แอปพลิเคชั่นตัวแรกที่จะช่วยให้เกษตรกรตรวจสอบ

เฝ้าระวังสุขภาพของพืชในแปลงเพาะปลูกได้อย่างสะดวกและง่ายดาย ลดการติดเชื้อจากศัตรูพืช โดยใช้ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) เพียงแค่ใช้รูปภาพจากสมาร์ทโฟน xarvio SCOUTING สามารถช่วยเกษตรกรในการจำแนกวัชพืชต่างๆ รับรู้ได้ถึงโรคพืช วิเคราะห์ความเสียหายของใบ วัดการดูดซึมและนำเข้าไนโตรเจนของพืช ด้วยความพร้อมของข้อมูลนี้ เกษตรกรสามารถวินิจฉัยปัญหาต่างๆ ได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้น และเลือกวิธีรักษาพืชที่ติดโรคพืชได้อย่างเหมาะสม

“xarvio™ FIELD MANAGER” เป็นแอปพลิเคชั่นตัวที่สองที่ถูกนำเสนอในงานครั้งนี้ โดยใช้เทคโนโลยีเซ็นเซอร์รูปภาพจากดาวเทียมต่างๆ และข้อมูลอื่นๆ เพื่อสังเกตการณ์สภาพของพื้นที่เพาะปลูกของตนเอง และช่วยให้เกษตรกรเข้าใจความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ สำหรับการติดเชื้อโรคพืชต่างๆ และบ่งชี้ระยะเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการฉีดพ่นและคำแนะนำถึงปริมาณการใช้

“แอปพลิเคชั่น xarvio SCOUTING” ได้ถูกเปิดตัวอย่างเป็นทางการครั้งแรกในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ภายในงาน ฮอร์ติ เอเชีย ในปีนี้ ส่วนแอปพลิเคชั่น “FIELD MANAGER” จะถูกเปิดตัวอย่างเป็นทางการ ในปี 2562 โดยขณะนี้แอปได้สนับสนุนพืชผลต่างๆ อาทิ ข้าวโพด ถั่วเหลือง มันฝรั่ง และจะขยายการใช้งานไปยังพืชผลอื่นๆ อาทิ ข้าว อ้อย ในเร็วๆ นี้

แอปพลิเคชั่น xarvio™ ในสมาร์ทโฟน นับเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ของแผนก Agricultural Solutions ของ บีเอเอสเอฟ เป็นนวัตกรรมการเกษตรยุคใหม่ ที่ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลประกอบรวมเข้ากับความเชี่ยวชาญในเทคโนโลยีดิจิทัลระดับโลก นำมาวิเคราะห์ข้อมูล และปัญญาประดิษฐ์ในการพัฒนาเครื่องมือ ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรยกระดับการทำการเกษตรได้อย่างสูงสุด

ดีเจไอ เปิดตัว โดรนเพื่อการเกษตรกรรม

ดีเจไอ บริษัทเอกชนของจีน ซึ่งเป็นผู้นำด้านการผลิตภัณฑ์โดรนเพื่อการพาณิชย์ และเทคโนโลยีการถ่ายภาพจากอากาศชั้นนำระดับโลก ได้เปิดตัวโดรนเพื่อการเกษตรกรรมรุ่นใหม่ “ดีเจไอ อะกราส์ เอ็มจี-วันพี” (Agras MG-1P) ภายในงาน อะกริเทคนิก้า ในช่วงที่ผ่านมา

โดรนเพื่อการเกษตรกรรม “อะกราส์ เอ็มจี-วันพี” เป็นการผสมผสานเทคโนโลยีการควบคุมการบินที่ล้ำสมัยของดีเจไอเข้ากับเรดาร์ความแม่นยำสูง เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีความเสถียรและแม่นยำสูง เครื่องยนต์ 8 ใบพัด ของ อะกราส์ เอ็มจี-วันพี สามารถรับน้ำหนักได้สูงสุดถึง 10 กิโลกรัม เพื่อใช้บรรทุกของเหลวหรือน้ำยาเพื่อพ่นผลผลิตในไร่ และสามารถครอบคลุมพื้นที่ถึง 10 เอเคอร์ หรือประมาณ 25 ไร่ ต่อชั่วโมง โดยมีประสิทธิภาพมากกว่าการฉีดพ่นน้ำยาด้วยตนเองถึงกว่า 60 เท่า โดรนรุ่นนี้สามารถบินครอบคลุมพื้นที่ได้ 7 เมตร ต่อวินาที พร้อมพ่นสเปรย์น้ำยาที่รัศมี 4-6 เมตร อะกราส์ เอ็มจี-วันพี ยังสามารถปรับความแรงของการพ่นน้ำยาให้เหมาะสมกับความเร็วในการบินเพื่อรับประกันความทั่วถึงได้

อะกราส์ เอ็มจี-วันพี มาพร้อมระบบควบคุมการบินที่ดีเยี่ยมของดีเจไอ มีระบบเรดาร์ความแม่นยำสูงเพื่อความมั่นคงและความแม่นยำในการควบคุม ระบบเรดาร์แบบ 4-ใน-1 ที่ใช้มีระดับการป้องกันที่ IP67 และสามารถทำงานได้ทั้งตอนกลางวันและแม้ในพื้นที่แสงน้อย โดยจะไม่ได้รับการรบกวนจากระดับแสงหรือฝุ่นละออง

