แม่โจ้ ผลิตจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียต่อยอดจากมูลและปัสสาวะ

ขยะที่มีมากขึ้นเรื่อยๆ ตามจำนวนที่เพิ่มของประชากรของจังหวัดเชียงใหม่ ทำให้เกิดปัญหาขยะล้นเมือง ดังนั้นทางมหาวิทยาลัยแม่โจ้ อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ ได้มีการทำวิจัยใช้ไส้เดือนมาย่อยขยะอินทรีย์ เช่น เศษผัก ผลไม้ต่างๆ ซึ่งได้ผลเป็นอย่างมาก และภายหลังจากนั้นได้ต่อยอดโดยนำมูล และปัสสาวะของไส้เดือนมาทำจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย อี-เวิร์ม (E-Worm) พร้อมทั้งได้ส่งไปช่วยพื้นที่ประสบอุทกภัยที่น้ำท่วมขังจนเริ่มเน่าเสียในภาคกลาง และกรุงเทพมหานคร

รศ.ดร.อานัฐ ตันโช ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาไส้เดือนดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีองค์ความรู้ด้านการใช้จุลินทรีย์มาบำบัดน้ำเสีย จึงได้จัดทำชุดบำบัดน้ำเสีย ที่เรียกว่า อี-เวิร์ม (E-Worm) คือ กลุ่มจุลินทรีย์ธรรมชาติจากลำไส้ไส้เดือนดินท้องถิ่นไทยที่มีความหลากหลายและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จุลินทรีย์ที่เกิดจากโครงการกำจัดขยะอินทรีย์ด้วยไส้เดือนดิน นอกจากการกำจัดขยะอินทรีย์อย่างได้ผลแล้ว ยังเกิดผลผลิตที่เป็นมูลไส้เดือนดินที่เป็นปุ๋ยอินทรีย์ คุณภาพดีและน้ำหมักมูลไส้เดือนดินที่สามารถใช้เป็นปุ๋ยบำรุงพืชและยังใช้บำบัดน้ำเสียได้ผลดี เพราะมีจุลินทรีย์จากลำไส้ของไส้เดือนดินมากกว่า 300 ชนิด

อี-เวิร์ม (E-Worm) เป็นจุลินทรีย์กลุ่มที่ไม่ต้องการออกซิเจนในการย่อยสลายสารอินทรีย์ต่างๆ อาศัยอยู่ได้ในน้ำลึก บริเวณแอ่งน้ำได้เป็นอย่างดี โดยจะทำการย่อยสลายสารอินทรีย์ให้มีอนุภาคเล็กลง และตกตะกอนอย่างรวดเร็ว มีค่าความเป็นกรดด่าง (PH) อยู่ในช่วง 7-8 เมื่อเทลงสู่น้ำเน่าเสียซึ่งมีค่าความเป็นด่างสูง อี-เวิร์ม (E-Worm) สามารถทำการบำบัดน้ำเสียได้อย่างรวดเร็ว ในขณะที่จุลินทรีย์ทางการค้าทั่วไปในท้องตลาด ที่ใช้กากน้ำตาล

ในขบวนการขยายเชื้อรวมถึงน้ำหมักชีวภาพทั่วไป จะชอบทำงานที่ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ในช่วงที่เป็นกรดอ่อน – กรดจัด

จากสถานการณ์มหาอุทกภัยของประเทศทำให้พื้นที่ในหลายจังหวัดของประเทศไทยถูกน้ำท่วมอย่างหนักในรอบกว่า 50 ปี มีประชาชนได้รับความเสียหาย และเดือดร้อนนับล้านคน สถานที่ราชการ สถานประกอบการ บ้านเรือนได้รับความเสียหายจำนวนมาก ถึงแม้ว่าขณะนี้สถานการณ์น้ำท่วมกำลังจะคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น หลายแห่งระดับน้ำลดลง แต่อีกหลายแห่งยังมีน้ำท่วมขังเป็นเวลานานทำให้น้ำเน่าเสีย

ทางศูนย์วิจัยและพัฒนาไส้เดือนดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้รับความร่วมมือจาก สวทช.ภาคเหนือ และมูลนิธิโครงการหลวง ได้จัดทำชุดจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย เป็นชุดสำเร็จรูปใช้งานได้ทันที จำนวน 1,000 ชุด เพื่อส่งไปช่วยผู้ประสบอุทกภัยในกรุงเทพมหานคร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนที่จะต้องดำรงชีวิตอยู่ท่ามกลางน้ำเน่าเสีย ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

ผู้สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาไส้เดือนดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 63 หมู่ 4 ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50290 โทร.0-5387-3493 ต่อ 200 หรือ www.maejoearthworm.org

ข้อมูลจำเพาะ

อี-เวิร์ม (E-worm) คือ จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย จากลำไส้ของไส้เดือนดินซึ่งมีความหลากหลายของจุลินทรีย์มากกว่า 300 ชนิด และเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ธรรมชาติจากลำไส้ไส้เดือน

ดินท้องถิ่นไทยที่มีความหลากหลายและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นจุลินทรีย์กลุ่มที่ไม่ต้องการออกซิเจนในการย่อยสลายสารอินทรีย์ต่างๆ สามารถอาศัยอยู่ใต้น้ำลึกบริเวณก้นแอ่งน้ำได้เป็นอย่างดี โดยจะย่อยสลายสารอินทรีย์ให้มีอนุภาคเล็กลงและตกตะกอนอย่างรวดเร็ว โดยไม่รบกวนระบบออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำ (ไม่ส่งผลกระทบต่อสัตว์น้ำ) และทำงานร่วมกับจุลินทรีย์กลุ่มใช้ออกซิเจนบริเวณผิวน้ำได้

