โดยปริมาณของผลผลิตแต่ละสายพันธุ์จะไม่เท่ากันดูตามความ

และอายุของต้น ยิ่งต้นที่มีอายุมากผลผลิตก็จะมากตาม เช่น บัคคาเนียร์ บูธ 7 ปีเตอร์สัน จะให้ผลผลิตที่เยอะเพราะลูกค่อนข้างใหญ่ แต่ถ้าเป็นแฮส จะให้ผลผลิตที่น้อยลงมาหน่อย เนื่องจากพันธุ์แฮสมีลักษณะทรงผลที่เล็ก น้ำหนักก็น้อยตามลงไปด้วย และแฮส ถือเป็นสายพันธุ์ที่ปลูกยากมากที่สุด เพราะปัจจัยสำคัญในการปลูกขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ อากาศต้องดี และต้องปลูกในพื้นที่สูงห่างจากระดับน้ำทะเล 500 เมตรขึ้นไป ซึ่งพื้นที่สวนตรงนี้มีความสูงห่างจากระดับน้ำทะเลประมาณ 900 เมตร เพราะสายพันธุ์นี้จะให้ผลผลิตดีในพื้นที่สูง และเป็นพันธุ์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด จะมีราคาขายที่สูงกว่าพันธุ์อื่นๆ อย่างตอนนี้โครงการหลวงรับซื้อหน้าสวนราคา 80 บาท ต่อกิโลกรัม ราคาขายปลีกอยู่ที่ประมาณ 150-200 บาท ต่อกิโลกรัม ส่วนราคาของสายพันธุ์อื่นๆ ที่สวนก็จะขายตามราคาอ้างอิงจากโครงการหลวงอีกเช่นกัน

แนะนำสิ่งที่เกษตรกรควรระวัง

โดยส่วนตัวแล้วพี่ชาบอกว่า ผลผลิตของที่สวนตอนนี้ไม่ได้รับผลกระทบอะไรจากการที่เริ่มมีเกษตรกรหลายพื้นที่หันมาปลูกอะโวกาโดเป็นพืชสร้างรายได้กันมากขึ้น เนื่องจากอะโวกาโดไม่ได้เป็นพืชที่ปลูกง่ายได้ทุกพื้นที่ แต่สิ่งที่กังวลก็คือกลไกการตลาด ที่มักจะมีพ่อค้าจากไทยข้ามไปรับอะโวกาโดของเวียดนามเข้ามาขายตีกับผลผลิตในประเทศ เพราะถ้าสินค้าจากทางฝั่งเวียดนามล้นเข้ามาเยอะ จะส่งผลต่อราคาในประเทศไทย

“คือพ่อค้าคนไทยไปรับผลผลิตจากเวียดนามในราคาถูก แล้วมาขายในประเทศราคาแพง เนื่องจากอะโวกาโดในประเทศค่อนข้างมีราคาสูง กว่าจะมาถึงผู้บริโภคอย่างเราก็กิโลกรัมละหลายบาท”

เพราะฉะนั้นวิธีรับมือของเกษตรกรคือการวางแผนก่อนปลูก คือการศึกษาสายพันธุ์ และช่วงเวลาการเก็บเกี่ยวผลผลิตของไทยและเวียดนามไม่สินค้าออกมาตรงกัน

ซึ่งตอนนี้ที่สวนมีตลาดรับซื้อหลักๆ คือ 1. พ่อค้าคนกลางที่เข้ามารับซื้อถึงสวน 2. ตลาดออนไลน์ และ 3. ขับไปส่งตลาดกลางที่มีการซื้อขายกันเป็นประจำ โดยอะโวกาโดเป็นผลไม้ที่มีข้อดีคือ เกษตรกรสามารถกำหนดราคาขายได้เอง เป็นพืชที่ยังไม่ถูกพ่อค้าคนกลางเข้ามาแทรกแซงเท่าไหร่ เพราะการขาย เกษตรกรจะยึดราคาตามตลาดกลางเป็นหลัก หากพ่อค้าคนไหนให้ราคาถูกกว่าตลาดกลางเราจะไม่ขายให้ และสิ่งที่จะทำให้การซื้อขายของเรากับพ่อค้าประจำอยู่กันได้นาน ส่วนหนึ่งคือเรื่องของคุณภาพ และมีการเคลมสินค้าให้ใหม่หากสินค้าเกิดความเสียหาย เหมือนกับการใช้ใจแลกใจเขาก็จะอยู่กับเราไม่ไปไหน

