โค้ชสอนออนไลน์สู่เกษตรกรปลูกพืชผสมผสาน ปลูกกล้วย

มะละกอยักษ์ ผลผลิตไม่พอขาย หลายท่านคงคุ้นเคยหรือเคยได้ยินกันมาบ้างแล้วกับคำว่า “เกษตรสร้างชาติ” ซึ่งความหมายของคำว่าเกษตรสร้างชาติในความหมายของแต่ละคนอาจแตกต่างกันออกไป แต่ถ้าหากจะให้เอ่ยจริงๆ แล้วการทำเกษตรกรรมไม่ว่าจะทำมากหรือทำน้อย ก็นับได้ว่าเป็นการสร้างชาติ สร้างชีวิต และสร้างเศรษฐกิจที่ดีให้กับประเทศได้ทั้งนั้น เพราะฉะนั้น ฉบับนี้ผู้เขียนจะขอนำเสนอ เกษตรกรตัวอย่างในยุคโควิด-19 ที่พลิกชีวิตจากโค้ชสอนออนไลน์สู่การเป็นเกษตรกร ให้เป็นอีกหนึ่งแรงบันดาลใจให้กับคนที่กำลังท้อแท้ให้ลุกขึ้นมาฝ่าฟันวิกฤตครั้งนี้ไปพร้อมกัน

คุณชัยธวัช คำแสงดี หรือ พี่ยุ้ย อยู่บ้านเลขที่ 30 หมู่ที่ 6 บ้านภูเงิน ตำบลภูเงิน อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ อดีตโค้ชสอนออนไลน์ เกี่ยวกับธุรกิจสุขภาพและความงาม ผันตัวมาเป็นเกษตรกรในยุคโควิด-19 ใช้เทคนิคการวางแผนจัดการระบบ จัดการผืนที่ก่อนปลูก รวมถึงการนำความรู้ทางด้านออนไลน์มาใช้ในการสร้างตลาด จนประสบความสำเร็จในอาชีพเกษตรกรสามารถสร้างรายได้เลี้ยงครอบครัวได้เดือนละหลายหมื่นบาทต่อเดือน

พี่ยุ้ย เล่าถึงจุดเริ่มต้นการทำเกษตรให้ฟังว่า ก่อนหน้านี้ตนเองทำอาชีพเป็นโค้ชสอนออนไลน์มาก่อน แต่เนื่องด้วยสถานการณ์โควิด-19 ที่เกิดขึ้นตั้งแต่รอบแรก ส่งผลทำให้อาชีพประจำที่ทำอยู่ต้องหยุดชะงัก ไม่สามารถเดินทางไปสอนข้ามจังหวัดได้ จึงเป็นเหตุผลให้ได้กลับมาคิดต่อว่า ในขณะที่ไม่ได้ทำงาน ไม่มีรายได้ แต่รายจ่ายต้องมีทุกวัน และก็ไม่รู้อนาคตว่าเมื่อไหร่สถานการณ์โรคระบาดจะจบลง จึงได้เริ่มต้นจากการวางแผนประหยัดรายจ่าย คือการประหยัดต้นทุนค่าอาหาร หากสามารถผลิตอาหารกินเองได้ก็น่าจะช่วยลดต้นทุนไปได้ส่วนหนึ่ง ด้วยการเริ่มต้นปลูกผักสวนครัวไว้บริเวณหลังบ้านเป็นแปลงเล็กๆ แต่พอได้ลงมือทำและได้คลุกคลีอยู่กับการเกษตรตรงนี้ ทำให้เห็นถึงการเจริญเติบโตของพืชผักที่ปลูกเองกับมือ ก็เริ่มเกิดเป็นความผูกพันจนกลายเป็นความรักในการทำเกษตร สู่การต่อยอดหาความรู้จากยูทูป เพื่อนำมาวางแผนพัฒนาการทำเกษตรให้เห็นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น

เจ้าของบอกว่า ตนเองมีพื้นที่ทำการเกษตรบนพื้นที่ทั้งหมด 8 ไร่ โดยมีการวางแผนจัดการพื้นที่ทำเกษตรผสมผสานเพื่อสร้างรายได้ไว้ทั้งหมด 3 โซน ดังนี้ โซนที่ 1 แบ่งปลูกพืชอายุสั้นทำเงินเร็ว เพราะในช่วงแรกยังมีเงินทุนไม่มากจึงต้องใช้วิธีต่อยอดค่อยๆ เก็บหอมรอมริบ โดยในระยะ 5 เดือนแรกเริ่มปลูกพืชอายุสั้นบนพื้นที่เพียง 1 ไร่ เพื่อสร้างรายได้เป็นรายวัน เช่น ถั่วฝักยาว ถั่วพู ข้าวโพดนมสด และพืชผักสวนครัวอีกหลายชนิดสลับหมุนเวียนกันไป เพื่อที่จะหารายได้ต่อยอดไปปลูกพืชระยะกลาง

