และจากการวิจัยถนนยางพาราดินซีเมนต์การทำถนนใช้อุปกรณ์

สามารถทำโดยชุมชน ทำให้เงินหมุนในหมู่บ้านทั้งหมดตามโครงการ หนึ่งหมู่บ้าน หนึ่งถนนยางพารา หนึ่งกิโลเมตร ซึ่งประเทศไทยมีกว่า 72,000 หมู่บ้าน จะทำให้ยางพาราถูกดูดซับออกไปจากท้องตลาดเกิน 50%

“สำหรับถนนยางพาราเป็นโมเดลที่เริ่มต้นเมื่อ 3 ปีก่อน ในทางวิชาการมีคนสอบถามเยอะว่า ใส่ไปแล้วได้อะไร นอกจากช่วยเหลือเกษตรกร ซึ่งจากการวิจัยพบว่า คุณสมบัติเด่นที่สุดคือ ทำให้น้ำไม่ซึม ซึ่งเป็นต้นเหตุที่ทำให้ถนนทรุดและพัง จึงกล้าการันตีว่าถนนจากยางพาราคงทนขึ้นกว่าถนนลาดยางปกติอย่างน้อย 1 เท่า แถมมีอายุการใช้งานเพิ่มขึ้น ดังนั้น ระเบียบที่ออกมาหากยังมีข้อจำกัดก็น่าจะแก้ไขเพื่อช่วยเหลือชาวสวนยาง ปลุกเศรษฐกิจฐานรากที่มีปัญหาให้กระเตื้องขึ้น”

จึงต้องจับตาและรอลุ้นว่า ถนนยางพารา 7.2 หมื่น กม. จะเดินหน้าได้ราบรื่นหรือสะดุดลงกลางคัน จากปมระเบียบกฎหมายกับราคากลางที่ไม่จูงใจ และไม่ได้ช่วยให้ชาวสวนยางอยู่รอดได้

“หากมองในแง่ตลาดของการเลี้ยงม้าในเมืองไทยแล้ว ขณะนี้ต้องถือว่าเฟื่องฟูมาก มีผู้สนใจในวิถีชีวิตความเป็นคาวบอย และหันมาเลี้ยงม้ากันมากขึ้น โดยลักษณะการเลี้ยงมีทั้งเพื่อการใช้ในการขี่ม้าพักผ่อน ม้ากีฬา รวมถึงการบำบัดอาการป่วยต่างๆ หรือที่เรียกว่า อาชาบำบัด เช่น ในกรณีเด็กสมาธิสั้น หรือในกลุ่มผู้สูงอายุที่ใช้เพื่อลดอาการปวดหลัง และการใช้งานเกี่ยวกับการเกษตรต่างๆ”

“ตอนนี้การเลี้ยงม้าในประเทศไทยมีมากขึ้น ทั้งในภาคเหนือ ภาคใต้ การเติบโตของตลาดม้าในวันนี้เป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก อย่างทางภาคใต้ เขตจังหวัดปัตตานี พัทลุง สตูล จะพบว่าม้าในแต่ละสนามมีไม่ต่ำกว่า 200-300 ตัว โดยการเลี้ยงเพื่อใช้งานในหมู่บ้านของตนเอง รวมถึงการใช้แรงงานในด้านการเกษตร”

คุณบุญสิตา รัตนดิลก ณ ภูเก็ต หรือ คุณตุ๊ก เจ้าของลลิตาฟาร์ม บอกกล่าวถึงสถานการณ์การเลี้ยงม้าที่กำลังเกิดขึ้นในประเทศไทย

ลลิตาฟาร์ม เป็นหนึ่งในฟาร์มม้าชั้นแนวหน้าที่เน้นการสอนด้านการขี่ม้าให้กับผู้สนใจ โดยจุดเริ่มต้นเกิดขึ้นจากที่ คุณตุ๊ก และ คุณพิศุทธิ์ ผู้เป็นสามี โดยสองสามีภรรยา มีบุตร 2 คน คือ น้องเบส และ น้องเพชร เริ่มต้นทำฟาร์มม้า และสร้างฟาร์มให้เป็นสถานที่ขี่ม้าจากการที่ลูกๆ ชอบไปขี่ม้าตามสถานที่เรียนขี่ม้าใกล้ๆ ฟาร์ม และลูกๆ อยากมีฟาร์มเป็นของตัวเอง

