โครงการพระราชดำริ“เอสเอ็มอี” ยั่งยืนด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

โลกทุกวันนี้ที่บริบทหลายอย่างเปลี่ยนแปลงไป ทั้งเศรษฐกิจ สังคม ส่งผลกระทบต่อการปรับตัวเพื่อให้อยู่รอดของภาคธุรกิจต่างๆ ตลอดจนธุรกิจเอสเอ็มอี (SMEs) ซึ่งแนวทางหนึ่งของการปรับตัวของภาคธุรกิจที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้เสมอ ไม่ว่าจะยุคสมัยใด คือ “แนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ได้พระราชทานไว้ให้กับปวงชนชาวไทยและชาวโลก

ดังที่ “ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล” กรรมการมูลนิธิมั่นพัฒนา และอดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “การเผชิญกับความท้าทายในอนาคตของธุรกิจ SMEs ด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ในงานสัมมนา “ธุรกิจยั่งยืนด้วยหลักเศรษฐกิจพอเพียง ตอน ธุรกิจยั่งยืน ยุค 4.0” เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา

โดย ดร.ประสาร ได้ชี้ให้เห็นถึงบริบทโลกที่ไม่เหมือนเดิมที่อาจจะเข้ามามีผลต่อการทำธุรกิจของเอสเอ็มอี ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เทคโนโลยีที่พัฒนาไปในอัตราเร่ง, โครงสร้างประชากรที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ รวมถึงการเมืองและเศรษฐกิจโลกที่ซับซ้อนและเกี่ยวพันกันอย่างแยกไม่ออก

ดร.ประสาร ยังกล่าวถึงโอกาสและความท้าทายของภาคธุรกิจ พร้อมแนะให้ปรับตัวเพื่อก้าวให้ทันกับความเปลี่ยนแปลง นอกจากนี้ ยังยกตัวอย่างการประยุกต์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้กับการดำเนินธุรกิจอีกด้วย

“ผมคิดว่าปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยให้ธุรกิจก้าวข้ามความท้าทาย เพื่อให้อยู่รอดในช่วงเวลาที่โดยเฉพาะอย่างยิ่งเศรษฐกิจของเราเดินได้ไม่เต็มที่ และบริบทโลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จนสามารถที่จะอุ้มตัวเองได้ และพัฒนาธุรกิจให้มีความก้าวหน้าและมีความยั่งยืน” ดร.ประสารกล่าว

ธุรกิจเอสเอ็มอีกำลังเผชิญกับความท้าทายในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาสภาพคล่อง สายป่านอาจไม่ยาวพอที่จะรองรับการเปลี่ยนแปลง ความสามารถในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน และความสามารถในการแข่งขันและการปรับตัวรับบริบทโลกใหม่

แต่ในจุดอ่อนย่อมมีจุดแข็ง อย่างหยินหยาง ในขาวมีดำ ในดำมีขาว และที่ไม่สามารถมองข้ามคือ ในโลกที่เปลี่ยนแปลงเร็ว การปรับตัวให้เท่าทันเป็นเงื่อนไขสำคัญในการอยู่รอด ซึ่งเอสเอ็มอีเป็นกลุ่มที่มีความคล่องตัวสูง ยืดหยุ่น และไม่มีระบบ

องค์กรที่เทอะทะมาตีกรอบกระบวนการทำงานและความคิดในการแก้ปัญหา น่าจะสามารถปรับตัวได้เร็ว อีกทั้งความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีก็อาจจะช่วย ถ้าปรับตัวและใช้ให้เป็นก็จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและขยายโอกาสทางธุรกิจ ตัวอย่างเช่น การโฆษณาผ่านโซเชียลมีเดีย และการเชื่อมต่อการค้าและการธุรกิจผ่านโซเชียลมีเดีย ทำให้เอสเอ้มอีแจ้งเกิดได้ง่ายกว่าในอดีต

การประยุกต์หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

ภายใต้บริบทโลกที่ไม่เหมือนเดิม การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นและเป็นไปอย่างรวดเร็ว ขณะที่หลายเรื่องก็ยากเกินกว่าจะคาดดาได้ว่าจะมีทิศทางไปทางใด ที่สำคัญการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ไม่ได้เกิดเฉพาะในประเทศไทย แต่เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลก จึงเป็นประเด็นที่ผู้เกี่ยวข้องพยายามหาแนวทางการพัฒนาที่เหมาะสมต่อบริบทโลกเช่นนี้

ผมคิดว่าคนไทยโชคดีที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 พระราชทานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไว้ให้เป็นหลักในการดำเนินชีวิต เป็นหลักที่สามารถจะนำมาประยุกต์ใช้เพื่อเผชิญกับการเปลี่ยนแปลง ปรับตัว และพัฒนาตัวเองให้เท่าทันโลกอย่างต่อเนื่อง

