการในระยะผลิดอกออกผล ฉะนั้น อาจทำความเสียหายต่อดอกและลูกอ่อนด้วย เมื่อตัดดูลำต้น จะพบว่าเนื้อเยื่อท่อลำเลียงอาหารเป็นสีน้ำตาล หรือน้ำตาลไหม้ แสดงว่าต้นจะเหี่ยวตายในที่สุด

การป้องกันกำจัดทำได้ดังนี้

2.1. เมื่อปรับดินปลูกแล้วควรโรยด้วยปูนขาว จะเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดเชื้อรา

2.2. ถอนหรือขุดต้นที่เป็นโรคเผาทิ้ง แล้วใช้สารเคมีเทอราคลอร์ (terraclor) ผสมน้ำตามอัตราส่วนที่แนะนำไว้ในฉลาก แล้วเทราดลงในหลุมที่เป็นโรค

2.3. ควรปลูกพืชหมุนเวียนสลับกับพริก ไม่ควรปลูกพริกซ้ำที่บ่อยๆ

2.4. ควรใช้ปุ๋ยอินทรีย์ให้มากกว่าปุ๋ยวิทยาศาสตร์ เพื่อป้องกันดินเป็นกรด และเป็นการปรับปรุงบำรุงดิน

2.5. ปรับปรุงดินให้ร่วนซุย มีการระบายน้ำดี

โรคโคนเน่าหรือต้นเน่าโดยการทำลาย จะแสดงออกทางใบ ใบจะเหลืองและร่วง โคนต้นและรากจะเน่าเปื่อยเป็นสีน้ำตาล ต้นพริกจะเหี่ยวตาย แต่จะระบาดมากในระหว่างที่มีการผลิดอกออกผล อาการของโรคเน่าหรือต้นเน่านี้จะแตกต่างกับโรคพริกหัวโกร๋น คือ ยอดจะไม่หลุดร่วงไป
การป้องกันกำจัดทำได้ดังนี้

3.1. หมั่นตรวจต้นพริกดูว่าเป็นโรคหรือไม่

3.2. ขุดหรือถอนต้นพริกที่เป็นโรคเผาทิ้ง แล้วใช้สารเคมีเทอราคลอร์ ผสมน้ำตามอัตราส่วนคำแนะนำในฉลาก เทราดลงในหลุมที่เป็นโรค หรือใช้ฟอร์มาลินผสมน้ำในอัตราส่วน 1 : 50 ราดลงบริเวณโคนต้นที่เป็นโรค ระวังอย่าให้ไหลไปสู่ต้นอื่น เพราะจะเป็นการแพร่เชื้อโรค

3.3. การเตรียมดินปลูก ควรเพิ่มปูนขาวเพื่อให้ดินเป็นด่าง เพราะถ้าดินเป็นกรดจะเกิดโรคนี้ได้ง่าย

3.4. ควรปลูกพืชหมุนเวียนสลับกับการปลูกพริก

3.5 ใช้เชื้อจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์รวม

โรคเหี่ยวที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ต้นพริกที่เป็นโรคนี้จะแสดงอาการเหี่ยวทั่วต้นในวันที่มีอากาศร้อนจัด และอาจจะฟื้นคืนดีใหม่ในเวลากลางคืน ต้นพริกจะมีอาการเช่นนี้ 2-3 วัน ก็จะเหี่ยวตายโดยไม่ฟื้นอีก การเหี่ยวของต้นพริกที่เป็นโรคนี้ จะแสดงอาการใบเหลืองที่อยู่ตอนล่างๆ ก่อน เมื่อถอนต้นมาดูจะเห็นว่ารากเน่า และเมื่อเฉือนผิวของลำต้นตรงใกล้ระดับคอดินจะพบว่า เนื้อเยื่อที่เป็นท่อลำเลียงอาหารช้ำ และเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อน ซึ่งแตกต่างจากสีของเนื้อเยื่อที่ดีของพริก

