โครงการ ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพเพื่อชีวิตเกษตรกร เนื่องจากเกษตรกร

ใช้สารเคมีในการทำเกษตรกรรมเป็นจำนวนมาก ส่งผลเสียต่อร่างกายและสิ่งแวดล้อมในชุมชน กลุ่มเกษตรกรทำนาบ่อทองจึงรณรงค์ให้สมาชิกทำเกษตรอินทรีย์ ลดการใช้สารเคมี โดยได้รับการสนับสนุนความรู้เรื่องการทำปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพ จากวัสดุทางการเกษตรเหลือใช้ จากสถานีพัฒนาที่ดินอุตรดิตถ์ เมื่อทำเสร็จแล้วสามารถนำไปแจกจ่ายและใช้ได้จริงในการทำเกษตรกรรมของสมาชิกทุกคน วิธีนี้ช่วยลดต้นทุนการผลิตและยังส่งผลให้สมาชิกมีสุขภาพแข็งแรงดี และยังช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมและแหล่งน้ำในชุมชน อีกทั้งยังช่วยเพิ่มสารอาหารในที่ดินทำกินของสมาชิกอีกด้วย

บริหารจัดการกลุ่มอย่างเป็นระบบ

ที่ผ่านมา กลุ่มเกษตรกรทำนาบ่อทอง จังหวัดอุตรดิตถ์ มีโครงสร้างการบริหารงานที่ชัดเจน มีคณะกรรมการ 7 คน เจ้าหน้าที่ตำแหน่งพนักงานบัญชี 1 คน ผู้ตรวจสอบกิจการ 2 คน ซึ่งทุกคนมีความรู้ความสามารถ สามารถปฏิบัติหน้าที่และให้ความช่วยเหลือสมาชิกได้เป็นอย่างดี มีความเสียสละและทำงานเพื่อกลุ่มเกษตรกรฯ อย่างเต็มความสามารถ โดยมุ่งหวังให้กลุ่มเกษตรกรฯ เป็นที่พึ่งของสมาชิกและชุมชนได้

ปัจจุบัน กลุ่มเกษตรกรฯ มีทุนดำเนินงาน 5,754,231.76 บาท ทุนเรือนหุ้น 1,809,300 บาท ทุนสำรอง 1,373,570.32 บาท การดำเนินธุรกิจของกลุ่มเกษตรกรฯ มี 4 ประเภท คือ ธุรกิจสินเชื่อ จำนวน 6,152,190 บาท ธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่าย จำนวน 634,620 บาท ธุรกิจรวบรวมผลิตผล จำนวน 11,784,983 บาท และธุรกิจบริการและส่งเสริมการเกษตร จำนวน 234,300 บาท ซึ่งถือได้ว่าเป็นธุรกิจเด่นของกลุ่มเกษตรกรฯ

กลุ่มเกษตรกรฯ มีการจัดทำแผนดำเนินงานประจำปี และแผนธุรกิจ โดยขอมติผ่านที่ประชุมใหญ่สามัญเป็นประจำทุกปี และแจ้งแผนการดำเนินงานให้สมาชิกรับทราบ เน้นการระดมความคิด ปัญหา อุปสรรค จากสมาชิก และนำผลการดำเนินงานในปีก่อนมาพิจารณา เพื่อปรับปรุงแผนการดำเนินงานประจำปี และแผนธุรกิจในปีถัดไป ซึ่งกลุ่มสามารถดำเนินงานได้ตามแผนที่กำหนดไว้

สมาชิกมีส่วนร่วมในการทำงาน

กลุ่มเกษตรกรทำนาบ่อทอง จังหวัดอุตรดิตถ์ มีสมาชิกเข้าร่วมประชุมใหญ่เฉลี่ย ร้อยละ 90.94 คณะกรรมการเข้าร่วมประชุมเฉลี่ย ร้อยละ 91.30 สมาชิกมีส่วนร่วมในการทำธุรกิจกับกลุ่มเกษตรกรฯ เฉลี่ยร้อยละ 100 และมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมต่างๆ กับกลุ่มเกษตรกร เฉลี่ย ร้อยละ 100 โดยสมาชิกมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการกลุ่ม และการลงความเห็นต่างๆ อาทิ การเลือกตั้ง การจัดสรรผลประโยชน์ การจัดทำแผนงานประจำปีและแผนธุรกิจ การแก้ปัญหาต่างๆ รวมถึงให้ความสำคัญและเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ของกลุ่มเกษตรกรฯ อาทิ การฝึกอบรมให้ความรู้ การบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ด้วยความสมัครใจเป็นอย่างดีและสม่ำเสมอ

