โดยมะม่วงน้ำดอกไม้ทั้งหมดจะห่อผลด้วยถุงห่อคาร์บอนทั้งหมด

เพื่อให้ผิวเหลืองสวยทั้งหมด เป็นที่ต้องการของตลาดและป้องกันแมลงวันทอง ส่วนรสชาติน้ำดอกไม้ เบอร์ 4 รสชาติจะหวานช่ำกว่าและเนื้อนิ่มกว่า ส่วนน้ำดอกไม้สีทองจะออกหวานแต่ไม่หวานจัดเท่าน้ำดอกไม้ เบอร์ 4 และเนื้อจะแข็งกว่า ในเรื่องความนิยม เบอร์ 4 นั้น จะได้รับความนิยมมากในผู้ที่รับประทานกับข้าวเหนียวมูนจะเข้ากันมากเพราะรสชาติที่หวานจัด ส่วนน้ำดอกไม้สีทองนั้นความนิยมก็ไม่ได้แพ้กัน เนื่องจากผิวที่เหลืองสวยงาม เนื้อมะม่วงค่อนข้างทนต่อสภาพอากาศ เก็บไว้ได้นานกว่า แม้รสชาติจะเป็นรอง เบอร์ 4 จึงเป็นที่นิยมส่งออกไปยังต่างประเทศ นอกจากผิวสวยแล้วยังเก็บรักษาได้นาน เพราะเนื้อแข็งกว่า เบอร์ 4 นั่นเอง

“มะม่วงน้ำดอกไม้ เบอร์ 4” เปลือกบาง หวานจัด เหมาะขายตลาดในประเทศ ราคาอยู่ที่กิโลกรัมละ 25-35 บาท “มะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง” เปลือกหนา หวานน้อยกว่าน้ำดอกไม้ เบอร์ 4 แต่เป็นที่นิยมของตลาดต่างประเทศ เพราะผิวเหลืองสวยงาม ราคามะม่วงน้ำดอกไม้สีทองนั้นจะต่างกันมาก ระหว่างขายในประเทศ และขายตลาดต่างประเทศ บางครั้งพบว่าราคาขายในประเทศอยู่ที่ กิโลกรัมละ 35-50 บาท แต่ถ้าคัดส่งขายต่างประเทศมีราคาสูง กิโลกรัมละ 90-120 บาท เลยทีเดียว

สำหรับผลผลิตของมะม่วงน้ำดอกไม้ทั้ง 2 พันธุ์ ผลผลิตจะเฉลี่ยอยู่ที่ ไร่ละ 1-1.5 ตัน ขึ้นอยู่กับขนาดของต้น ถ้าต้นใหญ่สามารถไว้ผลได้ 150-200 ผล แต่ถ้าต้นเล็กไม่ควรให้ติดผลมากกว่า 100 ผล เพราะการปล่อยให้ติดผลเยอะเกินไปจะทำให้ผลมีขนาดเล็ก ขายไม่ได้ราคา (ขนาดผลที่เหมาะสมคือ 350 กรัม หรือประมาณ 3 ผล ต่อ 1 กิโลกรัม)

แม้มะม่วงน้ำดอกไม้จะเป็นมะม่วงที่มีราคาสูง ราคาจูงใจ แต่การจัดการจะค่อนข้างยุ่งยากกว่ามะม่วงฟ้าลั่น และเพชรบ้านลาด ข้อนี้ชาวสวนมือใหม่ก็ต้องเก็บไปคิดหรือนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับพื้นที่ของตนเอง ต่อไปนี้จะเป็นการบอกเล่าถึงประสบการณ์การผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้คุณภาพดีของสวนโชคอำนวย มาดูกันว่าทำอย่างไร ให้มะม่วงติดผลดก และผลมีคุณภาพดี สีสวยงาม รสชาติหวานชื่นใจ ขายได้ราคา

จะทำมะม่วงให้ดก ต้องเริ่มจากใบอ่อน

คุณจรัญ กล่าวว่า “การจะทำให้มะม่วงน้ำดอกไม้ ออกดอกสม่ำเสมอจะต้องเริ่มจากการทำใบอ่อนให้ออกเสมอก่อน” ในพื้นที่ตำบลวังทับไทร จะเป็นการปลูกมะม่วงในพื้นที่ดอน ดินส่วนใหญ่จะเป็นลูกรัง มีหน้าดินต่ำ ดินพวกนี้จะเป็นดินที่มีความสามารถในการอุ้มน้ำต่ำ และที่สำคัญในพื้นที่ตำบลวังทับไทร ไม่มีระบบชลประทาน ไม่มีระบบน้ำในสวน การปลูกมะม่วงที่นี่จะอาศัยน้ำฝนเป็นหลัก ดังนั้น ก่อนการแต่งกิ่งจะต้องรอให้มีฝนตกใหญ่ อย่างน้อย 2-3 ครั้ง เสียก่อน ให้ดินมีความชื้นพอสมควร จึงจะเริ่มตัดแต่งกิ่ง ซึ่งจะตรงกับเดือนมิถุนายนของทุกปี