สำหรับการป้องกันกำจัด เมื่อพบต้นพริกที่แสดงอาการเหี่ยวให้ถอนหรือขุดแล้วนำไปเผา และถ้าหากพบควรฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดหนอนเจาะรากและโคนต้น และควรปลูกพืชหมุนเวียนสลับกับ

การปลูกพริก เช่น ปลูกข้าวโพด แตงกวา ถั่วต่างๆ หลุมพอเพียง คือ การปลูกพืชหลายอย่างในหลุมเดียว หลุมที่ว่านี้ไม่ได้สภาพเป็นหลุมลึก ๆ แต่เป็นการปลูกพืชเป็นกลุ่ม ขนาดที่น่าลองทำคือ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 เมตร แต่สำหรับคนที่มีพื้นที่ว่าง เพื่อเตรียมปลูกพืช อาจจะทำหลายๆหลุม ขนาดที่กำลังพอแรง คือขนาดกว้าง 80 – 100 เซนติเมตร จะทำวงกลมหรือสี่เหลี่ยมก็ได้ ระยะห่างระหว่างหลุม 4 x4 เมตร ถ้ามีพื้นที่ 1 ไร่ จะได้ 100 หลุม หรือถ้าไม่มีที่เป็นผืนก็สร้างหลุมไว้ตามหัวไร่ปลายนา มุมบ้าน หลังครัว ขอบบ่อน้ำ ริมทางเดิน ได้หมด

หลุมพอเพียง เป็นวิธีการบริหารจัดการสิ่งที่อยู่ในหลุม เริ่มจากเตรียมพื้นที่ตามขนาดที่กำหนด แล้วก็ปลูกหญ้าแฝกเป็นรูปวงกลมหรือเป็นล็อกสี่เหลี่ยม จากนั้นปลูกไม้ในหลุมนี้ ลงได้ถึง 4 – 5 ประเภทในหลุมเดียว เพื่อลดภาระการรดน้ำ ปลูกซ้ำ และเกื้อต่อการกำจัดศัตรูพืชเพราะให้ทุกอย่างเกื้อกูลกันเอง

ต้นไม้ที่จะปลูกในหลุมแบ่งเป็น 5 ประเภท
1. ไม้พี่เลี้ยง เป็นไม้ที่ให้ร่มเงา เก็บน้ำ เก็บความชื้นโดยเฉพาะช่วงร้อนหรือหน้าแล้ง เช่น กล้วยน้ำว้า กล้วยหอม ควรปลูกทางทิศตะวันตก เพราะช่วยบังแสงช่วงบ่ายที่อากาศร้อนจัด เป็นพี่เลี้ยงให้พืชที่ไม่ชอบแดดจัดมาก ได้กล้วยเครือแรกเมื่อปลูก 1 ปี ก็ตัดทิ้ง ปล่อยหน่อใหม่ให้ทำงาน

2. ไม้ฉลาด เป็นไม้ข้ามปี ที่สามารถเอาตัวรอดได้ดี เก็บผลได้นานพอสมควร เช่น ชะอม ผักหวาน มะละกอ ผักติ้ว ผักเม็ก เริ่มเก็บกินได้ตั้งแต่ 1 เดือนไปเรื่อยๆ

3. ไม้ปัญญาอ่อน หรือ ไม้รายวัน เป็นไม้ล้มลุกปลูกง่าย ตายเร็ว ต้องคอยปลูกใหม่ ดูแลรดน้ำทุกวัน แต่เก็บผลได้เร็ว ได้ทุกวัน เช่น พริก มะเขือ กะเพรา โหระพา ตะไคร้ ข่า ฟักทอง แตงไทย แตงกวา ผักบุ้งจีน คะน้า เป็นต้น เริ่มเก็บกินได้ตั้งแต่ 15 วัน