กลุ่มเกษตรกรทำนาบ่อทอง จังหวัดอุตรดิตถ์ ดำเนินธุรกิจ 4 ประเภท สร้างรายได้โดยรวม 18,806,093 บาท ทางกลุ่มดำเนินธุรกิจตามความต้องการของสมาชิกเป็นหลัก การดำเนินธุรกิจ 3 ปีย้อนหลังของกลุ่ม มีแนวโน้มเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากทางกลุ่มสามารถกำหนดราคาขายล่วงหน้าจากโรงสีได้ อีกทั้งสมาชิกให้ความร่วมมือและมาทำธุรกิจกับกลุ่มทุกคน กลุ่มเกษตรกรฯ จึงมีกำไรสุทธิ 228,405.21 บาท สามารถจ่ายเงินปันผลให้แก่สมาชิก ในอัตรา ร้อยละ 3 จำนวน 50,117 บาท และจ่ายเงินเฉลี่ยคืนให้แก่สมาชิกตามส่วนของธุรกิจ จำนวน 20,770 บาท

ผลการดำเนินงาน 3 ปี ที่ผ่านมา มีความมั่นคงและมีฐานะทางเศรษฐกิจดี มีการระดมหุ้นจากสมาชิก เพื่อใช้เป็นทุนหมุนเวียนภายในกลุ่ม และมีทุนเรือนหุ้นเพิ่มขึ้นทุกปี กลุ่มเกษตรกรฯ มีอาคารสำนักงานเพื่ออำนวยความสะดวกและให้บริการสมาชิกและใช้เป็นสถานที่สำหรับการประชุม และมีอุปกรณ์การตลาดเพื่อสนับสนุนการดำเนินธุรกิจ ได้แก่ เครื่องชั่ง ลานตาก อาคารเก็บปัจจัยการผลิตและผลิตทางการเกษตร และเครื่องคัดเมล็ดพันธุ์ โดยกลุ่มเกษตรกรฯ จัดหาเองและได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ

ทำงานเพื่อสังคม-ร่วมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

ทางกลุ่มเกษตรกรฯ ร่วมกันกำหนดและทำกิจกรรมสาธารณประโยชน์กับชุมชน และหน่วยงานราชการในโอกาสต่างๆ อยู่สม่ำเสมอ มีการร่วมสนับสนุนกิจกรรมและร่วมทำบุญกับวัดในชุมชน ในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาต่างๆ โดยกลุ่มใช้กิจกรรมสาธารณประโยชน์ เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีกับคนในชุมชน

ทางกลุ่มเกษตรกรฯ ให้ความสำคัญต่อการทำกิจกรรมอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก และร่วมทำกิจกรรมกับชุมชนเสมอ ร่วมรณรงค์การทำเกษตรอินทรีย์และลดใช้สารเคมีในการทำการเกษตรและนำวัสดุที่เหลือทางการเกษตรและในครัวเรือนมาทำปุ๋ยคอก/ปุ๋ยหมัก/น้ำหมักชีวภาพ

ขณะเดียวกันทางกลุ่มเกษตรกรฯ ได้จัดสรรกำไรสุทธิไว้เป็นเงินสวัสดิการเพื่อดูแลสมาชิกและครอบครัวสมาชิก ได้แก่ ร่วมทำบุญและช่วยเหลืองานศพของสมาชิก มอบทุนการศึกษาแก่บุตรของสมาชิก การฝึกอบรมให้ความรู้ต่างๆ และจัดให้มีเครื่องแบบแก่คณะกรรมการดำเนินการ

คุณสุพจน์ โคมณี อยู่บ้านเลขที่ 9 หมู่ที่ 6 ตำบลหนองกระเจา อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ 60120 โทรศัพท์ (081) 041-0911

เจ้าตัว สืบทอดการประกอบอาชีพเกษตรกรรมเชิงเดี่ยวจากบิดา มารดา คือปลูกข้าวและทำไร่ข้าวโพดโดยใช้หลักพึ่งพาธรรมชาติ แต่ด้วยฤดูกาลที่ไม่แน่นอน บางปีน้ำหลาก บางปีน้ำแล้ง การเพาะปลูกจึงไม่ประสบความสำเร็จ

