และอีกตัวที่อยากจะแนะนำ เมื่อก่อนนี้เราจะรู้จักข้าวโพดเทียน

คือข้าวโพดที่เป็นพันธุ์ผสมเปิด มีปัญหาในเรื่องของผลผลิต แต่ว่าความเด่นของเขาเป็นเรื่องของรสชาติ ณ วันนี้เอง อีสท์ เวสท์ ซีดฯ ก็เข้ามาทำการพัฒนา ปรับปรุงให้ข้าวโพดเทียนมีความสม่ำเสมอ มีเปอร์เซ็นต์การงอกที่ดี และคงรสชาติของการเป็นข้าวโพดเทียนอยู่นะครับ ตัวนี้กำลังจะออกสู่ตลาดเป็นตัวใหม่เลย ชื่อว่า เทียนหมื่นฝัก

สงสัยไหมครับว่า ทำไม ถึงชื่อ เทียนหมื่นฝัก เพราะว่าหนึ่งเลย รสชาติ คุณภาพเหมือนข้าวโพดเทียน สองเราเป็นบริษัทแรกที่ทำขึ้นมา ใน 1 ต้น เราจะมี 2 ฝัก นะครับ โดยปกติข้าวโพดทั่วไป 1 ต้น จะมีเพียง 1 ฝัก แต่ตัวนี้ได้รับการพัฒนามา ในการปลูก 100 ต้น 80 เปอร์เซ็นต์ หรือ 80 ต้น จะได้ต้นละ 2 ฝัก ถามว่า พอได้ 2 ฝัก อะไรที่จะเกิดขึ้นกับเกษตรกร ก็คือว่า จำนวนฝัก ผลผลิตที่มากขึ้น คูณ 2 เข้าไปเลย ปัจจุบันนี้พันธุ์นี้ยังถือได้ว่าเป็นข้าวโพดข้าวเหนียวอยู่ อันดับต่อไปเราก็จะปรับปรุงให้เป็นข้าวโพดข้าวเหนียวปนหวาน 25 เปอร์เซ็นต์ เหมือนกับสวีทไวโอเล็ท”

คุณวิชัย กล่าว “ที่ถืออยู่นี้คือ สวีทไวโอเล็ท ซึ่งสวีทไวโอเล็ทเป็นตัวแชมเปียนของ บริษัท ศรแดง มาเป็น 10 ปีแล้วนะครับ สวีทไวโอเล็ทเป็นข้าวโพดเหนียวหวาน 2 สี สีขาว คือส่วนของข้าวโพดข้าวเหนียว ส่วนสีม่วง เป็นตัวแอนโทไซยานิน เป็นตัวเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการให้กับสินค้าตัวนี้ จุดเด่นของตัวสวีทไวโอเล็ท นั่นคือ รสชาติที่ตอบโจทย์เกษตรกร เหนียวนุ่มแล้วก็หวาน อีกอย่างหนึ่งก็คือ เวลากัดกินเราจะรู้สึกว่ามันหลุดล่อนง่าย ไม่ติดฟัน ไซซ์ก็พอเหมาะ

การเซ็น MOU ในวันนี้ ก็เพื่อตอบโจทย์ของผู้บริโภคที่พฤติกรรมของผู้บริโภคนั้นเปลี่ยนแปลงไปเยอะ ทุกวันนี้ผู้บริโภคจับจ่ายใช้สอยผ่านทางร้านสะดวกซื้อมากขึ้น ในขณะที่สินค้าตัวนี้ผู้บริโภคส่วนใหญ่หาได้ตามตลาดสด ตลาดข้างทางหรือว่าตลาดนัด เราพยายามสร้างโอกาสให้ผู้บริโภคเข้าถึงสินค้าของทางบริษัท เราก็เลยมีการเซ็น MOU กับทาง บริษัท ซันสวีท ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านแปรรูปสินค้าทางการเกษตร เพื่อที่จะสร้างโอกาสให้กับสินค้าของทาง อีสท์ เวสท์ ได้เข้าถึงผู้บริโภคได้มากยิ่งขึ้น ผ่านทางช่องทางร้านสะดวกซื้อครับ”