“ในอีก 2-3 ปีข้างหน้า ในวันที่ต้นอะโวกาโดที่สวนพี่ต้นโตสมบูรณ์ ให้ผลผลิตได้เต็มที่ พี่ได้มีการคาดการณ์รายได้ต่อปีไว้ว่า จะต้องได้ไม่ต่ำกว่า 1,500,000 บาทต่อปี หักต้นทุนการดูแลเพียง 20 เปอร์เซ็นต์ ถือเป็นพืชที่สร้างรายได้ดี และมีความพึงพอใจกับรายได้มากๆ” พี่ชา กล่าวทิ้งท้าย

หากท่านใดสนใจอยากเข้าเยี่ยมชมสวนอะโวกาโด เพื่อศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการปลูก การดูแล หรืออยากมาท่องเที่ยว ที่นี่ยินดีต้อนรับ แต่พี่ชาแนะนำว่าให้เริ่มมาตั้งแต่ช่วงเดือนกันยายนเป็นต้นไป เพราะจะเป็นช่วงที่ผลผลิตของที่สวนออก สามารถติดต่อได้ที่เบอร์โทร. 094-742-4645

“ฟางข้าว” นั้น มีคุณค่าทางอาหารต่ำ หากนำไปใช้เป็นอาหารให้โค กระบือ อย่างเดียวเป็นเวลานาน อาจทำให้สัตว์มีสภาพร่างกายไม่สมบูรณ์ นอกจากนี้ ฟางนั้นมีอัตราการย่อยต่ำ ทำให้ฟางอยู่ในกระเพาะหมักเป็นเวลานาน เพราะจุลินทรีย์ต้องใช้เวลาในการย่อยมากขึ้น จึงควรมีการปรับปรุงคุณภาพของฟางก่อนที่จะนำมาใช้ในการเลี้ยงสัตว์ เพื่อเพิ่มคุณค่าทางอาหารให้สูงขึ้น และสัตว์สามารถใช้ประโยชน์ได้ดีขึ้น

การทําฟางหมัก หรือการทําฟางปรุงแต่งใช้เลี้ยงโค กระบือ มีวิธีทําดังนี้ ปูพลาสติก ขนาด 5×5 เมตร ลงบนพื้นเรียบ ขอบพลาสติกยกเป็นขอบทั้ง 4 ด้าน ป้องกันน้ำไหลออกจากกองฟางหมัก นําฟางแห้งสะอาด น้ำหนัก 40 กิโลกรัม วางลงบนแผ่นพลาสติก เกลี่ยให้เรียบเสมอกัน รดน้ำให้ชุ่มทั่วกันแล้วตามด้วยน้ำละลายยูเรีย 2 กิโลกรัม และกากน้ำตาล 2 กิโลกรัม รดลงบนกองฟาง ทําเช่นเดียวกันอีก 2 ชั้น เมื่อครบ 3 ชั้น จึงคลุมทับลงบนกองฟางด้วยพลาสติก ขนาด 8×8 เมตร ทับขอบพลาสติกด้วยวัสดุที่มีน้ำหนัก ใช้ฟางคลุมทับลง อีกหนึ่งชั้นเพื่อป้องกันแสงแดดส่อง

หมักไว้นาน 4 สัปดาห์ ฟางจะกลายสภาพเป็นฟางหมัก หรือฟางปรุงแต่งที่มีคุณค่าทางอาหารของสัตว์สูงขึ้น ก่อนนําไปเลี้ยงสัตว์ต้องเปิดพลาสติกออกทิ้งไว้นาน 4-5 ชั่วโมง

ทั้งนี้ มีข้อควรระวังคือ พยายามอย่าให้พลาสติกเป็นรู เพราะก๊าซแอมโมเนียจะระเหยออกไป ทําให้การปรุงแต่งฟางไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร นอกจากนี้ ยังไม่ควรให้ฟางในกองถูกแสงแดด เพราะจะมีอุณหภูมิสูงขึ้นทําให้ก๊าซแอมโมเนียขยายตัวและลอยขึ้นข้างบน จะทําให้ฟางที่อยู่ด้านล่างคุณภาพไม่ดีเท่าที่ควร

และหากต้องการจะให้ได้ผลดียิ่งขึ้น ควรเสริมด้วยใบกระถิน หรือใบแคแห้ง 2 กิโลกรัม และรําข้าว 1 กิโลกรัม มะเดื่อฝรั่ง (Fig) มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันตก ตะวันออกกลาง ประเทศในแถบลุ่มแม่น้ำเมดิเตอร์เรเนียนของยุโรปและแอฟริกาเหนือ พบมากในประเทศตุรกีและกรีซ เป็นพืชสกุลเดียวกับต้นโพธิ์ ต้นไทร มะเดื่อไทย อยู่ในวงศ์เดียวกับหม่อน (มัลเบอร์รี่) เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลักษณะลำต้นและใบต่างจากมะเดื่อไทย มะเดื่อฝรั่งมีขอบใบหยักลึก 3-5 หยัก ใบเดี่ยวหนาค่อนข้างแข็ง ด้านหนึ่งมีขนอ่อน ส่วนผิวด้านบนหยาบ ผลใหญ่ และมีรสชาติดีกว่า