ต่อมาในปี พ.ศ. 2536 มีโอกาสเข้ารับการฝึกอบรมการทำเกษตรผสมผสานของจังหวัดนครสวรรค์ เมื่อเรียนรู้แล้วคุณสุพจน์ได้ปรับเปลี่ยนทัศนคติและวิธีการทำการเกษตรกรรมจากที่เน้นเรื่องปริมาณผลผลิตเพื่อการค้าขายมาเป็นแบบพึ่งตนเองเพื่อบริโภคในครัวเรือน จากนั้นในปี พ.ศ. 2539 ได้กู้เงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เพื่อนำมาฟื้นฟูพื้นที่เพาะปลูก และริเริ่มทำการเกษตรทฤษฎีใหม่ ซื้อที่ดินเพิ่มอีก 20 ไร่ แบ่งสัดส่วนพื้นที่เป็น 30-30-30-10 หรือนาข้าว 6 ไร่ น้ำ 6 ไร่ ไม้ผล 6 ไร่ ที่อยู่อาศัย พืชผักสวนครัว และเลี้ยงสัตว์ 2 ไร่ ตั้งแต่นั้นมาชีวิตครอบครัวเริ่มดีขึ้น มีผลผลิตเพื่อบริโภคภายในครัวเรือน ส่วนที่เหลือนำไปจำหน่ายได้จนสามารถใช้หนี้สินที่กู้ยืมมาหมดภายใน 4 ปี

รูปแบบกิจกรรมทางการเกษตร
คุณสุพจน์ ได้ดำเนินกิจกรรมการเกษตรโดยมีความโดดเด่นเรื่อง การปลูกข้าวอินทรีย์ โดยมีพื้นที่ในการทำเกษตรกรรมทั้งหมด 58 ไร่ ปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่ และข้าวหอมปทุมในระบบอินทรีย์ โดยใช้ปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพ เพื่อเป็นการประหยัดต้นทุนในการผลิตและปลอดภัยต่อผู้บริโภค สำหรับการปลูกข้าวใช้วิธีตีตารางเพื่อปักดำข้าวในแปลงนาเพื่อให้มีช่องห่างและระยะที่พอดี เพื่อให้ปลาที่เลี้ยงในนาสามารถหากินได้ง่าย โดยจะปล่อยปลา ประมาณ 500-800 ตัว ต่อไร่

สำหรับน้ำที่ใช้ในการทำนาจะเป็นน้ำบาดาลซึ่งมีสนิมเหล็กที่เป็นอันตรายต่อพืช จึงต้องทำให้ตกตะกอนเสียก่อน โดยการสูบน้ำแล้วนำมาพักไว้ในบ่อและทำทางน้ำให้น้ำไหลและม้วนตัวเป็นระยะทาง 200 เมตร เพื่อให้สนิมเหล็กตกตะกอน นอกจากนี้ ยังทำทางน้ำให้ผ่านเล้าไก่ ทำให้ในน้ำมีขี้ไก่เข้ามาผสมเป็นการเพิ่มธาตุอาหารในน้ำไปในตัว ต่อจากนั้นก็ปล่อยน้ำให้ไหลไปยังโรงสูบน้ำเพื่อสูบน้ำเข้าแปลงนาที่แบ่งออกเป็นแปลงนาย่อย 8 แปลง ผลผลิตส่วนที่เหลือจากการสีข้าวจะนำมาใช้ประโยชน์ต่อ เช่น รำข้าว นำมาเป็นอาหารให้ไก่และเป็ด ส่วนแกลบสามารถนำมาปูในเล้าไก่ โดยแกลบที่ได้หลังจากปูในเล้าไก่เสร็จแล้วสามารถนำไปเป็นปุ๋ยเพื่อบำรุงต้นไม้ต่อไป คุณสุพจน์เน้นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่อย่างคุ้มค่ามากที่สุด

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่นำมาปฏิบัติ
คุณสุพจน์ ได้ดำเนินชีวิตและประกอบอาชีพตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกัน โดยเฉพาะหลักความพอประมาณ ที่ไม่มุ่งเน้นปริมาณในการปลูกข้าว แต่มุ่งเน้นความพอดีและคุณภาพในการทำการเกษตรและการดำเนินชีวิตให้พอเพียง พอเลี้ยงตนเองและครอบครัวได้ นอกจากนี้ ยังให้ความสำคัญในเรื่องการบริหารจัดการ การพัฒนาความรู้ของตนเองตลอดเวลา และดำเนินกิจกรรมทางการเกษตรของตนเองไม่ให้คนรอบข้างและชุมชนได้รับความเดือดร้อน รวมทั้งมีการแบ่งปันกันภายในชุมชนอีกด้วย

ขอบคุณข้อมูล จากหนังสือ การเพิ่มรายได้เกษตรกร ด้วยปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ น้อมนำแนวพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ปักธงความสำเร็จ ‘ความมั่นคงทางอาหาร’ 90 วัน ปลูกผักสวนครัว มุ่งสู่เส้นชัยเศรษฐกิจฐานรากยั่งยืน

