แม้ว่าจิ้งหรีดจะเป็นแมลงขนาดเล็ก แต่การทำโรงเรือนสำหรับ

จิ้งหรีดก็เป็นสิ่งสำคัญเพราะต้องมีที่สำหรับกันแดดและฝนให้กับจิ้งหรีด เพราะจิ้งหรีดเป็นสัตว์บอบบาง อ่อนไหวง่าย เมื่อถูกแดดหรืออยู่ในที่ที่อุณหภูมิสูงเป็นเวลานานจะตาย หรืออยู่ในที่ที่มีความชื้นสูงมาก โดนฝนก็ตายเหมือนกัน ดังนั้น โรงเรือนที่ทำควรมีความโปร่ง อากาศสามารถถ่ายเทได้

อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับเลี้ยงจิ้งหรีด คือ อุณหภูมิไม่เกิน 35 องศาเซลเซียส หากร้อนกว่านั้น ซึ่งควบคุมสภาพอากาศได้ยาก ต้องช่วยระบายความร้อนให้ โดยการเปิดพัดลมให้อากาศถ่ายเท หรือติดสปริงเกลอร์บนหลังคาโรงเรือน เป็นการลดและระบายความร้อนออกจากโรงเรือน

จิ้งหรีด เริ่มจากการเพาะไข่ ซึ่งโดยปกติวงจรของจิ้งหรีด เมื่อโตเต็มวัยก่อนจับขาย จิ้งหรีดเพศเมียจะวางไข่ในขัน ที่นำไปวางในบ่อเลี้ยง ในขันขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 18 เซนติเมตร ให้ใส่แกลบเผา ขุยมะพร้าว ดิน น้ำ คลุกให้เข้ากันนำไปวาง จิ้งหรีดจะรู้เองว่าเป็นที่ที่เหมาะสำหรับการวางไข่

หลังได้ไข่จากการวางไข่ของจิ้งหรีดในขันแล้ว เมื่อจำหน่ายตัวจิ้งหรีดออกไป ให้เก็บขันทั้งหมดไปวางไว้รวมกัน แล้วนำผ้าคลุมไว้ ไม่นานจิ้งหรีดจะฟักจากไข่ออกมาเป็นตัวเล็กๆ เป็นจุดเริ่มต้นของพันธุ์จิ้งหรีดที่จะใช้เลี้ยงในรุ่นต่อไป

พันธุ์ที่นิยมเลี้ยงเพื่อการบริโภค คือ พันธุ์ทองแดงลาย และพันธุ์ทองดำ

พันธุ์ทองแดงลาย มีขนาดเล็กกว่า แต่เลี้ยงง่ายกว่า สามารถเลี้ยงในโรงเรือนเปิดได้

พันธุ์ทองดำ มีขนาดใหญ่กว่า เลี้ยงยากกว่า และต้องเลี้ยงในโรงเรือนหรือบ่อเลี้ยงที่มีวัสดุปิดไม่ให้จิ้งหรีดพันธุ์ทองดำบินออกจากบ่อเลี้ยงได้ เนื่องจากจิ้งหรีดพันธุ์ทองดำ เป็นพันธุ์ที่มีปีกและบินได้ เมื่อเริ่มเข้าสู่ช่วงโตเต็มวัย จะบินออกจากบ่อเลี้ยง หากไม่มีที่ปิดอย่างดี จิ้งหรีดจะบินหายไปหมด

อุปกรณ์สำหรับเลี้ยงจิ้งหรีดที่ต้องลงทุนในระยะแรกคือ การสร้างโรงเรือน บ่อเลี้ยง แผงไข่ อุปกรณ์ให้น้ำ เป็นการลงทุนถาวร ส่วนอุปกรณ์การเลี้ยงที่เป็นต้นทุนทุกครั้งเมื่อถึงรอบจับทุก 45 วัน คือ อาหารสำเร็จรูป ซึ่งหากไม่ใช้อาหารสำเร็จรูป ก็สามารถใช้พืชตระกูลหัวในการเลี้ยงจิ้งหรีดได้เช่นกัน แต่ต้องเป็นพืชที่ปลอดสารเคมี เช่น หัวมันสำปะหลัง ลำต้นมันสำปะหลัง ใบมันสำปะหลัง ฟักทอง ใบฟักทอง เป็นต้น ส่วนแผงไข่ ใช้สำหรับเป็นที่อยู่อาศัยของจิ้งหรีด ควรปราศจากความชื้น หากชื้นหรือผุพัง ก็ต้องเปลี่ยนแผงไข่ใหม่ อาจจะเปลี่ยนเฉพาะแผงที่ชำรุด เพื่อลดต้นทุนการผลิตได้

