แหล่งผลิตส้มโอเงินล้าน รสอร่อยถูกใจตลาด มีเท่าไหร่ก็ไม่พอขาย

ปัจจุบันเกษตรกรผู้ปลูกส้มโอบ้านแท่นจำหน่ายผลผลิตให้กับพ่อค้าคนกลางหรือผู้รวบรวมผลผลิต เพื่อส่งออกไปขายต่างประเทศ เช่น จีน ญี่ปุ่น เวียดนาม ไต้หวัน ฮ่องกง ฯลฯ ส่วนตลาดในประเทศ คู่ค้าหลัก คือ ห้างแม็คโคร และห้างสรรพสินค้าชั้นนำในกรุงเทพฯ รวมทั้งขายส่งให้กับพ่อค้าในจังหวัดขอนแก่น ร้อยเอ็ดและนครปฐม เกษตรกรผู้ปลูกส้มโอบ้านแท่นจะมีรายได้จากการขายผลผลิตต่อรุ่นประมาณ 90,000-100,000 บาท/ไร่

บริเวณริมถนนเส้นทางหนองเรือ-หนองแวง เป็นแหล่งขายส้มโอหรือตลาดส้มโอของบ้านแท่นแห่งใหญ่มาหลายปี เกษตรกรหลายรายใช้เวลาว่างภายหลังจากการทำนา เพื่อมาขายส้มโอบ้านแท่น โดยรับมาจากชาวสวนส้มโอ ในช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน ถือเป็นฤดูผลผลิตแล้วทางจังหวัดได้จัดให้มีงานขึ้นเป็นประจำ หลังจากนั้นอาจมีผลผลิตบ้างซึ่งเป็นส้มโอทวาย จึงทำให้ส้มโอบ้านแท่นมีขายตลอดทั้งปี

แม่ค้าจะรับส้มโอบ้านแท่นมาขายในช่วงปกติครั้งละ 200 กิโลกรัม แต่พอมาถึงหน้าเทศกาลส้มโอของจังหวัดราวเดือนสิงหาคมของทุกปีจะนำมาขายไม่ต่ำกว่าวันละ 300 กิโลกรัม ขนาดส้มโอที่ขายมีตั้งแต่ราคา 2 ผล 100 บาท มีน้ำหนักต่อผลไม่ต่ำกว่า 1.5 กิโลกรัม, ขนาด 3 ผล 100 บาท มีน้ำหนักต่อผลเฉลี่ย 1 กิโลกรัม และขนาด 4 ผล 100 บาท มีน้ำหนักต่อผลประมาณ 8 ขีด ทั้งนี้คุณสุนิสาเผยว่าทุกขนาดได้รับความนิยมเนื่องจากลูกค้าชอบต่างกัน แต่ถ้าเป็นขนาด 3 ผล 100 บาท จะขายดีกว่า เพราะมีความพอดีทั้งขนาดผลและราคา

สำหรับลูกค้าที่มาอุดหนุนส้มโอโดยปกติจะเป็นคนในพื้นที่ทั้งที่เป็นชาวบ้านทั่วไปและพนักงานบริษัท หรือข้าราชการ โดยจะซื้อไปรับประทานที่บ้านหรือซื้อไปเป็นของฝากบ้าง ทั้งนี้ขาประจำมักจะมาสั่งไว้ล่วงหน้า หากมีโอกาสเดินทางไปจังหวัดชัยภูมิ อย่าลืมแวะไปชิมและเลือกซื้อส้มโอบ้านแท่นกันให้ได้นะ

