โดยกรมส่งเสริมการเกษตรจะทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลการขึ้น

เกษตรกรผู้ปลูกข้าวจำแนกตามช่วงเวลาที่เก็บเกี่ยวและคำนวณปริมาณผลผลิตโดยใช้พื้นที่ทั้งหมดที่ขึ้นทะเบียนปลูกข้าวแต่ละชนิด X ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ เป็นปริมาณผลผลิตที่ต้องชดเชย แต่ต้องไม่เกินปริมาณที่กำหนดไว้ข้างต้น และส่งมอบข้อมูลให้ ธ.ก.ส. ใช้เป็นหลักฐานในการจ่ายเงินเข้าบัญชีเกษตรกรโดยตรง ภายใน 3 วัน นับจากวันที่ได้รับราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงในแต่ละรอบจากคณะอนุกรรมการฯ ซึ่งเกษตรกรสามารถตรวจสอบผลการโอนเงินได้ที่ Link: http://chongkho.inbaac.com

วันอังคารที่ 15 ตุลาคม 2562 เวลา 08.00 น. นายวิสุทธิ์ สารพัฒน์ ปศุสัตว์จังหวัดอุบลราชธานี ได้นำขบวนรถปฏิบัติงานหน่วยสัตวแพทย์เคลื่อนที่กรมปศุสัตว์ ออกให้บริการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี เนื่องจากสถานการณ์น้ำท่วมโดยอิทธิพลของพายุโซนร้อนโพดุลและคาจิกิ ส่งผลให้มีประชาชนและเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ได้รับผลกระทบจำนวนมาก

โดยเฉพาะจังหวัดอุบลราชธานีได้รับผลกระทบมาก ถึงแม้ว่าสถานการณ์ได้ผ่านพ้นภาวะวิกฤตไปแล้ว แต่กรมปศุสัตว์ได้ให้ความสำคัญในการฟื้นฟูสุขภาพสัตว์ภายหลังสถานการณ์คลี่คลายลง ทั้งในเรื่องการรักษาพยาบาลสัตว์ การเฝ้าระวังการเกิดโรคระบาดสัตว์และการให้คำแนะนำเรื่องการเลี้ยงสัตว์ ซึ่งเป็นการระดมอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์จากกองสวัสดิภาพและสัตวแพทย์บริการ, กลุ่มด่านกักกันสัตว์, สำนักงานปศุสัตว์เขต 4,3, สำนักควบคุมป้องกันและบำบัดโรคสัตว์, สำนักพัฒนาระบบและมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์,

สำนักงานปศุสัตว์ในพื้นที่เขต 3, 4, ศูนย์วิจัยการผสมเทียมและเทคโนโลยีชีวภาพ, กองสารวัตรและกักกัน, หน่วยพัฒนาสุขภาพและเพิ่มผลผลิตสัตว์ รวมเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน จำนวน 150 คน ออกปฏิบัติงานหน่วยสัตวแพทย์เคลื่อนที่ ในพื้นที่ 7 อำเภอ ของจังหวัดอุบลราชธานี ระหว่าง วันที่ 10-22 ตุลาคม 2562 โดยได้ออกปฏิบัติงานในพื้นที่อำเภอเขื่อง ในวันที่ 2 ตำบลแดงหม้อ และตำบลสร้างถ่อ รวม 8 หมู่บ้าน วันอังคารที่ 15 ตุลาคม 2562 โดยให้การบริการ ดังนี้

1.สัตว์ใหญ่ โค กระบือ ให้บริการในพื้นที่ตำบลแดงหม้อ, ตำบลสร้างถ่อ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 8 หมู่บ้าน ให้บริการตรวจสุขภาพสัตว์, ตรวจระบบสืบพันธุ์ ฉีดยาบำรุง โค 78 ตัว, ถ่ายพยาธิ 78 ตัว รักษาโรคสัตว์ 1 ตัว, กระบือ ฉีดยาบำรุง 98 ตัว, ถ่ายพยาธิ 85 ตัว และให้คำแนะนำการเลี้ยงสัตว์ แก่เกษตรกร จำนวน 88 ราย

