โครงการหมู่บ้านสหกรณ์ห้วยสัตว์ใหญ่ ป่าเด็ง-ป่าละอู

ในปี พ.ศ. 2510 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) ได้รับสั่งให้ตํารวจพลร่มค่ายนเรศวรหัวหิน ให้การช่วยเหลือแก่ชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหรี่ยง โดยการจัดตั้งชุดพัฒนาการขึ้น 2 ชุด คือ ชุดพัฒนา 712 ที่บ้านป่าละอูบน อําเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และชุดพัฒนาการ 713 ที่บ้านป่าเด็ง อําเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะรวบรวมชาวไทยเผ่ากะเหรี่ยงที่กระจัดกระจายให้อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ง่ายต่อการควบคุมดูแล และเพื่อต้องการไม่ให้มีการตัดไม้ทําลายป่า อันเป็นแหล่งต้นน้ำลําธาร ตลอดจนการจัดหาเครื่องอุปโภคบริโภค และส่งเสริมอาชีพการเกษตร ทั้งในด้านการผลิตและการตลาด เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น

จากกระแสพระราชดํารัสดังกล่าว กระทรวงมหาดไทย จึงได้จัดทําโครงการหมู่บ้านสหกรณ์ห้วยสัตว์ใหญ่ขึ้นเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา และคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ดําเนินการโครงการหมู่บ้านสหกรณ์ห้วยสัตว์ใหญ่ เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2520 โดยสํานักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทได้เร่งดําเนินการตามโครงการ เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2520 เป็นต้นมา ปัจจุบันอยู่ในการกํากับดูแลโดยกรมธนารักษ์

ภูมิศาสตร์ป่าละอู เหมาะสมกับคุณภาพทุเรียน

ลักษณะพื้นที่โครงการหมู่บ้านสหกรณ์ห้วยสัตว์ใหญ่ ป่าเด็ง-ป่าละอู เป็นที่ราบ และเนินเตี้ยๆ ระหว่างแนวเขาสูง อากาศช่วงกลางวันร้อนมาก ส่วนตอนกลางคืนจะค่อนข้างเย็น อุณหภูมิต่ำ ชาวบ้านเรียก “กลางวันร้อน กลางคืนเย็น” ช่วยส่งผลต่อคุณภาพทุเรียนที่ดีขึ้น ประกอบกับลักษณะของดินเป็นป่าเปิดใหม่ (ใหม่กว่าทั่วไป)

ที่ผ่านการใช้ประโยชน์ด้านการปลูกพืชไร่ ที่มีระบบรากตื้นแค่หน้าดินชั้นบน ดินชั้นล่างจึงยังคงสภาพความสมบูรณ์มาก ชั้นดินที่อยู่ลึกลงไปยังคงมีธาตุอาหารอยู่มาก เหมาะสมต่อการสร้างคุณภาพเนื้อ รสชาติทุเรียน อีกอย่างในช่วงหน้าฝน น้ำที่ไหลจากภูเขาจะพาเอาสารอินทรีย์และธาตุอาหารลงมาสะสมในบริเวณที่ราบระหว่างภูเขา ซึ่งเป็นพื้นที่การปลูกทุเรียนส่วนใหญ่ของเกษตรกรป่าละอู ทำให้ต้นทุเรียนสมบูรณ์แข็งแรง ดูดธาตุอาหารได้เต็มที่

สวนทุเรียนหมอนทอง ของ “เจ๊เขียวซีฟู๊ด”

สวนทุเรียนหมอนทองของ “เจ๊เขียวซีฟู๊ด” สำนวนตรงนี้ดูจะแปลกๆ ว่า ทุเรียนกับซีฟู้ดมันเกี่ยวข้องกันยังไง ง่ายๆ ก็คือว่า “เจ๊เขียวซีฟู๊ด” เป็นชื่อร้านอาหารทะเล ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านเขาตะเกียบ อำเภอหัวหิน ซึ่งเกี่ยวดองกับผู้เขียนในฐานะพี่สะใภ้ แต่มาสนใจด้านทำการเกษตร โดยเฉพาะชอบกินทุเรียนหมอนทองมากๆ เลยเที่ยวไปหาซื้อสวนทุเรียนไว้ที่บ้านป่าละอู แล้วเข้าไปบริหารจัดการเสียใหม่ ให้น้ำ ใส่ปุ๋ย กำจัดหญ้า ฉีดยา ตัดแต่งกิ่งต้น บำรุงจนต้นทุเรียนสมบูรณ์ ให้ดอกออกผลทุกปี ช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิตก็นำลงมาวางขายที่ร้าน “เจ๊เขียวซีฟู๊ด” จนลูกค้าติดใจในรสชาติของทุเรียนป่าละอู