“เราเริ่มต้นด้วยการซื้อม้ามาเลี้ยง 2 ตัว เพื่อให้ลูกได้ขี่” จากม้าเพียง 2 ตัว ได้ขยายเพิ่มขึ้นมาอย่างต่อเนื่องด้วยการหาม้าสายพันธุ์เข้ามาเลี้ยง จนในวันนี้มีม้าทุกขนาดทั้งม้าเพื่อการขี่และใช้งานอยู่ในฟาร์ม ทั้งพ่อแม่พันธุ์และลูกม้า ประมาณ 100 กว่าตัว

นอกจากนี้ ยังเปิดสอนการขี่ม้าให้กับผู้สนใจ โดยลลิตาฟาร์ม ตั้งอยู่เลขที่ 99/2 หมู่ที่ 6 บ้านซับประดู่ อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี โทร. (036) 227-353, (081) 937-5379 “การบำบัดอาการสมาธิสั้นด้วยการให้เด็กได้ขี่ม้านั้น เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่กำลังได้รับความนิยมและมีผู้ปกครองสนใจส่งลูกๆ มาเรียนการขี่ม้ากันมากขึ้น และที่น่าสนใจอีกประการคือ ในวันนี้หลายพื้นที่เริ่มนำม้าไปใช้งานในการเกษตรก็มีแล้ว อย่างภาคใต้จะนำไปไถที่ดินตามแปลงนาและสวน”

ทั้งนี้ คุณตุ๊ก บอกว่า แต่เดิมนั้นการเลี้ยงม้าจะมีมากในเขตอำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี และอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ด้วยเป็นเมืองที่มีตำนานความเป็นคาวบอย จึงทำให้นิยมเลี้ยงม้ากันมาก

สำหรับการดำเนินธุรกิจของลลิตาฟาร์มในวันนี้ จึงมีทั้งการเปิดการอบรมการเรียนขี่ม้าตั้งแต่ขั้นพื้นฐาน การจัดหาสายพันธุ์ม้าทั้งในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ และการให้บริการผสมพันธุ์ม้าแก่ผู้เลี้ยงโดยทั่วไป

“เรามีพ่อพันธุ์ม้าพันธุ์ดีให้บริการ โดยผสมครั้งหนึ่ง คิดค่าผสม ประมาณ 20,000 บาท”

“ส่วนการมาเรียนรู้เรื่องการขี่ม้านั้น ทางฟาร์มของเรามีครูฝึกขี่ม้าที่ได้รับรางวัลจากการแข่งขันมาหลายสนาม และจะทำหน้าที่ดูแลผู้เรียนทุกท่านอย่างใกล้ชิด เลือกม้าที่ถูกฝึกมาอย่างดี และเสริมความปลอดภัยด้วยอุปกรณ์เซฟตี้สำหรับทุกท่านทั้งที่ขี่เป็นและไม่เคยขี่มาก่อนเลย รวมทั้งสอนการขี่ม้าในขั้นสูงระดับแข่งขันอีกด้วย” คุณตุ๊ก กล่าว

โดยหลักสูตรการสอนขี่ม้าพื้นฐาน จะมีการสอน ดังนี้

1.เทคนิคการบังคับม้า (Dressage)

2.การขี่ม้าอ้อมถัง (Barrel Racing)

3.การขี่ม้ากระโดด (Show Jumping)

4.การขี่ม้าซิกแซ็ก (Zigzag Racing)

5.การขี่ม้ามาราธอน (Endurance)

6.การขี่ม้าชมภูมิประเทศ (Trail)