คุณไพบูรณ์ บอกว่า อาหารสำหรับจิ้งหรีด หากสามารถใช้พืชตระกูลหัวนำมาให้จิ้งหรีดกินได้ จะเป็นการประหยัดต้นทุนการผลิตมาก แต่เนื่องจากจิ้งหรีดกินเยอะ กินตลอดเวลา จึงไม่มีแหล่งวัตถุดิบที่จะนำมาเป็นอาหารมากเพียงพอ จำเป็นต้องให้อาหารสำเร็จรูป ขนาดน้ำหนัก 30 กิโลกรัม ต่อกระสอบ ราคากระสอบละ 460 บาท

ภายในบ่อเลี้ยง เมื่อวางแผงไข่ชิดกันให้เหมาะสม เพื่อให้จิ้งหรีดเข้าไปหลบได้แล้ว ต้องมีถาดให้อาหาร ซึ่งจิ้งหรีดกินอาหารเยอะมาก ต้องให้อาหารเช้าและเย็น วันละ 2 ครั้ง แต่ถ้าอาหารที่ให้ไว้ในตอนเช้ายังไม่หมด ก็ไม่จำเป็นต้องเติมให้อีก เพราะจิ้งหรีดจะถ่ายมูลออกมาปนกับอาหาร ทำให้อาหารชื้นและเสียได้ นอกจากนี้ ต้องมีที่ให้น้ำ โดยนำที่ให้น้ำสัตว์ปีกมาวางไว้ พื้นที่ที่เป็นน้ำ นำผ้ามาวางไว้ให้น้ำชุ่มที่ผ้า จิ้งหรีดจะมาดูดน้ำจากผ้าที่ชุ่มน้ำ หากไม่นำผ้ามาวางไว้ จิ้งหรีดอาจตกน้ำลงไปตายได้

เนื่องจากจิ้งหรีดเป็นแมลงที่เคลื่อนย้ายได้ บริเวณขอบบ่อ จึงจำเป็นต้องนำวัสดุที่มีความลื่นมาติดไว้โดยรอบขอบบ่อ เมื่อจิ้งหรีดไต่ขึ้นมาที่ขอบบ่อจะลื่นตกลงในบ่อเลี้ยงตามเดิม ไม่สามารถออกจากบ่อเลี้ยงได้

ในแต่ละวันนอกเหนือจากการให้อาหารเช้าและเย็นแล้ว จำเป็นต้องทำความสะอาดที่ให้น้ำ เพราะเมื่อจิ้งหรีดไปกินน้ำ จะถ่ายมูลไว้ที่ผ้า เป็นที่หมักหมมของเชื้อโรคและเกิดความชื้น ก็อาจทำให้จิ้งหรีดในบ่อเลี้ยงตายได้ ถ้าพบว่ามีจิ้งหรีดตายต้องนำออกจากบ่อเลี้ยง แม้จะยังไม่เคยเกิดโรคในจิ้งหรีด แต่การทำบ่อเลี้ยงให้สะอาด ก็เป็นการป้องกันที่ดีทางหนึ่ง

รอบการจับจิ้งหรีดขายอยู่ที่ 45 วัน ต่อรอบ

จิ้งหรีด จะมีขนาดตัวที่โตเต็มวัยในระยะเวลา 45 วัน เหมาะสำหรับจับขาย เมื่อถึงเวลาจับขาย จะมีพ่อค้าแม่ค้ามารับถึงฟาร์ม การจับจิ้งหรีดทำโดยการนำแผงไข่ออกจากบ่อเลี้ยง ก่อนนำออกจากบ่อเลี้ยงให้สลัดตัวจิ้งหรีดออกให้หมด จากนั้นนำแผงไข่บางส่วนพิงไว้รอบบ่อ จิ้งหรีดจะเข้าไปแอบในแผงไข่นั้นๆ แล้วจึงนำแผงไข่นั้นออกมาสลัดจิ้งหรีดใส่เครื่องกรอง เพื่อกรองเอาเศษที่ไม่ต้องการออก จากนั้นพ่อค้าแม่ค้าจะนำเฉพาะตัวจิ้งหรีดใส่ถุง แล้วน็อกด้วยน้ำแข็งส่งไปยังปลายทางเพื่อจำหน่าย หรืออีกกรณีคือ เมื่อนำแผงไข่ที่มีตัวจิ้งหรีดจากบ่อเลี้ยงออกมาแล้ว นำไปสลัดใส่กรงหรือบ่อเลี้ยงขนาดเล็กที่มีแผงไข่ เพื่อเปลี่ยนที่อยู่ให้กับจิ้งหรีด แล้วขนย้ายไปปลายทางเพื่อจำหน่าย