โดรน อะกราส์ เอ็มจี-วันพี ติดตั้งกล้องเอฟพีวี (FPV camera) เลนส์มุมกว้าง 123 องศาด้านหน้า เพื่อช่วยให้ผู้ควบคุมสามารถดูภาพวิดีโอเรียลไทม์แบบความละเอียดสูงผ่านหน้าจอบนรีโมทได้ทันที นอกจากข้อมูลการบินแบบเรียลไทม์แล้ว ผู้ใช้งานยังสามารถตั้งให้โดรนบินไปตามคำสั่งที่ตั้งล่วงหน้า โดยใช้กล้องเอฟพีวีเป็นตัวช่วยส่งภาพการบินขึ้นหน้าจอแบบเรียลไทม์

การส่งสัญญาณถูกขยายให้ครอบคลุมระยะถึง 3 กิโลเมตร ตัวควบคุม 1 ตัว สามารถควบคุมโดรน อะกราส์ เอ็มจี-วันพี ได้พร้อมกันถึง 5 เครื่อง โดรนจะมาพร้อมฟังก์ชั่นอัจฉริยะ เมื่อ อะกราส์ บินกลับสู่จุดตั้งต้นเพื่อชาร์จไฟ โดรนจะบินสู่จุดที่หยุดพ่นยาก่อนบินเพื่อฉีดพ่นยาต่อได้ แบตเตอรี่อัจฉริยะของโดรนนี้ติดตั้งอยู่ด้านในเครื่องที่มีการปกป้องอย่างแน่นหนา ให้ความปลอดภัยและความมั่นใจในการใช้งานได้สูงสุด โดรน อะกราส์ เอ็มจี-วันพี สามารถบินได้นานสูงสุด 9 นาที ระหว่างฉีดพ่นยา

โดรน อะกราส์ เอ็มจี-วันพี พร้อมจำหน่ายในประเทศไทยช่วงปลายเดือนกันยายน ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ราคาและผลิตภัณฑ์ดีเจไอเนื่องจากครัวเรือน และองค์กรชุมชนต่าง ๆที่มีประชาชนอาศัยอยู่รวมกันจำนวนมาก เช่น โรงเรียน หอพัก อพาร์ทเมนท์ ฯลฯ มีปริมาณขยะอินทรีย์เกิดขึ้นเป็นจำนวนมากในแต่ละวัน

จากลักษณะนิสัยและพฤติกรรมที่ยึดติดต่อความสะดวกสบายของผู้คนในปัจจุบัน ทำให้มีปริมาณขยะอินทรีย์เกิดขึ้นจากกิจกรรมต่างๆ มากมาย ทำให้เกิดปัญหาขยะล้นเมือง และปัญหามลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งทางด้านทัศนียภาพ กลิ่นและแมลงพาหนะนำโรค รวมถึงปัญหาด้านการขาดแคลนพื้นที่กำจัดขยะและวิธีการจัดการที่ไม่เหมาะสม

จึงทำให้ภาครัฐประสบปัญหาทั้งด้านปริมาณและผลพวงของมลพิษสิ่งแวดล้อมจากขยะอนทรีย์ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

จากปัญหาข้างต้น จึงให้เป็นที่มาของการคิดค้นประดิษฐ์ เครื่องหมักขยะอินทรีย์ ขึ้น โดยมี ดร.ลักขณา เบ็ญจวรรณ์ นักวิจัยจากฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน เป็นเจ้าของผลงาน

ดร.ลักขณา กล่าวว่า การคิดค้นเครื่องหมักขยะอินทรีย์ มุ่งเน้นที่การใช้ประโยชน์ได้สะดวกและจูงใจในการทำปุ๋ยหมัก เพื่อให้ประชาชนใช้ประโยชน์จากขยะอินทรีย์ให้เกิดมูลค่าสูงสุด อีกทั้งยังเป็นการกำจัดขยะอินทรีย์ ณ แหล่งกำเนิด ช่วยลดปริมาณขยะอินทรีย์ ลดมลพิษทางกลิ่น และยังช่วยให้ภาครัฐลดภาระค่าใช้จ่ายด้านการเก็บขยะ การขนส่ง และการกำจัดขยะมูลฝอยได้อีกด้วย

ดร.ลักขณา กล่าวต่อไปว่า เครื่องหมักขยะอินทรีย์อัตราเร่ง เป็นสิ่งประดิษฐ์ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการเกษตร ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ในการกำจัดขยะอินทรีย์ที่เกิดขึ้นในบ้านเรือน และองค์กรชุมชนที่มีคนอยู่อาศัยจำนวนมาก เช่น โรงเรียน หอพัก อพาร์ตเมนต์ และตลาดสด เป็นต้น

โดยวัตถุดิบที่ใช้ในการหมักได้แก่ ขยะอินทรีย์ ประเภทเศษอาหาร เศษผักผลไม้ และเศษใบไม้แห้งที่มีอยู่ทั่วไปในบ้านเรือนประชาชน

จุดเด่นของเทคโนโลยีคือ ภายในถังหมักมีชุดอุปกรณ์ช่วยผสมเพื่อให้เกิดการชักนำอากาศเข้าสู่กอง ทำให้ขยะอินทรีย์เกิดการย่อยสลายเร็ว ไม่มีกลิ่นเหม็นหรือน้ำชะขยะ อีกทั้งผู้ใช้สามารถเติมขยะอินทรีย์เข้าสู่ถังหมักได้ทุกวันและทุกเวลาอย่างต่อเนื่องจนกว่าจะเต็มถัง