ประกอบกับลูกค้าที่มาใช้บริการที่ร้านนี้ เป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อที่ดี เป็นขาประจำ และมีเครือข่ายเป็นคนในเมือง จึงทำให้ชื่อเสียงทุเรียนหมอนทองป่าละอูของสวน “เจ๊เขียวซีฟู๊ด” เป็นที่ยอมรับและแพร่หลายไปอย่างรวดเร็ว ความต้องการเพิ่มขึ้นทุกปี

จากเดิมที่เริ่มต้นสวนทุเรียนหมอนทองเพียง 4-5 ไร่ จนต้องขยายพื้นที่สวนออกไป สวนที่อยู่ใกล้ๆ บอกขาย จะซื้อไว้หมด ตอนนี้ก็รวมเข้าไปกว่า 40 ไร่แล้ว ในแต่ละปีจึงมีทุเรียนหมอนทองป่าละอูลงมาขาย ให้ช้อปชิมกันได้อย่างจุใจ

การขยายพื้นที่เพิ่มขึ้น พอมีคนมาบอกขายก็ซื้อไว้อีก เพราะมีกำลังซื้อและพอทำได้ เผื่อไว้เป็นอีกช่องทางของอาชีพ ผลผลิตนำมาเป็นส่วนเสริมร้านอาหารได้เป็นอย่างดี ไม่มีข้อจำกัดด้านตลาด ลูกค้าก็ระดับไฮโซฯ ทั้งนั้น ปั้นราคาแค่ไหนไม่มีเกี่ยง แต่ก็ขายราคาที่สมเหตุสมผล แบบครองใจลูกค้าไปด้วย

ที่สำคัญรับประกันคุณภาพทุกลูก หากซื้อไปแล้วพบว่า หลุดสเปค กินไม่ได้ จ่ายคืนทุกบาททุกสตางค์ หรือส่งคืนไปให้ใหม่ แต่ที่ผ่านมาไม่เจอของด้อยคุณภาพแต่อย่างใด เพราะเจ๊เขียวขึ้นไปกำกับการตัดทุเรียนด้วยตัวเอง คิวซีเข้มเต็มพิกัด “ดิบไม่ตัด รอยสัตว์กัดแทะไม่มี คัดลูกแก่เต็มที่ เอารูปทรงที่ดีมาวางขาย” มั่นใจได้กับทุเรียนหมอนทองป่าละอูของร้าน “เจ๊เขียวซีฟู๊ด”

ผลผลิตจะออกสู่ตลาดในช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม ของทุกปี ราคาเริ่มต้นที่ กิโลกรัมละ 250 บาท ชั่งให้ไม่ขาด มีแต่ชั่งให้เกินกันไป จะกินไวก็ปอกได้ที่ร้าน หรือหอบหิ้วกลับบ้านก็แพ็กให้อย่างดี เอฟซีหลายคนถามหาข้าวเหนียวน้ำกะทิทุเรียน ที่นี่มีจัดไว้ในราคาปกติ น้ำกะทิข้น เพราะปนเนื้อทุเรียนมากกก… อยากเชิญชวนชิม แล้วจะอิ่มอร่อยกว่าที่ใด ไม่ชอบกะทิก็เอาทุเรียนกวนไป รสชาติม่วนได้ไปอีกแบบ