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมูลนิธิโครงการหลวง ได้นำมะเดื่อฝรั่งเข้ามาปลูกและทำการศึกษาวิจัยมากว่า 25 ปี เพื่อจะให้มะเดื่อฝรั่งเป็นพืชที่สร้างรายได้ให้กับชาวไทยภูเขา ทดแทนการปลูกฝิ่น ปัจจุบัน มะเดื่อฝรั่ง กำลังเป็นที่ได้รับความสนใจ มีผู้สั่งกิ่งพันธุ์มะเดื่อฝรั่งเข้ามา พื้นที่เพาะปลูกเริ่มเพิ่มขึ้น ซึ่งแต่ละรายมีวิธีการเพาะปลูก การดูแลรักษาแตกต่างกันออกไป ที่เซฟตี้ ฟาร์ม (Safety Farm) จังหวัดลำปาง มีวิธีการเพาะปลูกมะเดื่อฝรั่ง การดูแลรักษาที่เป็นรูปแบบเฉพาะ โดยเน้นการปลูกที่ปลอดสารพิษปราศจากสารเคมีที่ใช้ป้องกันและกำจัดศัตรูพืช

เซฟตี้ ฟาร์ม (Safety Farm) ดำเนินการและบริหารงานโดย คุณปิยะ วงศ์จันทร์ เป็นชาวกรุงเทพฯ ไม่ได้มีพื้นฐานทางด้านการเกษตร สำเร็จการศึกษาทางด้านการตลาด ก่อนมาปลูกมะเดื่อฝรั่งผ่านงานมาหลายอย่าง เริ่มการทำงานกับสื่อสิ่งพิมพ์ ตั้งแต่ หนังสือ IS Song Hit ของ เล็ก วงศ์สว่าง, หนังสือนำเที่ยวอย่าง Vision on Thailand เป็นเอเยนซี่ในงานโฆษณา งานเฟอร์นิเจอร์ จนมาเป็นตัวแทนขายไม้อัดพาร์ติเคิลบอร์ด (Particleboard) ของ บริษัท วนชัย

ภรรยาของคุณปิยะเป็นชาวลำปาง เมื่อปี 2554 ได้ย้ายครอบครัวมาอยู่จังหวัดลำปาง เริ่มจากการปลูกเมล่อนอยู่ที่อำเภอห้างฉัตร จำนวน 8 โรงเรือน ขนาดของโรงเรือน 6 คูณ 15 เมตร ริเริ่มการใช้เชือกขึงให้เมล่อนไต่ขึ้น เมื่อผู้คนหันมาปลูกเมล่อนกันอย่างกว้างขวาง จึงคิดจะเปลี่ยนพืชชนิดใหม่มาปลูก โดยตั้งใจไว้ว่า ต้องเป็นพืชที่ไม่ต้องมีการปลูกทุกฤดูหรือทุกปีอย่างเช่นเมล่อน

มะเดื่อฝรั่ง ผลไม้เพื่อสุขภาพ
คุณปิยะติดใจรสชาติมะเดื่อฝรั่งของมูลนิธิโครงการหลวง และมองเห็นลู่ทางการตลาดของไม้ผลชนิดนี้ เนื่องจากยังปลูกกันไม่แพร่หลายมากนัก คุณปิยะได้ศึกษาหาความรู้มะเดื่อฝรั่งจากสื่อต่างๆ ตลอดจนการไปเยี่ยมชมแหล่งที่ปลูกมะเดื่อฝรั่ง พอมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องมะเดื่อฝรั่งระดับหนึ่ง พบว่า มะเดื่อฝรั่งเป็นผลไม้ที่มีรสชาติดี ประโยชน์มาก มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ให้พลังงานสูง มีคอเลสเตอรอลไขมันน้อยมาก เหมาะกับผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคตับ ช่วยบำรุงร่างกายและต่อต้านอนุมูลอิสระและประโยชน์อื่นๆ อีกมากมาย

ผลมะเดื่อฝรั่งยังใช้ทำขนม ทำแยม น้ำมะเดื่อ อบแห้ง ผลไม้กวน พุดดิ้ง เค้ก ไอศกรีม ใช้ผสมในชาไข่มุก ใส่ขนมแทนลูกเกด ผลแห้งนำไปคั่วมาป่นใช้แทนกาแฟได้ ใบของสายพันธุ์ที่มีกลิ่นหอมทำเป็นชาใบมะเดื่อได้เช่นกัน

