โดยยึดหลักการเดิมคือการทำเกษตรแบบผสมผสานตามเกษตร

พื้นที่ทั้งหมด 42 ไร่ จะแบ่งเป็นพื้นที่นาข้าว 15 ไร่ เกษตรผสมผสาน 17 ไร่ พื้นที่ป่า 7 ไร่ และเลี้ยงสัตว์ 3 ไร่ มีการจัดการดินและพืช ดังนี้ แปลงนาข้าว ได้จัดการพื้นที่สำหรับการปลูกข้าวใหม่ ด้วยการปรับรูปแปลงนาโดยทำกระทงนาให้มีขนาดใหญ่ขึ้น จัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ เตรียมดินก่อนการปลูกข้าวโดยใส่ปุ๋ยหมักจากสารเร่งซุปเปอร์ พด.1 เมื่อต้นข้าวอายุ 30 และ 60 วัน ฉีดพ่นน้ำหมักชีวภาพจากสารเร่งซุปเปอร์ พด.2 ที่ใบและรดลงดินเพื่อเพิ่มความแข็งแรงและเพิ่มผลผลิตของข้าว

หลังการเก็บเกี่ยวข้าวจะฉีดพ่นน้ำหมักชีวภาพจากสารเร่งซุปเปอร์ พด.2 อัตราส่วน 1 : 500 ก่อนการไถกลบตอซังข้าว หลังจากนั้น หว่านเมล็ดพันธุ์ปอเทืองอัตรา 5 กิโลกรัมต่อไร่ และไถกลบเมื่อปอเทืองเริ่มออกดอกได้ประมาณร้อยละ 50 เพื่อปรับปรุงบำรุงดินและเพิ่มธาตุอาหารในดิน ส่วนในแปลงเกษตรผสมผสาน พืชที่ปลูกมีทั้งพืชทั่วไปและพืชท้องถิ่นภาคใต้ เช่น กล้วย มะนาว กระท้อน เงาะ ลองกอง สละอินโด น้อยหน่า สะตอ เหลียง ฯลฯ

ใช้ปุ๋ยหมักรองก้นหลุมก่อนปลูกและโรยรอบโคนต้นและใช้น้ำหมักชีวภาพฉีดพ่นเพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโต และปลูกตะไคร้หอมทั่วทั้งแปลง เพื่อเป็นการขับไล่แมลง ควบคู่กับฉีดพ่นสารควบคุมและไล่แมลงศัตรูพืชที่ผลิตจากสารเร่งซุปเปอร์ พด.7 ด้านการจัดการน้ำมีการเจาะบ่อน้ำตื้นและสูบน้ำโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ (โซลาร์เซลล์) แล้วปล่อยไปตามร่องน้ำในแปลงเกษตร ในฤดูแล้งใช้เครื่องสูบน้ำ สูบน้ำจากสระขึ้นมาใช้เพิ่มเติม และมีการให้น้ำแก่พืชโดยใช้ระบบสปริงเกลอร์

นอกจากนี้ ยังได้เข้าร่วมโครงการบัตรดินดี ทำให้ทราบถึงสุขภาพดินในแปลงสามารถนำคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ไปใช้พัฒนาที่ดินของตนเองได้อย่างเหมาะสม ทั้งยังศึกษาข้อมูลความรู้จากแอปพลิเคชั่นต่างๆ ช่วยในการตัดสินใจจัดการพืชได้รวดเร็วทันต่อฤดูกาลเพาะปลูก ส่งผลให้ดินดีและอุดมสมบูรณ์ ช่วยลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตได้ดียิ่งขึ้น

ผลผลิตทั้งหมดที่ปลูกจะยึดหลักที่ว่า “อยากกินอะไรก็ปลูกพืชชนิดนั้น เหลือจากการกินก็ขาย” ดังนั้น ผลผลิตจากแปลงเกษตรนี้จะแบ่งเป็นบริโภคในครัวเรือน แบ่งปันให้แก่ญาติพี่น้อง จากนั้นก็ขายให้กับพ่อค้าแม่ค้าคนกลางที่ตลาด บางช่วงก็จะมีพ่อค้ามารับซื้อผลผลิตถึงแปลง ทุกวันนี้จึงมีรายได้จากการพัฒนาที่ดินของตนเองที่สามารถจุนเจือครอบครัวได้อย่างเต็มที่และเพียงพอ มีรายได้ทั้งรายวัน รายเดือน รายปี รายได้พิเศษหมุนเวียนอยู่ตลอดเวลา และที่สำคัญคือไม่มีหนี้สิน