หลังแต่งกิ่งเสร็จให้ดูพยากรณ์อากาศ ช่วงไหนจะมีฝนตกให้ใส่ปุ๋ยทางดิน สูตร 15-15-15 ผสมกับ 46-0-0 ในอัตราส่วน 2 : 1 คลุกเคล้าให้เข้ากัน และใส่ต้นละ 1-2 กิโลกรัม ถ้าฝนตกน้อยปุ๋ยไม่ละลาย ต้องหาน้ำรดทันที หลายคนไม่ยอมลงทุนใส่ปุ๋ยทางดินทำให้ต้นมะม่วงขาดความสมบูรณ์ การแตกใบอ่อนไม่สม่ำเสมอ การออกดอกก็จะไม่เสมอเช่นกัน คุณจรัญ ย้ำว่า ปีหนึ่งๆ เราเก็บผลผลิตมะม่วงออกไปเท่าไร ถ้าไม่ใส่ปุ๋ยเพิ่มให้กับต้นมะม่วง ปีต่อไปก็จะไม่มีผลผลิตดีๆ ให้เรา

การเร่งให้มะม่วงแตกใบอ่อนพร้อมกันทั้งต้น

จะต้องพ่นสารไทโอยูเรีย อัตรา 80 กรัม ผสมกับ สาหร่าย แอ็กกรีน อัตรา 20 ซีซี น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น 2 ครั้ง ห่างกัน 5 วัน ถ้าพบว่าต้นไหนยังไม่แตกใบอ่อนก็ต้องพ่นซ้ำ (ใช้มือฉีด) ให้ออกใบอ่อนทุกต้น การเตรียมใบอ่อนถือเป็นหัวใจสำคัญที่สุด เพราะถ้าใบอ่อนออกไม่เสมอ การออกดอกจะไม่เสมอเช่นกัน

ใช้สารแพคโคลบิวทราโซลคุมใบอ่อน

คุณจรัญ จะเน้นการเลือกใช้สารแพคโคลบิวทราโซล (เช่น สารแพนเที่ยม) ที่มีคุณภาพดี และละลายน้ำง่าย การเลือกใช้สารแพคโคลบิวทราโซลนั้นจะต้องเลือกบริษัทที่มีมาตรฐาน เพราะหลายครั้งพบว่า มีการหลอกขายสารแพคโคลบิวทราโซล ราคาถูกแต่เปอร์เซ็นต์ไม่เต็ม ทำให้ไม่สามารถควบคุมการแตกใบอ่อนได้ ในการราดสารแพคโคลบิวทราโซลทุกครั้งจะต้องผสมน้ำราดที่โคนต้นในขณะดินมีความชื้น ไม่แนะนำให้นำสารแพคโคลบิวทราโซลไปโรยแบบแห้งแล้วรอฝนตก เพราะจะทำให้ประสิทธิภาพของสารแพคโคลบิวทราโซลไม่สามารถออกฤทธิ์ได้อย่างเต็มที่

เน้นสะสมอาหารทางใบ

หลังจากราดสารแพคโคลบิวทราโซล ประมาณ 15 วัน จะเริ่มสะสมอาหารทางใบ โดยใช้ปุ๋ย สูตร 0-52-34 สลับกับปุ๋ยเฟอร์ติไจเซอร์ (3-16-36) และเฟตามิน ฉีดพ่น 3-4 ครั้ง ห่างกัน 10 วัน การฉีดพ่นปุ๋ยสะสมอาหารทางใบ จะเร่งทำให้ใบแก่เร็ว ออกดอกดก บางครั้งถ้าต้นมะม่วงไม่สมบูรณ์อาจใส่ปุ๋ยทางดิน สูตร 8-24-24 หรือ 9-25-25 ต้นละ 1 กิโลกรัม ก็ได้

ดึงดอกในระยะที่เหมาะสม

หลายคนใช้วิธีนับวัน ดึงดอกหลังจากราดสารแล้ว 60 วัน
แต่คุณจรัญกล่าวว่า ไม่จำเป็นเสมอไป ให้ดูความพร้อมของต้นมะม่วงเป็นหลัก ถ้าใบและตาดอกพร้อมก็ดึงดอกได้ เนื่องจากสวนโชคอำนวยเป็นสวนขนาดใหญ่ คุณจรัญจึงแบ่งเป็นแปลงย่อย ประมาณ 10-12 แปลง เพื่อลดความเสี่ยงในการโดนพายุฝนและความต่อเนื่องในการเก็บผลผลิต แต่ละแปลงจะห่างกันประมาณ 1 สัปดาห์

สูตรดึงดอกที่ใช้ประจำคือ ไทโอยูเรีย 60 กรัม ผสมโพแทสเซียมไนเตรต (13-0-46) 150 กรัม และสาหร่าย แอ็กกรีน 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น 2-3 ครั้ง ดอกมะม่วงจะออกเสมอทั้งแปลง ดูแลช่อดอกให้ดีในช่วงช่อดอกและผลอ่อนจะมีศัตรูที่สำคัญอยู่ 3 ตัว คือ