หลังจากพิธีลงนาม (MOU) ระหว่าง บริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด จำกัด และ บริษัท ซันสวีท จำกัด (มหาชน) ว่าด้วยการนำข้าวโพดข้าวเหนียว สายพันธุ์ “สวีทไวโอเล็ท” มาแปรรูปพร้อมรับประทานบรรจุในถุงสุญญากาศได้เสร็จสิ้นลง เหล่าสื่อมวลชนได้มีโอกาสเดินทางไปเยี่ยมชมโรงงานแปรรูปข้าวโพดหวานบรรจุกระป๋องของทาง บริษัท ซันสวีท จำกัด (มหาชน) ที่อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่

กอ.รมน. จับมือ วช.เซ็นเอ็มโอยูเพื่อร่วมกันใช้ประโยชน์นวัตกรรมงานวิจัย ไปขยายผล พัฒนาอาชีพ คุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อมชุมชนทั่วประเทศ ให้เติบโตอย่างมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน

เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2562 กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ร่วมกับสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการใช้ประโยชน์องค์ความรู้จากผลงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ เพื่อร่วมพลังพัฒนาชุมชนให้เกิดความเข้มแข็งตามนโยบายรัฐบาลและยุทธศาสตร์ชาติ

ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในครั้งนี้ กอ.รมน. และ วช. มีเป้าหมายร่วมกันที่จะบูรณาการหน่วยงานในพื้นที่นำองค์ความรู้จากผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปขยายผล ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม และชุมชน เพื่อการพัฒนาและแก้ไขปัญหา พัฒนาอาชีพ คุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

ศาสตราจารย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. เป็นหน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) มีหน้าที่ในการให้ทุนวิจัยและนวัตกรรม การจัดทำฐานข้อมูลและดัชนีด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ การริเริ่ม ขับเคลื่อนและประสานการดำเนินงานโครงการวิจัยและนวัตกรรมที่สำคัญของประเทศ การจัดทำมาตรฐานและจริยธรรมการวิจัย

การส่งเสริมและถ่ายทอดความรู้เพื่อใช้ประโยชน์ การส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยและนวัตกรรม และการให้รางวัล ประกาศเกียรติคุณหรือยกย่องบุคคล หรือหน่วยงานด้านการวิจัยและนวัตกรรม โดยมีเป้าหมายเพื่อการยกระดับคุณภาพชีวิต และเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ ทั้งนี้ กอ.รมน. เป็นหน่วยงานความมั่นคงที่มีภารกิจและหน้าที่รับผิดชอบในการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร และดูแลประสานงานในการป้องกันและแก้ไขปัญหาความมั่นคงเพื่อประโยชน์ของประชาชนและความมั่นคงของรัฐ

ทั้ง กอ.รมน. และ วช. มีแนวคิดร่วมกันที่จะส่งเสริมและสนับสนุนการใช้ประโยชน์องค์ความรู้จากผลงานวิจัยและนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ให้ชุมชนเข้มแข็ง และเป็นการสานต่อตามแนวพระราชดำริ ในการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและศาสตร์พระราชา ร่วมกับองค์ความรู้จากผลงานวิจัยและนวัตกรรม เป็นแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน จึงได้จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการใช้ประโยชน์องค์ความรู้ จากผลงานวิจัยและนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ : ชุมชนเข้มแข็ง ด้วยวิจัยและนวัตกรรม ในครั้งนี้ โดยผ่านกลไกการดำเนินงานของศูนย์ประสานการปฎิบัติของ กอ.รมน. มีเป้าหมายในการดำเนินงานร่วมกัน 3 ปี

สำหรับการลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ พลเอก ธีรวัฒน์ บุณยะวัฒน์ เลขาธิการกองอำนวยการรักษา ความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ศาสตราจารย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ พลโทธเนศ กาลพฤกษ์ รองเลขาธิการ กอ.รมน.พลโทกนก ภู่ม่วง ผู้อำนวยการศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 1 กอ.รมน. พลโทกิตติธัช บุพศิริ ผู้อำนวยการศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 2 กอ.รมน. พลโทอรรถพร เป้าประจักษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 3 กอ.รมน. พลโทเรืองสิทธิ์ มิตรภานนท์ ผู้อำนวยการศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 4 กอ.รมน. พลโทวาสิฎฐ์ มณีโชติ ผู้อำนวยการศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 5 กอ.รมน. และดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง รองผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ร่วมลงนามพร้อมกัน ณ สวนรื่นฤดี เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร

สำหรับผลงานวิจัยและนวัตกรรม ที่กอ.รมน. และ วช. จะร่วมกันบูรณาการหน่วยงานในพื้นที่นำองค์ความรู้ไปขยายผลสู่ชุมชนในครั้งนี้ มีจำนวน 7 ประเด็น ได้แก่ 1. เครื่องอบแห้งแบบถังทรงกระบอกหมุนด้วยรังสีอินฟราเรดร่วมกับลมร้อนปล่อยทิ้ง ของ ผศ.ดร.จักรมาส เลาหวณิช สาขาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยนวัตกรรมดังกล่าวใช้ในการอบแห้งวัสดุประเภทเมล็ด เม็ดหรือผง เช่น ปุ๋ยอัดเม็ด ข้าวเปลือก เป็นต้น ช่วยประหยัดพลังงานเชื้อเพลิง เหมาะสำหรับกลุ่มเกษตรกร สหกรณ์และวิสาหกิจชุมชนขนาดย่อม

2.ตู้เพาะเห็ดอัตโนมัติ ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ซึ่งเป็นวิธีการเพาะเห็ดในตู้เพาะเห็ดขนาดเล็กช่วยเพิ่มผลผลิตมากกว่าการเพาะเห็ดแบบเดิม ปัจจุบันถูกนำไปใช้แพร่หลายในจังหวัดหนองบัวลำภู สกลนคร อุดรธานี บึงกาฬ มุกดาหาร นครพนมและจังหวัดเลย

3.การพัฒนาเตาเผาถ่านขนาด 200 ลิตรแบบแนวตั้งด้วยเทคนิคแก๊สซิฟิเคชั่น ของมหาวิทยาลัยนเรศวร นวัตกรรมชิ้นนี้ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของเตา ทำให้ถ่านไม้มีคุณภาพมากขึ้น ช่วยชุมชนลดรายจ่าย เพิ่มรายได้และพึ่งพาตัวเองได้

4.การจัดการความรู้ในการใช้ขยะชีวมวลแบบครบวงจรเพื่อเป็นพลังงานทดแทนสำหรับชุมชนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในพื้นที่อำเภออมก๋อย จ.เชียงใหม่ ของวิทยาลัยพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีชุมชนแห่งเอเชีย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ ผลงานนี้ เน้นส่งเสริมการใช้พลังงานชีวมวลในระดับครัวเรือนและวิธีการประยุกต์ใช้ขยะชีวมวลเพื่อเป็นพลังงานทดแทนในชุมชน

5. การจัดการความรู้เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตและการบริหารจัดการเชิงธุรกิจของกลุ่มผู้ผลิตข้าวปิ่นเกษตร ภายใต้โมเดลข้าวกำแพงแสน ของ ดร.สาคร ชินวงค์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ผลงานชิ้นนี้ เน้นการส่งเสริมการรวมเครือข่ายเกษตรกรผู้ผลิตข้าวปิ่นเกษตรอย่างเป็นระบบ ในพื้นที่ 7 จังหวัดในภาคตะวันตก ภาคกลางตอนบนและภาคใต้

6.เครื่องเร่งกระบวนการแช่และเพาะงอกข้าวเปลือกสำหรับกระบวนการผลิตข้าวฮางงอก(เครื่องสปาข้าว) ของผศ.ดร.สุพรรณ ยั่งยืน สาขาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และ ผศ.ดร.เชิดพงษ์ เชี่ยวชาญวัฒนา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น นวัตกรรมเครื่องสปาข้าวเป็นการพลิกโฉมข้าวฮางงอกเดิม ช่วยเร่งกระบวนการแช่และเพาะงอกข้าวเปลือกให้งอกได้ภายใน 24 ชั่วโมง ทำให้ข้าวมีคุณภาพดีขึ้น มีกลิ่นหอม เนื้อสัมผัสนุ่ม เปอร์เซ็นต์ข้าวแตกหักน้อยลง เก็บรักษาคุณภาพข้าวได้นาน ลดต้นทุนแปรผันด้านเวลาและแรงงาน ทำให้ชุมชนสามารถเพิ่มกำลังการผลิตข้าวฮางได้มากขึ้น

