โดยปกติ ทางกลุ่มขายสินค้าไม้ใบไม้มงคล ไม้ฟอกอากาศ

คริสต์มาส หน้าวัว ละอองดาว ช้อนเงินช้อนทอง แค็กตัส ฯลฯ มีราคาขายส่งหน้าสวน เฉลี่ยต้นละ 10 บาท เมื่อปรับตัวขายสินค้าผ่านเพจเฟซบุ๊ก สามารถขายสินค้าในราคาที่สูงขึ้น เฉลี่ยต้นละ 50 บาท โดยลูกค้าซื้อไม้ดอกต้นแรกคิดราคาขนส่งต้นละ 60 บาท เมื่อสั่งซื้อไม้ดอกต้นต่อไป คิดค่าขนส่งแค่ต้นละ 10 บาท โดยเลือกใช้บริษัทขนส่งภาคเอกชน คือ บริษัท J&T และ บริษัท Flash Express ที่มีความเชี่ยวชาญในการบรรจุไม้ดอกไม้ประดับลงกล่อง (Packing) ทำให้สินค้าส่งถึงมือลูกค้ารวดเร็วและไม่ให้เกิดความเสียหาย

แม้กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกไม้ดอกอำเภอภูเรือ สะสมประสบการณ์และทักษะในการผลิตไม้ดอกเป็นระยะเวลานาน จนเกิดเครือข่ายทางการตลาด มีการซื้อขายผลผลิตไม้ดอกไม้ประดับตลอดปี แต่ข้อจำกัดที่ต้องเร่งพัฒนาคือ การเพิ่มพูนข้อมูลวิชาการ ในการผลิตและการป้องกันกำจัดโรคพืช เนื่องจากมีการสะสมของเชื้อโรคและเกิดการระบาดของเชื้อเพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกัน เกษตรกรภูเรือปลูกเลี้ยงพันธุ์ไม้ชนิดเดิมๆ ทำให้ผลผลิตราคาจำหน่ายคงที่และมีราคาตกต่ำลง

“ปัจจุบัน วช. และ วว. ได้ร่วมกันเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องโรคในดิน เรื่องแมลงศัตรูพืช ขณะนี้ได้มีการพัฒนาเรื่องการอบดิน เพื่อไม่ให้ต้นคริสต์มาสเกิดโรคและเสียหาย จะได้อัตราการผลิตที่เพิ่มขึ้น ซึ่งตอนนี้มีการวิจัยอยู่ คาดว่าผลที่จะได้รับคือ ไม้ดอกจะไม่เสียหาย และมีผลผลิตเพิ่มขึ้น มีคุณภาพที่ดีขึ้น รวมถึงการมีดอกใบที่สวยพร้อมส่งออกไปทั่วประเทศ เป็นที่ภูมิใจของกลุ่มเกษตรกร ที่ วว. และ วช. เข้ามาสนับสนุนข้อมูลด้านวิชาการ” คุณณัฐริกา กล่าว

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ( วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้สนับสนุนโครงการมาลัยวิทยสถาน ให้แก่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ดำเนินโครงการ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ ด้วยการผลิตไม้ดอกไม้ประดับ โดยใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ทำให้สามารถยกระดับภาคเกษตรเป็นธุรกิจ สร้างงาน สร้างรายได้ และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการต่อเนื่อง

ดร.อนันต์ พิริยะภัทรกิจ นักวิจัย ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ วว. ในฐานะหัวหน้าโครงการ กล่าวว่า วว. ได้นำงานวิจัยไปถ่ายทอดเพื่อเพิ่มองค์ความรู้และพัฒนาการปลูกเลี้ยงไม้ดอกไม้ประดับสร้างรายได้ให้กับชุมชนไม้ดอกภูเรือ จำนวน 6 ด้าน ได้แก่ 1. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ในการขยายพันธุ์พืชจำนวนมาก สามารถลดต้นทุนในการผลิตต้นกล้าพันธุ์ได้ 2. การจัดดอกไม้เป็นของขวัญ เพื่อใช้ประโยชน์จากไม้ดอกไม้ประดับที่มีการปลูกเลี้ยงและพันธุ์ไม้ท้องถิ่นให้มีมูลค่าเพิ่ม 3. การแปรรูปและพัฒนาชาดอกไม้จากพันธุ์ไม้ที่มีการปลูกเลี้ยง เช่น กาแฟ ดาวเรือง และพันธุ์ไม้ท้องถิ่นให้เกิดผลิตภัณฑ์ขึ้นมาใหม่ 4. การทำภาชนะปลูกจากวัสดุในท้องถิ่น เช่น ดินเหนียว ฟางข้าว และกก พัฒนาเป็นภาชนะสำหรับปลูกต้นไม้ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า 5. การผลิตปุ๋ยอินทรีย์เคมีระดับครัวเรือน เพื่อลดต้นทุนในการจัดซื้อปุ๋ยเคมี ประยุกต์ใช้วัสดุเหลือใช้จากธรรมชาติมาทำปุ๋ยหมัก และ 6. การป้องกันโรคและแมลง เพื่อหาวิธีป้องกันจากศัตรูพืช โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากแมลงหวี่ขาว เพลี้ยแป้ง และเพลี้ยไฟ