โซนที่ 2 แบ่งปลูกพืชระยะกลาง นำเงินเก็บจากการขายพืชผักอายุสั้นมาต่อยอด โดยเน้นปลูกกล้วยและมะละกอเป็นพืชสร้างรายได้หลัก ในส่วนของกล้วยจะปลูกทั้งกล้วยหอม กล้วยน้ำว้า กล้วยไข่ และกล้วยเล็บมือนาง และในส่วนของมะละกอ จะเลือกปลูกทั้งสายพันธุ์กินสุกและดิบ เช่น พันธุ์ฮอลแลนด์ ศรีสะเกษ กินสุก เนื้อแน่น หวานอร่อย และพันธุ์แขกนวล ศรีสะเกษ ลูกใหญ่ยักษ์ ใช้ตำส้มตำกรอบอร่อย หากจะกินผลสุกต้องกินช่วงที่สีเหลืองแต้มนิดหน่อย รสชาติหวานกำลังดี ซึ่งนับได้ว่าผลผลิตของที่สวนทั้งกล้วยและมะละกอเป็นที่ถูกอกถูกใจของแม่ค้า ผลิตไม่พอขาย และเป็นผลไม้ทำเงินของสวนในการนำมาต่อยอดซื้อต้นไม้นำเข้าต้นไม้แปลก เพื่อนำไปปลูกป่าในระยาวเป็นโซนที่ 3

โซนที่ 3 แบ่งปลูกพืชระยะยาว เน้นปลูกไม้เศรษฐกิจ เช่น ไม้สัก ไม้พะยูง ไม้ยางนา กันเกรา เป็นต้น และนอกจากนี้ ยังมีไม้ป่าอีกมากมายปลูกผสมผสานกันไป ด้วยแนวคิดที่อยากทำให้พื้นที่ตรงนี้เป็นป่ามีต้นไม้นานาชนิด ไว้สร้างความร่มรื่น คืนธรรมชาติสู่ป่าอีกทางหนึ่ง กล้วยพืชสร้างรายได้หลัก
ปลูกง่าย ขายคล่อง ราคาดี

สำหรับเหตุผลในการเลือกปลูกกล้วยเป็นพืชสร้างรายได้หลัก พี่ยุ้ย บอกว่า เนื่องจากกล้วยเป็นพืชที่ปลูกง่าย ขายคล่อง สร้างรายได้ดี และโดยส่วนตัวจะชื่นชอบปลูกกล้วยไข่และกล้วยเล็บมือนางเป็นพิเศษ เนื่องด้วยกล้วยไข่และกล้วยเล็บมือนางจะไม่ค่อยประสบปัญหาเรื่องโรค ไม่ต้องใช้ไม้ค้ำยันในการปลูก มีวิธีการปลูกดูแลไม่ยุ่งยาก แต่ถ้าหากเป็นกล้วยน้ำว้าจะมีปัญหาเรื่องโรคตายพราย จึงปลูกไม่เยอะ ส่วนกล้วยหอมทองอาจจะต้องมีความพิถีพิถันในการดูแล รวมถึงการต้องหาไม้ค้ำยันมาช่วย ทำให้เพิ่มขั้นตอนในการจัดการ

เน้นปลูกกล้วยในระยะห่าง 4×4 เมตร ข้อดีคือเหมาะสำหรับคนทุนน้อย ปลูกกล้วยเป็นพืชพี่เลี้ยงไปก่อน แล้วปลูกทุเรียน เงาะ ลำไย ผลไม้ตามฤดูที่เราชอบ ตามร่องที่ว่างระยะ 8×8 เมตร ระหว่างรอให้ต้นไม้โต ก็จะมีรายได้ตลอดยาวไปอีก 2-3 ปี กลายเป็นว่าพื้นที่ทั้งหมด 8 ไร่ ที่สวนสามารถจัดสรรการใช้สอยประโยชน์ได้เต็มพื้นที่ การเตรียมดิน สำหรับปลูกกล้วยไข่การเตรียมดินไม่มีขั้นตอนอะไรมากมาย เริ่มต้นจากการไถตากดินฆ่าเชื้อทิ้งไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ จากนั้นขุดหลุมปลูกได้เลย โดยขุดหลุมลึกแค่พอลงหน่อปลูกได้ และไม่ต้องใส่ปุ๋ยคอกรองก้นหลุมก่อนปลูก เพราะว่ามูลสัตว์จะทำให้เกิดความร้อนที่ส่งผลกระทบต่อราก แต่ถ้าหากเป็นกล้วยน้ำว้าที่มีปัญหาหลักคือโรคตายพราย เพราะฉะนั้น ในขั้นตอนการปลูกจำเป็นต้องใส่ปูนขาว หรือโดโลไมท์ รองก้นหลุมก่อนปลูกด้วย