“งานส้มโอบ้านแท่น”
ส้มโอบ้านแท่น ส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ทองดี ปลูกมากที่ตำบลบ้านแท่นและตำบลสามสวน พื้นที่ 1 ไร่ ปลูกได้ จำนวน 36 ต้น สวนส้มโอที่ปลูกใหม่ จะให้ผลผลิตรุ่นแรกในปีที่ 4 จะมีผลผลิตเฉลี่ยต้นละ 40-50 ผล เมื่อส้มโออายุต้น 5 ปีขึ้นไป เก็บผลผลิตได้ 100 ผล ต่อต้น ต่อปี แต่ละผลมีน้ำหนักเฉลี่ย 1.3-1.8 กิโลกรัม ส้มโอนำเงินเข้าสู่อำเภอบ้านแท่นมากกว่าปีละ 60 ล้านบาท

อำเภอบ้านแท่น นิยมจัดงานเทศกาลส้มโอหวานบ้านแท่น เป็นประจำทุกปี ในช่วงเดือน สิงหาคม ณ ตลาดกลางส้มโอ บ้านหนองผักหลอดเหนือ หมู่ที่ 12 ตำบลบ้านแท่น เพื่อประชาสัมพันธ์ส้มโอบ้านแท่นให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ภายในงานมีการประกวดส้มโอ การแข่งขันการกินส้มโอ จำหน่ายส้มโอและผลิตภัณฑ์ชุมชน OTOP ของดีอำเภอบ้านแท่น สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานเกษตรอำเภอบ้านแท่น โทรศัพท์ 044-887-060

หญ้าแฝก เป็นวัชพืชที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาดินเป็นอย่างยิ่ง พื้นที่ทำการเกษตรส่วนใหญ่ของประเทศมักมีปัญหาเรื่องของ “ดิน” กับ “น้ำ” ถ้าแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ก็สามารถพัฒนาปรับปรุงบำรุงดินให้ดีง่ายขึ้น แต่หากขาดน้ำการพัฒนาปรับปรุงดินให้ดีก็ยาก จึงมีการพัฒนาแหล่งน้ำโดยนำหญ้าแฝกเข้ามาช่วยกักเก็บน้ำ หรือป้องกันการพังทลายของหน้าดิน ในพื้นที่ที่ดินไม่กักเก็บน้ำ ปัจจุบันมีการนำหญ้าแฝกเข้าไปปลูกกันมากขึ้น เป็นเครื่องชี้ให้เห็นว่า “หญ้าแฝก” มีความสำคัญต่อการพัฒนาดิน และเกษตรกรก็มองเห็นประโยชน์จากหญ้าแฝกทำให้พื้นที่ไร่นาสวนผสมที่ห่างไกลจากแหล่งน้ำสามารถทำการเกษตรเอาตัวรอดได้ มีตัวอย่างให้เห็นแล้วมากมาย

“หญ้าแฝก กับไร่นาสวนผสม” ในพื้นที่ทำกินของ คุณสุเทพ เพ็งแจ้ง ก็เป็นอีกตัวอย่างสำคัญที่ทำให้เห็นว่าหญ้าแฝกมีความสำคัญต่อการพัฒนาดินเป็นอย่างยิ่ง

คุณสุเทพ บอกว่า ในที่ดินทำกินของตนมีอยู่ทั้งหมด 20 ไร่ อยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำท่วมถึง ปีหนึ่งทำนาได้ข้าวไร่ละไม่ถึง 10 ถัง สาเหตุเพราะน้ำท่วม พอถึงหน้าแล้งดินก็ไม่ดีไม่กักเก็บน้ำ

ต่อมาได้ฟังโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ก็สนใจพยายามศึกษาว่า “โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่” คืออะไร ในที่สุดก็ได้เข้าร่วมโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ของหน่วยงานเกษตร ปรับโครงสร้างการทำเกษตรในพื้นที่ใหม่ เริ่มงานตั้งแต่ ปี 2539 ลงทุนเอง แต่ขอการสนับสนุนพันธุ์ไม้ผลจากเกษตร