ซึ่งผมคิดว่าปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงยังทันสมัยและเหมาะสมกับบริบทโลกเช่นนี้ ที่สำคัญ หลักการนี้ยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ทั้งในระดับบุคคล บริษัทธุรกิจ สังคม และประเทศ อย่างไรก็ดี อาจจะมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนว่าปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นเรื่องของภาคเกษตร และห่างไกลจากภาคธุรกิจที่มุ่งแสวงหากำไร

แต่ความจริงแล้วหลักการนี้ไม่ได้ขัดกับการแสวงหากำไร หากแต่เน้นให้คิดถึงความยั่งยืน หรืออีกอย่างหนึ่งก็คือกำไรในระยะยาว มากกว่าแค่ผลประโยชน์ในระยะสั้น เน้นการทำกำไรที่ไม่เอารัดเอาเปรียบ คำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสีย เตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและพลวัตของเศรษฐกิจและสังคมที่ไม่หยุดนิ่ง ด้วยการดำเนิธุรกิจที่เป็นไปอย่างรอบคอบ และมีการประเมินความเสี่ยงอย่างเหมาะสม

เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงเป็นผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ดำเนินโครงการมากที่สุดท่านหนึ่งของประเทศ จากโครงการพระราชดำริมากกว่า 4,000 โครงการ ซึ่งทุกโครงการเป็นโครงการระดับกลางและเล็ก และท่านทรงใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงบริหารงานจนสำเร็จ จนเป็นที่ประจักษ์ทั้งในและต่างประเทศ

ผมจึงเชื่อว่าปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจะเป็นกรอบที่ธุรกิจเอสเอ็มอีสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการบริหาร พัฒนา และขับเคลื่อนธุรกิจให้ยั่งยืนได้

เพื่อให้เห็นภาพชัดเจน ขอยกตัวอย่างการทรงงานตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ประกอบด้วย ความมีเหตุผล ความพอประมาณ การสร้างภูมิคุ้มกัน ภายใต้เงื่อนไขการทำงานด้วยความรู้และคุณธรรม ดังนี้

ประการแรก ความมีเหตุผล ทรงมองโลกตามความเป็นจริง จากความตอนหนึ่งในพระราชหัตถเลขาถึงสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ว่า “…ความปรารถนานั้นจักสำเร็จลงได้ จักต้องมีวิธีที่จะดำเนินให้ไปถึง…” หนึ่งในวิธีที่พระองค์ทรงแนะนำคือ มองโลกในแง่ดี และจะให้ดียิ่งขึ้นควรมองโลกจากความเป็นจริง จะดำเนินการแก้ปัญหาอย่างถูกต้องและเหมาะสม

ตัวอย่างที่พระองค์ทรงแนะนำวิธีมองโลกจากความเป็นจริง ความตอนหนึ่งว่า “…ทำโครงการอะไรก็จะต้องนึกถึงขนาดที่เหมาะสม จะต้องทำด้วยความรอบคอบ และอย่าตาโตเกินไป คือบางคนอาจจะเห็นว่ามีโอกาสที่ทำโครงการอย่างโน้นอย่างนี้ และไม่ได้นึกถึงว่าปัจจัยต่างๆ ไม่ครบ

ปัจจัยหนึ่งคือขนาดของโรงงานและเครื่องจักรที่จะสามารถปฏิบัติได้ แต่ที่สำคัญที่สุดคือวัตถุดิบ ยิ่งถ้าวัตถุดิบที่ต้องใช้ในโรงงานนั้น เป็นวัตถุดิบที่จะต้องนำมาจากระยะไกลหรือนำเข้าก็จะยิ่งยาก เพราะราคายิ่งแพง ความจริงวัตถุดิบนั้นมีบริบูรณ์ ราคาอาจจะต่ำลงมา แต่เวลาจะขายสิ่งของที่ผลิตจากโรงงานก็ขายยากเหลือเกิน เพราะว่ามีมาก จึงทำให้ราคาตก นี่ก็เป็นบทเรียนที่ต้องมี…”

ขณะเดียวกัน พระองค์ทรงสนับสนุนการลงทุนที่จะเพิ่มศักยภาพการผลิต และใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อพัฒนานวัตกรรม ไม่ว่าในด้านการเกษตรหรือธุรกิจอุตสาหกรรม เพื่อต่อยอดการใช้วัตถุดิบให้เกิดประโยชน์

ครั้งหนึ่ง ทรงเล่าถึงโรงงานแช่แข็งผลผลิตของชาวไร่ จ.ลำพูน ที่เสด็จฯไปทรงเยี่ยมว่า “…เขาบ่นว่าข้าวโพดที่เขาใช้สำหรับแช่แข็งคุณภาพไม่ค่อยดี ก็เลยซื้อในราคาแพงไม่ได้ เขาบอกว่านี่น่าจะส่งเสริมการเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดให้ได้ข้าวโพดที่มีคุณภาพดี โรงงานก็จะเจริญ…”