2. สัตว์เล็ก สุนัข แมว ให้บริการในพื้นที่ ตำบลแดงหม้อ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 2 หมู่บ้าน ให้บริการตรวจสุขภาพสัตว์, รักษาสัตว์ป่วย, ผ่าตัดทำหมันสุนัข 27 ตัว, แมว 27 ตัว, ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า สุนัข 31 ตัว, แมว 22 ตัว เกษตรกร จำนวน 50 ราย

3. มอบเนื้อสุกร ที่ได้รับการสนับสนุนจากผู้ประกอบการผู้เลี้ยงสุกรจังหวัดนครปฐม แก่เกษตรกร 4. มอบถุงยังชีพของกรมปศุสัตว์, ยาถ่ายพยาธิ, แร่ธาตุ วิตามิน และยาปฏิชีวะนะแก่เกษตรกร

5. มอบอาหารสุนัข แมว แก่เกษตรกรเจ้าของสัตว์ในการปฏิบัติงานของหน่วยสัตวแพทย์เคลื่อนที่ กรมปศุสัตว์ ครั้งนี้ ได้รับความร่วมมือและการสนับสนุนการปฏิบัติงานเป็นอย่างดีจากนายกองค์การบริหารส่วนตำบล, กำนัน, ผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการจิตอาสาของหมู่บ้านในพื้นที่และเจ้าของสัตว์ที่นำสัตว์มารับการบริการจำนวนมาก

เอสซีจี สนับสนุนโครงการ Renim Project ของดีไซเนอร์ไทยที่ใช้แนวคิดการ Remade – Reduce- Redesign ตอบโจทย์แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยการนำถุงปูนซีเมนต์ ตราเสือ ที่ไม่สามารถนำมาบรรจุปูนได้แล้ว และเสื้อสำหรับช่างก่อสร้างที่ชำรุด มาสร้างสรรค์และเพิ่มมูลค่าเป็นชุดคนงานก่อสร้างไทย ในคอลเล็กชั่น Under Cover และผ่านการคัดเลือกจากกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ และสถานกงสุลใหญ่ ณ นครลอสแองเจลิส ให้เป็นหนึ่งในผู้แทนประเทศไทยแสดงการเดินแบบในเวที LA Fashion Week Spring/Summer 2020 ที่สหรัฐอเมริกา

นายสยามรัฐ สุทธานุกูล Chief Marketing Officer – Marketing and Branding Cement and Construction Solution Business ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เอสซีจี กล่าวว่า “เอสซีจีให้ความสำคัญในการนำแนวทาง SCG Circular way ตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) มาปรับใช้ในการดำเนินธุรกิจ เพื่อใช้ประโยชน์จากทรัพยากรให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งเอสซีจีมีถุงบรรจุปูนซีเมนต์เหลือใช้ที่ไม่สามารถนำมาบรรจุปูนซีเมนต์ได้อีก เนื่องจากการปรับข้อมูลผลิตภัณฑ์จากการพัฒนาคุณภาพสินค้าอย่างต่อเนื่อง หรือข้อกำหนดว่าด้วยฉลากบรรจุภัณฑ์ หรือจากกระบวนการพิมพ์เปลี่ยนแปลง รวมถึงเสื้อสำหรับช่างก่อสร้างที่ชำรุด

โดยเอสซีจีเล็งเห็นว่าสามารถนำถุงปูนและเสื้อดังกล่าวไปสร้างสรรค์ให้เกิดมูลค่าเพิ่มได้ จึงได้ร่วมมือกับ Renim Project ของ นายทรงวุฒิ ทองทั่ว นักออกแบบเสื้อผ้าชาวไทย ที่มีแนวคิดการ Remade – Reduce – Redesign โดยนำถุงปูนซีเมนต์ตราเสือ ที่ไม่สามารถนำไปใช้บรรจุปูนได้แล้วมาเพิ่มมูลค่าเป็นแฟชั่นแนวสตรีทแวร์ ภายใต้คอลเล็กชั่น Under Cover เพื่อสะท้อนให้เห็นคุณค่าของช่างก่อสร้างไทย ผู้อยู่เบื้องหลังความสวยงามของตึกและสถาปัตยกรรมต่างๆ โดย Renim Project ได้รับคัดเลือกจากกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ และสถานกงสุลใหญ่ ณ นครลอสแองเจลิส ให้เป็นหนึ่งในผู้แทนของประเทศไทยเปิดตัวคอลเล็กชั่นภายในงาน LA Fashion Week : Spring – Summer 2020 ณ นครลอสแองเจลิส ประเทศสหรัฐอเมริกา ในวันที่ 9 ตุลาคม 2019 ที่ผ่านมา”