“เริ่มจากการขุดสระเพื่อยกร่องป้องกันน้ำท่วมก่อน โดยขุดสระทั้งหมด 4 สระ เป็นการขุดแบบไม่มีภูมิรู้ เอาดินก้นสระขึ้นมาโปะข้างบน ผลปรากฏว่าดินที่กองขึ้นมาโปะข้างบนไม่มีธาตุอาหารอะไรเลย ส่วนน้ำที่ซึมออกมาก็ใช้ไม่ได้ อาบก็ไม่ได้ กินก็ไม่ได้ รสชาติฝาด พื้นที่ที่เคยปลูกข้าวได้พอเอาดินพลิกกลับมากลับปลูกข้าวไม่ได้ เพราะดินไม่มีธาตุอาหาร จึงนำความไปปรึกษาหมอดินของกรมพัฒนาที่ดิน ต้องใช้เวลาหมักดินอยู่ 2 ปี”

คุณสุเทพ กล่าวอีกว่า ได้ไปสมัครเป็นหมอดินอาสา เพื่อศึกษาเรื่องดินแล้วก็เกิดปัญหาขึ้นมาอีก คือ สระน้ำที่ขุดนอกจากปลูกต้นไม้ไม่ได้เ พราะดินไม่ดีแล้ว และสระยังพังทุกปี เวลาน้ำลดดินรอบสระจะไหลลงไปอยู่ก้นสระหมด พอดีได้ฟังในหลวงพระองค์ท่านได้มีพระราชดำรัสให้เกษตรกรปลูกหญ้าแฝก โดยไม่ต้องหวังผล แต่วันข้างหน้าจะดีเอง จึงไปขอแฝกจากกรมพัฒนาที่ดิน ครั้งแรกได้มา 5,000 กล้า เริ่มนำมาปลูกรอบๆ สระ และขยายพันธุ์จนเต็มพื้นที่

การปลูกหญ้าแฝกให้รอบพื้นที่สระน้ำ 4 สระ ต้องใช้กล้าพันธุ์แฝกหลายแสนกล้า จึงใช้วิธีการขยายพันธุ์หญ้าแฝกไปทีละน้อย หลังจากที่หญ้าแฝกโตระดับหนึ่งปัญหาเรื่องดินไหลลงก้นสระก็ไม่เกิดแล้ว ขอบบ่อก็ไม่แตกเป็นเพราะรากของหญ้าแฝกช่วยพยุงไว้ จึงหันมาพัฒนาที่ดินในส่วนอื่นๆ ต่อไป โดยการปลูกหญ้าแฝก

“ผมยืนยันได้เลยครับว่า รากหญ้าแฝกสามารถกักเก็บน้ำได้จริง”

คุณสุเทพ บอกด้วยว่า พอถึงฤดูแล้งหญ้าแฝกจะดึงน้ำที่สะสมไว้ด้านล่างมาเลี้ยงไม้ผลได้ ไม่ต้องกลัวว่ารากหญ้าแฝกจะไปแย่งอาหารจากต้นไม้อื่นๆ เพราะรากหญ้าแฝกจะอยู่ในแนวดิ่ง ไม่มีการแพร่กระจาย รากจะดิ่งตรงลงล่างอย่างเดียว แต่ถ้าเป็นวัชพืชทั้งหลายระบบรากจะแผ่ ถือว่าเป็นข้อดีของหญ้าแฝก พอช่วงฤดูน้ำไหลหลากรากหญ้าแฝกจะช่วยเก็บน้ำใต้ดินได้ ระบบรากหญ้าแฝกยาวลงไปเกือบ 12 เมตร หรือมากกว่า 12 เมตร ก็มี

ในพื้นที่ทำกินทั้งหมด 20 ไร่ มีบ่อน้ำ 4 บ่อ แบ่งพื้นที่ทำนา 10 ไร่ ปลูกพืชผักและไม้ผลผสมผสานกันไป รอบๆ คันนาปลูกหญ้าแฝก ปีแรกเอาหญ้าแฝกปลูกในแปลงนา คือ เริ่มปลูกราวเดือนธันวาคมถึงเดือนพฤษภาคมก็เกี่ยวแฝกเอาใบหญ้าแฝกไปทำปุ๋ย ในนาก็หว่านปอเทือง พอปอเทืองโตได้อายุการออกดอกก็ไถกลบ จากนั้นจึงหว่านข้าวทำนาเป็นการทำนาปี