จุดเด่น E-worm

เป็นน้ำจุลินทรีย์ที่มีค่าความเป็นกรด – ด่าง (pH) เป็นกลางจนถึงด่างอ่อน ซึ่งใกล้เคียงกับค่าความเป็นกรด – ด่าง ในแหล่งน้ำเสีย สามารถทนทานต่อสภาพน้ำเสียที่ขาดออกซิเจนได้ดี ไม่ต้องตีน้ำเพื่อเพิ่มออกซิเจนในแหล่งน้ำ ผ่านกรรมวิธีการผลิตในสภาพแวดล้อมแบบเปิดในธรรมชาติ จุลินทรีย์จึงมีการปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้เร็วกว่าจุลินทรีย์ที่ผลิตในสภาพแวดล้อมแบบปิด เช่นจุลินทรีย์ที่ผลิตจากห้องปฏิบัติการ หรือ การหมัก

วิธีการใช้จุ่มท่อปล่อยน้ำ E-worm ลงไปให้ลึกถึงก้นแอ่งน้ำ1 – 1.5 เมตร แล้วเทน้ำ E-worm ลงในกรวยให้น้ำ E-worm ไหลลงไปก้นแอ่งน้ำ โดยเทกระจายตามจุดต่างๆ ของแหล่งน้ำเสีย ตามอัตราแนะนำการใช้ หรืออัตราการใช้ ใช้น้ำ E-worm 1 ลิตร ต่อน้ำ 1,000 ลิตร

ความสามารถระหว่าง EM-BALL และ E-worm ในการบำบัดน้ำเสีย

น้ำเน่าเสีย คือ น้ำที่มีสารอินทรีย์ปะปนอยู่มาก จุลินทรีย์ใช้ออกซิเจนในการย่อยสลายจนเหลือออกซิเจนละลายอยู่น้อย น้ำมีสีดำคล้ำ และส่งกลิ่นเหม็น โดยปกตินั้นน้ำเสียมักจะมีค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) อยู่ในช่วง 8-9 ซึ่งถือว่ามีค่าเป็นด่าง

EM-BALL มีค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) เท่ากับ 4 เมื่ออยู่ในค่า pH ที่เป็นด่างอย่างน้ำเสีย จึงทำให้จุลินทรีย์ที่อยู่ใน EM-BALL ไม่สามารถดำเนินกิจกรรมได้อย่างเป็นปกติ มีจำนวนจุลินทรีย์ใน EM-BALL อยู่ 40 สปีชีส์ และมีสารประกอบอินทรีย์จำพวก แกลบ รำ ดินทราย และ กากน้ำตาลอยู่ หากย่อยสลายไม่หมดก็จะทำให้น้ำเน่าเสียมากยิ่งขึ้น อีกทั้งผลิตในสภาพแวดล้อมแบบปิดจากในห้องปฏิบัติการ จึงมีการปรับตัวได้ช้า

E-worm มีค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) อยู่ในช่วง 7-8 เมื่ออยู่ในค่า pH ที่เป็นด่างอย่างน้ำเสีย จึงทำให้จุลินทรีย์ที่อยู่ใน E-worm สามารถดำเนินกิจกรรมได้เป็นอย่างดี จึงทำให้บำบัดน้ำได้รวดเร็ว มีจำนวนจุลินทรีย์ใน E-worm อยู่ 343 สปีชีส์ และไม่มีสารประกอบอินทรีย์ ทั้งยังผ่านกรรมวิธีการผลิตในสภาพแวดล้อมแบบเปิดในธรรมชาติ จุลินทรีย์จึงมีการปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้อย่างรวดเร็ว

นายวุฒิพงษ์ รัตนมนต์ นายกสมาคมชาวสวนผลไม้จังหวัดตราด และประธานสหกรณ์การเกษตรเพื่อการแปรรูปเเละส่งออกจังหวัดตราด เปิดเผยว่า

ขณะนี้ผู้รวบรวมผลผลิตผลไม้ หรือ “ล้งผลไม้” ใน 3 จังหวัดคือ ระยอง จันทบุรี และตราด กำลังได้รับผลกระทบจากปัญหาผลไม้ โดยเฉพาะทุเรียนที่ขาดตลาด ไม่มีขายให้กับล้งที่รับซื้ออยู่ในขณะนี้ ซึ่งมาจากปัญหา 3 ประการ คือ ทุเรียนออกขาดช่วง เพราะทุเรียนที่เคยออกในเดือนพฤษภาคมทุกปี แต่ปีนี้ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงทำให้ทุเรียนออกในปลายเดือนมีนาคม และเมษายน จนหมดรุ่นแรก และจะออกมาอีกครั้งในเดือนมิถุนายน อีกปัญหาหนึ่งก็คือ อากาศที่ร้อน และผลกระทบที่ขาดน้ำ ทำให้การติดดอกมีความเสียหายสูงถึงร้อยละ 30-40 ซึ่งเกือบครึ่งหนึ่งของผลผลิตทั้งหมด และสุดท้ายราคาที่รับซื้อมีราคาแพงเกินไปทำให้ผู้ซื้อหรือล้งไม่กล้ารับซื้อ เพราะอาจขาดทุนได้