คุณตุ๊ก กล่าวต่อไปว่า การเรียนขี่ม้าของลลิตาฟาร์ม ส่วนใหญ่ผู้เรียนจะได้ออกเทรลหลังควบคุมม้าได้ และมีพื้นฐานพอ จะเป็นเทรลสั้นๆ รอบๆ ฟาร์ม หรือท่านที่มีชั่วโมงบินมากหน่อยก็เทรลยาวๆ ตามเส้นทางเทรลของฟาร์ม ไม่มีกฎเกณฑ์หรือระยะทางตายตัว ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม โดยดูจากความสามารถของผู้ขี่ รวมทั้งสุขภาพม้าที่ใช้ขี่ด้วย การเรียนการสอนเช่นนี้ทำให้ไม่เครียด อีกทั้งผู้เรียนเกิดความมั่นใจเพิ่มขึ้นและไม่น่าเบื่อหน่าย

ก่อนการออกเทรล ทางฟาร์มจะดูประสบการณ์ของแต่ละคนด้วย คนยังไม่เคยมาขี่ก็ต้องทดลองขี่ในแปลงตีวงก่อน เพื่อดูว่าท่านขี่ม้าได้หรือไม่ ควบคุมม้าได้ไหม เพราะออกนอกฟาร์มย่อมมีความเสี่ยงต่ออันตรายอยู่แล้ว แต่อย่างไรก็ตาม การฝึกม้าออกเทรลได้อย่างปลอดภัย ทางฟาร์มก็จะนำม้าออกฝึกเทรลเป็นประจำเพื่อให้ม้ามีความเคยชินเวลาเจออุปสรรค เช่น ตอไม้ เสียงดัง หลุม และอื่นๆ จะได้ไม่ตื่นตกใจ

ทั้งนี้ คุณตุ๊ก บอกว่า สำหรับผู้สนใจที่จะขี่ม้านั้นสามารถทำได้ในทุกเพศทุกวัย โดยอายุของเด็กที่สามารถขี่ม้าได้อยู่ที่ 3 ปีครึ่ง อายุที่มากสุดสามารถขี่ม้าได้เข้ามาใช้บริการอยู่ที่ 70-80 ปี

ในส่วนของผู้สนใจการเลี้ยงม้า คุณตุ๊ก บอกว่า สามารถเริ่มต้นได้ง่ายๆ เพียงขอให้มีใจรักก่อนแล้วค่อยเรียนรู้ถึงเทคนิคการเลี้ยงม้า ส่วนเรื่องทุนทรัพย์เป็นเพียงส่วนประกอบหนึ่ง

“สำหรับผู้สนใจสามารถมาศึกษาหาความรู้จากฟาร์มของเราได้ โดยจะมีผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำแนะนำถึงเทคนิคการเลี้ยงและการจัดการม้าในช่วงอายุต่างๆ”

“ถ้าสนใจจริง สามารถเริ่มต้นด้วยม้าเพียง 2 ตัว เพราะม้านั้นควรเลี้ยงเป็นคู่ อาจเป็นตัวผู้ 1 ตัว ตัวเมีย 1 ตัว เพื่อจะได้เป็นเพื่อนกัน โดยสายพันธุ์ที่นำมาเลี้ยงนั้น ถ้าทุนยังไม่มาก อาจเริ่มต้นด้วยการเลี้ยงม้าสายพันธุ์ไทย โดยจะมีราคาประมาณตัวละ 100,000-200,000 บาท อีกทั้งเลี้ยงง่าย สามารถกินหญ้าได้ทุกอย่าง”

แต่ในกรณีที่ต้องการเลี้ยงม้าสายพันธุ์ดีจากต่างประเทศ จะมีราคาค่าตัวม้าสูงมากขึ้น

“จริงๆ ราคาม้าจากต่างประเทศตัวหนึ่ง อย่างสายพันธุ์อาระเบียน ประมาณ 1,000,000 บาทขึ้น โดยที่จะหนักคือค่าตู้คอนเทนเนอร์สำหรับขนส่งและค่าขนส่ง เมื่อรวมแล้วม้าตัวหนึ่งจะมีต้นทุนประมาณ 1,000,000 กว่าบาทขึ้น และที่สำคัญการเลี้ยงจะยากกว่าม้าไทย เพราะเมื่อนำเข้ามาแล้วต้องมีการปรับสภาพแวดล้อมทุกอย่าง รวมไปถึงเรื่องอาหาร”