หลังจากเกี่ยวข้าวจะใช้น้ำหมักชีวภาพ และสาร พด. จากกรมพัฒนาที่ดินฉีดฟางข้าวแล้วไถกลบ เพื่อให้ฟางย่อยสลาย เมื่อฟางย่อยสลายและน้ำในนาแห้งดีแล้วทดลองเอาจอบขุดดินดู ถ้าดินไม่ติดจอบก็ไถทำเทือกได้ จากนั้นจึงหว่านถั่วเขียวลงไป ก็จะมีรายได้จากถั่วเขียวอีกทางหนึ่ง

คุณสุเทพ เล่าว่า ช่วงที่ไม้ผลยังไม่ได้ผลผลิตก็มีตัวสำรองในการสร้างรายได้ นั่นก็คือ เลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่ จะได้ไข่จากเป็ดและไก่ทุกเดือน ในบ่อน้ำเลี้ยงปลา ปลูกพืชผักไว้กินเองที่เหลือเก็บขาย จะมีพ่อค้าเข้ามารับซื้อถึงบ้าน พอผลไม้ออกก็จะได้ผลไม้อีกทางหนึ่ง ผลไม้ที่ปลูกไว้ก็มี มะม่วง ขนุน กระท้อน ฝรั่ง มะขามเทศ มะขามเปรี้ยว ฝรั่ง แก้วมังกร หลากหลายชนิดตามหลักทฤษฎีใหม่

“จากนั้นก็หันมาพัฒนากระต่ายขาย การเลี้ยงใช้วิธีเลี้ยงแบบปล่อยทุ่ง ให้สุนัขช่วยเลี้ยงกระต่ายอีกแรง วิธีการก็คือ เอาลูกสุนัขตัวเล็กๆ กับกระต่ายตัวเล็กๆ ให้อยู่ด้วยกัน เลี้ยงในกรงเดียวกันเลย พอโตขึ้นก็ปล่อยตามธรรมชาติสุนัขกับกระต่ายก็จะเป็นเพื่อนกัน สุนัขมีกำลังมากกว่าจะช่วยดูแลป้องกันภัยให้กระต่ายไม่ทำร้ายกัน”

“ผมขายกระต่ายเนื้อตัวใหญ่ๆ ชาวบ้านที่นี่เขาก็ชอบกินเนื้อกระต่าย เพราะกระต่ายป่าหาไม่ได้ เขาก็เลยหันมากินกระต่ายพันธุ์กัน รายได้ดีทีเดียว เรื่องอาหารกระต่ายก็ปล่อยให้กินหญ้าตามธรรมชาติ ส่วนขี้กระต่ายเอามาทำปุ๋ยรวมกับขี้เป็ด ขี้ไก่ ขี้ปลา เก็บเอามาทำปุ๋ยหมด”

คุณสุเทพ เล่าต่อว่า ในพื้นที่ยังเลี้ยงกบ ปัจจุบันเลี้ยงได้ประมาณ 2 ปีแล้ว ทำโรงเรือนเลี้ยงด้วยหัวอาหาร แรกๆ ตั้งใจเลี้ยงแบบปล่อยตามธรรมชาติ แต่กังวลว่าจะสู้งูไม่ได้ จึงต้องช่วยกบ โดยการเลี้ยงในโรงเรือน การเลี้ยงกบมีวิธีการเลี้ยงหลากหลายรูปแบบ จะเลี้ยงในกระชังก็ได้ เลี้ยงบนบก ทำโรงเรือนก็ได้ หรือจะเลี้ยงในบ่อซีเมนต์ก็ได้ แต่ต้นทุนค่อนข้างสูง ราคากบไม่แน่นอน ถ้าคนเลี้ยงกันน้อยราคากบก็จะสูง แต่ถ้าคนนิยมเลี้ยงกันมาก ราคาก็ตกต่ำ วิธีการเลี้ยงสุดแล้วแต่เกษตรกรตามอัธยาศัย ถนัดอย่างไหนเลี้ยงได้ทุกวิธี

