แหล่งข่าวจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า นอกจาก

การปรับครม.ในส่วนของกระทรวงเศรษฐกิจ อาจมีการโยก นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้ไปดำรงตำแหน่งในสำนักนายกรัฐมนตรี ไปจนกว่าจะมีตำแหน่งที่เหมาะสม แต่การโยกย้ายเหรือการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้จะเกิดขึ้น หลังจากผ่านพ้นวันพืชมงคล ในเดือนพฤษภาคม 2560 ไปก่อน เพราะปลัดกระทรวงเกษตรฯจะต้องเป็นพระยาแรกนาโดยตำแหน่ง ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงเกิดจาก นายธีรภัทร นั่งเก้าอี้ปลัดกระทรวงเกษตรฯ ไม่สามารถทำงานหรือสั่งการลูกน้องหรือข้าราชการใต้บังคับบัญชาได้ และงานหลายอย่างที่พล.อ.ฉัตรชัย สั่งการและมอบหมายให้นายธีรภัทรดำเนินการและรับผิดชอบไม่มีความคืบหน้า ส่งผลให้พล.อ.ฉัตรชัยไม่พอใจการทำงานของปลัดกระทรวงฯเป็นอย่างมาก ซึ่งสถานการณ์การทำงานของนายธีรภัทร กลายเป็นแกะดำในกระทรวงเกษตรฯ ลูกน้องไม่เชื่อฟัง

นายธีรภัทร กล่าวว่า ขอไม่ให้สัมภาษณ์ในเรื่องกระแสข่าวดังกล่าว เพราะไม่ทราบเกี่ยวกับเรื่องการโยกย้ายตนไปสำนักรัฐมนตรีและการปรับครม.เศรษฐกิจเลย รวมทั้งการดำเนินการเรื่องงานต่างๆ ก็กำลังเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และไม่น่าจะมีการใช้ม.44 เร็วๆ นี้

เพื่อเป็นการส่งเสริมอาชีพในการตัดเย็บเสื้อผ้า เพิ่มรายได้ยามว่างเว้นจากงานประจำ ลดภาระรายจ่ายในครอบครัว องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ฉลุง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล จึงจัดโครงการฝึกอาชีพตัดเย็บเสื้อผ้าชุดสตรีมุสลิม มีกลุ่มสตรีให้ความสนใจเข้าร่วมโครงการ 25 คน ใช้เวลาฝึกในระยะเวลา 10 วัน จนทุกคนสามารถตัดเย็บอย่างชำนาญ นำไปประกอบอาชีพได้จริง หรือตัดเย็บเสื้อผ้าใส่ได้ในครอบครัว ลดภาระค่าใช้จ่ายในครัวเรือน

นางฮอดีย๊ะ เนื้ออ่อน วิทยากรท้องถิ่นวัย 48 ปี ซึ่งเป็นช่างตัดเย็บเสื้อผ้าสตรีมุสลิมมานานกว่า 18 ปี บอกว่า การตัดเย็บสอนการตัดเสื้อผ้าชุดสตรีมุสลิม ชุดเดรสยาว หรือภาษาถิ่นเรียกว่าชุดยูบะ ส่วนชุดกูหรง มีผ้า 2 ชิ้น กระโปรงและเสื้อ ตัวเสื้อจะยาวถึงเข่าและกระโปรงยาวปิดตาตุ่ม ชุดกาบายา หรือบาหยา ชุด 2 ชิ้น เสื้อมีกระดุมผ่าด้านหน้า ชายเสื้อแหลม ตกแต่งด้วยลูกไม้ตามรสนิยม ส่วนกระโปรงจะเน้นสัดส่วนผู้สวมใส่ ซึ่งเป็นเสื้อผ้าเฉพาะกลุ่มในพื้นที่ของชาวไทยมุสลิมที่นิยมสวมใส่

“ในพื้นที่ตำบลฉลุง ถือเป็นแหล่งแฟชั่นเสื้อผ้ามุสลิมที่ขึ้นชื่อ มีร้านจำหน่ายเสื้อผ้ามุสลิมเยอะที่สุดในจังหวัด โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลงานบุญฮารีรายอ งานแต่งหรืองานทางศาสนา รวมทั้งในชีวิตประจำวัน องค์กรต่างๆ ก็ใช้เป็นชุดเครื่องแบบในองค์กร ในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ โดยราคาเริ่มตั้งแต่ 300-1,500 บาท แล้วแต่เนื้อผ้า ลวดลาย ความยากง่ายของแบบ”