“ด้วยความที่เราเป็นคนต่างถิ่นที่มาอาศัยอยู่ในที่ใหม่จึงถูกคนในพื้นที่ดูถูกว่าเป็นคนบ้าที่ไปทำการเกษตรในพื้นที่ที่เป็นโคกมีความแห้งแล้งไม่มีน้ำ ไม่มีไฟฟ้า จากคำพูดนี้กลายเป็นแรงผลักดันให้เราทำทุกอย่างเพื่อลบคำดูถูกนั้นให้ได้ จึงเริ่มทำจากพื้นที่น้อยไปหามากและค่อยๆ ขยายไปเรื่อย พื้นที่บางส่วนที่ดินไม่ดีก็จะปรับปรุงดินโดยใช้แรงงานของตัวเอง ขนฟางข้าวจากที่อื่นมาคลุมดิน ตัดใบหญ้าแฝกมาคลุมรอบโคนต้นไม้ เรียกว่า การห่มดิน ตักน้ำรดพืชผักเองโดยไม่พึ่งเครื่องจักร ทำงานตั้งแต่เช้าไปจนดึกทุกๆ วัน ขุดสร้างทำฝายชะลอน้ำและดักตะกอนดิน

วางผังการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยพิจารณาองค์ประกอบการลาดเอียง สูงต่ำของที่ดิน (โคก หนอง นา) ส่วนด้านการพัฒนาที่ดินได้ยึดหลักกสิกรรมธรรมชาติบวกกับศาสตร์ของพระราชา ต้องรู้จักดินของตัวเองจึงจะแก้ไขได้ถูกจุด โดยตลอดระยะเวลาที่ทำอาชีพเกษตร ได้ยึดหลักการพัฒนาดิน น้ำ ป่า โดยเฉพาะการพัฒนาที่ดินนั้นจะเน้นเรื่อง การเลี้ยงดินให้ดินเลี้ยงพืช ปรับปรุงบำรุงดินให้ดีพืชก็เจริญงอกงาม จนประสบความสำเร็จและสามารถสร้างชีวิตใหม่ได้” ไกรวรรณ์ กล่าว

จากการทุ่มเททั้งแรงกายแรงใจของคุณไกรวรรณ์ มาตลอดระยะเวลาหลายปี เขาสามารถพิสูจน์ตัวเองให้คนในพื้นที่บ้านชุมพลและพื้นที่ใกล้เคียงเห็นแล้วว่าเขาทำได้จริง สามารถพลิกฟื้นพื้นที่เสื่อมโทรมด้วยการปรับปรุงบำรุงดินอย่างต่อเนื่องทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ เหมาะสมต่อการเพาะปลูก สังเกตได้จากผลผลิตที่เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า รวมรายได้สุทธิต่อปี 897,280 บาท สร้างรายได้ที่มั่นคง จนได้รับการจัดตั้งให้เป็นศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน ด้านเกษตรผสมผสาน เป็นแหล่งถ่ายทอดความรู้ให้แก่ชุมชน ปัจจุบันมีผู้สนใจเข้าไปศึกษาดูงานและขอสมัครเป็นสมาชิกกลุ่มมากกว่า 50 ราย จากหลายตำบลทั่วทั้งจังหวัดสกลนคร ช่วยให้พี่น้องเกษตรกรภาคอีสานได้นำความรู้ไปปรับปรุงพัฒนาที่ดินทำกินของตนเอง มีอาชีพสร้างรายได้เข้าสู่ครัวเรือนทุกวัน สามารถตั้งตัวและยืนได้ด้วยตนเอง

เกษตรกรท่านใดสนใจแนวทางการทำเกษตรตามแบบฉบับหมอดินอาสาดีเด่นท่านนี้ สามารถติดต่อสอบถามโดยตรงได้ที่ คุณไกรวรรณ์ อัครกุล หมอดินอาสาประจำหมู่บ้านชุมพล และเจ้าของศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน ตำบลค้อใต้ อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร โทร. 081-304-5807

วิกฤตการณ์ขณะนี้ สอนให้ทุกคนรู้จักการเอาตัวรอด แต่ต้องดำรงชีพอยู่ให้ได้ แม้ว่าสถานการณ์จะเลวร้ายเพียงใด

คุณฐิติพร ขีระจิตร และ คุณกรกฤช สุภาเทียน สองสามีภรรยา ผู้เคยผ่านการทำงานประจำเป็นพนักงานบริษัทเอกชน ประกอบอาชีพอิสระหลากหลาย อาชีพล่าสุดของทั้งคู่คือ ธุรกิจเสื้อผ้า แม้จะไปได้ดี แต่วันหนึ่งที่คุณฐิติพร เกิดอุบัติเหตุข้อมือหัก ทำให้ต้องพักฟื้นร่างกายกลับสู่สภาวะอยู่บ้านเฉยๆ แนวคิดที่ทั้งคู่วางอนาคตไว้ว่า อยากมีที่ดินสักผืนไว้ทำการเกษตรแบบพอเพียง ก็ผุดเข้ามา