เพลี้ยไฟ…เป็นแมลงศัตรูที่สำคัญที่จะทำให้ช่อดอกมะม่วงและผลอ่อนเสียหาย การจะขายมะม่วงน้ำดอกไม้ให้ได้ราคา ผิวของผลมะม่วงจะต้องไม่มีรอยการทำลายของเพลี้ยไฟโดยเด็ดขาด ที่สวนโชคอำนวย ผิวมะม่วงจะสวยใสทำให้ขายได้ราคา คุณจรัญแนะนำว่าให้เจ้าของสวน หมั่นสำรวจปริมาณเพลี้ยไฟ บนช่อมะม่วงถ้าพบตัวเพลี้ยไฟเกิน 5 ตัว ต่อช่อ ให้ฉีดพ่นการป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟ เช่น ฟิโพรนิล (เช่น เฟอร์แบน), อิมิดาคลอพริด (เช่น โปรวาโด, โคฮีนอร์ เอ็กซ์), คาร์บาริล (เช่น เซฟฟวิน 85, เอส-85), อะบาเม็กติน (เช่น โกลแจ็กซ์) หรือ ไธอะมีโธแซม (เช่น มีโซแซม) แนะนำให้ฉีดสลับกัน เพราะเพลี้ยไฟเป็นแมลงที่ดื้อยาง่าย หากฉีดแล้วไม่ตายอาจผสมสารสองชนิดรวมกันในการฉีดพ่น

ปัจจุบัน มีสารกลุ่มใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงในการกำจัดเพลี้ยไฟ และปลอดภัยต่อผู้บริโภคคือ สารเอ็กซอล (สไปนีโทแรม) สามารถกำจัดเพลี้ยไฟดื้อยาได้ดีมาก ใช้อัตราน้อย เพียง 10 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร จะทำให้ผิวมะม่วงสวยใสไร้รอยเพลี้ยไฟแน่นอน

โรคแอนแทรคโนส …เป็นโรคร้ายแรงที่สุดของการผลิตมะม่วง บางคนรู้ในชื่อ โรคช่อดำ หรือผลเน่า คุณจรัญ แนะนำว่า ที่สวนจะใช้สารป้องกันและกำจัดเชื้อราที่มีประสิทธิภาพสูงในช่วงเวลาที่สำคัญ เช่น สารฟลิ้นท์ อัตรา 5 กรัม ผสมแอนทราโคล ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นช่วงช่อดอก 3-4 ครั้ง เมื่อถึงระยะก่อนห่อผล จะพ่นด้วยสาร อมิสตา อัตรา 10 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร อีกครั้ง รับประกันแอนแทรคโนส ไม่มารบกวนผลมะม่วงแน่นอน ที่สำคัญปลอดภัยได้มาตรฐานส่งออก

โรคราแป้ง… เป็นภัยเงียบ พบมากช่วงอากาศแห้งและเย็น เช่น ปลายฝนต้นหนาว หรือช่วงอากาศหนาว โรคนี้ถือว่าเป็นโรคร้ายแรงมาก แต่เกษตรกรทั่วไปไม่รู้และไม่ค่อยใส่ใจ ให้หมั่นตรวจสอบช่อดอกดีๆ

ถ้าพบอาการดอกแห้งเร็ว หรือที่เรียกว่า “ชอบวูบ” เป็นสีน้ำตาลโคนดอกพบลักษณะคล้ายแป้งสีขาวให้ระวังให้ดี โรคนี้ถ้าเอาชัวร์ให้พ่นสารป้องกันล่วงหน้า ตัวที่ได้ผลดีคือตัว เฮ็กซะโคนาโซล หรือ สารไมโครบิวทานิล (เช่น ซีสเทน-24 อี) ตัวใดตัวหนึ่ง โรคราแป้งต้องฉีดป้องกันล่วงหน้า ถ้าเป็นแล้วจะทำให้เกิดความเสียหายมาก

คุณมานพ อมรอรช (คุณอาร์ท) อยู่บ้านเลขที่ 17 เทศบาลสาย 7 ตำบลขลุง อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี บัณฑิตหนุ่มจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เรียนจบสาขาวิชาพืชสวนประดับ กลับมาสานต่อสวนไม้ผลที่พ่อแม่อนุรักษ์ทุเรียนสายพันธุ์โบราณไว้กว่า 10 สายพันธุ์

คุณอาร์ท เล่าว่า สาเหตุที่ตัดสินใจเลือกเรียนเกษตร เพราะจากประสบการณ์พบเห็นจากคนแถวบ้านหลายคนที่ไปเรียนไกลถึงกรุงเทพฯ เรียนจบจากหลากที่หลายคณะ มีทั้งจบเกษตรโดยตรงและจบจากสาขาอื่น แต่สุดท้ายก็ต้องกลับมายังบ้านเกิดและลงเอยที่งานสวนอยู่ดี ด้วยสาเหตุนี้จึงตัดสินใจเรียนคณะเกษตร และพอดีตอนนั้นได้โควต้าจากมทร. ตะวันออก วิทยาเขตจันทบุรี เรียนจบในระดับ ปวส. แล้วเข้าศึกษาต่อที่ ม. แม่โจ้ ช่วงจบใหม่ๆ ได้ลองไปทำงานหาประสบการณ์ที่บริษัทจัดสวนก่อน หลังจากนั้นไปทำเกี่ยวกับเคมีเกษตร และกลับมาสานต่ออาชีพของครอบครัวในที่สุด