ประการที่สอง ความพอเพียง การทำงานโครงการพระราชดำริ พระองค์จะเริ่มจากจุดเล็กๆ ด้วยการพัฒนาต้นแบบให้มั่นใจก่อนที่จะขยายผลให้ใหญ่ขึ้น สิ่งที่ทรงทำนั้นในภาษาธุรกิจจะเรียกว่า Proof of Concept สืบก่อนว่าสิ่งที่คิดนั้นสามารถนำมาปฏิบัติได้จริง

ตัวอย่างโครงการส่วนพระองค์ โรงนมจิตรดาผลิตนมอัดเม็ด พระองค์ทรงทดลองทดสอบจนมั่นใจจึงจะขยายกำลังการผลิต จนทุกวันนี้สินค้าได้รับความนิยมสูงในกลุ่มคนจีน ขายดีจนเป็นสินค้าขาดตลาด และต้องจำกัดปริมาณการซื้อ

ในการทรงงาน พระองค์จะทรงมองปัญหาภาพรวมก่อนเสมอ ในการแก้ปัญหาของพระองค์จะเริ่มจากจุดเล็กๆ ตามพระราชดำรัสที่ว่า “..แบบแมโครนี้เขาจะทำแบบรื้อทั้งหมด ฉันก็เห็นด้วย อย่างบ้านคนอยู่ เราบอกบ้านนี้มันผุตรงนั้น ผุตรงนี้ ไม่คุ้มที่จะไปซ่อม เราตกลงรื้อบ้านนี้หมดเลย แล้วเราจะไปอยู่ที่ไหน ไม่มีที่อยู่ วิธีทำต้องค่อยๆ ทำ จะไปเปิดหมดไม่ได้…”

นั่นเพราะการแก้ปัญหามีความก้าวหน้า พระองค์จึงทรงมีพระราชวินิจฉัยว่า “เรามาไกลแล้วนะ แบ่งๆ ให้ชาวบ้านบ้าง และการจะให้ชาวบ้านทำต่อได้ วัสดุที่ใช้ต้องหาได้ในท้องถิ่นและมีราคาถูก” ตัวอย่างเช่น ทรงดำริเรื่องฝาย และทรงให้แนวทางว่า ให้พิจารณาดำเนินการสร้างราคาประหยัด ใช้วัสดุราคาถูกและหาง่ายในท้องถิ่น

นอกจากนี้ แม้จะทรงสนับสนุนให้ลงทุนเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิต แต่ก็ทรงแนะให้ทำด้วยความรอบคอบ สมเหตุสมผล ไม่เกินตัว

ดังพระราชดำรัสตอนหนึ่งว่า “…ไปทางชลบุรี หลายสิบปีมาแล้ว มีพ่อค้าคนหนึ่งเขาบอกว่าเขาทำโรงงานสำหรับทำสับปะรดกระป๋อง เขาลงทุนเป็นล้าน แต่จำไม่ได้แล้วว่ากี่ล้านเพื่อสร้างโรงงาน การลงทุนมากขนาดนั้น บอกให้เขาทราบว่าไม่ค่อยเห็นด้วย เพราะว่าเคยทำโรงงานเล็กๆ ที่ภาคเหนือ ใช้เงินสามแสนบาท เพื่อที่จะเอาผลิตผลของชาวบ้านชาวเขามาใส่กระป๋องแล้วขาย ก็ได้ผล บอกว่าที่เขาลงทุนเป็นล้าน รู้สึกว่าเสี่ยง เขาบอกว่าต้องทำอย่างนั้น เขาก็ลงทุน ทำไปทำมา สับปะรดที่อำเภอบ้านบึง ทางชลบุรี ก็มีไม่พอ เมื่อมีไม่พอต้องไปสั่งสับปะรดมาจากปราณบุรี สับปะรดจากปราณบุรีต้องขนส่งมา ก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก ทำไปทำมาโรงงานก็ล้ม…”

ประการที่สาม การมีภูมิคุ้มกัน ทรงเน้นการพึ่งพาตัวเองได้ จะเป็นภูมิคุ้มกันที่ดีที่สุด โดยเน้นให้พัฒนาตนเองในขั้นพอมีพอกิน ก่อนจะพัฒนาไปสู่ขั้นพอมีอันจะกิน ซึ่งคนละทิศกับคนส่วนใหญ่ที่เริ่มจากพอมีอันจะกิน ก่อนจะเป็นพอมีพอกิน ตัวอย่างเช่น พระองค์ทรงห่วงใยเกษตรกรเพราะพึ่งพาอยู่กับเกษตรชนิดเดียว เมื่อเกิดความไม่แน่นอนทางธรรมชาติหรือการตลาด ทำให้รายได้เกษตรกรมีความไม่แน่นอนสูง