นายวุฒิพงษ์กล่าวอีกว่า ที่สหกรณ์ฯได้ทำสัญญากับพ่อค้าจีนต้องส่งทุเรียนแปรรูปที่แกะเปลือกทั้งหมด แล้วฟรีซแช่แข็งส่งออกไปจำนวน 2,000 ตัน หรือต้องใช้ทุเรียนดิบทั้งหมด 10,000 ตัน ซึ่งขณะนี้ไม่สามารถรอทุเรียนในจังหวัดตราดได้จึงต้องไปพึ่งทุเรียนในภาคใต้ ซึ่งต้องใช้กว่าร้อยละ 70 ส่วนอีกร้อยละ 30 จะใช้ในตราดและจันทบุรี

ขณะที่ ป้าบุญชื่น โพธิ์แก้ว เจ้าของศูนย์ท่องเที่ยวเชิงเกษตรสวนยายดา ป้าบุญชื่น จังหวัดระยอง เปิดเผยว่า ปีนี้ผลไม้ออกผลผลิตน้อยกว่าทุกปี โดยเฉพาะทุเรียน น้อยลงกว่าปีที่ผ่านมา 8-10% ทำให้ราคาทุเรียนแพงขึ้น โดยต้นฤดูราคาพุ่งไปที่กิโลกรัมละ 120 บาท ซึ่งเป็นผลมาจากธรรมชาติเปลี่ยนแปลงผิดปกติ โดยในปีนี้ ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง จะออกมากช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ทางสวนยายดา ป้าบุญชื่น ยืนยันว่ามีปริมาณผลผลิตเพียงพอ สำหรับนักท่องเที่ยวที่จะเข้ามาชมสวน เพื่อรับประทานบุฟเฟต์ผลไม้

ขณะที่ทางด้านจังหวัดจันทบุรี พ่อค้าแม่ค้าร้านขายปลีก และส่งออกผลไม้ในจังหวัด ต่างก็บ่นเป็นเสียงเดียวกันว่าปีนี้ทุเรียนราคาค่อนข้างสูง ต้นทุนอยู่ที่กิโลกรัมละ 60-80 บาท ขึ้นอยู่กับขนาดของทุเรียน ซึ่งหักค่าถุง ค่าห่อออกแล้ว รวมทั้งน้ำหนักเปลือกทุเรียนที่หายไป 4 ขีดต่อลูก จำหน่ายกิโลกรัมละ 100 บาท ก็แทบไม่เหลือกำไร และบางวันต้องยอมขาดทุนเนื่องจากทุเรียนแตกอ้า เพราะทนต่อสภาพอากาศที่ร้อนจัดไม่ไหว

แล้งหนัก ราคาผักหลายชนิดตามตลาดสดพุ่งสูง แต่ที่บ้านวังขี้เหล็ก ต.ท่าช้าง อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก ได้พลิกผืนนาหันมาปลูกผัก กว่า 40% ของพื้นที่ โดยปลูกผักใช้ระบบน้ำหยด ประหยัดน้ำในช่วงนี้

วันที่ 13 พฤษภาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากสภาพอากาศร้อนและแล้งหนัก ส่งผลกระทบให้ผักหลายชนิดไม่ออกผล ทำให้ขาดตลาด แต่ที่บ้านวังขี้เหล็ก หมู่ 10 ต.ท่าช้าง อ.พรหมพิราม ได้พลิกผืนนาหันมาปลูกผักส่งขายรายได้ดีในช่วงนี้

นายสมควร รุ่งเรือน ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 10 ต.ท่าช้าง กล่าวว่า เดิมทีชาวบ้านในหมู่บ้านประกอบอาชีพทำนา แต่หลังจากพบกับภัยแล้ง ทำให้ชาวบ้านได้มีวิธีปรับเปลี่ยนหันมาประกอบอาชีพปลูกผักขาย กว่า 40%ของหมู่บ้าน โดยผักส่วนใหญ่ เป็นมะระ ถั่วฝักยาว แตงกวา บวบ ขายมีรายได้ดีกว่าการทำนาที่ต้องใช้น้ำเยอะ โดยชาวบ้านที่นี้ได้นำระบบน้ำหยดมาใช้กับแปลงผัก โดยเฉพาะในช่วงหน้าแล้งนี้ ชาวบ้านที่นี่จะปลูกมะระ ถั่วฝักยาว แตงกวา ส่งขายกันจำนวนมาก

นายสมควร รุ่งเรือง กล่าวอีกว่า ในช่วงนี้ผักหลายชนิดราคาแพง มาก เนื่องจากร้อนและแล้ง ทำให้ผักบางชนิดได้รับผลกระทบ ไม่ออกผลผลิต แต่ผักที่หมู่บ้านตนกำลังจะออกผลผลิต โดยเฉพาะแตงกวา บอน ส่วนถั่วฝักยาว อีกหลายแปลง อีกเพียงอาทิตย์เดียวก็ออกผลผลิตสามารถเก็บเกี่ยวและส่งขายได้แล้ว ซึ่งถือว่าในช่วงนี้ผักในพื้นที่บ้านวังขี้เหล็ก ต.ท่าช้าง อ.พรหมพิราม จะมีรายได้ดี โดยแตงกวา ราคาส่งขายกิโลกรัมละ 13 บาท แต่เมื่อไปขายตามตลาดหน้าร้าน มีราคาถึง 30 บาท มะระ กิโลกรัมละ 20 บาท ถั่วฝักยาว ส่งขายกิโลกรัมละ 50-60 บาท เป็นต้น