ส่วนสถานที่เลี้ยง คุณตุ๊ก บอกว่า อาจเริ่มต้นด้วยการใช้พื้นที่ว่างในบริเวณบ้านก่อนก็ได้ พื้นที่ประมาณ 1 ไร่ ก็สามารถเลี้ยงได้ โดยมีอาหารเม็ดและหญ้าให้ม้าได้กิน ม้านั้นจะมีลักษณะชอบแทะเล็มหญ้าไปเรื่อยๆ ม้าจะมีการเคี้ยวตลอด 24 ชั่วโมง

“ส่วนการป้องกันโรคก็ทำ ดูแลเช่นเดียวกับการเลี้ยงโคนมที่ต้องมีการทำวัคซีนป้องกันโรคต่างๆ” คุณตุ๊กกล่าว

สำหรับม้าที่ขี่ได้ จะต้องมีอายุประมาณ 3.5 ปีขึ้นไป โดยม้าจะมีอายุอยู่นานกว่า 20 ปี

“ทางลลิตาฟาร์ม พร้อมให้ข้อแนะนำสำหรับผู้สนใจอย่างเต็มที่ เพราะม้าเป็นสัตว์เลี้ยงที่น่าสนใจและเมื่อเลี้ยงแล้วจะรู้สึกผูกพันอย่างมาก” คุณตุ๊ก กล่าวทิ้งท้าย

นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมว.พาณิชย์ กล่าวภายหลังการเป็นประธานร่วมกับ นายศิริ จิระพงษ์พันธ์ รมว. พลังงาน ในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) มาตรการปรับสมดุลน้ำมันปาล์มในประเทศ โดยการใช้น้ำมันปาล์มดิบผลิตกระแสไฟฟ้า ระหว่าง นายวิชัย โภชนกิจ อธิบดีกรมการค้าภายใน และ นายวิบูลย์ ฤกษ์ศิระทัย ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) โดยมี นายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ และ นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน

ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ ห้องบุรฉัตรไชยากร กระทรวงพาณิชย์ ว่า เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาราคาปาล์มน้ำมันตกต่ำ ความเดือดร้อนของเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบ จึงมีมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 20 พ.ย. 2561 เห็นชอบมาตรการปรับสมดุลน้ำมันปาล์มในประเทศโดยการใช้น้ำมันปาล์มดิบผลิตกระแสไฟฟ้า ตามมติคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ โดยให้กระทรวงพลังงาน โดย กฟผ. รับซื้อน้ำมันปาล์มดิบส่วนเกิน จำนวน 160,000 ตัน เพื่อนำไปใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าที่โรงไฟฟ้าบางปะกง หน่วยที่ 3 จังหวัดฉะเชิงเทรา และให้กระทรวงพาณิชย์สนับสนุนการจัดหาน้ำมันปาล์มดิบ ให้แก่ กฟผ.

สำหรับบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในครั้งนี้ กฟผ. เป็นผู้รับซื้อน้ำมันปาล์มดิบ จำนวน 160,000 ตัน ในราคากิโลกรัม (ก.ก.) ละ 18 บาท ส่งที่ท่าเทียบเรือโรงไฟฟ้าบางปะกง ด้วยวิธีจัดซื้อจัดจ้างตามข้อบังคับ ระเบียบ ข้อกำหนด ของ กฟผ. เพื่อนำไปเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้าที่โรงไฟฟ้าบางปะกง

ทั้งนี้ กรมการค้าภายใน เป็นหน่วยงานสนับสนุนการจัดหาน้ำมันปาล์มดิบให้แก่ กฟผ. ตั้งแต่ขั้นตอนการกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีดำเนินมาตรการ รับสมัครผู้ประสงค์เสนอขายน้ำมันปาล์มดิบให้แก่ กฟผ. คัดเลือกและจัดสรรปริมาณขาย เพื่อให้ กฟผ. ทำสัญญาจัดซื้อจัดจ้าง รวมทั้งมอบสำนักงานพาณิชย์จังหวัดและประสานหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องสนับสนุนความช่วยเหลือในระดับพื้นที่ ทั้งนี้ เพื่อให้ราคาผลปาล์มน้ำมันที่เกษตรกรได้รับอยู่ในระดับสูงกว่า 3 บาท ต่อก.ก.