มรดกสวนทุเรียนจากพ่อ-แม่ 30 ไร่ สร้างเงิน สร้างอาชีพ มาตลอด

พื้นที่สวนทุเรียนคุณอาร์ทอยู่เขตตำบลซึ้ง อำเภอขลุง มีพื้นที่กว่า 30 ไร่ มีทุเรียนกว่า 400 ต้น เป็นมรดกที่พ่อแม่ทิ้งไว้ให้ ตนแค่มาสานต่อ ซึ่งคุณอาร์ทกลับมาสานต่อการทำสวนได้เป็นเวลา 10 ปีแล้ว หลังจากที่เรียนจบได้มีการไปหาประสบการณ์จากที่อื่นมา เมื่อกลับมาที่สวนตอนแรกถือว่าสภาพสวนดูรกร้าง เพราะเนื่องจากเป็นสวนเก่า ก็ต้องใช้เวลาปรับปรุงพื้นที่อยู่สักพัก

ทุเรียนที่พ่อแม่คุณอาร์ททิ้งไว้ให้มีกว่า 10 สายพันธุ์ ล้วนแล้วแต่เป็นพันธุ์โบราณ อาทิ กำปั่นทอง ชมพูศรี เม็ดในยายปราง ก้านยาววัดสัก ทองหยิบ ชะนี หมอนทอง พวงมณี อีลีบ อีกบ แต่ละพันธุ์มีอายุต้น 20-30 ปีขึ้นไป ให้ผลผลิตปีละ 30-40 ตัน

ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจถือว่าดี ทุเรียนตลาด อย่าง หมอนทอง ปีที่แล้วขายได้กิโลกรัมละร้อยกว่าบาท ส่วนพันธุ์โบราณ อย่าง เม็ดในยายปราง ขายได้กิโลกรัมละ 200 บาท

สืบเนื่องจากช่วงปีหลังๆ มานี้ คุณอาร์ท บอกว่า ผู้บริโภคเริ่มหันมานิยมบริโภคทุเรียนพันธุ์โบราณกันมากขึ้น ส่งผลให้สวนคุณอาร์ทเริ่มมีคนรู้จักเพิ่มมากขึ้น ส่วนใหญ่แล้วรู้จักทางเฟซบุ๊กของสวนคุณอาร์ทเอง

พาชมทุเรียนสวนคุณอาร์ท เพลิดเพลินกับทุเรียนสายพันธุ์โบราณกว่า 10 สายพันธุ์

เมื่อเร็วๆ นี้ ผู้เขียนได้มีโอกาสลงพื้นที่ไปที่สวนคุณอาร์ทด้วยตัวเอง ในระหว่างการสัมภาษณ์เขาพาเดินชมสวนทุเรียนอย่างเพลิดเพลิน ในระหว่างที่เดินชมสวนก็ต้องแปลกใจกับรูปแบบสวนทุเรียนที่แปลกตา ที่ส่วนใหญ่แล้วตามที่ได้เคยลงพื้นที่มักจะเห็นสวนทุเรียนที่โล่งเตียน แต่ที่สวนแห่งนี้หญ้าขึ้นสูงถึงเข่า จึงมีความสงสัยและถามว่า สวนทุเรียนที่นี่แปลก หญ้าขึ้นเต็มไปหมด จึงได้คำตอบกลับมาว่า ที่สวนปลูกทุเรียนอิงธรรมชาติ ระบบการทำสวนจะไม่ใช้ยาฆ่าหญ้าเลย ปีหนึ่งจะตัดครั้งสองครั้ง และความห่างระหว่างต้นค่อนข้างห่างกันพอสมควร เพราะมีการปลูกไม้ผล อย่าง ลองกอง มังคุด แซมด้วย วิธีการดูแลแบบอิงธรรมชาติ ผลดีคือ ช่วงหลังอัตราการตายของทุเรียนน้อยลง สองปีแรกมีปุ๋ยมียาอยู่ในมือก็อัดใส่เข้าไปทุกเดือน ผลปรากฏว่าทุเรียนตายเกือบหมด นี่จึงเป็นสาเหตุที่คุณอาร์ทหันมาพึ่งระบบธรรมชาติ

เกริ่นถึงวิธีการดูแลสวนพอคร่าวๆ ทีนี้เรามาเริ่มชมสวนดูทุเรียนหลากสายพันธุ์กันดีกว่า พันธุ์แรก

ชมพูศรี เป็นทุเรียนพื้นเมืองของจันทบุรี เป็นพันธุ์หนัก โตเต็มที่น้ำหนักอยู่ที่ 5-6 กิโลกรัม อยู่ที่เอาไว้มากหรือน้อย ต้นมีอายุ 20-30 ปี ให้ผลผลิตประมาณ 80 ลูก ต่อต้น ทนทานต่อโรค