สำหรับแฟชั่นแนวสตรีทแวร์จากถุงปูนของ Renim Project อาทิ เสื้อผ้า กระเป๋า และหมวก หลากหลายสไตล์ จะมีวางจำหน่ายที่ร้าน Absolute Siam Store Siam Center ร้าน CAZH Siam Discovery ร้าน CAZH ICONSIAM และห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล สาขาชิดลม ZEN และลาดพร้าว เร็วๆ นี้ และสามารถติดตามข่าวสารอื่นๆ ของเอสซีจีได้ที่ https://scgnewschannel.com / Facebook: scgnewschannel / Twitter: @scgnewschannel หรือ Line@: @scgnewschannel

นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เปิดเผยว่า นโยบายสนับสนุนการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ เป็นนโยบายสำคัญของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน) ซึ่งเน้นการบูรณาการร่วมกับภาคีเครือข่ายและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อผลักดันการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การสร้างความสมดุลให้กับระบบนิเวศ ที่มีความปลอดภัยต่อทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนในประเทศ

ที่ผ่านมากระทรวงเกษตรฯ ได้เร่งผลักดัน “(ร่าง) พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืน พ.ศ. …” ซึ่งเป็นอีกกลไกหนึ่งในการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร ด้วยระบบเกษตรกรรมยั่งยืน ตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย เกษตรอินทรีย์ เกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรผสมผสาน เกษตรธรรมชาติ วนเกษตร และอื่นๆ ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา

สำหรับการขับเคลื่อนการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ สศก. ได้จัดทำ “แผนปฏิบัติการด้านเกษตรอินทรีย์ พ.ศ. 2560-2565” โดยผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมจากภาคส่วนต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนปฏิรูปประเทศ

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 และนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมทั้งบริบทต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยกำหนดวิสัยทัศน์ “ประเทศไทยเป็นผู้นำเกษตรอินทรีย์ในภูมิภาคอาเซียน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ภายในปี 2565” พร้อมทั้งเร่งผลักดันให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นำแผนปฏิบัติการด้านเกษตรอินทรีย์ไปใช้เป็นกรอบในการขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ไปสู่การปฏิบัติ เพื่อเพิ่มพื้นที่เกษตรอินทรีย์ ไม่น้อยกว่า 1.3 ล้านไร่ และเพิ่มจำนวนเกษตรกรที่ทำเกษตรอินทรีย์ไม่น้อยกว่า 80,000 ราย ภายในปี 2565 รวมทั้งเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรอินทรีย์เฉลี่ยร้อยละ 3 ต่อปี

ด้าน นายพลเชษฐ์ ตราโช ผู้อำนวยการกองนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า แผนปฏิบัติการฯ ดังกล่าว เน้นประเด็นการพัฒนาหลักใน 3 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านการส่งเสริมการวิจัย พัฒนานวัตกรรม ฐานข้อมูล และถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ (2) ด้านพัฒนาการผลิตและการบริหารจัดการเกษตรอินทรีย์ และ (3) ด้านการพัฒนาการตลาด การบริการ และมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ทั้งนี้ กลไกหลักในการขับเคลื่อนการพัฒนาเกษตรอินทรีย์มีทั้งระดับประเทศและระดับพื้นที่ ประกอบด้วย คณะกรรมการพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ และคณะทำงานการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ของจังหวัด ซึ่งมีองค์ประกอบมาจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และผู้แทนเกษตรกร เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนการพัฒนาเกษตรอินทรีย์อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถบรรลุตามเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้