ไม้บำนาญ เป็นไม้ผลยืนต้น ใช้เวลาปลูก 2 – 4 ปี แต่เมื่อให้ผลผลิตแล้ว เก็บกิน เก็บขายได้เรื่อย ๆ เช่น ขนุน มะม่วง มะนาว กระท้อน เงาะ ทุเรียน มังคุด ยางพารา เป็นต้น ในหลุมหนึ่งควรเลือกปลูกแค่ประเภทเดียว

5. ไม้มรดก เป็นกลุ่มไม้ใช้สอยที่อายุยืน ใช้เวลาปลูกนาน เก็บไว้เป็นมรดกให้ลูกหลาน ตัดขาย ก็ได้เงินก้อนใหญ่หรือจะเอาไว้ใช้ซ่อมแซมบ้านก็ได้ เช่น ประดู่ สักทอง ยางนา สะเดา พะยูง ชิงชัน ไม้พวกนี้เป็นไม้ใหญ่ ปลูกฝั่งตรงข้ามกับต้นกล้วย

พื้นที่ใต้ร่มเงาหรือบริเวณหลุมที่มีการเตรียมดินใส่ปุ๋ยปรับปรุงดินรดน้ำและดูแล ยังสามารถใช้ประโยชน์ได้อีกมาก แทนทีจะปล่อยให้วัชพืชขึ้นเป็นภาระที่ต้องคอยกำจัด การปลูกพืชบางอย่างที่มีกลิ่นเฉพาะ ช่วยไล่แมลงศัตรูพืช นอกจากนั้นยังเป็นกุศโลบายที่ทำให้พืชหลักที่ต้องการปลูก เช่น ไม้ผล ไม้ยืนต้น ไม้ป่ายืนต้น เจริญเติบโตและมีโอกาสรอดสูง เพราะผู้ปลูกจะคอยห่วงใย หมั่นดูแล ทำให้พืชหลัก ดังกล่าวเจริญเติบโตดีกว่าปกติอีกด้วย

และหากพืชชนิดใด ชนิดหนึ่งจะเบียดเบียนพืชอื่นมากเกินไปก็คอยควบคุมให้เหมาะสม ตัดแต่งทรงพุ่ม จัดพืชหรือเถาเลื้อยให้เหมาะสม สำหรับพืชพี่เลี้ยงก็ไม่ต้องมาก ในหนึ่งหลุมปลูกกล้วยเพียง 1-2 ต้น เท่านั้น คือ ต้นที่กำลังให้เครือ อีกหนึ่งต้นสำรองไว้สำหรับเครือต่อไปนอกนั้นให้ขุดหน่อไปขายหรือไปปลูกที่อื่น

การปลูกหญ้าแฝกล้อมต้นไม้หลักไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบหลุมพอเพียงหรือไม้เดี่ยวรากหญ้าแฝกจะเป็นร่างแหในแนวดิ่งช่วยยึดดินให้คงรูปเปรียบเสมือนกระถางธรรมชาติ เพราะปมรากแฝกจะ ช่วยเพิ่มธาตุอาหารในดิน ช่วยดูดซับน้ำในดินไว้ แทนที่จะซึมหายลงใต้ดินอย่างรวดเร็ว กอแฝกที่เบียดชิดช่วยดักตะกอนดินซึ่งรวมปุ๋ยที่ใส่ และ ใบแฝกที่ตัดมาคลุมดินยังช่วยรักษาดินให้ชุ่มชื้นในที่สุดก็ย่อย

ผมมีปัญหาการปลูกแค็กตัส ซึ่งผมซื้อมาจากร้านขายต้นไม้ ผมปลูกไปสักระยะหนึ่ง ต้นแค็กตัสในกระถางเกิดการเน่าทีละน้อย ไม่ทราบว่าเกิดเพราะเหตุใด หรือเกิดจากการผสมดินปลูกไม่เหมาะสม ดังนั้น ผมจึงขอเรียนถามคุณหมอเกษตรว่า สูตรดินผสมสำหรับปลูกแค็กตัสที่ถูกต้องนั้นประกอบด้วยอะไรบ้าง ขอขอบคุณในคำแนะนำที่ดี