จุดเด่น เนื้อเยอะ เม็ดลีบ คล้ายๆ หมอนทอง ราคาขายปีที่แล้ว กิโลกรัมละ 70-100 บาท กำปั่นทอง เนื้อสีออกจำปา รสชาติหวานมัน แต่จะไม่หวานจัด เหมาะสำหรับท่านที่ไม่ชอบรับประทานหวานมาก

ราคาขาย กิโลกรัมละ 200-250 บาท กระดุม เป็นทุเรียนพันธุ์เบา ขนาดผลค่อนข้างเล็ก ออกผลดก สีเนื้อเหลืองเข้ม เนื้อละเอียด กลิ่นอ่อน รสชาติหวานมัน ราคาไม่แพง กิโลกรัมละ 120 บาท

หมอนทอง เป็นทุเรียนพันธุ์ตลาด รสชาติเชื่อว่าทุกท่านคงจะรู้จักดี ขายกิโลกรัมละ 120-150 บาท เม็ดในยายปราง ถือเป็นทุเรียนยอดนิยมอีกสายพันธุ์หนึ่ง ด้วยกลิ่นและรสชาติมีความหอมเฉพาะตัว แต่ปีนี้ติดลูกน้อย

จุดเด่น รสชาติหวานมัน เม็ดลีบ เนื้อเยอะ

ทองหยิบ ทุเรียนพื้นบ้าน รสชาติค่อนไปทางหวาน ผู้ที่ได้ชิมบอกว่า รสชาติคล้ายนมสด หารับประทานยาก แต่ปีนี้เสียใจที่สวนคุณอาร์ททุเรียนทองหยิบไม่ติดลูก เพราะอากาศแปรปรวน

อีลีบ ถือเป็นพันธุ์ที่คุณอาร์ทเจ้าของสวนโปรดปรานเป็นพิเศษ ด้วยรสชาติอร่อย เนื้อเยอะ เม็ดลีบเยื่อดี และนอกเหนือจากขายผลแล้ว คุณอาร์ทยังทำต้นพันธุ์ทุเรียนกำปั่นทอง อีลีบ เม็ดในยายปราง ก้านยาววัดสัก จำหน่ายอีกด้วย

ฝากถึงเกษตรกรมือใหม่ เมื่อมีปัญหาเข้ามาอย่าเพิ่งท้อ

คุณอาร์ท ฝากถึงผู้ที่เพิ่งจบมาใหม่ อยากจะลองมาเป็นเกษตรกร ก่อนอื่นต้องบอกว่า อย่าไปคาดหวังเยอะ และอย่าทำตามกระแส ให้ทำตามที่ตัวเองถนัด อย่างตัวเขาเองเรียนจบทางเกษตร พอได้คลุกคลีกับดินกับโคลนมาบ้าง แต่เมื่อลงมือทำเองจริงๆ แล้วถือว่าอาชีพเกษตรหนักเอาการ เพราะช่วงที่เขาเริ่มหันมาเป็นเกษตรกรอย่างเต็มตัว เป็นช่วงที่ภาคการเกษตรเข้าสู่ภาวะวิกฤต ทุเรียนเหลือกิโลกรัมละแค่สิบกว่าบาท ตอนนั้นก็คิดแล้วว่าจะทำอย่างไรต่อไปดีจะมีเงินใช้หนี้หรือเปล่า แต่เมื่อสู้ไปเรื่อยๆ 2-3 ปี หลังจากนั้นมาเริ่มลืมตาอ้าปากได้ ดังนั้น จึงอยากให้เกษตรกรรุ่นใหม่มองปัญหาของตนเองเป็นแรงสู้ ความอดทนต้องมี มาถึงปัจจุบันนี้ก็คิดว่าตัวเองเลือกเรียนวิชาไม่ผิด เพราะเราก็ได้ประโยชน์จากตรงนี้หลายอย่างคือ

ได้ความรู้มาปรับปรุงภายในสวน
ได้พรรคพวกเพื่อนฝูงคอยให้คำปรึกษากัน และทุกวิชาอื่นๆ ที่เราเรียนมา ถึงตอนนี้รู้แล้วว่าสามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตจริงได้ทุกอย่าง ถึงแม้เราจะทำไม่ได้ทุกอย่าง แต่ก็พอมีความรู้เพื่อไม่ให้โดนหลอกได้ง่ายๆ
สำหรับท่านที่สนใจอยากแลกเปลี่ยนเรียนรู้การปลูกทุเรียน หรือสนใจอยากจะโทร.มาจองทุเรียนพันธุ์โบราณไว้รับประทาน สามารถโทร.มาจองได้ที่ คุณมานพ อมรอรช (คุณอาร์ท) โทร. (062) 292-9465

ระหว่าง วันที่ 24-27 พฤษภาคม 2561 บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) โดยนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน กำหนดจัดงานเกษตรมหัศจรรย์ ขึ้นที่ สกายฮอลล์ ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพลาซา ในงานได้นำทุเรียนมาแสดง 100 สายพันธุ์ ส่วนหนึ่งจะนำมาจากสวนของคุณอาร์ท จึงขอเชิญชวนไปชม และซื้อหาผลผลิตในวันและเวลาดังกล่าว

