โดยการทดลองดังกล่าวให้ทั้งสองกลุ่มเริ่มทำก่อนกินยาเป็นเวลา

พบว่า กลุ่มที่ได้รับยาหลอก ร้อยละ 16.4 ถูกวินิจฉัยว่า เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ขณะที่กลุ่มที่ได้รับสารสกัดขมิ้นชันไม่ได้รับการวินิจฉัยว่าป่วยเป็นโรคเบาหวานเลย ซึ่งจากการตรวจติดตามพบว่า สารสกัดขมิ้นชันช่วยชะลอการทำงานของเบตาเซลล์ ซึ่งเป็นเซลล์ของตับอ่อนที่สร้างอินซูลิน โดยส่งผลให้การทำงานดีขึ้น ค่าน้ำตาลสะสม ค่าอินซูลินต่างๆ ดีขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติจากก่อนช่วงที่รับประทาน มีผลข้างเคียงของยาน้อยมาก ดังนั้น ในคนที่ยังไม่ป่วยจึงสามารถช่วยป้องกันการเกิดโรคเบาหวานได้

ผศ.พญ.สมลักษณ์ กล่าวอีกว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวานจะมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะหลอดเลือดแข็งตัวสูง และหากไม่รักษาโรคเบาหวานเลยจะมีอัตราเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดสูงกว่าคนทั่วไป 2-4 เท่า ซึ่งหากเกิดกับหลอดเลือดขนาดใหญ่ก็จะทำให้เกิดภาวะเส้นเลือดหัวใจหรือสมองตีบตัน เป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด สมองขาดเลือด ไปจนถึงอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือเลือดไม่ไหลเวียนไปยังแขนขา เมื่อเกิดบาดแผลทำให้ไม่รู้สึก เป็นที่มาของการถูกตัดอวัยวะ ซึ่งตัวโรคเบาหวานทำให้เกิดการอักเสบของหลอดเลือด รวมถึงระดับน้ำตาลและไขมันในเลือดสูง ทำให้เกิดการแข็งตัวของหลอดเลือด

ผศ.พญ.สมลักษณ์ กล่าวว่า ซึ่งอย่างที่ทราบว่า การทดลองสารสกัดขมิ้นชันในหนูทดลอง ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดและไขมันได้ จึงนำมาทดลองทางคลินิก โดยศึกษาวิจัยเพิ่มเติมในผู้ป่วยที่เพิ่งเริ่มเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป ใช้ยาควบคุมโรคเบาหวานชนิดเล็กน้อย ไม่มีโรคตับ ไต และหัวใจอย่างรุนแรง จำนวน 240 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่มเช่นกัน คือ กลุ่มรับยาหลอกและกลุ่มที่รับแคปซูลสารสกัดขมิ้นชัน โดยให้รับประทานครั้งละ 3 แคปซูล วันละ 2 ครั้ง ขนาด 1,500 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นเวลา 6 เดือน โดยพบว่า กลุ่มที่ได้รับแคปซูลสารสกัดจากขมิ้นชันสามารถลดภาวะการแข็งตัวของหลอดเลือดและภาวะเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ รวมถึงสามารถช่วยลดระดับไขมันรวมในร่างกาย (Total Boy Fat) ระดับไขมันในช่องท้องด้วย และสามารถช่วยลดระดับน้ำตาลได้

เมื่อถามว่า สารสกีดขมิ้นชันจะน้ำมาแทนยาลดระดับน้ำตาลได้หรือไม่ ในการช่วยควบคุมโรคเบาหวาน ผศ.พญ.สมลักษณ์ กล่าวว่า ในการศึกษาเป็นการกินเพิ่มจากการใช้ยาควบคุมเบาหวาน จึงไม่สามารถบอกได้ว่าจะนำมาใช้แทนยาแผนปัจจุบันได้ ซึ่งยังต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมมากกว่านี้ เช่น ศึกษาการลดขนาดยาสารสกัดขมิ้นชันว่า ระดับต่ำสุดปริมาณเท่าไรที่ยังสามารถช่วยลดระดับน้ำตาลได้ รวมถึงอาจต้องศึกษาขนาดใหญ่มากขึ้น ทั้งระยะเวลามากขึ้น กลุ่มตัวอย่างจำนวนมากขึ้นและหลากหลายมากขึ้น เพื่อตอบคำถามว่าจะสามารถนำมาใช้แทนได้หรือไม่ รวมไปถึงจะมีการศึกษาเพิ่มเติมในการช่วยลดปัญหาไขมันพอกตับได้หรือไม่