มะเดื่อฝรั่ง เป็นพืชที่ปลูกง่าย เหมาะกับสภาพภูมิอากาศในบ้านเรา ให้ผลผลิตเร็ว ซึ่งตรงกับความตั้งใจไว้ก็คือมะเดื่อฝรั่งเป็นต้นไม้ที่มีอายุยืนยาวมากกว่า 100 ปี สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้นานหลาย 10 ปี ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดินและสภาพภูมิอากาศ จากข้อดีของมะเดื่อหลายๆ ด้าน คุณปิยะตัดสินใจเลือกมะเดื่อฝรั่งเป็นพืชที่จะปลูกต่อไป

คุณปิยะเริ่มต้นปลูกมะเดื่อฝรั่งในโรงเรือน 2 โรงเรือน ขนาด 15 คูณ 30 เมตร และขนาด 18 คูณ 30 เมตร ความสูง 4 เมตร หลังคาพลาสติกด้านข้างมุงด้วยมุ้งลวด เนื่องจากไม่ต้องการใช้สารเคมีกับมะเดื่อฝรั่ง คุณปิยะจึงปลูกมะเดื่อฝรั่งในโรงเรือนเพื่อป้องกันโรคและแมลงรบกวน โดยเฉพาะแมลงหวี่ ไม่ให้แมลงหวี่เล็ดลอดเข้ามาแม้เพียงตัวเดียวเพราะจะทำความเสียหายให้กับผลมะเดื่อฝรั่งทั้งโรงเรือนได้

คัดเลือกสายพันธุ์ดี
คุณปิยะได้สั่งกิ่งพันธุ์จากต่างประเทศเข้ามาศึกษาข้อดีข้อเสียของแต่ละสายพันธุ์ จนได้สายพันธุ์ที่มีรสชาติหวานอร่อย ผลโต มีกลิ่นหอม ให้ผลดกและติดผลง่าย จำนวน 7 สายพันธุ์ เพื่อทำเป็นการค้าให้รหัสพันธุ์ไว้ เป็น SF001 ถึง SF007 (SF มาจาก Safety Farm) เป็นสายพันธุ์เพื่อรับประทานผลสด 2 สายพันธุ์ สายพันธุ์เพื่ออบแห้ง 2 สายพันธุ์ และสายพันธุ์เพื่อการแปรรูป 3 สายพันธุ์

คุณปิยะนำต้นแม่พันธุ์ปลูกลงดินภายในโรงเรือน ให้น้ำแบบมินิสปริงเกลอร์ด้วยระบบอัตโนมัติ วันละ 2 ครั้ง ครั้งละเพียง 2 นาที ใช้น้ำประมาณ 1,000 ลิตรต่อวัน ใช้น้ำประปาจากหมู่บ้าน เสียค่าน้ำวันละ 10 บาท ให้ปุ๋ยไปพร้อมกับการให้น้ำ สลับกับการใช้ EM ใส่ปุ๋ยมูลวัวเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อให้ได้รสชาติและการปรับปรุงโครงสร้างของดิน มะเดื่อฝรั่งเริ่มให้ผลเมื่ออายุ 6 เดือน อายุได้ 8 เดือน ให้ผลเต็มที่ ผลผลิตออกมามากเป็นที่น่าพอใจ

ขยายพันธุ์โดยการตอนกิ่ง
คุณปิยะขยายพันธุ์โดยใช้วิธีการตอนกิ่ง เน้นเลือกต้นที่มีความสมบูรณ์ กิ่งสวยหลังกรีดลอกเปลือกกิ่งออก ใช้พีทมอสส์ (Peatmoss) หุ้มแทนขุยมะพร้าว ประมาณ 15 วัน จึงเริ่มออกราก แกะถุงพลาสติกออก นำกระถางพลาสติก (7 นิ้ว) ตัดผ่าซีกล้อมตุ้มตอนมัดรอบนอกกระถางให้แน่น ใส่พีทมอสส์จนเต็ม ทิ้งไว้ประมาณ 10 วัน จึงตัดออก พักในที่ร่มโดยไม่ต้องเปลี่ยนลงกระถางสักระยะก็พร้อมที่จะปลูกต่อไป ส่วนกิ่งตอนที่ไม่ได้ล้อมด้วยกระถาง เมื่อกำหนดตัดกิ่งต้องนำมาใส่กระถางด้วยพีทมอสส์เช่นกัน และนำไปเข้าโรงอบโดยไม่ต้องให้น้ำ ประมาณ 10-15 วัน จึงนำออกมาไว้ที่ร่ม 10 วัน ก็พร้อมที่จะปลูก