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักว่า ยังมีเกษตรกรชาวไทยที่ยากจนอยู่จำนวนมาก เนื่องจากยังขาดเงินทุนสำหรับประกอบอาชีพและมีพื้นที่ทำประโยชน์จำนวนน้อย ไม่เพียงพอต่อแรงงานและผลตอบแทนเพื่อการดำรงชีพภายในครอบครัว ประกอบกับประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เกษตรดังกล่าวจึงได้เข้าหักร้างถางป่าและเพิ่มจำนวนมากขึ้นทุกปี อันทำให้เกิดความเสียหายต่อทรัพยากรของประเทศชาติอย่างใหญ่หลว

ในปี พ.ศ. 2513 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จแปรพระราชฐานไปประทับแรม ณ วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ระหว่างเสด็จแปรพระราชฐานได้ทรงออกเยี่ยมราษฎรในเขตจังหวัดเพชรบุรีและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยเฉพาะอำเภอชะอำ อำเภอหัวหิน และอำเภอท่ายาง พระองค์สนพระราชหฤทัยในโครงการหมู่บ้านสหกรณ์หุบกะพง ซึ่งอยู่ในคำแนะนำ ส่งเสริมของศูนย์สาธิตสหกรณ์โครงการหุบกะพง กรมส่งเสริมสหกรณ์ ทรงเห็นว่าการดำเนินงานช่วยเหลือราษฎรให้มีที่ทำกินและประกอบอาชีพเป็นที่น่าพอพระราชหฤทัย ประกอบกับราษฎรในเขตอำเภอท่ายาง อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี และอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ที่ขาดที่ทำกิน ทูลขอพระราชทานที่ทำกิน พระองค์สนพระราชหฤทัยบริเวณหุบเขาซึ่งมีพื้นที่อาณาเขตติดต่อในท้องที่ตำบลกลัดหลวง อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี

จึงมีรับสั่งให้ มจ. ภีศเดช รัชนี ติดต่อกรมพัฒนาที่ดินเพื่อให้สำรวจดิน จำแนกดิน รวมทั้งสำรวจภาวะสังคมของราษฎรในบริเวณท้องที่ดังกล่าว จากผลการสำรวจสามารถดำเนินการในพื้นที่ประมาณ 65,000 ไร่ ให้เป็นไปตามพระราชประสงค์ได้ ในปี พ.ศ. 2513 พระองค์จึงทรงมอบให้กรมพัฒนาที่ดิน ร่วมกับส่วนราชการอื่นๆ เป็นคณะกรรมการดำเนินการตามพระราชกระแสรับสั่ง ให้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก บริเวณที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง ดินดี เหมาะในการเพาะปลูก ให้ดำเนินการจัดพัฒนาที่ดินให้ราษฎร ส่วนที่ 2 สภาพดินและความอุดมสมบูรณ์ของดินไม่เหมาะแก่การเพาะปลูก ให้ดำเนินการพัฒนาเป็นที่เลี้ยงสัตว์

สำหรับการดำเนินการเกี่ยวกับการจัดตั้งและส่งเสริมสหกรณ์การเกษตรเพื่อให้เป็นไปตามพระราชประสงค์ กรมส่งเสริมสหกรณ์ได้จัดให้มีการศึกษาและอบรมเกษตรกรเหล่านี้เกี่ยวกับหลักและวิธีการของสหกรณ์ในเขตขั้นพื้นฐานจนเห็นว่า เกษตรกรเหล่านี้เข้าใจหลักและวิธีการดังกล่าวได้ดีพอสมควรแล้ว จึงได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนสหกรณ์ให้จดทะเบียนเป็น “สหกรณ์การเกษตรหนองพลับ จำกัด”

คุณประกอบ เผ่าพงศ์ สหกรณ์จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กล่าวว่า การบริหารจัดการพื้นที่ในการใช้ประโยชน์ในรูปแบบสหกรณ์ ราษฎรที่เข้ามาอยู่อาศัยและทำกินจึงได้จัดตั้งสหกรณ์ขึ้นมา เริ่มต้นมีประมาณ 400 คน ปัจจุบันเพิ่มขึ้นเป็น 900 กว่าคน โดยมีพื้นที่ทำกินครอบครัวละ 25 ไร่ ส่วนหนึ่งสำหรับอยู่อาศัย อีกส่วนเป็นพื้นที่เพาะปลูก ทั้งปลูกพืชหลัก ควบคู่กับพืชอายุสั้นแบบผสมผสาน เช่น พริก มะเขือ เพื่อให้มีรายได้ในระหว่างที่พืชหลักยังไม่ได้ให้ผลผลิต บางรายก็ปลูกควบคู่กันอย่างต่อเนื่อง ก็สามารถเก็บผลผลิตได้ทั้งพืชหลักและพืชผัก

บางรายก็เลี้ยงสัตว์ เช่น เลี้ยงหมู เลี้ยงวัว ปัจจุบันทางกรมส่งเสริมสหกรณ์ โดยสหกรณ์จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ได้เข้ามาส่งเสริมให้มีการน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพ และบริหารกิจการภายในครอบครัว เช่น จะไม่ลงทุนเพิ่มหากไม่มีความพร้อมของเงินทุนในการทำการผลิต หมายความว่าต้องมีกำไรจากการขายผลผลิตก่อน แล้วเอากำไรนั้นมาเป็นเงินลงทุนเพิ่มเพื่อเพิ่มผลผลิต ไม่กู้เงินมาเป็นทุนเพื่อเพิ่มพื้นที่การเพาะปลูก เป็นต้น

