โดยกระบวนการผลิตนั้น จะนำน้ำยางสด 40% มาผสมดินสอพอง

60% และ สีธรรมชาติ แล้วเก็บไว้ในถุงซิปเพื่อป้องกันไม่ให้โดนลม จะสามารถเก็บได้เป็นเดือน โดยจะนำออกมาให้สมาชิกที่มีกว่า 40 คน ปั้นตามแบบ ซึ่งสมาชิกจะได้ค่าแรงตามจำนวนผลงาน เช่น ทำลูกปัดจะให้ค่าแรงเม็ดละ 1 บาท

ล่าสุดคอลเล็กชั่น ลูกปัดดินสอพองผสมยางพารา ซึ่งมีจำหน่ายในคิง เพาเวอร์ แอร์ สิงคโปร์ และแค็ตตาล็อกการบินไทย เป็นสินค้าโอท็อปขึ้นเครื่องหมายเลข 4 โดยจะจำหน่ายเป็นชุด ชุดละ 3,500 บาท ประกอบด้วย สร้อยคอ สร้อยคอมือ และแหวน รวมถึงจำหน่ายปลีกลูกละ 5 บาท ซึ่งกลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นชาวต่างชาติ เช่น เยอรมัน รัสเซีย ยุโรป จะนิยมนำไปร้อยเอง ปัจจุบันสร้างรายได้เดือนละกว่า 1 แสนบาท

ขอเพียงแนวคิดและไอเดียใหม่ๆ ไม่เพียงแต่การแก้ปัญหาราคาตกต่ำเท่านั้น แต่การแปรรูปจะสามารถช่วยให้เกษตรกรอยู่ได้อย่างยั่งยืน สวก.ผุดแผนวิจัยจากหิ้งสู่ห้าง นำนวัตกรรมสู่การลงทุนทางธุรกิจ ตั้งเป้า 6 เดือน ดัน Business Matching 28 บริษัท ดึงเม็ดเงิน 3 พันล้าน พร้อมสนับสนุนเอสเอ็มอีสู่ฟู้ดอินโนโพลิสเมืองนวัตกรรมอาหาร

นางพรรณพิมล ชัญญานุวัตร ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า สวก.อยู่ระหว่างหารือแผนการผลักดันงานวิจัยสู่การลงทุนทางธุรกิจ โดยกำหนดยุทธศาสตร์ดำเนินงานกรอบระยะเวลา 5 ปี โดยมี นางสาวชุติมา บุญยประภัศร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน เพื่อมุ่งเน้นนำนวัตกรรมผลงานวิจัยสู่การลงทุนในธุรกิจ สร้างสรรค์ให้เกิดผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงจากวัตถุดิบ GAP/Organic พร้อมทั้งปรับโครงสร้างภาคเกษตรไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม (Value-Based Economy) สู่การยกระดับภาคการเกษตรรองรับระบบสุขภาพประชาชนอย่างยั่งยืน

สำหรับแผนการดำเนินงานระยะสั้น 6 เดือน จะเน้นงานวิจัยกลุ่มเวชสำอาง 4 โครงการ คือ 1. สารสกัดการเพาะเลี้ยงจมูกข้าว 2. สารออกฤทธิ์จากข้าวสี 3.สารออกฤทธิ์จากรวงข้าวประโยชน์ทางเครื่องสำอาง 4. Hair Product จากข้าวสังข์หยด 2. กลุ่มอาหารเสริม 2 โครงการ คือ 1. น้ำมันรำข้าว ริซสเตอรอลส์ วีพีโอ 2. น้ำส้มสายชูเสริมสุขภาพพร้อมดื่ม และ 3. สมุนไพร

3 โครงการ คือ 1. ตำรับยา “สหัศธารา” 2. ยาหอมเบอร์ 20 3. ตำรับยา 5 ราก และอาหารเพื่อสุขภาพ อีก 1 โครงการ ทั้งนี้แผน 6 เดือน จะเน้นผลงานวิจัยที่ขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์และมีการถ่ายทอดผลงานสู่ผู้ประกอบการแล้ว โดยตั้งเป้าดึงเม็ดเงินลงทุนร่วมภาคเอกชนกว่า 3 พันล้านบาท