ด้าน นางธิดา อาดตรันตา อายุ 35 ปี สตรีในหมู่บ้านที่เข้าร่วมโครงการ บอกว่า ที่ตัดสินใจเข้าร่วมโครงการเพราะมีพื้นฐานอยู่บ้างแล้วเล็กน้อย ต้องการมาเรียนเพิ่มเติม และหวังจะนำไปสร้างอาชีพเสริมหารายได้ให้กับครอบครัวที่ทำสวนยางพารา เชื่อว่าจะใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และครอบครัวมีรายได้เพิ่มขึ้นเท่านั้น และอยากให้มีการสอนในการออกแบบดีไซน์ให้ด้วย น่าจะทำให้ตัดเย็บเสื้อผ้าที่เข้ากับยุคสมัยตามแบบฉบับสตรีมุสลิมได้

นางพรทิพา รอเกตุ หัวหน้าสำนักปลัด อบต.ฉลุง บอกว่ร ภายใต้การรับนโยบายจากคณะผู้บริหาร นำโดย นายชนะ ยากะจิ นายก อบต.ฉลุง ได้ดำเนินโครงการฝึกอาชีพให้แก่ประชาชนมาแล้วหลายโครงการ อาทิ การส่งเสริมการเลี้ยงแพะ การฝึกอาชีพตัดผมชายระยะสั้น การฝึกอาชีพการทำน้ำพริก ฯลฯ ซึ่งทุกโครงการล้วนได้รับความสนใจจากประชาชนในพื้นที่เป็นจำนวนมาก การฝึกอาชีพการตัดเย็บเสื้อผ้าสตรีครั้งนี้จะเป็นอีกหนึ่งโครงการที่จะพัฒนาศักยภาพชุมชนในการยกระดับชุมชนเข้มแข็ง ให้สามารถช่วยเหลือตัวเองในการฝึกฝนอาชีพต่างๆ เพื่อการมีรายได้เพิ่มเติมชีวิตประจำวันได้

“ทาง อบต.ฉลุง หวังว่าการสร้างช่างมีฝีมือให้มีจำนวนมากพอเพียงรองรับความต้องการของผู้บริโภคที่นิยมซื้อหาและตัดเย็บเสื้อผ้าสตรีสวมใส่ ตอบโจทย์ความต้องการของสตรีมุสลิมในพื้นที่ 5 จังหวัดภาคใต้ และมุสลิมในประเทศมาเลเซีย ที่มีพรมแดนติดต่อกัน จะเป็นตลาดกว้าง สร้างงาน สร้างรายได้ให้คนในชุมชนได้ในอนาคต

เมื่อเร็วๆ นี้ นายนักรบ ณ ถลาง นายอำเภอเมืองชุมพร ได้นำผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และผู้นำชุมชนใน อ.เมืองชุมพร อาทิ นายธรรมนูญ ศรีนวลนายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) บ้านนา นายสุวาพิน ฤกษ์พล รองนายก อบต.บ้านนา นายฉลวย อุชุภาพ รองประธานสภา อบต.บ้านนา นายประเสริฐ วัดนครใหญ่ กำนัน ต.หาดพันไกร ฯลฯ เดินทางไปดูการบริหารจัดการโรงเผาขยะชุมชนไร้มลพิษบ้านเขาเลี้ยว หมู่ 1 ต.เขาไชยราช อ.ปะทิว จ.ชุมพร ซึ่งอยู่ในความดูแลของ อบต.เขาไชยราช

นายนักรบ กล่าวว่า เมื่อ 2 ปีที่แล้ว สมัยที่ตนเป็นนายอำเภอปะทิว ได้จัดโครงการนำผู้นำ อปท.กำนัน ผู้ใหญ่บ้านใน อ.ปะทิว เดินทางไปศึกษาดูงานโรงเผาขยะชุมชนไร้มลพิษของ อบต.สะลวง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ หลังจากนั้น นายสฤษติ์ ปิ่นเกตุ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 1 บ้านเขาเลี้ยว ต.เขาไชยราช ได้บริจาคที่ดิน 4 ไร่ ให้ อบต.เขาไชยราชใช้สร้างโรงเผาขยะ 1 ไร่ และทำบ่อน้ำ 3 ไร่ โดยได้นำรูปแบบโรงเผาขยะของ อบต.สะลวงมาประยุกต์ให้เข้ากับสภาพพื้นที่ อยากให้ทุกท้องถิ่นลองมาศึกษาและนำกลับไปสร้างบ้าง เพราะใช้งบประมาณน้อย แต่ผลประโยชน์ที่จะได้รับในระยะยาวมีมากมายมหาศาล