ทางด้าน คุณทัน อุ่นเรือน สมาชิกโครงการ ซึ่งใช้พื้นที่ที่ได้รับการจัดสรรปลูกมะม่วง เปิดเผยว่า เดิมตนประกอบอาชีพเป็นลูกจ้างบริษัทเอกชน มีรายได้ใช้จ่ายภายในครอบครัวแบบเดือนต่อเดือน ไม่มีเหลือเก็บ จึงหันมาทำการเพาะปลูกอย่างจริงจัง ในพื้นที่ของโครงการ ซึ่งได้รับส่งต่อพื้นที่มาจากครอบครัว เนื่องจากพื้นที่ในโครงการจะไม่สามารถซื้อขายกันได้ แต่สามารถส่งมอบกรรมสิทธิ์ เพื่อการอยู่อาศัยและทำกินได้ภายในครอบครัว โดยปลูกมะม่วง และผลิตเป็นมะม่วงนอกฤดูกาล เช่น พันธุ์เขียวเสวย โชคอนันต์ ฟ้าลั่น เป็นต้น

“มะม่วงนอกฤดูบางปี อย่างโชคอนันต์ ราคากิโลกรัมละ 25 บาท ถือว่าประสบผลสำเร็จ และก็ได้น้อมนำแนวพระราชดำริเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ ในเรื่องการใช้ปุ๋ย ใช้น้ำอย่างประหยัด ควบคู่กับการใช้ปุ๋ยชีวภาพที่ผลิตขึ้นมาเองตามที่ได้เข้ารับการอบรมจากวิทยากรด้านการพัฒนาดินที่ทางกรมส่งเสริมสหกรณ์จัดนำมาให้ ก็สามารถประหยัดและลดต้นทุนได้มาก ทำให้มีกำไรในการขายมะม่วงได้มากขึ้น และทำการผลิตกิ่งพันธุ์มะม่วงจำหน่ายด้วย โดยขายกิ่งละ 25 บาท ทำวันละ 100 กิ่ง ก็มีรายได้เพิ่มขึ้นวันละ 2,500 บาท นอกเหนือจากขายผลมะม่วง ปัจจุบันนี้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ไม่ลำบากเหมือนเมื่อก่อน” คุณทัน กล่าว

และในการรวมกลุ่มกันจัดตั้งเป็นสหกรณ์ขึ้นมานั้น คุณทัน เล่าว่า เป็นผลทำให้เกษตรกรในพื้นที่โครงการมีโอกาสในการทำการเพาะปลูกและจำหน่ายผลผลิตได้มากกว่าแบบต่างคนต่างทำ เมื่อเป็นสหกรณ์ก็สามารถช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการทำการเพาะปลูก เมื่อผลผลิตออกมาก็ใช้ระบบสหกรณ์มาทำการตลาด สามารถตัดพ่อค้าคนกลางที่มักจะกดราคาผลผลิตลงได้ แถมสามารถกำหนดราคาได้เองด้วย ซึ่งพ่อค้าคนกลางที่ต้องการซื้อมะม่วงก็ต้องยอมเพราะหากไม่ยอมก็จะไม่มีมะม่วงไปขายต่อ

เป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างล้นพ้นที่พระองค์ได้พระราชทานพื้นที่ทำกิน และพระราชทานพระราชดำริโครงการตามพระราชประสงค์หนองพลับ-กลัดหลวง ขึ้นมา ทำให้ประชาชนที่ยากไร้ไม่มีที่ทำกิน กลับมีชีวิตที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน และนับเป็นอีกหนึ่งโครงการที่กรมส่งเสริมสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้สนองงานพระราชดำริมาดำเนินการและประสบความสำเร็จ ยังผลให้เกษตรกรสามารถผลิตและขายผลผลิตได้อย่างมีราคาภายใต้ระบบสหกรณ์

ฤดูกาลแห่งลำไยเริ่มขึ้น ผลไม้หลายชนิดออกสู่ตลาด ปริมาณผลผลิตที่ตลาดต้องการก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ชาวสวนต้องมีเทคนิคเฉพาะสวน เพื่อให้ได้ผลผลิตตามปริมาณที่ตลาดต้องการ และควรให้ได้คุณภาพ เพื่อให้ผลผลิตเป็นที่ยอมรับของตลาด

ที่อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ผู้เขียนได้มีโอกาสพบกับ คุณมานพ กาวิลุน เกษตรกรชาวสวนลำไย วัย 51 ปี อยู่บ้านเลขที่ 64/1 หมู่ที่ 6 ตำบลเหมืองแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เล่าว่า พื้นที่รอบสวนตนเองส่วนใหญ่เขาจะปลูกข้าวกัน แต่ตนเองเห็นว่าการปลูกข้าวมักมีปัญหาทั้งในเรื่องฝนแล้ง น้ำท่วม ราคาข้าวไม่แน่นอน ตนเองจึงเลือกที่ทำสวนลำไย ในพื้นที่ 13 ไร่ โดยยึดหลักว่า “คนอื่นปลูกข้าว ผมทำสวนลำไย”