มะเดื่อฝรั่งแต่ละสายพันธุ์ ลักษณะใบมีขอบใบหยักลึกเหมือนกัน ยากต่อการจำแนก คุณปิยะ บอกว่า มีข้อสังเกตถึงความแตกต่างที่จำนวนหยัก ความลึกของการหยักจะต่างกัน ลำต้นก็ต่างกัน บางสายพันธุ์ต้นตั้งตรง บางสายพันธุ์ต้นทอดยาว จำนวนการแตกกิ่งก็ต่างกัน ส่วนสายพันธุ์ที่ไม่ได้คุณสมบัติตามต้องการจะตัดต้นออก นำตาของสายพันธุ์ดีมาติดแทน

เซฟตี้ ฟาร์ม ตั้งอยู่ภายในหมู่บ้านลำปางเมาท์เทนวิว หมู่ที่ 8 ตำบลพิชัย อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง ไม่ไกลตัวเมืองลำปาง ห่างจากตัวเมืองประมาณ 7 กิโลเมตร หมู่บ้านอยู่ติดกับถนนพหลโยธิน (ลำปาง-งาว) เยื้องกับโรงพยาบาลมะเร็งลำปาง เมื่อเข้าไปในหมู่บ้านประมาณ 150 เมตร เข้าขวามือซอยแรกเป็นที่ตั้งของโรงเรือนแม่พันธุ์

ผู้ที่สนใจพันธุ์มะเดื่อฝรั่งและไม้แปลก ต้องการมาเยี่ยมชมหรือมาศึกษาก่อนตัดสินใจปลูก ให้โทร.ติดต่อมาล่วงหน้า เบอร์โทร. 085-687-8778 หรือเข้าไปที่ Facebook : Safety Farm จะได้รับการต้อนรับด้วยความยินดีทุกท่าน

พวกเรามักจะคุ้นเคยกับ พี่เปิ้ล จารุณี (สุขสวัสดิ์) เดส์แน็ช ในบทบาทนางเอกและนักแสดงมากความสามารถที่มีผลงานทั้งหนังและละครมากว่า 200 เรื่อง ในปี 2548 เธอเซอร์ไพรส์วงการด้วยการเปิดธุรกิจนวัตกรรมสุขภาพและความงามร่วมกับหุ้นส่วนเภสัชกร ดร.ภญ.อาริญา สาริกะภูติ ภายใต้ชื่อบริษัท ไทยธรรม อัลไลแอนซ์ จำหน่ายผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงามในแบบธุรกิจขายตรง ซึ่งยาวนานมาจนถึง 18 ปี มาจนถึงทุกวันนี้ พร้อมด้วยรางวัลนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ดีเด่นระดับโลกถึง 32 รางวัล และในปี 2565 นี้ กับอีกบทบาทหนึ่ง ในการเป็นประธานวิสาหกิจชุมชน สทิล ยัง ฟาร์ม ใกล้กับสำนักงานเขตทวีวัฒนา บนเนื้อที่ 26 ไร่ กับการเกษตรยุคใหม่ ที่เธอบอกว่า “ทำเพื่อเกษตรกรไทยทุกคน”

โครงการ “สทิล ยัง ฟาร์ม” นี้มีที่มาที่ไป ที่ไม่ธรรมดา เนื่องมาจากหุ้นส่วนของเธอ ดร.ภญ.อาริญา สาริกะภูติ เป็นบุตรสาวคนเดียวของอดีตปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ผู้โด่งดังในเรื่องการพัฒนาเกษตรกรไทย “ดร.ยุกติ สาริกะภูติ” ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งมูลนิธิส่งเสริมยุวเกษตรกรไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในปี 2523 และเป็นที่มาของการที่ พี่เปิ้ล จารุณี (สุขสวัสดิ์) เดส์แน็ช เข้ามาร่วมเป็นกรรมการและรองประธานมูลนิธิฯ ตั้งแต่ปี 2559 โดยที่พี่เปิ้ลเองมีความรักในอาชีพเกษตรกรรมเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว

สทิล ยัง ฟาร์ม ก่อตั้งบนพื้นที่ 26 ไร่ บนถนนพุทธมลฑลสาย 3 ในปี 2562 บนพื้นที่ดินของ ดร.ยุกติ สาริกะภูติ เพื่อเป็นศูนย์ฝึกงานให้กับผู้ที่รักอาชีพเกษตรกรรม และเป็นหนึ่งในศูนย์อบรมยุวเกษตรกรไทยในโครงการ “เกษตรกรรุ่นใหม่” หรือ “New Gen Farmer” ซึ่งตัวฟาร์มเองได้มีการรับรองมาตรฐาน GAP หรือ เกษตรปลอดภัย จากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ตั้งแต่ปี 2562