สำหรับการประดิษฐ์คิดค้นนี้ใช้เทคโนโลยีการพลิกกลับกอง เพื่อชักนำอากาศหรือเติมอากาศเข้าสู่กองปุ๋ยหมัก ด้วยชุดอุปกรณ์ช่วยผสมซึ่งใช้ต้นกำลังจากแรงกล หรือใช้ต้นกำลังจากมอเตอร์ไฟฟ้า

ทั้งนี้แล้วแต่ความต้องการของผู้ใช้งาน ในกรณีเป็นเครื่องหมักขยะอินทรีย์อัตราเร่งแบบกวนผสมอัตโนมัติ ให้ตั้งเวลาในการหมุนชุดอุปกรณ์ช่วยผสมเป็นระยะๆ ทุกๆ 4-6 ชั่วโมง นานครั้งละ 1-3 นาที (ค่าไฟฟ้าประมาณ 10-30 บาท/เดือน) หากเป็นเครื่องหมักขยะอินทรีย์อัตราเร่งแบบกวนผสมด้วยแรงกล ให้ทำการหมุนชุดอุปกรณ์ช่วยผสมด้วยตนเองในทุกๆ ครั้งที่เติมขยะอินทรีย์เข้าสู่ถังหมัก

จากลักษณะการทำงานของระบบและการควบคุมสัดส่วนของขยะอินทรีย์ประเภทต่างๆ ในปริมาณที่เหมาะสม จะทำให้การย่อยสลายเกิดขึ้นเร็ว โดยขยะอินทรีย์ในถังหมักจะเกิดการย่อยสลายและเปลี่ยนสภาพเป็นปุ๋ยหมักได้ภายในระยะเวลาเพียง 1-2 สัปดาห์

หากใช้ระบบกวนผสมอัตโนมัติจะเกิดการย่อยสลายได้เร็วกว่าระบบกวนผสมด้วยแรงกล เนื่องจากมีความสม่ำเสมอและต่อเนื่องของการเติมอากาศทำให้เอื้อต่อการย่อยสลายขยะอินทรีย์โดยจุลินทรีย์ชนิดที่ใช้ออกซิเจน (Aerobic bacteria)

ทั้งนี้ผู้ใช้สามารถเติมขยะลงถังหมักได้ทุกวันจนกว่าจะเต็มถังจึงนำปุ๋ยหมักออก ซึ่งมักใช้ระยะเวลาประมาณ 20-30 วัน ขึ้นอยู่กับปริมาณขยะอินทรีย์ของแต่ละครัวเรือน

สำหรับปุ๋ยหมักที่ได้นั้นมีปริมาณไนโตรเจนอยู่ในช่วง 2.5-3.0% ฟอสฟอรัส 0.4-1.0% และโปแตสเซียม 0.8-2.0% โดยน้ำหนัก สามารถนำไปใช้ประโยชน์เพื่อเป็นปุ๋ยต้นไม้ หรือใช้เป็นวัสดุปรับปรุงดินได้อย่างดียิ่ง ซึ่งปุ๋ยหมักที่ได้มีคุณสมบัติเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานปุ๋ยหมักของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

กล่าวโดยสรุปคือ สิ่งประดิษฐ์นี้เป็นเครื่องมือผลิตปุ๋ยหมัก ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์สีเขียว เป็นเครื่องมือที่ประหยัดพลังงานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มีส่วนร่วมในการช่วยลดสภาวะโลกร้อน

นอกจากนี้รูปแบบของการใช้งานที่เหมาะสม ( Optimun practice ) โดยยึดหลักของความง่าย สะดวก และไม่ซับซ้อน ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญและจูงใจประชาชนให้ใช้งาน ด้วยคำนึงถึงปริมาณขยะที่เกิดขึ้นในแต่ละวันของภาคครัวเรือน โรงเรียนหรือองคืกรชุมชน

และเพื่อให้สะดวกต่อการนำไปใช้งาน นักวิจัย จึงดำเนินการผลิตเครื่องหมักขยะอินทรีย์เพื่อการใช้งาน 2 ส่วน คือ

หนึ่ง เครื่องหมักขยะอินทรีย์สำหรับบ้านเรือน แบ่งออกเป็น เครื่องหมักขยะอินทรีย์อัตราเร่งแบบกวนผสมอัตโนมัติ และเครื่องหมักขยะอินทรีย์อัตราเร่งแบบกวนผสมด้วยแรงกล ซึ่งมี 2 แบบ คือ แบบมือหมุนกับแบบจักรยาน

สอง เครื่องหมักขยะอินทรีย์สำหรับโรงเรียนหรือชุมชนมี 2 แบบ คือ เครื่องหมักขยะอินทรีย์ขนาดใหญ่แบบกวนผสมอัตโนมัติ เครื่องหมักขยะอินทรีย์ขนาดใหญ่แบบกวนผสมด้วยแรงกล

นี่คือ ผลงานเด่นที่มาจากนักวิจัยของประเทศไทย สำหรับผู้สนใจสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 034 – 351399 ต่อ 432 , 08-1398-7095 ชีวิตที่ต้องฝ่าฟันมรสุมในการดำเนินธุรกิจที่ต้องเกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์ โดยเป็นผู้จำหน่ายทรายเพื่อการก่อสร้าง สุดท้ายต้องเลิกกิจการ หันมามุ่งทำสวนเกษตร ทั้งๆ ที่ตนเองก็ไม่มีความรู้ จนต้องล้มเลิกการปลูกพืชบางชนิด