ขณะเดียวกัน สวก.ยังได้สนับสนุนเอสเอ็มอีที่เข้าร่วมโครงการฟู้ดอินโนโพลิส เมืองนวัตกรรมอาหาร โดยมีทีมวิจัยและคณะทำงานเพื่อพัฒนาผู้ประกอบการด้านอาหาร สนับสนุนทุนวิจัยสำหรับผู้ประกอบการ โดยความร่วมมือผลักดันเมืองนวัตกรรมอาหารร่วมระหว่าง 3 หน่วยงาน โดยตั้งเป้าจะให้การสนับสนุนผู้ประกอบการในภาคเอกชนลอตแรก 30 ราย และได้ไม่ต่ำกว่า 100 ราย ในระยะเวลา 5 ปี

“ปีนี้ สวก.จะเน้นขับเคลื่อนใน 2 โครงการวิจัยด้านอาหาร งบประมาณ 60 ล้านบาท มีเอกชนเข้าร่วม Business Matching แล้วกว่า 28 บริษัท ปีนี้ตั้งเป้า 50 บริษัท โดยจะเน้นมาตรฐานและการมีส่วนร่วมกับชุมชนตลอดจนยกระดับเอสเอ็มอี (SMEs) สอดคล้องนโยบายรัฐบาล รวมถึง สวก.ยังต่อยอดงานวิจัย โดยกำหนดยุทธศาสตร์ระยะสั้น-ยาว โดยระยะสั้น 6 เดือน เป็นการผลักดันงานวิจัยกลุ่มข้าว พัฒนางานวิจัยสู่สินค้าขึ้นทะเบียนสิทธิบัตร ส่วนระยะกลางผลักดันให้ขึ้นทะเบียนองค์การอาหารและยา (อย.) และระยะยาวให้ทรัพย์สินทางปัญญาผลักดันขึ้นบัญชีนวัตกรรม โดย สวก.จะให้สิทธิประโยชน์ในการลงทุน 5 ปี และส่วนที่ได้ MOU โครงการฟู้ดอินโนโพลิสก็ได้สนับสนุนเอสเอ็มอีลอตแรก 30 รายแรกที่ได้รับการคัดเลือก งบประมาณ 30 ล้านบาท”

ทั้งนี้ ล่าสุด สวก.ยังได้สนับสนุนงบประมาณ 3 ล้านบาท ร่วมกับกรมพลาธิการทหารบกและโรงพยาบาลพระมงกุฎฯ พัฒนาผลิตภัณฑ์ชุดอาหารสำเร็จรูปพร้อมรับประทานสำหรับทหาร ภายใต้ “การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารยังชีพสำหรับทหาร” โดย ผศ.ดร. เสาวคนธ์ วัฒนจันทร์ เพื่อลดการนำเข้าอาหารสำเร็จรูปสำหรับทหาร โดยพัฒนาจากอาหารตามความต้องการของกลุ่มอาหารอีสานและอาหารอิสลามที่ต้องปฏิบัติงานภาคสนามหรือนอกภูมิลำเนาในภาวะฉุกเฉินช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่ต่างๆ โดยที่ผ่านมาพบว่าอาจจะยังไม่เพียงพอ งานวิจัยนี้จะช่วยตอบโจทย์อาหารเพื่อทหาร โดยงานวิจัยนี้ใช้เทคนิคการขึ้นรูปอบแห้ง อาหารให้พลังงานและโปรตีนสูง พกพาง่าย สะดวกในการขนส่ง

วันที่ 25 กรกฎาคม 2560กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเตือนภัยลักษณะอากาศ ฉบับที่ 7 เรื่อง “พายุโซนร้อน “เซินกา” (SONCA) บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน”