“ในฐานะนายอำเภอเมืองชุมพร จะนำเรื่องโรงเผาขยะของ อบต.เขาไชยราช อ.ปะทิว เข้าที่ประชุมจังหวัดชุมพร เพื่อต้องการผลักดันทุกท้องถิ่นให้ความสำคัญเรื่องการจัดการขยะในลักษณะขยะใครขยะมัน ต้องบริหารจัดการกันเอง โดยไม่เอาขยะของตนไปสร้างภาระให้ท้องถิ่นอื่น เพราะขณะนี้ปัญหาขยะได้กลายเป็นวาระแห่งชาติไปแล้ว การเริ่มต้นจัดการปัญหาขยะง่ายๆ ที่เราสามารถทำได้ก็คือ การคัดแยกขยะเปียก ขยะแห้ง ขยะที่นำกลับมาใช้ได้ใหม่ และขยะมีพิษก่อน รวมทั้งการลดการสร้างขยะของแต่ละคนลงบ้างเท่านั้น” นายนักรบ กล่าว

นายชัชวาล จิตรภิรมย์ นายก อบต.เขาไชยราช กล่าวว่า อบต.เขาไชยราชได้พยายามหาทางแก้ปัญหาขยะที่ถือเป็นปัญหาใหญ่มาโดยตลอด เพราะจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น ทำให้ปริมาณขยะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย เดิม อบต.เขาไชยราชเคยนำขยะไปทิ้งที่เขากล้วย ต.หาดพันไกร อ.เมืองชุมพร ซึ่งเป็นบ่อขยะของเทศบาลเมืองชุมพร แต่หลังจากเดินทางไปดูโรงเผาขยะชุมชนของ อบต.สะลวง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ เมื่อ 2 ปีที่แล้วกับนายนักรบ ผู้บริหาร อบต.เขาไชยราชและผู้นำชุมชนก็มีมติให้ขอรูปแบบโรงเผาขยะของ อบต.สะลวงมาสร้างใน ต.เขาไชยราช โดยผู้ใหญ่บ้านหมู่ 1 บ้านเขาเลี้ยวบริจาคที่ดินให้ ใช้งบประมาณเพียง 756,000 บาทเท่านั้น และมี พ.ท.ธัชพล ขบวนฉลาด ผู้บังคับหน่วยส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ที่ 4 สำนักงานทหารพัฒนา หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา (ผบ.นกส.4 สทพ.นทพ.) นำเครื่องจักรกลเข้ามาช่วยพัฒนาเส้นทางการเดินทางเข้าสู่โรงเผาขยะ โดยมีแขวงทางหลวงชุมพรให้การสนับสนุนเศษวัสดุที่เหลือจากการรื้อถนนลาดยางมาใช้ทำถนนด้วย

“ปัจจุบัน ต.เขาไชยราชมี 11 หมู่บ้าน มีประชากรประมาณ 4,000 คน ในแต่ละสัปดาห์มีขยะประมาณ 2 ตันที่จะถูกส่งเข้ามากำจัดที่โรงเผาขยะแห่งนี้ สรุปก็คือโรงเผาขยะแห่งนี้จะมีการเผาขยะเดือนละประมาณ 8 ตัน โดย อบต.เขาไชยราชมีการเก็บค่ากำจัดขยะจากชาวบ้านหลังละ 40 บาทต่อเดือนเท่านั้น แต่ในอนาคตอาจจะต้องมีการสร้างโรงเผาขยะเพิ่มขึ้นอีก หากชุมชนมีการขยายตัวมากขึ้น” นายชัชวาล กล่าว