ทั้งนี้ จากการผลักดันการดำเนินงานด้านนโยบายเกษตรอินทรีย์มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2560 โดยใช้แนวทาง “ตลาดนำการผลิต” และการเชื่อมโยงระหว่างเกษตรกร ผู้ผลิต และการตลาด ส่งผลให้ปี 2562 มีพื้นที่เกษตรอินทรีย์ของประเทศไทยที่ได้รับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ จำนวน 521,826.56 ไร่ เพิ่มขึ้นจากปี 2560 ที่มีพื้นที่ 230,946 ไร่ หรือเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 126 มีเกษตรกรที่ผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ จำนวน 40,774 ราย เพิ่มขึ้นจากปี 2560 ที่มีจำนวน 10,754 ราย หรือเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 276 (ข้อมูล กรมพัฒนาที่ดิน ณ 28 พฤษภาคม 2562) ทั้งนี้ พื้นที่เกษตรอินทรีย์ที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่ คือพื้นที่ปลูกข้าว ผัก และผลไม้ โดยด้านการตลาด พบว่า สินค้าเกษตรอินทรีย์ส่งออกที่สำคัญของไทยใน ปี 2561 ได้แก่ ข้าว มะพร้าวอ่อน มังคุด ทุเรียน ใบชาเขียว และกะทิสำเร็จรูป โดยข้าวอินทรีย์ มีตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อิตาลี จีน สวิตเซอร์แลนด์ และเดนมาร์ก ส่วนมะพร้าวอ่อน มังคุด ทุเรียน ใบชาเขียว กะทิสำเร็จรูป มีตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ จีน และสหรัฐอเมริกา ซึ่งสินค้าอินทรีย์ของไทยยังคงมีทิศทางความต้องการที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

“ตอนที่เห็นสภาพโรงเรียนครั้งแรกหลังน้ำเหลือระดับเอว รู้สึกใจหายมากว่าทำไมโรงเรียนดูพังขนาดนี้ มีแต่โคลนเต็มไปหมด มีงู มีตะขาบ คิดไม่ออกเลยว่าจะฟื้นฟูโรงเรียนอย่างไรดี เพราะโรงเรียนมีแต่เด็กอนุบาล ส่วนครูและบุคลากรก็เป็นผู้หญิงเป็นส่วนใหญ่ ถ้าไม่ได้ความช่วยเหลือจากมูลนิธิเอสซีจี พนักงานเอสซีจี และพี่ๆ จากกรมทหารพรานที่ 23 พวกเราคงแย่แน่ ไม่รู้จะได้เปิดเรียนเมื่อไหร่” คำบอกเล่าทั้งน้ำตาของ ครูหนึ่ง – นางสาวเสาวนีย์ พรมสุข คุณครูโรงเรียนวัดคูเดื่อวิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

สืบเนื่องจากอิทธิพลของพายุโซนร้อน “โพดุล” ที่เคลื่อนตัวลงสู่ทะเลจีนใต้ และอิทธิพลพายุโซนร้อน “คาจิกิ” ที่ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินสไลด์ และวาตภัยในหลายพื้นที่ทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วงวันที่ 29 สิงหาคม – 1 กันยายน 2562 ที่ผ่านมา มูลนิธิเอสซีจี จึงร่วมกับ เอสซีจี ภาคประชาชน ภาคประชาสังคม และสื่อมวลชน ให้ความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนกับพี่น้องผู้ประสบภัยในจังหวัดอุบลราชธานี ขอนแก่น ยโสธร ร้อยเอ็ด พิษณุโลก และแม่ฮ่องสอน โดยแบ่งการช่วยเหลือเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะเร่งด่วน ระยะฟื้นฟู และระยะพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยในระยะเร่งด่วนนั้น มูลนิธิเอสซีจีได้ร่วมกับภาคีเครือข่ายมอบสิ่งของที่จำเป็นให้แก่พี่น้องผู้ประสบภัย ประกอบด้วยถุงยังชีพ จำนวน 1,150 ถุง สุขากระดาษ จำนวน 5,500 ชุด มุ้ง จำนวน 226 หลัง และยากันยุง จำนวน 200 ขวด