ล่าสุดแนวใหม่ “ทุเรียนไร้หนาม” เน้นเอาไปปอกเปลือกได้เองที่บ้าน เลาะหนามแหลมคมออกไป ดูลายสวยงามตา เอามือปอกง่ายกว่าถ้าสุกงอม มือจะไม่ถูกหนามทุเรียนทิ่มตำย้ำบอกไป สไตล์นี้ก็มีให้ซื้อกัน หอบหิ้วกลับไปฝากญาติมิตร ผู้ใหญ่ หรือเพื่อนบ้านก็กิ๊บเก๋ดูดี มีระดับและประทับใจ ข้อมูลทั้งหมดนี้ ผู้เขียนสรุปประมวลมาให้ ปีนี้ลองแวะไปชิมกันได้ที่ ร้าน “เจ๊เขียวซีฟู๊ด” หัวหิน

ผลผลิตทุเรียนหมอนทองป่าละอู

ผลผลิตทุเรียนหมอนทองป่าละอู แต่ละปียังมีไม่มากเหมือนแหล่งผลิตใหญ่แถบจันทบุรี ระยอง หรือที่ชุมพร แต่หมอนทองป่าละอู เป็นดาวรุ่งดวงใหม่ที่มาแรง ด้วยกระแสนิยมสุดฮอต (fever) จากผู้บริโภคสายทุเรียน ผลกระทบจากการที่สื่อมวลชนทุกประเภทยกขบวนกันไปทำข่าว/นำเสนอข้อมูลสู่สาธารณะ และหน่วยงานภาครัฐกับภาคเอกชนในพื้นที่ได้ร่วมมือกันจัดงานและเทศกาล (event) เพื่อประชาสัมพันธ์ ผลผลิตโดยรวมแค่หลักพันตันต่อปี ดูจะเป็นเรื่องจิ๊บจ๊อย ไม่ทันไรก็ขายกันหมดเกลี้ยง ไม่เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้า ที่ขยับมากขึ้นแบบทวีคูณ..

.ข้อมูลระบุว่า ในปี 2562 เขตป่าละอู มีพื้นที่ปลูกทุเรียนหมอนทอง ประมาณ 1,700 ไร่ ให้ผลผลิตรวมประมาณ 300 ตัน เท่านั้น ราคาขายที่หน้าสวน กิโลกรัมละ 160 บาท ส่วนราคาขายที่แผงแม่ค้าและซุปเปอร์มาร์ทอยู่ระหว่าง กิโลกรัมละ 250-280 บาท ถามว่าแพงไปหรือเปล่า ไม่แพงอะไร เพราะทุเรียนหมอนทองป่าละอู มีรสชาติอร่อย เนื้อละเอียดเนียน กลิ่นไม่แรง แตกต่างจากหมอนทองจันท์และหมอนทองชุมพรอย่างชัดเจน

จากความร่วมมือกันของชาวสวนป่าละอู ด้านการดูแลสวนจนถึงการเข้มงวดการตัดทุเรียนแก่จัดเท่านั้น ทำให้ทุเรียนหมอนทองป่าละอูคงคุณภาพด้านรสชาติ เป็นที่ยอมรับของของลูกค้า ล่าสุดยกระดับขึ้นเป็นทุเรียน จีไอ (GI : Geographical Indication) อ้างอิงแหล่งกำเนิดทางภูมิศาสตร์จากป่าละอู-หัวหิน เป็นผลไม้เฉพาะถิ่น โดยกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ได้ผ่านการพิจารณาและอนุมัติไปเรียบร้อยแล้ว ตั้งแต่ ปี 2557

ช่วงนี้ก็เข้าฤดูกาลของทุเรียนกันแล้ว ทุเรียนไทยจะไปได้หากคนไทยช่วยกัน ช่วงฝ่าฟันภัยจากโรคโควิด-19 เอาวิกฤติมาเป็นโอกาส ตลาดทุเรียนไทยจะยังคงครองใจผู้บริโภคตลอดไป ทุเรียนหมอนทองป่าละอู แม้เป็นน้องใหม่ แต่จะเป็นอีกทางเลือกได้ของคนสายทุเรียน ผลผลิตเริ่มที่เดือนหน้า พฤษภาคมยาวถึงสิงหาคม