สวนลำไยมีอยู่ 2 แห่ง อายุ 5-12 ปี ได้ทดลองใช้และให้ความไว้วางใจผลิตภัณฑ์ของ บริษัท กฤษณา มาร์เก็ตติ้ง จำกัด ทุกผลิตภัณฑ์ เรียกว่าเชื่อมั่น 100 เปอร์เซ็นต์ หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วจะตัดแต่งทรงพุ่ม ทางดิน ใช้ ฮิวโม่-เอฟ 65 ละลายน้ำราดทั่วทรงพุ่ม เพื่อปรับสภาพดินให้ร่วนซุย ดินชุ่มชื้นตลอดแม้จะอยู่ในช่วงฤดูแล้ง ทางใบ จะใช้ฮอร์โมนสามสหายเป็นประจำทุกระยะ เพื่อช่วยฟื้นฟูสภาพต้น เมื่อถึงระยะที่ต้นลำไยมีความพร้อม จะใช้สารราดลำไย ลองก้า-เอ็น ทางดิน ประมาณ 3 ขีด ตามขนาดของต้น ใช้ละลายน้ำราดพื้นรอบทรงพุ่ม จากนั้นจะใช้ อิมเพล เปิดตาดอก คุณมานพ กล่าวว่า ช่อดอกแตกออกมาเป็นพุ่ม แขนงตาดอกที่อยู่ก้านใบก็ออกดอกเต็ม ชอบมาก และจะใช้ฮอร์โมนสามสหายเป็นประจำทุกระยะ ฉีดพ่นทางใบ ห่างกัน 7-10 วัน ต่อครั้ง ทำให้ใบลำไยสีเขียวเข้ม ติดผลดก ผลลำไยเรียงตัวกันอย่างสม่ำเสมอ และช่วยให้ผลมีขนาดใหญ่ที่เรียกว่าขนาด AA เมื่อระยะใกล้จะเก็บเกี่ยวหรือในช่วงที่เมล็ดในดำ จะใช้เคลียร์ ร่วมด้วยเพื่อช่วยขัดสีผิวผลลำไย ให้ผิวของผลลำไยมีสีเหลืองทอง

“เมื่อปีที่แล้วสามารถขายผลผลิตลำไยได้ประมาณ เกือบ 300,000 บาท แต่ในปีนี้คาดว่าจะได้รับเงินมากกว่าปีที่แล้วโดยประมาณ 700,000 บาท แม้ว่าในช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา เกิดพายุฤดูร้อนที่ชาวบ้านแถบนี้เรียกว่าพายุงวงช้าง ชาวสวนลำไยที่มีอยู่ประมาณ 100 กว่าแห่ง เสียหายจากลมพายุ ประมาณ 70 แห่ง บางรายทั้งใบและผลหล่นร่วงหมดเหลือแต่ต้น แต่ที่สวนของตนเองเสียหายบางส่วนเท่านั้นในช่วงที่ผลลำไยยังเล็กอยู่ เมื่อผ่านพ้นระยะนั้นแล้ว ที่สวนยังมีผลลำไยติดอยู่จำนวนมาก กิ่งก้านใบ และช่อดอกแข็งแรง เป็นเพราะการใช้ผลิตภัณฑ์ของ บริษัท กฤษณา มาร์เก็ตติ้ง จำกัด”

ส่วนที่อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ คุณประสิทธิ์ บุญเรือง หรือ ลุงแก้ว ชาวสวน วัย 61 ปี อยู่บ้านเลขที่ 210 หมู่ที่ 8 บ้านแม่อ้อใน ตำบลแม่นะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ เป็นเกษตรกรประเภทหัวไวใจสู้ ที่ทำสวนลำไยที่เขตบ้านแม่อ้อใน มีสมาชิก จำนวน 30 กว่าคน แต่ละคนปลูกลำไยมากกว่าคนละ 10 ไร่ เช่น คุณเจริญ แดงหม่อง คุณสงัด ศิริ คุณอุทัย คำแก้ว เป็นต้น โดยมี คุณอุเทน สุวรรณคาม นักวิชาการประจำบริษัท เป็นผู้ให้คำแนะนำและติดตามผลการใช้ผลิตภัณฑ์ของบริษัทอย่างใกล้ชิดมาโดยตลอด

ลุงแก้ว เล่าว่า พื้นที่ปลูกลำไยที่บ้านแม่อ้อในจะแตกต่างกว่าสวนลำไยที่เป็นพื้นราบทั่วไป ที่ใช้น้ำจากแหล่งน้ำชลประทาน มีระบบน้ำที่สมบูรณ์แบบ แต่ที่บริเวณบ้านแม่อ้อในนี้เป็นการปลูกลำไยบนพื้นที่สูงไหล่เขา อาศัยแหล่งน้ำจากธรรมชาติ ได้รับคำแนะนำจาก คุณสงัด ศิริ ให้ใช้ผลิตภัณฑ์ของบริษัท โดยใช้ผลิตภัณฑ์ สามสหาย ประกอบด้วย โปร-ซีบีเอ็น พรีคัส และ แซมวิก้า ฉีดพ่นที่ใบลำไย เมื่อต้นมีความสมบูรณ์พร้อมแล้วจึงราดลองก้า-เอ็น ตามคำแนะนำของนักวิชาการ

ลุงแก้ว เล่าอีกว่า แต่เมื่อได้ใช้ผลิตภัณฑ์ของบริษัทครบทุกตัวแล้ว ได้รับผลผลิตเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ ต้นลำไยโตมากขึ้น ตามอายุและขนาดของต้นลำไย ปีนี้ลำไย 14 ไร่ ขายได้ 680,000 บาท

ลุงแก้ว บอกด้วยว่า นอกจาก ลองก้า-เอ็น และ ฮอร์โมนสามสหาย แล้ว ยังมีผลิตภัณฑ์ที่ชอบมาก คือ เคลียร์ ทำให้ผิวลำไยสีเหลืองนวลสวยมาก โดยรวมปีนี้อากาศแล้งและร้อนมาก แต่ผลลำไยก็ยังคงอยู่ในเกรด AA มากถึง ร้อยละ 90 เปอร์เซ็นต์ และเกรด A ประมาณ ร้อยละ 10 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น

