และที่สำคัญยังมีมาตรการด้านความร่วมมือระหว่างภาครัฐ

และภาคเอกชน ซึ่งได้มีการตกลงร่วมกันกับบริษัทผู้ส่งออกยางรายใหญ่ของไทยทั้ง 5 ราย ร่วมการจัดตั้งกองทุนรักษาเสถียรภาพราคายาง ในเงินกองทุนนี้ จะเข้าไปรักษาระดับราคาให้มีการปรับตัวสู่ดุลยภาพที่สูงขึ้นซึ่งคาดว่ามาตรการเหล่านี้มีการผลักดันให้เกิดการแก้ปัญหาได้เร็วขึ้น ในตลาดทั้งสองตลาด ก็คือตลาดของการซื้อขายล่วงหน้า และตลาดซื้อขายจริง” ผู้ว่าการ กยท. กล่าวทิ้งท้าย

“หลักสำคัญว่าต้องมีน้ำบริโภค น้ำใช้ น้ำเพื่อการเพาะปลูก เพราะว่าชีวิตอยู่ที่นั่น ถ้ามีน้ำคนอยู่ได้ ถ้าไม่มีน้ำ คนอยู่ไม่ได้ ไม่มีไฟฟ้าคนอยู่ได้ แต่ถ้ามีไฟฟ้าไม่มีน้ำคนอยู่ไม่ได้” พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวง รัชกาลที่ 9 ณ สวนจิตรลดา เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2529

จากการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมเยียนพสกนิกรนับตั้งแต่ทรงขึ้นครองราชย์ ได้ทอดพระเนตรเห็นว่า น้ำเป็นปัญหาที่รุนแรงและสำคัญที่สุด ไม่มีน้ำก็ทำการเกษตรไม่ได้หรือทำก็ขาดทุน เกษตรกรอยู่ไม่ได้ต้องอพยพเข้าเมืองเพื่อหางานทำ แต่เมื่อมีน้ำผลผลิตก็เพิ่มขึ้น คุณภาพก็ดีขึ้น การจัดการทรัพยากรน้ำและการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเพาะปลูกและอุปโภคบริโภคจึงเป็นงานที่สำคัญยิ่ง

พล.อ.ท. ณัฐพงษ์ วิริยะคุปต์ เจ้ากรมกิจการพลเรือนทหารอากาศ กล่าวว่า เพื่อเป็นการแสดงความจงรักภักดี เชิดชูพระเกียรติคุณที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ์บดินทรเทพยวรางกูรทรงมีต่อพระบรมราชชนก น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ได้พระราชทานแนวทางการพัฒนาผ่านโครงการตามแนวพระราชดำริต่างๆ รวมถึงหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กองทัพอากาศจึงได้จัดงาน “กองทัพอากาศกับศาสตร์พระราชา” ขึ้น เพื่อแสดงผลงานนิทรรศการปฏิบัติภารกิจของกองทัพอากาศ

ที่น้อมนำศาสตร์พระราชามาเป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำ เริ่มตั้งแต่การโปรยสารฝนหลวงจากเครื่องบินกองทัพอากาศ เพื่อให้ตกลงในพื้นที่ป่าต้นน้ำ รวมทั้งนอกเขตชลประทาน จากนั้นก็เป็นการสร้างฝายบนดอยสูงเพื่อเก็บกักน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง คืนความอุดมสมบูรณ์ให้กับผืนป่าต้นน้ำ น้ำที่อยู่ในระบบชลประทาน คลอง หนอง บึง ก็มีน้ำมันไบโอดีเซล พลังงานทดแทนที่ผลิตจากน้ำมันพืชใช้แล้ว สูบน้ำเข้าสู่ไร่นาของราษฎรและในฤดูแล้งที่น้ำตามแหล่งเก็บกักต่างๆ เหือดแห้งลง “…ไม่มีน้ำ คนอยู่ไม่ได้…” กองทัพอากาศจึงได้หาวิธีที่จะนำน้ำของพระราชาที่ซึมลงไปอยู่ใต้ดินขึ้นมาใช้ โดยใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์เป็นกำลังหลักในการสูบน้ำขึ้นมาใช้ เพื่อให้เกษตรกรมีน้ำใช้อย่างพอเพียง ภายใต้ชื่อโครงการเทพประทานธารา