เชิญชวนไปทัวร์หัวหิน แล้วชิมรสชาติทุเรียนหมอนทองป่าละอูกัน หากมีเวลาก็ขับรถจากตัวเมืองหัวหินตรงไป ไม่มีเลี้ยว แน่บสายเดี่ยวหนองพลับ-ป่าละอู ขับสบายๆ ไปราวชั่วโมงกว่าๆ ก็ถึงบ้านป่าละอูแล้ว แต่หากเวลาจำกัด ไม่ถนัดขับรถในป่า แวะมาที่ร้าน “เจ๊เขียวซีฟู๊ด” หมู่บ้านเขาตะเกียบ ห่างจากตัวเมืองหัวหินไปแค่ 5 กิโลเมตร เท่านั้น ที่นั่นนอกจากจะจัดเต็มเมนูซีฟู้ดรสจัดจ้านจากปลาหมึก กุ้ง หอย ปู และปลาแล้ว ยังพาเอาทุเรียนหมอนทองป่าละอู จากที่สวนมาไว้รอรับทุกท่านได้อย่างเต็มที่ ไปหัวหินทั้งที ต้องกินของดี ทุเรียนป่าละอูกันนะครับ

ไปหัวหิน อยากชิมทุเรียนป่าละอู หรือลิ้มรสอาหาร ร้าน “เจ๊เขียวซีฟู๊ด” หัวหิน โทรศัพท์ 032-655-103 และ 081-880-4219

ประวัติความเป็นมา ของ ทุเรียนป่าละอู

ทุเรียนป่าละอู เริ่มนำเข้ามาปลูกในพื้นที่ป่าละอู ตำบลห้วยสัตว์ใหญ่ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อปี พ.ศ. 2527 ผู้ที่นำเข้ามาคนแรกคือ นายพยุง พรายใย โดยเริ่มแรกนำเข้ามาปลูก จำนวน 100 ต้น นำมาจากจังหวัดระยอง การนำทุเรียนเข้ามาปลูกในพื้นที่ป่าละอูครั้งนั้น ได้ผลผลิตเป็นที่น่าพอใจ คือมีรสชาติอร่อย มีเอกลักษณ์แตกต่างจากต้นพันธุ์ที่นำมาจากจังหวัดระยอง คือมีรสมัน หวานน้อย เนื้อแน่น และกลิ่นไม่แรง

ตั้งแต่ ปี 2550 จนถึงปัจจุบัน องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยสัตว์ใหญ่ ได้จัดให้มีการประกวดทุเรียนป่าละอูขึ้นทุกปี ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้เข้าชมงาน ทำให้มีความต้องการซื้อมากยิ่งขึ้น จนผลผลิตไม่เพียงพอกับความต้องการ ส่งผลให้ทุเรียนป่าละอูมีราคาเพิ่มสูงขึ้น

ลักษณะพิเศษของทุเรียนป่าละอูที่แตกต่างกับทุเรียนในพื้นที่อื่นคือ ทุเรียนป่าละอู ออกมีผลผลิตก่อนทุเรียนทางภาคใต้ และหลังทุเรียนในภาคตะวันออก และผลผลิตทุเรียนป่าละอูมีผลผลิตมากในช่วงเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม ของทุกปี

ลักษณะทุเรียนหมอนทองป่าละอู ระบุไว้ในทะเบียนแหล่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ไว้ดังนี้

ลักษณะทางกายภาพ

เปลือก มีสีเขียวปนน้ำตาล ปลายหนามแหลมคมมาก ร่องพูชัดเจน

ก้านขั้ว ค่อนข้างใหญ่ สีน้ำตาล จับดูจะรู้สึกสากมือ พอแก่จัดขั้วจะมีรสหวาน

เนื้อ เนื้อหนา สีเหลืองอ่อน เนื้อแห้งเนียน ละเอียด มีกลิ่นหอม

รสชาติ หวาน มัน อร่อย

เมล็ด เมล็ดลีบเล็ก ทำให้เนื้อทุเรียนหนา

ลักษณะเฉพาะทุเรียนหมอนทองป่าละอู ทรงผลยาว ไหล่ผลกว้าง ก้นผลแหลม ร่องพูชัดเจน เนื้อหนา สีเหลืองอ่อน มีกลิ่นน้อย รสชาติหวาน ขนาดผลใหญ่ น้ำหนักระหว่าง 2.0-5.0 กิโลกรัม

-ปราณี กล้าขาย .2563, สัมภาษณ์ 15 กุมภาพันธ์ 2563, ร้านเจ๊เขียวซีฟู๊ด หัวหิน.