แต่ด้วยความอดทนและมุมานะที่จะเป็นเกษตรกรไทยอย่างเต็มตัว หลังจากที่ได้ลองผิดลองถูกในการปลูกพืชมาหลากหลายชนิด ส่งผลให้ขณะนี้สามารถตั้งเป็น “ศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาไทยไร่คุณมน” ได้เป็นผลสำเร็จ รวมถึงยังสามารถช่วยให้เกษตรกรใช้เป็นแหล่งความรู้เพื่อนำไปพัฒนาผลิตผลทางการเกษตรของตนเอง ได้อีกทางหนึ่งด้วย

คุณมนรัตน์ สารภาพ ผู้บริหารศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาไทยไร่คุณมนและผู้ผลิตผลิตภัณฑ์แปรรูปทางการเกษตร “ไร่คุณมน”ของจังหวัดกาญจนบุรี เล่าว่า เส้นทางการดำเนินธุรกิจนี้ของตนเอง ถือว่าต้องผ่านอุปสรรคมากมามากมาย แต่ด้วยความที่ไม่ย่อท้อ ทำให้สามารถเปิดศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาไทย “ไร่คุณมน” ขึ้นมาได้ รวมถึงยังได้คิดนำประสบการณ์ที่เกิดจากการลองผิดลองถูกมาแปรรูปสินค้าเกษตรเพื่อจำหน่ายอีกทางหนึ่ง

ไม่ว่าจะเป็นลูกชิ้นผลไม้ น้ำนมข้าวโพด กล้วยหอม กล้วยน้ำว้าอบกรอบกระยาสารทน้ำผัก ไอศกรีมน้ำนมข้าวโพด กุนเชียงเสริมใยอาหาร และถ่านอัดก้อน เป็นต้น ซึ่งผลิตภัณฑ์ทุกชนิด เกิดจากผลพวงของไร่คุณมน ที่ต้องการนำเศษวัสดุที่เหลือใช้จากการผลิตสินค้ามาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มรายได้ให้ครอบครัวและเกษตรกร เน้นการเหลือเป็นขยะให้น้อยที่สุด

“หลังจากที่ได้เริ่มพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรมาอย่างต่อเนื่อง จากประสบการณ์การเรียนรู้ลองผิดลองถูก ที่เริ่มต้นจากศูนย์ เพราะไม่มีความรู้ในเรื่องการเกษตรมาก่อน ทำให้เรามีความเชี่ยวชาญในการถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการนำสินค้าเกษตรมาต่อยอดเป็นธุรกิจ รวมการนำเศษวัสดุจากธรรมชาติมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ซึ่งสามารถเป็นฐานความรู้ในการแปรรูปสินค้าเกษตรให้กับชาวบ้านในท้องถิ่นมีรายได้”

สำหรับตัวอย่างการนำสินค้าเกษตรการแปรรูป และการนำวัสดุเหลือใช้ที่เกิดจากการผลิตสินค้าเกษตรมีมากมาย ล้วนเป็นผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่น การผลิตน้ำนมข้าวโพด ที่ทางไร่คุณมน ได้ช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพด ด้วยการรับซื้อข้าวโพดในช่วงที่ข้าวโพดล้นตลาด และมีราคาตกต่ำ โดยนำมาแปรรูปเป็นน้ำนมข้าวโพด ลูกชุบจากกากข้าวโพดท๊อฟฟี่น้ำนมข้าวโพด และไอศกรีมน้ำนมข้าวโพด

ส่วนเนื้อในของเม็ดข้าวโพดก็นำมาแปรรูปเป็นลูกชิ้น และกุนเชียงผลไม้ เพื่อสุขภาพ ในขณะที่กากข้าวโพด นำมาเลี้ยงเป็ด และทำปุ๋ยสำหรับซังข้าวโพดก็นำมาต้มในน้ำ แก้โรคไตได้ และใบก็ข้าวโพด ก็สามารถนำมาหมัก เพื่อใช้เป็นอาหารสำหรับวัวได้อีกต่อหนึ่ง

อีกทั้ง ยังมีสินค้าแปรรูปกล้วยน้ำว้า/กล้วยหอมทอดสุญญากาศ กล้วยหอมสไลด์ กล้วยกวน (กล้วยหอมทองกวน) น้ำส้มสายชูหมักจากกล้วย (ที่งอมจัดจนอบไม่ได้) กระยาสารทน้ำผักสมุนไพร ขนมเม็ดขนุน/ขนุนอบกรอบ สบู่สมุนไพร สบู่ข้าวหอมมะลิ สบู่ตะไคร้ สบู่ขมิ้นชัน น้ำส้มควันไม้ ถ่านไร้ควัน ไซรับจากน้ำอ้อย ผลิตภัณฑ์จากผ้าขาวม้า เช่น ที่ใส่กล่องกระดาษทิชชู่ ที่ใส่ซองจดหมาย เซ็ทจานรองอาหาร เสื้อผ้าสำเร็จรูป ปลอกหมอน ผ้าม่าน เสื้อผ้าสุนัข เป็นต้น

ผลิตภัณฑ์จากเศษวัสดุจากการแปรรูป เช่น เปลือกข้าวโพดนำไปประดิษฐ์เป็นโบว์ประดับถุงขนม ห่อของขวัญ เศษพืชต่างๆ เช่น กากข้าวโพดนำไปเลี้ยงเป็ดทำให้ไข่แดงมีสีเหลืองสด เปลือกกล้วยนำไปหมักทำปุ๋ยชีวภาพ