“ถ้ามีน้ำ คนอยู่ได้…” มีน้ำก็ทำการเกษตรได้ เมื่อมีผลผลิตก็มีรายได้ นอกเหนือไปจากภารกิจที่กล่าวไปแล้ว กองทัพอากาศยังได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ไปเผยแพร่เป็นแนวทางการดำเนินชีวิตให้กับกำลังพล ได้พัฒนาพื้นที่ว่างเปล่าในเขตกองทัพอากาศให้เป็นแปลงเกษตรพอเพียง ที่ข้าราชการและครอบครัวได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เกิดคุณค่าทางเศรษฐกิจขึ้น

ในขณะเดียวกัน ในภารกิจที่กองทัพอากาศออกช่วยเหลือประชาชน ยังได้นำปราชญ์ชาวบ้านในสาขาต่างๆ ไปถ่ายทอดความรู้ให้กับกลุ่มเป้าหมายตามความจำเป็นและสอดคล้องกับสภาพปัญหา เพื่อที่จะให้ราษฎรเหล่านั้นพึ่งพาตนเองได้ และยังมีการนำปัจจัยการผลิตที่สำคัญไปมอบให้อีกด้วย ซึ่งกองทัพอากาศถือว่าเป็นภารกิจสำคัญที่จะต้องเข้าไปสนับสนุนและช่วยเหลือประชาชนให้เกิดความกินดีอยู่ดี ในวิถีพอเพียง

ในโอกาสนี้ กองทัพอากาศจึงได้รวบรวมผลงานการนำศาสตร์พระราชาไปใช้ในหน่วยงานของกองทัพอากาศและสนับสนุนเกษตรกรเครือข่ายชุมชนจนประสบความสำเร็จ มาจัดแสดงในงาน “กองทัพอากาศกับศาสตร์พระราชา” ซึ่งจะจัดขึ้น ในวันที่ 27 กรกฎาคม-6 สิงหาคม 2560 ณ สนามกีฬากองทัพอากาศ (ธูปะเตมีย์) ตั้งแต่เวลา 10.00-20.00 น. ภายในงานจัดให้มีกิจกรรมที่น่าสนใจมากมาย ดังนี้

นิทรรศการเทิดพระเกียรติ ในหลวง รัชกาลที่ 9 ที่ร้อยเรียงเรื่องราวการน้อมนำศาสตร์พระราชาในกองทัพอากาศ อาทิ นิทรรศการฝนหลวง การรีไซเคิลน้ำมันที่ใช้แล้วเป็นพลังงานไบโอดีเซล การปรับใช้พลังงานแสงอาทิตย์ภายใต้โครงการเทพประทานธารา และการส่งเสริมเกษตรกรเครือข่ายให้ประสบความสำเร็จด้วยศาสตร์พระราชา

ผลงานการน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในหน่วยงานของกองทัพอากาศ เช่น ตามกองบินต่างๆ โรงเรียนนายเรืออากาศ จนสามารถสร้างงานสร้างรายได้ให้กับผู้ใต้บังคับบัญชา การแสดงผลงานเกษตรกรเครือข่ายที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทัพอากาศจนประสบความสำเร็จ เกิดความกินดีอยู่ดี แก้ปัญหาหนี้สินในครัวเรือนและเป็นแบบอย่างของการทำเกษตรแบบยั่งยืน การถ่ายทอดความรู้ศาสตร์พระราชาจากปราชญ์ชาวบ้านที่เดินตามรอย ในหลวง รัชกาลที่ 9 กิจกรรมการออกร้านจำหน่ายสินค้ากลุ่มแม่บ้านทหารอากาศ การออกร้านจำหน่ายสินค้าเกษตรต่างๆ จากทั่วประเทศไทย เช่น พันธุ์ไม้นานาชนิด อุปกรณ์การเกษตร แวะชิมอาหารปลอดสารพิษจากเครือข่ายเกษตรทุกภูมิภาคการฝึกอบรมอาชีพฟรีให้กับผู้ที่สนใจ อาทิ หมูสะเต๊ะสูตรลับทหารอากาศ พร้อมเรียนรู้สูตรลับชากาแฟ 8 สูตร ฝึกอาชีพทำปาท่องโก๋ น้ำเต้าหู้ และเรียนรู้การทำตลาดสินค้าออนไลน์ พบกับวิถีเกษตรคนเมือง เช่น การปลูกและการขยายพันธุ์พืชแบบง่ายๆ การสอนแปรรูปสินค้าเกษตรแบบครัวเรือน โดยทีมวิทยากรจากมูลนิธิเกษตรพอเพียงและเครือข่าย เพลิดเพลินกับการแสดงดนตรีจากวงดุริยางค์กองทัพอากาศ และศิลปินชื่อดังทุกวัน ลุ้นรับโชครางวัลใหญ่ จากกิจกรรมสอยดาวเกษตรและรางวัลอื่นๆ อีกมากมาย