การดูแลรักษา
ให้น้ำอาทิตย์ละ 3-4 ครั้ง ส่วนการบำรุงใส่ปุ๋ยในระยะ 1-3 เดือนแรก เริ่มใส่ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 หรือใส่ปุ๋ยอินทรีย์เคมี 6-3-3 เดือนละ 1 ครั้ง อัตราการใส่ต้นละ 1 กำมือ หลังจากนั้น เมื่อเริ่มเข้าสู่เดือนที่ 4-6 จะเริ่มผสมปุ๋ยใช้เองตามตารางอัตราส่วนของกรมวิชาการเกษตร เพื่อลดต้นทุน ได้ปุ๋ยเต็มสูตร ไม่เสี่ยงกับปุ๋ยปลอม โดยใช้แม่ปุ๋ย ยูเรีย 46-0-0, 18-46-0, 0-0-60 และการผสมปุ๋ยแต่ละครั้ง จะใช้โดโลไมท์มาผสมด้วยเพื่อช่วยปรับปรุงดิน เพราะการใส่แต่เคมีอย่างเดียวไปนานๆ ดินของเราจะเสื่อมได้ ถึงต้องเติมขี้ไก่ ขี้วัวทุกๆ 3-4 เดือน กล้วยและมะละกอระยะติดผล จะผสม 15-9-20 หรือ 20-8-20 ใช้ตลอดทั้งปี

“ห่อผลกล้วย” เทคนิคช่วยเพิ่มมูลค่าสินค้า
สำหรับการห่อผลกล้วยถือเป็นอีกหนึ่งเทคนิคสำคัญในการเพิ่มมูลค่าสินค้า เพราะหากให้ย้อนไปช่วงที่กำลังเกิดวิกฤตโควิด-19 ตอนนั้นราคากล้วยไข่ค่อนข้างถูก เหลือกิโลกรัมละ 5-6 บาท แต่ในขณะเดียวกัน กล้วยไข่ของที่สวนสามารถขายได้ในราคากิโลกรัมละ 12 บาท จากเทคนิคการห่อผลทำให้กล้วยออกมาสวยสมบูรณ์กว่าของที่อื่น แม่ค้าเห็นแล้วถูกใจ ทำที่สวนสามารถตั้งราคาเองได้ ถือเป็นวิธีที่ดีมาก แต่เกษตรกรในพื้นที่ยังไม่ค่อยนิยมทำกันแพร่หลายเพราะมองว่าเป็นเรื่องยุ่งยาก เปลืองต้นทุน แต่จริงๆ แล้วการห่อผลกล้วยนั้นถือเป็นขั้นตอนที่ช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าแบบง่ายๆ ลงทุนครั้งเดียวใช้ได้นาน อย่างของที่สวนมีการนำถุงฟอยล์มาห่อผลกล้วย โดยถุงฟอยล์ที่นำมาห่อราคาถุงละ 10 บาท สามารถใช้ได้นานเป็นปี และอีกข้อดีของการห่อฟอยล์คือสามารถทำให้กล้วยสามารถตัดได้เร็วขึ้นประมาณ 30 วัน

ทำอย่างไรให้ตลาดวิ่งเข้าหา
พี่ยุ้ย บอกว่า สำหรับตลาดกล้วยของที่สวนนั้นเรื่องการตลาดหายห่วงเพราะมีพ่อค้าแม่ค้าประจำเข้ามารับซื้อถึงสวน ซึ่งเทคนิคเกิดจากการใช้ความรู้ทางด้านออนไลน์ที่มีอยู่เข้ามาใช้ทำการตลาด สื่อออนไลน์คือช่องทางการแสดงตัวตนที่สำคัญ นำเสนอวิธีการที่พิเศษกว่าที่อื่น หรือเป็นช่องทางการแบ่งปันก็ได้ มีอะไรให้แบ่งปัน ไม่ว่าจะเป็นเทคนิคการปลูกไม้ผลเล็กๆ น้อยๆ เมื่อคนในโซเชียลเห็นก็เกิดการแชร์ทำให้สวนของเรากลายเป็นที่รู้จักไปในตัว