เมื่อถามว่าจะนำสารสกัดขมิ้นชันมาดูแลสุขภาพอย่างไร ผศ.พญ.สมลักษณ์ กล่าวว่า หากจะรับประทานเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารก็สามารถทำได้ในกลุ่มคนที่ยังไม่ป่วย โดยอาจรับประทานเพียงวันละ 1-2 แคปซูลก็ได้ แต่หากต้องการผลลัพธ์เหมือนอย่างการศึกษาเรื่องการป้องกันโรคเบาหวาน ก็ต้องรับประทานให้ได้ตามโดสที่ศึกษา ส่วนการใช้ในผู้ป่วยโรคเบาหวานนั้น จากการทดลองเป็นการใช้สารสกัดจากขมิ้นชันเพิ่มเติมจากยาควบคุมเบาหวาน ดังนั้น ยืนยันว่า ไม่ควรนำมาใช้แทน แต่ควรเป้นลักษณะของการใช้เสริมขึ้นมา โดยจะต้องมีการปรึกษากับแพทย์ผู้ให้การรักษาด้วย

กรมวิชาการเกษตรสรุป 4 มาตรการจำกัดการใช้พาราควอต คลอร์ไพริฟอส และไกลโฟเซต เตรียมเสนอ คกก.วัตถุอันตรายภายใน 60 วัน พร้อมกำหนดให้เกษตรกรผู้ใช้สารต้องผ่านการอบรมการใช้ที่ถูกต้องและมีหลักฐานทะเบียนเกษตรกรก่อนซื้อ

ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการพิจารณามาตรการ “จำกัด” การใช้ 3 วัตถุอันตราย ได้แก่ พาราควอต คลอร์ไพริฟอส และไกลโฟเซต เพื่อเสนอคณะกรรมการวัตถุอันตรายพิจารณาภายใน 60 วัน

ล่าสุดนายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบหมายให้กรมวิชาการเกษตรสรุปข้อคิดเห็นที่ได้จากการรับฟังความคิดเห็น พิจารณาทบทวนปรับปรุงร่างแผนการกำหนดมาตรการดังกล่าวให้เหมาะสม และครอบคลุมข้อคิดเห็นของผู้เข้าร่วมการประชุม แล้วเสนอในการประชุมคณะกรรมการวัตถุอันตราย กระทรวงอุตสาหกรรมครั้งต่อไป

นายอุทัย นพคุณวงศ์ รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า กรมวิชาการเกษตรสรุปมาตรการจำกัดการใช้ 3 สาร 4 ข้อ คือ 1.กำหนดสถานที่จำหน่าย ให้จำหน่ายสารทั้ง 3 ชนิด ผู้ประกอบการต้องได้รับใบอนุญาตจำหน่ายอุปกรณ์ เครื่องป้องกัน และเครื่องพ่นสารเคมีเฉพาะสำหรับสารทั้ง 3 ชนิดด้วย พร้อมทั้งจัดวางสารทั้ง 3 ชนิดแยกจากวัตถุอันตรายชนิดอื่น

2.ใช้สารพาราควอตและไกลโฟเซตในการปลูกข้าวโพด มันสำปะหลัง อ้อย ยางพารา ปาล์มน้ำมัน และไม้ผลเท่านั้น 3.ให้ใช้สารคลอร์ไพริฟอสในการปลูกไม้ผล (เพื่อกำจัดหนอนเจาะลำต้น) ไม้ดอกและพืชไร่เท่านั้น และ 4.ไม่ให้ใช้สารทั้ง 3 ชนิดในพื้นที่ปลูกพืชผัก สมุนไพร พื้นที่ต้นน้ำและพื้นที่สาธารณะ เช่น โรงเรียน สนามเด็กเล่น สวนสาธารณะ สนามกอล์ฟ บ้านเรือน