ประกาศฉบับดังกล่าวระบุว่า เมื่อเวลา 04.00 น. ของวันนี้ (25 ก.ค. 60) พายุโซนร้อน “เซินกา” (SONCA) บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน มีศูนย์กลางอยู่ห่างประมาณ 200 กิโลเมตรทางตะวันออกของเมืองวิญ ประเทศเวียดนาม หรือที่ละติจูด 16.8 องศาเหนือ ลองจิจูด 109.2 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลาง ประมาณ 65 กม./ชม. พายุนี้กำลังเคลื่อนที่ทางตะวันตกอย่างช้าๆ คาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามในวันนี้ (25 ก.ค. 60) และจะอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันและหย่อมความกดอากาศต่ำ ก่อนเคลื่อนผ่านประเทศลาว ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคเหนือ ตามลำดับ ลักษณะเช่นนี้ส่งผลทำให้ประเทศไทยตอนบนจะมีฝนตกชุกหนาแน่น กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ โดยมีพื้นที่ได้รับผลกระทบตามภาคต่างๆ ดังนี้

ในช่วงวันที่ 25-26 กรกฎาคม 2560

ภาคเหนือ: บริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก และ เพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดหนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี หนองบัวลำภู ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา สกลนคร นครพนม กาฬสินธุ์ มุกดาหาร อำนาจเจริญ ยโสธร สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

ภาคตะวันออก: ภาคตะวันออก: จังหวัดปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

ในช่วงวันที่ 27-28 กรกฎาคม 2560

ภาคเหนือ: บริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน สุโขทัย กำแพงเพชร และ ตาก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: บริเวณจังหวัดเลย หนองบัวลำภู ชัยภูมิ และนครราชสีมา

ภาคตะวันออก: บริเวณจังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนักถึงหนักมากและฝนตกสะสม อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากและน้ำล้นตลิ่งไว้ด้วย

สำหรับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีกำลังแรงขึ้น โดยจะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 25-29 ก.ค. 60 ไว้ด้วย ประกาศ ณ วันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 เวลา 05.00 น.

กรมอุตุนิยมวิทยาจะออกประกาศฉบับต่อไป ในวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 เวลา 11.00 น.

(ลงชื่อ) วันชัย ศักดิ์อุดมไชย

(นายวันชัย ศักดิ์อุดมไชย)

อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา กรมส่งเสริมสหกรณ์ประกวดโรงเรียนจัดการเรียนรู้การสหกรณ์รางวัลพระราชทาน ปี 2560 ขยายผลการปลูกฝังหลักวิธีการสหกรณ์สู่เยาวชน กรมส่งเสริมสหกรณ์จัดประกวดโรงเรียนจัดการเรียนรู้การสหกรณ์รางวัลพระราชทาน ปี 2560 สนองแนวพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการปลูกฝังแนวความคิด หลักการ และวิธีการสหกรณ์แก่เยาวชน และพระราชทานแนวทางในการส่งเสริมการสอนวิชาสหกรณ์ในโรงเรียน เตรียมตรวจประเมินโรงเรียน ที่มีผลงานและการจัดกิจกรรมการสอนวิชาสหกรณ์ที่เป็นเลิศ ส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับนักเรียนได้จนประสบผลสำเร็จ รับโล่พระราชทานของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมเงินรางวัล 50,000 บาท

ดร.วิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ กล่าวว่า กรมส่งเสริมสหกรณ์ได้มีโครงการประกวดโรงเรียนจัดการเรียนรู้การสหกรณ์รางวัลพระราชทาน ประจำปี 2560 เพื่อสนองแนวพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการเผยแพร่ความรู้ สร้างความเข้าใจการสหกรณ์เด็กและเยาวชน โดยเริ่มจากโรงเรียน ซึ่งกรมส่งเสริมสหกรณ์ได้จัดทำโครงการส่งเสริมสหกรณ์ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จำนวน 158 โรงเรียน ในพื้นที่ 35 จังหวัด โดยพัฒนาคู่มือการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมสหกรณ์ในโรงเรียน จัดอบรมให้ความรู้การสหกรณ์และนิเทศคู่มือแก่ครู ตชด. ตั้งแต่ปี 2534 เป็นต้นมา ต่อมาได้มีการพัฒนาคู่มือการเรียนการสอนวิชาสหกรณ์ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนให้สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พร้อมทั้งอบรมการใช้คู่มือการสอนวิชาสหกรณ์ให้กับครูผู้สอนสหกรณ์ทั่วประเทศ ปีละประมาณ 800– 1,000 คน