นับเป็นเวลา 90 วัน ของปฏิบัติการ ‘สร้างความมั่นคงทางอาหาร’ ในสถานการณ์ ‘โควิด’ ซึ่ง ‘กรมการพัฒนาชุมชน’ (พช.) ริเริ่มผลักดันตั้งแต่วันที่ 1 เมษายนที่ผ่านมา กระทั่งเสร็จสิ้นภารกิจด้วยความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมเมื่อวันที่ 30 มิถุนายนที่ผ่านมา หลังรณรงค์ให้มีการปลูกผักสวนครัวทั่วประเทศเพื่อลดรายจ่าย สร้างรายได้ผ่านการเพาะเมล็ดพันธุ์และต้นกล้าสู่ผืนแผ่นดินซึ่งเป็นอีกหนึ่งทางออกของประเทศ ไม่เพียงจากภาวะโรคระบาด หากแต่รวมถึงวิกฤตภัยแล้งซึ่งรัฐบาลประกาศเป็นวาระแห่งชาติ

โดยได้น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 อีกทั้งแนวพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มาประพฤติปฏิบัติร่วมกับส่วนราชการ องค์การปกครองท้องถิ่น ภาคีเครือข่ายรวมถึงองค์กรทางศาสนา แม้ตัวเลข 12 ล้านครัวเรือน (ไม่รวมในเขต กทม.) คือเป้าหมายที่ค่อนข้างท้าทายในระยะเวลา 90 วัน ทว่า ในวันนี้ได้เกิดขึ้นจริงด้วยกลยุทธ์และความร่วมมือจากหลากหลายภาคส่วน ส่งสัญญาณถึงการเข้าใกล้เส้นชัย “เศรษฐกิจฐานรากที่มั่นคงและชุมชนพึ่งตนเอง” อันป็นหมุดหมายความสำเร็จสูงสุดของ พช

‘ผู้นำทำก่อน’ จากก้าวแรกสู่เส้นชัย 12 ล้านครัวเรือน. 12,601,491 ครัวเรือน คือจำนวนที่ร่วมปลูกผักสวนครัว จากเป้าหมาย 12,977,039 ครัวเรือน คิดเป็น 97.11% (ข้อมูล ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2563)ไม่เพียงสะท้อนความสำเร็จอย่างรวดเร็วในเชิงปริมาณเท่านั้น หากแต่ยังพิสูจน์ผลลัพธ์ที่น่าพอใจยิ่งจากการดำเนินรอยตาม ‘โก่งธนู โมเดล’ ที่ พช. ได้ส่งพัฒนากรจากทั่วประเทศ ลงพื้นที่ศึกษาโครงการ “บ้านนี้มีรัก ปลูกผักกินเอง” ซึ่งสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ทรงนำร่องไว้ในพื้นที่ตำบลโก่งธนู อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี มาขยายผลเพื่อความยั่งยืนจนเกิดปฏิบัติการทั่วประเทศในที่สุด โดยมีถึง 18 จังหวัดที่มีการปลูกผักครบถ้วน 100% จากเหนือจรดใต้ ได้แก่ ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ ตาก อุบลราชธานี พัทลุง สุโขทัย อุดรธานี สุราษฎร์ธานี สกลนคร ชัยภูมิ ตราด บึงกาฬ เพชรบุรี มุกดาหาร สมุทรสงคราม ประจวบคีรีขันธ์ นครพนม และ ภูเก็ต นับเป็น 90 วันที่เสมือนการจุดพลุเบิกฤกษ์ให้ผู้คนในประเทศหันกลับมาปลูกผักสวนครัวมากขึ้น อันจะเป็นรากฐานเพื่อสร้างความยั่งยืนในอนาคตอันใกล้

ย้อนกลับไปในช่วงเริ่มต้น ตั้งแต่ 15 วันแรกหลังคิกออฟ ปฏิเสธไม่ได้ว่ากลยุทธ์สำคัญอันเป็นจุดเริ่มต้นของความสำเร็จในวันนี้ คือ ‘ผู้นำ ต้องทำก่อน’ ซึ่ง สุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดี พช. เป็นต้นแบบในการเปลี่ยนสนามหญ้าหน้าบ้านให้เป็น ‘แปลงผักสวนครัว’ ปลูกพืชนานาชนิด ทั้งคะน้า ผักบุ้ง กวางตุ้ง กะเพรา สะระแหน่ และอีกมากมาย ก่อนส่งไม้ต่อให้รองอธิบดี พัฒนากรจังหวัด และข้าราชการ แล้วขยายสู่ท้องถิ่น ตั้งแต่ผู้ว่าราชการจังหวัด รองผู้ว่าฯ หอการค้าจังหวัด นายก อบจ. เทศมนตรี ประธานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี อีกทั้งผู้นำทุกกลุ่ม จนถึงชุมชนและชาวบ้าน