ในการจับจิ้งหรีดขายแต่ละครั้ง ในบ่อเลี้ยงจะเหลือมูลจิ้งหรีด ซึ่งสามารถนำไปจำหน่ายเป็นปุ๋ยได้ เป็นที่เข้าใจตรงกันว่า มูลจิ้งหรีดมีธาตุไนโตรเจนมากกว่ามูลไก่ สามารถนำไปใส่ในต้นไม้ได้ทุกชนิด ราคาซื้อขายอยู่ที่กระสอบละ 40 บาท แต่ละบ่อสามารถเก็บมูลจิ้งหรีดขายได้มาก 6-7 กระสอบ ต่อรอบการจับขาย

ในการขายแต่ละครั้ง คุณไพบูรณ์ บอกว่า ปริมาณจิ้งหรีดที่จับขายได้ขึ้นอยู่กับผู้เลี้ยง เลี้ยงมากน้อยก็ได้ปริมาณจิ้งหรีดไม่เท่ากันในแต่ละครัวเรือน สำหรับบ้านแสนตอสามารถจับขายได้เกือบทุกวัน ปริมาณจิ้งหรีดออกจากบ้านแสนตอไปแต่ละรอบการผลิตเกือบ 30 ตัน ราคารับซื้อ กิโลกรัมละ 80 บาท

“เท่าที่ทราบ พอออกจากบ้านแสนตอเราไป ก็ไปยังจังหวัดต่างๆ โดยเฉพาะภาคอีสาน แถบจังหวัดเลย อุดรธานี หนองคาย กาฬสินธุ์ สระแก้ว โดยเฉพาะปอยเปตของกัมพูชา ซื้อไปครั้งละ 4-5 ตัน ซึ่งตลาดยังต้องการมากกว่าที่เราผลิตได้ จึงวางแผนผลิตเพิ่มขึ้น และผลิตแบบ GAP เพื่อตั้งเป้าส่งออกไปยังต่างประเทศด้วย”

เมื่อถามถึงรายได้จากการเลี้ยงจิ้งหรีด คุณไพบูรณ์ บอกเลยว่า เป็นอาชีพที่ไม่ต้องออกแรงมาก และใช้เวลากับการดูแลน้อย เมื่อหักต้นทุนการผลิตแล้ว มีรายได้เกือบ 50% ของการลงทุน อย่างน้อยต่อรอบการผลิต เกษตรกรจะมีรายได้หลักหมื่นบาทแน่นอน

สำหรับบ้านแสนตอ เกษตรกรที่เลี้ยงจิ้งหรีดรวมกลุ่มกันเลี้ยงจิ้งหรีด ปัจจุบันมี 43 ครัวเรือน รอบการผลิต 45 วัน ที่จับจิ้งหรีดขายได้ จะได้ปริมาณจิ้งหรีดที่ 28-30 ตัน และมีแนวโน้มตลาดต้องการเพิ่มมากขึ้น จึงจะขยายฐานการผลิตออกไปอีก

ท่านใดสนใจเยี่ยมชม ศึกษาการเลี้ยงจิ้งหรีด บ้านแสนตอยินดีให้ข้อมูล ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คุณไพบูรณ์ คำมูลมาตย์ หรือ ไพบูรณ์ฟาร์ม เลขที่ 110 หมู่ที่ 85 บ้านแสนตอ ตำบลบัวใหญ่ อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น โทรศัพท์ 081-741-2387

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประสบผลสำเร็จในการเพาะ “ถั่วงอกเบญจรงค์” ซึ่งเพาะได้จากถั่วหลายชนิดและหลากสี เช่น ถั่วเขียว ถั่วแดง ถั่วดำ ถั่วเหลือง และถั่วลิสง เป็นการเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการจากถั่วงอกธรรมดาซึ่งมักใช้ถั่วเขียวเพียงอย่างเดียว เนื่องจากพืชผักที่มีสีที่แตกต่างกันจะมีคุณประโยชน์และจุดเด่นที่แตกต่างกันกล่าวคือ ผักสีแดงช่วยให้ความอบอุ่นของร่างกาย ผักสีส้มช่วยกระตุ้นการขับถ่าย ผักสีเหลืองช่วยคลายเครียด ผักสีเขียวอ่อนช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกาย ผักสีเขียวเข้มทำให้หลอดเลือดแข็งแรง และผักสีม่วงบำรุงสายตา

ถั่วงอก (Bean sprouts) จัดเป็นผักชนิดหนึ่งที่มีคุณค่าทางอาหารหลายอย่างสูง เช่น โปรตีน เกลือแร่ ฟอสฟอรัส ใยอาหาร วิตามินซี และเป็นอาหารที่มีแป้งต่ำกว่าถั่วเมล็ดแห้งชนิดเดียวกัน เนื่องจากแป้งบางส่วนถูกนำไปใช้ในการเจริญเติบโต