นายประเสริฐ ใจแก้ว ผู้อำนวยการกองช่าง อบต.เขาไชยราช ผู้ควบคุมการก่อสร้างโรงเผาขยะไร้มลพิษดังกล่าว เปิดเผยว่า การก่อสร้างโรงเผาขยะแห่งนี้ไม่ยุ่งยากซับซ้อนอะไร โดยเริ่มจากโครงสร้างต้องแข็งแรงมั่นคงตามหลักวิศวกรรม ด้านในเตาเผาใช้อิฐทนไฟฉาบปูนทนไฟที่ทนไฟได้ถึง 500-1,000 องศาเซลเซียส ส่วนด้านนอกเป็นอิฐบล็อกประสานที่ไม่มีความร้อนและไม่มีอันตรายต่อผู้ดูแล ประตูใส่ขยะทำจากเหล็กเป็นช่องเล็กๆ หากช่องใหญ่จะสะสมความร้อนมากเกินไป อาจทำให้เตาเผาเกิดการแตกร้าวได้ สำหรับขั้นตอนการนำขยะเข้าเตาก็ไม่ยุ่งยาก เมื่อใส่ขยะแล้วก็ใส่กระดาษสำหรับเป็นเชื้อเพลิงเข้าไป แล้วใช้ไม้ขีดก้านเดียวจุดไฟโยนเข้าไปเท่านั้นก็สามารถเผาขยะได้แล้ว โดยจะใช้เวลาเผาขยะ 1 ตันประมาณ 1 ชั่วโมง แต่ขึ้นกับความชื้นของขยะที่ใส่เข้าไปด้วย หลังเผาขยะแล้วจะได้ขี้เถ้าที่นำมาทำอิฐมวลเบาได้ ปุ๋ยอินทรีย์ และน้ำส้มควันไม้ที่นำมาใช้ไล่มด แมลงได้

ส่วนสาเหตุที่เรียกว่า โรงเผาขยะชุมชนไร้มลพิษ ก็เป็นเพราะเป็นเตาที่มีระบบบำบัดควันและกลิ่น เพื่อลดมลพิษ โดยใช้ปั๊มน้ำ น้ำ ปูนขาว (หรือผงซักฟอก) และพัดลมดูดอากาศ มาช่วยในการทำให้ควันที่เกิดจากการเผาไหม้ขยะเจือจาง จากที่เป็นควันดำมีกลิ่นเหม็น ก็กลายเป็นควันขาวที่ไร้กลิ่น หากน้ำที่ใช้มีน้อยก็จะมีระบบน้ำวนที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ซึ่งขั้นตอนการก่อสร้างมี 4 ส่วนใหญ่ๆ คือ 1.จัดหาสถานที่ที่มีถนนเข้าถึง มีแหล่งน้ำและระบบไฟฟ้า (หรือ Solar Cell) 2.ปรับพื้นที่ สร้างพื้นปูนซิเมนต์เพื่อรองรับเตาเผา 3.สร้างอาคารโรงเรือนและรั้วกำแพง 4.ก่อสร้างเตาเผาขยะพร้อมระบบสเปรย์น้ำและปูนขาว (หรือผงซักฟอก) เพื่อบำบัดควัน

การดำเนินงานของโรงเผาขยะแห่งนี้มี 7 ขั้นตอนคือ 1.สร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน โรงเรียน วัด สถานประกอบการ ด้วยการรณรงค์ อบรมให้มีความรู้ในการคัดแยกขยะจากต้นทางคือครัวเรือน ผ่านกระบวนการ 3R คือ Reduce (ลดการก่อขยะ) Reuse (การใช้ซ้ำ) และ Recycle (การนำกลับมาใช้ใหม่) โดยจัดตั้งตลาดนัดขยะ เพื่อสนับสนุนการคัดแยกขยะของครัวเรือนให้มีแหล่งรับซื้อ แลกเปลี่ยนขยะที่ได้จากการคัดแยก2.ตั้งคณะทำงานบริหารจัดการขยะชุมชน และคณะทำงานตลาดนัดขยะชุมชน 3.จัดฝึกอบรมและศึกษาดูงานให้คณะทำงานเพื่อสร้างความรู้และประสบการณ์การจัดตลาดนัดขยะชุมชนที่เป็นต้นแบบและประสบความสำเร็จ เพื่อนำมาเป็นแนวทางและประยุกต์ใช้ 4.ประสานผู้ประกอบการรับซื้อขยะ Recycle ให้เข้าร่วมตลาดนัดขยะและกำหนดราคาขยะ 5.ประชุมคณะทำงานเพื่อกำหนดแนวทาง วัน เวลา จัดตลาดนัดขยะ 6.ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบพื้นที่ วัน เวลา เปิดตลาดนัดขยะ และ 7.จัดตลาดนัดขยะตามวัน เวลา สถานที่ที่กำหนด