“ที่ผ่านมา วว. ได้ร่วมพัฒนากลุ่มเกษตรแปลงใหญ่ไม้ดอกไม้ประดับแปลงใหญ่ ตำบลสานตม อำเภอภูเรือ ปลูกเลี้ยงเยอร์บีร่าสายพันธุ์ใหม่เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มด้านการส่งออก พัฒนาและส่งเสริมการปลูกเลี้ยงต้นลิเซียนทัส และต้นเบญจมาศ เพื่อเป็นสินค้าทางเลือกสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเกษตรกร ส่วนเกษตรแปลงใหญ่ไม้ดอกไม้ประดับบ้านแก่งไฮ ตำบลหนองบัว อำเภอภูเรือ วว. ส่งเสริมการปลูกเลี้ยงไม้ใบ เช่น หน้าวัวใบ บิโกเนีย และพืชสกุลอะโกลนีมา รวมทั้งพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปดอกไม้เพื่อเป็นสบู่ สร้างมูลค่าเพิ่ม เสริมรายได้ให้แก่เกษตรกรชุมชนต้นแบบ

ทั้งนี้ เกษตรกรและผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมการส่งเสริมพัฒนาไม้ดอกไม้ประดับ ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม ของ วว. หรือการส่งเสริมพัฒนาด้านการเกษตรสาขาอื่นๆ ได้ที่ ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักและคิดถึงอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะโอมิครอนหรือสายพันธุ์ไหน ขอให้เราช่วยกันดูแลตัวเอง งดเดินทางไปในที่ที่มีความเสี่ยง สวมหน้ากากอนามัยอยู่เสมอ หมั่นล้างมือ เพียงเท่านี้เราก็จะป้องกันได้ส่วนหนึ่งแล้ว ไม่นับว่าเราได้รับวัคซีนกันมาหลายเข็มกันแล้ว เชื่อว่าเราจะผ่านเรื่องร้ายๆ นี้ไปด้วยกันครับ

สงครามที่รัสเซียและยูเครน กำลังต่อสู้กันอยู่ตั้งห่าง แต่ไฉนเรื่องราวบนโลกทุกวันนี้จึงดูใกล้ชิดกับเราเหลือเกิน เราได้ทราบข่าวจากสื่อในช่องทางต่างๆ แต่ส่วนมากก็สื่อโซเชียล ผลของการสู้รบกันนั้นแพ้ชนะยังไม่รู้ แต่ส่งผลให้ทั่วโลกประสบปัญหาน้ำมันแพง เกษตรกรยังมาเจอปุ๋ยขึ้นราคาอีก งานนี้ต้องร้องเพลงพี่เบิร์ดครับ “ฝนที่ตกทางโน้น หนาวถึงคนทางนี้”

มีเรื่องหนึ่งที่คาใจผมเป็นนักหนา เคยซื้ออะโวกาโดในงานเกษตรมาปลูก เพราะชอบสายพันธุ์แฮสจึงเลือกเอาแฮสลงปลูกในสวน ผ่านวันเวลาไปตามปกติ ต้นโตขึ้น ใบเงางาม แต่ไม่เคยติดผลสักนิด รดน้ำ ใส่ปุ๋ยตามปกติ ไฉนจึงเป็นเช่นนั้นหนอ พอดีมีจังหวะดีที่ได้เดินทางไปเรียนรู้กับผู้รู้จริง แห่งศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดตาก (เกษตรที่สูง) โดยนัดกับ ท่าน ผอ.โหน่ง คุณธนากร โปทิกำชัย นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการพิเศษ เพื่อการนี้โดยเฉพาะ