ข้อดีของถั่วงอก

1. มีวิตามินB-complex ซึ่งปกติอยู่ในเมล็ดถั่วอยู่แล้ว เมื่อเพาะเป็นถั่วงอกจะมีวิตามินชนิดนี้เพิ่มขึ้นประมาณ200-500%
2.มีการเพิ่มขึ้นของวิตามินเอ แบบก้าวกระโดด(มีมากกว่าในเมล็ดถั่วมาก) เพิ่มขึ้นประมาณ 300%
3.วิตามินซีในเมล็ดถั่วงอกเพิ่มขึ้นมาจากเมล็ดถั่วแห้ง กล่าวคือ เพิ่มขึ้นประมาณ500-600%
4. โดยปกติจะมีโปรตีนเพิ่มขึ้น เนื่องจากขณะงอกจะมีการย่อยสลายแป้ง(คาร์โบไฮเดรต)ซึ่งเป็นแป้งที่โครงสร้างไม่ซับซ้อน ทำให้มีการดูดซับไนโตรเจนจากอากาศมาเป็นองค์ประกอบของโปรตีนทำให้ปริมาณโปรตีนเพิ่มมากขึ้น
5.คาร์โบไฮเดรตลดลงหรือเปลี่ยนไปอยู่ในรูปที่ย่อยง่าย หรือsimple sugar เช่น กลูโคส และซูโครส (แป้งในถั่วงอกอยู่ในรูปที่ย่อยง่ายกว่าแป้งในถั่วเมล็ดแห้ง)
6. ในถั่วเมล็ดแห้งโดยทั่วไปจะไม่มีวิตามินซีหรือascorbic acid ซึ่งเป็นสารทำให้ร่างกายย่อยโปรตีนได้ดียิ่งขึ้น แต่ในถั่วงอกกลับมีปริมาณ ascorbic acid ในปริมาณที่สูง
7.ถั่วงอกเป็นอาหารที่เหมาะสำหรับลดความอ้วน เนื่องจากมีใยอาหารสูงและให้พลังงานต่ำกว่าถั่วเมล็ดแห้ง

วิธีการเพาะถั่วงอก (กรณีใช้เมล็ดถั่วเหลืองแห้งเป็นวัตถุดิบ)

1. เลือกเมล็ดถั่วเหลืองที่ลีบออก นำแต่เมล็ดที่ดีมาล้างให้สะอาดด้วยน้ำธรรมดา(ไม่ควรล้างด้วยน้ำอุ่นเพราะจะทำให้การงอกของถั่วเหลืองลดลง)แล้วแช่น้ำค้างคืนไว้ 1 คืน เนื่องจากถั่วเหลืองเป็นพืชน้ำมันจึงควรหมั่นเปลี่ยนน้ำ เมล็ดถั่วที่สมบูรณ์จะเริ่มมีรากเล็กๆ งอกออกมา
2. เทเมล็ดถั่วเหลืองลงในกระบะเพาะพลาสติกที่มีผ้าสำลีชุบน้ำรองกระบะเกลี่ยเมล็ดถั่วเหลืองให้ทั่ว รดน้ำให้ชุ่ม ใช้ผ้าสำลีชุบน้ำให้ชุ่มน้ำปิดทับถั่ว รดน้ำบนผ้าสำลีให้ชุ่มอีกครั้งหนึ่ง
3. ปิดฝา วางไว้ในถุงดำ หรือถังพลาสติกดำ ปิดให้สนิท
4. รดน้ำ พยายามอย่าให้ขาดน้ำ เพราะถั่วเหลืองมีโอกาสเน่าง่ายกว่าถั่วเขียว จะใช้เวลาประมาณ2-3 วัน จึงเป็นถั่วเหลืองงอกที่นำไปรับประทานหรือจำหน่ายได้
การเพาะถั่วงอกเบญจรงค์ตามสูตรดังกล่าว สามารถนำวิธีการเพาะได้กับถั่วชนิดต่างๆ สำหรับรับประทานในครัวเรือน ซึ่งจะมีราคาถูกและถูกสุขอนามัยมากขึ้น

เกษตรจังหวัดนครศรีธรรมราช ลุยพื้นที่เร่งพัฒนาคุณภาพส้มโอทับทิมสยาม สินค้าเด่นลุ่มน้ำปากพนัง ให้ได้มาตรฐาน ผลิตตามหลักวิชาการ จัดการดี เก็บเกี่ยวในเวลาที่เหมาะสม จะได้ส้มโอคุณภาพดี เป็นที่ต้องการของลูกค้า