แค็กตัส หรือ กระบองเพชร แม้ส่วนใหญ่จะเจริญเติบโตได้ดีในทะเลทราย แต่อย่างไรก็ตาม แค็กตัส ก็ยังเป็นพืชที่ต้องการดินที่อุดมสมบูรณ์เช่นเดียวกับพืชอื่นๆ อีกทั้งดินหรือวัสดุปลูกต้องโปร่ง อุ้มและระบายน้ำได้ดี โดยใช้ส่วนผสมจากดินร่วน ทรายหยาบ ถ่านป่น ปุ๋ยหมักเก่า หรือใบไม้ผุ อัตราส่วน 2:3:1:1 ตามลำดับ หรืออาจผสมเพิ่มเติมด้วยกากถั่ว ขี้เถ้าแกลบ อิฐหัก และกระดูกป่นอีกเล็กน้อยคลุกเคล้าให้เข้ากัน

นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่นๆ อีกที่จะช่วยให้การปลูกแค็กตัสได้งาม การให้น้ำต้องให้โชกถึงราก แล้วปล่อยไว้จนดินแห้งจึงให้น้ำครั้งต่อไป แค็กตัสต้องการแสงเพียง 70-80 เปอร์เซ็นต์ ก็พอ เพราะจะทำให้ต้นสมบูรณ์ เจริญเติบโตดี และทำให้สีสันของหนามและผิวแค็กตัสสวยงามยิ่งขึ้น เมื่อเห็นต้นไม่งามให้ใส่ปุ๋ย สูตร 15-15-15 หรือ 14-14-14 ใส่ทีละน้อยแต่บ่อยครั้ง แต่พึงระวังอย่าให้เม็ดปุ๋ยไปสัมผัสกับต้น เท่านี้ก็จะช่วยให้ต้นแค็กตัสของคุณงามสมใจ อาการต้นเน่าจะหมดไปเมื่อดินระบายน้ำได้ดี

“ข้าวคุณภาพดี” เวลาสีจะต้องได้ข้าวเต็มเมล็ด และมีปริมาณข้าวหักน้อย จึงสามารถขายข้าวได้ราคาดี แต่ชาวนาจำนวนไม่น้อยที่ขายข้าวได้ราคาถูก เพราะผลิตข้าวได้คุณภาพต่ำ มีปัญหาข้าวหักในระหว่างการสี ซึ่งเกิดจากหลายกรณี เช่น เมล็ดข้าวบิดเบี้ยวไม่สมบูรณ์ ปัญหาเมล็ดข้าวร้าวก่อนการสี เนื่องจากเก็บเกี่ยวช้า หรือเจอปัญหาข้าวแช่น้ำ รวมทั้งการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวไม่เหมาะสม

“อาชีพการทำนา” เป็นรายได้หลักของชาวบ้านในพื้นที่บ้านใหม่ หมู่ที่ 2 ตำบลหนองหล่ม อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา ตั้งแต่ปี 2559 ที่ผ่านมา เกษตรกรตำบลหนองหล่มได้พบกับปัญหาความยากจน หนี้สิน และปัญหาภัยแล้ง ทำให้เกษตรกรที่ผลิตข้าวไม่ได้คุณภาพ เพราะประสบปัญหาเรื่องการจัดการผลผลิตหลังการเก็บเกี่ยวข้าว ชาวนาส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้สูงวัยที่ใช้บริการรถเกี่ยวนวดข้าว เพราะขาดแคลนแรงงานเกี่ยวข้าว แม้เครื่องจักรกลจะทำงานได้ไวกว่าแรงงานคน แต่ข้าวที่เก็บเกี่ยวโดยรถเกี่ยวนวดมักมีความชื้นสูง จำเป็นต้องตากข้าวเพื่อลดความชื้นก่อนขายเข้าโรงสี