เมื่อตั้งคำถามก็ได้รับคำตอบ อะโวกาโดไม่ใช่มะม่วงที่จะปลูกตรงไหนก็ได้ผลผลิต เพราะเขามีแยกแยะแต่ละสายพันธุ์ที่มีความสูงเหนือระดับน้ำทะเลมากำกับ สวนผมอยู่จังหวัดสระแก้ว เป็นที่ราบ สายพันธุ์ที่ควรปลูกจะต้องเป็น ปีเตอร์สัน รูเฮิล บัคคาเนียร์ ซึ่งเป็นพันธุ์ที่เหมาะสมกับพื้นที่ เป็นพันธุ์เบา ให้ผลผลิตที่แก่และสุกไวกว่าสายพันธุ์อื่น (เพราะออกดอกก่อนพันธุ์อื่นนั่นเอง) ท่าน ผอ. เล่าว่า ปัจจุบันไทยเรายังนำเข้าผลอะโวกาโด ปีละ 350 ล้านบาท อำเภอพบพระมีพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการปลูกอะโวกาโดทุกสายพันธุ์ ตั้งเป้าจะส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกให้ได้ 30,000 ไร่ ปัจจุบัน ปลูกได้เพียง 7,000 ไร่เท่านั้น เรียกว่ายังอีกไกลเลย

ที่พบพระ อะโวกาโดหลากหลายสายพันธุ์ที่ปลูกเพื่อการค้า ตั้งแต่สายพันธุ์พื้นเมืองที่คัดแล้ว จนถึงระดับพื้นราบ เช่น ปีเตอร์สัน บัคคาเนียร์ จนถึง บูท 7 แฮส ฯลฯ ทำให้ผลผลิตที่ได้มีเกือบทั้งปี โดยแยกแยะแต่ละสายพันธุ์ เช่น

พฤศจิกายน-มกราคม พันธุ์ปากช่อง 2-8
กุมภาพันธ์-สิงหาคม พันธุ์พื้นเมืองพบพระ
เมษายน-กรกฎาคม พันธุ์ปีเตอร์สัน/รูเฮิ่ล
มิถุนายน-กันยายน พันธุ์บัคคาเนียร์
กรกฎาคม-ตุลาคม พันธุ์บูท 7/บูท 8
สิงหาคม-พฤศจิกายน พันธุ์พิงเคอร์ตัน
กันยายน-ธันวาคม พันธุ์แฮส/แลมป์แฮส

จะเห็นได้ว่าเมื่อบริหารจัดการให้ดี จะมีผลอะโวกาโดออกมาจำหน่ายทั้งปีได้แน่นอน ที่สำคัญราคาไม่ใช่เบาๆ นะครับ ข้อมูลของปีที่ผ่านมารับซื้อหน้าสวนอยู่ที่กิโลกรัมละ 60 บาท เรียกว่าเพียงปลูกอะโวกาโดให้มีอายุต้นได้ประมาณ 4 ปีขึ้นไป เกษตรกรมีรายได้ที่แน่นอนจากการขายผลผลิตแน่ๆ เพราะไม่ใช่เพียงตลาดกินผลเพื่อสุขภาพเท่านั้น ในด้านความงามก็มาแรง มีการจองผลผลิตกันแบบยกสวนข้ามปีกันเลยทีเดียว

การขยายพันธุ์อะโวกาโด จะใช้ต้นตอจากพันธุ์พื้นเมืองที่แข็งแรง แล้วนำมาเปลี่ยนยอดเป็นสายพันธุ์เพื่อการค้า ปลูกในระยะ 6×6 หรือ 8×8 ในปีแรกปีสอง แม้จะเริ่มติดผลก็ห้ามเก็บไว้ ให้เด็ดทิ้งไปก่อน รอให้ต้นแข็งแรงแล้วจึงปล่อยให้ติดผลในปีที่ 4 จากนั้นก็ปล่อยตามปกติได้เลย

“ในระยะเวลาตั้ง 4 ปี เกษตรกรจะรอไหวหรือครับท่าน ผอ.”

“เรามีการวางแผนการปลูกพืชแซมเพื่อเสริมรายได้ในช่วงที่รอครับ รับรองว่าไม่เสียเวลาเปล่าแน่นอน”

“ทำอย่างไรบ้างครับ”

“เดี๋ยวจะพาไปชมสวนของท่านผู้ใหญ่ไพเราะ แกปลูกอะโวกาโด 5 ไร่ ทุเรียน 5 ไร่ มะละกอ 5 ไร่ กล้วย 5 ไร่ พริก 5 ไร่ แล้วยังมีรายได้จากหัวบุกอีกนะ” ที่สวน ผู้ใหญ่ไพเราะ ปานทิม โทร. 089-009-9393 มีพื้นที่ทั้งหมด 5 ไร่ ปลูกอะโวกาโดสายพันธุ์พื้นเมืองไว้และเปลี่ยนยอดเป็นสายพันธุ์เพื่อการค้าในตอนหลัง เบื้องต้นก็ปลูกกล้วยเป็นพี่เลี้ยง แซมด้วยทุเรียน มะละกอ พริก และบุก ข่า ตะไคร้ ผักสวนครัวอื่นปลูกแซมกันไปได้ทั้งหมด เมื่อให้น้ำให้ปุ๋ย พืชทุกต้นในพื้นที่ก็ได้รับเหมือนๆ กัน เก็บพริกขาย เก็บมะละกอขาย ตัดกล้วยขาย กว่าจะถึงอายุ 4 ปีก็มีรายได้ในแต่ละวันเสมอ แต่มีอย่างหนึ่งที่ผู้ใหญ่บอกว่าเป็นเงินแสนนอนอุ่นๆ ในสวน ไม่ต้องทำอะไร แค่หย่อนไข่ลงปลูกในระยะ 50×50 เซนติเมตร พอถึงปลายๆ เดือนเมษายนเขาก็จะงอก ไปจนถึงเดือนตุลาคมก็ทิ้งต้นทิ้งใบ เหลือแต่หัวอยู่ในดิน พอเดือนเมษายนวนรอบมาก็จะงอกใหม่ วนเวียนเช่นนี้ พอครบ 3 ปีก็ขุดหัวขึ้นมา