สำหรับผู้ประกอบการต้องแจ้งการนำเข้า ส่งออก ผลิต และจำหน่ายอย่างละเอียด เพื่อประกอบการพิจารณาอนุญาต และกำหนดปริมาณวัตถุอันตรายที่พนักงาน เจ้าหน้าที่จะอนุญาต ตลอดเส้นทางของวัตถุอันตรายเป็นข้อมูลให้สารวัตรเกษตรในการตรวจสอบสต๊อกของผู้ผลิต

ส่วนเกษตรกรกำหนดให้ผู้ใช้ปฏิบัติโดยเกษตรกรต้องได้รับการอบรม และทดสอบว่ามีความรู้และความสามารถในการใช้สารที่ถูกต้องอย่างมีประสิทธิภาพ ขออนุญาตครอบครองสารทั้ง 3 ชนิดเพื่อใช้ พร้อมทั้งซื้อสารจากร้านจำหน่าย ปัจจัยการผลิตที่ได้มาตรฐาน และได้รับใบอนุญาตโดยต้องแสดงหลักฐานทะเบียนเกษตรกร ผู้รับจ้างพ่นสารต้องได้รับการอบรม ขออนุญาตมีไว้ในครอบครองเพื่อรับจ้างพ่นสาร และได้รับการขึ้นทะเบียนผู้รับจ้างพ่นสารทั้ง 3 ชนิด

ทั้งหมดนี้จะมีการรวบรวมแบบสอบถามและความคิดเห็นตามประเด็นมาตรการต่าง ๆ และประชุมคณะทำงานทบทวนเนื้อหาสาระ รวมถึงความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ เพื่อเสนอคณะกรรมการวัตถุอันตรายโดยมีนายพสุ โลหารชุน ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานภายใน 60 วัน นับจากวันที่ 19 ก.ค. 2561

แบบจำลองสภาพอากาศ วาฟ-รอม ระบุมรสุมเข้าไทยอาจมีฝนหนักถึงหนักมากช่วง 9-11 ส.ค. ส่วนเขื่อนแก่งกระจาน เขื่อนน้ำอูนมีระดับน้ำเต็มความจุเก็บกักแล้ว โดยยังคงมีน้ำไหลลงเขื่อนเพิ่มขึ้น

เมื่อวันที่ 9 ส.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า แบบจำลองสภาพอากาศ (วาฟ-รอม) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (สสนก.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) แจ้งว่า ประเทศไทยอาจมีฝนตกหนักถึงหนักมาก

โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดเชียงราย พะเยา น่าน แม่ฮ่องสอน ตาก เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม อุดรธานี สกลนคร กาฬสินธุ์ มุกดาหาร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี นครนายก ปราจีนบุรีสระแก้ว จันทบุรี ตราด ระนอง พังงา กระบี่ รวมทั้งชุมพร สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช ทั้งนี้ เขื่อนแก่งกระจานและเขื่อนน้ำอูนมีระดับน้ำเต็มความจุเก็บกักแล้ว และยังคงมีน้ำไหลลงเขื่อนเพิ่มขึ้น

วาฟระบุด้วยว่า ประเทศไทยมีฝนตกปานกลางถึงตกหนักในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางภาคตะวันออก ส่วนภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากเกิดขึ้นหลายแห่ง

โดยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี 138 มิลลิเมตร พังงา 128 มิลลิเมตร มุกดาหาร 88.2 มิลลิเมตร ตราด 85 มิลลิเมตรระนอง 82 มิลลิเมตร ชุมพร 82 มิลลิเมตร ลำปาง 54 มิลลิเมตร เชียงราย 50 มิลลิเมตร ปราจีนบุรี 36 มิลลิเมตร