ในเรื่องของปุ๋ย คุณสุเทพ บอกว่า ทำใช้เองสบายๆ ปลูกหญ้าแฝกในนาพอเกี่ยวเอาใบขึ้นมาทำปุ๋ย ในนาใช้น้ำหมักชีวภาพเป็นหลัก หลังเกี่ยวข้าวจะใช้น้ำหมักชีวภาพเข้าไปสลายตอซังข้าว จะไม่ใช้วิธีเผาตอซังเด็ดขาด

“ผมตั้งกลุ่มไม่เผาตอซังขึ้นมาเลย เพราะเผาตอซังจะทำให้จุลินทรีย์ที่หน้าดินถูกทำลาย และก็ไปทำลายสิ่งแวดล้อม ทำให้โลกร้อนด้วย”

มีการทำปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงขึ้นมาใช้ คือ ต้องใช้ฟอสเฟต กากถั่วเหลือง รำอ่อน มูลสัตว์ นำมาหมัก คุณภาพเทียบเท่าปุ๋ยเคมี หรือดีกว่าตรงที่ดินจะร่วนซุยดีกว่าใช้ปุ๋ยเคมี แต่ราคากากถั่วเหลืองค่อนข้างสูง การหมักปุ๋ยก็ใช้ พด. 1 – 2 – 3 และ พด. 9 ทำกองสี่เหลี่ยมสูง 30 ซ.ม. ให้ความชื้นประมาณ 30% หมักไว้ 20 วัน ถ้าจะเอาไปใส่ต้นไม้เลยก็ไม่ต้องตีป่น แต่หากจะเข้ากระบวนการอัดเม็ดแบบปั้นจานก็ต้องตีป่นก่อนแล้วใส่จานปั้นเม็ดปุ๋ย โดยใช้น้ำหมัก พด. 2 เป็นตัวปั้นเม็ดปุ๋ย

คุณสุเทพ อธิบายว่า หลายคนก็มักบอกว่าการปลดปล่อยธาตุอาหารในปุ๋ยอินทรีย์จะช้ากว่าปุ๋ยเคมี ซึ่งจริงๆ แล้วไม่ได้ช้านานสักเท่าไร ใส่ลงไปเพียงแค่ 2 วัน พืชก็เขียว เป็นการเขียวทน เขียวนาน เขียวและสมบูรณ์เป็นปี ต่างกับปุ๋ยเคมี เมื่อใส่ลงไปใบเขียวเพียง 2 อาทิตย์ หลังจากนั้นก็แดงต้องใส่กันใหม่ เมื่อใส่มากๆ ดินจะเกิดกรดกำมะถัน ทำให้ต้นพืชไม่กินปุ๋ยแล้วจะยุ่งกันไปใหญ่

“การปลูกพืชทำสวนใช้วิธีหลากหลายจะดีกว่า อย่าเน้นการปลูกเชิงเดี่ยวเพราะไม่รู้ว่า อนาคตในวันข้างหน้าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร”

คุณสุเทพ สู้งานการเกษตรตามวิธีทฤษฎีใหม่ปลูกหญ้าแฝกกับไร่นาสวนผสมมา 10 กว่าปี จนได้รับรางวัลเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ เป็นรางวัลแห่งความสำเร็จในชีวิต ทุกวันนี้ คุณสุเทพ บอกว่า