“ผู้ใหญ่หมายถึงหัวอะไรครับ”

“บุกครับ บุกไข่เนื้อทราย ปลูกทิ้งไว้เลย เขาเป็นพวกหากินเอง เติบโตเองได้ ไม่ขี้อ้อน”

“3 ปีนี่หัวใหญ่ไหมครับ”

“ตามแต่ความสมบูรณ์นะ ก็มีตั้งแต่หัวละ 3-15 กิโลนั่นแหละ”

“ขายโลเท่าไหร่ครับ”

“เคยได้สูงสุดโลละ 27 บาท”

“แล้วที่ว่ารอมา 3 ปีได้กี่โลครับ”

“ในแปลง 5 ไร่นี่ก็ต้องมีเกิน 5 ตันครับ”

“5,000 โล โลละ 27 บาทก็แสนกว่าแล้วนะครับ”

“นี่แหละ ไม่ต้องดูแลอะไร มีรายได้จากการเก็บไข่ขายอีกนะ”

“ไข่คืออะไรครับ”

“ไข่ก็คือส่วนที่อยู่บนใบบุก เอาไปปลูกขยายพันธุ์ต่อ”

“ราคา”

“โลละ 2-300 บาทเชียวนะ ตามขนาดใหญ่เล็ก” เชื่อแล้วครับ ได้เห็นกับตา เกษตรผสมผสานบนที่สูงที่มีอะโวกาโดเป็นพระเอก สร้างรายได้ให้เกษตรกรอย่างมั่นคงและยั่งยืนได้แน่ๆ งานนี้หากท่านใดสนใจก็โทร.สอบถามกับผู้ใหญ่ไพเราะได้เลยนะครับ ผมนัดกันแล้ว กรกฎาคมศกนี้ จะไปอีกสักรอบ ก็…อะโวกาโดกำลังสุกนะสิ

กำนันเกรียงศักดิ์ ชิตเจริญ อยู่บ้านเลขที่ 9/2 หมู่ที่ 1 ตำบลบางน้ำผึ้ง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ได้มีวิธีการจัดการน้ำเพื่อการเกษตรด้วยการลงมือทำด้วยตนเอง เพราะพื้นที่บริเวณนี้คนทั่วไปมองว่าไม่สามารถปลูกพืชผลทางการเกษตรได้

กำนันเกรียงศักดิ์ เล่าว่า เนื่องจากสมัยก่อนพื้นที่บริเวณนี้เคยเป็นที่รกร้างมาก่อน จึงได้ขอเช่าจากเจ้าของที่ดินเพื่อมาใช้ประโยชน์ทำการเกษตรสร้างรายได้ “พื้นที่บริเวณนี้มันปลูกอะไรไม่ค่อยได้ เพราะว่าน้ำเค็มมันมา ผมก็เลยอยากจะลองทำเกษตร กักน้ำจืดไว้ใช้เพื่อสู้กับน้ำเค็ม เพราะหลัง 2 ปีมานี่ เราวิกฤตเรื่องน้ำ พอน้ำมาน้อย น้ำทะเลมันก็จะหนุนมา ทำให้พื้นที่แถวนี้กลายเป็นมีน้ำเค็ม 10 เดือน น้ำจืด 2 เดือน ซึ่งก็ถือว่าเป็นผลดีอีกอย่างกับผลไม้บางชนิด เพราะปลูกที่นี่จะมีรสชาติที่หวาน อย่างเช่น มะม่วง กล้วยหอม” กำนันเกรียงศักดิ์ กล่าว