พระองค์จึงศึกษาและมีพระราชดำริในเรื่องทฤษฎีใหม่ ให้จัดสรรพื้นที่ทั้งในเรื่องทำนา ไร่สวน ประมง โรงเรือน และที่อยู่อาศัย แล้วก็เป็นแนวทางให้เกษตรกรพออยู่พอกินในเบื้องต้น ก่อนจะแก้ปัญหาหนี้สินและออกจากกับดักความยากจนได้

นอกจากนี้ พระองค์ทรงให้ความสำคัญกับการบริหารความเสี่ยง กล่าวคือ ท่านจะมีแผน 2 รองรับหากแผนแรกล้มเหลว ดังโครงการนมอัดเม็ด ที่แรกเริ่มมีการแปรรูปนมผงให้กลายเป็นท็อฟฟี่รสนม แต่ปรากฏว่าไม่เป็นที่นิยม ก็มีการปรับเปลี่ยนมาเป็นนมผงอัดเม็ด สะท้อนว่ามีความจำเป็นที่เราจะต้องมีแผนสำรองให้กับชีวิตให้กับธุรกิจที่ทำ

ประการที่สี่ การใช้ความรู้ในการประกอบอาชีพ และส่งเสริมให้เรียนรู้ตลอดชีวิต โดยเฉพาะความรู้ที่ได้จากการศึกษา ค้นคว้า ทดลอง ซึ่งจะทำให้เกิดความเข้าใจอย่างแท้จริง

ตัวอย่างเช่น การทดลองใช้ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ เช่น ในพื้นที่ที่ไม่มีดินเลย ทรงทดลองใช้หญ้าแฝกระเบิดหิน หรือทดลองปรับสภาพน้ำที่เป็นด่างด้วยการใส่ปุ๋ยคอก เป็นต้น หรือการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอย่างง่าย เช่น ระบบบำบัดน้ำเสีย ที่อาศัยการเติมออกซิเจนจากอากาศลงสู่น้ำ จึงเป็นที่มาของกังหันน้ำชัยพัฒนา ที่สำคัญ การที่พระองค์ทรงมีพระราชวินิจฉัยต่างๆ เช่นนี้ได้ เพราะพระองค์ทรงทำการทดลองในหลายพื้นที่ และพระองค์ทรงเป็นคลังความรู้ที่ไม่เคยหยุดเรียนรู้

ประการที่ห้า ความเพียร ซึ่งเป็นคุณธรรมข้อสำคัญที่จะทำให้การปฏิบัติงานสำเร็จ และเป็นหลักยึดให้กับจิตใจให้มีความกล้าหาญ และสามารถต่อสู้กับปัญหาอุปสรรคต่างๆ ดังพระราชดำรัสว่า “…ความเพียรที่จะเป็นกำลังได้ต้องมีลักษณะแข็งกล้า ไม่ย่อหย่อนเสื่อมคลายด้วยอุปสรรค ด้วยความยากลำบากเหน็ดเหนื่อยประการใดๆ หากแต่อุตสาหะพยายามกระทำเรื่อยไปไม่ถอยหลัง แม้หยุดมือก็ยังพยายามคิดต่อไป ไม่ทอดธุระ กำลังความเพียรจึงทำให้การงานไม่ชะงักล่าช้า มีแต่ดำเนินรุดหน้าเป็นลำดับไป จนบรรลุความสำเร็จโดยไม่มีสิ่งใดจะยับยั้งขัดขวางได้ ซึ่งความเพียรอย่างไม่ย่อท้อจึงเป็นแรงขับให้เกิดการระเบิดศักยภาพจากภายใน…”

ที่สำคัญเมื่อใช้ความรู้ผนึกกับความเพียร ทำให้พระองค์สร้างนวัตกรรมที่สำคัญของโลก อาทิ การทำฝนเทียม หรือในโครงการแกล้งดินต่างๆ เพื่อใช้ธรรมชาติปรับสภาพดินให้เหมาะสมแก่การเพาะปลูก

และหลายประเทศในโลกนำหลักการนี้ของท่านไปใช้จนให้ผลเป็นที่ประจักษ์ และ FAO กำหนดให้วันที่ 5 ธันวาคมของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระองค์ เป็นวันดินโลก เพื่อเป็นการสดุดีพระเกียรติคุณ

การจะเป็นเอสเอ็มอีที่ประสบความสำเร็จได้นั้น ไม่ใช่แค่มีไฟมีฝัน แต่ต้องเลือกธุรกิจที่จะทำได้ถูกต้อง มีความเข้าใจธรรมชาติของธุรกิจนั้นอย่างแท้จริง วางกลยุทธ์ที่เหมาะสม มีการบริหารจัดการที่ดี ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม และหมั่นหาความรู้ ปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง

ที่สำคัญ การตั้งโจทย์ให้พออยู่พอกิน ก่อนจะพัฒนาไปสู่ขั้นพอมีอันจะกิน จะทำให้โอกาสเกิดความสำเร็จมาก และขอปิดปาฐกถาด้วยพระราชดำรัสตอนหนึ่งว่า “…ที่พูดก็นึกว่าท่านทั้งหลายกำลังกลุ้มใจ ตั้งแต่คนที่มีเงินน้อยจนกระทั่งคนที่มีเงินมาก ล้วนเดือดร้อน แต่ถ้าสามารถที่จะเปลี่ยนไป ทำให้ปรับเป็นเศรษฐกิจแบบพอเพียง ไม่ต้องทั้งหมด แม้แค่ครึ่งหนึ่งก็ไม่ต้อง อาจจะสักเศษหนึ่งส่วนสี่ของการกระทำ ก็จะสามารถอยู่ได้ การแก้ไขอาจจะต้องใช้เวลา ไม่ใช่ง่ายๆ โดยมากคนก็ใจร้อน เพราะเดือดร้อน แต่ว่าถ้าทำตั้งแต่เดี๋ยวนี้ ก็สามารถจะแก้ไขได้…”

บีบีซีรายงานเมื่อวันที่ 13 ตุลาคมระบุว่า เพนกวินอเดลีที่อยู่อาศัยทางตะวันออกของทวีปแอนตาร์กติกาหรือบริเวณขั้วโลกใต้ เสียชีวิตจากการอดอาหารเกือบทั้งหมด โดยเหลือรอดแค่เพียง 2 ตัวเท่านั้นในฤดูกาลผสมพันธุ์นี้ นับเป็นสิ่งที่ผู้เชี่ยวชาญระบุว่าเป็นหายนะอย่างใหญ่หลวง

สาเหตุเกิดจากการมีน้ำแข็งเหลืออยู่เป็นปริมาณมากเกินไปในช่วงท้ายฤดูกาล ทำให้เพนกวินที่โตแล้วต้องเดินทางไกลมากกว่าเดิมเพื่อหาอาหาร ถือเป็นฤดูการแพร่พันธุ์ที่เลวร้ายที่สุดเป็นอันดับ 2 รองจากเมื่อปี 2558 ที่ไม่มีเพนกวินหลงเหลืออยู่เลยแม้แต่ตัวเดียว

กลุ่มอนุรักษ์จำนวนมากเรียกร้องให้มีมาตรการเร่งด่วนในการจัดตั้งพื้นที่คุ้มครองทางทะเลทางตะวันออกของทวีปแอนตาร์กติกาเพื่อป้องกันอาณาจักรเพนกวินที่มีประชากรอยู่ราว 36,000 ตัว

ด้านกองทุนสัตว์ป่าโลก (ดับเบิลยูดับเบิลยูเอฟ) ระบุว่า การสั่งห้ามตกตัวเคย ในพื้นที่จะลดการแข่งขันในการหาอาหารของเพนกวินและช่วยในการอยู่รอดของสัตว์ในแอนตาร์กติกาอีกหลายสายพันธุ์ซึ่งรวมถึงอเดลีเพนกวินนี้ด้วย

ไม่เพียงแต่ทรงเป็นห่วงประชาชนจากเหตุการณ์อุทกภัยครั้งใหญ่เมื่อปีพ.ศ.2538 แต่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ยังทรงคิดหาแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน ดำริให้เกิด “แก้มลิง” ขึ้น เพื่อบริหารจัดการน้ำ และพร่องน้ำลงสู่ทะเลเมื่อพร้อมตามหลักแรงโน้มถ่วงของโลก

“…ตามปกติเวลาเราให้กล้วยกับลิง ลิงจะเคี้ยวแล้วเก็บไว้ในแก้มลิง… เขาเคี้ยวแล้วเอาไปเก็บในแก้มน้ำท่วมลงมา ถ้าไม่ทำ “โครงการแก้มลิง” น้ำท่วมนี้จะเปรอะไปหมด อย่างที่เปรอะปีนี้ เปรอะไปทั่วภาคกลาง จะต้องทำ “แก้มลิง” เพื่อที่จะเอาน้ำปีนี้ไปเก็บไว้…”

พระราชดำรัสเรื่องของแก้มลิง ได้พระราชทานเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 4 ธันวาคม พ.ศ. 2538 ที่แสดงให้เห็นว่าพระองค์เป็นบุคคลช่างสังเกต และสามารถนำมาต่อยอดเป็นโครงการที่สามารถช่วยเหลือประชาชนได้อย่างยั่งยืน

จังหวัดสุโขทัยเป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่ได้น้อมนำพระราชดำริมาต่อยอดในการบริหารจัดการนำ้ เกิดเป็น โครงการแก้มลิงในพระราชดำริ “ทุ่งทะเลหลวง”

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้พระราชทานพระราชดำริ เมื่อครั้งเสด็จมาเยือนสุโขทัยเมื่อพ.ศ.2535 ความว่า “แม่น้ำยมในฤดูฝนมีน้ำมาก ในฤดูแล้งเกือบไม่มีน้ำ ให้พิจารณากั้นน้ำเป็นช่วงๆ แล้วผันน้ำเข้าคลองที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ทั้งฝั่งซ้ายและฝั่งขวาของแม่น้ำยม แล้วขุดลอกในลำธารส่งน้ำไปเก็บกักไว้ตามหนองบึงธรรมชาติได้”

