และพันธุ์แฮสส์ (Hass) เป็นพันธุ์เผ่ากัวเตมาลัน ลักษณะผลรูปไข่

ผิวผลขรุขระมาก ผิวสีเขียวเข้ม เมื่อสุกอาจเป็นสีเขียวเข้มหรือม่วงเข้ม ผลมีขนาดเล็ก น้ำหนัก 200-300 กรัม เนื้อผลสีเหลือง มีไขมันประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ เมล็ดมีขนาดเล็กถึงขนาดกลาง เก็บเกี่ยวผลได้ในเดือนพฤศจิกายน ส่วนพันธุ์แฮสส์ มีปัญหาเรื่องความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เพียงพอ ทำให้ผลผลิตไม่ค่อยดี

คุณอาย เตจ๊ะ เกษตรกรบ้านแม่ขนิลเหนือ ตำบลบ้านปง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า เมื่อก่อนปลูกข้าวไร่ ปลูกกล้วย ทำสวนลิ้นจี่ มาโดยตลอดรายได้จากการจำหน่ายผลผลิตไม่ค่อยดี และไม่มีตลาดที่แน่นอน พร้อมทั้งต้องใช้หนี้ค่าปุ๋ย สารฆ่าแมลง ทำให้รายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย ประกอบกับสุขภาพก็ไม่ค่อยดี จึงมีแนวคิดจะปรับเปลี่ยนมาทำเกษตรแบบผสมผสาน พอมีเจ้าหน้าที่ส่งเสริมของโครงการหลวงเข้ามาแนะนำและส่งเสริมให้ปลูกอะโวกาโดอินทรีย์ จึงสนใจหันมาปลูกอะโวกาโด พร้อมทั้งปลูกพืชผักแบบผสมผสาน ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เมื่อประมาณ 10 กว่าปีที่ผ่านมา

“ช่วงที่เริ่มปลูกอะโวกาโด จะปลูกต้นอะโวกาโดที่มีความต้านทานต่อโรคไว้ประมาณ 6 เดือน แล้วนำยอดพันธุ์ที่ทางโครงการหลวงส่งเสริมมาเสียบยอด หลังจากการเสียบยอดแล้ว ประมาณ 3 ปี ต้นอะโวกาโดจะให้ผลผลิตเพื่อจำหน่ายได้ ส่วนพืชผักที่ปลูก มียอดซาโยเต ถั่วฝักยาว มะเขือพวง ชะอม มะนาว สมุนไพรไทย เช่น ขิง ข่า ตะไคร้ พริก ใช้สารชีวภาพที่ผลิตเองในการดูแลพืชผัก นอกจากนี้ ยังได้เลี้ยงไก่ประดู่หางดำ และเลี้ยงปลาในบ่อ ถือได้ว่าเป็นผลไม้ พืชผักอินทรีย์ และสัตว์เลี้ยงอินทรีย์ โดยได้รับรองจากกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (มกท.) และ AVA ประเทศสิงคโปร์ ส่วนผลผลิตอะโวกาโด จะส่งให้กับร้านโครงการหลวง พืชผักอินทรีย์ และสัตว์เลี้ยง ปลูกไว้บริโภคเอง ที่เหลือจำหน่ายให้กับตลาดภายในหมู่บ้าน”

สำหรับทางโครงการหลวงได้ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูก โดยมี 2 วิธี วิธีแรกมีการปลูกต้นตอต้นอะโวกาโดที่มีความทนทานต่อโรคไว้ประมาณ 6 เดือน แล้วนำกิ่งพันธุ์มาเสียบ และอีกวิธี นำต้นกล้าพันธุ์ที่ต้องการปลูกมาลงปลูกในหลุมที่เตรียมไว้ ที่มีความกว้าง 80 เซนติเมตร ยาว 80 เซนติเมตร และสูง 80 เซนติเมตร แต่ละต้นห่างกันประมาณ 8 เมตร ผสมปุ๋ยคอกคลุกเคล้ากับดินที่ขุดขึ้นมาแล้วใส่ลงไปในหลุม ให้รอยต่อกิ่งหรือรอยแผลติดตาอยู่เหนือระดับดิน กลบดินรอบๆ โคนต้นให้แน่นและรดน้ำให้ชุ่ม แล้วคลุมผิวหน้าดินด้วยวัตถุคลุมดินที่เตรียมไว้เพื่อรักษาความชื้น ปักไม้หลักผูกเชือกยึดติดไว้ป้องกันลมโยก รดน้ำให้สม่ำเสมอจนกว่าต้นจะตั้งตัวได้