สังเกตน้ำเค็มจะหนุนมา
สังเกตได้จากสัตว์น้ำตามธรรมชาติ
กำนันเกรียงศักดิ์ บอกว่า วิธีที่จะรู้ได้ดีที่สุดเวลาที่น้ำเค็มจะเข้ามาในพื้นที่ สังเกตจากปลาเสือที่ว่ายน้ำเข้ามาในพื้นที่เพื่อมาอยู่ในบริเวณน้ำจืด ก็จะเตรียมขังน้ำไว้ โดยปิดที่กันที่มีลักษณะคล้ายฝาย เพื่อกักน้ำจืดไว้ในสวนไม่ให้ออกจากล่องสวนไป

“ผมก็เอาต้นมะพร้าวที่ตายๆ ขุดมา แล้วมาวางเรียงกัน จากนั้นปักหลักลงไป ส่วนข้างใต้เราก็วางท่อตรงข้างล่างฝายเพื่อใช้สำหรับไว้เติมเวลาที่น้ำจืดมา เราจะได้มีน้ำเข้ามาภายในสวน จากนั้นเราก็ใส่ดินเป็นคันกั้นขึ้นมาเรื่อยๆ ดินยุบเราก็ใส่ใหม่เรื่อยๆ อย่าให้ต่ำกว่าระดับน้ำเค็ม เพื่อที่น้ำเค็มจะได้ไม่เข้ามาในพื้นที่น้ำจืดของเรา เราจะได้นำมารดน้ำต้นไม้ที่เราปลูกได้” กำนันเกรียงศักดิ์ กล่าว

น้ำ นับว่าเป็นสิ่งที่สำคัญ
ทุกสิ่งบนโลกนี้ขาดน้ำไม่ได้
จากความสำเร็จที่ได้ลงมือให้พื้นที่ที่ดูเหมือนไม่น่าจะปลูกพืชผลทางการเกษตรได้ ณ เวลานี้ กลับประสบผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจสำหรับกำนันเกรียงศักดิ์ที่ได้ทดลองทำในวิธีนี้

“การเกษตรทุกอย่างจริงๆ มันไม่ยากนะ ขอให้มีน้ำอย่างเดียว เพราะถ้าเรามีน้ำไม่ว่าจะทำอะไร มันก็ได้หมด แต่ถ้าไม่มีน้ำนี่สิ ทุกอย่างมันจบหมด ตอนนี้พื้นที่ผมก็ปลูกทั้งพริกขี้หนู ถั่วฝักยาว ก็ได้ผลผลิตพอจำหน่ายได้ เพราะเก็บผลผลิตได้เร็วด้วย ใครสนใจก็ลองเอาไปทำดู” กำนันเกรียงศักดิ์ กล่าว

ซึ่งปัจจุบันพื้นที่แห่งนี้สามารถปลูกไม้ผลได้หลากหลาย รวมทั้งพืชผักสวนครัว เป็นการสร้างรายได้ให้กับกำนันเกรียงศักดิ์ได้เป็นอย่างดี บอนสีเป็นไม้ประดับที่มีความสวยงาม ได้รับการขนานนามว่าเป็น “ราชินีแห่งไม้ใบ” ด้วยรูปร่างและสีสันของใบที่เป็นเอกลักษณ์นี้เอง จึงทำให้เป็นที่สนใจของผู้ปลูกที่ทำการพัฒนาพันธุ์ให้มีลูกไม้ใหม่อยู่เสมอ ซึ่งการทำให้เป็นลูกไม้ใหม่จะเกิดจากการผสมพันธุ์ให้เกิดเป็นเมล็ดใหม่ จากนั้นนำเมล็ดที่ได้มาปลูกจนได้อายุที่ต้นมีความสมบูรณ์และมีหัวสะสมอาหารอยู่ใต้ดินคล้ายหัวเผือก เมื่อเห็นว่ามีลักษณะต้นที่ดีก็จะนำมาขยายพันธุ์ทำจำนวนมากๆ ต่อไป ซึ่งการขยายพันธุ์บอนสีที่มีการเพิ่มจำนวนให้ได้มากๆ นั้น จะเน้นผ่าหัวเป็นหลัก จึงทำให้ได้ต้นใหม่ที่เหมือนพ่อแม่พันธุ์และทำจำนวนได้เร็วทันต่อตลาด

คุณพิเชษฐ สุดธูป เกษตรกรปลูกบอนสีอยู่ที่ตำบลทวีวัฒนา อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี เป็นผู้ที่ริเริ่มปลูกบอนสีคนแรกในครอบครัว คือคุณพ่อ ซึ่งสมัยนั้นคุณพ่อของเขามีความสนใจในบอนสีมาก จะผลิตไม้ส่งเข้าประกวดแทบทุกงาน จึงทำให้คุณพิเชษฐได้เรียนรู้และรับเทคนิคต่างๆ จากคุณพ่อ และสามารถสร้างเป็นรายได้ของเขาเองมาจนถึงปัจจุบัน