-กรมทรัพย์สินทางปัญญา. 2557, การขึ้นทะเบียนแหล่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ทุเรียนป่าละอู, กระทรวงพาณิชย์.

-โครงการหมู่บ้านสหกรณ์ห้วยสัตว์ใหญ่ ป่าเด็ง-ป่าละอู/www.prachuabkirikhan.go.th

-ขอบคุณภาพบางส่วนจากอินเตอร์เน็ต ชื่อในพระไตรปิฎก กมลาสริสิตถิโย (วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี)
ตำนาน ชาดก อลัมพฺสาชาดก ต้นไม้ในปรัมปราวิทยา เทพปกรณัมศาสนาพุทธ ตำนานพื้นบ้านไทย
อาณาเขต ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
วรรณคดีอ้างอิง พระเวสสันดรชาดก มหาชาติคำหลวง ไตรภูมิพระร่วง
ภาษาอังกฤษ (n) Tree bearing fruits in the shape of girls.
ชื่ออื่นๆ นารีผล

หนูเกิดก่อนที่นักพฤกษศาสตร์ไทยจะกำหนดจัดให้อยู่ในชื่อวิทยาศาสตร์ หรือวงศ์ไหน เพราะคนส่วนใหญ่จะรู้จักหนูในตำนาน นิยาย หรือเทพนิยายที่เป็นจินตนาการ เป็นนิยายอิงธรรมะ เป็นเรื่องเล่าเชิงพุทธศาสนา แต่จะอยู่ในกฎเกณฑ์แห่งทวิภพหรือไม่หนูก็ไม่เข้าใจ ช่วงนี้หนูได้ข่าวว่า โลกมนุษย์ปั่นป่วนด้วยเชื้อ “ไวรัส โควิด-19” ซึ่งไม่เคยได้ยินใน “ป่าหิมพานต์” หนูจึงอยากปรากฏตัวอาสาช่วย “อสม. และคุณหมอ พยาบาล” จะได้นำกลับไปป้องกันที่ป่าหิมพานต์ด้วยค่ะ

คุณๆ ที่เคยได้ยินชื่อหนู ถ้าเป็นคนรุ่นใหม่อาจจะไม่คิดว่าเป็นต้นไม้ คือจะคิดถึงตัวธิดาเทพ แต่คนรุ่นก่อนๆ จะจินตนาการถึงต้นไม้ที่ออกดอกผลเป็นหญิงสาวงาม มีขั้วติดมวยผมกับต้นไม้ ห้อยกับกิ่ง มีทั้งลักษณะคู้เข่า หรือเหยียดเท้าตรง แล้วแต่ช่วงอายุวัย และสิ่งที่เห็นนี้ในแต่ละตำนาน ยังมีคำจำกัดความแตกต่างกัน เช่น จากบันทึกในพระไตรปิฎก ระบุว่า “นารีผล” คือ ดอกไม้ ไม่ใช่ผลไม้ แต่อีกหลายตำนานมักจะให้ความหมายว่าเป็นผลไม้ที่กินได้ ดังในไตรภูมิพระร่วง ได้พรรณนาถึงป่าหิมพานต์ ตอนหนึ่งว่า มีป่าไม้ นารีผล ซึ่งถ้า “ฝูงเทวดาผู้ชาย” เห็นแล้วจะมีใจรัก ครั้นหล่นตกลงฝูงนกก็จะรุมจิกกิน หนูแปลกใจที่คำว่า “ฝูงเทวดาชาย” คือเหล่าบรรดา ดาบส ฤๅษี นักสิทธิ์ วิทยาธร คนธรรพ์ แหม…! หนูคิดว่าท่านเหล่านี้จะ “ปลง” หรือ “ละ ลด เลิก กิเลสกาม” หมดแล้ว