ในปี 2551 ได้มีการประเมินโรงเรียนต้นแบบจัดการเรียนรู้การสหกรณ์ และดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องถึงปัจจุบัน โดยกำหนดหลักเกณฑ์ประเมิน เพื่อวัดผลการเรียนรู้ คุณภาพการจัดการเรียนรู้ด้านการสหกรณ์ให้กับนักเรียน มีโรงเรียนต้นแบบจัดการเรียนรู้วิชาสหกรณ์ทั่วประเทศจำนวน 1,097 โรงเรียน ต่อมาในปี พ.ศ. 2556 มีการจัดประกวดโรงเรียนต้นแบบ เพื่อหา Best Practice ของโรงเรียนต้นแบบจัดการเรียนรู้การสหกรณ์ โดยมีเป้าหมายที่จะก่อให้เกิดการพัฒนาแนวคิด รูปแบบ วิธีการ การจัดการเรียนรู้ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้การสอนวิชาสหกรณ์ในโรงเรียนระหว่างกัน

ซึ่งสำนักพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการสหกรณ์ โดยศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการสหกรณ์ที่ 1 – 20 ร่วมกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในพื้นที่รับผิดชอบ ดำเนินการรับสมัครโรงเรียนต้นแบบ กำหนดเกณฑ์ และพิจารณาคัดเลือกโรงเรียนต้นแบบที่มีจัดการเรียนรู้การสหกรณ์ดีเด่นในเขตภูมิภาค รวม 60 โรงเรียน

สำหรับในปี 2560 นี้ กรมส่งเสริมสหกรณ์ได้มีโครงการจัดประกวดโรงเรียนจัดการเรียนรู้การสหกรณ์รางวัลพระราชทานประจำปี 2560 เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการส่งเสริมการเรียนการสอนวิชาสหกรณ์ในสถานศึกษา ประเภทการประกวดและรางวัล แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทที่ 1 โรงเรียนภายใต้โครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (ภายใต้โครงการ กพด.) ได้รับการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้การสหกรณ์จากกรมส่งเสริมสหกรณ์ และสมัครเข้ารับการประเมิน 3 กลุ่มโรงเรียน ได้แก่ กลุ่มโรงเรียน พระปริยัติธรรม กลุ่มโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน กลุ่มโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และโรงเรียนในสังกัดองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น

การประกวดประเภทที่ 2 คือ โรงเรียนภายนอกโครงการ กพด. ที่นำแนวพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มาขยายผล และได้รับการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้การสหกรณ์จากกรมส่งเสริมสหกรณ์ มีการสมัครเข้ารับการประเมิน 1 กลุ่มโรงเรียน ได้แก่ กลุ่มโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งเป็นโรงเรียนต้นแบบการจัดการเรียนรู้การสหกรณ์ที่มีการประเมินตั้งแต่ปี 2551-2559 และชนะเลิศการประกวดโรงเรียนที่มีผลงานด้านการจัดการเรียนรู้การสหกรณ์ในปี 2560

อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินปีนี้ จะพิจารณาจาก 4 ด้าน ได้แก่ ด้านที่ 1 คุณภาพนักเรียน ต้องมีคุณลักษณะและพฤติกรรม ที่สอดคล้องกับอุดมการณ์ หลักการและวิธีการสหกรณ์ มีความรู้ความเข้าใจเรื่องการสหกรณ์ ด้านที่ 2 งานวิชาการและกิจกรรมสหกรณ์นักเรียน โดยจัดการเรียนรู้การสหกรณ์ในโรงเรียน การพัฒนาสื่อ/เทคโนโลยี และแหล่งเรียนรู้การสหกรณ์ เพื่อการพัฒนาคุณภาพนักเรียน รวมถึงการจัดกิจกรรมสหกรณ์นักเรียน เพื่อสังคมและสาธารณะประโยชน์ ด้านที่ 3 การบริหารการจัดการงานสหกรณ์ในโรงเรียน ครูผู้สอนและครูผู้รับผิดชอบงานสหกรณ์ในโรงเรียน และด้านที่ 4 ความสำเร็จของสหกรณ์ในโรงเรียน และความดีเด่นของสหกรณ์ ในโรงเรียน