การให้น้ำแต่ละครั้ง ประมาณ 20-30 ลิตร ต่อต้น ทุก 3-4 วัน ในช่วงระยะเวลา 1 เดือนแรก สำหรับในช่วงฤดูฝนของปีแรกหลังจากฤดูฝนแล้วจะให้น้ำต้นอะโวกาโดทุกสัปดาห์ สัปดาห์ละ 40-60 ลิตร ต่อต้น จนกว่าต้นอะโวกาโดจะมีอายุ 1 ปี หลังจากปลูก ในช่วงที่ต้นอะโวกาโดออกดอกจะงดให้น้ำ พออะโวกาโดเกิดตาดอกที่ยอด และช่อดอกเริ่มออกให้น้ำใหม่ โดยช่วงดอกออกประมาณเดือนธันวาคม หลังจากนั้นประมาณเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม เริ่มติดผลเล็ก ช่วงระยะเวลาตั้งแต่การติดดอกจนถึงฤดูเก็บเกี่ยว ประมาณ 7-10 เดือน

การเก็บเกี่ยวผลผลิต จะมีการตรวจสอบก่อนว่า ผลแก่พอเก็บได้ โดยใช้วิธีการเก็บผลอะโวกาโด ระดับที่ต่างกันบนต้นมาผ่าดูเยื่อหุ้มเมล็ด หากเยื่อหุ้มเมล็ดเป็นสีน้ำตาลทั้งหมดสามารถเก็บเกี่ยวได้ นอกจากนี้ ยังต้องสังเกตลักษณะภายนอกของผลโดยการเปลี่ยนแปลงของสีผล การเก็บเกี่ยวผลอะโวกาโดจะไม่ให้ขั้วผลหลุด เพราะจะทำให้ผลเสียหายได้ง่ายขณะบ่มให้สุก

สำหรับผู้สนใจซื้ออะโวกาโดได้ที่ร้านค้าโครงการหลวง หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทุ่งเริง ตำบลบ้านปง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่

มะพร้าวทับสะแก เป็นมะพร้าวที่นิยมเอามาใช้ทำกะทิแกงมาก เพราะว่ามีขนาดของผลใหญ่ให้เนื้อที่เยอะกว่ามะพร้าวทั่วไป เลยทำให้มะพร้าวทับสะแกเป็นที่นิยมปลูกกันแพร่หลาย

ใครเดินทางลงภาคใต้ เมื่อออกจากตัวเมืองประจวบคีรีขันธ์ สองข้างทางเต็มไปด้วยแปลงปลูกมะพร้าวต้นสูงๆ ถึงแม้จะเผลอหลับไป ตื่นขึ้นมาก็ยังเห็นต้นมะพร้าวอยู่ เรื่อยไปจนเข้าสู่พื้นที่จังหวัดชุมพร

มะพร้าวทับสะแก มีชื่อเสียงมานานตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้ จึงมีงานเกี่ยวข้องกับมะพร้าวมากมาย นอกจากมีการซื้อขายผลมะพร้าวแล้ว ยังมีงานแปรรูปมะพร้าวเป็นน้ำมัน งานแปรรูปเส้นใย ขุยมะพร้าว กาบมะพร้าวสับ ตลอดจนไม้แปรรูปมะพร้าวสำหรับงานก่อสร้าง

คุณกรวสา ชามภูวราช อยู่บ้านเลขที่ 1/22 หมู่ที่ 4 ตำบลอ่างทอง อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นคนที่โตมาพร้อมกับสวน จากนั้นย้ายไปอยู่กรุงเทพฯ เพื่อทำงานบริษัทและเลี้ยงลูก จนส่งลูกเรียนจบ ก็กลับมาทำสวนที่บ้านต่อ เธอบอกว่า ที่จริงแล้วแต่เดิมที่บ้านทำสวนกล้วยไข่มาก่อน หลังจากนั้นก็มาปลูกสับปะรดเป็นเจ้าแรกๆ ของทับสะแก เดิมทำอยู่ประมาณกว่า 100 ไร่ พอหลังจากปลูกกล้วยไข่ ปลูกสับประรด ก็นำมะพร้าวมาปลูกตาม เพื่อต้องการจะให้มาเป็นพืชยืนต้นหลักของสวน และตอนนี้ก็ทำไม้ป่า ไม้โบราณ สับปะรด และทำสวนมะพร้าวแกงด้วย

คุณกรวสา บอกว่า เดิมทีแล้วที่ปลูกมะพร้าวทับสะแกเพื่อต้องการให้เป็นพืชหลักของสวนเลย เพราะว่าพอโตเต็มที่แล้ว ก็สามารถเก็บได้ตลอดทั้งปีและต่อเนื่องนาน ตอนนี้ที่สวนก็มีปลูกอยู่ประมาณ 30 ไร่