โดยราคากล้วยไข่ของที่สวนตอนนี้ขายในราคาคงที่กิโลกรัมละ 12 บาท ไม่ขึ้นไม่ลง 1 เครือน้ำหนักประมาณ 10 กิโลกรัม ส่วนกล้วยน้ำว้าขายเป็นลูก ลูกละ 1.50 บาท ผลผลิตกล้วยทุกชนิดของที่สวนออกมาได้คุณภาพ เป็นที่ต้องการของตลาด มีสินค้าเท่าไหร่แม่ค้ารับไปหมด สามารถสร้างรายได้จากกล้วยกับมะละกอได้เดือนละ 2-3 หมื่นบาท ยังไม่รวมกับรายได้จากการขายเมล็ดพันธุ์ผักที่สร้างรายได้เป็นรายวันอีกด้วย

“การทำเกษตรให้ประสบความสำเร็จข้อแรกเลยคือให้ดูที่ความชอบของตัวเองก่อน อย่างของผมเริ่มทำเกษตรจากการปลูกพืชผักสวนครัวง่ายๆ แล้วเกิดเป็นความชอบ จากนั้นข้อที่สองตามมาคือ ควรจะมีการวางแผนที่ดี ที่สวนของผมจะมีการเขียนแผนผังเพื่อการจัดสรรพื้นที่ในการปลูกพืชให้เป็นระบบก่อนปลูก ข้อที่สาม คือเราต้องศึกษาพื้นที่ ศึกษาเรื่องดิน น้ำ ปุ๋ย และพืชที่จะปลูกให้รู้แจ้ง และข้อที่สี่คือการลงมือทำ ลองผิดลองถูก และจับจุดให้ได้ว่าตลาดต้องการอะไรแล้วทำสิ่งนั้นเพิ่มขึ้น หากทำได้ครบทั้ง 4 ข้อที่กล่าวมานี้ คุณจะทำเกษตรอย่างไรก็ประสบความสำเร็จ และที่สำคัญเมื่อประสบความสำเร็จแล้วอย่าลืมเรื่องของการแบ่งปัน อย่างที่บ้านผมจะทำซุ้มเล็กๆ ไว้ขายพืชผักผลไม้จากสวน หากวันไหนขายไม่หมดเราก็จะนำส่วนตรงนี้วางไว้ให้พี่น้องบริเวณใกล้เคียงมาหยิบนำไปกินได้เลย ก็เปรียบเสมือนกับตู้ปันสุข ปันอิ่มให้เพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เป็นเกษตรปันสุขไปในตัว” พี่ยุ้ย กล่าวทิ้งท้าย

เกือบ 40 ปี ที่คลุกคลีอยู่ในวงการมะพร้าวน้ำหอม คุณณรงค์ศักดิ์ ชื่นสุชน ผู้ก้าวจากเกษตรกรหนุ่มทำสวนมะพร้าว บุกเบิกตลาดค้าส่งมะพร้าวน้ำหอมด้วยตนเอง จนเติบโตรุกตลาดต่างประเทศด้วยแนวคิด ต้องการความยั่งยืนจากการทำการเกษตร ด้วยการก่อตั้งบริษัท แปรรูปสินค้า สร้างแบรนด์สินค้า และส่งออกด้วยตนเอง ครบทุกกระบวนการตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ จนปัจจุบัน คุณณรงค์ศักดิ์ มีพนักงานบริษัทอยู่ในความดูแลถึง 400 ชีวิต ตลาดมะพร้าวน้ำหอมที่ส่งออกยังต่างประเทศมีไม่น้อยกว่า 95 เปอร์เซ็นต์ของการผลิต ทั้งยังเป็นแหล่งรับซื้อมะพร้าวน้ำหอมจากลูกสวนที่อยู่ในพื้นที่จังหวัดราชบุรี ด้วยการรับซื้อมะพร้าวน้ำหอมจากเกษตรกรชาวสวนมะพร้าวตามราคาซื้อขายสินค้าเกษตรที่แท้จริง

ความโดดเด่นของเกษตรกรรายนี้ เพราะความเป็นลูกชาวสวน จบการศึกษาเพียงมัธยมศึกษาปีที่ 6 และเติบโตคู่มากับการทำการเกษตรจริงๆ นับตั้งแต่ครั้งพ่อและแม่ที่เป็นชาวสวน มีพื้นที่เพียงเล็กน้อย ปลูกพืชผักผลไม้ไปตามฤดูกาล และมะพร้าวน้ำหอมก็เป็นผลไม้หนึ่งที่ปลูกมาตั้งแต่ยุคแรก ต่อเมื่อพืชอื่นมีความจำเป็นต้องพึ่งพาสารเคมี คุณณรงค์ศักดิ์จึงหยุดปลูกพืชเหล่านั้นเพื่อหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี แล้วหันมาดูแลสวนมะพร้าวน้ำหอมเพียงชนิดเดียว