ความจริงบุรีรัมย์มีผลไม้หลายชนิดที่มีรสชาติอร่อยไม่แพ้จังหวัดอื่น แต่ที่ดูจะมีชื่อเสียงขึ้นชื่อของจังหวัดน่าจะเป็นทุเรียน เพราะมีรสชาติอร่อย อันเป็นผลมาจากการมีทรัพยากรทางธรรมชาติที่เอื้อต่อคุณภาพทุเรียน จนเป็นที่ถูกใจของบรรดานักชิมทุเรียนเลยเชียว

ล่าสุด “เมล่อน” ไม้ผลน้องใหม่ไฟแรงที่กำลังเนื้อหอม เพราะมีเอกชนส่งเสริมให้ชาวบ้านใช้วิธีปลูกในโรงเรือนที่สามารถควบคุมคุณภาพผลผลิตให้มีความสมบูรณ์ ทำให้เป็นที่ต้องการของโมเดิร์นเทรดและห้างค้าส่งขนาดใหญ่จนชาวบ้านปลูกส่งขายกันแทบไม่ทัน แถมยังสร้างอาชีพ สร้างรายได้ ที่ดีให้แก่คนเมืองนี้อีกนับไม่ถ้วน

คุณพีระพงษ์ เฮงสวัสดิ์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชื่อดังของจังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งเป็นที่รู้จักมักคุ้นของคนเมือง ด้วยฉายา “เฮียน้อย 100 อาชีพ” ถือเป็นบุคคลสำคัญที่ผลักดันให้มีการปลูกเมล่อนในจังหวัดบุรีรัมย์อย่างจริงจังในรูปแบบธุรกิจ เพื่อต้องการหาอาชีพและรายได้ที่มั่นคงให้แก่ชาวบุรีรัมย์แทนการรอขายผลผลิตการเกษตรอื่นที่ราคาไม่แน่นอน

เฮียน้อย บอกถึงเหตุผลที่สนใจนำเมล่อนมาปลูกในจังหวัดนี้ว่า เพราะสมัยที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ยังได้รับตำแหน่งเป็นกรรมาธิการเกษตร จึงมีโอกาสเดินทางไปดูงานเกษตรที่ญี่ปุ่น แล้วพบว่า ที่นั่นขายเมล่อนราคาสูงมาก จึงสงสัยว่าทำไมราคาแพง จนได้คำตอบว่า เพราะปลูกยาก เนื่องจากญี่ปุ่นมีอากาศหนาวมากกว่าร้อน ซึ่งโดยธรรมชาติเมล่อนชอบอากาศร้อนปานกลาง ก็เลยรู้ความจริง แล้วคิดว่าถ้าอย่างนั้นไม้ผลชนิดนี้คงนำมาปลูกในไทยได้แน่นอน

จากนั้นได้เริ่มต้นทดลองปลูกเมล่อนในโรงเรือน จำนวน 20 โรงเรือน เพราะตั้งใจว่าถ้าปลูกแล้วประสบความสำเร็จก็จะนำความรู้ไปถ่ายทอดให้ชาวบ้าน เพื่อจะได้ช่วยเหลือให้ชาวบ้านมีรายได้เสริมเพิ่มเติม ปรากฏว่ากลุ่มธุรกิจโมเดิร์นเทรดใหญ่อย่าง โลตัส แม็คโคร บิ๊กซี และท็อปส์ ต่างสนใจติดต่อซื้อเป็นขาประจำ จนทำให้ต้องขยายโรงเรือนเพิ่มจนถึงทุกวันนี้มีเกือบพันโรงเรือน ในชื่อแบรนด์ว่า “รัตนสุข ฟาร์ม”

เฮียน้อย มองเห็นว่า เมื่อตลาดมีขนาดใหญ่กว่าที่คิด จึงวางแผนการผลิตด้วยการดึงชาวบ้านในท้องถิ่นที่สนใจปลูกเมล่อนเพื่อจะรับซื้อผลผลิตเหล่านั้นกลับมายังบริษัท ด้วย 2 แนวทาง คืออย่างแรกได้ลงทุนสร้างโรงเรือนพร้อมเมล็ดพันธุ์ให้ก่อน โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ เลย เรียกว่ามาแต่ตัวกับใจเท่านั้น ซึ่งเฉลี่ยมีครอบครัวที่ทำลักษณะเช่นนี้ ครอบครัวละ 5-6 โรงเรือน มีรายได้จากการขายโรงเรือนละ 20,000 บาท ถ้าปลูก 5 โรงเรือน ก็จะมีรายได้ราว 100,000 บาท ต่อรอบการผลิต ประมาณ 2 เดือน

กับอย่างที่สองคือ ชาวบ้านสนใจลงทุนโรงเรือนพร้อมเมล็ดพันธุ์เอง ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายก่อสร้างโรงเรือนและระบบน้ำและอื่นๆ อยู่ประมาณ 80,000-100,000 บาท ซึ่งถ้าใส่ใจและทุ่มเทปลูกอย่างเต็มที่แล้ว ขายผลผลิตเพียงไม่กี่รอบก็คืนทุนได้แล้ว เพราะอย่างน้อยก็มีตลาดรองรับแน่นอน