“พันธุ์…ไม่แน่ใจว่าเอามาจากไหน เพราะว่าเตี่ยเป็นคนนำมาปลูกไว้ตั้งนานแล้ว มะพร้าวทับสะแกนั้นก็ไม่รู้ว่าที่มันอร่อย เป็นเพราะพื้นดินดีหรือว่าอะไร แต่เป็นมะพร้าวแกงที่มีคุณภาพดีที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทยเรา ดูได้จากลูกจะใหญ่กว่าลูกมะพร้าวทั่วไป ส่วนการที่เราปลูกต้นไม้อื่นแซมไปด้วยนั้นเป็นเรื่องที่ดี เพราะจะได้ไม่เป็นการปล่อยให้พื้นที่รกร้าง พืชที่นิยมปลูกแซมกันคือ สับปะรด” คุณกรวสา บอก

พืชแซมในมะพร้าว ทำได้ต่อเนื่อง ต่างจากพืชอื่น ตัวอย่าง พืชแซมในยางพารา อาจจะปลูกได้ 1-3 ปี ช่วงยางพาราอายุยังน้อย แต่โตขึ้นต้องหยุดแล้วหาทางปลูกพืชร่วมแทน ต่างจากมะพร้าว เนื่องจากระยะระหว่างต้นระหว่างแถวห่าง ประกอบกับทรงต้นมะพร้าวสูง จึงปลูกพืชแซมอย่างสับปะรดได้ต่อเนื่อง ข้อดีของพืชแซม นอกจากขายผลผลิตได้โดยตรงแล้ว เวลาให้ปุ๋ยสับปะรด ต้นมะพร้าวยังได้กินปุ๋ยอีกด้วย

ลักษณะเด่นของมะพร้าว

“มะพร้าวที่ปลูก คนที่นี่เรียกว่า พันธุ์ทับสะแก มะพร้าวทับสะแกมีคุณสมบัติอย่างไร…เริ่มเก็บผลได้ตั้งแต่ 7 ปีหลังปลูก ต้นที่โตเต็มที่จะออกผลได้เยอะ ส่วนต้นที่ยังไม่โตเต็มที่จะให้ผลน้อย ปีหนึ่งก็จะได้ประมาณ 100 ผล ต่อต้น ต่อปี…ปีหนึ่งเก็บ 12 ครั้ง เก็บเดือนละครั้ง ต้นหนึ่งอยู่ได้นานประมาณ 150 ปี มีเปลือกที่บางไม่หนาปอกง่าย ลูกมีขนาดที่ใหญ่กว่ามะพร้าวทั่วไป เนื้อเยอะกว่า…จุดเด่น คือความมัน ความหวาน เพราะในความมันจะมีความหวานติดอยู่ที่ปลายลิ้น” เจ้าของมะพร้าวบอก

มีคำแนะนำจากทางราชการที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร ระบุว่า มะพร้าวแกงทับสะแก มีปลูกสืบทอดกันมายาวนาน เกษตรกรจะคัดเลือกผลที่ใหญ่สุด จากต้นดีที่สุดปลูกไว้

ยกตัวอย่าง เกษตรกรปลูกมะพร้าวไว้ 100 ต้น อาจจะมีต้นที่แตกต่างจากต้นอื่น 2-3 ต้น แตกต่างตรงที่ให้ผลผลิตดก สม่ำเสมอ ผลขนาดใหญ่ เนื้อหนา ทนทานต่อสภาวะแวดล้อม โดยเฉพาะความแห้งแล้ง เมื่อเป็นเช่นนี้ เกษตรกรผู้เป็นเจ้าของก็จะนำผลผลิตจาก 2-3 ต้น มาทำพันธุ์ เมื่อจะปลูกครั้งต่อๆ ไป จึงทำให้ได้ลักษณะของมะพร้าวที่ดียิ่งขึ้น

มะพร้าว ถือว่าเป็นพืชพรรณล้ำค่า เป็นพืชที่คู่ครัวคนไทย เมื่อมีมะพร้าว สามารถทำอาหารได้หลายอย่าง ทั้งคาวและหวาน ที่เห็นมะพร้าวยืนต้นสวยงามนั้น เกษตรกรไม่มีระบบน้ำให้

เริ่มแรกปลูกมะพร้าวต้นฝน พอผ่านไปปีหนึ่งก็อยู่ได้สบาย

เจ้าของแนะนำการดูแลรักษาว่า ใส่ปุ๋ยปีละ 1 ครั้ง ปุ๋ยที่ใส่ก็แล้วแต่ว่าจะเป็นอินทรีย์หรือเคมี ถ้าเคมีก็จะเป็นปุ๋ยทั่วไปที่เขาใส่กัน ส่วนปุ๋ยอินทรีย์ก็จะเป็นปุ๋ยคอก

ถ้าทำผลผลิตเป็นมะพร้าวอินทรีย์จะราคาดีกว่า

บางช่วง ราคามะพร้าวเหลืออยู่ ผลละ 5 บาท แต่ถ้าเป็นผลผลิตอินทรีย์ จะอยู่ที่ ผลละ 11 บาท