“จากเดิมเราก็ปลูกแล้วก็ขาย เหมือนสวนอื่นๆ แต่เรารู้ว่า เราไม่ควรย่ำอยู่กับที่ ควรพัฒนาตัวเองไปเรื่อยๆ จึงพยายามเข้าตลาดค้าส่งด้วยตนเอง เข้าไปติดต่อ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะในอดีต ปี 2539 ก็มีคู่ค้าที่ผูกพันกันประจำแต่ละสวน การเปิดตลาดจึงเป็นเรื่องยาก แต่ก็เป็นความโชคดีที่ปีนั้น ตลาดไทเปิดใหม่ ผมจึงเข้าไปติดต่อค้าส่ง ก็ได้คู่ค้าที่ดี ค้าส่งกันเรื่อยมา และภายใน 1-2 ปีแรก ผมก็สามารถเปิดตลาดค้าส่งที่ตลาดโคราชได้อีกแห่ง แต่ถึงแม้จะเปิดตลาดค้าส่งได้แล้ว แต่ผมก็ยังคงเป็นเกษตรกรที่ทำหน้าที่ทุกอย่างเอง ตั้งแต่เป็นชาวสวน จนถึงขับรถหกล้อส่งมะพร้าวน้ำหอมเอง”

การพัฒนาการของการค้ามะพร้าว ไม่ได้มีแค่มะพร้าวลูกเขียวหรือมะพร้าวสด แต่เริ่มเข้าสู่ยุคของการปอกเปลือกมะพร้าวเหลือแต่ลูกกะลา แล้วนำไปต้มหรือเผา นับเป็นก้าวที่ 2 ของการวงการมะพร้าวที่ไม่เฉพาะขายส่งมะพร้าวเขียว แต่เริ่มต่อยอดด้วยการแปรรูปให้เป็นผลรับประทานง่ายขึ้น

เมื่อมีโอกาสก้าวเข้าสู่ตลาดส่งออก ในปี 2544 เพราะมีเพื่อนแนะนำให้รู้จักกับลูกค้าชาวไต้หวัน และทำให้รู้จักการค้าในรูปแบบของ OEM (Original Equipment Manufacturer) หรือรับจ้างผลิต โดยยังไม่มีแบรนด์เป็นของตนเอง และขยายฐานลูกค้าจากไต้หวันไปอีกหลายประเทศ

จุดเปลี่ยนที่สำคัญคือ ต้องการความมั่นคงยั่งยืนในอาชีพ จึงตัดสินใจสร้างแบรนด์ของตนเอง โดยการก่อตั้งบริษัท เอ็นซี โคโคนัท จำกัด และต่อยอดการแปรรูปจากมะพร้าวน้ำหอมปอกเปลือก เป็นวุ้นมะพร้าวในห่อสุญญากาศ ถือเป็นการทำการเกษตรครบวงจร และเริ่มค้าขายกับต่างประเทศภายใต้แบรนด์ เอ็นซี โคโคนัท กับหลากประเทศ อาทิ สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ มาเลเซีย ฮ่องกง อินโดนีเซีย ไต้หวัน จีน ออสเตรเลีย และอีกหลายประเทศในยุโรป

เปลือกมะพร้าว ที่เดิมเคยเป็นวัตถุดิบเหลือทิ้งจากสวนมะพร้าว ปัจจุบันถูกขายให้กับโรงงานผลิตไฟฟ้า เพราะการทิ้งเปลือกมะพร้าวเป็นต้นทุนการผลิตอย่างหนึ่ง คุณณรงค์ศักดิ์จึงศึกษาเรื่องการนำเปลือกมะพร้าวไปผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้าในกลุ่มชีวมวล อย่างน้อยก็ได้จัดการวัตถุดิบเหลือทิ้งจากสวนมะพร้าวเป็นเม็ดเงินกลับมา

คุณณรงค์ศักดิ์ บอกว่า ตลาดมะพร้าวน้ำหอมในประเทศไทยยังไม่ดีนัก ด้วยสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันมีผลกระทบ แต่สำหรับตลาดมะพร้าวน้ำหอมต่างประเทศ มีโอกาสเติบโตได้อีกมาก ซึ่งที่ผ่านมาการเติบโตของมะพร้าวน้ำหอมในต่างประเทศขยายตัวอย่างต่อเนื่องทุกปี ทำให้การค้าในประเทศมีผลผลิตจาก เอ็นซี โคโคนัท เพียง 5 เปอร์เซ็นต์ และส่งออกยังต่างประเทศมากถึง 95 เปอร์เซ็นต์ โดยในประเทศวางจำหน่ายที่ห้างโมเดิร์นเทรด เช่น โลตัส ซุปเปอร์สโตร์ ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ และศูนย์การค้าสยามพารากอน เท่านั้น