น้องๆ “ไม้แปลกที่ชื่อ” ที่ผ่านมา อย่าแปลกใจเลยนะคะ ที่อยู่ๆ พี่ก็เสนอตัวออกมาแทรกแซง ทั้งๆ ที่พี่อยู่นอกเหนือกลุ่มพืชพันธุ์พฤกษศาสตร์ที่เคยเป็นมา เพราะพี่อยากเปลี่ยนบรรยากาศในช่วงสถานการณ์ “โควิด-19 “นี้ และอยากมีส่วนร่วมอาสาช่วยเย็บผ้า “หน้ากากอนามัย” เผื่อมีเหลือกลับไปฝาก “นารีผล” ตนอื่นๆ ที่ป่าหิมพานต์บ้างจ๊ะ

ที่หนูพูดถึงว่าหนูไม่มีชื่อใน “สารานุกรมพฤกษศาสตร์” แต่อยากให้เป็นทั้งชื่อแปลก และเรื่องแปลกๆ อย่างหนูก็มีในโลก ทั้งระดับตำนาน วรรณคดีและวัฒนธรรมร่วมสมัย ก็ยังกล่าวถึงหนู เช่น กลางปี พ.ศ. 2539 หนูก็เป็นข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ว่า หนูอยู่ที่วัดแห่งหนึ่งที่จังหวัดสิงห์บุรี พ.ศ. 2554 มีทีมสำรวจเรื่องลึกลับตามหาหนู และออกอากาศเป็นสารคดีชุด Destination Truth ซีซั่นที่ 4 ตอน Thai Tree people และที่แปลกไปกว่านั้นยังมีการสร้างหนังซีดีเกี่ยวข้องกับเรื่องหนู 2 เรื่องคือ “นารีผล คนพฤกษา” และ “devil Ivy นารีผล” เห็นในสื่อออนไลน์เมื่อ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2562 นี่เอง

แต่ตามตำนานจริงๆ เริ่มมาตั้งแต่เรื่องพระเวสสันดร และไตรภูมิพระร่วง ซึ่งพระมหาธรรมราชา พญาลิไทได้ทรงพระราชนิพนธ์ ประมาณ พ.ศ.1888 ตั้ง 675 ปี มาแล้ว เจ้าค่ะ และเดี๋ยวนี้เรื่องของหนูถูกนำเสนอในสื่อออนไลน์ ทั้งใน u-tube และ Google สารพัดเรื่องแปลกๆ จนหนูสับสนว่าอยู่ยุคไหนกัน
หนูภาคภูมิใจมากที่มีชื่อในพจนานุกรมทั้งฉบับราชบัณฑิตยสถาน และฉบับ อ.เปลื้อง ณ นคร
ซึ่งหนูสรุปได้เองว่า “มักกะลีผล” เป็นชื่อต้นไม้ในป่าหิมพานต์เป็นเรื่องราวนวนิยายที่ต้นไม้ออกลูกเป็นหญิงสาวงามห้อยเป็นระย้า และมีพวก นักสิทธิ์ วิทยาธร คนธรรพ์ แม้กระทั่ง ดาบส ฤๅษี มาสอยไปเสพสม

เพราะเป็นร่าง “นารีผล” สาว 16 ปี แต่มีอายุเพียง 7 วัน ก็เน่าเสียไป อีกท่านที่กล่าวถึงหนู คือ รศ.ดร. บุญยงค์ เกศเทศ ท่านยังนำเรื่องของหนูไปเขียนไว้ในนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน ฉบับที่ 686 วันที่ 1 มกราคม 2562 ว่ามีภาพเขียนจิตกรรมฝาผนังพระอุโบสถวัดนาพรม ตำบลนาพันสาม จังหวัดเพชรบุรี เป็นภาพเขียนต้นนารีผล เขียนไว้ราวกับมีชีวิต สมกับเป็นต้นไม้ในป่าหิมพานต์และระบุความว่า “ร.ศ.120 ยกหอสวดมนต์” จึงน่าจะเขียนขึ้นประมาณ พ.ศ. 2445 ในรัชสมัยปลายรัชกาลที่ 5 เป็นฝีมือช่างพื้นบ้าน แต่หนูรู้นะว่า เขาเผยแพร่ไว้ทั้งในหนังสือและสื่อ U-Tube หนูจึงเป็นที่โจษขานในสื่อทีวี เกือบทุกช่อง ตั้งแต่ พ.ศ.2554 เป็นต้นมา เพราะมีการไปทำข่าว ถึง “สวนป่าหิมพานต์” ที่เขาค้อ เพชรบูรณ์