จากการบอกกล่าวของ คุณนิพนธ์ สุขสะอาด เกษตรจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่ได้พูดถึงเรื่องสินค้าดังของจังหวัดนครศรีธรรมราช ในยุคนี้ต้องยกให้ส้มโอทับทิมสยามที่เป็นพืช GI ปลูกได้ดีเฉพาะในพื้นที่ตำบลคลองน้อย และตำบลใกล้เคียงของอำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีพื้นที่ปลูกรวมประมาณ 2,953 ไร่ ให้ผลผลิตแล้ว 2,501 ไร่ ให้ผลผลิตปีละ 7,503,000 กิโลกรัม หรือประมาณ 5,002,000 ผล เกษตรกรที่ทำสวนส้มโอทับทิมสยามส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อย มีพื้นที่ปลูกไม่เกิน 10 ไร่ แต่เนื่องจากส้มโอทับทิมสยามมีความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ของลุ่มน้ำปากพนัง ทำให้ได้รสชาติที่อร่อย หวานเข้ม หอม และมีสีแดงจัด เป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ สามารถขายที่หน้าสวนได้ราคาเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า ผลละ 200 บาท

สถานการณ์การผลิตและแนวโน้มในอนาคต เกษตรกรจะหันมาปลูกส้มโอทับทิมสยามกันมากขึ้น และเริ่มเข้าสู่มาตรฐานการผลิตพืช GAP มากขึ้น จนกระทั่งปัจจุบันได้รับการรับรองเป็นพืชตามข้อบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์แล้วบางราย ทำให้ส้มโอทับทิมสยามมีชื่อเสียงและความนิยมของนักบริโภคส้มโอ และกลายเป็นของฝากอันทรงคุณค่าแห่งนครศรีธรรมราช จนกระทั่งลูกค้าบางราย ให้สมญาว่า “คนซื้อไม่ได้กิน คนกินไม่ได้ซื้อ” แต่เมื่อมองในมิติกลับกัน ต้องยอมรับว่าเกษตรกรส่วนหนึ่งยังผลิตส้มโอไม่ได้มาตรฐาน คุณภาพยังไม่ดีตามที่ลูกค้าคาดหวัง

จากการวิเคราะห์สถานการณ์พบว่า เกิดจากสวนที่เกษตรกรปลูกไว้เพียงเล็กน้อยบริเวณบ้าน และเกษตรกรรายใหม่ ที่ยังไม่เข้าใจส้มโอทับทิมสยามดีพอ คือเมื่อเห็นว่าเป็นผลที่ได้มาจากกิ่งพันธุ์ส้มโอทับทิมสยามพันธุ์แท้ รูปลักษณ์ภายนอกผลโต ผิวสวย ก็นำออกมาขายให้กับผู้บริโภค โดยไม่ได้คำนึงถึงกระบวนการผลิตตามหลักวิชาการ ที่ควรจะเป็น เช่น การให้น้ำ การให้ปุ๋ย การป้องกันกำจัดศัตรูพืช การตัดแต่งผล-ช่อผล และการตัดผลเมื่อได้อายุที่เหมาะกับการเก็บเกี่ยว เป็นต้น การเก็บผลส้มที่ไม่ได้มาตรฐานออกจำหน่าย แม้จะมีไม่มาก และเกิดขึ้นในบางช่วงของฤดู แต่ส่งผลกระทบเป็นอย่างมาก ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ตลาดส้มโอทับทิมสยาม ในภาพรวม ลูกค้าขาดความเชื่อมั่น สร้างความเสียหายให้แก่กระบวนการผลิตส้มโอทับทิมสยาม

ในเรื่องดังกล่าว สำนักงานเกษตรจังหวัดนครศรีธรรมราชไม่ได้นิ่งนอนใจ และได้เร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาในเชิงรุก โดยสั่งการให้เกษตรอำเภอ เกษตรตำบล นัดหมายเกษตรกรผู้ปลูกส้มโอทับทิมสยาม ประชุมหารือเพื่อกำหนดแนวทางวิธีการป้องกันแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างเป็นระบบ แบบมีส่วนร่วม

โดยนัดประชุมกัน เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2563 ที่ผ่านมา ณ ศาลาหมู่บ้าน หมู่ที่ 4 ตำบลคลองน้อย อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมีเกษตรกรระดับแกนนำ และเกษตรกรรายย่อย รวมทั้งเกษตรกรรายใหม่ที่สนใจเข้ามาร่วมรับฟัง ร่วมให้ข้อคิดเห็น และร่วมกำหนดทิศทางการพัฒนาคุณภาพส้มโอทับทิมสยามกันอย่างจริงจัง และตั้งใจ โดยมีเกษตรจังหวัดนครศรีธรรมราช ทำหน้าที่ประธานและจัดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยตัวเอง ซึ่งมีสาระสำคัญ คือ