คุณฐิติพร เป็นหญิงสาวที่ไม่นิ่งเฉยต่อการใช้ชีวิต ไม่ว่าจะประสบเหตุการณ์ใด เธอจะมองทุกอย่างให้เป็นโอกาส และแสวงหาเพื่อให้เกิดโอกาส

ครั้งนี้ก็เช่นกัน คุณฐิติพร คิดว่า ในระหว่างที่ข้อมือหักต้องพักอยู่บ้านเฉยๆ น่าจะปลูกผักหรือทำเกษตรเล็กๆ ในบ้าน เอาไว้เป็นพื้นที่สำหรับสวนครัว ไม่ต้องพึ่งพาวัตถุดิบจากภายนอก ที่ไม่รู้ว่าจะมาพร้อมกับสารเคมีตกค้างหรือไม่

“ตอนแรกพี่แค่คิดว่าเราเคยไปอบรมเกี่ยวกับการทำการเกษตรอะไรมาบ้าง ที่นึกได้ก็มีเรื่องเห็ด ทำให้คิดว่า ลองเอาเห็ดมาเพาะเอาไว้ทำกินดีไหม เลยสั่งก้อนเชื้อเห็ดกับคนที่รู้จัก 100 ก้อน คิดไว้ว่า ถ้าเพาะน้อยกว่านี้ เวลาเก็บมาประกอบอาหารอาจจะน้อยไป และถ้ามีมากก็แบ่งปันเพื่อนบ้านแล้วกัน”

เห็ดนางฟ้าภูฏาน เป็นชนิดเห็ดที่คุณฐิติพรเลือก เพราะเห็นว่ารับประทานง่าย ประกอบอาหารได้ทั่วไป สั่งก้อนเชื้อเห็ด จำนวน 100 ก้อน แต่เมื่อถึงวันมาส่ง กลับได้ก้อนเชื้อเห็ดจำนวน 500 ก้อน

คุณฐิติพร บอกว่า คงเป็นเพราะสั่งกับคนรู้จัก จึงส่งก้อนเชื้อเห็ดมาให้มากเกินจำนวนที่สั่ง เมื่อจำนวนก้อนเชื้อเห็ดมาก การทำเพียงมุ้งคลุมเพื่อเพาะคงไม่ได้ น่าจะต้องทำคล้ายโรงเรือนเพาะเห็ดอย่างที่เคยศึกษาก่อนหน้านี้

“ตอนแรกได้มา พี่ก็เรียงๆ เอาไว้หลังบ้าน มีแท่นปูนอยู่ก็วางๆ เรียงไว้ก่อน ช่วงนั้น 1-2 วันก็รีบทำโรงเรือนเห็ดเพิ่ม มีหลังคา มีซาแรนคลุม ยังไม่ได้ศึกษาอะไรมากมาย แค่คิดว่าเอาง่ายๆ ก่อน”

วิธีทำโรงเรือนเพาะเห็ดของคุณฐิติพร บนพื้นที่บ้านจัดสรร 70 ตารางวา และมีพื้นที่บริเวณบ้านไม่มากนัก จำเป็นต้องประหยัดพื้นที่ใช้สอยให้มากที่สุด จึงเลือกใช้กำแพงบ้านเป็นเสมือนผนังโรงเรือนด้านหนึ่ง และทำหลังคาให้ ส่วนผนังอีก 3 ด้าน ใช้ซาแรนปิดให้ทึบ แต่สามารถเปิดเข้าไปภายในโรงเรือนได้

ขนาดโรงเรือนเพาะเห็ด หน้ากว้าง 3 เมตร ลึก 50 เซนติเมตร การดูแล คุณฐิติพร ใช้ความรู้เท่าที่เคยศึกษาอบรมมา ก็ทำให้เห็ดออกดอกอย่างง่ายดาย ไม่ถึงครึ่งเดือน ก้อนเชื้อที่ซื้อมาออกดอกจำนวนมาก เธอเก็บมาประกอบอาหาร และแบ่งปันไปยังเพื่อนบ้านในชุมชน ปัญหาที่พบขณะนั้นคือ เมื่อเห็ดสดออกจำนวนมากในเวลาไล่เลี่ยกัน ทำให้เห็ดสดที่ระบายออกไปไม่ทัน เริ่มเน่าเสียภายใน 2 วันหลังเก็บ

หลังจากที่เห็ดสดจำนวนมากถูกแบ่งปันไปยังเพื่อนบ้านในชุมชนหลายหลังคาเรือน ทำให้เป็นที่รู้จักว่าบ้านของคุณฐิติพร เป็นบ้านที่มีเห็ดนางฟ้าภูฏานสดๆ แบ่งออก ปากต่อปาก ส่งผลให้มีคนมาถามขอซื้อ เป็นที่มาของการเก็บเห็ดนางฟ้าภูฏานขาย