ในตำนานพระเวสสันดร ที่ถูกเนรเทศออกจากนครสู่ป่าหิมพานต์ เพื่อปฏิบัติธรรมนั้น ท้าวสักกะเทวราช ได้เนรมิตต้นไม้วิเศษ 16 ต้น เพื่อเป็นที่พำนัก และปกป้องพระนางมัทรี ไม่ให้ “ฝูงเทวดาผู้ชาย” ตะบะแตก แล้วล่วงศีลได้ โดยให้ต้นนารีผลออกดอกผล มีรูปร่างเหมือนสตรี ทรวดทรงเป็นสาวแรกรุ่น 16 งามปานเทพธิดา เพื่อเทวดาผู้ชายเด็ดไปเสพสังวาส จนสิ้นฤทธิ์ชายหนุ่ม หมดพลังทุศีล

ในเรื่องจริงเมืองไทย ที่ “สวนป่าหิมพานต์” หรือที่พุทธธรรมสถานผาซ่อนแก้ว เขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ หนูก็เด่นดังอีกเมื่อ มีข่าวจาก “มติชนออนไลน์” ได้เปิดเผยข้อมูลเชิงวิชาการว่า ทราบเรื่องจากผู้ดูแลสวนป่าหิมพานต์ แจ้งว่า ต้นนารีผลจัดสร้างขึ้นโดยการหล่อปูนซีเมนต์ หุ้มด้วยไฟเบอร์กลาสทั้ง ต้น ใบ และ ผลนารี ตั้งแต่ พ.ศ. 2539 จำนวน 52 ตน เพื่อสร้างบรรยากาศเทพนิยาย สำหรับสถานที่ท่องเที่ยว ทำให้มีคนเข้าใจว่าเป็นของจริง ก็มีจินตนาการส่งต่อกัน เพื่อนหนูจึงถูกแอบสอยไปแล้วเหลือ 30 ตน ถ้าอยากจะสอย เอ๊ย..! ชมหนู ส่งไลน์ไปถึงหนูที่ “สวนป่าหิมพานต์” ได้นะค่ะ

ลำปาง นอกจากจะมีรถม้าเป็นเอกลักษณ์แล้ว ในด้านผลไม้ประจำถิ่นก็มีหลากหลาย แต่ส่วนหนึ่งที่เป็นเอกลักษณ์ ซึ่งน้อยคนที่จะรู้ เพราะว่าจะขายตามตลาดพื้นบ้านเท่านั้น ปัจจุบันนี้มีคนรู้จักมากขึ้น และเป็นส่วนหนึ่งของ “ของดีลำปาง” คือ ส้มโอหวานลำปาง เป็นต้น ซึ่งเป็นพันธุ์ดั้งเดิมของชาวลำปาง ส่วนใหญ่จะปลูกแบบธรรมชาติ ไม่ใช้ยาฆ่าแมลง ใช้แต่ปุ๋ยคอกและปุ๋ยชีวภาพเท่านั้น และอีกอย่างหนึ่งส้มโอมีศัตรูพืชรบกวนน้อยมาก ไม่เหมือนพืชตระกูลส้มอื่นๆ ถือว่าเป็นส้มโอปลอดสารก็ว่าได้