ทั้งนี้ ได้มอบนโยบายให้กรมการค้าภายใน และ กฟผ. ติดตาม ตรวจสอบ กำกับดูแลการดำเนินมาตรการปรับสมดุลน้ำมันปาล์มในประเทศ ให้เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด รวมทั้งให้ปรับกระบวนการจัดหา ราคา สัญญาซื้อขาย ตลอดจนรายละเอียดและหลักเกณฑ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับสถานการณ์ โดยให้คำนึงถึงประโยชน์ของเกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมันเป็นสำคัญ

นายเชิดชัย พรหมแก้ว รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ พร้อมด้วย นางสาวอัจฉริยา จันทรวงศ์ กงสุลฝ่ายการเกษตรประจำสถานกงสุลใหญ่ ณ นครเซี่ยงไฮ้ ร่วมในการประชุมหารือระหว่าง บริษัท Win Chain Supply Management ซึ่งเป็นบริษัทจัดซื้อในเครืออาลีบาบา กรุ๊ป จากประเทศจีน นำโดย Mr.Ray Zhang ผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อและทีมงานเดินทางมาประเทศไทยเพื่อเจรจาการค้ากับสหกรณ์ชาวสวนผลไม้ 12 แห่ง จาก จ.ระยอง จันทบุรี และตราด

ได้แก่ สหกรณ์นิคมชุมแสงจันทร์ จำกัด สหกรณ์นิคมวังไทร จำกัด สหกรณ์การเกษตรบ้านน้ำเป็น จำกัด สหกรณ์การเกษตรทุ่งควายกิน จำกัด สหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธกส. ระยอง จำกัด จ.ระยอง สหกรณ์การเกษตรมะขาม จำกัด สหกรณ์การเกษตรขลุง จำกัด สหกรณ์การเกษตรนายายอาม จำกัด จ.จันทบุรี และสหกรณ์การเกษตรเขาสมิง จำกัด สหกรณ์การเกษตรบ่อไร่ จำกัด สหกรณ์การเกษตรเพื่อการแปรรูปและส่งออกจังหวัดตราด จำกัด และสหกรณ์ส่งเสริมธุรกิจ ภาคเกษตรจังหวัดตราด จำกัด จ.ตราด เพื่อตกลงเงื่อนไขทางการค้าและวางแผนส่งทุเรียนไทยไปจำหน่ายผ่าน ตลาดออนไลน์ในประเทศจีน ภายหลังจากที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้จัดพิธีลงนามข้อตกลงร่วมกันระหว่างตัวแทนสหกรณ์กับ บริษัท Win Chain Supply Management เมื่อวันที่ 11 ก.ค. 2561 ที่ผ่านมา

ทั้งนี้ ตัวแทนของอาลีบาบาได้แจ้งความประสงค์ที่จะทำธุรกิจซื้อขายทุเรียนกับสหกรณ์โดยตรง คาดว่าสหกรณ์ จะรวบรวมผลผลิตในฤดูกาลปีหน้าและส่งทุเรียนให้กับอาลีบาบา กรุ๊ป ได้ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2562 โดยทางจีนจะทดลองสั่งซื้อรอบแรก 1 ตู้คอนเทนเนอร์ ปริมาณ 20 ตัน ซึ่งก่อนการซื้อขาย ตัวแทนของทั้งสองฝ่ายจะเจรจาในรายละเอียดเรื่องราคา ปริมาณทุเรียนและระยะเวลาในการส่งมอบสินค้ากันอีกครั้งหนึ่ง โดยในระยะแรกของการซื้อขายทุเรียนระหว่างสหกรณ์ภาคตะวันออกกับ บริษัท Win Chain Supply Management