ปัจจุบันคุณมนรัตน์ ได้เปิดศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาไทยไร่คุณมนขึ้น เพื่อเป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่คนรุ่นใหม่ รวมถึงกลุ่มองค์กรที่สนใจได้มาเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่ภูมิปัญญาสากล และยังเป็นแหล่งในการแลกเปลี่ยนความรู้เพื่อพัฒนาภูมิปัญญาไทยตามแนวทางพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อการพึ่งตนเอง โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น

“เมื่อเราตั้งใจเปิดเป็นศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาไทยเพื่อให้เยาวชนรุ่นใหม่ได้มาศึกษาหาความรู้อย่างครบวงจรแล้ว เรายังมีโฮมสเตย์ เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้มาพักผ่อนใกล้ชิดธรรมชาติ รวมถึงยังได้เรียนรู้ขั้นตอนการแปรรูปสินค้าทางการเกษตรตามที่นักท่องเที่ยวต้องการได้ และยังได้เรียนรู้การทำธุรกิจจากสินค้าเกษตรแปรรูปสู่เส้นทางธุรกิจในระดับอินเตอร์ได้”

นอกจากนี้ มนรัตน์ยังมีแนวคิด เรื่อง Farm Stay โดยการสร้างบ้านดิน โดยได้รับความช่วยเหลือจากเครือข่ายมาให้ความรู้ ที่ให้ผู้คนได้เข้ามาพักและดูงานจากฐานความรู้ต่างๆ ในไร่คุณมน

“ไร่คุณมน” เป็นแหล่งเรียนรู้ ศูนย์เรียนรู้ครูภูมิปัญญาไทยที่ไม่เคยหลับ เปิดกว้างต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป็นศูนย์รวมของแหล่งภูมิปัญญาของชุมชนและท้องถิ่นรวมทั้งเป็นแหล่งเรียนรู้ที่เชิดหน้าชูตาทั้งระดับประเทศและนานาชาติ มีผู้มาศึกษาดูงานเยี่ยมชมทั้งรายบุคคลและเป็นหมู่คณะทั้งในและต่างประเทศ กว่า 100,000 คนต่อปี

นี่คงเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของผู้ประกอบการการด้านการเกษตร สามารถตามแนวทางพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง อย่างเห็นได้ชัด ที่ได้นำพาผลผลิตทางการเกษตร ที่ถือเป็นอาชีพพื้นฐานของคนไทย มาสร้างมูลค่าเพิ่ม เน้นวัตถุดิบจากธรรมชาติ แถมยังช่วยเพิ่มรายให้ให้กับชาวบ้านในท้องถิ่นได้อีกด้วย

“ดินแดนป่าสอนลอน สะออนสาวบ้านแต้ งามแท้แลคิ้งไกล น้ำพรมไหลผ่าน สงกรานต์ภูกุ้มข้าว นมัสการพระเจ้าองค์ตื้อ ลือพระไกรสิงหนาท พระธาตุกุดจอก นามบ่งบอกคือเกษตรสมบูรณ์”

จากข้อความข้างต้นได้บ่งบอกถึงความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรทางธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นผืนป่า ผืนน้ำ ความเจริญทางวัฒนธรรมประเพณีที่เก่าแก่สืบทอดกันมายาวนานของชาวเกษตรสมบูรณ์

เกษตรสมบูรณ์ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดชัยภูมิในจำนวน 16 อำเภอ ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัดชัยภูมิ ตอนกลางของพื้นที่อำเภอ เป็นที่ราบลุ่ม สลับเนินมีลำน้ำสายสำคัญได้แก่ “ลำน้ำพรม” ไหลผ่าน ลำน้ำสายนี้ถือเป็นเส้นเลือดหล่อเลี้ยงชาวชัยภูมิตอนบนเกือบทุกอำเภอ และเป็นลำน้ำสาขาของน้ำพอง พื้นที่เป็นดินเหนียวปนทราย เหมาะแก่การปลูกข้าว

ตอนเหนือของพื้นที่อำเภอเป็นที่ราบสลับเนิน เหมาะแก่การปลูกพืชไร่และเลี้ยงสัตว์ ทิศใต้และทิศตะวันตก เป็นพื้นที่ป่าไม้และภูเขา มีภูเขาสูงสลับซับซ้อน โดยเฉพาะด้านทิศตะวันตก มีเทือกเขาภูเขียวซึ่งเป็นพื้นที่ป่าไม้ที่เป็นแหล่งต้นน้ำขนาดใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย ปัจจุบันได้รับการประกาศเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำนานาชาติ (International Wetland)

ด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงทำให้อำเภอเกษตรสมบูรณ์มีต้นทุนทางธรรมชาติที่ได้เปรียบในหลายพื้นที่ สามารถสร้างผลผลิตทางการเกษตรทั้งพืชที่เป็นผลผลิตหลัก ได้แก่ข้าว และ พืชอื่นที่เป็นพืชรองหลายชนิด เช่น พริก ยาสูบ ยางพารา ที่มีคุณภาพป้อนเข้าสู่ตลาดแข่งขัน สร้างรายได้ให้กับชาวบ้านเป็นอย่างดี ที่สำคัญอย่างมากคือชาวบ้านที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมที่เกษตรสมบูรณ์ทุกคนทุกอาชีพต่างมีวิถีชีวิตความเป็นอยู่อย่างเป็นระบบ มีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนแม้จะไม่เป็นทางการ แต่พวกเขาสามารถสร้างความเข้มแข็งได้อย่างดีมีคุณภาพ