ประการแรก เกษตรจังหวัดนครศรีธรรมราช เปรียบเทียบให้เห็นโอกาสของเกษตรกรที่ปลูกส้มโอทับทิมสยามในบริเวณนี้ ที่มีข้อได้เปรียบเรื่องสภาพดิน น้ำ อากาศ สิ่งแวดล้อม ภูมิปัญญา และการตลาด ที่สามารถผลิตส้มโออร่อยที่สุด และขายได้แพงที่สุด แต่หากไม่ช่วยกันรักษาคุณภาพต่อไปของดีก็จะกลายเป็นของไม่ดี เกษตรกรจะขายยาก ราคาตกต่ำ ผู้บริโภคไม่เชื่อถือ

ประการที่สอง การสร้างกระบวนการเรียนรู้โดยหน่วยงานของภาครัฐเข้ามาเป็นพี่เลี้ยง และเกษตรกรต้นแบบในพื้นที่ ช่วยกันดูแลให้คำแนะนำ การปฏิบัติตามหลักวิชาการทุกขั้นตอน และเก็บเกี่ยวส้มโอ เมื่อครบอายุ สุกเต็มที่ และมีการคัดคุณภาพที่ได้มาตรฐานเดียวกัน

ประการที่สาม เกษตรกรเจ้าของสวนจะต้องกล้ารับรองคุณภาพส้มโอจากสวนของตนเองว่า ดีจริง อร่อยจริง ตามมาตรฐานของส้มโอทับทิมสยาม เช่น รูปลักษณ์ภายนอก ผลโต ขนาดไม่ต่ำกว่า 1,200 กรัม ผิวผลสีเขียวเข้ม ขั้วผลเป็นจุกนูน ผิวผลนุ่มเป็นกำมะหยี่ เนื้อในสีแดงทับทิม รสชาติหวาน หอม (ไม่มีรสขม) และกล้ารับรองคุณภาพหากไม่ดีตามคำโฆษณา ยินดีเปลี่ยนสินค้าให้ หรือคืนเงิน เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้า

ประการที่สี่ สำนักงานเกษตรจังหวัดนครศรีธรรมราช จะได้ทำเครื่องหมายรับรองคุณภาพ QR Code เพื่อเป็นข้อมูลประจำสวน ประจำแปลง เพื่อการตรวจสอบย้อนกลับ โดยจะได้จัดเจ้าหน้าที่เข้ามาช่วยในการทำทะเบียนประวัติสวน รายละเอียดในการดูแลสวน ชื่อ สถานที่ เบอร์โทรศัพท์ หรือช่องทางการติดต่อสื่อสารอื่นๆ รวมทั้งจะจับพิกัดแปลง ลงในแผนที่ออนไลน์ให้ได้รู้ ได้เห็น และสร้างความมั่นใจต่อกัน

ประการที่ห้า การประชาสัมพันธ์ในเชิงการรับรองแหล่งผลิต หรือแหล่งจำหน่าย เพื่อสร้างความมั่นใจให้ลูกค้า และเป็นทางเลือกที่ดีประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า ด้วยการประชาสัมพันธ์ทางสื่อมวลชน เว็บไซต์ สื่อออนไลน์อื่นๆ และป้ายข้อความต่างๆ เป็นการสนับสนุนและส่งเสริมการตลาดส้มโอทับทิมสยามที่ดี มีคุณภาพ ให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายมากยิ่งขึ้น

ประการที่หก ข้อแนะนำและแนวทางที่กล่าวมาทั้งหมด เป็นเพียงส่วนหนึ่งของกระบวนการพัฒนาและการแก้ไขปัญหาผลผลิตด้อยคุณภาพ ซึ่งยังคงมีปัญหาอื่นๆ ตามมาอีกหลายเรื่อง ที่จะต้องหาทางแก้ไขกันต่อไป เช่น ปัญหาขาดน้ำ น้ำเค็ม ศัตรูพืชระบาด และการตลาดในอนาคต โดยเฉพาะการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ก็ส่งผลกระทบในวงกว้างต่อตลาดส้มโอเช่นกัน