“ปัจจัยความสำเร็จของทุกจังหวัด เริ่มต้นที่พ่อเมืองซึ่งต่างลงสวนด้วยตัวเอง เป็นตัวอย่างให้ผู้อยู่ใต้ปกครอง ทั้งระดับอำเภอ ตำบล จนถึงชุมชนหมู่บ้าน ในจวนผู้ว่าฯ หรือบ้านพักนายอำเภอ มีแปลงผักภายในบ้าน แล้วค่อยกระจายสู่ชุมชนและครัวเรือนซึ่งการปลูกผักสวนครัวในบ้าน นอกจากได้อาหารที่ปลอดภัยแล้ว ยังเป็นกิจกรรมครอบครัว สีสันของพืชผักแต่ละชนิด ทำให้สุขภาพจิตดี ร่างกายแข็งแรง และเก็บไปทำอาหารก็อร่อย” อธิบดี พช. กล่าว

นับล้าน ‘เมล็ดพันธุ์’ ผลลัพธ์แห่งการผนึกความร่วมมือ ไม่เพียงความสำเร็จในจำนวนครัวเรือนที่ร่วมกันปลูกผักสวนครัวทั่วประเทศ หากแต่ปฏิบัติการนี้ ยังสะท้อนถึงความสำเร็จในด้านการผนึกความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่างๆ ที่มี พช. เป็นผู้ประสาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การได้มาซึ่ง ‘เมล็ดพันธุ์’ โดยภาคเอกชน สถานศึกษา รวมถึงวัดวาอารามต่างพร้อมใจกันสนับสนุน ไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ชั้นนำของประเทศไทย อย่าง บริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด จำกัด หรือที่รู้จักกันในชื่อ ‘ศรแดง’ ซึ่งมอบเมล็ดพันธุ์ผักกว่า 1 แสนซอง, บริษัท เจียไต๋ จำกัด มอบเมล็ดพันธุ์กว่า 5 แสนซอง, มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ มอบเมล็ดพันธุ์ผักสวนครัว รวมถึงกลุ่มโอทอปของแต่ละจังหวัด ที่กระจายเมล็ดพันธุ์ไปสู่ครัวเรือนทั่วประเทศ พร้อมด้วยกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ที่ลงขันช่วยซื้อเมล็ดพันธุ์ในแต่ละจังหวัด โดยแม่บ้านสมาชิกกองทุนฯ เป็นหัวขบวน

นอกจากนี้ ยังได้รับพระเมตตาจากสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงรับเมล็ดพันธุ์ผักจาก พช. และประทานต่อให้แก่วัดทั่วประเทศ ทั้งยังอนุญาตให้ประชาชนใช้พื้นที่ดินวัดปลูกผักสวนครัว ซึ่งทางคณะสงฆ์ก็ตื่นตัวเปิดพื้นที่วัดในการปลูกพืชผักสวนครัวและช่วยรณรงค์ให้ญาติโยมปลูกพืชผักสวนครัวทุกครัวเรือนด้วย

จากความร่วมมือเป็นอย่างดี ตลอดระยะเวลาของปฏิบัติการนี้ นอกจากไม่ต้องใช้งบประมาณใดๆ ในด้านการจัดหาเมล็ดพันธุ์แม้แต่เพียงบาทเดียว ยังเป็นผลลัพธ์ที่สะท้อนถึงการผสานความร่วมแรงร่วมใจในภารกิจเพื่อความมั่นคงทางอาหารที่ พช. มุ่งมั่นจนสัมฤทธิ์ผลในวันนี้

นอกจากนี้ ยังได้รับพระเมตตาจากสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงรับเมล็ดพันธุ์ผักจาก พช. และประทานต่อให้แก่วัดทั่วประเทศ ทั้งยังอนุญาตให้ประชาชนใช้พื้นที่ดินวัดปลูกผักสวนครัว ซึ่งทางคณะสงฆ์ก็ตื่นตัวเปิดพื้นที่วัดในการปลูกพืชผักสวนครัวและช่วยรณรงค์ให้ญาติโยมปลูกพืชผักสวนครัวทุกครัวเรือนด้วย