ทำให้ช่วงนั้นเป็นช่วงที่เก็บเห็ดนางฟ้าภูฏานสดขาย กิโลกรัมละ 50 บาท น้ำหนัก 1 กิโลกรัมต่อถุง เมื่อคุณฐิติพรคิดถึงต้นทุนที่ต้องลงแรงไป การขายเห็ดนางฟ้าภูฏานออกไป ก็ทำให้มีรายได้เข้ามา คงเหลือกำไรได้เช่นกัน

คุณฐิติพร บอกว่า ถามว่าพี่รู้สึกอย่างไร ต้องบอกว่า สนุก พี่ชอบการเกษตรอยู่แล้ว พอได้มาลงมือทำจริงๆ เราอยู่ได้ เราทำงานที่บ้านเราได้ เราแค่ต้องบริหารจัดการให้ดี ดูตลาดให้เป็น และเห็ดที่เราเพาะแน่นอนว่า ไม่มีสารเคมีตกค้าง เป็นเห็ดสดๆ ที่ส่งตรงถึงผู้บริโภค แต่ด้วยตัวพี่เองเป็นคนไม่อยู่นิ่ง เลยมองต่อไปว่า ถ้าเห็ดสดเหลือเกิน 2 วัน ก็ขายไม่ได้แล้ว เราควรทำอย่างไรเพื่อให้เกิดมูลค่า

“พี่เป็นคนอำเภอหัวหิน ครอบครวที่บ้านเก่งเรื่องการแปรรูป พี่เลยลองเอาสูตรจากที่บ้านมาทำ แปรรูปเป็นน้ำเห็ดสด เห็ดตากแห้งปรุงรส เราเรียกว่าเห็ดสวรรค์ คือการฉีกเห็ดสดตากแดดแล้วก็นำมาปรุงรส ลองถามขายกับลูกค้า ได้รับการตอบรับดีมาก”

จากก้อนเชื้อเห็ดในโรงเรือน จำนวน 500 ก้อน เมื่อผู้บริโภคถามหา ทำให้ต้องเพิ่มจำนวนก้อนเพื่อผลผลิตที่เพิ่มขึ้น ปัจจุบันมีก้อนเชื้อเห็ดมากถึง 2,500 ก้อน ซึ่งถามกับคุณฐิติพรว่า จะขยายเพิ่มอีกหรือไม่ เนื่องจากลูกค้าส่งสัญญาณว่ายังมีความต้องการทั้งเห็ดสดและแปรรูปไม่เพียงพอ คุณฐิติพร บอกว่า ด้วยพื้นที่บ้านจัดสรรที่มีอยู่จำกัด การทำโรงเรือนเห็ดกับกำแพงบ้าน ก็ถือเป็นการใช้พื้นที่อย่างคุ้มค่าแล้ว และกำลังการผลิตมีเพียงคุณฐิติพรและสามี ความสามารถในการผลิตจึงทำได้เท่านี้

ยิ่งเมื่อกระแสรักษ์สุขภาพมาแรง เห็ดสดเป็นสินค้าที่ขายดีมาก ระยะหลังมีร้านจำหน่ายผักสดติดต่อขอซื้อประจำ ทำให้เห็ดสดที่ออกดอกเก็บขายได้ ไม่เพียงพอต่อความต้องการ คุณฐิติพร จึงประเมินสถานการณ์ความต้องการและมูลค่าของผลผลิตที่ได้ พบว่า การแปรรูปเห็ดได้มูลค่าที่สูงกว่าการจำหน่ายเห็ดสด จึงแบ่งสัดส่วนของเห็ดสดไว้ไม่มากนัก แต่พุ่งเป้าไปที่การแปรรูปมากกว่า

คุณฐิติพร บอกว่า การทำโรงเรือนเห็ดในพื้นที่บ้านจัดสรร หรือสำหรับผู้ที่มีพื้นที่จำกัด สามารถทำได้ตามที่คุณฐิติพรทำ ประหยัดพื้นที่ ได้ผลผลิตเช่นเดียวกับการทำโรงเรือนเห็ดทั่วไป ซึ่งการดูแลเห็ดให้ผลผลิตนั้น ขึ้นอยู่กับการเรียนรู้ธรรมชาติของเห็ดว่าชอบอากาศ ความชื้น แสง ลักษณะใด หากเข้าใจดี การดูแลเห็ดให้ออกผลผลิตตามต้องการไม่ใช่เรื่องยาก นอกจากนี้ ตามบ้านคนที่คิดจะทำโรงเรือนเล็กๆ ขนาด 100-200 ก้อน ก็สามารถดูแบบอย่างแล้วนำไปใช้ได้ ไม่หวง