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ มีโอกาสได้ลงพื้นที่โครงการแก้มลิงในพระราชดำริ “ทุ่งทะเลหลวง” จ.สุโขทัย หรือที่รู้จักกันในชื่อ แผ่นดินศักดิ์สิทธิ์รูปหัวใจ เพราะเมื่อมองจากมุมสูงแล้วโครงการแก้มลิงแห่งนี้มีลักษณะเป็นเกาะรูปหัวใจยื่นออกไปกลางน้ำนั่นเอง

“สำราญ เขียวสำริด” หัวหน้าฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 1โครงการชลประทานสุโขทัย เล่าให้ฟังว่าโครงแก้มลิงทุ่งทะเลหลวงนี้ เกิดจากการน้อมนำพระราชดำริการบริหารจัดการน้ำของในหลวง รัชกาลที่ 9 มาใช้เพพื่อบรรเทาอุทกภัยที่จะเกิดตอนหน้าฝน และกักเก็บน้ำไว้ใช้ตอนหน้าแล้ง

“บริเวณพื้นที่แก้มลิงนี้มีเนื้อที่ประมาณ 7 พันไร่ สามารถเก็บกักน้ำได้ถึง 32.4 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งพื้นที่โครงการมีประมาณ 1.9 หมื่นไร่ และตอนหน้าแล้งยังสามารถปล่อยน้ำไปช่วยในพื้นที่ได้ถึง 3-4 ตำบลของจังหวัดสุโขทัย” สำราญระบุและว่า

ประโยชน์ของการทำแก้มลิงทุ่งทะเลหลวงนั้นอกจากจะสามารถบริหารจัดการน้ำได้อย่างเป็นระบบนั้น ยังเปลี่ยนพื้นที่ที่น้ำท่วม เป็นพื้นที่ทำมาหากิน สร้างรายได้ โดยชาวบ้านในพื้นที่สามารถเข้ามาทำประมงในพื้นที่ได้ เพราะที่นี่ยังเป็นแหล่งเพราะพันธุ์ปลาขนาดใหญ่

ส่วนด้านการท่องเที่ยวนั้น หัวหน้าฝ่ายส่งน้ำฯกล่าวว่า จะมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติปั่นจักรยานมาชมธรรมชาติโดบรอบ และสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ประดิษฐานอยู่ที่แห่งนี้ ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนได้

นอกจากนี้ที่นี่ยังมีศูนย์ศึกษาผู้ใช้น้ำที่ให้ความรู้เกี่ยวกับโครงการแก้มลิง และทดลองการเกษตร รวมถึงการเลี้ยงสัตว์ ที่ชาวบ้านทุกคนสามารถเข้ามาใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ได้อีกด้วย

…อีกหนึ่งพระอัจฉริยภาพของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่สามารถช่วยเหลือประชาชนได้อย่างยั่งยืน การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้จัดทำโครงการ “วิชา๙หน้า” ศาสตร์พระราชาจากตำราของพ่อ อันเป็นกิจกรรมภายใต้โครงการ “ตามรอยศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน” เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณและสืบสานพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ด้วยการน้อมนำหลักเข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา อันเป็นหลักการทรงงานของพระองค์ท่าน จนเกิดเป็นโครงการพระราชดำริกว่า 4,000 โครงการ เกิดเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนและการพัฒนาประเทศในทุกด้าน

นางสาวฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ ผู้อำนวยการสำนักผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กล่าวว่าโครงการ “วิชา๙หน้า” ศาสตร์พระราชาจากตำราของพ่อ เพื่อเป็นการนำเสนอศาสตร์พระราชาในรูปแบบใหม่ ให้ประชาชนทั่วไปและคนรุ่นใหม่สามารถเข้าใจได้ง่ายขึ้น ผ่านคอนเทนต์ในรูปแบบต่างๆ ประกอบด้วย วีดีโอสารคดีและหนังสือ ชุด “วิชา๙หน้า” ศาสตร์พระราชาจากตำราของพ่อ นำเสนอ 9 วิชา ผ่าน 9 บุคคล ซึ่งเป็นผู้มีอิทธิพลทางความคิดในแวดวงต่างๆ มาเป็นผู้ถ่ายทอดแต่ละ “วิชา” ที่ได้ไปสัมผัสจริงในชุมชนต่างๆ โดยมีศาสตร์พระราชาเป็นแกนหลักของแต่ละ “บท” ผ่านการ “ท่องเที่ยวชุมชน” ที่แต่ละชุมชนได้น้อมนำหลักการและแนวคิดของพระองค์เป็นแนวทางในการใช้ชีวิตและพัฒนาชุมชนให้เกิดการเติบโตอย่างยั่งยืน ประกอบด้วย

1. วิชาปรุงไทยในใจคน : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร โดย คุณกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