ก่อนที่จะไปรับทราบเรื่องราวของการประกอบอาชีพปลูกพริกที่ชาวเกษตรสมบูรณ์ทำเป็นรายได้เสริมหลังเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว คุณสาคร มะลิดา ตำแหน่งเกษตรอำเภอเกษตรสมบูรณ์มีข้อมูลตรงและสดจากพื้นที่เกษตรกรรมมาเปิดเผยว่า ที่อำเภอเกษตรสมบูรณ์ มีพื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมด 3 แสนกว่าไร่ เป็นพื้นที่ใช้ปลูกข้าวเกือบ 2 แสนไร่ ที่เหลือปลูกพืชรองและพืชเสริมได้แก่ อ้อย ยางพารา มันสำปะหลัง ข้าวโพด

เกษตรอำเภอ กล่าวต่อว่าพืชที่เป็นเอกลักษณ์ของเกษตรสมบูรณ์และเป็นพืชที่ปลูกไม่กี่แห่งในประเทศคือถั่วเหลือง ซึ่งมีพื้นที่ปลูกทั้งหมด 3 หมื่นกว่าไร่ และเป็นการปลูกถั่วเหลืองที่ไม่มีการเตรียมดิน เป็นการหว่านบนดิน ทั้งที่ก่อนหน้าที่เคยมีการเผาฝางก่อน แต่ปัจจุบันไม่ทำเช่นนั้นแล้ว มีการพัฒนาวิธีการปลูกด้วยการล้มต้นฝาง เติมน้ำแล้วจึงหว่านถั่ว จากนั้นจึงระบายน้ำทิ้ง ต้นถั่วก็จะงอกขึ้นมา

“ถือว่าเป็นการใช้ความรู้ด้านเกษตรกรรมด้วยการคำนวณว่าควรเติมน้ำก่อนเพื่อแช่ไว้นานเท่าไร ถึงจะมีความเหมาะสมที่จะทำให้ถั่วเหลืองงอกได้อย่างสมบูรณ์

ก่อนหน้าปลูกถั่วเหลือง ชาวบ้านเคยปลูกถั่วเขียวในพื้นที่ดินแปลงเดียวกัน และให้ผลผลิตถั่วเขียวประมาณ 140-150 กิโลกรัมต่อไร่ แต่เมื่อถั่วเหลืองเป็นพืชแข่งขันที่ให้ผลผลิต 300-350 กิโลกรัมต่อไร่ แม้จะต้องใช้เวลาการปลูกถั่วเหลือถึง 100-110 วัน ส่วนถั่วเขียวใช้เวลาเพียง 60 วันก็ตาม แต่เกษตรกรเห็นว่าเป็นการปลูกที่ให้รายได้คุ้มค่ากว่า จึงได้ปลูกถั่วเหลืองแทนถั่วเขียว แต่อย่างไรก็ตามยังคงมีเกษตรกรที่ยังปลูกถั่วเขียวอยู่บ้าง” คุณสาครกล่าว

“พริก” เป็นพืชอีกชนิดที่ทำรายได้ให้กับชาวเกษตรสมบูรณ์ มีผลผลิตเฉลี่ย 2,700 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งถือว่าเป็นผลผลิตที่สูง มีจำนวนพื้นที่ปลูกตั้งแต่ 3-8 พันไร่ คาดว่าปลูกมากที่สุดในประเทศไทยสำหรับการปลูกพริกในนาข้าว แต่ยังคงมีปัญหาด้านคุณภาพ ซึ่งทางเจ้าหน้าที่เกษตรคอยให้ความช่วยเหลือที่จะพัฒนาทั้งคุณภาพและปริมาณให้ดีขึ้น

สภาพพื้นที่ของอำเภอเกษตรสมบูรณ์ โดยเฉพาะดินถือว่ามีคุณภาพมาก ไม่เปรี้ยว ไม่เค็ม ส่วนน้ำมีระบบชลประทานเกิน 60 เปอร์เซ็นต์ และที่พืชผลทางการเกษตรได้ผลผลิตดีเพราะทั้งหมดอยู่ในเขตชลประทาน อย่างไรก็ตามบางปีหากขาดน้ำจากระบบชลประทาน ยังพอมีน้ำจากใต้ดินดึงขึ้นมาใช้ได้ตลอด

ทางด้านข้าว ถือว่าเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญมากสำหรับชาวเกษตรสมบูรณ์ คุณสาครกล่าวว่าได้ผลผลิตและมีความสมบูรณ์กว่าหลายอำเภอในชัยภูมิ อาจดูจากปุ๋ยที่ใช้เป็นตัวชี้วัดได้ว่าที่เกษตรสมบูรณ์ใช้ปุ๋ย 1 กระสอบต่อไร่ ขณะที่แห่งอื่นต้องใช้ถึง 4 กระสอบต่อไร่ แถมผลผลิตยังเทียบกันไม่ได้

“พอเสร็จปลูกข้าว ชาวบ้านไม่ยอมหยุด จัดการลงมือปลูกพืชอย่างอื่นต่อเพื่อเป็นรายได้ เช่นพริก ยาสูบ ถั่วเหลือง และอื่นๆ ในที่นาของพวกเขา เรียกว่าทั้งปีชาวบ้านมีกิจกรรมเพื่อหารายได้ตลอด ไม่ทิ้งผืนดินให้ว่างเปล่า พวกเขามีความสุข สนุกกับการทำงานกันเป็นครอบครัว