ขณะนี้ได้มีการเปิดรับโรงเรียนที่สนใจสมัครร่วมการประกวดโรงเรียนจัดการเรียนรู้การสหกรณ์รางวัลพระราชทาน ประจำปี 2560 ตั้งแต่วันที่ 7 – 31 กรกฎาคม 2560 โดยการดาวน์โหลดใบสมัครและเอกสารประกอบการสมัคร และดูรายชื่อโรงเรียนที่มีสิทธิ์เข้าร่วมการประกวด ได้จากเว็บไซด์ http://web.cpd.go.th/cooptrain ในหัวข้อ “ประกวดโรงเรียนจัดการเรียนรู้การสหกรณ์รางวัลพระราชทาน ประจำปี 2560” พร้อมทั้งกรอกใบสมัครตามแบบฟอร์ม พร้อมเอกสารประกอบ ส่งไปยังศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการสหกรณ์ที่เป็นเจ้าภาพหลักในแต่ละภูมิภาค และจะมีการประเมินคัดเลือกโรงเรียน ที่ผ่านเกณฑ์ เบื้องต้นจะคัดกรองจากใบสมัคร โรงเรียนที่ผ่านการประเมินเอกสารแล้ว จะเชิญครูสหกรณ์ที่เกี่ยวข้องมานำเสนอเพิ่มเติม ก่อนจะมีการประเมินและคัดเลือกโรงเรียนระดับกลุ่มโรงเรียนในระดับภาค โดยการประเมินสภาพการเรียนการสอนวิชาสหกรณ์ในโรงเรียนจริง เพื่อให้คะแนนตามลำดับคะแนนที่ 1 – 4 ของแต่ละกลุ่มโรงเรียน ก่อนจะประกาศผลการประกวด ทางเว็บไซด์ http://web.cpd.go.th/cooptrain

ในวันที่ 25 กันยายน 2560 และมีพิธีมอบรางวัลการประกวดโรงเรียนจัดการเรียนรู้การสหกรณ์รางวัลพระราชทาน ประจำปี 2560 ระหว่างวันที่ 28 – 30 กันยายน 2560 ซึ่งรางวัลที่จะได้รับแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มโรงเรียน ๆ ละ 4 รางวัล รวมทั้งสิ้น 16 รางวัล ซึ่งรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 จะได้รับโล่พระราชทานของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี พร้อมเงินรางวัล 50,000 บาท รางวัลที่ 2 ได้รับเกียรติบัตร พร้อมเงินรางวัล 20,000 บาท รางวัลที่ 3 ได้รับเกียรติบัตร พร้อมเงินรางวัล 17,000 บาท และรางวัลที่ 4 ได้รับเกียรติบัตร พร้อมเงินรางวัล 15,000 บาท

เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งจาก เจ้าหน้าที่มูลนิธิฟื้นฟูทรัพยากรทะเลสยาม ว่า ในช่วงเช้าเกิดปรากฏการณ์ธรรมชาติ น้ำทะเลได้เริ่มลงตั้งแต่ช่วงกลางดึกที่ผ่านมา จนถึงช่วงเช้า ทำให้ปะการังที่อยู่บริเวณแนวน้ำตื้นทีหน้าอ่าวใหญ่ อ่าวใหญ่ อ่าวเทียนของเกาะทะลุ ต.ทรายทอง อ.บางสะพานน้อย จ.ประจวบคีรีขันธ์ โผล่ขึ้นมาจนสามารถเห็นปะการังชนิดต่างๆได้อย่างชัดเจน อาทิ ปะการังสมองร่องเล็ก ร่องใหญ่ ปะการังก้อน ปะการังโขด ปะการังผักกาด ดอกไม้ทะเล และปะการังอีกหลายชนิด รวมไปถึงหอยมือเสือ