รัชกาลที่ 9 ทรงมุ่งเน้นอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยให้สืบต่อเนื่องยาวนาน “ปรุง” ความรักษ์ไทยสู่ใจชาวไทยและอนุชนรุ่นหลัง ด้วยการโปรดเกล้าฯ ให้ฟื้นฟูประเพณีเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคขึ้นอีกครั้ง เพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจในชาติของตน และเผยแพร่ให้ชาวโลกได้ประจักษ์

2. วิชาชลปราการ : เขื่อนขุนด่านปราการชล จ.นครนายก โดยคุณยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
เขื่อนของพ่อ “ปราการ” ที่ใช้ปกป้องบรรเทาปัญหาอุทกภัยไม่ให้เข้าท่วมจังหวัดนครนายก ซึ่งเป็นปราการด่านสุดท้ายก่อนที่จะเข้าสู่กรุงเทพมหานคร และยังเป็นปราการที่ใช้เก็บกักน้ำสำหรับหล่อเลี้ยงชีวิตชาวไทย ขณะเดียวกันในฤดูแล้ง น้ำจากเขื่อนก็จะถูกระบายเพื่อแก้ปัญหาดินเปรี้ยวอีกด้วย

3. วิชาหมอดิน : ศูนย์ศึกษาวิธีการฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรมเขาชะงุ้ม อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.ราชบุรี โดยคุณบอย โกสิยพงษ์ นักแต่งเพลงชื่อดัง

ปัญหาดินเสื่อมโทรมต้องรักษาด้วยการเพิ่ม capfundonline.com “วิตามินของดิน” เพื่อฟื้นฟูปรับปรุงบำรุงให้สามารถกลับมาใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกครั้ง แก้ปัญหาที่ทำกินของตนเองให้กลับมาใช้ประโยชน์ได้ในที่สุด อาทิ การปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก ปล่อยให้ป่าเติบโตตามในวิถีธรรมชาติ การปลูกหญ้าแฝก ป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน การรักษาความชุ่มชื้นของดิน

4. วิชาหลอกฟ้า : ศูนย์ฝนหลวงหัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ โดยคุณกรรณ สวัสดิ์วัฒน์ ณ อยุธยา นักแสดงหล่อมาดเซอร์ อาจกล่าวได้ว่าปัญหาภัยแล้งเป็นทุกข์ของราษฎร พระองค์จึงได้ทรงค้นงานวิจัยจากต่างประเทศจำนวนมาก เพื่อศึกษาหาความเป็นไปได้ในการทำฝนเทียม โดยได้ใช้สนามบินบ่อฝ้าย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในการทดลอง ฝนที่ในหลวงทรงสร้าง จากศาสตร์ของการหลอกฟ้า ที่ทั้งค้นคิด และทดลอง ซ้ำแล้วซ้ำเล่ามานานถึง 14 ปี ได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญ ที่ช่วยชาวบ้านนับแสนนับล้านให้รอดพ้นวิกฤติ จนผู้คนขนานนามว่า ‘ฝนหลวง’

5. วิชาธรรมชาติสามัคคี : โครงการพัฒนาป่าไม้ตามแนวพระราชดําริภูหินร่องกล้า จ.พิษณุโลก โดยคุณวงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์ ผู้ก่อตั้งนิตยสาร a day และ The Standard

ชาวม้งที่ภูหินร่องกล้าส่วนใหญ่ดำรงชีพด้วยการปลูกฝิ่นกับกะหล่ำปลี จึงมักจะเข้าไปบุกรุกเผ้าถางพื้นที่ป่าสร้างความเสียหายแก่ทรัพยากรธรรมชาติเป็นอย่างมาก กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จึงหยิบยกแนวทางพระราชดำริมาเป็นฐานเพื่อแก้ไขปัญหา โดยสนับสนุนให้ชาวบ้านเปลี่ยนมาปลูกพืชที่เป็นมิตรกับธรรมชาติ อย่าง กาแฟอาราบิก้า และสตรอเบอร์รีพันธุ์พระราชทาน 80

โดยผลผลิตนำไปจำหน่ายนักท่องเที่ยวที่มาชมความงามของทุ่งดอกกระดาษและดอกดงพญาเสือโคร่ง ซึ่งชาวเขาช่วยกันปลูกเพื่อทดแทนผืนป่าเดิมบนยอดดอยที่ถูกบุกรุกทำลายจนมีสภาพเป็นเขาหัวโล้น พร้อมปลูกฝังแนวคิดเรื่องป่าไม้เป็นเรื่องของทุกคน “คนอยู่กับป่า ป่าอยู่กับคน” ด้วยการสอนให้ชาวเขา รู้จักวิธีดูแลรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นการทำแนวป้องกันไฟป่า การดูแลพันธุ์พืชสัตว์ป่า การดูแลแหล่งน้ำธรรมชาติ ฯลฯ ส่งผลให้ภูหินร่องกล้า กลับมาอุดมสมบูรณ์ในระยะเวลาไม่นาน