เนื่องจากชุมชนแห่งนี้ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ภูเขา มีพื้นที่ลานตากข้าวน้อย ไม่เพียงพอกับความต้องการ ประกอบกับสภาวะฝนฟ้าอากาศที่แปรปรวนสูง ทำให้การลดความชื้นข้าวก่อนเข้าโรงสีเป็นไปได้ยาก ข้าวที่มีความชื้นสูง เมล็ดข้าวมีสีเหลืองขุ่น มีเปอร์เซ็นต์แตกหักสูง จัดอยู่ในกลุ่มข้าวคุณภาพต่ำ ถูกกดราคาจากพ่อค้าคนกลาง ทำให้เกษตรกรมีรายได้น้อยและมีภาวะหนี้สินแทบทุกครัวเรือน

การผลิตข้าวคุณภาพสูง

เกษตรกรตำบลหนองหล่มจึงได้รวมตัวกันจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนข้าวหอมมะลิป่าต้นน้ำห้วยร่องสัก ประสานศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวพะเยาในการเข้าร่วมโครงการข้าวอินทรีย์ 1 ล้านไร่ นายเหล็ก หอมสมบัติ ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนข้าวหอมมะลิป่าต้นน้ำห้วยร่องสัก ตำบลหนองหล่ม อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา พยายามมองหาเทคโนโลยีที่จะช่วยลดความชื้นข้าวเปลือกหลายช่องทาง จนกระทั่งทราบข่าวว่า สำนักงานวิจัยแห่งชาติ (วช.) มีนวัตกรรมใหม่ “เครื่องอบแห้งแบบถังทรงกระบอกหมุนด้วยรังสีอินฟราเรดร่วมกับลมร้อนปล่อยทิ้งแบบเคลื่อนย้ายได้” ที่จะช่วยพวกเขาได้

นายเหล็ก จึงประสานกับ สำนักงานวิจัยแห่งชาติ เพื่อขอรับการสนับสนุนนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ในการผลิตข้าวคุณภาพสูง นวัตกรรมดังกล่าวเป็นผลงานของ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยมี ผศ.ดร. จักรมาส เลาหวณิช เป็นหัวหน้าโครงการ โดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) สนับสนุนทุนอุดหนุนการทำกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยในการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนต่อยอดสิ่งประดิษฐ์ไทย ประจำปี 2561 ภายใต้เรื่อง “การจัดการความรู้และขยายผลเทคโนโลยีเครื่องอบแห้งแบบถังทรงกระบอกหมุนด้วยรังสีอินฟราเรดร่วมกับลมร้อนปล่อยทิ้งแบบเคลื่อนย้ายได้ ระยะที่ 2” โดยมีพื้นที่เป้าหมายในการขยายผลการใช้เทคโนโลยีครั้งนี้ ได้แก่ จังหวัดอุทัยธานี กาฬสินธุ์ สงขลา นครสวรรค์ และจังหวัดพะเยา เพื่อยกระดับการผลิตและมูลค่าสินค้าทางการเกษตรของกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ผ่านการขยายผลการใช้เทคโนโลยีเครื่องอบแห้งฯ

ทีมนักวิจัยประกอบด้วย ผศ.ดร. สุพรรณ ยั่งยืน และ ผศ.ดร. จักรมาส เลาหวณิช สาขาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และ ผศ.ดร. เชิดพงษ์ เชี่ยวชาญวัฒนา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น ได้นำเทคโนโลยีเครื่องอบแห้งฯ มาติดตั้งและถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องการอบข้าวเปลือกให้แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนข้าวหอมมะลิป่าต้นน้ำห้วยร่องสัก ตั้งแต่ วันที่ 25 มกราคม 2562 เป็นต้นมา