ปัจจุบัน ด้วยความต้องการของผู้บริโภคเห็ดสดมากขึ้น แต่คุณฐิติพรผลิตเห็ดสดและแบ่งผลผลิตไว้จำหน่ายสดเพียงเล็กน้อย คุณฐิติพร เล็งเห็นถึงการกระจายรายได้สู่ครัวเรือนหรือชุมชน ตามแนวทางการดำรงชีพแบบเศรษฐกิจพอเพียง จึงประสานไปยังชุมชนใกล้เคียงที่พอมีพื้นที่ นำความรู้เรื่องการเพาะเห็ดเข้าไปให้ และแนะนำเรื่องการทำโรงเรือนเห็ดขนาดเล็กในพื้นที่ที่มีอยู่จำกัด หรือหากรายใดสามารถเพาะเห็ดได้ปริมาณมากก็ไม่จำกัด แต่ขอให้ผลิตเห็ดนางฟ้าภูฏานส่งให้กับทางคุณฐิติพร เพื่อนำมาแปรรูป

“ทุกวันนี้ พี่กับสามีช่วยกันแปรรูปเห็ด เป็นงานโฮมเมด ทำทุกวัน ผลผลิตแล้วเสร็จก็มีคนมารับ หรือถ้าได้เห็ดสดแผงผักที่ติดต่อจองไว้ก็มารับไปจำหน่าย เป็นการทำงานอยู่บ้าน ไม่ต้องออกไปเร่ขายเองข้างนอก ส่วนน้ำเห็ดสด ไม่ได้ใส่สารกันบูดและพาสเจอไรซ์ เพราะเป็นกิจการเล็กๆ ในครัวเรือน ทำงานกันเพียงสองคน จึงผลิตน้ำเห็ดเฉพาะเมื่อมีออเดอร์เท่านั้น”

ผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากเห็ด ได้แก่ น้ำเห็ด เห็ดสวรรค์ 4 รส รสเม็ดผักชี รสงาขาว รสพริกไทยดำ และรสหมาล่า แหนมเห็ด และเมื่อการปรุงรสดี ทำให้ผู้บริโภคติดใจ จึงเพิ่มเนื้อสัตว์เข้าไป เป็นหมูสวรรค์แดดเดียว และไก่สวรรค์แดดเดียว เป็นทางเลือกให้กับลูกค้ามากขึ้น

วิกฤตโควิด-19 ที่เกิดขึ้น ทำให้คุณฐิติพร เห็นชัดว่า เกษตร เป็นพื้นฐานของการดำรงชีวิตอย่างแท้จริง แม้จะอยู่ในชุมชนใกล้แหล่งเมือง แต่ก็สามารถทำเกษตรได้ ซึ่งไม่จำเป็นต้องผลิตเพื่อจำหน่าย แต่เป็นการผลิตเพื่อใช้ในครัวเรือน ก็ช่วยลดค่าใช้จ่าย แต่หากมีปริมาณมากแบ่งให้เพื่อนบ้าน หรือมีมากกว่าก็สามารถจำหน่าย และแบ่งแปรรูปเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ได้ด้วย

ผลิตภัณฑ์ทั้งหมด ไม่มีวางจำหน่ายที่ใด นอกเสียจากสั่งตรงกับคุณฐิติพร สามารถดูผลิตภัณฑ์และสั่งตรงได้ที่ คุณกรกฤช สุภาเทียน และ คุณฐิติพร ขีระจิตร โทรศัพท์ 080-816-9449 Line ID : kwansensei หรือ เฟซบุ๊กแฟนเพจ เฮ็ดเห็ด

การผลิตฟ้าทะลายโจรให้ได้ผลผลิตที่ปลอดภัยและมีคุณภาพที่ดี จำเป็นต้องมีองค์ความรู้ในการผลิต ดังนั้น กรมวิชาการเกษตร จึงได้จัดทำคู่มือการผลิตฟ้าทะลายโจร สำหรับเกษตรกร เป็นแนวทางในการผลิตฟ้าทะลายโจรให้แก่เกษตรกรและผู้สนใจนำไปปรับใช้และพัฒนาให้เหมาะสมในพื้นที่ของตัวเอง

การผลิตฟ้าทะลายโจรมีอยู่ทั่วไป ซึ่งแหล่งผลิตสำคัญที่รู้จักกันดีและปลูกมานานคือ กลุ่มผู้ปลูกสมุนไพรกระตีบพัฒนา อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ที่ผ่านมา เกษตรกรมีรายได้ 60,000 บาทต่อไร่ (ช่วงราคารับซื้อ 40-60 บาท) ส่วนใหญ่จะปลูกฟ้าทะลายโจรร่วมกับข้าวโพด ได้ผลผลิต 1,500-1,800 กิโลกรัมต่อไร่ ในขณะที่การผลิตแบบอินทรีย์จะได้ผลผลิต 400 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งในช่วงวิกฤตที่มีการระบบของเชื้อไวรัสโควิด-19 มีความต้องการฟ้าทะลายโจรสูงมาก ทำให้ตลอดช่วงห่วงโซ่การผลิตของฟ้าทะลายโจรเป็นจำนวนมาก ซึ่งผลผลิตที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการทำยา จะต้องมีคุณภาพมาตรฐานโรงงานและเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ผู้บริโภคได้ใช้สมุนไพรที่มีคุณภาพและปลอดภัย ฟ้าทะลายโจรสามารถปลูกได้ทุกฤดู แต่ที่เหมาะสมคือ ช่วงต้นฤดูฝนพันธุ์ปลูก