เคยขายได้สูงสุด 25 บาท แต่หากผลผลิตอินทรีย์ ได้ผลละ 32 บาท ราคามะพร้าวมีขึ้นมีลง บางช่วงราคาดีอยู่นาน เกษตรกรก็ยิ้มได้ เนื่องจากมะพร้าวอายุยืน ปลูกแล้วอยู่ได้นาน เกษตรกรจะรักษาสิ่งที่ตนเองมีอยู่ไว้อย่างดี หากราคาผลผลิตถูก ก็รอเวลา ซึ่งก็มีหมุนเวียนให้มีรายได้มากบ้างน้อยบ้าง ถือเป็นพืชที่ปลูกแล้วเลี้ยงเจ้าของได้ เข้าทำนอง…“คนปลูกเลี้ยงมะพร้าว มะพร้าวก็เลี้ยงคน”

กรมส่งเสริมการเกษตร ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง เตรียมวางแผนการตลาดเพื่อควบคุมปริมาณสินค้าลองกองชายแดนใต้ ระหว่างเดือนกันยายน-ตุลาคม

นายสำราญ สาราบรรณ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ลองกอง เป็นไม้ผลเศรษฐกิจที่มีความสำคัญ มีแหล่งผลิตในภาคใต้ของประเทศไทย โดยในปี 2561 ได้ประมาณการผลผลิตลองกองของภาคใต้ไว้ จำนวน 70,383 ตัน มากกว่าผลผลิตปี 2560 ประมาณร้อยละ 613.82 (ปี 2560 ผลผลิต 9,860 ตัน) โดยจังหวัดที่มีผลผลิตมากและต้องเฝ้าระวัง คือ 4 จังหวัดชายแดนใต้ อย่าง ยะลา ปัตตานี นราธิวาส และสงขลา มีผลผลิตรวม 35,649 ตัน คิดเป็นร้อยละ 50.65 ของปริมาณผลผลิตลองกองใต้ทั้งหมด

ขณะนี้มีการเก็บเกี่ยวผลผลิตลองกองไปแล้ว 30,326 ตัน คิดเป็นร้อยละ 43 ของผลผลิตลองกอง 14 จังหวัดภาคใต้ คงเหลือผลผลิตประมาณ 4 หมื่นตัน หรือร้อยละ 60 ที่ยังไม่ได้เก็บเกี่ยวผลผลิต แต่จากการติดตามสถานการณ์ผลผลิตลองกองในขณะนี้เปรียบเทียบกับข้อมูลที่คาดการณ์ไว้ พบว่า ผลผลิตลองกองของภาคใต้ลดลงมากกว่า ร้อยละ 50 หรือประมาณ 2 หมื่นตัน เนื่องจากสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวน มีฝนตกชุก ทำให้ลองกองผลแตก หลุดร่วงเป็นจำนวนมาก

เดือนกันยายน-ตุลาคม เป็นช่วงที่ต้นลองกองออกผลมากที่สุด แต่ในช่วงดังกล่าวมีฝนตกเป็นระยะๆ ทำให้มีความชื้นอากาศสูง ทำให้เกิดโรคและการระบาดของเชื้อราได้ง่าย โดยมีสาเหตุหลักมาจากเชื้อรา Phomopsis sp. ถ้าไม่มีการดูแลที่ดีอาจทำให้ผลผลิตลองกองเสียหายทั้งช่อ ทำให้เกษตรกรได้รับความเสียหาย ถ้าพบการระบาดเกษตรกรควรป้องกัน ดังนี้

1.หากพบการระบาด ควรเก็บผลที่เป็นโรคไปทำลาย หรือถ้ามีการร่วงหล่นอยู่ใต้ต้นให้เก็บไปทิ้งบริเวณนอกสวน
ควรหมั่นตัดแต่งทรงพุ่มต้นลองกองให้โปร่ง เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวกและแสงแดดส่องได้ ตลอดจนตัดแต่งช่อผลลองกอง ปลิดผลด้อยคุณภาพออก เพื่อให้ผลที่เหลือมีขนาดใหญ่ ได้ช่อสวย ขนาดใหญ่ ขายได้ราคาดี ซึ่งสอดคล้องตามโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไม้ผลคุณภาพดี และระบบส่งเสริมเกษตรแปลงใหญ่ที่กรมส่งเสริมการเกษตรได้ถ่ายทอดความรู้แก่เกษตรกรตั้งแต่ต้นฤดูกาลแล้ว
ป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืชไม้ผล พวกผีเสื้อมวนหวาน แมลงวันผลไม้ และแมลงหวี่ ที่เป็นตัวทำลายผลลองกองให้เกิดแผล ส่งผลให้เชื้อราระบาดได้ง่าย โดยใช้สารเคมีกำจัดเชื้อรา เช่น เบนโนมิล ไธเบนดาโซล ฉีดพ่นตามอัตราที่ฉลากแนะนำและเมื่อเก็บเกี่ยวลองกองจากต้นแล้ว ควรจัดเรียงผลผลิตลองกองวางลงในภาชนะ เช่น ตะกร้า เข่ง ให้เป็นระเบียบ ไม่อัดแน่นจนเกินไป และควรจัดหาวัสดุรองก้นภาชนะเพื่อป้องกันการกระทบกระเทือนในการขนย้าย เพราะถ้าหากช้ำอาจจะทำให้เสียหายทั้งช่อ