จากความร่วมมือเป็นอย่างดี ตลอดระยะเวลาของปฏิบัติการนี้ นอกจากไม่ต้องใช้งบประมาณใดๆ ในด้านการจัดหาเมล็ดพันธุ์แม้แต่เพียงบาทเดียว ยังเป็นผลลัพธ์ที่สะท้อนถึงการผสานความร่วมแรงร่วมใจในภารกิจเพื่อความมั่นคงทางอาหารที่ พช. มุ่งมั่นจนสัมฤทธิ์ผลในวันนี้

‘ปลูกพืช ปลูกผัก ปลูกรัก’ เกือบ 3 หมื่นสมาชิก 42 ประเทศ พื้นที่สีเขียว ในโลกออนไลน์ นอกเหนือจากการลงแปลงผักในรั้วบ้าน ตลอด 90 วันของปฏิบัติการ ยังสร้างความตื่นตัวแก่ประชาชนทุกภูมิภาค ก่อเกิดสังคมออนไลน์ แลกเปลี่ยนประสบการณ์และเทคนิคการปลูกผักอย่างคึกคักผ่านเฟซบุ๊ก ‘ปลูกพืช ปลูกผัก ปลูกรัก กับ พช.” ซึ่งมีสมาชิกกว่า 30,000 คนในเวลาอันรวดเร็ว ทั้งคนไทยทั่วประเทศ ขยายสู่คนไทยในต่างแดนจาก 42 ประเทศทั่วโลก อาทิ ญี่ปุ่น จีน ฝรั่งเศส นิวซีแลนด์ เบลเยียม เดนมาร์ก และสหรัฐอเมริกา เป็นต้น

อีกมุมหนึ่งที่น่าสนใจยิ่งคือ สื่อต่างชาติได้ให้ความสนใจกับการสร้างความมั่นคงทางอาหารในวิถีไทย โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่นซึ่งสถานีโทรทัศน์ เอ็นเอชเค (NHK) ที่ลงพื้นที่ถ่ายทำรายการในจังหวัดที่ปลูกผักได้ 100% อีกทั้งปรากฏในเว็บไซต์ข่าว The Japan Agricultural News ซึ่งช่วยกระตุ้นให้คนญี่ปุ่นปลูกผักสวนครัวมากขึ้นอีกด้วย

‘ไม่ใช่แค่ 90 วัน แต่ต้องยั่งยืนถาวร’ ภารกิจที่ต้อง ‘ไปต่อ’ แม้ภาพความสำเร็จจากปฏิบัติการ 90 วันจะฉายขึ้นอย่างแจ่มชัด ทว่า พช. ยังเดินหน้าสู่ความ ‘ยั่งยืน’ ต่อไป โดยมองการณ์ไกลถึงเป้าหมายในระยะยาว “ไม่ใช่แค่ 90 วัน แต่ต้องทำให้ยั่งยืนถาวร ทำให้ 12 ล้านครัวเรือนมีพืชผักสวนครัวมากชนิดเพื่อบริโภคได้ตลอดปี และขยายผลดูแลชุมชน ด้วยการเอื้อเฟื้อ แจกจ่าย ช่วยเหลือครัวเรือนที่พื้นที่น้อย นอกจากจะปลูกผักครบทุกครัวเรือนแล้ว จำนวนพืชผักจะต้องมากขึ้น ปลูกหลากหลายชนิดมากขึ้น ลดรายจ่ายได้มากขึ้นและประชาชนสามารถมีรายได้จากการปลูกผัก

ซึ่งผมมีแนวคิดว่าจะจัดให้มีธนาคารเมล็ดพันธุ์ในชุมชน ส่วนระยะยาวอาจจะต้องเชิญชวนให้แต่ละชุมชน แต่ละหมู่บ้าน แต่ละตำบล รวมตัวกันนำผลิตผลจากครัวเรือนให้กลายเป็นความมั่นคงทางด้านอาหารประจำอำเภอ ประจำจังหวัด และในเชิงเศรษฐกิจหมุนเวียนในชุมชน พช. หวังว่าการสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารประจำครัวเรือน จะนำไปสู่การรวมกลุ่มเพื่อนำผลิตผลมารวมกัน เกิดการแปรรูปหรือส่งขายในจำนวนมาก ซึ่งจะก่อให้เกิดมูลค่าอีกมากมายมหาศาล” อธิบดี พช. กล่าว พร้อมย้ำว่า ‘เพียงจุดเล็กๆ ของการปลูกผักสวนครัว นำมาซึ่งประโยชน์มากมาย หากครัวเรือนทั่วไทยร่วมใจปลูกผักสวนครัว เท่ากับเพิ่มความมั่นคงทางอาหาร ต่อให้มีวิกฤตอื่นใดเข้ามา คนไทยก็ไม่มีวันอด’