ภายหลังการติดตั้งนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ในชุมชนแห่งนี้ พบว่า การอบแห้งข้าวเปลือกด้วยเครื่องอบแห้ง ช่วยลดเวลาในการตากแดดแบบเดิม จาก 3 วัน เหลือ 1 วัน ลดแรงงานในการอบแห้งฯ เพิ่มคุณภาพข้าว ได้แก่ ข้าวมีการแตกหักลดลง ข้าวใสมันวาวขึ้น เนื้อสัมผัสดี มีกลิ่นหอม สามารถลดจำนวนมอดข้าวได้อย่างเห็นได้ชัด

ข้าวฮางงอกดอกคำใต้ (ข้าวน้ำ 5 รู)

นอกจากนี้ ทีมวิจัย ยังพบว่า ชาวนาในท้องถิ่นแห่งนี้มีฐานะยากจน เพราะมีรายได้จากการขายข้าวและข้าวโพดเท่านั้น เกษตรกรยังไม่มีผลิตภัณฑ์แปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่มจากผลผลิตในชุมชนเลย จึงได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ในการผลิตข้าวฮางงอก ซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวเผ่าภูไทในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่สืบต่อกันมากว่า 200 ปี มีกระบวนการผลิตหลายขั้นตอน และใช้เวลานานถึง 7 วัน ถึงจะได้ผลิตภัณฑ์ข้าวฮางงอกออกมาได้ โครงการนี้จึงได้นำเทคโนโลยีกระบวนการทางด้านวิศวกรรมเข้ามาช่วยพัฒนาปรับปรุงกระบวนการเพื่อลดระยะเวลาและเพิ่มคุณภาพผลิตภัณฑ์ ตลอดจนเพิ่มความสะดวกสบายในการปฏิบัติงาน

ผศ.ดร. สุพรรณ ยั่งยืน (โทร. 080-412-5684) กล่าวว่า การแปรรูปข้าวฮางงอกอินทรีย์คุณภาพสูง (ข้าวสปา) เป็นการพัฒนากระบวนการแปรรูปข้าวเปลือกแบบเพาะงอก หรือ “ข้าวฮางงอก” ตามภูมิปัญญาท้องถิ่นชาวภูไทที่มีขั้นตอนการผลิตรวม 7 วัน ให้เหลือเพียง 2 วัน มีความสะดวก รวดเร็ว และคุณภาพดีเด่น ด้วยการนำ “นวัตกรรมเครื่องเร่งกระบวนการแช่และเพาะงอก” ช่วยในกระบวนการสำคัญคือ การทำให้ข้าวเปลือกงอก เกิดการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มขึ้นของปริมาณสารกาบา (GABA) ซึ่งเป็นสารอาหารที่มีประโยชน์แก่ร่างกายหลายด้าน ผสานรวมกับนวัตกรรมการอบลดความชื้นด้วย “เครื่องอบแห้งแบบถังทรงกระบอกหมุนด้วยรังสีอินฟราเรดร่วมกับลมร้อนปล่อยทิ้ง” ทำให้ผลิตภัณฑ์ข้าวสปานี้เป็นการพลิกโฉมข้าวฮางงอกเดิมให้ดีเด่นด้านคุณภาพ มีกลิ่นหอม เนื้อสัมผัสนุ่ม แตกหักน้อยมาก และเก็บรักษาได้นานแล้ว

ข้อดีประการต่อมาคือ ลดการใช้น้ำน้อยลง และสามารถนำน้ำเวียนกลับมาใช้ซ้ำได้ร่วมเดือน ลดการใช้พื้นที่ตากลดความชื้น และลดการปนเปื้อน ที่สำคัญลดต้นทุนแปรผัน ด้านเวลา แรงงาน ความสามารถหรือกำลังการผลิตสูงขึ้น