ส่วนลำน้ำสายหลักในประเทศไทยเพิ่มขึ้น จากฝนที่ตกหนักในช่วงที่ผ่านมาบริเวณภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างที่ยังคงมีปริมาณฝนน้อยต่อเนื่องโดยเฉพาะแม่น้ำมูลตอนบนมีระดับน้ำน้อย สำหรับภาคกลางมีระดับปานกลางถึงน้ำมาก และภาคใต้มีระดับปานกลางถึงน้ำมาก

สำหรับแม่น้ำเพชรบุรี ปริมาณน้ำที่ล้นออกทางระบายน้ำล้น ทำให้แม่น้ำเพชรบุรีมีระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม่น้ำเพชรบุรี ช่วงตำบลกลัดหลวง อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี ระดับน้ำล้นตลิ่ง แนวโน้มระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้น ที่ตำบลต้นมะม่วง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี ระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่ง 0.54 เมตร แนวโน้มระดับน้ำทรงตัว

สำหรับสถานการณ์อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ในประเทศไทย วันที่ 9 ส.ค. ปริมาณน้ำกักเก็บรวมทั้งประเทศอยู่ร้อยละ 70 โดยน้ำไหลลงเขื่อนมากกว่าค่าเฉลี่ย และอยู่ในเกณฑ์เฝ้าระวัง ซึ่งเขื่อนแก่งกระจาน มีปริมาณน้ำกักเก็บร้อยละ 103 เป็นน้ำใช้การได้จริง 669 ล้านลูกบาศก์เมตร สถานการณ์น้ำมีน้ำเกินความจุเก็บกัก เมื่อวานนี้มีน้ำไหลลงอ่างฯ 24.45 ล้านลูกบาศก์เมตร และระบายน้ำ 16.85 ล้านลูกบาศก์เมตร

เขื่อนวชิราลงกรณ มีปริมาณน้ำกักเก็บร้อยละ 85 เป็นน้ำใช้การได้จริง 4,525 ล้านลูกบาศก์เมตร สถานการณ์น้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำมาก เมื่อวานนี้มีน้ำไหลลงอ่างฯ 61.24 ล้านลูกบาศก์เมตร และระบายน้ำ 42.74 ล้านลูกบาศก์เมตร ยังรับน้ำได้อีก 1,323 ล้าน ลบ.ม.

เขื่อนน้ำอูน มีปริมาณน้ำกักเก็บร้อยละ 103 เป็นน้ำใช้การได้จริง 489 ล้านลูกบาศก์เมตร สถานการณ์น้ำมีน้ำเกินความจุเก็บกัก เมื่อวานนี้มีน้ำไหลลงอ่างฯ 4.84 ล้านลูกบาศก์เมตร และระบายน้ำ 4.84 ล้านลูกบาศก์เมตร

เขื่อนศรีนครินทร์ มีปริมาณน้ำกักเก็บร้อยละ 87 เป็นน้ำใช้การได้จริง 5,196 ล้านลูกบาศก์เมตร สถานการณ์น้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำมาก เมื่อวานนี้มีน้ำไหลลงอ่างฯ 40.06 ล้านลูกบาศก์เมตร และระบายน้ำ 19.90 ล้านลูกบาศก์เมตร ยังรับน้ำได้อีก 2,284 ล้าน ลบ.ม.

เขื่อนปราณบุรี มีปริมาณน้ำกักเก็บร้อยละ 82 เป็นน้ำใช้การได้จริง 302 ล้านลูกบาศก์เมตร สถานการณ์น้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำมาก เมื่อวานนี้มีน้ำไหลลงอ่างฯ 14.95 ล้านลูกบาศก์เมตร และระบายน้ำ 9.48 ล้านลูกบาศก์เมตร ยังรับน้ำได้อีก 72 ล้าน ลบ.ม.