ส่วน คุณสงัด ศิริ เกษตรกร วัย 58 ปี บ้านเลขที่ 133 บ้านแม่อ้อใน กลุ่มผู้ปลูกลำไยบ้านแม่อ้อใน กล่าวเพิ่มเติมว่า ใช้ผลิตภัณฑ์ของบริษัทมาเป็นเวลา 3 ปี ต่อเนื่องทุกปี แล้วประสบผลสำเร็จทุกปี ตนจึงแนะนำให้เพื่อนบ้านในพื้นที่บ้านแม่อ้อในและพื้นที่ใกล้เคียงใช้ตาม ส่วนใหญ่แล้วประสบความสำเร็จทุกรายที่ใช้ตาม และในปีนี้ได้มีการนำผลิตภัณฑ์ตัวใหม่มาใช้ ชื่อ อิมเพล ทำให้รู้สึกว่าช่อดอกสมบูรณ์กว่าทุกๆ ปีที่ผ่านมา และทนต่อสภาพความแห้งแล้งเมื่อต้นปี ดอกไม่หลุดร่วงง่าย

พื้นที่อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ คุณไพฑูรย์ ชัยวรรณา เกษตรกรชาวสวนลำไย วัย 61 ปี บ้านเลขที่ 65 หมู่ที่ 4 บ้านทา ตำบลหนองบัว อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นเกษตรกรคนหนึ่งที่ปลูกลำไยอย่างใส่ใจ และประณีตการปฏิบัติงานในสวนของตนเอง อายุลำไย ประมาณ 10 ปี พื้นที่บริเวณนี้ส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทราย เริ่มใช้ผลิตภัณฑ์ของ บริษัท กฤษณา มาร์เก็ตติ้ง จำกัด มาเป็นเวลาประมาณ 6 ปีแล้ว ได้รับผลสำเร็จเป็นอย่างดี ใช้ ลองก้า-เอ็น ฉีดพ่นทางใบและราดบริเวณทรงพุ่มสลับกัน สภาพดินดีขึ้นมาก มีรากฝอยแตกออกมาใหม่ปริมาณมาก ทำให้ลำต้นสมบูรณ์

คุณอุเทน สุวรรณคาม นักวิชาการประจำบริษัท รับผิดชอบการให้คำแนะนำแก่ชาวสวนลำไยในพื้นที่ ได้ให้คำแนะนำว่า ทางบริษัทได้จัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน 8 ขั้นตอนง่ายๆ กับเทคนิคการทำลำไยในฤดู-นอกฤดู สำหรับเกษตรกรชาวสวนลำไย ได้แก่ 1. ระยะฟื้นสภาพต้นหลังเก็บเกี่ยว 2. ระยะสะสมอาหารก่อนราดสาร 1 เดือน 3. ระยะราดสาร 4. ระยะเปิดตาดอก 5. ระยะดึงช่อดอก-ระยะดอกบาน 6. ระยะติดผลอ่อน 7. ระยะมะเขือพวง 8. ระยะเมล็ดในดำ

พื้นที่หมู่ที่ 10 ตำบลห้วยหอม อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ส่วนใหญ่เกษตรกรใช้พื้นที่ทำการเกษตรในรูปแบบของไร่มะขามเทศ ไร่อ้อย และท้องนา อีกจำนวนหนึ่งปล่อยเป็นที่รกร้างว่างเปล่า เนื่องจากพื้นที่บริเวณนี้ ขาดแคลนน้ำที่ใช้ในการทำการเกษตร เนื่องจากระบบชลประทานเข้าไม่ถึง จำนวนมากต้องขุดบ่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ สำหรับพืชไร่และพืชสวน ส่วนที่นา อาศัยความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ

หากมีเกษตรกรคนใด ปลูกพืชที่นอกเหนือจากที่กล่าวข้างต้น ในบางโอกาสจะถูกมองว่า มีความคิดที่แปลกแตกต่าง แต่ความคิดที่แปลกแตกต่างของเกษตรกรที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ จัดว่าเป็นความคิดที่แปลกแตกต่าง เพื่อก้าวสู่การพัฒนา ในแบบฉบับของเกษตรกรตัวจริง

ช่วงสายในปลายฤดูหนาว “เทคโนโลยีชาวบ้าน” เดินทางไปยัง หมู่ที่ 10 ตำบลห้วยหอม อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ เพื่อพบกับเกษตรกรหนุ่ม คุณณรงค์ ร่างใหญ่ ผู้ซึ่งผันพื้นที่ปลูกอ้อยเกือบ 3 ไร่ มาปลูกมะนาวแทน

“ใครๆ ก็คิดว่าผมบ้า หรือไม่ก็คิดแปลกแยกจากคนอื่น เพราะไม่มีใครคิดทำสวนมะนาวเลย”

คุณณรงค์ มีความรู้ทางด้านกฎหมาย จบการศึกษาระดับเนติบัณฑิต ชีวิตการทำงานก้าวเข้าสู่ระบบลูกจ้างได้เพียง 1 ปี ก็ลาออก ก่อนลงทุนปลูกสร้างอพาร์ตเมนต์ให้เช่า ตั้งอยู่ใจกลางเมืองพระนครศรีอยุธยา และยังคงเดินทางยังภูมิลำเนาเดิมที่ตำบลห้วยหอมอยู่เป็นประจำ