ผลิตผลของฟาร์มมีตั้งแต่เมล่อนญี่ปุ่นสายพันธุ์บารมี ฝรั่งหงเป่าสือ ฝรั่งหงจ้วนสือ น้อยหน่าสับปะรด เสาวรสหม่าเทียนซิง พุทรากานเจ้าจื่อ กระท่อมปทุมธานีสายพันธุ์เหรียญทอง สายพันธุ์แมงดา กุหลาบสายพันธุ์บิชอบ เคล และเซเลอรี และกำลังตามมาด้วยโครงการขยายพันธุ์พืชเศรษฐกิจที่สามารถสร้างรายได้ให้เกษตรกรไทยอีกมากมาย ภายใต้ชื่อโครงการ “ทรัพย์ในดิน สินในน้ำ” พร้อมจำหน่ายพันธุ์พืชทุกชนิดที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง

สอนการทาบกิ่ง การตอน การขยายพันธุ์พืช และการทำตลาด เพื่อให้เกษตรกรไทยทุกคนมีรายได้ร่วมกัน และสำหรับผู้เป็นเจ้าของที่ดินไม่ว่าจะเป็นแปลงเล็ก แปลงใหญ่ หรือแม้แต่สวนหลังบ้าน ที่ สทิล ยัง ฟาร์ม จะมีคำตอบที่เหมาะสม ให้กับทุกคนที่สนใจงานด้านการเกษตร และดัดแปลงที่ดินเปล่าของท่านให้มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ เป็นการหารายได้ทั้งหลักและเสริมให้กับผู้รักอาชีพเกษตรกรรมและผู้สนใจทุกคน

แวะมาที่สทิล ยัง ฟาร์ม ด้านหน้าของไร่จะพบกับรูปหล่อบุรพกษัตริย์ไทยผู้ร่วมก่อสร้างประเทศไทย ซึ่งพี่เปิ้ล จารุณี บอกว่า แต่ละองค์มีที่มาที่ไป โดยมีพระอาจารย์วราห์ แห่งวัดโพธิ์ทองเป็นผู้มาทำการเบิกเนตร สนใจมาเยี่ยมชม สทิล ยัง ฟาร์ม “ฟาร์มชะลอวัย เกษตรปลอดภัย” และเข้าร่วมโครงการ “ทรัพย์ในดิน สินในน้ำ” แปลงที่ดินของท่านให้เป็นรายได้เลี้ยงตัวเองและครอบครัว ร่วมกับพี่เปิ้ล จารุณี เปิดเข้าไปดู Facebook ภายใต้ชื่อ Still Young Farm หรือติดต่อมาที่ คุณโอ๋ ผู้ประสานงานได้ที่โทร. 093-956-2659 พี่เปิ้ล ยินดีต้อนรับทุกคนค่ะ

คงไม่มีกรอบหรือข้อจำกัดใดๆ สำหรับคุณสมบัติของผู้ที่ต้องการมาทำเกษตรอินทรีย์ว่าจะต้องมี ความรู้ ร่ำเรียนมาเฉพาะสายเกษตร เดี๋ยวนี้หากสนใจสามารถหาข้อมูล ทั้งเนื้อหา ภาพ เสียง จากสื่อออนไลน์จำนวนมาก ฉะนั้น ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร มีความรู้ระดับไหน ก็สามารถเข้าถึงวงการเกษตรได้ไม่ยาก ขอเพียงใส่ใจให้เต็มที่เท่านั้น

อย่างเรื่องราวการทำเกษตรอินทรีย์ของหญิงสาวชาวราชบุรีท่านนี้ ที่ร่ำเรียนจนมีดีกรีปริญญาตรี ด้านบัญชีแล้วเบื่ออยู่กับตัวเลขที่นั่งทำงานในห้องแอร์ แต่กลับมาชอบเข้าสวนตากแดดปลูกผักอินทรีย์ ส่งขายกลุ่มลูกค้ารักสุขภาพในชุมชนท้องถิ่น พร้อมจับมือกับกลุ่มสมาชิกขยายผลส่งพืชผักผลไม้เข้าโมเดิร์นเทรด