ปัจจุบัน คุณณรงค์ศักดิ์ยังคงทำสวนมะพร้าวอยู่ ขยายพื้นที่ปลูกไปหลายแปลงในพื้นที่จังหวัดราชบุรี และช่วยเหลือเกษตรกรทำสวนมะพร้าวด้วยการรับซื้อมะพร้าวที่ได้คุณภาพมาตรฐานตามที่บริษัทกำหนด ภายใต้ราคาซื้อขายของตลาดสินค้าเกษตร ทั้งยังยืนยันด้วยว่า มะพร้าวน้ำหอมยังเป็นสินค้าเกษตรที่มีทิศทางและการเติบโตที่ดีในต่างประเทศอีกมาก

ปัจจุบันการปลูกผักและผลไม้แบบผสมผสานนั้นเป็นทางเลือกที่ดีในการบริหารจัดการสวนของเกษตรกรให้รายได้ตลอดทั้งปี โดยสมัยก่อนปัญหาใหญ่ของเกษตรชาวไทยคือการปลูกผักหรือผลไม้แบบเดียวทั้งสวนหรือการปลูกพืชเชิงเดี่ยว ทำให้รายได้ไม่ทันใช้ในแต่ละปี เพราะผักและผลไม้ส่วนใหญ่จะให้ผลผลิตตามฤดูกาลเท่านั้น

คุณเสมอ การินทร์ เกษตรกรชาวอำเภอห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี ผู้ที่ปลูกผักและผลไม้แบบหมุนเวียน โดยจุดเด่นของสวนมีทั้งมันเทศญี่ปุ่นม่วงเพอเพิ้ลสวีทโรส เนื้อสีม่วง สายพันธุ์คุริโอกาเนะเนื้อสีขาวและสายพันธุ์ส้มโอกินาวา เมล่อนสายพันธุ์พอทออเร้นจ์ ที่มีลักษณะผิวตาข่าย ในเนื้อสีส้ม กลิ่นหอมสดชื่น กล้วยหอมทอง และผักอื่นๆ มากมาย

“เมื่อก่อนปลูกอ้อย ปลูกมันสำปะหลัง ปลูกพืชเชิงเดี่ยว แล้วไม่ประสบความสำเร็จ เลยหันมาปลูกพืชผสมผสานเพราะให้ผลตอบแทนดีกว่า” คุณเสมอ บอกด้วยว่า เมล็ดพันธุ์ผลไม้เหล่านี้ หาได้จากท้องตลาดทั่วไป นำมาปลูกที่ดิน ส.ป.ก. (สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม) ที่แบ่งพื้นที่ให้เกษตรกรหลายรายทำกิน ทั้งหมด 50 ไร่ ในจำนวนนี้ มีแหล่งน้ำใช้สำหรับการเกษตร 4 ไร่ ทำให้มีพื้นที่เยอะและสามารถแบ่งพืชปลูกได้หลายชนิด ซึ่งพื้นที่ส่วนของตนเองได้รับการจัดสรรมาประมาณ 10 ไร่ จึงปลูกมันเทศญี่ปุ่นมากที่สุด ที่เหลือแบ่งเป็นกล้วยหอมทอง 4 ไร่ เมล่อน 1 ไร่

คุณเสมอ บอกว่า มันเทศญี่ปุ่นปลูกง่าย สามารถปลูกได้ในดินทุกชนิด ไม่ต้องปรุงแต่งมาก ใช้ดินเดิมๆ มีการให้ปุ๋ยเคมีบ้างแต่ไม่บ่อย ประมาณ 7-15 วัน ต่อครั้ง แต่ก็ขึ้นอยู่กับโรคและแมลงที่เข้ามารบกวนด้วย หากมีมากก็จำเป็นต้องให้ปุ๋ยเคมีมาก แต่ถ้าไม่จำเป็นจะไม่ให้ปุ๋ยเคมี

ปัญหาที่พบ ส่วนใหญ่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ หากหนาวจัด เมล่อนที่ปลูกจะไม่โต รสชาติหวาน แต่ขนาดไม่ขยาย แต่ถ้าฝนตกมาก มันเทศญี่ปุ่นจะเน่า ทั้งหมดนี้แก้ปัญหาจากประสบการณ์ด้วยการปลูกบนที่ดิน แต่ถ้าสภาพอากาศแล้งก็จะประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ ซึ่งแก้โดยการเพิ่มจำนวนครั้งในการรดน้ำ