เขื่อนรัชประภา มีปริมาณน้ำกักเก็บร้อยละ 80 เป็นน้ำใช้การได้จริง 3,192 ล้านลูกบาศก์เมตร สถานการณ์น้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำมาก เมื่อวานนี้มีน้ำไหลลงอ่างฯ 72.70 ล้านลูกบาศก์เมตร และระบายน้ำ 8.98 ล้านลูกบาศก์เมตร ยังรับน้ำได้อีก 1,105 ล้าน ลบ.ม.

เขื่อนสิริกิติ์ มีปริมาณน้ำกักเก็บร้อยละ 67 เป็นน้ำใช้การได้จริง 3,515 ล้านลูกบาศก์เมตร สถานการณ์น้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำปานกลาง เมื่อวานนี้มีน้ำไหลลงอ่างฯ 30.43 ล้านลูกบาศก์เมตร และระบายน้ำ 34.05 ล้านลูกบาศก์เมตร ยังรับน้ำได้อีก 3,145 ล้าน ลบ.ม.

วาฟระบุอีกว่า สำหรับสถานการณ์ฝนช่วงวันที่ 9-11 ส.ค. นั้น ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทยและทะเลอันดามันยังคงมีกำลังแรง ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำที่ก่อตัวในทะเลจีนใต้และจะเคลื่อนตัวขึ้นปกคุลมเกาะไหหลำ ทำให้ร่องมรสุมยังคงพาดภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ส่งผลให้ประเทศไทยยังคงมีฝนเพิ่มมากขึ้น

โดยจะมีฝนตกหนักจากอิทธิพลของร่องมรสุมในภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน รวมทั้งแนวปะทะของลมมรสุมในด้านตะวันตกของประเทศ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก

โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดเชียงราย พะเยา น่าน แม่ฮ่องสอน ตาก เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม อุดรธานี สกลนคร กาฬสินธุ์ มุกดาหาร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว จันทบุรี ตราด ระนอง พังงา กระบี่ รวมทั้งชุมพร สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช

ช่วงวันที่ 12-15 ส.ค. หย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมเกาะไหหลำอาจทวีกำลังแรงขึ้น และเคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศจีนตอนใต้ ทำให้ร่องมรสุมเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านประเทศพม่าตอนบนและประเทศเวียดนามตอนบน

ส่งผลให้ภาคเหนือตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนจะมีฝนลดลงแต่ยังคงมีฝนตกต่อเนื่องได้บางแห่ง ส่วนลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงมีกำลังแรง ส่งผลให้แนวปะทะของลมมรสุมในด้านตะวันตกของประเทศ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก จะยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง

องค์การเภสัชกรรม (อภ.) เป็นอีกหน่วยงานที่ส่งเสริมและสนับสนุนการใช้สมุนไพร โดยเฉพาะขมิ้นชัน เนื่องจากมีการวิจัยพัฒนาสารสกัดขมิ้นชัน ทั้งเพื่อบรรเทาอาการปวดท้อง แน่นท้อง และล่าสุดผลการศึกษาวิจัยทางคลินิกยังพบว่าสามารถทดแทนยาแผนปัจจุบันกลุ่มอาการปวดจากโรคข้อเข่าเสื่อม และยังได้
รับการขึ้นทะเบียนเป็นยาพัฒนาจากสมุนไพรแผนปัจจุบันรายแรกของประเทศไทย จนได้รับรางวัลผลิตภัณฑ์สมุนไพรดีเด่นระดับชาติ (Prime Minister Herbal Awards PMHA) ประจำปี 2561

แน่นอนว่าความสำเร็จจากการศึกษาวิจัยดังกล่าวไม่เพียงแต่ให้คนไทยเข้าถึงการใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรมากขึ้น แต่ยังเป็นการส่งเสริมอาชีพ สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรไทยอีกด้วย เนื่องจากกว่าจะได้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้จำเป็นต้องได้วัตถุดิบที่มีคุณภาพตามที่ต้องการ