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนข้าวหอมมะลิป่าต้นน้ำห้วยร่องสัก ได้ตั้งชื่อสินค้าของพวกเขาว่า ข้าวฮางงอกดอกคำใต้ (ข้าวน้ำ 5 รู) ตราไร้พ่าย ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น มีที่เดียวในประเทศไทย เพราะข้าวฮางงอกในชุมชนแห่งนี้ ใช้น้ำธรรมชาติจากตาน้ำ 5 รู นำมาแช่และเพาะข้าวเปลือกด้วยนวัตกรรมเครื่องเร่งกระบวนการแช่และเพาะงอกข้าวเปลือกให้งอกได้ภายใน 24 ชั่วโมง และนำข้าวเปลือกนึ่งสุกแล้วไปอบแห้งด้วยรังสีอินฟราเรด (เครื่องอบแห้งที่ได้รับการสนับสนุน) ภายในระยะเวลาอันสั้น

“การผลิตข้าวฮางงอก มีต้นทุนการผลิตเฉลี่ย กิโลกรัมละ 35 บาท สามารถขายปลีกได้ ในราคา 100-120 บาท/กิโลกรัม นอกจากนี้ ยังขยายฐานลูกค้าใหม่ เช่น เป็นอาหารทางเลือกสำหรับไก่ชน โดยขายปลีกได้ ในราคากิโลกรัมละ 50 บาท เพิ่มโอกาสในการแข่งขัน เนื่องจากผลิตได้รวดเร็ว และคาดการณ์ปริมาณผลผลิตได้ สามารถผลิตได้ตลอดทั้งปี ไม่ขึ้นกับสภาพอากาศ การแปรรูปข้าวดังกล่าว ทำให้ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มจากการขายข้าว คิดเป็นร้อยละ 50 นอกจากนี้ ยังมีโอกาสพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ข้าวฮางงอก เช่น ข้าวนึ่งฮางงอก ขนมจีนฮางงอก ฯลฯ” ผศ.ดร. สุพรรณ กล่าวในที่สุด

ปัจจุบัน วิสาหกิจชุมชนข้าวหอมมะลิป่าต้นน้ำห้วยร่องสัก ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 65 บ้านใหม่ หมู่ที่ 2 ตำบลหนองหล่ม อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา ผู้สนใจสามารถติดต่อเข้าเยี่ยมชมกิจการข้าวฮางงอก หรือสนใจสั่งซื้อสินค้าได้ที่ นายเหล็ก หอมสมบัติ โทร. 088-260-5840 Line : 088-260-5480

กุยช่าย ไม่ใช่เป็นผักพื้นเมืองบ้านเรา ตามประวัติน่าจะติดเมล็ดพันธุ์มากับชนชาวจีนแผ่นดินใหญ่ที่อพยพนำเสื่อผืนหมอนใบเข้ามาในเมืองไทย จนเกิดผลิดอกออกผลแพร่หลายกลายเป็นส่วนหนึ่งของตลาดสด ซึ่งเรามักนำมาประกอบอาหารหลายอย่าง กลิ่นของกุยช่ายค่อนข้างแรง มีบางคนจะไม่ชอบ และในเทศกาลกินเจ กุยช่ายเป็นผักชนิดหนึ่งในหกอย่างที่ห้ามกิน

เพราะกุยช่ายนอกจากจะนำมาทำเป็นขนมกุยช่าย Royal Online V2 ซึ่งเป็นอาหารของจีนแล้ว ยังมีผัดเต้าหู้ซึ่งจะมีส่วนประกอบของถั่วงอกและกุยช่าย อีกเมนูหนึ่งคือ ผักกุยช่ายขาว หรือดอกกุยช่ายกับหมูกรอบ ซึ่งมักจะอยู่ในร้านข้าวต้มรอบดึกแทบทุกร้าน และอีกคำถามหนึ่ง ถ้ากุยช่ายเป็นผักของจีน ทำไม กุยช่าย จึงเป็นส่วนผสมในผัดไทย ตอบได้ว่า ผัดไทย เกิดหลังกุยช่าย ส่วนผสมแทบทั้งหมด เต้าหู ถั่วงอก แม้แต่เส้นก๋วยเตี๋ยวก็เป็นของจีน ส่วนของไทยมีเพียงกุ้งแห้งเท่านั้น เมนูนี้เกิดในไทย จึงตั้งชื่อว่า ผัดไทย