ถึงแม้ว่าผลไม้ไทยที่มีกระแสบดบังส้มโออยู่ในขณะนี้ ได้แก่ ทุเรียนไทย ที่ชาวจีนแห่แหนมาเหมาสวนทุเรียนไปขายชนิดถล่มทลาย จนทำให้ราคาทุเรียนสูงขึ้นมาในช่วงระยะนี้ แพงหูฉี่ว่างั้นเถอะ บรรดาคอทุเรียนคนไทยต่างบ่นว่า หายาก และราคารับไม่ได้

นี่คือปรากฏการณ์ครั้งแรกที่เจ้าของสวนทุเรียนทุกภาคที่มีการปลูกทุเรียนขาย ต่างเปลี่ยนสภาพฐานะจากรถมอเตอร์ไซค์ มาเป็นรถปิกอัพ ตลาดรถยนต์คึกคัก ไม่ต่างกับราคายางพาราเมื่อสิบปีที่ผ่านมา แต่วันนี้ ชาวสวนยางปักษ์ใต้ต้องมานั่งโศกเศร้าอาดูรยางราคาถูกลงอย่างน่าใจหายมาช้านาน

เมื่อสินค้าผลไม้ทุเรียนแซงหน้าผลไม้อื่นๆ ไปไกลโข จนมีการขยายพื้นที่ออกมาปลูกเพิ่ม และล้มต้นยางพาราทิ้งกันเป็นแถวจนราบ

เหตุการณ์อีกสิบปีเกิดอะไรขึ้นกับสวนทุเรียนในอนาคตข้างหน้า โปรดติดตาม

หันมาดูผลไม้ตัวถัดมาที่ไม่กระทบกับราคาซื้อขายมาช้านาน ได้แก่ ส้มโอ ที่มีปลูกกันมานาน ส่งออกขายไปตลาดฮ่องกง ในฤดูเทศกาลไหว้เจ้าของชาวจีน ที่ตรงกับฤดูส้มโอออกมาทันกันพอดี…ส้มโอที่ส่งออกได้ชื่อเสียงคือ ส้มโอทองดี สวนส้มโอพันธุ์ขาวน้ำผึ้ง นิยมบริโภคภายในประเทศ

รู้จักพันธุ์ส้มโอที่ผลิตภายในประเทศ มีแหล่งผลิตที่ไหนบ้าง

ปัจจุบัน ส้มโอ แหล่งผลิตที่มีชื่อเสียงที่ผลิตพันธุ์ขาวน้ำผึ้ง กับทองดี อยู่ที่นครชัยศรี สามพราน นครปฐม เชียงราย

พันธุ์ขาวใหญ่ ปลูกที่จังหวัดสมุทรสงคราม สมุทรสาคร

พันธุ์ขาวแตงกวา นิยมปลูกที่จังหวัดชัยนาท พันธุ์ทับทิมสยาม เนื้อกุ้งสีแดง กำลังมาแรง ราคาแพง เริ่มจากอำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช และกำลังมาปลูกที่นครปฐม

ผู้บริโภคอยู่ถิ่นไหนเชิญไปหาซื้อได้ตามจังหวัดดังกล่าวมารับประทานได้ตามอัธยาศัย ดร.ทิม ไทยทวี ผู้จุดประกายไฟให้วงการส้มโอนครปฐม

ถ้าเอ่ยชื่อ ทิม ไทยทวี เจ้าของสวนส้มโอนครชัยศรี ในวงการรู้จักกันดี เพราะมีที่อยู่อาศัยอยู่ซอยวัดไร่ขิง สามพราน

ตามประวัติของทิม เป็นคนอำเภอสามพราน เกิดมาในครอบครัวชาวนาแท้จริง บิดามีสายเลือดชาวจีน ประกอบอาชีพทำนาตั้งแต่เรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 แล้วมาช่วยพ่อแม่ทำนา

ในปี 2512 เริ่มปลูกส้มโอที่นครชัยศรี แต่ทว่าปัญหาโรคแมลงเยอะ หนุ่มทิมเริ่มเบื่อหน่าย หันมาชวนพรรคพวกไปแสวงโชคทำแร่ดีบุกที่อำเภอตะกั่วป่า