เห็นได้จาก นพ.โสภณ เมฆธน ประธานกรรมการองค์การเภสัชกรรม (อภ.) และผู้บริหาร อภ.ได้ลงพื้นที่เพื่อร่วมลงนามสัญญาจะซื้อจะขายขมิ้นชันคุณภาพ ระหว่าง อภ.และ 5 กลุ่มเกษตรกร 3 จังหวัด ประกอบด้วย ลพบุรี 3 กลุ่มเกษตรกรยะลา 1 กลุ่ม และตากอีก 1 กลุ่ม ที่โรงแรมลพบุรีอินนท์ รีสอร์ท เมื่อไม่นานมานี้ พร้อมทั้งยังลงพื้นที่เยี่ยมชมไร่ทหารสานประชา บ้านท่าเดื่อน้อย ต.นิคมสร้างตนเอง อ.เมือง จ.ลพบุรี

นพ.โสภณบอกว่า อภ.ต้องการใช้ชมิ้นชันตากแห้งประมาณปีละ 90 ตัน ซึ่งการลงนาม
ครั้งนี้ เกษตรกร 5 กลุ่มจะขายขมิ้นชันตากแห้งให้กับ อภ.ปีละประมาณ 45 ตัน ในราคาตันละ
ประมาณ 120,000 บาท หรือกิโลกรัมละ 120 บาท ซึ่งจะทำให้เกษตรกรทั้ง 5 กลุ่มมีรายได้ต่อปีรวมกันประมาณ 5.4 ล้านบาท ส่วนที่เหลืออีก 45 ตัน อภ.จะจัดซื้อตามปกติจากแหล่งปลูกขมิ้นชันที่มี
คุณภาพทั่วประเทศ ซึ่งขมิ้นชันคุณภาพจะต้องมีสารสำคัญ คือสารเคอร์คูมินอยด์สูงกว่าร้อยละ 9 สำหรับนำไปผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆ ซึ่งหากเกษตรกรสามารถปลูกขมิ้นชันที่มีสารดังกล่าวได้ในปริมาณมากก็จะได้ราคามากขึ้นด้วย

ด้าน ภญ.มุกดาวรรณ ประกอบไวทยกิจ รองผู้อำนวยการ อภ.กล่าวถึงการคัดเลือกกลุ่ม
เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการครั้งนี้ว่า ที่ผ่านมา อภ.ได้ลงพื้นที่ตามจังหวัดต่างๆ เพื่อสำรวจหาขมิ้นชันที่มีคุณภาพด้วยการนำไปวิเคราะห์หาสารเคอร์คูมินอยด์ จบพบว่า 5 กลุ่มเกษตรกรสามารถปลูกขมิ้นชัน
ที่มีสารสำคัญได้ในปริมาณสูงจึงเกิดความร่วมมือขึ้น โดยทาง อภ.จะให้การสนับสนุนต่างๆ ทั้ง
การคัดเลือกสายพันธุ์คุณภาพ ให้ความรู้การปลูกอย่างเหมาะสมมีการติดตามระหว่างการปลูก
และพร้อมรับซื้อในราคาที่เหมาะสม

โดยในเรื่องของราคาการรับซื้อนั้น เบื้องต้น อภ.กำหนดไว้ว่าจะรับซื้อขมิ้นชันที่มีสารเคอร์
คูมินอยด์ไม่น้อยกว่า 9 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป แต่ไม่ถึง 9.5 เปอร์เซ็นต์ จะรับซื้อในราคากิโลกรัมละ 120 บาท หากสามารถปลูกจนได้สารสำคัญเท่ากับหรือมากกว่า 9.5 เปอร์เซ็นต์ แต่ไม่เท่า 10 เปอร์เซ็นต์ จะรับซื้อในราคา 126.6 บาทต่อกิโลกรัม และหากมีสารเคอร์คูมินอยด์มากกว่านั้นก็จะรับซื้อในราคาที่มากขึ้นตามความเหมาะสม โดยการรับซื้อจะเป็นขมิ้นชันตากแห้งแล้วเท่านั้น