โรงเผาขยะชุมชนไร้มลพิษของ อบต.เขาไชยราช ที่จำลองรูปแบบมาจากโรงเผาขยะชุมชนของ อบต.สะลวง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ คงถือเป็น อบต.นำร่องแห่งแรกของ 14 จังหวัดภาคใต้ที่ให้ความสำคัญกับปัญหาขยะที่กำลังกลายเป็นปัญหาระดับประเทศ และเป็นวาระแห่งชาติอยู่ในขณะนี้ หาก อปท.หรือชุมชนใดสนใจจะเดินทางไปศึกษาการบริหารจัดการโรงเผาขยะแห่งนี้ สามารถติดต่อได้ที่ สำนักงานปลัดและกองช่าง อบต.เขาไชยราช โทร.077-651272 เพื่อนัดหมายวัน เวลา และจัดเตรียมบุคลากรไว้คอยให้ความรู้ความเข้าใจ

เกษตรกรตอบรับโครงการศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร( ศพก.) เป็นผลสำเร็จ พัฒนาสู่สมาร์ทฟาร์มเมอร์ เสริมเครือข่ายในพื้นที่ร่วมกัน

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงาน ศพก. ในพื้นที่ 16 จังหวัด เจาะกลุ่มเกษตรกรต้นแบบ 70 ราย เกษตรกรทั่วไป 364 ราย ระบุ เกษตรกรนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์จริง และตื่นตัวในการเข้ามาใช้บริการ ศพก. มากขึ้น แนะภาครัฐต้องมีการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องแบบบูรณาการทุกฝ่าย ทั้งภาครัฐ เกษตรกรสถาบันการศึกษาและเอกชน เพื่อพัฒนาไปในทิศทางที่ตรงต่อความต้องการของท้องถิ่นอย่างจริงจัง

นางสาวรังษิต ภู่ศิริภิญโญ รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบหมายให้ สศก. ติดตามการดำเนินงานโครงการศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเกษตรกรต้นแบบ 70 ราย และเกษตรกรทั่วไป 364 ราย ในพื้นที่ 16 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดลำพูน ลำปาง สุโขทัย พิจิตร นครสวรรค์ อุดรธานี หนองบัวลำภู ขอนแก่น สุรินทร์ ยโสธร กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ฉะเชิงเทรา ระยอง จันทบุรี และตราด ช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา

ผลการติดตามในเบื้องต้นพบว่า เกษตรกรร้อยละ 53.85 ได้เข้ารับการอบรมจาก ศพก. แล้ว ซึ่งเกษตรกร ร้อยละ 45.83 ของเกษตรกรที่เข้ารับการอบรม มีการนำความรู้ที่ได้รับไปปฏิบัติ เช่น การทำปุ๋ยหมัก การตัดแต่งกิ่งไม้ผลเพื่อรอฤดูกาลผลิต และการปลูกพืชปุ๋ยสด เป็นต้น ส่วนเกษตรกรร้อยละ 54.17 ยังไม่ได้นำความรู้มาใช้ประโยชน์ เนื่องจากรอฤดูการผลิต และอยู่ระหว่างเตรียมวัสดุ/อุปกรณ์ต่างๆ โดยความรู้ที่คาดว่าจะนามาปฏิบัติ ได้แก่ การทำเกษตรทฤษฎีใหม่ การทำปุ๋ยสั่งตัด และการทำปุ๋ยหมัก

นอกจากนี้ พบว่า เกษตรกรมีการตื่นตัวในการเข้ามาใช้บริการใน ศพก. มากขึ้น เนื่องจากเคยได้เข้ารับการอบรมในปีที่ผ่านมา และมีการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์และสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ในการทำการเกษตรได้จริง ทั้งในเรื่องการลดต้นทุนการผลิต การลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน และการเพิ่มรายได้