กุ่ยช่าย อุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการที่สูงมาก จึงทำให้กุยช่ายได้รับความนิยมในการนำมากินอย่างแพร่หลาย โดยสารอาหารสำคัญที่พบในกุยช่าย 100 กรัม ได้แก่ พลังงาน 28 กิโลแคลอรี โปรตีน 2.3 กรัม ไขมัน 0.3 กรัม คาร์โบไฮเดรต 4.1 กรัม แคลเซียม 98 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 46 มิลลิกรัม เหล็ก 1.5 มิลลิกรัม เบต้าแคโรทีน 136.79 ไมโครกรัม และเส้นใย 3.9 กรัม เป็นต้น

กุยช่าย จึงเป็นส่วนหนึ่งของอาหารเมนูประจำของไทย ที่รู้จักกันแพร่หลายในปัจจุบัน มีโอกาสไปเที่ยวปากช่องคราวนี้ได้เจอ คุณวริทธิ์พล เอี่ยมสุวรรณชัย หรือ คุณนิด เจ้าของบ้านสวนขจรศักดิ์ ที่เป็นมืออาชีพในการปลูกกุยช่ายคนหนึ่ง ได้เล่าให้ฟังว่า “จากการเริ่มต้นทำงานในตำแหน่งฝ่ายผลประโยชน์ของห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง ตั้งแต่ ปี 2550 ด้วยดีกรีปริญญาตรี จากมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา พอเริ่มมีครอบครัวและลูกต้องเลี้ยงดู กลับพบว่างานประจำที่เป็นลูกจ้างไม่ได้ตอบโจทย์ของชีวิตได้ เพราะรายได้ก็ไม่พอประการที่หนึ่ง ส่วนประการที่สองเวลาสำหรับครอบครัวก็มีไม่พอเช่นกัน ประกอบกับครอบครัวทางบ้านมีอาชีพเป็นเกษตรกรอยู่แล้วด้วย จึงตัดสินใจลาออกมาทำสวนเกษตร เมื่อปี 2559”

ได้รับคำตอบว่า มีเงินสะสมจากการเก็บหอมรอมริบมาลงทุนเพียง จำนวน 200,000 บาท ซึ่งไม่เพียงพอ จึงไปกู้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) มาอีก 200,000 บาท รวมเป็น 400,000 บาท เพื่อทำการเกษตรตามฝัน จากพื้นที่ทั้งหมด 20 ไร่ ได้แบ่งมาทำสวนเกษตร 10 ไร่ ส่วนที่เหลือ 10 ไร่ ยังคงทำไร่อ้อยเหมือนเดิม ในช่วงแรกทำเพียง 2 ไร่ เจอจังหวะผลผลิตดีมาก และราคาก็ดีด้วย ทำให้ปลดหนี้สินที่กู้มาภายใน 1 ปี

ปีต่อมา เห็นว่ากำไรดี จึงขยายเป็น 6 ไร่ เพราะคิดกำไรเป็นแบบคณิตศาสตร์ แต่การที่ขยายพื้นที่ทำให้ต้องจ้างแรงงานข้างนอก และการดูแลไม่ทั่วถึง ทำให้ปีต่อมาทำได้แค่เสมอทุน จึงถือเป็นประสบการณ์ที่คุณนิดนำมาเป็นบทเรียนในการทำสวนครั้งต่อไป ในปัจจุบันคุณนิดคงพื้นที่ทำสวนกุยช่ายเพียง 2 ไร่ แต่เปลี่ยนหมุนเวียนในพื้นที่ 10 ไร่ ที่กันไว้สำหรับทำสวน