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นแนวทางใดก็ตาม เฮียน้อย บอกว่า ได้กำหนดให้ผู้ปลูกจะต้องผ่านการอบรมวิธีปลูกจากทางฟาร์มอย่างน้อย 1 รอบการผลิต แล้วจึงจะออกใบรับรองเพื่อต้องการให้ได้มาตรฐานเดียวกัน ขณะที่ใบรับรองนี้ยังเป็นเครื่องการันตีการอนุมัติเงินกู้จากทาง ธ.ก.ส. อีกด้วย

เหตุผลที่เฮียน้อยเลือกปลูกเมล่อนในโรงเรือน เพราะต้องการควบคุมในเรื่องโรค/แมลง แล้วจะได้ไม่ต้องใช้สารเคมี อีกทั้งยังเป็นการง่ายต่อการควบคุมผลผลิตที่เกิดขึ้นให้มีความแน่นอน สามารถส่งขายได้ตามกำหนดทั้งปริมาณและคุณภาพ ขณะเดียวกันยังทำให้ลูกค้าเกิดความมั่นใจว่าผลผลิตเหล่านั้นมีความปลอดภัยอย่างแท้จริง อันส่งผลต่อการกำหนดราคาขายด้วย

อย่างไรก็ตาม ในปีนี้ (2561) กำหนดเป้าหมายว่า จะสร้างโรงเรือนให้ได้ จำนวน 1,500 หลัง เนื่องจากมียอดสั่งซื้อเพิ่มขึ้นตลอดเวลาต่อเนื่อง ดังนั้น จึงถือเป็นเรื่องที่ดีที่จะได้มีโอกาสช่วยให้ชาวบ้านได้มีงานทำ มีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างมั่นคงแทนการรอขายผลผลิตการเกษตรชนิดอื่น

รัตนสุข ฟาร์ม เลือกพันธุ์เมล่อนเฉพาะการค้าสำหรับปลูก จำนวน 3 สายพันธุ์ ได้แก่ จัสมินเนื้อส้ม เนื้อเขียว และกาเลีย มีผลผลิตรวมที่ส่งขายต่อสัปดาห์ ประมาณ 300-400 ตัน ขณะเดียวกันผลผลิตเมล่อนของเฮียน้อยยังได้รับการรับรองจากหลายมาตรฐาน ไม่ว่าจะเป็นตัว Q หรือเครื่องหมาย GMP จึงเป็นที่ยอมรับของตลาดลูกค้าทุกระดับ โดยมีช่องทางจำหน่ายทั้งแบบปลีกตามร้านค้าชั้นนำกับขายส่งโมเดิร์นเทรดทั่วประเทศ และตลาดค้าส่งขนาดใหญ่

เฮียน้อย เผยถึงความตั้งใจที่ทำเช่นนี้เพราะว่าต้องการเปิดมิติตลาดเกษตรแนวใหม่ เพื่อให้ชาวบ้านมีหนทางในการทำมาหากินแทนที่จะไปปลูกข้าว อ้อย หรือมันสำปะหลัง ซึ่งเสี่ยงกับความไม่แน่นอนทางราคา และเผชิญกับสภาพอากาศที่เปลี่ยน ขณะเดียวกันยังต้องการสร้างเป็นโมเดลตัวอย่างไว้เพื่อให้ทางราชการเกิดแนวคิดนำไปต่อยอดใช้ในอนาคต

“ในอนาคตของอาชีพเกษตรกรรม ไม่ว่าคุณจะประกอบอาชีพประเภทใดก็ตาม ควรใช้ระบบโรงเรือนดีกว่า เพราะสามารถควบคุมทุกปัจจัยได้หมด ส่งผลดีต่อการควบคุมจำนวนผลผลิตที่ส่งขายให้ลูกค้า พร้อมกับยังช่วยทำให้คุณภาพผลผลิตมีความสมบูรณ์ ได้มาตรฐาน เป็นที่ไว้วางใจของลูกค้าและผู้บริโภค

ขณะเดียวกันถึงเวลาแล้วที่เกษตรกรควรจะรวมตัวกัน ควรจะผนึกกำลังกัน ไม่ควรต่างคนต่างทำ เพราะหมดสมัยแล้ว การรวมตัวกันมีผลดีหลายด้าน ไม่ว่าจะช่วยเหลือเกื้อกูลกัน รวมทั้งยังมีอำนาจต่อรองในด้านผลผลิต อีกทั้งยังได้รับความช่วยเหลือจากภาคราชการด้วย” เฮียน้อย กล่าว

สำหรับในส่วนของการผลิตเมล่อนคุณภาพนั้น คุณสมศักดิ์ รัตนยิ่งยง หรือ คุณซ้ง นักวิชาการประจำฟาร์ม บอกว่าการปลูกเมล่อนในโรงเรือนมีข้อดีตรงที่จะช่วยควบคุมโรค/แมลงได้ ซึ่งจะไม่ต้องใช้สารเคมีเลย แล้วจะทำให้ผลผลิตเมล่อนปลอดภัยต่อผู้บริโภคอย่างแท้จริง