ด้านเกษตรกรต้นแบบ ร้อยละ 81.82 มีแนวคิดเห็นว่าในการขับเคลื่อน ศพก. ควรอยู่ในรูปภาคี ระหว่างองค์กร/กลุ่มคนที่เกี่ยวข้อง เช่น หน่วยงานภาครัฐ เกษตรกรต้นแบบ เกษตรกรในพื้นที่ รวมถึงสถาบันการศึกษาและเอกชน ซึ่งทุกภาคส่วนต้องมีความสามัคคี และพัฒนาไปในทิศทางที่ตรงต่อความต้องการของท้องถิ่น และต้องทาอย่างจริงจัง และภาครัฐต้องมีการสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการบริหารจัดการ ศพก. ต้องมีความพร้อมและความเสียสละในการทำงานด้วย ส่วนแนวทางการพัฒนา ศพก. ควรจะมีการศึกษางานวิจัยใน ศพก. เพื่อให้เห็นผลจริงและนำไปขยายผลต่อยังเครือข่าย ควรให้ความสำคัญกับฐานเรียนรู้ ต้องพัฒนา/เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เพื่อกระตุ้นความสนใจของเกษตรกร อีกทั้งการจัดตั้ง ศพก. ทาไห้เกษตรกรต้นแบบมีแรงกระตุ้นในการหาความรู้เพิ่มเติม ขยายเครือข่ายด้านต่างๆ มากขึ้น เพื่อที่จะนำความรู้ต่างๆ มาถ่ายทอดให้กับเกษตรกรทั่วไปในพื้นที่มากที่สุด

ทั้งนี้ โครงการศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร หรือ ศพก. เป็นนโยบายที่สำคัญของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตรของชุมชน โดยมีเกษตรกรต้นแบบเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ และเป็นกลไกในการบูรณาการ การทำงานของหน่วยงานต่าง ๆ ในการแก้ปัญหา และพัฒนาการเกษตรในพื้นที่ ซึ่งในปี 2560 ได้ดาเนินการในพื้นที่ทั่วประเทศ เพื่อพัฒนาศักยภาพของ ศพก. 882 ศูนย์ และศูนย์เครือข่าย ให้มีความพร้อมในการให้บริการการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต การบริหารจัดการ และการตลาดแก่เกษตรกร รวมทั้งการให้บริการทางการเกษตรด้านต่าง ๆ และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในพื้นที่อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ

12 เมษายน 2560 กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเตือนภัยลักษณะอากาศ ฉบับที่ 7 เรื่อง “พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน (มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 12 ถึงวันที่ 15 เมษายน 2560)”

ประกาศฉบับดังกล่าวระบุว่า ในช่วงวันที่ 12-15 เมษายน 2560 ประเทศไทยตอนบนบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก จะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีพายุฝนฟ้าคะนอง ฟ้าผ่า ลมกระโชกแรง กับมีลูกเห็บตกได้บางพื้นที่ และอากาศจะคลายความร้อนลง ซึ่งสภาวะอากาศดังกล่าวจะเกิดขึ้นตามภาคต่างๆ ดังนี้

ในวันที่ 12-13 เมษายน 2560 พายุฤดูร้อนจะเกิดขึ้นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก บริเวณจังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ ลพบุรี สระบุรี นครนายก ปราจีนบุรี และสระแก้ว

ในช่วงวันที่ 14-15 เมษายน 2560 พายุฤดูร้อนจะเกิดเพิ่มมากขึ้นครอบคลุมภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง

ขอให้ประชาชนหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง www.sbobetg8.com ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง ในขณะที่เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง และระวังอันตรายที่เกิดจากลมกระโชกแรง ฟ้าผ่า และลูกเห็บตก ไว้ด้วย ทั้งนี้เนื่องจาก ในช่วงวันที่ 12-15 เมษายน 2560 บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ในขณะที่ประเทศไทยมีอากาศร้อน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นในระยะนี้

ประกาศ ณ วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2560 เวลา 05.00 น.