ด้วยการไม่รู้ข้อมูลดีของอาชีพทำแร่ดีบุก หาความสำเร็จยาก มีคนปิดข้อมูลไม่บอกให้รู้ หลงคลำทางมานาน 4 ปี ต้องหอบเสื่อกลับบ้าน

ครั้นมาแล้วต้องหวนกลับมาดูสวนส้มโอที่ทิ้งๆ ขว้างๆ มานาน จำต้องนำมาบูรณาการใหม่หมด ต้องเอาชนะสวนส้มโอให้สำเร็จหลังล้มเหลวอาชีพทำแร่ดีบุก เป็นนักล่ารางวัลประกวดส้มโอจนมีรางวัลเต็มบ้าน

เพื่อนๆ ขอร้องอย่าส่งเข้าประกวด

ไม่มีใครทราบว่า หนุ่มสวนส้มโอคนชื่อทิมจะผลิตส้มโอทั้งขาวน้ำผึ้งและทองดี ได้อย่างมีคุณภาพ รสชาติดี คนมาซื้อถึงบ้านสวนส้มโอ มีคนมาขอดูงานที่นครปฐมอย่างสม่ำเสมอ

ชื่อเสียงเขาดีมาจากการนำส้มโอประกวด ทั้งท้องถิ่น สนามหลวง เขาคว้าชัยชนะการประกวดจนได้รับถ้วยพระราชทานมาหลายครั้ง จนประกาศนียบัตรแปะท่วมท้นติดฝาบ้านเหมือนจอภาพยนตร์ ยังไงยังงั้นเลยทีเดียว

เล่ากันว่า ทิม ไทยทวี มีเทคนิคการประกวดส้มโอในการคัดผลส้มโอก่อนเข้าประกวด จนสามารถคว้าชัยชนะเกือบทุกประเภท

ในที่สุดเขาต้องหยุดการประกวด และงดส่งเข้าไปชิงชัย เพราะเพื่อนๆ ขอร้อง และเขามีจุดอิ่มตัว เอาเวลามาพัฒนา แล้วรางวัลที่หอการค้านครปฐมให้กับเขามา คือ

คนดีศรีนครปฐม ในปี 2536 ในปี 2533 สถาบันแม่โจ้ มอบปริญญามหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์แก่เขาในฐานะเซียนส้มโอตัวจริง

คำตอบที่ทิมมอบให้กับชาวฝรั่งเศสว่า ส้มโอนครชัยศรี คือสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ปี 2548

ความมีชื่อเสียงของส้มโอนครชัยศรี รู้ไปถึงหูชาวฝรั่งเศสที่สนใจเรื่องผลไม้ไทย โดยเฉพาะส้มโอเมืองนครชัยศรี ว่าทำไมรสชาติจึงเลอเลิศ ขจรขยายไปไกล

ทิม เล่าให้ฟังว่า เหตุที่ฝรั่งเศสเดินทางมา ปี 2548 เขาให้การต้อนรับกลุ่มฝรั่งชุดนี้ที่มาศึกษาถึงถิ่นนครชัยศรี ชิมรสส้มโอแล้ว และท้าไปดูสถานที่ถึงสวนส้มโอ

เห็นว่าแหล่งผลิตส้มโอของชาวสวน มีแหล่งน้ำแม่น้ำท่าจีนไหลผ่านเข้ามาในร่องสวนส้ม ซัดหาเอาวัสดุซากพืช โคลน ปุ๋ย ดินเก่ามาเป็นอาหารให้กับส้มโอ เป็นเหตุให้ความอร่อยของกุ้ง หรือเนื้อส้มโอมีรสชาติไม่เหมือนส้มโอแหล่งอื่นๆ ทั้งที่พันธุ์ชนิดเดียวกัน

จึงพิสูจน์ได้ว่า เพราะเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ที่น้ำไหล ทรายมูล พัดพาเอาปุ๋ยธรรมชาติเข้ามาทางน้ำนี่เอง จึงไม่แปลกว่า การปลูกส้มโอจึงเด่นกว่าที่อื่นๆ เขาถูกรับเชิญให้ไปบรรยายการทำสวนส้มโอให้กับผู้สนใจ และรับเป็นที่ปรึกษาสวนส้มโอแก่กลุ่มพืชเครือซีพี

เพราะธุรกิจส้มโอมีงานรัดตัว เขาตัดสินใจส่งบุตรชายไปเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อเข้ามาสานต่อเขาในอนาคต สามารถส่งออกส้มโอไปต่างประเทศ และจำหน่ายส้มโอแกะเปลือกขายตามห้างสรรพสินค้าในกรุงเทพฯ