6. วิชาตำนานพันธุ์ : ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.สกลนคร โดยคุณวิศุทธิ์ พรนิมิตร นักวาดภาพประกอบ เจ้าของลายเส้น น้องมะม่วง, ควันใต้หมวก, hesheit

ด้วยต้องการบรรเทาความทุกข์ของประชาชน ในหลวง รัชกาลที่ 9 จึงโปรดฯ ให้สร้างพระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ เพื่อเป็นศูนย์กลางในการทำงานของพระองค์ในภาคอีสาน พร้อมโปรดฯ ให้จัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อเป็นสถานที่ทดลองแนวพระราชดำริต่างๆ โดยเฉพาะการพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตร เช่น การสร้างอ่างเก็บน้ำไว้ในในฤดูแล้ง การหาข้าวพันธุ์ดีที่เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศ

และอีกโครงการหนึ่งซึ่งถือเป็นไฮไลต์ของที่นี่ คือการเลี้ยงสัตว์ โดยในหลวงพระราชทานแนวทางง่ายๆ ว่า ต้องแข็งแรง ทนทานต่อสภาพแวดล้อม เลี้ยงง่ายไม่ต้องลงทุนสูง ไม่เช่นนั้นหากมีอะไรผิดพลาด เกษตรกรจะกลายเป็นหนี้ จนเป็นที่มาของตำนาน 3 ดำแห่งภูพาน ซึ่งประกอบด้วย ไก่ดำภูพาน สุกรภูพาน โคเนื้อภูพาน

7. วิชารักแรงโน้มถ่วง : โครงการแก้มลิงในพระราชดำริทุ่งทะเลหลวง จ.สุโขทัย โดยคุณสุชาณัฐ ชิดไทย (คนตัวจิ๋ว) บล็อกเกอร์สุดครีเอทีฟเจ้าของเพจ “คนตัวจิ๋ว”

เพราะความรักที่มีต่อสัตว์เลี้ยงของในหลวง รัชกาลที่ 9 พระองค์จึงคอยเฝ้าสังเกตพฤติกรรมของสัตว์ที่ทรงเลี้ยงอย่างใกล้ชิด

และจากความสนพระทัยนี้จะถูกต่อยอดมาเป็นแนวทางการบริหารจัดการน้ำที่สาคัญของประเทศ “แก้มลิงรูปหัวใจ” ระบายน้ำจากตอนบนสู่คลองพักน้ำขนาดใหญ่ที่ชายทะเล เมื่อระดับน้ำในทะเลลดต่ำกว่าในคลองก็ระบายน้ำออกจากคลองทางประตูระบายน้ำด้วยหลักการแรงโน้มถ่วงของโลก

8. วิชาปลูกรักษ์ : สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ จ.เชียงใหม่ โดยน้องชื่นใจ และคุณแม่-คุณพนิดา เอี่ยมศิรินพกุล อดีตบรรณาธิการและนักเขียน สำนักพิมพ์ polka dots และลูกสาวไอดอลวัยจิ๋วขวัญใจชาวเน็ต

ใครจะเชื่อว่าปัญหาการปลูกฝิ่นที่อยู่คู่สังคมไทยมานานกว่า 600 ปีจะหายไป ด้วยพระอัจฉริยภาพที่เกิดจากการมองปัญหาอย่างรอบด้านลึกซึ้งของในหลวง รัชกาลที่ 9 ทำให้สามารถเอาชนะปัญหาที่เกาะกินสังคมไทยมายาวนานได้ เริ่มจากการ “ปลูกป่าในใจคน” นั่นก็คือควรจะปลูกต้นไม้ลงในใจคนเสียก่อน แล้วคนเหล่านั้นก็พากันปลูกต้นไม้ลงบนแผ่นดินและรักษาต้นไม้ด้วยตนเอง

จากกาแฟต้นแรกของพ่อที่ให้ชาวเขาปลูกแทนการปลูกฝิ่นจนกระทั่งเปลี่ยนจากฝิ่นกลายเป็นเมืองกาแฟในปัจจุบัน เช่นเดียวกับบนยอดดอยที่หวนคืนสู่ความอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง

9. วิชานิเวศปฐมวัย : ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.จันทบุรี โดยคุณชุดารี เทพาคำ เชฟตาม Top Chef Thailand คนแรกของประเทศไทย

สัตว์น้ำตัวเล็กๆ ก็เหมือนกับเด็ก หากไม่มีการดูแลที่ดี โอกาสที่จะเจริญเติบโตเป็นแหล่งโปรตีนที่ดี ก็คงลำบาก ในหลวง รัชกาลที่ 9 ทรงเข้าใจเรื่องนี้เป็นอย่างดี จึงเป็นสำเหตุว่าทำไมถึงโปรดฯ ให้จัดตั้ง ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดจันทบุรี เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2524