ส่วนหน้าที่ของทีมงานเกษตรไม่เพียงแค่แนะนำการปลูกพืชให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพเท่านั้น ยังต้องเพิ่มในเรื่องของคุณธรรมเข้าไปด้วย มีการแนะนำให้ทุกคนปลูกพืชแบบปลอดสารเคมี เพราะแน่นอนการใช้สารเคมีย่อมทำให้คุณได้ประโยชน์ แต่ผู้บริโภคจะเสียประโยชน์ ดังนั้นหากทุกคนทำได้จริงก็แสดงว่าทุกคนมีคุณธรรมแล้ว”เกษตรอำเภอกล่าวทิ้งท้าย

เกษตรกรปลูกพริกได้ทั้งคุณภาพ และปริมาณจากข้อมูลของเกษตรอำเภอที่ระบุว่าผลผลิตพริกของคุณบรรเย็นและกลุ่มมีคุณภาพและความสมบูรณ์ทั้งขนาดและรูปร่าง อันเป็นผลมาจากการเอาใจใส่แปลงปลูกอย่างจริงจังตามหลักวิธีการที่ถูกต้องจนนำไปสู่ปริมาณผลผลิตที่สูงถึง 2-3 ตันต่อไร่

คุณบรรเย็น คันภูเขียว มีตำแหน่งเป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่ 4 ตำบลบ้านเป้า อยู่บ้านเลขที่ 19 หมู่ 4 ตำบลบ้านเป้า อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิผู้ใหญ่บรรเย็น มีอาชีพเกษตรกรรมเหมือนเพื่อนบ้านคนอื่นด้วยการทำนาปลูกข้าว ครั้นพอหมดช่วงทำนา ได้หารายได้เสริมด้วยการปลูกพืชชนิดอื่นที่ใช้เวลาสั้น ให้ผลผลิตดี ที่สำคัญต้องมีรายได้ดีด้วย ดังนั้นพริกคือพืชอีกชนิดที่เลือกปลูกมาเป็นเวลากว่า 8 ปี

การลงพื้นที่ในครั้งนี้ทางผู้ใหญ่บรรเย็นได้พาคณะไปชมแปลงพริกบนเนื้อที่ดินกว่า 1 ไร่ จากอีกหลายแปลงที่เขามีอยู่ นอกจากคุณบรรเย็นที่ปลูกพริกแล้ว ยังมีเพื่อนบ้านอีก 3คนคือคุณกงหัน ศรีทน มีเนื้อที่ปลูกจำนวน 1 ไร่,คุณอรุณ เกื้อหนุน ตำแหน่งผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน มีเนื้อที่ปลูกจำนวน 2 ไร่และคุณศาสตรา โพธิชาลี มีเนื้อที่ปลูกจำนวน 1 ไร่เศษ ทั้งสามคนอยู่ในหมู่บ้านเดียวกันคือบ้านหมู่ 4 และมีการวมตัวกันอย่างไม่เป็นทางการเพื่อช่วยเหลือร่วมมือกันแก้ปัญหาซึ่งกันและกัน แลกเปลี่ยนข้อมูลในเรื่องการปลูกพริก ดังนั้นแนวทางการปลูกพริกของทั้งสี่คนจึงใช้วิธีเดียวกัน

คุณบรรเย็น เล่าถึงเหตุผลของการปลูกพริกว่าเพราะต้องการทำเป็นรายได้เสริมหลังเก็บเกี่ยวข้าวนาปี และพริกจะเริ่มปลูกหลังเกี่ยวข้าวแล้ว เป็นการปลูกแบบสลับหมุนเวียน ในการปลูกแต่ละครั้งจะใช้เวลาประมาณ 3-4 เดือนจึงสามารถเก็บพริกได้ ต่อจากนั้นจะค่อยทยอยเก็บทุก 7 วัน

“จะเริ่มลงมือประมาณปลายเดือนธันวาคม โดยจะจัดการไถพื้นดินก่อนเป็นการเตรียมดิน ให้ใช้ปุ๋ยชีวภาพรองพื้น แล้วจัดการไถกลบ ทิ้งไว้ประมาณ 7 วันต่อจากนั้นจะยกร่องเตรียมแปลงหาวัสดุคือฟางที่เกี่ยวแล้วมาใช้คลุมดิน

จากนั้นจึงนำต้นกล้าพริกที่เพาะไว้ก่อนหน้านี้ประมาณ 1เดือน มาลงในแปลงที่เตรียมไว้ การกำหนดระยะห่างของต้นพริกต้องแล้วแต่ขนาดของพื้นที่แต่ละแห่ง แล้วแต่คุณภาพดิน ถ้าคุณภาพดินดี มีพื้นที่ใหญ่ระยะห่างประมาณ 80-100 เซนติเมตร” คุณบรรเย็นอธิบาย

ผู้ใหญ่ให้รายละเอียดต่ออีกว่าขณะต้นพริกเจริญเติบโต ต้องดูแลเอาใจใส่ ฉีดยา ดูใบว่ามีเพลี้ยหรือไม่ ถ้ามีต้องใช้สารเคมีที่ทางเกษตรอำเภอแนะนำ แต่หากมีไม่มาก จะใช้สารชีวภาพ

“ใส่ปุ๋ยทุก 7 วัน เป็นปุ๋ยสูตร 15-15-15 และสูตรนี้ใช้มาตั้งแต่เริ่มปลูก นอกจากนั้นแล้วยังต้องใช้น้ำหมักชีวภาพฉีดพ่นควบคู่ไปเพื่อเป็นการไล่ศัตรูพืช ในกลุ่มฮอร์โมนก็ทำกันเอง เป็นน้ำหมักจากผลไม้