นายเผ่าพิพัทธ์ เจริญพักตร์ เลขามูลนิธิฟื้นฟูทรัพยากรทะเลสยาม เปิดเผยว่า บริเวณแนวปะการังดังกล่าวปกติน้ำจะลึกประมาณ 2-2.5 เมตร ซึ่งเป็นจุดดำน้ำของนักท่องเที่ยว และเป็นแหล่งที่มีการปลูกปะการังเขากวางอ่อน วันนี้น้ำทะเลลงต่ำจนเหลือประมาณร้อยละ 50 ในช่วงตั้งแต่เวลา 09.00-10.00 น. ทำให้เห็นปรากฏการณ์ปะการังโผล่ ซึ่งต้องประกาศให้นักท่องเที่ยวที่มาดำน้ำในช่วงเช้าให้รับทราบว่างดให้ดำน้ำชั่วคราวในช่วงเช้า ซึ่งหลังจากเวลา 11.00 น.น้ำทะเลได้เริ่มกลับขึ้นคาดว่าช่วงบ่ายจะกลับเข้าสู่สภาวะปกติ ซึ่งพบว่าช่วงน้ำทะเลลงต่ำสุดใช้เวลาประมาณไม่เกินครึ่งชั่วโมง และเริ่มกลับทยอยขึ้นแล้ว ซึ่งสภาพอากาศแดดค่อนข้างน้อย และน้ำทะเลบริเวณแนวปะการัง ก็ไม่ได้แห้งสนิท จึงไม่น่าส่งผลกระทบต่อแนวปะการัง

“แต่อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 25 กรกฎาคมนี้ มูลนิธิฟื้นฟูทรัพยากรทะเลสยาม จะได้เฝ้าติดตามสถานการณ์น้ำทะเลต่อไป อย่างไรก็ตาม เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา เคยเกิดเหตุการณ์ ลักษณะเช่นเดียกัน แต่จะมากกว่าวันนี้ ทั้งนี้ได้แจ้งให้นายโสภณ ทองดี รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) รับทราบแล้ว”

ด้านนายโสภณ กล่าวว่า เบื้องต้นเตรียมจัดส่งนักวิชาการจากศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนกลาง จ.ชุมพร ลงไปสำรวจหาสาเหตุ และให้รายงานต่อ ทช.เพื่อวางแผนการดำเนินงานในอนาคตหากเกิดกรณีเช่นนี้ขึ้นมาอีก ทั้งเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อปะการัง และหอยมือเสือ ตลอดจนทรัพยากรทางทะเลอื่นๆ

กระทรวงสาธารณสุขคาดคนไทยติดเชื้อ ‘ไวรัสตับอักเสบ’ กว่า 3 ล้านคน อัดแคมเปญ ‘ตรวจเร็ว รักษาได้ ห่างไกลมะเร็งตับ’ เปิด 104 โรงพยาบาลทั่วประเทศบริการคัดกรองฟรี 31 กรกฎาคม – 4 สิงหาคมนี้

เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม นพ. สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย taniavaughan.com รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แถลงข่าวสัปดาห์รณรงค์ตับอักเสบโลก “ตรวจเร็ว รักษาได้ ห่างไกลมะเร็งตับ” ซึ่งตรงกับวันที่ 8 กรกฎาคม ของทุกปีว่า สธ.ให้ความสำคัญกับโรคไวรัสตับอักเสบ เนื่องจากการติดเชื้อไวรัสดังกล่าวเป็นสาเหตุสำคัญของโรคตับแข็งและมะเร็งตับ เป็นมะเร็งที่พบบ่อยเป็นอันดับต้นๆ ในคนไทย โดยทั่วไปไวรัสตับอักเสบมี 5 ชนิด ได้แก่ ชนิด เอ บี ซี ดี และอี แต่โรคไวรัสตับอักเสบที่เป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญในไทยและประเทศกำลังพัฒนาทั่วโลก ได้แก่ ไวรัสตับอักเสบบี และซี เห็นได้จากผลการสำรวจขององค์การอนามัยโลกที่พบว่ามีประชากรกว่า 325 ล้านคนทั่วโลกติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีหรือซี และมีผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบถึง 1.34 ล้านรายต่อปี