ทั้งหมดนี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของความสำเร็จของปฏิบัติการปลูกผักสร้างความมั่นคงทางอาหารที่ริเริ่ม ขับเคลื่อนและผลักดันโดยกรมการพัฒนาชุมชนจนขยายผลสู่ความหวังอีกมากมายในวันพรุ่งนี้

สถานการณ์กักกันบริเวณอันเนื่องมาจากความพยายามจำกัดการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ส่งผลกระทบให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมมนุษย์เกือบทุกด้าน แน่นอนนะครับว่า การระบาดระดับเขย่าโลกครั้งนี้ย่อมทำให้โลกไม่มีวันเหมือนเดิมอีกต่อไป

ในเรื่องอาหาร โดยเฉพาะพืชผัก เราเริ่มเห็นการออกมาให้ความรู้ คำแนะนำเกี่ยวกับการปลูกพืชสวนครัวกินเองในพื้นที่แบบต่างๆ โดยหน่วยงานทั้งของรัฐและเอกชน ตลอดจนมูลนิธิต่างๆ ทั้งโครงการแบบเร่งด่วนระยะสั้น 3 เดือน ซึ่งคาดว่ายังเป็นช่วงระบาดหนักของโรค ทั้งโครงการระยะยาว ที่พยายามคว้าโอกาสนี้โน้มน้าวผู้คนให้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการซื้อหา เก็บอาหาร ให้เหมาะสมสอดคล้องกับวิถีการบริโภคอย่างเป็นธรรมและปลอดภัยในโลกสมัยใหม่

ภาวะวิกฤตคับขันส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในวัฒนธรรมมนุษย์เสมอ ครั้งนี้ก็คงเช่นกัน อย่างไรก็ดี ใช่ว่าการปลูกผักกินเอง แม้ในพื้นที่เมืองใหญ่ระดับมหานคร ที่แออัดไปด้วยการอยู่อาศัยของผู้คนจำนวนมากจะไม่เคยมีมาก่อนในเมืองไทยนะครับ การได้อยู่บ้านช่วงนี้ ทำให้ผมได้พลิกอ่านหนังสือเล่มโตของมูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย) คือ “ดอกไม้ในสวนผักคนเมือง” อันเป็นงานที่รวมความเป็นรูปธรรมของโครงการสวนผักคนเมือง ที่มูลนิธิฯ กระทำต่อเนื่องร่วมกับเครือข่ายบุคคลและชุมชนหลายแห่งในกรุงเทพฯ และเมืองใหญ่ในต่างจังหวัดมานานกว่า 9 ปี

ระยะเวลาเกือบหนึ่งทศวรรษของการรณรงค์นี้ มีทั้งแผนงานที่ล้มหายตายจาก หยุดตัวเองลงไปด้วยเหตุต่างๆ ทว่า ก็มีจำนวนมากกว่ามาก ที่เติบโต งอกงามขึ้น จนมีผลผลิตตอบสนองเป็นวัตถุดิบเพื่อการบริโภคที่ปลอดภัย ด้วยแรงงานความร่วมมือของคนในชุมชน บนพื้นที่ซึ่งบางแห่งก็ช่างเหนือความคาดหมายว่าจะกลายเป็นสวนผัก แปลงผักที่เปลี่ยนแปลงชีวิตทางสังคมของชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ ร่วมแรงร่วมใจกันนั้นไปได้อย่างน่าอัศจรรย์

ตั้งแต่สวนผักบนที่ดินส่วนกลาง 14 ไร่ ใจกลางชุมชนอ่อนนุช กรุงเทพฯ ซึ่งเคยเป็นดินแดง แห้งแล้ง ไร้พืชพรรณ ที่แปรสภาพเป็นสวนผัก บ่อปลา คอกหมู เล้าเป็ด เล้าไก่ มีระบบหมุนเวียนการจัดการขยะ เศษอาหาร ให้กลับมาเป็นประโยชน์ได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย

สวนผักธาราเรือนเอก ที่เกิดขึ้นบนดาดฟ้าคอนโดมิเนียมย่านวังทองหลาง ด้วยความเห็นชอบของสมาชิกคอนโดฯ ส่วนใหญ่ จนกลายเป็นพื้นที่กลางที่พบปะสัมพันธ์กันของชุมชนลอยฟ้า และพิสูจน์ความเป็นไปได้อย่างเป็นรูปธรรมของการปลูกผักดาดฟ้าอาคารในเมืองขนาดใหญ่