7.การขับเคลื่อนผู้ผลิตผลไม้อบแห้งพรีเมี่ยมรายย่อย รักษ์สิ่งแวดล้อมด้วยองค์ความรู้การใช้พลังงานทางเลือกเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน เป็นผลงานนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยศิลปากร ที่นำผลไม้มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์หลายชนิดเช่น ผลไม้อบแห้ง(กล้วยตาก) ผลไม้ทอด ผลไม้กวน ฯลฯ โดยใช้พลังงานทางเลือก ช่วยเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรในสวนไร่นา ทำให้เกิดวิสาหกิจชุมชนและSME ที่ใช้ระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์พาลาโบล่าโดม ในจังหวัดนครปฐม สระแก้ว ฉะเชิงเทรา และเพชรบุรี

เกษตรกรรม เป็นกิจกรรมการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ และประมง แต่การเลือกทำเพียงกิจกรรมเดียว จะมีความเสี่ยงค่อนข้างสูงที่จะไม่ได้รับผลผลิตเมื่อต้องประสบกับภัยสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ แต่ถ้าเลือกทำ “เกษตรผสมผสาน” คือมีตั้งแต่ 2 กิจกรรมขึ้นไป มีการวางแผนการผลิต ใช้ปัจจัยผสมผสานเพื่อลดต้นทุนการผลิต ความเสี่ยงก็ลดลง

ในสภาวะวิกฤตเศรษฐกิจแปรปรวนเกษตรผสมผสานจึงเป็นทางเลือกในการยกระดับรายได้เพื่อนำไปสู่การดำรงชีพที่มั่นคง วันนี้จึงนำเรื่อง เกษตรผสมผสาน วิถีพอเพียง บนพื้นที่ 2 ไร่ ที่สิงห์บุรี มาบอกเล่าสู่กัน

คุณยศพนธ์ ทัพพระจันทร์ เกษตรจังหวัดสิงห์บุรี เล่าให้ฟังว่า จังหวัดสิงห์บุรีมีพื้นที่การเกษตร 418,781 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ทำนา 377,826 ไร่ พื้นที่ปลูกพืชไร่ 11,002 ไร่ พื้นที่ปลูกพืชสวน เช่น ปลูกไม้ผล พืชผัก 26,895 ไร่ พื้นที่เลี้ยงสัตว์ 1,189 ไร่ และพื้นที่ประมง 1,869 ไร่ ประชากรส่วนใหญ่ทำอาชีพเกษตรกรรม ทั้งทำการเกษตรเชิงเดี่ยว ทำไร่นาสวนผสม หรือเกษตรผสมผสาน

เกษตรผสมผสาน เป็นงานเกษตรที่ทำตั้งแต่ 2 กิจกรรม ขึ้นไป เพื่อลดความเสี่ยง โดยได้ส่งเสริมให้เกษตรกรปฏิบัติตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ให้วางแผนการปลูกและผลิต ปฏิบัติดูแลบำรุงรักษาที่มีประสิทธิภาพ ใช้ปัจจัยผสมผสานเพื่อลดต้นทุนการผลิต ให้ผลิตในระบบเกษตรดีที่เหมาะสม หรือ GAP (Good Agricultural Practice) ที่ได้ผลผลิตดี มีคุณภาพ หรือเป็นสินค้าโอท็อป (OTOP) ที่ตลาดต้องการ ทำให้เกษตรกรยกระดับรายได้ เพื่อการดำรงชีพที่มั่นคง

ร้อยตรีบัญชา เพ็ชรรักษ์ ผู้ทำเกษตรผสมผสาน เล่าให้ฟังว่า จากที่เคยเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ เมื่อเกษียณก็ได้ผันตัวออกมาเป็นชาวบ้านเป็นเกษตรกร เบื้องต้นจึงต้องเรียนรู้เสริมสร้างประสบการณ์งานด้านเกษตรให้ชำนาญ สืบค้นข้อมูลด้านวิชาการเกษตรจากแหล่งวิชาการ ขอรับคำแนะนำจากสำนักงานเกษตรจังหวัดสิงห์บุรี เมื่อได้ข้อมูลพอแล้ว ได้ตัดสินใจทำเกษตรผสมผสาน ทั้งปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ เพื่อลดความเสี่ยง ให้มีผลผลิตบริโภคหรือเหลือขาย