พันธุ์พิษณุโลก 5-4 ให้ผลผลิต 1,774-4,187 กิโลกรัมต่อไร่ และปริมาณสารแล็กโตนรวม 10.74-11.79 เปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้ง พันธุ์พิจิตร 4-4 ให้ผลผลิต 1,726- 3,880 กิโลกรัมต่อไร่ ปริมาณสารแล็กโตนรวม 10.59-12.00 เปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้ง

หากปลูกช่วงฤดูฝน ในพื้นที่ลุ่ม ควรขุดยกร่องแปลงสููง 15-20 เซนติเมตร กว้าง 1-2 เมตร ควรมีช่องว่างระหว่างแปลง 1 เมตร เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับการดูแลรักษา ฟ้าทะลายโจรนิยมขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด เพื่อเพิ่มการงอกของเมล็ดฟ้าทะลายโจร ควรแช่เมล็ดในน้ำประมาณ 6-12 ชั่่วโมง หรือแช่เมล็ดในน้ำร้อน 80 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 5-7 นาที หรืออบเมล็ดที่อุณหภูมิ 45 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 4 ชั่่วโมง จะช่วยให้เมล็ดพันธุ์งอกดีขึ้น

การปลูก

การปลููกฟ้าทะลายโจรโดยทั่วไปสามารถจำแนกวิธีการปลูกได้ 2 วิธี คือ

1. ปลูกโดยใช้เมล็ด โดยทั่วไปเมล็ดฟ้าทะลายโจรมีขนาดเล็ก 1 กิโลกรัมจะมีเมล็ด 1,000,000-1,200,000 เมล็ดหรือ 1 ช้อนโต๊ะ จะมีเมล็ดจำนวน 7,000-8,000 เมล็ด การปลููกโดยใช้เมล็ดแบ่งเป็นการปลูกแบบหว่านและการปลูกแบบโรยเมล็ดเป็นแถว

การปลูกแบบหว่าน นำเมล็ดมาผสมทรายหยาบอัตรา 1 : 1-2 ใช้เมล็ดหว่านอัตรา 100-400 เมล็ดต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร หรืออัตรา 1.5-2.0 กิโลกรัมต่อไร่ คลุมแปลงด้วยฟางข้าว แต่มีข้อจำกัดคือ ทำให้สิ้นเปลืองเมล็ดพันธุ์ซึ่งมีราคาสููง

การปลููกแบบโรยเมล็ดเป็นแถว ขุดร่องตื้นๆ เป็นแถวยาวแล้วโรยเมล็ดและเกลี่ยดินกลบบางๆ ควรมีระยะปลูกระหว่างแถวประมาณ 40 เซนติเมตร โดยทั่วไปใช้เมล็ด 50-100 เมล็ดต่อ 1 เมตร การปลููกด้วยวิธีนี้ กำจัดวัชพืชได้ง่าย สะดวกขึ้น เนื่องจากมีระยะแถวปลูกที่แน่นอน สามารถนำเครื่องมือการเกษตร เช่น จอบ เสียม มาใช้พรวนดินและดายหญ้าได้อย่างคล่องตัว

การปลููกแบบหยอดหลุุม เตรียมหลุมปลูกลึกประมาณ 2-5 เซนติเมตร ให้เป็นแนวโดยมีระยะปลูกระหว่างต้น 20-30 เซนติเมตร ระหว่างแถว 40 เซนติเมตร หยอดเมล็ดหลุมละ 5-10 เมล็ด เกลี่ยดินกลบบางๆ การปลูกวิธีนี้ จะประหยัดเมล็ดพันธุ์ แต่ยากในการกำจัดวัชพืช ขณะที่่ต้นยังเล็ก เหมาะสมกับพื้นที่ปลูกที่ไม่มีปัญหาวัชพืชรบกวน

การปลููกโดยใช้กล้า มีขั้นตอนดังนี้
2.1 การเตรียมกล้าฟ้าทะลายโจรก่อนย้ายปลููกอาจทำโดยการเพาะแปลง โดยใช้จอบขุุดยกเป็นแปลงกว้าง 1 เมตร สููงประมาณ 15-20 เซนติเมตร ความยาวและจำนวนแปลงขึ้นอยู่กับจำนวนเมล็ดที่่เพาะและความสะดวกในการปฏิบัติงานพร้อมกับย่อยดินให้ละเอียด ใส่ปุ๋ยอินทรีย์รองพื้นก่อน 0.5-1 กิโลกรัมต่อตารางเมตร โดยผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วปรับหน้าดินให้เรียบก่อนหว่านเมล็ดหรือทำการเพาะในถุงพลาสติก โดยใช้วัสดุเพาะคือ แกลบดำ : ทราย : ดิน ในอัตราส่วน 2 : 1 : 1 เมื่อต้นกล้ามีใบจริง 3-14 ใบ สามารถย้ายปลููกได้