ต้องสร้างความน่าเชื่อถือและไว้วางใจระหว่างกัน ทางอาลีบาบากรุ๊ป จึงได้แต่งตั้ง บริษัท KAF ซึ่งเป็นบริษัทที่มีประสบการณ์ด้านการส่งออกผลไม้ไปประเทศจีนและมีโรงคัดคุณภาพตั้งอยู่ใน จ.จันทบุรี เป็นจุดรวบรวมทุเรียนจากสหกรณ์ในภาคตะวันออก และคัดแยกคุณภาพให้ได้มาตรฐานที่กำหนด ซึ่งทุเรียนที่จะส่งไปตลาดประเทศจีนจะต้องมีปริมาณการสุกอยู่ที่ 80% และแบ่งเกรดเป็นระดับ A B C ซึ่งทุเรียน เกรด A ต้องมีขนาด 4 พู น้ำหนัก 4-6 ก.ก./ลูก เกรด B ขนาดไม่ถึง 4 พู แต่ไม่ต่ำกว่า 3 พู น้ำหนัก 2-6 ก.ก./ลูก และเกรด C ขนาดไม่ถึง 3 พู น้ำหนัก 2-6 ก.ก./ลูก

“การตกลงทางการค้าร่วมกันระหว่างสหกรณ์กับอาลีบาบา กรุ๊ป คาดว่าจะได้ประโยชน์ร่วมกันทั้งสองฝ่าย ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ต้องการเชื่อมโยงให้สหกรณ์ชาวสวนผลไม้ทำธุรกิจส่งออกผลไม้ให้กับทางอาลีบาบา กรุ๊ป เพื่อส่งเสริมให้สหกรณ์มีบทบาทในการส่งออกผลไม้ไปยังประเทศจีนเพิ่มขึ้นและมีตลาดที่ยั่งยืนในอนาคต และส่งผลต่อการยกระดับราคาผลผลิตให้กับสมาชิก สิ่งสำคัญคือ เกษตรกรควรหันมาให้ความสำคัญในการผลิตทุเรียนที่มีคุณภาพและผ่านการรับรองตามมาตรฐาน GAP ของกรมวิชาการเกษตร ซึ่งจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับคู่ค้า ซึ่งสหกรณ์ในภาคตะวันออกส่วนใหญ่จะเน้นส่งเสริมสมาชิกรวมกลุ่มกันเพื่อผลิตผลไม้คุณภาพตามมาตรฐาน GAP อย่างต่อเนื่อง และคาดว่าในฤดูกาลปี 2562 ทุเรียนในภาคตะวันออกจะมีปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 20%” รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ กล่าว

ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม รัฐบาลมีนโยบายขับเคลื่อนประเทศไปสู่ดิจิทัลไทยแลนด์ โดยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทสำคัญเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี โดยกระทรวงดิจิทัลฯ ได้มอบหมายให้ บมจ. ทีโอที ดำเนินการขยายโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง “โครงการเน็ตประชารัฐ” ครอบคลุม 24,700 หมู่บ้าน ทั่วประเทศ ซึ่งได้แล้วเสร็จตามเป้าหมายเมื่อเดือนธันวาคม 2560 ประกอบด้วยการติดตั้งโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่ระดับความเร็วไม่ต่ำกว่า 30 Mbps/10 Mbps และจัดจุดให้บริการ WiFi โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย อย่างน้อยหมู่บ้านละ 1 จุด ที่ระดับความเร็วไม่ต่ำกว่า 30 Mbps/10 Mbps โดยตลอดปี 2561 กระทรวงได้ส่งเสริมสร้างการรับรู้การใช้ประโยชน์โครงข่ายเน็ตประชารัฐผ่านกิจกรรมต่างๆ แก่ประชาชนในพื้นที่โครงการครบทุกหมู่บ้านมากกว่า 1 ล้านคน ซึ่งปัจจุบันมีผู้ลงทะเบียนและใช้งานบริการ WiFi จากโครงข่ายเน็ตประชารัฐ แล้วกว่า 5 ล้านคน