การดำเนินงาน ได้จัดการใช้ประโยชน์ พื้นที่ 2 ไร่ ที่มีพื้นที่ส่วนที่หนึ่งเป็นบ้านพัก ส่วนที่สองจัดเป็นพื้นที่ปลูกไม้ผลและพืชผัก ส่วนที่สามจัดเป็นคอกเลี้ยงหมู เป็ด และไก่ จัดให้มีแหล่งน้ำใช้ในการผลิตเกษตร

กิจกรรมหลัก คือ การเลี้ยงหมูแม่พันธุ์และเลี้ยงหมูขุน ได้สร้างโรงเรือนห่างจากบ้านพักและเป็นที่ดอน น้ำไม่ขัง เมื่อล้างทำความสะอาดพื้นคอกหมู มูลหมูที่เก็บได้ใส่น้ำหมักชีวภาพลงไปคลุกเคล้าเพื่อกำจัดกลิ่นและป้องกันแมลงวันเข้ามารบกวน ส่วนมูลหมูที่ตากแห้งได้นำไปใช้ในแปลงเกษตร อีกส่วนหนึ่งขาย การเลี้ยงหมูมี ดังนี้

การเลี้ยงแม่พันธุ์หมู ได้คัดเลือกแม่พันธุ์หมูมาเลี้ยง 3 วิธี คือ

1. ซื้อลูกหมูขุนจากฟาร์ม คัดเลือกตัวที่มีน้ำหนัก ประมาณ 90 กิโลกรัม หรืออายุ 4 เดือน นับจากวันอย่านม มีลักษณะดีเช่น มีเต้านม 13 เต้า ขึ้นไป หัวนมไม่บอด แผ่นหลังกว้าง ขาหลังใหญ่ตรง แข็งแรง
2. ซื้อแม่พันธุ์หมูที่แหล่งพันธุ์ดี คัดเลือกขนาด อายุ น้ำหนักและใกล้เป็นสัด มีข้อดีคือ โครงร่างใหญ่ ให้ลูกดก
3.เลือกซื้อลูกหมูที่เกิดจากแม่พันธุ์ดี ราคาถูก สุขภาพดี ไม่อ่อนแอ และต้านทานโรค
การเลี้ยงหมูขุน นำลูกหมูอย่านมเข้าคอก ติดป้ายระบุวันอย่านมไว้ที่คอก เพื่อการดูแลและกำหนดวันจับขาย ช่วงแรกที่เลี้ยงได้ให้อาหารหมูเล็กหรือให้กินกล้วยน้ำว้าสุกบ้าง เพราะลูกหมูยังหากินไม่เก่ง ช่วงอดนม 2-3 วัน ต้องปอกเปลือกกล้วยสุกหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ให้กิน ถ้าลูกหมูท้องเสียให้ลดอาหาร เมื่อดีขึ้นก็ให้กินอาหารเหมือนเดิม แต่ถ้าไม่ดีขึ้นต้องใช้ยาฉีด หมูที่มีน้ำหนัก 15 กิโลกรัม ขึ้นไป ได้เปลี่ยนเป็นอาหาร เบอร์ 2 มาผสมให้กิน เมื่อได้น้ำหนัก 30 กิโลกรัม ได้เปลี่ยนเป็นอาหาร เบอร์ 3 มาผสมให้กิน และเมื่อหมูน้ำหนัก 50 กิโลกรัม เปลี่ยนมาผสมอาหารปกติให้กิน

การทำบ่อบำบัด ได้สร้างบ่อบำบัดอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าพื้นคอกหมู เพื่อให้น้ำที่ล้างทำความสะอาดไหลลงบ่อได้ง่าย ฉาบด้วยปูนซีเมนต์ด้านในวงบ่อซีเมนต์ป้องกันน้ำซึมเข้าและป้องกันกลิ่นไปรบกวนเพื่อนบ้าน และเมื่อมูลหมูเต็มบ่อได้สูบขึ้นมาใช้ประโยชน์ในการปลูกพืช

ร้อยตรีบัญชา เล่าให้ฟังในท้ายนี้ว่า อีกกิจกรรมหนึ่งคือ เลี้ยงไก่ไข่ 15 ตัว มีไข่ให้เก็บ 10-14 ฟอง ต่อวัน วิธีเลี้ยงได้ปล่อยไก่ไปหากินเศษอาหารที่ตกหล่นจากการเลี้ยงหมูหรือเศษพืชผักผลไม้เพื่อลดต้นทุนค่าอาหารเม็ด และได้จัดอาหารเม็ดให้ไก่กินเพื่อเสริมให้เพียงพอต่อการเจริญเติบโตให้ผลผลิตคุณภาพ