คุณพิเชษฐ บอกว่า สมัยก่อนนั้นหลังเรียนจบยังไม่ได้มาปลูกบอนสีไปทำงานบริษัทอยู่ก่อน แต่เมื่อทำงานบริษัทได้สักพักเริ่มรู้สึกว่ามันไม่ใช่ทาง จึงตัดสินใจออกจากงานมาทำการปลูกบอนสีเต็มตัว โดยในช่วงแรกของการทำสวนจะหาซื้อบอนสีจากคนที่รู้จักและจากตลาดที่มีการขายบอนสี บวกกับนำของเก่าที่ตัวเขาเองมีมาผสมพัฒนาพันธุ์ เพื่อให้ได้สายพันธุ์ใหม่ๆ มากขึ้น

สำหรับการผลิตบอนสีให้ได้คุณภาพนั้น คุณพิเชษฐ เล่าว่า จะเลี้ยงบอนสีให้โตจนมีหัวคล้ายกับหัวเผือก โดยบอนสีที่มีหัวได้ขนาดเท่าที่ต้องการจะใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 5-6 เดือน จึงนำหัวบอนสีมาล้างน้ำให้สะอาด แล้วนำมาผ่าเป็นชิ้นๆ แล้วชำในกระบะทรายเป็นเวลาประมาณ 1 เดือน เมื่อบอนสีงอกและแทงใบออกมา นำต้นกล้ามาปลูกใส่กระถางขนาด 4 นิ้ว วัสดุที่ใช้ปลูกคือ ใบก้ามปูผสมกับดิน ในอัตราส่วน 3 ต่อ 1 จากนั้นนำมาวางในตู้อบพลาสติกขนาด 1.30×3 เมตร ด้านบนของโรงเรือนพรางแสงด้วยซาแรน 70 เปอร์เซ็นต์ ใช้เวลาอีกประมาณ 1 เดือนครึ่ง ก็สามารถขายเป็นไม้ตลาดได้

หากยังไม่ขายในระยะนี้ จะนำไปเปลี่ยนปลูกลงในกระถาง 6 นิ้วต่อไป ใช้เวลาดูแลอีกประมาณ 2 เดือน ก็สามารถขายเป็นไม้ใหญ่ที่มีทรงต้น ทรงใบที่สวยเต็มที่ ลูกค้าสามารถดูสีของใบได้เมื่อเทียบกับไม้ที่มีขนาดเล็ก ส่วนการให้น้ำจะดูตามสภาพอากาศ ถ้าอากาศร้อนบอนสีจะดูดน้ำมาก ที่ก้นของกระถางควรมีจานรองเพื่อให้น้ำขังอยู่ตลอด เพราะจะทำให้บอนสีเจริญเติบโตได้ดี

“การดูแลบอนสีของผม ทุกกระถางจะไม่เน้นการใส่ปุ๋ยเคมี จะเน้นการเปลี่ยนดินใบก้ามปูเป็นหลัก จะให้โตแบบธรรมชาติ เพราะใบก้ามปูเขามีสารอาหารน่าจะครบแล้ว ฟอร์มของใบจะดีกว่า ถ้าใส่ปุ๋ยเวลาที่ลูกค้าซื้อไป มันก็จะไม่ค่อยดี หลังจากที่ซื้อไปได้สัก 3 เดือน จะทำให้ไม้ทรุดโทรม สำหรับใครที่มีไม้อยู่ที่บ้าน แล้วต้นโตไม่ค่อยดี แนะนำว่าเปลี่ยนดินใหม่ดีกว่า โดยหาใบก้ามปูแท้ๆ ทำให้ไม้ได้รับธาตุอาหารใหม่ๆ ด้วย ซึ่งใบก้ามปูอาจจะซื้อตามร้านก็ได้” คุณพิเชษฐ บอก

สำหรับแมลงศัตรูพืชที่จะมารบกวนบอนสีที่ปลูกนั้น คุณพิเชษฐ บอกว่า จะไม่ค่อยพบปัญหาเรื่องนี้ เพราะบอนสีอยู่ในตู้อบ ทำให้ไม่มีการเข้าทำลายของแมลง แต่ถ้านำบอนสีออกมาไว้ข้างนอกเพื่อทดลอง ดูการทนต่อสภาพแวดล้อม อาจมีการเข้าทำลายของหนอนแก้วในช่วงปลายฝนต้นหนาว ป้องกันด้วยการพ่นยาประมาณเดือนละ 1 ครั้ง