นอกจากนี้ กระทรวงยังได้ผลักดัน “เครือข่ายเน็ตอาสาประชารัฐ” พัฒนาสร้างบุคลากรในพื้นที่และผู้สนใจทั่วไปร่วมเป็นตัวแทนอาสาสมัครจากหมู่บ้านในพื้นที่โครงการเน็ตประชารัฐ หมู่บ้านละ 1 คน เพื่อทำหน้าที่นำดิจิทัลไปพัฒนาและขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงหมู่บ้านเน็ตประชารัฐทั้ง 24,700 หมู่บ้าน ซึ่งการพัฒนาเครือข่ายเน็ตอาสาประชารัฐจะมีการอบรมให้กับอาสาสมัครทั่วประเทศ 77 ครั้ง ระหว่างพฤศจิกายน 2561 ถึงกุมภาพันธ์ 2562 โดยหัวใจสำคัญของ “เครือข่ายเน็ตอาสาประชารัฐ” คือการแลกเปลี่ยนและสร้างเครือข่ายการพัฒนาดิจิทัลในระดับหมู่บ้าน สร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกัน การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความร่วมมือ หรือศึกษาดูงานระหว่างกัน เพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้ประโยชน์จากโครงข่ายเน็ตประชารัฐ โดยกระทรวงได้พัฒนาแอปพลิเคชั่น “เครือข่าย เน็ตอาสาประชารัฐ”

เพื่อเป็นเครื่องมือสนับสนุนการทำงานของเครือข่ายในการสื่อสาร การแจ้งปัญหา การแจ้งข่าวสารกิจกรรมเพื่อถ่ายทอดให้กับประชาชนในหมู่บ้าน อาทิ วิธีการหาข้อมูลข่าวสารบนอินเทอร์เน็ต การขายของออนไลน์ การพยากรณ์อากาศ การเกษตร การดูแลสุขภาพ เป็นช่องทางในการแจ้งความต้องการของพื้นที่ การแจ้งเหตุข้อขัดข้องได้ทันทีโดยไม่ต้องยกหูโทรศัพท์ ใช้ติดต่อสื่อสารกับเครือข่ายในพื้นที่อื่นที่เกี่ยวข้องที่สะดวก และสื่อสารรับส่งข้อมูลระหว่างกระทรวง หน่วยงานรัฐ โดยเครือข่ายเน็ตอาสาประชารัฐจะเป็น Big data ของชุมชน

และใช้เป็นช่องทางในการเข้าถึงองค์ความรู้ การเรียนรู้ออนไลน์จากสถาบันการศึกษาต่างๆ รวมถึงเป็นช่องทางในการประชาสัมพันธ์กิจกรรมของหมู่บ้าน ของดี สินค้า เรื่องเล่า สถานที่ท่องเที่ยวผ่านแอปพลิเคชั่น โดยเชื่อมโยงกับเว็บไซต์ netpracharat.com ซึ่งจะผลักดันการเปลี่ยนแปลง สร้างจุดแข็ง โอกาส เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคมให้กับหมู่บ้านเน็ตประชารัฐทั้ง 24,700 หมู่บ้าน ส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็ง นำไปสู่ความสำเร็จสร้างความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนให้กับประเทศ

สำหรับในโอกาสเทศกาลปีใหม่ กระทรวงมอบของขวัญปีใหม่ให้ประชาชนในโครงการเน็ตประชารัฐ โดยลูกค้าใหม่เมื่อสมัครใช้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ของ บมจ.ทีโอที ในพื้นที่โครงข่ายเน็ตประชารัฐ แพ็กเกจ “เน็ตได้ใจ” และแพ็กเกจ “SMEs แรงอย่างใจ ไทยแลนด์ 4.0” ระหว่าง วันที่ 15 ธ.ค. 61 ถึง 15 ม.ค. 62 รับสิทธิพิเศษใช้งานอินเทอร์เน็ตฟรี 3 รอบบิลแรก ที่สมัครใช้บริการ (ไม่รวมแพ็กเกจที่ Bundle บริการ และ Top Up)

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานประดิษฐ์คิดค้น เรื่อง “การพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจากเส้นใยกล้วยเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม” ณ อำเภอปัว และอำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน เพื่อเผยแพร่ผลงานและกิจกรรมไปสู่การสร้างรายได้ที่ยั่งยืน

ศาสตราจารย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เปิดเผยว่า ในปีงบประมาณ 2560 วช. ได้สนับสนุนการทำกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยโครงการ “Research for Community วิจัยเพื่อชุมชนสังคม” เป็นโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจากเส้นใยกล้วยเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และกลยุทธ์การจัดการผลิตภัณฑ์ในจังหวัดภาคเหนือ แก่ รองศาสตราจารย์อเนก ชิตเกษร และ รองศาสตราจารย์พรรณนุช ชัยปินชนะ และคณะ แห่งมหาวิทยาลัยพายัพ