สวนผักหมู่บ้านบางบอนวิลล์ ที่เนรมิตพื้นที่ส่วนกลางให้เป็นแปลงผักที่สมาชิกหมู่บ้านเข้ามาร่วมดูแลรับผิดชอบ แบ่งปันแลกเปลี่ยนผลผลิต เกิดความสัมพันธ์ใหม่ๆ ขึ้นบนฐานของคนที่มาจากต่างที่ต่างถิ่น เป็นวัฒนธรรมเมืองที่วางอยู่บนกิจกรรมการหาอยู่หากินร่วมหมู่แบบใหม่ โดยมีหัวใจอยู่ที่การบริหารจัดการพื้นที่สาธารณะด้วยแนวคิดแบบองค์รวม

ยังไม่นับสวนผักในโรงเรียน สล็อต SBOBET แปลงผักในหน่วยงานองค์กรทั้งราชการและเอกชน ที่โครงการสวนผักคนเมือง และหนังสือ “ดอกไม้ในสวนผักคนเมือง” ได้แสดงให้เห็นความเป็นไปได้ที่มีมานานแล้ว ในการพยายามเสาะแสวงหาวัตถุดิบอาหารปลอดภัย ด้วยน้ำพักน้ำแรง ความร่วมมือร่วมใจ ก่อนที่วิกฤตโควิด 19 จะมาบีบบังคับขับเน้นให้ผู้คนเริ่มหันมามองเห็นความจำเป็นของกิจกรรมนี้กันมากขึ้น

ท่ามกลางความรู้เรื่องการปลูกผักสวนครัวกินเอง ซึ่งมีมากมายดังกล่าวแล้ว ที่ผมคิดว่าจำเป็นมากๆ ไม่แพ้แนวคิด กระบวนการจัดการ แรงงาน และวิธีการปลูก การดูแลรักษา ก็คือ “เมล็ดพันธุ์” นะครับ

พอดีได้เห็นโครงการเผยแพร่ของกินเปลี่ยนโลก – Food4change ที่ออกมาในช่วงนี้ เลยขอเอามาเล่าเสริมกระบวนการปลูกผัก ซึ่งหลายๆ คนคงเริ่มศึกษาอย่างจริงจัง จนอาจเตรียมวางแผนลงมือกันบ้างแล้วก็ได้ครับ

แผนงานกินเปลี่ยนโลก ของมูลนิธิชีววิถี (Biothai) มีความเชื่อว่า “ความมั่นคงทางอาหาร” เริ่มถูกมองเห็นและจับต้องได้มากขึ้นจากวิกฤตครั้งนี้ การมีอาหารอยู่ในมือ สามารถเข้าถึงได้ ลงมือปลูกเองอย่างจริงจังได้ ย่อมได้เปรียบ คำถามมีอยู่ว่า เมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์ดีๆ มีจำหน่ายที่ไหนบ้าง จึงได้มีการรวบรวมข้อมูลจากเครือข่ายเกษตรยั่งยืน เกษตรอินทรีย์ เครือข่ายความมั่นคงทางอาหาร

และบรรดาเกษตรกรรุ่นใหม่ที่มีการจัดการเก็บเมล็ดพันธุ์กันอย่างจริงจัง จนได้ที่อยู่ติดต่อ และลิงค์เพจของกลุ่มเท่าที่หาได้ เช่น สหกรณ์เกษตรอินทรีย์ เชียงใหม่, สวนวิมานดิน อำนาจเจริญ, กลุ่มเกษตรอินทรีย์สนามชัยเขต ฉะเชิงเทรา, กลุ่มยาไส้ยาใจ เครือข่ายเกษตรทางเลือกภาคใต้ ฯลฯ มารวมไว้ให้คนที่สนใจสามารถติดต่อสั่งซื้อได้ โดยสามารถเข้าค้นหาข้อมูลรายละเอียดการสั่งซื้อได้ที่เพจของแผนงานกินเปลี่ยนโลก (Food4change) นะครับ

เดี๋ยวนี้การเลือกซื้อเมล็ดพันธุ์ผักที่ได้คุณภาพ ซึ่งหมายถึงมีการคัดเก็บเมล็ดอย่างพิถีพิถัน เก็บจากต้นซึ่งแข็งแรง ทำให้สามารถจะเก็บเมล็ดต่อเนื่องสำหรับปลูกรุ่นต่อรุ่นได้นั้น ไม่ได้ยากเหมือนแต่ก่อน

นอกจากพืชผักสวนยกร่องแบบผักตลาด เครือข่ายที่เก็บและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์เหล่านี้ยังมีผักพื้นบ้าน อย่าง บวบงู กระเจี๊ยบแดง ผักปลัง หม่อน หรือมะเขือขื่น ซึ่งย่อมมีความหลากหลายทั้งพื้นที่ปลูกและรสชาติอีกด้วย