คุณผกามาศ เพิ่มแสงสุวรรณ หรือ คุณนก เจ้าของไร่ทรงสุวรรณ อยู่เลขที่ 48/1 หมู่ที่ 5 ตำบลหนองโพ อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี เล่าที่มาของความชอบทำเกษตรว่า แต่เดิมทำงานด้านบัญชีอยู่ในกรุงเทพฯ ด้วยนิสัยที่ชื่นชอบปลูกต้นไม้ จึงใช้เวลาในวันหยุดกลับไปเยี่ยมบ้านเกิด แล้วทำสวนปลูกพืชไว้เป็นงานอดิเรก เนื่องจากที่บ้านมีพื้นที่ในการเลี้ยงวัวนมอยู่

ภายหลังลงมือปลูกพืชผักหลายชนิดจนประสบความสำเร็จ ทำให้ยิ่งมีความรู้สึกสนุกและผูกพัน จึงค่อยๆ พัฒนารูปแบบการปลูก ตลอดจนเพิ่มพันธุ์พืชอีกหลายชนิด กระทั่งพบว่าตัวเองหลงรักงานเกษตรเข้าอย่างเต็มที่ จากนั้นตัดสินใจเลิกอาชีพนักบัญชี แล้วผันตัวเองมาสู่วงการเกษตรอินทรีย์อย่างเต็มตัว แม้จะไม่ได้รับความเห็นชอบจากครอบครัวสักเท่าไร

คุณนก เล่าว่า จากสภาพพื้นที่เดิมก่อนจะมาใช้ประโยชน์ พบว่า ดินมีคุณภาพแย่มาก เพราะใช้ดินก้นบ่อที่ไม่มีธาตุอาหารมาถม ปลูกอะไรก็ไม่ได้ผล ทำให้ต้องปรับปรุงฟื้นฟูสภาพดินด้วยการใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ผสมคลุกเคล้ากับหญ้า นำไปใส่ในดินแล้วไถกลบไป-มา หลายครั้ง ทำเช่นนี้นานประมาณ 2 ปี จึงทำให้ดินกลับมามีสภาพดีขึ้นมาก สามารถปลูกพืชอะไรก็เจริญงอกงาม

เกษตรกรสาวรายนี้ตั้งใจทำเกษตรอินทรีย์ที่ไม่พึ่งเคมี แม้จะเป็นเรื่องยากและหนัก แต่มีความมุ่งมั่นต้องทำให้ได้ จึงเริ่มจากปลูกพืชผักที่ตัวเองชอบก่อน จนสามารถเรียนรู้เทคนิคการปลูกอย่างลึกซึ้ง แล้วเพิ่มจำนวน/ประเภทพืชผักสำหรับใช้บริโภคที่มีคุณค่าทางโภชนาการอีกหลายชนิด เพื่อปลูกส่งขายให้แก่ลูกค้าที่รักสุขภาพ จนในที่สุดสามารถทำเกษตรอินทรีย์ผสมผสานได้อย่างลงตัวครบวงจร ไม่ว่าจะเป็นการปลูกพืช ทำปุ๋ยอินทรีย์ เลี้ยงสัตว์ แถมยังนำไปขายทำการตลาดเองด้วย

พื้นที่ประมาณ 3 ไร่ สำหรับใช้ทำสวนอินทรีย์ผสมผสานสำหรับหญิงสาวคนนี้ถือว่ากำลังเหมาะสม คุณนก บอกว่าเมื่อก่อนเคยใช้พื้นที่ถึง 10 ไร่ แต่ประสบปัญหา เพราะเกินกำลังตัวเอง จึงปรับลดพื้นที่ลงเพื่อให้สามารถควบคุมคุณภาพผลผลิตได้อย่างใกล้ชิดทุกขั้นตอน

จากเวลา 4 ปี ของการสะสมประสบการณ์ที่ผ่านการลองผิด-ถูก ล้มเหลวและสำเร็จได้สร้างความแข็งแกร่งต่อคุณนกจนประสบความสำเร็จตามความตั้งใจ ในชื่อ “ไร่ทรงสุวรรณ” พร้อมกับกิจกรรมต่างๆ ประกอบด้วย

กลุ่มพืชผักสวนครัว อาทิ ผักชีฝรั่ง (ปลูกไว้จำนวนมาก) ผักชีไทย ขึ้นฉ่าย พริก มะนาว ตะไคร้ (ปลูกไว้บริเวณโดยรอบ)
ผักใบ อย่างผักโขม ดอกชมจันทร์ ถั่วฝักยาวสีม่วง ดอกขจร (ถือเป็นพืชชนิดแรกสำหรับการเริ่มต้นทำเกษตรอินทรีย์ของคุณนกที่ประสบความสำเร็จเป็นที่สนใจของลูกค้า ขายดีมาก จนต้องมาทำกิ่งพันธุ์ขายควบคู่ไปด้วย) นอกจากนั้น ยังเพาะเลี้ยงเห็ดหลินจือเพื่อไว้สำหรับนำมาแปรรูปเป็นน้ำเห็ดแล้วใส่เฉาก๊วยบรรจุใส่กระปุก ขนาด 200 มิลลิลิตร เพื่อเป็นของว่างสุขภาพที่ขายดีมากในกลุ่มผู้รักสุขภาพ