สำหรับการขายบอนสี ตลาดส่วนใหญ่จะมาจากการที่นำบอนสีเข้าประกวด จึงมีคนที่เข้าชมการประกวดได้รู้จักเขามากขึ้น ยิ่งตอนนี้ตลาดออนไลน์ค่อนข้างมาแรง ก็จะมีเน้นขายทางออนไลน์เข้ามาช่วยอีกแรงจึงทำให้สามารถขายได้ง่ายขึ้น โดยจะขายทั้งราคาปลีกและส่ง ซึ่งราคาบอนสีมีราคาตั้งแต่ 35 บาทขึ้นไป จนถึงหลัก 1,000 บาทต่อกระถาง ส่วนบอนสีที่มีราคาสูงๆ เป็นหลักแสนบาทนั้น ทางสวนของเขาก็มีผลิตบ้างเพื่อรองรับลูกค้าที่จะนำไปพัฒนาต่อ

“ตลาดที่ผมทำก็มีทั้งขายในไทยและส่งออกนอก อย่างช่วงนี้มีโควิด อาจจะส่งออกนอกลำบาก ก็จะมีการขายทางออนไลน์เป็นหลัก ดังนั้น คนที่สนใจ คือเราต้องชอบก่อน ใจเราต้องรัก เมื่อมีใจรักทุกอย่างมันจะตามมาเอง ซึ่งการเลี้ยงการดูแล ถ้าคุณรักมันจะเลี้ยงได้สวยได้งาม ส่วนเรื่องการตลาดหรือรายได้ที่จะได้มา มันจะเข้ามาโดยอัตโนมัติ” คุณพิเชษฐ บอก

“ทุเรียนปราจีน” ได้ประกาศขึ้นทะเบียนให้เป็นสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication : GI) อย่างเป็นทางการ มีผลตั้งแต่ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2559 ซึ่งการทำสวนทุเรียนของเกษตรกรในพื้นที่ ไม่ได้เน้นการทำสวนแบบจำนวนมาก โดยเกษตรกรแต่ละรายจะมีสวนทุเรียนที่สามารถดูแลกันเองได้ภายในครอบครัว จึงทำให้ผลผลิตที่ได้แต่ละปีมีการดูแลอย่างทั่วถึง พร้อมทั้งมีการใส่ใจในเรื่องของการผลิตให้ได้มาตรฐาน จีเอพี (GAP) ทำให้ผลผลิตมีคุณภาพและเป็นที่ต้องการของตลาด

คุณธัญญรัตน์ ชาญยงค์ อยู่บ้านเลขที่ 127/1 หมู่ที่ 2 ตำบลไม้เค็ด อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี ได้ทำสวนทุเรียนปลูกอยู่รอบบริเวณบ้านรวมกับพันธุ์ไม้อื่นๆ เมื่อถึงหน้าฤดูกาลทุเรียนออกผลก็จะดูแลอย่างดี ส่งผลให้ผลผลิตที่ได้มีรสชาติดี ผลผลิตได้คุณภาพเป็นที่ต้องการของลูกค้า และเมื่อทุเรียนหมดฤดูกาลไปก็จะได้ผลผลิตจากไม้อื่นทำรายได้แทน เธอจึงมีรายได้จากพืชหลากหลายชนิดทำรายได้ตลอดทั้งปี

คุณธัญญรัตน์ เล่าให้ฟังว่า ตั้งแต่เธอจำความได้ตั้งแต่สมัยเด็ก SBOBETG8.COM ครอบครัวของเธอก็มีสวนไม้ผลอยู่รอบบริเวณบ้าน โดยเน้นเป็นทุเรียนพันธุ์โบราณเป็นหลัก แต่ด้วยสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ส่งผลให้ทุเรียนเหล่านั้นตายไปจนหมดสวน ครอบครัวของเธอจึงได้หาต้นทุเรียนใหม่ๆ เข้ามาปลูกเพิ่มในพื้นที่บริเวณที่ตายไป พร้อมทั้งปลูกไม้ชนิดอื่นๆ เข้ามาแซมเป็นการเพิ่มผลผลิตให้มีหลากหลายมากขึ้น

“พื้นที่รอบบ้านมีเนื้อที่อยู่ประมาณ 12 ไร่ จะปลูกทุเรียนอยู่ที่ 500 ต้น โดยทำเป็นสวนแบบผสมผสาน แต่ทุเรียนเป็นผลผลิตหลักของสวน ซึ่งผลผลิตทุเรียนทำเงินรายปี พืชผักพลูกินใบเป็นรายได้รายวันและรายเดือน จึงทำให้ในแต่ละปีถึงไม่มีผลผลิตจากทุเรียน เราก็ยังมีผลผลิตชนิดอื่นที่สามารถสร้างรายได้อีกหลายๆ ช่องทาง ซึ่งอายุทุเรียนของสวนมากสุดอยู่ที่ 20 ปีขึ้น พอต้นไหนที่ตาย เราก็จะหาต้นใหม่เข้ามาปลูกอยู่เสมอ จึงทำให้ทุเรียนในสวนมีหลากหลายอายุ ปลูกเต็มทั่วทุกพื้นที่ที่จะจัดการได้” คุณธัญญรัตน์ บอก