นายเชาวลิต เอกบุตร กรรมการบริหารมูลนิธิเอสซีจี กล่าวว่า “สำหรับการช่วยเหลือระยะเร่งด่วนนี้ มูลนิธิฯ ไม่ได้ทำเพียงลำพัง แต่ได้ร่วมมือกับพันธมิตรเครือข่ายจากหลายภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็น ศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน ๙๐๔ วปร. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เครือข่ายอาสาดุสิต ตลอดจนพนักงานจิตอาสาเอสซีจี ในธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง ธุรกิจแพ็กเกจจิ้ง และธุรกิจเคมิคอลส์ ทั้งนี้ เราเล็งเห็นว่าสุขากระดาษน่าจะช่วยให้พี่น้องผู้ประสบภัยได้ใช้ประโยชน์ในภาวการณ์ที่คับขัน เนื่องจากเป็นกล่องกระดาษลูกฟูกน้ำหนักเบา แต่รับน้ำหนักได้ดีถึง 100 กิโลกรัม ประกอบง่ายภายใน 10 วินาที สามารถใช้ร่วมกับถุงดำเพื่อขับถ่ายได้ทั้งหนักและเบา นอกจากนี้ เรายังได้ให้การช่วยเหลือระยะฟื้นฟูหลังน้ำลด ในพื้นที่อุบลราชธานีและร้อยเอ็ด เพื่อส่งคืนพื้นที่ให้พร้อมกับการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ต่อไป ไม่ว่าจะเป็นพนักงานจิตอาสาจากปูนซิเมนต์ไทยแก่งคอย ที่ลงพื้นที่ทำความสะอาดและซ่อมแซมระบบไฟฟ้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองกินเพล อำเภอวารินชำราบ รวมถึงทำความสะอาดและซ่อมแซมระบบไฟฟ้าให้แก่โรงเรียนทั้งในตัว อำเภอเมือง และ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

ด้าน ครูหนึ่ง – นางสางเสาวนีย์ พรมสุข คุณครูอนุบาลโรงเรียนวัดคูเดื่อวิทยาคม ตำบลแจระแม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เล่าว่า “ตอนที่ได้รับการติดต่อมาว่าทางมูลนิธิเอสซีจี และทีมจิตอาสาจากปูนซิเมนต์ไทยแก่งคอยจะลงมาช่วย ตอนนั้นดีใจมากๆ เพราะครูสอนโรงเรียนนี้มา 12-13 ปีแล้ว โรงเรียนเลยเป็นเหมือนบ้านหลังที่สอง เราเป็นห่วงโรงเรียนเพราะปิดมาตั้งแต่วันที่ 7 กันยายน และห่วงเด็กๆ ว่าเมื่อไหร่จะได้กลับไปเรียน พอได้งบประมาณฟื้นฟูจากมูลนิธิเอสซีจี และมีทีมจิตอาสาจากปูนซิเมต์ไทยแก่งคอยมาช่วยทำความสะอาด ซ่อมแซมระบบไฟ ทาสี ร่วมกับกรมทหารพรานที่ 23 ที่มาช่วยล้างโคลน ขัดพื้น ฆ่าเชื้อ ทาสี ทำให้ตอนนี้เราเหมือนได้โรงเรียนใหม่เลย พนักงานจิตอาสาเอสซีจียังให้พวกเราช่วยออกแบบและตกแต่งด้วย ทำให้เรามีอาคารเรียนสีฟ้า ด้านในสีชมพู กำแพงสีม่วง ตามความต้องการของพวกเรา พี่ๆ พนักงานและทหารใจดีมากๆ ขอบคุณมากจริงๆ ที่ไม่ทิ้งกันค่ะ”

นอกจากนี้ ที่โรงเรียนวัดหนองกินเพล อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี มูลนิธิเอสซีจี ได้ร่วมกับเพื่อนพนักงานเอสซีจีภาคอีสาน ในธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง ร่วมทำความสะอาดโรงเรียน ทาสี และปรับปรุงสนามเด็กเล่นเพื่อน้องๆ รวมทั้งคณาจารย์และนักศึกษาจากคณะศิลปประยุกต์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี วิทยาลัยเทคนิคอุบลราชธานี กรรมาธิการสถาปนิกอีสาน มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ตลอดจนร้านผู้แทนจำหน่ายเอสซีจี จ.อุบลราชธานี ยังร่วมสนับสนุนการปรับปรุงและซ่อมแซมอาคารเรียนอีกด้วย

นายภาณุ ภิญโญทรัพย์ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะศิลปประยุกต์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เล่าด้วยความประทับใจที่ได้ร่วมให้ความช่วยเหลือในครั้งนี้ว่า “ผมคิดว่าถ้าบ้านผมถูกน้ำท่วม ผมจะรู้สึกอย่างไร ผมคิดว่าน้องๆ ก็คงรู้สึกใจหายไม่ต่างกันที่โรงเรียนอยู่ในสภาพเสียหาย ผมเลยมาช่วยทาสีโรงเรียนและห้องเรียน นอกจากนี้ การที่เราเรียนมาทางด้านนี้ก็ทำให้เราได้ใช้สิ่งที่เราเรียน มาลงพื้นที่จริงและช่วยฟื้นฟูโรงเรียนให้กลับมามีสภาพที่น่าอยู่ น่าเรียนเหมือนเดิม เด็กๆ ก็คงจะดีใจครับ”