ประการที่เจ็ด ที่กล่าวมาทั้งหมด เป็นข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาการเกษตรอย่างเป็นระบบ เกษตรจังหวัดไม่มีมาตรการในการบังคับ แต่จะให้เกษตรกรชาวสวนส้มโอทุกราย คิด วิเคราะห์ พิจารณาตัดสินใจด้วยตนเอง หากจะสมัครใจเข้าร่วมโครงการดังกล่าว ก็ให้สมัครได้ที่เกษตรอำเภอปากพนัง เพื่อจะได้รวบรวมรายชื่อ และนัดประชุมรอบต่อไป โดยขอให้ทุกคนร่วมแสดงความคิดเห็นได้เต็มที่

ประการที่แปด เกษตรกรแกนนำ และผู้เข้าร่วมประชุมมีการแสดงความคิดเห็น และเห็นด้วย พร้อมทั้งขอบคุณเกษตรจังหวัด และทีมงานที่ได้ช่วยคิด และสนับสนุนอย่างจริงจัง ในการพัฒนาการเกษตรและแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ โดยมีมติเป็นเอกฉันท์ ให้ดำเนินเรื่องนี้ต่ออย่างเร่งด่วน

ประการที่เก้า เกษตรจังหวัดนครศรีธรรมราช สรุปและบอกกล่าวที่ประชุมว่า จะนำผลการประชุม ในวันนี้เสนอผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช (คุณศิริพัฒ พัฒกุล) เพื่อทราบด้วย เพราะท่านก็เป็นห่วงเป็นใย และให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ตลอดมา

ประการที่สิบ มอบหมายให้เกษตรอำเภอปากพนัง รับสมัครเกษตรกรที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการ พร้อมจัดทำรายละเอียดของเกษตรกรแต่ละราย ส่งให้เกษตรจังหวัด ภายในวันจันทร์ที่ 16 มีนาคม 2563 เพื่อจะได้วางแผนนัดประชุม และดำเนินการในขั้นตอนต่อไป

สินค้าเกษตรดีๆ ผลิตได้ในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง ผลพวงจากการทำโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง อันเนื่องมาจากพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ส่งผลให้เกิดการอยู่ดี กินดี ของเกษตรกรกลุ่มนี้ เป็นพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้น แต่เกษตรกรจะต้องไม่ลืมการรักษาคุณภาพส้มโอทับทิมสยามให้ดีตลอดไป เป็นการรับผิดชอบต่อสังคมและการมีคุณธรรมในการทำมาค้าขายของคนเมืองนี้ ในนาม “นครศรีธรรมราช นครแห่งอารยธรรม”

อำเภอบันนังสตา เป็นอำเภอหนึ่งที่เป็นเส้นทางเชื่อมต่อจากตัวอำเภอเมืองยะลา ตามเส้นทางลงไปสู่อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ใต้สุดแดนสยาม อันเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง แต่แม้อำเภอบันนังสตา จะไม่ได้ถูกจดจำว่ามีการเกษตรชนิดใดโดดเด่นเป็นหลัก แต่เมื่อถึงฤดูที่ทุเรียนให้ผลผลิต ก็มีทุเรียนหมอนทองจำนวนไม่น้อยที่ออกจากพื้นที่นี้ไป

คุณอาลี บือแน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 2 ตำบลตาเนาะปูเต๊ะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา พาเราเข้าพื้นที่ไปดูแปลงทุเรียนหมอนทอง ที่ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านเองการันตีว่า หมู่ที่ 2 เป็นแปลงปลูกทุเรียนหมอนทองแปลงใหญ่ที่สุดของอำเภอบันนังสตา

คุณอาลี บอกว่า เดิมชาวบ้านส่วนใหญ่ปลูกยางพารา มีอาชีพกรีดยางขายเป็นหลัก แต่เมื่อราคายางตกต่ำ ชาวบ้านหลายรายคิดเปลี่ยนอาชีพ ที่มองเห็นช่องทางของรายได้ขณะนั้นคือ การปลูกทุเรียน เพราะไม่มีปีใดที่ทุเรียนราคาถูก ทำให้มีเกษตรกร จำนวน 114 ราย โค่นยางพาราและปลูกทุเรียนหมอนทอง เฉลี่ยมีพื้นที่ปลูกทุเรียนหมอนทอง ประมาณ 5 ไร่ ต่อราย รวมกลุ่มเป็นเกษตรแปลงใหญ่ โดยในจำนวนนี้ มีเกษตรกรคุณภาพ 13 ราย

การรวมกลุ่มเป็นเกษตรแปลงใหญ่ ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ระบุว่า เพราะช่วยให้เกษตรกรสามารถต่อรองราคาผลผลิต มีหน่วยงานเข้ามาส่งเสริมและสนับสนุน ให้ความรู้และคำแนะนำ ซึ่งเกษตรกรยินดีและพึงพอใจมาก