กรมอุตุนิยมวิทยารายงานสภาพอากาศ ประจำวันที่ 30 มิถุนายน 2560 ดังนี้
ลักษณะอากาศทั่วไป พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนักและฝนที่ตกสะสมไว้ด้วย

สำหรับทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันตอนบนเดินเรือด้วยความระมัดระวัง ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามันตอนบนและประเทศไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำยังคงปกคลุมประเทศเวียดนามตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางแห่งเกิดขึ้นในระยะนี้ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังปานกลาง

พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทยตั้งแต่เวลา 06:00 วันนี้ ถึง 06:00 วันพรุ่งนี้.
ภาคเหนือ มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน สุโขทัย อุตรดิตถ์ และพิษณุโลก
อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู ชัยภูมิ และขอนแก่น อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

ภาคกลาง มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ บริเวณจังหวัดกาญจนบุรี สุพรรณบุรี อุทัยธานี ชัยนาท นครสวรรค์ ลพบุรี และสระบุรี อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

ภาคตะวันออก มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ บริเวณจังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่
ส่วนมากบริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร
สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม/ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ บริเวณจังหวัดระนอง พังงา และภูเก็ต อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส
ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตขึ้นมา: ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดกระบี่ลงไป: ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 6 เผยผลสำรวจบัญชีสมดุลสินค้ายางพาราจังหวัดจันทบุรี ระบุ เกษตรกร ส่วนใหญ่ผลิตยางก้อนถ้วย เพราะประหยัดเวลาและสะดวกในการทำ คาด ปี 2560 ปริมาณผลผลิตยางพาราในจังหวัดผลิตได้ 129,422 ตัน และนำเข้าจากนอกจังหวัดและนอกภูมิภาค 12,545 ตัน

นายคมสัน จำรูญพงษ์ รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงผลการศึกษาบัญชีสมดุลสินค้ายางพาราของจังหวัดจันทบุรี โดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 6 จังหวัดชลบุรี (สศท.6) ได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลบัญชีสมดุลยางพาราในจังหวัด พบว่า ปัจจุบันเกษตรกรจันทบุรีส่วนใหญ่ผลิต ยางก้อนถ้วยร้อยละ 88.25 เพราะประหยัดเวลาและสะดวกในการทำ รองลงมา คือ ทำยางแผ่นดิบ ร้อยละ 9.72 ซึ่งส่วนใหญ่มาจากสวนยางพาราที่มีขนาดกลางถึงขนาดใหญ่และมีลูกจ้างประจำสวนหรือแรงงานต่างชาติที่สามารถมีเวลาทำงานตามข้อตกลงของเจ้าของสวน และขายแบบน้ำยางสด ร้อยละ 2.03 เนื่องจากเป็นผลผลิตที่ต้องทำให้ทันเวลา

ด้านวิถีการตลาดผลผลิตยางพาราของจังหวัดจันทบุรี พบว่า ขายผ่านพ่อค้ารวบรวมในพื้นที่จันทบุรี ร้อยละ 91 โดยแบ่งกระจายต่อให้โรงงานแปรรูปยางพาราในจันทบุรี ร้อยละ 46.03 และกระจายไปให้โรงงานแปรรูปยางพารานอกจันทบุรี ร้อยละ 44.97 ส่วนที่เหลือขายผ่านชุมนุมสหกรณ์ กยท. จันทบุรี และการขายตรงจากสวนเกษตรกรไปสู่โรงงานแปรรูปยางพาราในจังหวัดจันทบุรี