“การทำเกษตรของผมทำแบบบริโภคในครัวเรือนเป็นหลัก เหลือจากการบริโภคแจกก็ได้ ขายก็ดี ผมมีอาชีพติดตัวอีกอย่างหนึ่งก็คือเป็นช่างตัดผม ตรงนี้ได้เงินทุกวัน ภรรยามีอาชีพเย็บผ้า นี่ก็มีรายได้เข้ามาอีกทางหนึ่ง นอกเหนือจากไร่นาสวนผสมที่หลากหลาย ก็พออยู่ได้ครับ”

สนใจจะพูดคุยกับเกษตรกรคนเก่ง โดยเฉพาะเรื่องของหญ้าแฝก โทร.คุยกันได้ที่ 082-394-6892 เชิญครับ “คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสังคม” เป็นผู้จุดประกายความคิดให้ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ออกกฎกระทรวงเพื่อเพิ่มทรัพย์สินอื่นมาเป็นหลักประกัน กรมพัฒนาธุรกิจการค้าจึงเปิดเวทีประชาพิจารณ์ รับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสังคม สหกรณ์สวนป่าภาคเอกชน กรมป่าไม้ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ สมาคมธนาคารไทยและธนาคารรัฐ เช่น ธ.ก.ส. ธนาคารออมสิน SME Bank ปรากฏว่า ทุกหน่วยงานต่างสนับสนุนแนวคิดเรื่องการใช้ไม้มีค่าเป็นสินทรัพย์หลักประกันทางธุรกิจ เพราะนโยบายนี้สร้างผลดีต่อประเทศชาติ รวมทั้งภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้อง

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จึงได้นำไม้ยืนต้นที่มีมูลค่าสูงมาเป็นหลักประกันทางธุรกิจ โดยการออกเป็นกฎกระทรวง ตามมาตรา 8 (6) แห่งพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558 เพื่อเปิดทางให้ใช้ไม้ยืนต้นที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ เช่น ต้นไม้ตามบัญชีท้ายกฎหมายว่าด้วยสวนป่าสามารถนำมาเป็นหลักประกันทางธุรกิจได้ ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการโดยเฉพาะผู้ประกอบการรายย่อย (SMEs) ได้รับความสะดวกและมีโอกาสเข้าถึงแหล่งทุนในการประกอบธุรกิจมากยิ่งขึ้นแล้ว

นโยบายดังกล่าว สร้างแรงจูงใจให้คนไทยหันมาปลูกไม้ยืนต้นในที่ดินกรรมสิทธิ์เพื่อการออม ช่วยสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจแล้วยังส่งผลดีทำให้ประเทศไทยมีพื้นที่สีเขียวเพิ่มมากขึ้นในระยะยาว ประชาชนยังสามารถใช้ประโยชน์จากต้นไม้ระหว่างการปลูก โดยใช้เป็นหลักประกันทางธุรกิจเพื่อกู้ยืมเงินกับสถาบันการเงินได้อีกด้วย ขณะเดียวกัน อุตสาหกรรมก่อสร้าง และอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ จะมีไม้จากป่าปลูกจำนวนมากใช้เป็นวัตถุดิบแปรรูปในอนาคต

58 พันธุ์ไม้มีค่า
สำหรับไม้ยืนต้นที่กำหนดตามบัญชีท้ายกฎหมายว่าด้วยสวนป่า จำนวน 58 ชนิด ประกอบด้วย

ไม้สัก พะยูง ชิงชัน กระซิก กระพี้เขาควาย สาธร แดง ประดู่ป่า ประดู่บ้าน มะค่าโมง มะค่าแต้ เคี่ยม เคี่ยมคะนอง เต็ง รัง พะยอม ตะเคียนทอง ตะเคียนหิน ตะเคียนชันตาแมว ไม้สกุลยาง (ไม่รวมยางพารา) สะเดา สะเดาเทียม ตะกู ยมหิน ยมหอม นางพญาเสือโคร่ง นนทรี สัตบรรณ ตีนเป็ดทะเล พฤกษ์ ปีบ ตะแบกนา เสลา อินทนิลน้ำ ตะแบกเลือด นากบุด