แล้วยังไปจำหน่ายในสวนสามพราน โดยมีบุตรสาวมาช่วยด้วยทั้งครอบครัว

ส่วนเจ้าตัวเดินสายไปบรรยายในบางโอกาส จนกระทั่งในกลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร เครือเจริญโภคภัณฑ์ เชิญเขามาเป็นที่ปรึกษาเพื่อทดลองปลูกส้มโอตามท้องที่ที่ว่างเปล่าในบางจังหวัด ที่ประกอบอาชีพทำสวน

สิ่งที่เขาแนะนำวิธีปลูกแบบนั่งแท่นของส้มโอเป็นคนแรกจนเป็นที่ยอมรับของนักวิชาการว่ามีประโยชน์

ทิม เป็นชาวสวนที่สนใจเกี่ยวกับปัญหาส้มโอ เขาพบปัญหาและมีประสบการณ์มาหลายครั้งและแก้ไขได้ดี มีเหตุผล จนนักวิชาการต้องยอมรับความรู้ว่า เขาเป็นราชาส้มโอที่แท้จริง ถามมาก็ตอบไปอย่างมีเหตุผล เพราะคลุกคลีมาโดยตลอด

การปลูกส้มโอแบบง่ายและได้ผล เขาทดลองและตั้งชื่อไว้ว่า “ปลูกแบบนั่งแท่น” มันคืออะไร เขาตอบให้ฟังว่า

“ไม่แปลกหรือยุ่งยากอะไร เมื่อเราเอาถุงชำกิ่งตอนส้มโอแล้วมาวางบนพื้นดิน หลังจากจัดระยะปลูกห่างแล้ว หลังจากนั้น ก็โกยดินรอบๆ ถุงกิ่งตอนมาล้อมไปทั่ว ให้กิ่งตอนโผล่มาจากดินนิดหน่อย ปักหลักผูกเชือกไม่ให้ลมพัดโยก ภายใน 2 ปี รากส้มโอจะแพร่ขยายไปรอบดินที่พูนไว้ เราจะใส่ปุ๋ยทีหลังก็ได้ เป็นวิธีที่ง่ายและไม่ยุ่งยากอะไร”

ด้วยเหตุนี้ทำให้แนวทางของทิม เป็นที่นิยมทั่วไป ทั้งพืชชนิดอื่นด้วยของผู้ประกอบอาชีพทำสวน

ผลงานที่ผ่านตาการผลิตจุลินทรีย์ชีวภาพ ป้องกันโรคแมลงที่ใช้กับสวนส้มโอปลอดสารพิษ มรภ.นครปฐม จึงมอบปริญญาเอกให้

เพราะความใฝ่รู้ ทิมไม่หยุดนิ่ง เขาไปฝึกหาเชื้อจุลินทรีย์กับผู้รู้จนชำนาญ มีกล้องจุลทรรศน์ไว้ส่องเชื้อ ผลิตน้ำหมักจุลินทรีย์มาใช้กับสวนส้มโอในอำเภอนครชัยศรีจนสำเร็จ

สวนแห่งนี้ คนไทยและชาวต่างชาติเป็นแหล่งศึกษาสวนส้มโอตัวอย่างมาดูงานเป็นประจำ

ความสำเร็จหลายๆ อย่างที่ทิมลงมือทำงานแล้วได้ผลตอบแทน ถ่ายทอดความรู้ให้เกษตรกรทุกแห่งที่เชื้อเชิญมาบรรยาย

มหาลัยราชภัฏนครปฐม ได้มอบปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิทยาศาสตร์ให้กับ ทิม ไทยทวี ในฐานะเกษตรกรตัวอย่างหัวก้าวหน้า เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2559 ณ สวนอัมพร “หากจะเรียก ดร.ทิม ก็ไม่น่าแปลก”

หลังน้ำท่วม ปี 2554 ส้มโอทับทิมสยามมาแรง กุ้งแดง ราคาแพง

ปี 2554 น้ำท่วมหนัก สวนส้มโอนครปฐมราบเป็นหน้ากอง สวนส้มโอไทยทวีที่รอดเพียงสวนเดียว เพราะยกคันล้อมสูงจึงพอรอดตัว

ถามถึงสวนส้มโอที่รื้อฟื้นใหม่ ปลูกส้มโอพันธุ์อะไรดี บางรายใช้พันธุ์ใหม่จากภาคใต้ ทับทิมสยาม ที่มีโอกาสดีมีอนาคต เพราะอายุสั้นกว่าพันธุ์ท้องถิ่น ติดผลดี รสชาติไม่แตกต่างกัน แต่ราคาขายแพงกว่าพันธุ์ขาวน้ำผึ้งและทองดี

ทิม ปลูกไว้บ้างแล้ว อายุ 5 ปี ก็เห็นผลิตผลขายได้ อนาคตต้องคอยติดตามดู ประเทศเมียนมา รับเชิญไปเป็นที่ปรึกษาสวนส้มโอ

ความมีชื่อเสียงด้านส้มโอจนทำให้คนไทยเชิญไปร่วมงานเป็นที่ปรึกษาด้านส้มโอถึงประเทศเมียนมา หรือพม่า