นายสุชัย กิตตินันทะศิลป์ ผู้อำนวยการ สศท.6 กล่าวเพิ่มเติมถึงผลการสำรวจ ด้านอุปทาน (Supply) ซึ่งคาดว่า ปี 2560 ปริมาณผลผลิตยางพาราที่จังหวัดจันทบุรีผลิตได้ 129,422 ตัน และนำเข้าผลผลิตยางพาราจากนอกจังหวัดและนอกภูมิภาค 12,545 ตัน คิดเป็นร้อยละ 9.69 ของผลผลิตยางพาราที่จังหวัดจันทบุรี โดยเกิดจากความต้องการใช้ของโรงงานแปรรูปและการบริหารสินค้าคงคลัง และเป็นราคาที่โรงงานแปรรูปยางพาราในจังหวัดจันทบุรีสามารถรับต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นได้หรือบางครั้งอาจจะราคาเท่ากับราคาผลผลิตในจังหวัด เพราะซื้อในปริมาณที่มากและเป็นการประมูลราคา ทำให้อุปทานยางพารารวมเท่ากับ 141,967 ตัน

ในขณะที่อุปสงค์ (Demand) พบว่า จากความต้องการของโรงงานแปรรูปยางพาราในจังหวัดจันทบุรี มีกำลังการผลิตและปริมาณสินค้าคงคลังรวมปีละ 63,814 ตัน และมีการส่งออกผลผลิตไปนอกจังหวัดจันทบุรีปีละประมาณ 51,388 ตัน โดยส่วนใหญ่พ่อค้าที่รวบรวมในจังหวัดจันทบุรีที่ได้รับโควต้าจากโรงงานแปรรูปนอกจังหวัดจันทบุรี รองลงมาเป็นชุมนุมสหกรณ์ที่ส่งออกผลผลิตไปนอกจังหวัดจันทบุรี เนื่องจากจังหวัดใกล้เคียงมีโรงงานแปรรูปยางพาราจำนวนมากมีกำลังการผลิตมากเพื่อส่งออกไปต่างประเทศจึงรองรับผลผลิตยางพาราของจังหวัดจันทบุรีได้ ทำให้อุปสงค์ยางพารารวมเท่ากับ 115,202 ตัน

ทั้งนี้ สิ่งสำคัญคือ ภาครัฐ เกษตรกร และผู้ประกอบการอุตสาหกรรมยางพารา ระดับประเทศ ต้องร่วมกันวางแผนการผลิตยางพารา ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ป้องกันปัญหาผลผลิตยางพารา เกินความต้องการของตลาดในประเทศ ท่านที่สนใจข้อมูลผลการสำรวจ สามารถขอทราบรายละเอียดเพิ่มเติมและคำแนะนำได้ที่สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 6 โทร. 038 351 261 หรือ

เมื่อเวลา 10.00น นายพงษ์พัฒน์ ขัตพันธ์ ปศุสัตว์จังหวัดพะเยา เปิดเผยว่าได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์อำเภอในพื้นที่พะเยาทุกอำเภอรวม 9 อำเภอ และให้เจ้าหน้าที่ลงสำรวจข้อมูลผู้ดูแลเจ้าของสุนัข ล่าสุดพบหมาที่มีเจ้าของ 47.000 ตัว และหมาไม่มีเจ้าของหรือหมาจรจัดกว่า 3.000 ตัว รวมทั้งจังหวัดไม่น้อยกว่า 50.000 ตัว และตามข้อมูลทางลังที่น่าเป็นห่วงและตกใจก็คือ พบหมาที่เจ้าของเคยเลี้ยงแล้วเบื่อ นำไปปล่อยทิ้งในสถานที่ต่างๆ เช่นโรงเรียน-ที่สาธารณะ และที่เป็นปัญหาในขณะนี้ก็คือ เจ้าของนำสุนัขไปปล่อยทิ้งไว้ที่ วัดพระธาตุจอมทอง เทศบาลเมืองพะเยา

นายพงษ์พัฒน์กล่าวอีกว่า ปศุสัตว์แต่ละอำเภอสามารถทำหมันสุนัขจรจัดกว่า 850 ตัว ทำให้จำนวนประชากรสุนัขลดลงตามลำดับ และที่น่าปลาบปลื้มใจอย่างมากของปศุสัตว์จังหวัด กรมปศุสัตว์ที่ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์อัครราชกุมารี ทรงมีพระปณิธานว่าควรจะมีการจัดตั้ง ศูนย์พักพิงสนุขจรจัดในพื้นที่ทุกจังหวัดทั่วประเทศ และในส่วนที่อยู่ในความรับผิดชอบพื้นที่พะเยา 68 ตำบล 9 อำเภอ อยู่ระหว่างการเตรียมแผนงานการตั้งศูนย์ดังกล่าว ถ้าเป็นรุปธรรมจะมอบหมายให้ หน่วยงานส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดูแลศูนย์นี้ สุนัขจรจัด ในรูปแบบตามจับ,ดักจับแล้วนำมาไว้ที่ศูนย์พักพิงสุนัขจรจัด ตามแนวปณิธานของฟ้าหญิงองค์เล็ก สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี

หากว่าเจ้าของสุนัขนำไปฝากไว้ที่ศูนย์ฯ หรือนำไปปล่อยทิ้งจะต้องเสียค่าใช้จ่ายให้กับทางศูนย์ฯ หากไม่ได้รับความร่วมมือทางเทศบาลแต่ละพื้นที่สามารถออกเทศบัญญัติหรือกฎหมาย ในการลงโทษเอาผิดกับเจ้าของสุนัข,หมาได้ตามความเหมาะสมตามความผิด

เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน ที่บริเวณจุดสูงสุดยอดภูทับเบิก ต.วังบาล อ.หล่มเก่า จ.เพชรบูรณ์ นายวันชัย ชยาภิรมณ์ และนายใจ แซ่เถา สองผู้ใหญ่บ้านทับเบิก นำชาวบ้านในพื้นที่บ้านทับเบิก และบ้านดอยน้ำเพียงดิน ตลอดจนนักเรียนในพื้นที่กว่า 300 คน ร่วมกันทำพิธีปลูกป่าต้นไม้ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช สำหรับบริเวณที่ทำการปลูกต้นไม้ครั้งนี้ ถือเป็นส่วนหนึ่งในผืนป่าชุมชน ของบ้านทับเบิก ที่ชาวบ้านได้ร่วมกันเขตไว้ เพื่อให้เป็นแหล่งอาหาร และแหล่งใช้สอย และพื้นที่ทำประโยชน์ของชาวบ้าน ที่ผ่านมาพื้นที่ส่วนหนึ่งมีผู้บุกรุกหาผลประโยชน์จนกลายเป็นเขาหัวโล้น นำมาด้วยการเกิดปัญหาน้ำท่วม โคลนถล่ม สร้างความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน

นายวันชัยกล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีความห่วงใยและมีพระราชดำรัสให้อนุรักษ์ผืนป่า โดยชี้ให้เห็นว่า ป่าไม้ คือที่สะสมน้ำไว้ในดิน ต้นไม้จะคอยดูดน้ำและกักเก็บน้ำให้ไหลออกมาเป็นลำธาร หากไม่มีป่าไม้จะเกิดปัญหาทางธรรมชาติมากมาย ดังนั้น การปลูกป่าครั้งนี้ จึงน้อมเกล้าฯ ถวายและสนองพระราชดำรัสของพระองค์ ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมและสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมฟื้นฟูสภาพป่าให้มีความอุดมสมบูรณ์ ตลอดจนการเพิ่มความเขียวขจีให้กับผืนป่า

“นอกจากนี้ยังเป็นการปลูกจิตสำนึกให้ภาครัฐ เอกชน และนักเรียนนักศึกษา มีความหวงแหนในทรัพยากรป่าไม้ โดยการปลูกป่าครั้งนี้ ชาวบ้านได้ตั้งใจปลูกจำนวน 99,999 ต้น ในพื้นที่ป่าชุมชนและตลอดสองข้างทางจากบ้านทับเบิกถึงบ้านดอยน้ำเพียงดิน รวมระยะทางราว 10 กิโลเมตร” นายวันชัยกล่าว

นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รมว.พาณิชย์ เปิดเผยถึงสถานการณ์ ข้าวไทยในตลาดโลกว่า ตั้งแต่ 1 มกราคม – 27 มิถุนายน 2560 ส่งออกได้แล้วปริมาณ 5.9 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 20% มูลค่าเงินบาท 87,787 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 14% และเงินเหรียญสหรัฐ 2,535 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 16% ประเมินว่าปีนี้ยอดส่งออกข้าวทั้งปีจะทำได้เกินเป้าที่ตั้งไว้ที่ 10 ล้านตัน และมีแนวโน้มที่จะทำสถิติการส่งออกข้าวใหม่ อาจจะ ส่งออกได้สูงถึง 11 ล้านตัน