ทุเรียนที่ปลูกภายในสวนทั้งหมด คุณธัญญรัตน์ บอกว่า จะให้มีระยะห่างระหว่างต้นอยู่ที่ 6-7 เมตร สายพันธุ์หลักที่นำมาปลูกจะมีทุเรียนพันธุ์หมอนทอง พันธุ์ก้านยาว และพันธุ์ชะนี หากเป็นต้นที่นำมาปลูกใหม่ๆ จะดูแลรดน้ำป้องกันโรคและแมลงให้เป็นอย่างดี ดูแลใช้เวลาประมาณ 4 ปี ต้นทุเรียนก็จะเริ่มให้ผลผลิตจำหน่ายได้

โดยทุเรียนที่เก็บผลผลิตจำหน่ายจนหมดปลายสิ้นเดือนมิถุนายนแล้ว หลังจากนั้นจะบำรุงต้นให้มีความสมบูรณ์ด้วยการใส่ปุ๋ยคอกและใส่ปุ๋ยสูตรเสมอสลับกัน พร้อมทั้งตัดแต่งกิ่งต้นทุเรียนภายในสวนทั้งหมด ดูแลไปเรื่อยๆ ต้นทุเรียนจะเริ่มออกดอกอีกครั้งในช่วงเดือนธันวาคมเมื่อเข้าสู่เดือนมกราคมดอกจะเริ่มบาน ดูแลรดน้ำให้กับต้นทุเรียนตามปกติพร้อมทั้งใส่ปุ๋ยคอกเสริมเข้าไป หลังจากนั้นไม่นานก็จะได้ผลผลิตที่สามารถเก็บจำหน่ายได้ในช่วงเดือนพฤษภาคม

“ผลทุเรียนที่เราไว้ต่อต้น ก็จะประมาณ 20-30 ผล จะไม่เน้นให้มีผลมาก เพราะต้องการให้แต่ละผลมีคุณภาพ ผลที่เราเห็นว่าไม่ดีไม่สมบูรณ์ก็จะเด็ดออกทันที ในช่วงที่ต้นมีผลแล้วก็จะดูแลป้องกันแมลงศัตรูพืชเป็นระยะ เพื่อไม่ให้ผลเกิดความเสียหาย โดยในอนาคตมองไว้ว่า จะปรับเปลี่ยนทำสวนทุเรียนให้เป็นระบบอินทรีย์มากขึ้น จะไม่ใช้สารเคมีในการผลิต ก็จะยิ่งช่วยให้ผลผลิตมีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น” คุณ ธัญญรัตน์ บอก

ในเรื่องของการทำตลาดเพื่อจำหน่ายทุเรียนภายในสวนนั้น คุณธัญญรัตน์ บอกว่า จังหวัดปราจีนบุรีมีการจัดงานเกษตรของจังหวัดขึ้นทุกปี เมื่อผลผลิตภายในสวนมีก็จะนำไปออกร้านจำหน่ายภายในงาน จึงทำให้ลูกค้าที่มาเที่ยวงานได้ลองชิมและติดใจในรสชาติ เมื่อแต่ละปีทุเรียนในสวนเริ่มมีผลผลิต ลูกค้าก็จะมาติดต่อสั่งจองถึงหน้าสวน จึงทำให้ผลผลิตในสวนจำหน่ายได้หมดโดยไม่ต้องออกร้านเหมือนเช่นสมัยก่อน

“ปัจจุบัน สื่อโซเชียลมีการพัฒนามากขึ้น เราก็จะทำช่องทางการขายออนไลน์ด้วย ให้ลูกค้าที่ติดตามสวนเราได้รู้ว่าช่วงนี้เรามีสินค้าอะไรบ้าง เราก็จะโพสต์อยู่เสมอๆ พอเขาสนใจ ก็จะสั่งจองเข้ามา และมารับถึงที่สวน พร้อมทั้งเดินท่องเที่ยวสวนไปด้วย ได้รับทั้งความรู้และทานทุเรียนจากสวนโดยตรง ซึ่งทุเรียนหมอนทองขายอยู่ที่กิโลกรัมละ 150 บาท ทุเรียนก้านยาว กิโลกรัมละ 250 บาท และทุเรียนชะนีขายอยู่ที่กิโลกรัมละ 100 บาท ผลผลิตเฉลี่ยต่อปี รวมๆ กันก็อยู่ที่ 1.5 ตัน ก็ถือว่าเป็นรายได้ที่อยู่ได้ เป็นสวนที่เราทำเองและใช้แรงงานในครอบครัวเป็นหลัก” คุณธัญญรัตน์ บอก