ไม่เพียงเท่านี้ มูลนิธิเอสซีจี ยังได้รับความร่วมมือจาก คุณสฤษดิ์ วิฑูรย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี และสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จังหวัดอุบลราชธานี รวมถึง พนักงานเอสซีจีจิตอาสา จากธุรกิจแพ็กเกจจิ้ง โดยทีม S.E.R.T. (SCG Emergency Response Team) เข้าทำความสะอาดบ้าน วัด โรงเรียน ในพื้นที่ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อให้สามารถกลับมาใช้งานได้โดยเร็ว

สำหรับระยะยั่งยืนนั้น มูลนิธิเอสซีจีตระหนักดีว่าการเยียวยาพื้นที่และความรู้สึกของผู้ประสบภัยในพื้นที่ไม่อาจทำได้เพียงชั่วข้ามคืน มูลนิธิฯ จึงร่วมกับเครือข่ายภาคประชาสังคม แสวงหาแนวทางการช่วยเหลืออย่างยั่งยืนและเป็นรูปธรรม

“มูลนิธิฯ จะยึดหลักการช่วยเหลือบนพื้นฐานของความต้องการที่แท้จริงของชุมชนเป็นหลัก เช่นการฟื้นฟูอาชีพของเกษตรกร ได้แก่ การตั้งกองทุนต่างๆ เช่น กองทุนช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบภัยพิบัติ เรือกสวนไร่นาเสียหาย หรือเครื่องมือที่ใช้ในการเกษตรชำรุดเสียหาย เพราะมูลนิธิฯ เชื่อว่าการช่วยเหลือที่ยั่งยืนคือการช่วยให้พี่น้องที่ประสบภัยสามารถกลับมาทำมาหากินประกอบอาชีพได้ดังเดิม” เชาวลิต เอกบุตร กรรมการบริหารมูลนิธิเอสซีจี กล่าวปิดท้าย

“กลุ่มเกษตรกรทำนาตะโหมด” นับเป็นสถาบันเกษตรกรแห่งความภาคภูมิใจของชาวตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง ซึ่งก่อตั้งมานานตั้งแต่ปี 2517 มีสมาชิกแรกตั้ง 67 คน ด้วยทุน 3,350 บาท ผ่านไป 45 ปี ปัจจุบันมีสมาชิก 1,857 คน ทุนเรือนหุ้น 47 ล้านบาท และทุนสำรอง 26 ล้านบาท ซึ่งเป็นกลุ่มเกษตรกรทำนาตะโหมดมีการดำเนินงานที่เข้มแข็ง เป็นองค์กรที่ช่วยเหลือและส่งเสริมอาชีพให้เกษตรกรในพื้นที่ได้อย่างดี จากโครงการ “เปลี่ยนนาร้างเป็นนาข้าว” ทำให้เกษตรกรในพื้นที่สามารถพลิกฟื้นความเป็นอยู่

มีรายได้มั่นคง ขณะเดียวกันทางกลุ่มเกษตรกรทำนาตะโหมดก็มีการพัฒนาในทุกๆ ด้าน สามารถทำหน้าที่ช่วยเหลือและเป็นที่พึ่งของเกษตรกรในพื้นที่ได้อย่างดี จนได้รับการยกย่องให้เป็นกลุ่มเกษตรกรตัวอย่าง และได้รับรางวัลรางวัลระดับชาติถึง 5 ครั้ง โดยในปี พ.ศ. 2526 เป็นกลุ่มเกษตรกรที่มีผลงานดีเด่นระดับประเทศ ปี พ.ศ. 2535 ได้รับรางวัลทำนาดีเด่นระดับชาติ และในปี พ.ศ. 2529, พ.ศ. 2548 และพ.ศ. 2555 ได้รับรางวัลกลุ่มเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ เข้ารับพระราชทานโล่ในพระราชพิธีพืชมงคล จรดพระนังคัลแรกนาขวัญ

เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2562 ที่ผ่านมา นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วย นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ลงพื้นที่จังหวัดพัทลุง มีโอกาสได้เยี่ยมชมการดำเนินงานของกลุ่มเกษตรกรทำนาตะโหมด ที่เป็นกลุ่มเกษตรกรที่ประกาศตัวว่าจะไม่จำหน่ายวัตถุอันตรายและมีโครงการรณรงค์ให้เกษตรกรลดละเลิกการใช้สารเคมีทุกชนิด พร้อมทั้งส่งเสริมให้ทำนาอินทรีย์ ปลูกข้าวไว้กินเอง โดยเฉพาะข้าวพันธุ์สังข์หยด ซึ่งเป็นพันธุ์ข้าวพื้นเมืองของจังหวัดพัทลุง

นอกจากนี้ยังสนับสนุนเกษตรกรหันมาผลิตปุ๋ยอินทรีย์เพื่อใช้การปลูกพืช ด้วยตระหนักถึงปลอดภัยทั้งตัวเกษตรกรและผู้บริโภค ซึ่งทางกลุ่มเกษตรกรทำนาตะโหมด ยังสามารถแก้ไขปัญหาเรื่องราคาผลผลิตการเกษตรได้เกือบ 100% ทั้งผลผลิตข้าว ผลไม้ ทุเรียน มังคุด และลองกอง ทางกลุ่มฯ ได้ส่งเสริมการผลิตอย่างครบวงจร เน้นเรื่องความปลอดภัยและคุณภาพเป็นสำคัญ โดยเริ่มตั้งแต่การส่งเสริมการปลูกพืชเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ การแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและการเปิดจุดรวบรวมผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งทางกลุ่มฯมีทั้งโรงสีข้าว และโรงรมยางแผ่นรมควัน และยังได้จัดหาตลาดรองรับผลผลิตของสมาชิกในช่วงที่ผลผลิตออกมาพร้อมกันจำนวนมาก เพื่อบรรเทาปัญหาราคาตกต่ำ

นอกจากนี้ กลุ่มเกษตรกรทำนาตะโหมดยังได้มีโครงการส่งเสริมเกษตรกรปลูกพืชแซมในสวนยาง เช่น ถั่วลิสง ถั่วหรั่ง มะละกอ เพื่อเสริมสร้างรายได้เพิ่มจากการกรีดยาง ซึ่งการปลูกถั่วหรั่งในอำภอตะโหมด ปลูกมานานหลายสิบปี แรกเริ่มปลูกพันธุ์พื้นเมือง แต่ให้ผลผลิตน้อยต่อมาใน ปี 2542 เกษตรอำเภอตะโหมดได้ริเริ่มให้เกษตรกรรวมตัวกันปลูกถั่วหรั่ง และจัดหาพันธุ์ถั่ว “สงขลา 1” ซึ่งพันธุ์ที่ทนต่อสภาพแห้งแล้งได้ดี ให้ผลผลิตสูง และมีคุณภาพ มาส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกแซมยางพารา เพราะเกษตรกรบางรายได้โค่นยางพาราที่อายุมาแล้ว เพื่อปลูกใหม่

กว่าเกษตรกรจะได้เปิดกรีดอีกครั้งต้องรอไปอีก 5-6 ปี ทำให้เกษตรกรขาดรายได้ กลุ่มเกษตรกรทำนาตะโหมดจึงส่งเสริมให้สมาชิกได้รวมกลุ่มกันปลูกถั่วหรังแซมในสวนยาง ระหว่างที่ยางยังไม่ได้เปิดกรีด ส่วนเกษตรกรบางรายที่เปิดกรีดยางแล้ว ก็สามารถปลูกถั่วหรั่งแซมในแปลงยางได้เช่นกัน ซึ่งถั่วหรั่ง (Bambara groundnut) เป็นพืชตระกูลถั่วที่พบปลูกมากในภาคใต้ เมล็ดถั่วหรั่งนำมาต้มหรือเผาไฟรับประทาน หรือใช้ทำอาหารคาว และขนมหวาน และแปรรูปเป็นอาหารกระป๋อง มีรสชาติคล้ายถั่วลิสง ปัจจุบัน กลายเป็นถั่วเศรษฐกิจสำคัญชนิดหนึ่งในทางภาคใต้ มีพื้นที่ปลูกมากในแถบจังหวัดสงขลา พัทลุง ปัตตานี