เขาเล่าว่า นานแล้วร่วมสองปี walkoffbalk.com ที่เมียนมาสนใจปลูกส้มโอโดยไปดูพื้นที่อยู่สามเมือง ที่ย่างกุ้ง มัณฑะเลย์ และพุกาม ไปดูพื้นที่แล้วคิดดูสภาพภูมิอากาศ เห็นว่าทั้งสามเมืองดังกล่าวน่าสนใจที่ย่างกุ้งก่อน โดยลงส้มโอมาแล้ว 2 ปี พื้นที่ 1,200 ไร่

โดยจะเดินทางไปดูแลทุกๆ เดือน มีคนไทยเป็นล่ามแปล ไม่มีอุปสรรคเรื่องอาหารการกิน เขาต้อนรับดีมาก ก่อนจะจบการสนทนา ทิม กล่าวว่า ส้มโอเป็นต้นไม้ครู ต้องศึกษาอย่างละเอียด ด้วยความเป็นคนเก่งเรื่องส้มโอ ยังเป็นที่ปรึกษาให้กับ สกว.อีกต่างหาก และยังมีตำแหน่งรองประธานหอการค้าจังหวัดนครปฐม

ถ้าหากใครสนใจเรื่องราวส้มโอ โทร.คุยกับเขาได้ที่ ผมต้องการซื้อพันธุ์เห็ดบริสุทธิ์ ที่เลี้ยงในอาหารวุ้น ผมจะได้นำไปขยายเชื้อเอง จึงขอเรียนถามว่า แหล่งเชื้อพันธุ์เห็ดบริสุทธิ์ดังกล่าว ผมต้องไปติดต่อขอซื้อได้ที่ไหนที่ดีที่สุด และเชื่อถือได้ แล้วมีวิธีการติดต่ออย่างไร ผมขอคำแนะนำด้วยครับ ผมจะติดตามอ่านคำตอบในคอลัมน์หมอเกษตรครับ

ขอแสดงความนับถือ แหล่งผลิต และจำหน่าย ที่ได้คุณภาพและมาตรฐาน คือ กลุ่มวิจัยและพัฒนาธนาคารเชื้อพันธุ์และจุลินทรีย์ สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ (ตึกโภชากร) กรมวิชาการเกษตร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทร. (02) 579-0147 เชื้อเห็ดบริสุทธิ์ที่มีจำหน่าย ดังนี้ เห็ดฟาง เห็ดแชมปิญอง เห็ดหอม เห็ดนางรม เห็ดภูฏาน เห็ดนางฟ้า เห็ดเป๋าฮื้อ เห็ดหูหนู เห็ดยานาหงิ เห็ดหลินจือ เห็ดเข็มเงิน เห็ดเข็มทอง เห็ดขอนขาว เห็ดกระด้าง หรือเห็ดบด หรือเห็ดลม และเห็ดแครง โดยเชื้อเห็ดบริสุทธิ์อยู่ในรูปเส้นใยบนอาหารวุ้น บรรจุขวดแบนขนาดเล็ก ใช้สำหรับเป็นแม่พันธุ์ที่จะเลี้ยงในเมล็ดข้าวฟ่าง นึ่ง อบ ฆ่าเชื้อ บรรจุในขวดแบนแม่โขง สำหรับขั้นตอนการจัดซื้อทำได้ ดังนี้

การสั่งซื้อ ให้ติดต่อโทรศัพท์ หมายเลข (02) 579-0147 แจ้งชื่อเห็ดที่ต้องการ และจำนวนที่ต้องการ พร้อมทั้งระบุชื่อและที่อยู่ของผู้สั่งซื้อให้ชัดเจน การรับเชื้อเห็ด ทำได้ทั้งมารับด้วยตนเอง โดยคิดราคาเชื้อพันธุ์ ขวดละ 50 บาท ทุกพันธุ์ และการสั่งซื้อทางโทรศัพท์ จะสามารถรับเชื้อเห็ดได้ภายใน 5-7 วัน โดยคิดค่าจัดส่ง 1-3 ขวด เป็นเงิน 29 บาท ทั้งนี้ ไม่รวมค่าเชื้อเห็ด ค่าจัดส่งจำนวน 4-10 ขวด เป็นเงิน 49 บาท และ 11-20 ขวด เป็นเงิน 66 บาท

เมื่อได้รับเชื้อพันธุ์แล้วให้ตรวจสอบดูว่า ขวดบรรจุเชื้อเห็ดแตกชำรุด หรือมีเชื้อโรคอื่นปนเปื้อนมาหรือไม่ หากเกิดการแตกชำรุดเกิดขึ้น ให้รีบแจ้งกลับมายังสำนักงานทันที แล้วสำนักงานจะจัดส่งทดแทนให้