สำหรับพื้นที่ปลูก ซึ่งคณะผู้บริหาร อภ.ได้ไปเยี่ยมชมในครั้งนี้ คือไร่ทหารสานประชา บ้าน
ท่าเดื่อน้อย ต.นิคมสร้างตนเอง อ.เมือง จ.ลพบุรี เป็น 1 ใน 3 ของกลุ่มเกษตกรที่ร่วมทำสัญญา โดย นางพิมพ์ชญา ผาฮุย ตัวแทนวิสาหกิจชุมชน กลุ่มวิชาชีพเกษตรอินทรีย์ไร่ทหารสานประชาเล่าให้คณะผู้เยี่ยมชมทราบว่า การปลูกขมิ้นชันของทางไร่ทหารสานประชาเป็นแบบเกษตรอินทรีย์ทั้งหมด โดยได้รับการ
รับรองให้เป็น organic village 1 ใน 8 แห่งของประเทศไทย โดยที่มาของการทำเกษตรอินทรีย์เนื่องจากเดิมพื้นที่ตรงนี้เป็นของทหาร มีประมาณ 200 ไร่ แต่แบ่งให้ชาวบ้านเพื่อใช้เป็นพื้นที่ทำกินครัวเรือนละ 5 ไร่ จากทั้งหมด 33 ครัวเรือน โดยมีเงื่อนไขต้องใช้พื้นที่ทำการเกษตรอินทรีย์เท่านั้น

“เดิมทีก็ไม่เข้าใจว่าทำการเกษตรอินทรีย์อย่างไร ก็มีทาง คุณเจริญ พิมพ์ขาล หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต สำนักงานเกษตรของ จ.ลพบุรี มาให้ความรู้ในการทำเกษตรอินทรีย์ และก็ได้มีโอกาสไปดูงานกับทางมูลนิธิ รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร จ.ปราจีนบุรีด้วย ก็นำความรู้ต่างๆ มาทำให้พื้นที่เป็นเกษตรอินทรีย์อย่างการปลูกขมิ้นชันก็เช่นกัน เราจะไม่ถางหญ้าเลย เพราะหญ้าถือเป็นพี่เลี้ยงน้ำให้ขมิ้นชัน
จากนั้นเราก็เติมดินภูเขาไฟ หรือเพอร์ไลท์ คล้ายๆ ปุ๋ย แต่เป็นสารอินทรีย์ โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งสารเคมีเลย ซึ่งแร่เพอร์ไลท์สำคัญมาก เพราะทำให้มีความพรุน เพิ่มสารเคอร์คูมินอยด์ได้ด้วย ซึ่งชัดเจนว่าการปลูกแบบเกษตรอินทรีย์มีประโยชน์ เพิ่มผลผลิตได้โดยเราไม่ต้องพึ่งสารกำจัดศัตรูพืช หรือสารเคมี” นางพิมพ์ชญากล่าวทิ้งท้าย

นอกจากจะส่งเสริมรายได้เกษตรกรแล้ว เรายังได้ขมิ้นชันคุณภาพดีๆ มาผลิตผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์อีกด้วย นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ โฆษกประจำตัวรองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติขยายเวลาการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย ฤดูนาปรัง ปี 2561 และโครงการขยายการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย ฤดูนาปรัง ปี 2561 จากเดิมสิ้นสุดเดือนมิ.ย. 2561 ให้สิ้นสุดเดือนก.ย. 2561 เพื่อดำเนินการจ่ายเงินสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการผลิตพืชทดแทน วงเงิน 144.855 ล้านบาท เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 11,256 ราย พื้นที่ 72,427.75 ไร่

เนื่องจากกรมส่งเสริมการเกษตรไม่สามารถ ดำเนินการเบิกจ่าย และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ไม่สามารถโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากของเกษตรกรได้ทันตามแผนปฏิบัติงาน เนื่องจากสำนักงบประมาณอนุมัติวงเงินให้กรมส่งเสริมการเกษตร เมื่อวันที่ 29 มิ.ย. 2561 และแจ้งเอกสารสำรองเงิน เมื่อวันที่ 2 ก.ค. 2561 ซึ่งสิ้นสุดระยะเวลา การดำเนินงานตามแผนปฏิบัติงานโครงการฯ