ขนาดโรงเรือน มีความกว้าง 6.5 คูณ 30 เมตร มีราคาประมาณ 85,000 บาท ต่อหลัง รวมระบบน้ำแล้ว ซึ่งถ้าผู้ที่ปลูกเก่งสามารถปลูกขายเอง เพียงรอบการผลิตเดียวก็สามารถคืนทุนได้แล้ว แต่ในกรณีที่ปลูกแล้วขายผลผลิตให้บริษัทอาจใช้เวลาประมาณ 2-3 รอบการผลิต

คุณซ้ง บอกว่า ก่อนเริ่มปลูกจะต้องไถและตากดินไว้ล่วงหน้า จากนั้นให้หว่านปูนขาว จึงจะสามารถขึ้นเป็นรูปแปลงปลูกได้ จำนวน 4 แปลง โดยกำหนดให้แต่ละแปลงมีขนาดกว้าง 80 เซนติเมตร และมีขนาดทางเดิน 60 เซนติเมตร ทั้งนี้ การดูแลบำรุงรักษาต้นเมล่อนทั้งหมดจะเน้นเป็นแบบอินทรีย์อย่างเดียว โดยใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ เป็นหลัก ซึ่งจำนวนปุ๋ย ใช้ในอัตรา 7 กระสอบ ต่อโรงเรือน หรือ 2 กระสอบ ต่อแปลง

โดยจะต้องเพาะต้นกล้าเตรียมไว้ก่อน เกมส์พนันออนไลน์ ซึ่งในแต่ละฤดูการเติบโตและความสมบูรณ์ของกล้าจะต่างกัน ถ้าเป็นหน้าร้อน ใช้เวลา 8 วัน แต่ถ้าฤดูอื่น จำนวน 10 วัน ก่อนที่จะนำไปปลูกในแปลงจริงได้ ควรจะรดน้ำทุกวัน รดครั้งละ 200 ลิตร แล้วใส่ปุ๋ย สูตร 16-16-16 ไปตามระบบน้ำ

เมล่อน สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี เพียงแต่ในแต่ละรอบการปลูกควรมีการพักแปลง ประมาณ 25 วัน หรือสลับโรงเรือนเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดโรค/แมลง ซึ่งมักเป็นเพลี้ยไฟและไรแดง รวมถึงมีหนอนบ้าง สำหรับโรคที่พบเป็นราน้ำค้างและไวรัส

พันธุ์ที่ใช้เป็นเมล่อนต่างประเทศ แต่สำหรับพันธุ์ที่ปลูกในพื้นที่คูเมืองเป็นพันธุ์จัสมินเขียวและส้ม มีลักษณะเด่นตรงมีผิวสวย เนื้อในสวย มีความหวานประมาณ 13-16 บริกซ์ โดยรับประทานได้ทั้งแบบกรอบหรือสุกจัด

จำนวนที่ปลูก 520 ต้น ต่อโรงเรือน ซึ่งจะได้ผลผลิตเฉลี่ย 80 เปอร์เซ็นต์ หรือ 400 ผล ทั้งนี้ ในแต่ละโรงเรือนมีศักยภาพการปลูกได้น้ำหนักไม่ต่ำกว่า 1 ตัน อย่างไรก็ตาม หากปลูกเมล่อนในแนวทางที่ฝึกฝนให้อย่างชำนาญเป็นอย่างดี เมื่อคำนวณต้นทุน เฉลี่ยผู้ปลูกจะมีรายได้ จำนวน 3,000 บาท ต่อตารางเมตร ต่อปี แล้วสามารถปลูกได้จำนวนมาก 3-4 รอบการปลูก

“แผนการปลูกเมล่อนในแต่ละรอบจะเป็นไปตามตารางการจำหน่ายของลูกค้าในแต่ละราย เพื่อให้สอดคล้องเหมาะสม แล้วถือเป็นการควบคุมในเรื่องคุณภาพด้วย และที่สำคัญเมล่อนเป็นไม้ผลที่ปลูกไม่ยาก มีรายได้ดี เพราะตลาดยังต้องการต่อเนื่อง ขอเพียงแต่ผู้ปลูกต้องใส่ใจในทุกช่วงเวลา มิเช่นนั้นอาจพบปัญหาตามมาทันทีถ้าขาดความใกล้ชิด” คุณซ้ง กล่าว

ช่วงเทศกาลท่องเที่ยว หากท่านมีโอกาสเดินทางไปพักผ่อนที่จังหวัดบุรีรัมย์อย่าลืมแวะซื้อเมล่อน ที่ “รัตนสุข ฟาร์ม” ไว้รับประทานหรือเป็นของฝาก หรือสนใจสอบถามข้อมูลรายละเอียดการสมัครเข้าเป็นสมาชิกในกลุ่มผู้ปลูกเมล่อนได้ ที่ รัตนสุข ฟาร์ม โทรศัพท์ (081) 876-1117 หรือเข้าไปดูภาพเมล่อนสวยๆ ได้ ที่ fb : ไร่รัตนสุข ฟาร์ม ทางพาด คูเมือง