กรมอุตุนิยมวิทยาจะออกประกาศฉบับต่อไป ใน วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2560 เวลา 11.00 น. ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ทุกปี คนไทยยุคใหม่จะเล่นน้ำกันได้แทบทุกวัน แต่สำหรับ นพ. กฤษดา ศิรามพุช ผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ แนะนำว่า เพื่อให้สงกรานต์เป็นมงคลที่สุด คือ “สุขมาก” และ “เสี่ยงน้อย” ควรใช้หลักอายุรวัฒน์ คือ 1. อดข้าวอดน้ำ การเล่นสนุกมากบางครั้งก็ทำให้ละเลยสิ่งจำเป็น เช่น ดื่มน้ำ ซึ่งหน้านี้อากาศร้อนทำให้ขาดน้ำ ยิ่งเอาแต่เล่นน้ำเหงื่อโซก แถมร้อนจัดก็หาเบียร์เย็นๆ จิบ ก็ยิ่งทำให้ขาดน้ำมากขึ้น คนที่เล่นอย่างท้องว่างแล้วเอาแต่ดื่มแอลกอฮอล์จะมีโอกาสช็อก หรือฮีตสโตรกได้สูงขึ้น

สำลักน้ำบ่อ เด็กที่ชอบเล่นน้ำตามลำรางสาธารณะ ห้วย หนอง คลอง บึง หรือแม้การตักน้ำบ่อ น้ำจากโอ่งมาสาดกันอาจมีเชื้อพยาธิปนมาได้ ซึ่งในแหล่งน้ำจืดเสี่ยงเชื้อปรสิต เช่น กีนีเวิร์ม (เชื้อดรากุนคูลัส) ชิสโตโซม่า อะมีบา คริพโตสปริเดียม และไกอาเดีย ซึ่งเชื้อเหล่านี้จะเข้ามาได้เวลากลืนน้ำหรือสำลักน้ำ
ขับรถรอกัน เป็นภาพที่ได้เห็นบ่อยเวลาเที่ยวสงกรานต์ สาดน้ำเป็นกลุ่มหลายคัน ก็มีการขับรอกันทั้งรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ซึ่งต้องระวังการเกิดอุบัติเหตุให้ดี โดยเฉพาะในถนนหลวง และเส้นทางที่เป็นเลนสวน ทางที่ดีควรเคารพกฎจราจร ฟาดฟันฉีดน้ำ การบาดเจ็บเกิดได้แม้จากน้ำ เพราะสายน้ำถ้าถูกแรงดันบีบอัดผ่านปากกระบอกฉีดความดันสูงแล้วตรงเข้าอวัยวะที่บอบบางอย่างลูกนัยน์ตา รูจมูก ช่องปาก ก็จะกลายเป็นหายนะครั้งใหญ่ได้ อวัยวะดังกล่าวเป็นจุดที่หุ้มด้วยเยื่อบุมิวโคซ่าที่บอบบาง

ดังนั้น จึงอาจฉีกขาด หรือห้อเลือดได้ง่าย อีกทั้งการกระโดดจากที่สูงลงบนผืนน้ำเพื่อดับร้อนก็ต้องระวังอาจถึงขั้นตกเลือดตับแตกได้
ทำน้ำเปียกปลั๊ก ยุคใหม่ทุกบ้านย่อมมีปลั๊กไฟ หรือเต้าเสียบที่จะเกิดอันตรายได้ถ้าเล่นน้ำอย่างไม่คิด เช่น เล่นฉีดน้ำใกล้ปลั๊กไฟ หรือปล่อยให้น้ำท่วมเจิ่งนองไปจนถึงรูปลั๊กที่อยู่ใกล้พื้น ดังนั้น ทางที่ดีถ้ามีปลั๊กอยู่แถวที่เล่นน้ำควรเลี่ยงหรือหาอุปกรณ์ครอบป้องกันไว้อย่างเหมาะสม 6. พักทั้งตัวเปียก ข้อนี้ไม่ควรทำ เพราะอาจเจ็บป่วยโดยเฉพาะโรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่เกิดจากร่างกายเปียกชื้นตลอดเวลา อีกทั้งปัญหาเชื้อราที่ผิวหนัง ตาแดงที่เกิดจากเยื่อบุตาอักเสบ เป็นต้น และ 7. เรียกเหล้าไม่หยุด การดื่มฉลองในวันมงคลด้วยเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาจเป็นการเรียกความทุกข์โศก โรคภัย เข้าสู่ตัวได้ง่ายๆ เพราะความตายช่วงปีใหม่ไทยจำนวนไม่น้อยมีเหล้าเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเสมอทั้งหมดนี้เป็นความเสี่ยงที่เราป้องกันได้ด้วยการไม่ทำ!