ทั้งนี้ โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย ฤดูนาปรัง ปี 2561 และโครงการขยายการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย ฤดูนาปรัง ปี 2561 ครม.อนุมัติวงเงินรวม 900 ล้านบาท ในพื้นที่ 53 จังหวัด พื้นที่เป้าหมายรวม 450,000 ไร่ เกษตรกร จำนวน 30,000 ราย ระยะเวลาดำเนินงานโครงการฯ ระหว่างเดือนพ.ย. 2560-มิ.ย. 2561 โดยกรมส่งเสริมการเกษตร ได้รับอนุมัติเงินสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการผลิตพืชทดแทนให้เกษตรกร จากสำนักงบประมาณ จำนวน 3 ครั้ง วงเงินรวม 549.589 ล้านบาท เกษตรกรรวม 34,093 ราย พื้นที่ รวม 274,794.50 ไร่

โดยครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 18 พ.ค. 2561 วงเงิน 278.125 ล้านบาท เกษตรกร จำนวน 14,449 ราย พื้นที่ 139,062.50 ไร่ ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 5 มิ.ย. 2561 วงเงิน 126.608 ล้านบาท เกษตรกร จานวน 8,388 ราย พื้นที่ 63,304.25 ไร่ กรมส่งเสริมการเกษตรได้อนุมัติงบประมาณให้ ธ.ก.ส. ดำเนินการโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากของเกษตรกรเสร็จเรียบร้อยแล้ว เหลือเพียงครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 29 มิ.ย. 2561

ซึ่งกรมส่งเสริมการเกษตรไม่สามารถ ดำเนินการเบิกจ่าย และ ธ.ก.ส. ไม่สามารถโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากของเกษตรกรได้ทันตามแผนปฏิบัติงาน โครงการฯ ภายในเดือนม.ย. เนื่องจากสำนักงบประมาณอนุมัติวงเงินให้กรมส่งเสริมการเกษตร เมื่อวันที่ 29 มิ.ย. และแจ้งเอกสารสำรองเงิน เมื่อวันที่ 2 ก.ค. 2561 ซึ่งสิ้นสุดระยะเวลาการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติงานโครงการฯ แล้ว

รศ.ดร.ดรุณี โชติษฐยางกูล รองคณบดีฝ่ายวิชาการและประกันคุณภาพ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) เปิดเผยว่า คณะเกษตรศาสตร์ มข.ได้จัดกิจกรรม “อ้ายน้องมอดินแดง ลงแปลงม่วนใจ” ของคณะ โดยมีนักศึกษาคณะเกษตรศาสตร์ทุกชั้นปี คณาจารย์ และ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ของคณะเกษตรศาสตร์ จำนวน 390 คนเข้าร่วมกิจกรรม ณ แปลงฝึกงานคณะเกษตรศาสตร์ กิจกรรมครั้งนี้จะช่วยสร้างประสบการณ์ที่มีคุณค่าให้กับนักศึกษาเกษตรศาสตร์ซึ่งหลายคนยังไม่เคยสัมผัส แม้ว่าเทคโนโลยีการเกษตรใหม่ๆ

จะเข้ามามีบทบาทในการผลิตมากขึ้น แต่การได้ลงมือจริงในวิถีเดิมๆ ที่เป็นรากเหง้า จะช่วยเติมเต็มความรู้สึก และตระหนักในความเป็นรากฐานของเรา ก่อนที่จะก้าวต่อไปสู่การพัฒนาด้วยเทคโนโลยีในอนาคต ซึ่งนักศึกษาควรได้สัมผัสนับแต่แรกเริ่มก่อนเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้ทางการเกษตรใน 4 ปีจากนี้ไป เป็นการสร้างทัศนคติที่ดี และเพื่อเข้าใจคำว่า “ข้าวคือชีวิต” ที่สำคัญยิ่งคือ เป็นโอกาสที่ให้นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ทุกคน ได้มาทำงานร่วมกันก่อนที่จะแยกย้ายไปตามสาขา