“ขณะนี้ตลาดข้าวไทยเป็นขาขึ้นชัดเจน ไม่ใช่ดีขึ้นแค่ยอดการ ส่งออก แต่ราคาส่งออกก็ปรับตัวดีขึ้นกว่าปีที่แล้ว ราคาส่งออกข้าวขาว 5% อยู่ที่ตันละ 458 เหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากตันละ 440 เหรียญ ข้าวนึ่งตันละ 476 เหรียญ จาก 460 เหรียญ และข้าวหอมมะลิตันละ 778 เหรียญ เพิ่มจากตันละ 700 เหรียญ ขณะที่ข้าวเปลือกเจ้าตันละ 8,700-8,900 บาท และข้าวเปลือกหอมมะลิตันละ 10,000-11,000 บาท”

“ปัจจัยทำให้ตลาดข้าวไทยขาขึ้นเพราะรัฐบาลดำเนินนโยบาย ถูกทาง การดูแลเกษตรกร เร่งระบายข้าวในสต๊อก ขณะนี้ระบายอีก แค่ครั้ง 2 ครั้งก็จะไม่มีข้าวเหลือในสต๊อกแล้ว ทำให้แรงกดดัน ต่อตลาดข้าวไทยหมดไป” นางอภิรดี กล่าว

อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ชี้ไม่มีผลวิจัยยืนยัน “อะลูมิเนียม” ก่อ “โรคอัลไซเมอร์” วอนผู้บริโภคอย่าตื่นตระหนก มั่นใจยังสามารถใช้บรรจุ ห่อหุ้มอาหารได้

เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน นพ. สุขุม กาญจนพิมาย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า กรณีมีการเผยแพร่ข่าวทางโลกออนไลน์เรื่องการใช้แผ่นอะลูมิเนียมฟอยล์ปิ้งย่างอาหารมีอันตรายมาก เพราะอะลูมิเนียมเมื่อถูกความร้อนจะละลายเข้ากับอาหาร ทำให้แคลเซียมถูกทำลาย จากนั้นความจำจะลดลงและสมองเสื่อม เป็นสาเหตุของอัลไซเมอร์ และเป็นการทำลายกระดูกโดยตรงนั้น ขอประชาชนอย่าตื่นตระหนกกับข่าวดังกล่าว เพราะปัจจุบันยังไม่สามารถระบุสาเหตุของโรคอัลไซเมอร์ที่แน่ชัดได้ มีเพียงปัจจัยที่มีแนวโน้มก่อให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ ได้แก่ อายุ พันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ยังไม่มีผลงานวิจัยที่พิสูจน์แน่ชัดว่าอะลูมิเนียม ทำให้เกิดโรคนี้จริง โดยองค์การระหว่างประเทศ ทั้ง องค์การอนามัยโลก และ European food safety authority (EFSA) รายงานว่า อะลูมิเนียมเป็นสารพิษต่อระบบประสาท ในผู้ป่วยโรคไตมีความเป็นไปได้ที่อาจจะทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ หรือโรคเกี่ยวกับระบบประสาท และ EFSA ไม่คิดว่าการได้รับอะลูมิเนียมจากอาหารจะเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ได้

นพ.สุขุมกล่าวว่า อย่างไรก็ตาม กรมวิทยาศาสตร์ฯไม่ได้นิ่งนอนใจ smilebull.co.th ได้มอบหมายให้สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหารตรวจวิเคราะห์การละลายออกมาของอะลูมิเนียมจากภาชนะที่ทำด้วยโลหะอะลูมิเนียม โดยเป็นภาชนะหุงต้ม 22 ตัวอย่าง และแผ่นเปลวอะลูมิเนียม 6 ตัวอย่าง ทดสอบที่สภาวะสุดโต่งด้วยสารละลายกรดอะซิติกความเข้มข้นร้อยละ 4 และร้อยละ 3 ตามลำดับ ที่อุณหภูมิน้ำเดือด (100 องศาเซลเซียส) เป็นเวลา 2 ชั่วโมง

“ผลการทดสอบพบว่า มีการละลายออกมาของอะลูมิเนียมจากภาชนะหุงต้ม 20 ตัวอย่าง (ร้อยละ 90) ปริมาณที่พบอยู่ในช่วง 11-953 มิลลิกรัม/ลิตร และพบการละลายออกมาจากแผ่นเปลวอะลูมิเนียมทั้ง 6 ตัวอย่าง (ร้อยละ 100) ปริมาณที่พบอยู่ในช่วง 483.6-1032 มิลลิกรัม (มก.) ต่อลิตร ส่วนการทดสอบถาดหลุมที่อุณหภูมิ 22 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง มีการละลายออกมาของอะลูมิเนียมจากถาดหลุมทั้ง 6 ตัวอย่าง (ร้อยละ 100) ปริมาณที่พบน้อยกว่ามาก ซึ่งพบอยู่ในช่วง 0.5-14.1 มก./ลิตร และได้ศึกษาการละลายออกมาของอะลูมิเนียมลงสู่อาหาร 4 อย่าง คือ ข้าวสุก ผัดผัก ต้มยำ และยำวุ้นเส้น ที่ใส่ในถาดหลุมไว้เป็นเวลา 30 นาที เพื่อเลียนแบบการกินอาหารโดยใช้ถาดหลุม