การปลูกพืช ได้ปลูกพืชอายุสั้นที่ให้ผลผลิตไวได้เก็บกินในครัวเรือนก่อน เหลือก็นำออกขายให้กับพ่อค้าในหมู่บ้านนำไปขายต่อที่ตลาดสิงห์บุรี พืชผักที่ปลูก เช่น ผักโขม ผักสลัด มะเขือ กะเพรา ข่า ตะไคร้ หรือดอกชมจันทร์ ส่วนไม้ผลที่ปลูก เช่น มะม่วง ฝรั่ง กล้วยหอม กล้วยเล็บมือนาง มะละกอ หรือมะนาว

ปลูกมะนาวในวงบ่อซีเมนต์ เวลานี้มีผลมะนาวให้เก็บมากินและนำออกขาย ปลูกชมจันทร์ไม้เถาเลื้อยพืชผักสวนครัวที่ปลูกง่ายให้ดอกดก นำไปแกงส้มหรือลวกกินกับน้ำพริกได้รสแซบอร่อย ผักโขมเป็นพืชผักอีกชนิดที่กินอร่อยได้เก็บบรรจุใส่ถุงไปวางขายตลาดผู้ซื้อชอบมาก พืชผักและไม้ผลจะมีผลผลิตให้ทยอยเก็บได้ต่อเนื่องทุกวัน

การทำเกษตรผสมผสาน ได้จดบันทึกทุกกิจกรรมเพื่อนำข้อดี ข้อด้อย มาเป็นแนวทางแก้ไขปรับปรุงวิธีผลิตและการผลิตในระบบเกษตรดีที่เหมาะสม หรือ GAP (Good Agricultural Practice) ได้ผลผลิตดี มีคุณภาพ จึงได้รับการรับรองให้เป็นสินค้าเกษตรดีมีคุณภาพ จากกรมวิชาการเกษตร และการก้าวสู่ความสำเร็จมีผลผลิตให้เก็บกินหรือนำไปขายเป็นรายได้ เป็นเกษตรผสมผสานตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ที่ทำให้วิถีการดำรงชีพมีความมั่นคง

จากเรื่อง เกษตรผสมผสาน วิถีพอเพียง บนพื้นที่ 2 ไร่ ที่สิงห์บุรี ได้จัดการพื้นที่ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ ใช้ปัจจัยผสมผสานเพื่อลดต้นทุนการผลิตที่ได้ผลตอบแทนคุ้มทุนหรือจดบันทึกกิจกรรม เป็นวิถีการดำรงชีพที่มั่นคง

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ร้อยตรีบัญชา เพ็ชรรักษ์ เลขที่ 20/1 หมู่ที่ 6 ตำบลพวกรวม อำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี โทร. (081) 291-9687 หรือที่สำนักงานเกษตรจังหวัดสิงห์บุรี โทร. (036) 813-488 ก็ได้เช่นกันครับ

มะเฟือง เป็นผลไม้อีกชนิดหนึ่งที่รู้จักกันดี อุดมไปด้วย วิตามิน เอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 ไนอะซีน โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมันเส้นใย แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็กและพลังงาน ในปริมาณไม่น้อยเลย

สำหรับพันธุ์ของมะเฟืองนั้นเช่นเดียวกับผลไม้อื่นๆที่มีหลากหลายพันธุ์ แต่ที่ขึ้นชื่อและเป็นที่นิยมคือ พันธุ์ บี 17 หรือที่มีอีกชื่อว่า Honey Star มะเฟืองบี 17 ผลมีขนาดใหญ่ และมีน้ำหนักมาก ชั่งได้ 3 – 4 ผลต่อกิโลกรัม

ทรงผลค่อนข้างยาว และมีความกว้างสม่ำเสมอตลอดผล ผลมีความยาวประมาณ 8 – 10 เซนติเมตร กลีบผลหนา มีฐานกว้าง ร่องระหว่างผลตื้น ที่ผิวของกลีบ มีจุดประเห็นได้ชัด นอกจากนี้ยังมีเปลือกบาง เมื่อแก่จัดมีสีเหลืองเข้ม จนถึงเหลืองอมส้ม เนื้อนิ่มฉ่ำน้ำ มีกลิ่นหอม รสหวาน