ผลผลิตทุเรียนหมอนทองของกลุ่มเกษตรกรหมู่ที่ 2 จะเก็บเกี่ยวทุเรียนเมื่อความสุก ที่ 80 เปอร์เซ็นต์ เพื่อให้สุกเมื่อถึงมือผู้บริโภคพอดี และได้ทุเรียนที่มีความแก่จัด ไม่ถูกตำหนิว่าเป็นทุเรียนไม่ได้คุณภาพ

ผลผลิตทั้งหมดที่เก็บได้ สมัครเล่นคาสิโน จะนำไปส่งยังตัวจังหวัดยะลาให้กับผู้ค้ารายใหญ่ ซึ่งทุกปีผลผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการ และเท่าที่รู้ ทุเรียนหมอนทองของอำเภอบันนังสตาแห่งนี้ ถูกกระจายไปยังประเทศเพื่อนบ้าน บรรจุลงกล่องส่งไปจำหน่ายที่มาเลเซียเป็นส่วนใหญ่

คุณฮามะ ตรอแซ ชาวบ้านหมู่ที่ 2 ตำบลตาเนาะปูเต๊ะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา ผู้ปลูกทุเรียน 4 สายพันธุ์ ได้แก่ หมอนทอง พวงมณี ชะนี และ ก้านยาว บนพื้นที่ 10 ไร่ ที่ลาดเชิงเขา ให้ข้อมูลว่า เดิมทำสวนยางพารา เมื่อราคายางตกต่ำ จึงโค่นยางพาราทิ้งและลงปลูกทุเรียนทั้ง 4 สายพันธุ์ไว้ เพราะเห็นว่าเป็นสายพันธุ์ที่ตลาดมีความต้องการอย่างต่อเนื่อง โดยซื้อสายพันธุ์ทุเรียนทั้งหมดมาจากจังหวัดสุราษฎร์ธานี

“ที่เลือกปลูกทุเรียน เพราะเป็นที่ลาดเชิงเขา และดินไม่เหมาะกับไม้ผลชนิดอื่น เริ่มจากการทดลองปลูกเพียง 5 ไร่ เมื่อได้ผลผลิตดี ราคาซื้อขายดี จึงขยายพื้นที่เพิ่มขึ้นเป็น 10 ไร่”

คุณฮามะ ปลูกทุเรียนมานานกว่า 30 ปี ถือว่าเป็นเกษตรกรยุคแรกๆ ที่เริ่มโค่นยางและตัดสินใจปลูกทุเรียนเต็มแปลง แม้จะไม่มีความรู้เรื่องการปลูกไม้ผลมาก่อน แต่เพราะมีความสนใจใฝ่รู้ ความรู้เรื่องการดูแลรักษาทุเรียนจึงไม่ใช่เรื่องยากสำหรับคุณฮามะ

เมื่อได้ต้นพันธุ์ทุเรียนมา ควรขุดหลุมปลูกความลึก 1 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางหลุมปลูก 1 เมตร เมื่อนำต้นพันธุ์ลงปลูกให้กลบแล้วพูนโคนรอบต้น ระยะปลูก 10X10 เมตร เหตุที่ต้องมีระยะปลูกมาก เพราะเป็นที่ลาดเชิงเขา ทรงพุ่มของต้นทุเรียนชิดกันมากเกินไปได้ เมื่อระยะปลูกเช่นนี้ ทำให้ปลูกทุเรียนได้จำนวน 20 ต้น ต่อไร่

การให้ปุ๋ย ใช้สูตร 15-15-15 ให้ 3 เดือน ต่อครั้ง ครั้งละกำมือ หรือมากกว่า ให้พิจารณาจากอายุของต้นทุเรียน การให้น้ำ เมื่อทุเรียนเริ่มติดผล ควรให้นาน 10 นาที หากฤดูแล้งควรเพิ่มเวลาให้น้ำเป็น 15-20 นาที ทุกวัน ยกเว้นฤดูฝนที่ไม่จำเป็นต้องรดน้ำ หากไม่แน่ใจให้ดูจากความชื้นของดิน

ผลผลิตแต่ละต้นจะให้จำนวนไม่เท่ากัน หากอายุต้นทุเรียน 15-17 ปี ควรไว้ผลทุเรียนเพียง 50 ผล จึงจะทำให้ผลทุเรียนมีความสมบูรณ์มากเพียงพอ

เมื่อผลผลิตออกจำนวนมาก จำเป็นต้องจ้างแรงงานโยงกิ่ง ปัจจุบัน ค่าจ้างแรงงานโยงกิ่งต่อต้น วันละ 200 บาท

การตัดแต่งกิ่ง จะทำก็ต่อเมื่อ เก็บเกี่ยวผลผลิตหมดเรียบร้อยแล้ว แต่ต้องทำ