ในหมู่บ้านที่ปลูกส้มโอหวานลำปางมีมากมาย สมัครแทงบอลออนไลน์ แต่ที่มีชื่อเสียงมีสองหมู่บ้านเป็นที่ยอมรับในรสชาติส้มโอหวานลำปาง คือ บ้านแม่กืยและบ้านหมอสม ตำบลปงแสนทอง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง เป็นหมู่บ้านที่ร่มรื่น ชาวบ้านส่วนใหญ่มีเนื้อที่ปลูกส้มโอคนละ 2 ถึง 4 ไร่ ก็แบ่งปลูกส้มโอ แต่ส่วนใหญ่ก็ปลูกส้มโอผสมผสานพันธุ์กันไป และไม่สนใจเรื่องส้มโอหวานลำปางมาก่อน บางท่านก็ตัดส้มโอหวานลำปางทิ้ง แทนที่ด้วยส้มโอพันธุ์อื่น ซึ่งก็มีรสชาติอร่อยเช่นกัน แต่ว่าทุกพันธุ์ที่ปลูกเป็นพันธุ์ที่นำมาจากแหล่งอื่น มีรสชาติหวานอมเปรี้ยว แต่เดี๋ยวนี้ชาวบ้านเริ่มที่จะหันกลับมาปลูกส้มโอพันธุ์หวานลำปาง เพราะมีตลาดเพิ่มมากขึ้น เหมาะสำหรับผู้สูงอายุ ที่ไม่ชอบส้มโอติดรสเปรี้ยว และเป็นส้มโอที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่ต้องการกินผลไม้แต่มีน้ำตาลไม่ค่อยมาก

ส้มโอหวานลำปาง ถ้าเปรียบกับความหวานแล้วจะอยู่ที่ 14-15 บริกซ์ ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการคุณค่าอาหารและวิตามินจากผลไม้ซึ่งกินได้จำนวนมากแต่เปอร์เซ็นต์น้ำตาลน้อย ข้อพิเศษของส้มโอหวานลำปาง คือ หวานโดยไม่มีเปรี้ยวปน ทุกวันนี้ทั้งสองหมู่บ้านมีแต่ต้องการที่จะปลูกเพิ่มหรือขยายการปลูกส้มโอหวานมากขึ้น

ส้มโอ คำว่า ส้มโอ ต้องนึกถึงรสชาติเป็นอันดับแรก คือเปรี้ยว แต่ที่พัฒนาพันธุ์ขึ้นมาก็เปรี้ยวอมหวาน แต่มีส้มโอแปลกที่มีแต่รสชาติหวานสนิท ไม่มีเปรี้ยวปนแม้แต่น้อย จึงถือว่าเป็นของแปลกที่ลำปาง

ความหวานนั้นเป็นหวานที่หอมกลิ่นส้มโอ เนื้อนุ่ม แต่ไม่ติดเปลือก แกะง่าย นี่เป็นเสน่ห์ของพันธุ์นี้ ที่หากินยาก เป็นของฝากที่คนกินไม่ได้ซื้อ คนซื้อไม่ได้กิน คำว่า ส้มโอ คนจะมองที่เปลือกมีสีเขียวเหมือนกันทั่วไป นอกจากซื้อจากแหล่งที่เชื่อถือหรือที่มีตราประทับเป็นป้ายชื่อที่บ่งบอกถึงแหล่งที่มา ว่าจากสวนไหนที่รับรองเรื่องรสชาติ เพราะฉะนั้นเป็นการง่ายที่จะซื้อก็คือ จากแหล่งโดยตรงหรือจากตัวแทน เพราะว่าสีเหมือนกัน รสชาติเท่านั้นที่ต่างกัน เช่น ส้มโอหวานลำปาง ก็จะประทับตราจากผู้ขายและแหล่งที่มาเช่นกัน

ผลไม้ทุกอย่างมีคุณค่าทางอาหารในตัวเองทั้งนั้น ส้มโอก็เป็นแหล่งวิตามินอีกแหล่งหนึ่ง ที่มีทั้งคุณค่าทางอาหารและยาสูง และยังเป็นได้ทั้งผลไม้และประกอบเป็นอาหารทั้งหวานและคาวได้ นำมาประกอบเป็นอาหารและเป็นของว่าง เช่น ยำส้มโอ ตำส้มโอ สลัดส้มโอ เป็นต้น ส่วนกินเป็นผลสด หรือทำน้ำปั่นส้มโอได้ก็อร่อยและสดชื่นเช่นกัน