พบว่าการละลายออกมาของอะลูมิเนียมมีน้อยมากอยู่ในช่วง 0.047-0.928 มก./กิโลกรัม อาหารปัจจุบันยังไม่มีข้อกำหนดการละลายออกมาของอะลูมิเนียมจากภาชนะบรรจุอาหาร และยังไม่มีข้อกำหนดปริมาณอะลูมิเนียมที่มีในอาหาร นอกจากนี้ การดูดซึมของอะลูมิเนียมจากอาหารเข้าสู่ร่างกายเพียงร้อยละ 1 เท่านั้น” นพ.สุขุม กล่าวและว่า แผ่นเปลวอะลูมิเนียม หรืออะลูมิเนียม ฟอยล์ ที่ใช้เพื่อบรรจุอาหารหรือหุ้มห่ออาหารมี 3 ลักษณะ คือ แผ่นเปลวอะลูมิเนียมธรรมดา แผ่นเปลวอะลูมิเนียมที่มีการเคลือบด้วยสาร และแผ่นเปลวอะลูมิเนียมที่มีการเคลือบหรือประกบกับกระดาษหรือฟิล์มพลาสติก โดยสหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกาอนุญาตให้ใช้โลหะอะลูมิเนียมเป็นภาชนะบรรจุ หุ้มห่อ และสัมผัสอาหารได้ ผู้บริโภคก็สามารถใช้ได้ตามคำแนะนำนี้

นายสมบูรณ์ ดาศรี ผู้อำนวยการฝ่ายกิจการนโยบายรัฐ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ธ.ก.ส.ดำเนินการตามที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2560 เห็นชอบให้ช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2560 ตามโครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2560 โดยมีพื้นที่เป้าหมาย 30 ล้านไร่ทั่วประเทศ วงเงินรวม 2,700 ล้านบาท เพื่ออุดหนุนค่าเบี้ยประกันภัยแก่เกษตรกรผู้ขอเอาประกันภัย แบ่งเป็นพื้นที่เป้าหมายสำหรับเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปีที่เป็นลูกค้าของ ธ.ก.ส. 25 ล้านไร่ และพื้นที่จำนวนไม่เกิน 8 แสนไร่

นายสมบูรณ์กล่าวว่า กรมธรรม์ให้ความคุ้มครองความเสียหายจากภัยธรรมชาติ 7 ประเภท ได้แก่ น้ำท่วมหรือฝนตกหนัก ภัยแล้ง ฝนแล้งหรือฝนทิ้งช่วง ลมพายุหรือพายุไต้ฝุ่น ภัยอากาศหนาวหรือน้ำค้างแข็ง ลูกเห็บ ไฟไหม้ และศัตรูพืช หรือโรคระบาด โดยจำนวนเงินความคุ้มครองสำหรับ 6 ภัยแรก จำนวน 1,260 บาท ต่อไร่ และ จำนวน 630 บาท ต่อไร่ สำหรับภัยศัตรูพืชหรือโรคระบาด อัตราค่าเบี้ยประกันภัย 90 บาท ต่อไร่ (ไม่รวมอากรแสตมป์และภาษี) โดยรัฐบาลจะอุดหนุนค่าเบี้ยประกันภัย 54 บาท ต่อไร่ และ ธ.ก.ส.จะอุดหนุนค่าเบี้ยประกันภัย 36 บาท ต่อไร่ ให้กับเกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่เป็นลูกค้าสินเชื่อ ธ.ก.ส.เพื่อการเพาะปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2560 เกษตรกรทั่วไปและเกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส.สามารถซื้อกรมธรรม์ได้ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2560 จนถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2560 สำหรับพื้นที่ภาคใต้ซื้อกรมธรรม์นี้ได้จนถึงวันที่ 15 ธันวาคม 2560