“อย่างเมล่อนให้น้ำตอนเช้าและเย็น วันละ 2 ครั้ง จากปกติให้วันละครั้ง หรือ 1-2 วัน ต่อครั้ง ส่วนมันเทศญี่ปุ่นก็ให้ประมาณ 2-3 วัน ต่อครั้ง เพราะตรงสวนมีภูเขาบังทำให้เกิดร่ม และช่วยให้ดินกักเก็บความชื้นในสวนได้ส่วนหนึ่ง ส่วนเมล่อน ถ้าเก็บเกี่ยวช่วงฤดูร้อนก็ประมาณวันที่ 57 ถ้าเก็บช่วงฤดูหนาวก็จะเก็บช่วงวันที่ 65 จากวันที่ปลูก ส่วนมันเทศญี่ปุ่น จะเก็บเกี่ยวได้หลากหลายวันตั้งแต่ช่วง 75-100 วัน หรือ 120 วันก็ได้ ขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้า”

หลังจากการเก็บเกี่ยวจะใส่ปุ๋ยคอกหรือหว่านปุ๋ยพืชสด เช่น ปอเทือง ถั่ว เป็นต้น เป็นเวลา 2 เดือน แล้วกลบบำรุงดิน เพื่อตัดวงจรโรคและแมลง แล้วค่อยกลับมาปลูกพืชหลักแบบปกติ

ส่วนการจำหน่ายผลผลิต SBOBET Link โดยปกติจะขายให้ ส.ป.ก.ประดิพัทธ์ ส.ป.ก.ราชดำเนิน ตลาด Gold Market ประชาชื่น และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งเป็นการขายจากเกษตรกรสู่พ่อค้าโดยตรง ไม่ผ่านคนกลาง ทำให้รายได้นั้นแบบไม่ถูกแบ่งออกไป คุณเสมอ ยังบอกอีกว่า สิ่งที่ขายดีที่สุดในสวนของเขาคือ มันเทศญี่ปุ่น เก็บเกี่ยวมาแต่ละครั้งจะได้ผลผลิตประมาณไร่ละ 2 ตัน คิดเป็นเงินจำนวน 20,000 บาท ยังไม่หักต้นทุนการผลิต หากขายส่งพันธุ์คุริโอกาเนะราคาจะอยู่ที่ยอดละ 2 บาท ไม่รวมค่าขนส่ง ผลกิโลกรัมละ 60 บาท รวมค่าขนส่ง พันธุ์เพอเพิ้ลสวีทโรสและพันธุ์ส้มโอกินาวา ราคายอดละ 1 บาท ไม่รวมขนค่าส่ง ผลกิโลกรัมละ 60 บาท รวมค่าขนส่ง ส่วนเมล่อนนั้น ขายเองจะได้ราคาลูกละ 80-100 บาท แต่ส่งพ่อค้าคนกลางจะตกเหลือลูกละ 40-50 บาท รอบหนึ่งก็จะได้ประมาณ 40,000-50,000 บาท จากประมาณ 2,000-3,000 ต้น

หากผู้อ่านสนใจที่จะเรียนรู้เพิ่มเติมหรือสั่งสินค้า สามารถติดต่อได้ที่ คุณเสมอ การินทร์ โทรศัพท์ (092) 550-2516 สวนตั้งอยู่ที่บ้านเลขที่ 132 หมู่ที่ 8 ตำบลวังไผ่ อำเภอห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี

ภาคตะวันออก นอกจากจะเป็นแหล่งผลไม้ ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกองแล้ว ผล “หมาก” ยังเป็นพืชเศรษฐกิจ มีพื้นที่ปลูก 5,565 ไร่ คิดเป็น 15% ของประเทศ 4 อันดับจังหวัดที่ปลูกมากที่สุด คือ ฉะเชิงเทรา 2,879 ไร่ จันทบุรี 903 ไร่ ระยอง 888 ไร่ ตราด 826 ไร่ (สำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดระยอง) หมากทำรายได้เงียบๆ ให้ประเทศปีละกว่า 5,000 ล้านบาท สร้างรายได้ให้เกษตรกรผู้ปลูก พ่อค้าที่รับซื้อ-ขายส่งให้พ่อค้าต่างประเทศ จีน อินเดีย พม่า เวียดนาม ดูไบ ที่มารับซื้อถึงบ้าน หมากนอกจากบริโภคแล้วยังเป็นวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมฟอกหนัง เส้นใย ทำสีย้อมแห ย้อมอวน สกัดทำยาสมุนไพร ยารักษาโรค ทำให้เป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในรอบ 2-3 ปีราคาพุ่งสูงขึ้นทุกปี ทำให้เกษตรกรมีแนวโน้มที่จะมีการปลูกเพิ่มขึ้น แต่ส่วนใหญ่ยังเป็นพืชแซมสวนผลไม้