นพ. สุวรรณชัย แถลงอีกว่า ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถือเป็นภูมิภาคที่มีอัตราการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบสูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลก สำหรับประเทศไทยคาดว่ามีผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง ประมาณ 2.2-3 ล้านคน ผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรัง ประมาณ 300,000-700,000 ราย ที่ผ่านมา สธ.ได้ดำเนินนโยบายเพื่อป้องกันควบคุมโรคไวรัสตับอักเสบมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายเพื่อลดอัตราการติดเชื้อ ลดการป่วยตาย และลดจำนวนผู้ป่วยมะเร็งตับ ผ่านมาตรการต่างๆ อย่างบูรณาการ นอกจากนี้ยังได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคไวรัสตับอักเสบ พ.ศ. 2560-2564 เพื่อใช้เป็นกรอบทางยุทธศาสตร์การดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคไวรัสตับอักเสบ โดยมีเป้าหมายลดการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซี และให้ผู้ป่วยโรคนี้สามารถเข้าถึงการรักษาเพิ่มขึ้นอย่างน้อย ร้อยละ 50 ภายในปี 2564

นพ.สุวรรณชัย แถลงอีกว่า การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซีจะคล้ายกับไวรัสเอชไอวี คือ สามารถติดต่อผ่านทางเลือดและสารคัดหลั่ง การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่สวมถุงยาอนามัยและติดต่อจากแม่สู่ลูก ทั้งนี้ ผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบส่วนใหญ่มักจะไม่มีอาการ ทำให้ผู้ติดเชื้อมักไม่รู้ตัวว่าติดเชื้อ แต่จะรู้อีกทีก็เมื่อเริ่มมีอาการรุนแรงหรือเป็นตับแข็งและมะเร็งตับแล้ว ซึ่งล่าช้าเกินไป ความรู้ความเข้าใจของประชาชนจึงมีความสำคัญต่อการป้องกันควบคุมโรคไวรัสตับอักเสบที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้น ปีนี้ประชาชนสามารถขอรับการตรวจคัดกรองโรคไวรัสตับอักเสบบีและซีได้ฟรี ระหว่างวันที่ 31 กรกฎาคม ถึงวันที่ 4 สิงหาคม 2560 ณ โรงพยาบาลในสังกัดสธ.ที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 104 แห่ง ทุกจังหวัดทั่วประเทศ

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ แนะประชาชนทุกวัยสร้างวินัยสุขภาพ ป้องกันโรคและภัยคุกคามนานาชนิดในช่วงฤดูฝน ยึด ‘7 หลักสุขบัญญัติ’ เริ่มตั้งแต่ที่บ้าน

เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม นพ. ภัทรพล จึงสมเจตไพศาล รองโฆษกกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ในช่วงนี้จนถึงเดือนตุลาคม มักจะพบโรคที่มากับช่วงหน้าฝน ได้แก่ 1. โรคติดต่อทางระบบหายใจ เช่น โรคไข้หวัดใหญ่ โรคปอดบวม 2. โรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะ เช่น โรคไข้เลือดออก โรคไข้สมองอักเสบ โรคมาลาเรีย โรคชิคุนกุนยา และโรคติดเชื้อไวรัสซิกา 3. โรคติดต่อทางอาหารและน้ำ เช่น โรคอหิวาตกโรค และโรคไวรัสตับอักเสบ เอ 4. โรคติดต่ออื่นๆ เช่น โรค มือ เท้า ปาก และโรคเลปโตสไปโรซิส และ 5. ภัยสุขภาพอื่นๆ เช่น อันตรายจากสัตว์มีพิษ ภัยจากฟ้าผ่า และอุบัติเหตุทางถนน ลื่นล้ม จมน้ำ ฯลฯ จึงขอให้ประชาชนทุกวัยสร้างวินัยทางสุขภาพโดยใช้หลักสุขบัญญัติเพื่อป้องกันโรคและภัยคุกคามในช่วงหน้าฝน โดยปฏิบัติให้เป็นนิสัย สามารถปฏิบัติได้ทุกคนและทุกวัย