2.2 การปลููกโดยใช้กิ่งปักชำ คัดเลือกกิ่งฟ้าทะลายโจรจากต้นที่สมบูรณ์แข็งแรง ปราศจากโรคและแมลงทำลาย มีอายุเหมาะสมสำหรับการปักชำ (ไม่อ่อนหรือแก่เกินไป) ความยาวประมาณ 10 เซนติเมตร ควรเด็ดใบเพื่อลดการคายน้ำ นำไปแช่ในน้ำยาเร่งรากเป็นเวลา 10 นาที ผึ่งให้แห้งก่อนปักชำแล้วรดน้ำให้ชุ่มโดยรักษาความชุ่มชื้น และพรางแสงประมาณ 1 สัปดาห์เมื่อมีการแตกใบและรากงอกก็สามารถย้ายปลูกลงในแปลงต่อไป

2.3 การเตรียมหลุมปลุก ขุดหลุมกว่าประมาณ 15 เซนติเมตร ลึกประมาณ 8-12 เซนติเมตร เป็นแถวระยะปลูก 30×40 เซนติเมตร ให้น้ำหนักสดสูงสุด 3,070 กิโลกรัมต่อไร่ น้ำหนักแห้งสูงสุดเฉลี่ย 776.6 กิโลกรัมต่อไร่ และระยะปลููก 30×60 เซนติเมตร ให้ปริมาณสารแอนโดรกราโฟไลด์สููงสุุด 6.98 กรัมต่อน้ำหนักแห้ง 100 กรัม ใส่ปุ๋ยอินทรีย์รองก้นหลุมประมาณ 125 กรัมต่อหลุม และคลุกเคล้าให้เข้ากับดิน

2.4 ย้ายกล้าปลูก เมื่่อกล้ามีอายุประมาณ 30 วัน ก่อนย้ายกล้า รดน้ำแปลงให้ชุ่มแล้วจึงใช้ช้อนขุดหรือเสียมแซะต้นกล้าไปปลูกในหลุมที่เตรียมไว้ 1 ต้นต่อหลุุม หลังปลููกรดน้ำทันที

การใส่ปุ๋ย แบ่งเป็น 2 ระยะ ดังนี้

1. การใส่ปุ๋ยรองก้นหลุมหรือรองพื้นแปลงเพาะ ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ได้แก่ ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักมูลไส้เดือน ใส่ในอัตรา 2,500 กิโลกรัมต่อไร่ ควรใส่ก่อนปลููก 7 วัน

2. ใส่หลังปลููกใส่ปุ๋ย 2 ครั้ง ได้แก่ ช่วงอายุประมาณ 60 วัน และอายุุ 90-110 วัน ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ ไม่จำเป็นต้องใช้ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสููง การใช้ปุ๋ยไนโตรเจนต้องระมัดระวังมาก ถ้าใส่มากเกินไปจะทำให้เฝือใบ ฝักโตเร็วเกินไป เป็นโรคและช้ำได้ง่าย

วิธีใส่ปุ๋ย สามารถใส่ปุ๋ยให้หลายวิธีด้วยกัน ซึ่งแล้วแต่ความสะดวกและวิธีการปลูกพืช ดังนี้

1. แบบหยอดโคน ใส่ปุ๋ยห่างจากโคนต้นประมาณ 10 เซนติเมตร โดยขุดหลุมฝังหรือโรยรอบๆ โคนต้นแล้วพรวนดินกลบก็ได้ ซึ่งเหมาะสมกับการปลูกแบบมีระยะปลูก

2. แบบโรยหรือหว่านเป็นแถว ใส่ปุ๋ยโรยหรือหว่านเป็นแถวขนานไปกับระหว่างแถวปลูกพืชจากแถวปลูกประมาณ 10-15 เซนติเมตร โดยขุุดเป็นร่องแล้วพรวนดินกลบ หรือโรยปุ๋ยก่อนแล้วพรวนดินกลบก็ได้ ซึ่งเหมาะกับการปลูกแบบโรยเมล็ดเป็นแถว

3. แบบหว่าน ต้องหว่านปุ๋ยให้กระจายทั่วและสม่ำเสมอ หลังหว่านปุ๋ยแล้วต้องรดน้ำทันที อย่าให้ปุ๋ยค้างอยู่ที่ใบ เพราะจะทำให้ใบไหม้และต้นพืชตายได้ ซึ่งเหมาะกับแปลงเพาะกล้าและการปลูกแบบหว่านเมล็ด