กลุ่มสัตว์เลี้ยง ได้แก่ ไก่ไข่ เป็ด วัวนม (ใช้มูลทำปุ๋ย) เลี้ยงปลา valenth.com สำหรับไก่ที่คุณนกเลี้ยงไว้เพื่อขายไข่ โดยในตอนแรกที่เริ่ม มีจำนวนไก่เพียง 10 ตัว เป็นการเลี้ยงแบบปล่อยตามธรรมชาติ แล้วเลี้ยงด้วยอาหารที่หาได้ในพื้นที่ทั้งเปียก/แห้ง ถ้าเป็นอาหารเปียกจะใช้หยวกกล้วย ร่วมกับพืชผักสมุนไพรและผลไม้ ส่วนอาหารแห้งจะเลี้ยงด้วยธัญพืชที่หาได้ง่ายในพื้นที่ ทั้งนี้เป็นการเลี้ยงเพื่อนำไข่ไปขาย จึงเป็นไข่ออร์แกนิกจากไก่อารมณ์ดีที่มีความสมบูรณ์แข็งแรง

จากกิจกรรมดังกล่าว จึงสามารถเก็บผลผลิตขายได้ทั้งแบบวันเว้นวัน จนไปถึงสัปดาห์ละครั้ง ส่วนผักก็ปลูกแบบหมุนเวียน ซึ่งแต่ละชนิดจะไม่ปลูกมาก แต่เน้นให้หลากหลายเพื่อสะดวกและง่ายต่อการเก็บผลผลิตนำไปขายสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง โดยยึดตามรอบการสั่งของลูกค้าตามแผนการปลูกที่วางไว้ ทั้งนี้ เพื่อต้องการให้ลูกค้าได้บริโภคของใหม่/สด ขณะเดียวกันผู้ผลิตก็สามารถขายสินค้าได้หมดโดยไม่เหลือเก็บไว้ให้เสียหาย

คุณนก ไม่ได้เป็นเพียงคนเดียวที่ประสบความสำเร็จจากเกษตรอินทรีย์ แต่เธอยังมีเพื่อนสมาชิกภายใต้อุดมการณ์เดียวกันอีกหลายคนที่ประสบความสำเร็จไม่แพ้กัน จึงทำให้พวกเขาสร้างกิจกรรมผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ร่วมกันขึ้นมา แล้วนำเสนอขายลูกค้าในแบบ “ปิ่นโต” คือเป็นแนวทางการขายสินค้าผลผลิตทางการเกษตรที่รวมกันหลายชนิด ทั้งพืช ผัก ผลไม้ หรืออาหารที่นำมาจากบรรดาสมาชิกในกลุ่ม เพื่อนำไปเสนอขายเป็นรายการให้แก่ลูกค้ากลุ่มผู้รักสุขภาพให้เลือกตามความต้องการ ขณะเดียวกันสมาชิกแต่ละรายไม่จำเป็นต้องปลูกพืชหลายชนิดก็ได้ โดยดูว่าใครถนัดปลูกอะไร แล้วนำมารวมกันขาย วิธีนี้จะช่วยให้การปลูกพืชไม่ยุ่งยาก อีกทั้งยังช่วยลดต้นทุนได้อีก

เจ้าของไร่ทรงสุวรรณ เผยถึงแนวคิดการผลิตอาหารอินทรีย์ว่า จากการที่ผู้บริโภคหันมาใส่ใจกับสุขภาพกันมากขึ้นเรื่อยๆ ขณะเดียวกันสินค้าอินทรีย์ที่ผลิตด้วยกรรมวิธีตลอดจนความใส่ใจที่มีวางจำหน่ายยังมีไม่มากนัก ดังนั้นเมื่อมองถึงความจำเป็น จึงปักหลักแล้วร่วมมือกับเพื่อนสมาชิกอีกหลายจังหวัดในเขตภาคตะวันตกผลิตอาหารอินทรีย์ที่ได้คุณภาพเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภคที่อยู่ในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ที่เป็นแม่บ้านและผู้สูงวัย นอกจากนั้น ยังเปิดบู๊ธจำหน่ายผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตรอินทรีย์ที่มีหลากหลายจากสมาชิกกลุ่มในชื่อแบรนด์ “ตะนาวศรี” ในห้างท็อปส์ สาขามหาชัยด้วย