ไม้สกุลจำปี (จำปีสิรินธร จำปีป่า จำปีถิ่นไทย จำปีดง จำปีแขก จำปีเพชร ) แคนา กัลปพฤกษ์ ราชพฤกษ์ สุพรรณิการ์ เหลืองปรีดียาธร มะหาด มะขามป้อม หว้า จามจุรี พลับพลา กันเกรา กะทังใบใหญ่ หลุมพอ กฤษณา ไม้หอม เทพทาโร ฝาง ไผ่ทุกชนิด ไม้สกุลมะม่วง ไม้สกุลทุเรียน และมะขาม

การประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 ครั้ง ที่ 5/2561 ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2561 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ทรัพย์สินอื่นเป็นหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. … ตามข้อเสนอของกระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เปิดทางให้ประชาชนสามารถนำไม้ยืนต้น เช่น ไผ่ มะม่วง ทุเรียน มะขาม ไม้ยาง มะขามป้อม ไม้สัก ไม้พะยูง ฯลฯ ที่ขึ้นทะเบียนปลูกกับหน่วยงานภาครัฐ นำมาใช้ค้ำประกันธุรกิจได้ในอนาคต

ปัจจุบัน กระทรวงพาณิชย์ กำลังเร่งส่งร่างกฎกระทรวงฉบับดังกล่าว ไปให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาและนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีอีกครั้งในเร็วๆ นี้ หากใครอยากนำไม้ยืนต้นมาใช้เป็นหลักประกันทางธุรกิจ ขอให้อดใจรออีกสักหน่อย

รู้จักลักษณะเด่นของพันธุ์ไม้แต่ละชนิด
ต้นกระซิก

ชื่ออื่นๆ ซิก สรี้ ครี้ ประดู่ชิงชัน ดู่สะแตน เก็ดแดง อีเม็ง พยุงแกลบ กระซิบ หมากพลูตั๊กแตน “กระซิก” เป็นต้นไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดสตูล ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ คือ ตอนต้นเล็กๆ ถูกจัดเป็นไม้รอเลื้อย ลำต้นมีหนามเล็กๆ เปลือกสีเทา แต่พอโตขึ้นมีกิ่งก้านแข็งแรง สูงใหญ่ มีดอกเล็กๆ กลิ่นหอมออกปลายกิ่ง ง่ามใบใกล้ยอด ดอกออกประมาณเดือนมีนาคมถึงสิงหาคม มีผลเป็นฝักแบนๆ มีเมล็ดขยายพันธุ์ได้ ชอบอยู่ป่าโปร่งริมห้วย ริมลำธาร ใกล้ทะเลทางภาคใต้

ต้นกระพี้เขาควาย

ชื่ออื่นกระพี้ (ภาคกลาง) กำพี้ (เพชรบูรณ์) จักจั่น เวียด (เงี้ยว เชียงใหม่) อีเม็งใบมน (อุดรธานี) เก็ดดำ อีเฒ่า เก็ดเขาควาย (ภาคเหนือ) แดงดง (เลย) เป็นไม้ยืนต้นที่มีขนาดปานกลางจนถึงใหญ่โดยทั่วไปความสูงอยู่ที่ 10-25 เมตร พบขึ้นทั่วไปในป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรังซึ่งอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 1,000 เมตร แต่ในปัจจุบันไม้ชนิดนี้ไม่ค่อยมีให้เห็นทั่วๆไป เพราะการกระจายพันธุ์ค่อนข้างน้อยโดยส่วนใหญ่จะพบที่ภาคเหนือและอีสานตอนบนหรือแถบตะวันตกติดพม่าเท่านั้น

ต้นกันเกรา

ต้นกันเกรามีชื่อเรียกอื่นว่า มันปลา ตำเสา มะซูไม้ต้น ภาคกลางเรียก กันเกรา ภาคใต้เรียก ตำแสง หรือตำเสา ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เรียก มันปลา เนื่องจาก ลักษณะของดอก เหมือนกับไขมันของปลา