เพื่อถ่ายทอดกระบวนการผลิตผ้าทอจากเส้นใยกล้วยย้อมสีธรรมชาติด้วยกี่กระทบ และการแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่า รวมถึงการกระตุ้นให้ชุมชนเห็นคุณค่าของการใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้าน โดยคณะนักวิจัยได้ทำการศึกษาวิจัยกระบวนการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจากเส้นใยกล้วย และได้ปรับปรุงวัสดุอุปกรณ์ให้มีความเหมาะสมตามบริบทของพื้นที่ในจังหวัดลำพูน พะเยา แพร่ น่าน และกำแพงเพชร เช่น การใช้เส้นฝ้ายเป็นเส้นยืน และใช้เส้นใยกล้วยเป็นเส้นพุ่ง ซึ่งสามารถใช้ต้นกล้วยได้ทุกชนิด โดยต้นกล้วยน้ำว้ามีความเหนียวมากที่สุด

สำหรับการย้อมสีจะใช้วัสดุย้อมสีจากธรรมชาติในท้องถิ่น ได้แก่ ใบตะเคียนหนู (ใบเหว) คำแสด (คำเงาะ) เปลือกประดู่ กระเจี๊ยบแดง ต้นขนุน และใบมะม่วง และสร้างลวดลายในการทอจากการสอดเส้นใยกล้วย และการสร้างลวดลายที่แตกต่างจากการทอผ้า เพื่อสร้างลวดลายใหม่ๆ ได้ตามความต้องการ

รองศาสตราจารย์อเนก ชิตเกษร หัวหน้าโครงการวิจัย กล่าวว่า ผลจากการวิจัยได้การพัฒนาผลิตภัณฑ์ซึ่งก่อให้เกิดรายได้และชุมชนสามารถนำวัสดุหรือวัตถุดิบที่มีในท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ และใช้สีย้อมจากธรรมชาติ โดยพัฒนาการยกระดับผลิตภัณฑ์ในรูปแบบต่างๆ เช่น กระเป๋าถือสุภาพสตรี หลากหลายขนาด นอกจากนี้ ยังได้นำองค์ความรู้จากการทอผ้าใยกล้วยย้อมสีธรรมชาติ และการจัดการสำหรับวิสาหกิจ (SME) และกลุ่มทอผ้าที่เข้าร่วมโครงการสามารถกำหนดกลยุทธ์การจัดการผลิตภัณฑ์ การคำนวณต้นทุน และการกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดที่มีประสิทธิภาพ สามารถนำเสนอสินค้าไปยังกลุ่มเป้าหมาย และสร้างรายได้ให้แก่กลุ่มชุมชน เช่น กลุ่มแพวทอผ้าฝ้าย อำเภอปัว กลุ่มทอผ้าบ้านหล่าย อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน เป็นต้น

พร้อมทั้งมีการจัดทำคู่มือเพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจ และเผยแพร่วิดีโอขั้นตอนการย้อมสีธรรมชาติผ่านเว็บไซต์ http://bananatextile.com/index.php ทำให้ชุมชนมีเศรษฐกิจที่ดีขึ้น และชุมชนมีโอกาสได้รับคัดเลือกเป็นแหล่งท่องเที่ยวต้นแบบ ส่งเสริมรายได้และเศรษฐกิจในชุมชนให้มีมากขึ้น เป็นการสร้างรายได้และโอกาสทางการตลาดและช่องทางในการจัดจำหน่ายให้กับผู้บริโภคทั้งในและนอกชุมชน

นางอัญชนา ตราโช รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า สศก. ในฐานะผู้แทนการเจรจาของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เข้าร่วมการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 24 (COP 24) ระหว่างวันที่ 2-8 ธันวาคม 2561 ณ เมืองคาโตวีเซ สาธารณรัฐโปแลนด์ โดยที่ประชุมได้หารือร่วมกันในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับภาคเกษตร (Issues Related to Agriculture) และแนวทางการดำเนินงานเรื่อง “แผนปรับตัวแห่งชาติ” (National Adaptation Plan) ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