คุณณรงค์ บอกว่า ในทุกครั้งของการเดินทางกลับมาเยี่ยมมารดาที่ตำบลห้วยหอม คิดเสมอว่า ไม่ควรปล่อยให้เวลาระหว่างการเดินทางไปกลับสูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ รถที่ใช้ในการเดินทางเป็นรถกระบะ ควรบรรทุกของหรือใช้ประโยชน์ให้คุ้ม น่าจะเป็นการสร้างรายได้ที่ดีกว่า

“ผมมองเห็นว่า ตลาดมะนาวหน้าแล้งน่าสนใจ ราคาแพง ราคาตลาดขายอย่างต่ำ ลูกละ 6 บาท จึงเริ่มศึกษาจากหนังสือและเว็บไซต์ ผิดบ้างถูกบ้าง และเริ่มทดลองทำในพื้นที่เดิมที่ปลูกอ้อยเกือบ 3 ไร่ เปลี่ยนเป็นปลูกมะนาวเกือบ 500 ต้น เหมือนจะไปได้ดี แต่ไม่นานใบมะนาวเริ่มเหลืองโดยไม่รู้สาเหตุ ทำให้แก้ปัญหาไม่ได้”

คุณณรงค์ ตัดสินใจเข้าอบรมการปลูกมะนาวนอกฤดู ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน เพื่อศึกษาให้ถ่องแท้ และได้ผล คุณณรงค์ กลับมาแก้ปัญหามะนาวใบเหลืองตามความรู้ที่รับการอบรมมา ทำให้การแก้ปัญหาลุล่วงไปด้วยดี

พื้นที่เกือบ 3 ไร่ แบ่งเป็นบ่อกักเก็บน้ำ 1 ไร่ 2 งาน พื้นที่ที่เหลือ ทำมะนาวนอกฤดูในวงบ่อซีเมนต์ 2 ไร่ จำนวน 300 วงบ่อ ลงทุนครั้งแรกประมาณ 1.4 แสนบาท ต่อไร่

ใช้วงบ่อซีเมนต์ ขนาด 80 เซนติเมตร วางระยะห่างระหว่างแถว 4 เมตร ระยะห่างระหว่างต้น 3 เมตร

กิ่งพันธุ์ที่ใช้ เป็นมะนาวพันธุ์แป้นพิจิตร 1 และแป้นพวง

สาเหตุที่เลือก 2 สายพันธุ์นี้ คุณณรงค์ บอกว่า เป็นพันธุ์ที่ได้รับความนิยมในกลุ่มภาคกลาง เพราะตลาดที่คุณณรงค์มองไว้ คือ ตลาดภาคกลาง และพันธุ์แป้นพิจิตร 1 ทนทานต่อโรคและแมลง ส่วนพันธุ์แป้นพวง ลูกดก

การเตรียมดินสำหรับปลูกในวงบ่อซีเมนต์ คุณณรงค์ นำวัสดุปลูกประกอบด้วยดินนา ขี้วัว กากถั่วแระ กากถั่วเขียว จากนั้นไถผาล 7 ดินนาก่อน ทิ้งดินนาที่ไถแล้วตากแห้งเกือบ 1 เดือน แล้วไถผาล 7 อีกรอบให้ดินร่วนซุย นำขี้วัวและกากถั่วโรยแล้วไถกลับไปมา จากนั้นนำรถไถดันพื้นที่ปลูกให้เป็นคู วางวงบ่อ ตักดินใส่วงบ่อที่มีแผ่นรองด้านล่าง

ระบบน้ำและการให้น้ำ คุณณรงค์ใช้ระบบน้ำหยดกับมะนาวต้นเล็กๆ โดยให้น้ำในช่วงเช้า เพียง 5 นาที หลังจากมะนาวเริ่มโตก็เปลี่ยนระบบน้ำหยดเป็นมินิสปริงเกลอร์ ให้น้ำในช่วงเช้าเช่นเดียวกัน แต่ปรับเวลาเป็น 10-15 นาที

หลังจากมะนาวผลิยอดอ่อนให้เห็น คุณณรงค์จะขลิบยอดทิ้ง จากนั้น 15 วัน พ่นสารแพคโคลบิวทราโซลในครั้งแรก และอีก 45 ต่อมา พ่นสารแพคโคลบิวทราโซลอีกครั้ง สำหรับอัตราความเข้มข้นของสารแพคโคลบิวทราโซล ชนิดความเข้มข้น 10% ในอัตรา 80 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร

สารแพคโคลบิวทราโซล สมัครเว็บบาคาร่า เป็นสารที่ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของกิ่งใบ เมื่อกิ่งใบน้อยลง โอกาสการออกดอกก็มีมากขึ้น มะนาวที่จะบังคับให้ออกนอกฤดูได้นั้น ควรมีอายุอย่างน้อย 8 เดือนขึ้นไป

คุณณรงค์ อธิบายว่า ในช่วงปลายเดือนสิงหาคมหรือต้นเดือนกันยายน ซึ่งเป็นช่วงที่ฝนตก ควรงดให้น้ำ โดยการนำผ้าพลาสติกกันฝนขนาดใหญ่คลุมรอบวงบ่อ สังเกตใบมะนาวจะเริ่มเหี่ยว หลังจากคลุมผ้าพลาสติกประมาณ 10-15 วัน และนำผ้าพลาสติกคลุมออก เมื่อใบสลด เหี่ยวหรือร่วงประมาณ 75-80% ให้น้ำพร้อมปุ๋ย