กันเกราเป็นต้นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ สมัครรอยัลออนไลน์ ขึ้นโดยทั่วไปในทุกภาคของประเทศไทย ในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายนจะออกดอกเป็น ช่อสีเหลือง มีกลิ่นหอมขจรขจาย มักพบต้นกันเกราเติบโตทั่วไปในป่าเบญจพรรณชื้น และตามที่ต่ำ ที่ชื้นแฉะใกล้น้ำ ทั่วทุกภาคของประเทศไทยออกดอก เมษายน – มิถุนายน เป็นผล มิถุนายน – กรกฎาคม ขยายพันธุ์โดยเมล็ด

กันเกรา สวยงามและกลิ่นหอมไม่เหมือนใคร จัดอยู่ในกลุ่มไม้มงคล 1 ใน 9 ชนิด เช่นเดียวกับราชพฤกษ์ ขนุน ชัยพฤกษ์ ทองหลาง ไผ่สีสุก ทรงบาดาล สัก และพะยูง ที่คนนิยมนำมาใช้ในพิธีกรรมเมื่อเวลาก่อสร้างบ้านเรือนให้เป็นสิริมงคล นอกจากนั่นคนอีสานยังนำมาบูชาพระโดยเฉพาะเมื่อเวลางานบุญบวชนาคช่วงเดือนพฤษภาคมหรือเดือน 6 ของทุกปี

การใช้ประโยชน์ เนื้อไม้สีเหลืองอ่อน เสี้ยนตรง เนื้อละเอียด เหนียว แข็ง ทนทาน ใช้ในการก่อสร้าง นิยมใช้ทำเสาเรือน แก่นมีรสฝาดใช้เข้ายาบำรุงธาตุ แน่นหน้าอก เปลือกใช้บำรุงโลหิต ผิวหนังพุพอง ปลูกเป็นไม้ประดับ ลักษณะลำต้นที่สวยงามทั้งลวดลายของเปลือกและเนื้อไม้ เหมาะแก่การนำไปใช้ประโยชน์ทำเครื่องเรือนและเครื่องใช้ต่าง ๆ มีน้ำมันหอมระเหยที่เปลือก

ไม้แดง

มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า แดง (ทั่วไป), จะลาน จาลาน ตะกร้อม สะกรอม (จันทบุรี), เพ้ย (ตาก), ปราน (สุรินทร์), ไปร (ศรีษะเกษ), กร้อม (นครราชสีมา), ผ้าน (เชียงใหม่), คว้าย (เชียงใหม่, กาญจนบุรี), ไคว เพร่ (แพร่, แม่ฮ่องสอน), เพ้ย (กะเหรี่ยง-ตาก) เป็นต้น

ไม้แดง เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ลำต้นตรง สีเขียวอมแดง เปลือกเรียบ สีเทาอมแดง ตกสะเก็ดออกเป็นแผ่นกลมบางๆ รอบลำต้นเมื่อสับเปลือกทิ้งไว้จะได้ชันสีแดง ยอดอ่อนมีขนสีเหลืองปกคลุม ใบ เป็นช่อแบบขนนกสองชั้น ปลายใบแหลมมน ดอกสีเหลือง ขนาดเล็กขึ้นอัดกันแน่นบนช่อกลมเดี่ยวๆ หรือแตกกิ่งก้าน หรือขึ้นเป็นกลุ่มๆ ดอกจะออกราวเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม แล้วเป็นฝัก ฝักจะแก่ประมาณเดือนตุลาคม – ธันวาคม ผลเป็นฝักแบน รูปขอบขนานเรียวและโค้งงอมีส่วนปลาย ฝักแข็งยาวประมาณ 7 – 10 เซนติเมตร สีน้ำตาลอมเทา