คุณณรงค์สิชณ์ สุทธาทิพย์ อยู่บ้านหนองป่าหมาก หมู่ที่ 7 ตำบลสองพี่น้อง อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี เล่าว่า มีอาชีพหลักทำสวนผลไม้ และหันมาทำอาชีพเสริมรับซื้อ-ขายหมากสด หมากแห้งมาเป็นปีที่ 5 โดยมีลูกสาว คือ “น้องหนิง” คุณจุฑามณี สุธาทิพย์ ที่ช่วยดูแลสวนอยู่ และลูกชาย “ดวงดี” คุณปุณยวัจน์ สุธาทิพย์ ที่เรียนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปี 2 กลับมาเรียนออนไลน์ที่บ้านเป็นผู้ช่วยเพิ่ม โดยเห็นว่าพื้นที่จังหวัดจันทบุรีและจังหวัดใกล้เคียงมีหมากจำนวนมาก และเป็นที่ต้องการของพ่อค้าต่างประเทศ ร้านหรือแผงรับซื้อรายใหญ่ๆ ยังมีไม่มาก มีเครือข่ายพ่อค้ารายย่อยที่จะรับซื้อจากชาวบ้าน ทั้งหมากสุกและหมากแห้ง เพื่อทำหมากแห้งคุณภาพ 100% ขายให้พ่อค้าไทยที่ส่งออกและพ่อค้าต่างประเทศที่รับซื้อโดยตรง เช่น อินเดีย จีน พม่า เวียดนาม ดูไบ

การทำหมากแห้งให้ได้มาตรฐาน 100% จะขายได้ราคาดีและมีลูกค้าเชื่อมั่นเป็นลูกค้าประจำ ราคาหมากแห้งในช่วง 2-3 ปีมานี้ตลาดมีความต้องการสูงทำให้ราคาตลาดดีมาก ตั้งแต่ช่วงก่อนถึงฤดูกาลในเดือนธันวาคม-มกราคม ปี 2564 ราคารับซื้ออยู่ที่กิโลกรัมละ 50 บาท สูงกว่าปีที่แล้ว ราคา 35-40 บาท และราคาเฉลี่ยทั้งปี 60 บาทมีช่วงสั้นๆ ที่หมากขาดจะสูงถึง 100 บาท คาดว่าปีนี้ราคาเฉลี่ยน่าจะถึง 70 บาท

คุณณรงค์สิชณ์ หรือเรียกกันคุ้นชินว่า “รองเหล็ง” เพราะเคยเป็นรองนายก อบต.สองพี่น้อง อำเภอท่าใหม่มาก่อน เล่าว่า ในการหาซื้อวัตถุดิบและการตลาดมีน้องสาว “น้องโอ๋” คุณทิพวรรณ สิทธิประสงค์ เป็นผู้ช่วยทุกด้าน หมากที่ซื้อมี 2 ชนิด คือ หมากสุกที่ซื้อมาจากชาวบ้านหรือพ่อค้ารายย่อยเป็นลูกๆ ตอนนี้ราคากิโลกรัมละ 10 บาท และหมากแห้งแกะเปลือกออกตากแห้งแล้ว ราคา 50 บาท แต่หมากแห้งที่รับซื้อมาต้องคัดเกรด และรับซื้อราคาต่างกันแบ่งเป็น 3 เกรด คือ เกรดคุณภาพ A กิโลกรัมละ 50 บาท หมากลาย 10-20 บาท เป็นหมากอ่อนไม่สมบูรณ์มีน้ำหนักเบา สีดำ และหมากเสียกิโลกรัมละ 5 บาท ที่เม็ดยังติดเปลือกไม่ร่วง หากชาวบ้านคัดคุณภาพดีเกรด A มา จะได้ราคาดี ถ้ามีหมากเสีย หมากลายปะปนเล็กน้อยจะรับซื้อราคาถัวเฉลี่ย 48 บาทลงมา ซึ่งต้องนำมาคัดแยกออกให้หมด ทั้งหมากสุกและหมากแห้งที่รับซื้อต้องผ่านกระบวนการตากแดด อบแห้ง คัดไซซ์ เพื่อสร้างสินค้าคุณภาพ 100% ให้พ่อค้าส่งออกที่มารับซื้อเชื่อมั่น ให้ราคาดีและซื้อสินค้าของเราต่อเนื่อง