ความหวานวัดได้ 11.5 องศาบริกซ์ รสไม่ฝาด มี 5 – 10 เมล็ดต่อผล วิธีการปลูกมะเฟือง ในส่วน ระยะปลูก ใช้ระยะ 4×4 เมตร (หลังปลูกปีที่ 3 จะตัดต้นเว้นต้น) แต่ถ้า ขุดหลุม ขนาด 50x50x50 เซนติเมตร ทั้งนี้ในการปลูกนั้นควรรองก้นหลุมด้วย โดโลไมต์ : 0-3-0 : 15-15-15 : ปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 100 กรัม : 100 กรัม : 100 กรัม : 100 กรัม : 50 กรัม : 3 กิโลกรัม ต่อหลุม

การดูแลรักษา โดยหลังจากปลูกจะให้น้ำวันเวันวันในฤดูแล้ง

นอกจากนี้ หลังจากปลูก 1 เดือน จะใส่ปุ๋ย 21-0-0 อัตรา 50 กรัม ต่อต้น เมื่ออายุปลูก 2 เดือนขึ้นไป จะใส่ปุ๋ย สูตร 13-13-13 หรือ 15-15-15 อัตรา 50-100 กรัม ต่อต้น ต่อเดือน และใช้เมธามิโตฟอส : เบนเลท : 21-21-21 อัตรา 30 : 10 : 30 ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น 2 สัปดาห์ ต่อครั้ง

หลังจากปลูก 8-10 เดือน จะเริ่มแต่งกิ่งเพื่อเลี้ยงทรงพุ่ม หลังจากตัดแต่งกิ่งเสร็จ มะเฟืองจะเริ่มแทงช่อดอก เมื่อแทงช่อดอก 10-15 วัน จะพ่นยาฆ่าแมลงอัตราเดิม 2 สัปดาห์ ต่อครั้ง พอดอกบาน 40 วัน จะปลิดแต่งผลเหลือไว้เฉพาะผลที่ต้องการ แล้วใช้ถุงพลาสติกสีขาวขุ่น หรือถุงกระดาษ ห่อผลไว้ถุงละ 1 ผล

ทั้งนี้ ต้นที่มีอายุ 12 เดือน สามารถห่อผลไว้ได้ ประมาณ 10-20 ผล ต่อต้น ในขณะที่ต้นที่มีอายุ 3 ปีขึ้นไป สามารถเก็บผลผลิตได้รุ่นละไม่ต่ำกว่า 15 กิโลกรัม ต่อต้น

เมื่อเก็บผลผลิตแล้วจะเริ่มตัดแต่งกิ่งมะเฟือง แล้วฉีดพ่นยาป้องกันกำจัดโรคแมลงอัตราเดิม เพื่อเตรียมเลี้ยงดอกรุ่นต่อไป

มะเฟืองหวานๆ สีเหลืองสด ที่ห้อยเป็นระย้าบนต้น จึงนับเป็นอีกหนึ่งความน่าสนใจ หากจะมีไว้ที่ในสวนข้างบ้านสักหนึ่งต้น เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด จับมือ 3 องค์กรพันธมิตร ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดย กรมการข้าว กระทรวงอุตสาหกรรม โดย สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จัดงานสัมมนา Agri Forum 2019 เกษตรปลอดการเผา ภายใต้แนวคิด The World of Unburnt Farm กระตุ้นเกษตรกรไทยทำเกษตรแบบไม่เผา ผ่านเกษตรกรต้นแบบ การปาฐกถาพิเศษ กิจกรรมเสวนา และนิทรรศการเกี่ยวกับการทำเกษตรแบบปลอดการเผา

นายสมศักดิ์ มาอุทธรณ์ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวว่า สยามคูโบต้า ได้จัดงานสัมมนา Agri Forum ขึ้น ซึ่งเป็นงานสัมมนาครั้งใหญ่ประจำปีที่สยามคูโบต้าได้จัดมาอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนด้านองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ในด้านต่างๆ ให้แก่เกษตรกรไทย ได้พัฒนาการทำเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างสูงที่สุด โดยในปีนี้ งานสัมมนา Agri Forum 2019 เกษตรปลอดการเผา จัดขึ้นภายใต้แนวคิด The World of Unburnt Farm และได้จับมือกับ 3 พันธมิตร หน่วย