ฟ้าทะลายโจรเป็นพืชชอบน้ำ แต่ไม่ชอบน้ำขัง บาคาร่าออนไลน์ ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอและพอเพียง ตั้งแต่ปลูกจนถึงช่วงเก็บเกี่ยว หลังจากปลูกทุกครั้งต้องให้น้ำทันที จะช่วยให้ต้นกล้าไม่เฉาและตายง่าย ในระยะเดือนแรกหลังจากปลููก ถ้าแดดจัดควรให้น้ำ 2 ครั้งเช้าเย็น ถ้าแดดไม่จัด วันละ 1 ครั้ง เช้าเย็น ถ้าแดดไม่จัด ให้น้ำวันละ 1 ครั้ง หลังจากอายุ 2 เดือนไปแล้ว ให้น้ำวันเว้นวันหรือตามความเหมาะสม นอกจากนี้ การให้น้ำฟ้าทะลายโจร 80 เปอร์เซ็นต์ของค่าการระเหยสะสม ซึ่งวัดได้จากน้ำที่่ระเหยออกจากถาดวัดการระเหยของน้ำ ตั้งแต่ปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวให้ผลผลิตสูงสุดและปริมาณสารแล็กโตนรวมได้มาตรฐาน แต่ถ้าพืชขาดน้ำเป็นระยะนานๆ หลายวันจะทำให้เหี่ยวเฉา แคระแกร็น ออกดอกเร็ว และไม่สามารถดึงธาตุุอาหารที่จำเป็นบางชนิดได้ ทำให้เกิดโรคใบสีม่วง

การเก็บเกี่ยว

การเก็บเกี่ยวใบหรือทั้งต้น การเก็บเกี่ยวฟ้าทะลายโจรควรเก็บเกี่ยวในช่วงฟ้าทะลายโจรเริ่มออกดอกจนถึงดอกบาน 50 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งฟ้าทะลายโจรจะมีอายุประมาณ 110-150 วันและเป็นช่วงที่มีสารสำคัญมากที่สุด หากเก็บหลังช่วงนี้สารสำคัญจะลดลง ในขณะที่การออกดอกจะช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับสภาวะแวดล้อม

วิธีการเก็บเกี่ยว โดยใช้กรรไกรตัดหรือเคียวตัดเหนือดินให้ห่างจากโคนต้นประมาณ 5-10 เซนติเมตร เพื่อเลี้ยงต้นตอให้เจริญเติบโตให้ผลผลิตในรุ่นต่อไป ใช้เวลาประมาณ 2-3 เดือนจึงสามารถเก็บเกี่ยวฟ้าทะลายโจรได้อีกครั้ง จากนั้นนำมาคัดแยกวัชพืชและสิ่งปลอมปนออก ล้างด้วยน้ำสะอาด ตัดเป็นท่อนประมาณ 2-3 เซนติเมตร แล้วผึ่งให้แห้งหรืออบด้วยเครื่องอบแห้งแบบลมร้อน ผลผลิตสดเฉลี่ย 2,000-3,000 กิโลกรัมต่อไร่ มีสัดส่วนผลผลิตสดต่อผลผลิตแห้งอัตรา 4 : 1 กิโลกรัม สารแอนโดรกราฟโฟไลด์ในส่วนของใบฟ้าทะลายโจรจะเริ่มมีปริมาณมากขึ้น ตั้งแต่อายุ 80 วันขึ้นไป การเก็บเกี่ยวผลผลิตฟ้าทะลายโจรที่อายุ 135 วันหลังปลููกจะให้ปริมาณสารแอนโดรกราฟโฟไลด์สููง

นอกจากนี้ การเก็บเกี่ยวใบฟ้าทะลายโจรที่อายุุ 18 สัปดาห์หลังปลูกหรือระยะก่อนออกดอกจะมีปริมาณสารสำคัญมากที่สุดและจะพบในระยะใบอ่อนมากกว่าใบแก่ อย่างไรก็ตาม สารสำคัญของฟ้าทะลายโจรมีปริมาณที่แตกต่างกันเมื่อเก็บเกี่ยวที่อายุ 120-150 และ 180 วันหลังปลูก

การเก็บเกี่ยวเมล็ด ช่วงการเก็บเกี่ยวเมล็ดที่เหมาะสม เมื่อพืชมีอายุประมาณ 6 เดือน เป็นระยะฝักแก่ เมล็ดมีสีน้ำตาล มีน้ำหนักเมล็ดรวมประมาณ 0.166 กรัมต่อ 100 เมล็ดจะให้เปอร์เซ็นต์การงอกสููง (98.5 เปอร์เซ็นต์) สามารถเก็บไว้ได้นานถึง 1 ปี แต่อัตราการงอกสููงสุุดจะพบในเมล็ดฟ้าทะลายโจรที่่เก็บไว้ไม่เกิน 6 เดือน