ภายหลังจากที่ปุ๋ยชีวภาพแล้วได้ผลดีมาก ผลผลิตดก สวย มีขนาดใหญ่ อีกอย่างที่สำคัญคือฟางที่เกี่ยวข้าวแล้วให้นำมาคลุมต้นพริก เพราะจะเป็นปุ๋ยที่ดีสำหรับพริกด้วย”เพื่อนสมาชิกในกลุ่มให้รายละเอียดเพิ่ม

ในเรื่องการดูแลแปลงพริกนั้นถือเป็นสิ่งสำคัญมากคือต้องหมั่นดูแลเรื่องวัชพืชอย่าให้ขึ้นรกบริเวณโคนต้น ควรถากถางให้สะอาด เพราะเวลาใส่ปุ๋ยจะได้ถึงต้นพริก

สำหรับการให้น้ำ คุณบรรเย็นเผยว่าน้ำที่ใช้รดแปลงพริกเป็นน้ำที่ได้มาจากการสูบจากบึง แล้วมาพักเก็บไว้ที่บ่อที่ขุดไว้ จากนั้นเมื่อต้องการใช้จะค่อยทยอยสูบใส่เข้ามาในแปลงพริกเป็นช่วงเป็นตอน เขาบอกว่าเรื่องน้ำไม่ค่อยมีปัญหา ถึงแม้ฝนจะทิ้งช่วง เพราะทางชลประทานได้พร่องน้ำมาให้ตลอด ทั้งนี้จะแตกต่างจากที่อื่นเพราะต้องรอใช้น้ำฝนอย่างเดียว

วิธีการเก็บผลผลิต

ภายหลังจากการดูแลเอาใจใส่ต้นพริกในแปลงอย่างเต็มที่แล้ว คราวนี้ต้องรอเวลาที่ผลผลิตพริกจะออกมาให้ผู้ปลูกเกิดความชื่นใจ

ผู้ใหญ่บรรเย็นบอกว่าจะใช้เวลาประมาณ 3-4 เดือนพริกจะสามารถเก็บผลผลิตได้เป็นรุ่นแรก จากนั้นผ่านไปอีกประมาณ 7 วันก็สามารถเก็บได้ตลอด ซึ่งภายในหนึ่งเดือนสามารถเก็บได้หลายครั้ง การปลูกพริกจะปลูกไปจนถึงประมาณเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม ดังนั้นช่วงการปลูกจะอยู่ประมาณ 6 เดือน และสามารถเก็บพริกได้ถึง 2 รุ่น ปัญหาจากโรคพืชหรือแมลง

ปัญหาใหญ่ของการปลูกพืชทุกชนิดที่หลีกเลี่ยงไม่ได้คือจากโรคพืชและแมลงศัตรูพืช สมาชิกในกลุ่มท่านหนึ่งอธิบายว่า สภาพอากาศมีผลต่อการระบาดของศัตรูพืชและโรคพืช เพราะถ้าฝนมาเร็ว โรคก็ตามมาเร็วด้วย และโรคที่มากับฝนคือเชื้อรา แต่ถ้าแล้งนัก แมลงศัตรูพืชที่พบมากจะเป็นพวกเพลี้ยไฟและไรขาว

ราคาพริกเป็นอีกหนึ่งปัญหาต่อทิศทางการปลูกในอนาคต

ปัญหาเรื่องราคาพริกตกต่ำมักเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี ทั้งนี้มีผลมาจากการปลูกพริกพร้อมกันหลายแห่งทั่วประเทศเมื่อถึงช่วงให้ผลผลิตจะออกพร้อมกันทำให้ปริมาณพริกในตลาดมีมากจนเกินไป

คุณบรรเย็นเผยว่าในอดีตเมื่อราวสามปีก่อนเคยได้ราคาพริกดีที่สุด 50 บาทต่อกิโลกรัม ที่เป็นเช่นนั้นเพราะในช่วงนั้นพริกจากจังหวัดอื่นประสบปัญหาอากาศแล้งมาก เพลี้ยลง จึงทำให้ปริมาณพริกน้อย แต่ที่เกษตรสมบูรณ์ไม่ประสบปัญหาจึงสามารถขายพริกได้ในราคาสูง

“ขณะนี้พริกราคาประมาณ 11-12 บาทเท่านั้นและเป็นราคาที่แย่มาก ถ้าราคาที่พออยู่ได้ควรจะประมาณ 25-30 บาทต่อกิโลกรัม

ผมเคยคำนวณต้นทุนหลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้วทุกอย่างเช่นค่าจ้างเก็บกิโลกรัมละ 4-5 บาท ค่าอาหาร ค่าน้ำ ค่าปุ๋ย เบ็ดเสร็จแล้วจะเหลือประมาณ 2 บาทต่อกิโลกรัม”ผู้ใหญ่บรรเย็นบอก

จากข้อมูลตัวเลขของผู้ใหญ่บรรเย็นและเพื่อนร่วมกลุ่ม มีความสอดคล้องกับข้อมูลต้นทุนการผลิตพริกจากทางเกษตรอำเภอปี 2554-2555 ที่ว่าผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่มีปริมาณ 2,750 กิโลกรัม ขณะที่ต้นทุนการผลิตพริกเป็นเงิน 15.46 บาทต่อกิโลกรัม แต่ราคาขายพริกที่เกษตรกรขายได้ ณ ปัจจุบันเฉลี่ย 12 บาท ต่อกิโลกรัม (วันที่เก็บข้อมูล 25 เมษายน 2555)