โดยเห็ดที่เพาะเป็นเห็ดนางฟ้าภูฏาน ซื้อมาเป็นก้อนพร้อมเปิดดอก

ราคาก้อนละ 8 บาท สาเหตุที่เลือกเพาะเห็ดชนิดนี้เพราะที่บ้านชอบรับประทานเห็ด ก็มีโอกาสได้ทดลองรับประทานเห็ดหลายชนิดและหาข้อดีข้อเสียของเห็ดไปเรื่อยๆ จนสรุปออกมาได้ว่าเห็ดนางฟ้าภูฏานนี่แหละคือเห็ดที่ดีที่สุด และให้ดอกใหญ่ จึงอยากเพาะมาขายเพื่อแบ่งปันความอร่อย และประโยชน์ของดอกเห็ดที่ใหญ่ก็สามารถนำมาแปรรูปได้อีกมากมาย

ผลผลิตที่ได้ เฉลี่ย 5-7 วัน เห็ดออกดอก 1 ครั้ง ผลผลิตเก็บเป็นรอบ 1-2 เดือนแรก เห็ดจะออกเยอะ 40-50 กิโลกรัม ต่อรอบ ก็จะเก็บขายเป็นเห็ดสดขายกิโลกรัมละ 80 บาท

หลังจากระยะ 2 เดือนเห็ดจะเริ่มออกน้อยลงเพราะก้อนอาหารในเห็ดใกล้จะหมด ซึ่งการเก็บเห็ดสด กับการเก็บเพื่อการแปรรูปจะแตกต่างกัน ถ้าเก็บมาเพื่อขายสดจะต้องเก็บดอกที่พร้อมรับประทาน ไม่อ่อนหรือไม่แก่จนเกินไป แต่การเก็บเห็ดมาเพื่อแปรรูปจะเก็บเห็ดที่มีดอกใหญ่ เพราะต้องการปริมาณในการแปรรูป

ขั้นตอนการแปรรูปแหนมเห็ด
เริ่มจากการเก็บเห็ดที่มีดอกใหญ่มาสะสมไว้ไม่เกิน 2 วัน สาเหตุที่ต้องเก็บมาสะสมไว้เพราะถ้ารอเก็บเห็ดที่มีดอกใหญ่ระยะการออกแต่ละครั้งจะได้ไม่เยอะจึงต้องใช้การเก็บมาสะสมแล้วแช่ตู้เย็นไว้แต่แช่ไม่เกิน 2 วัน วันที่ 3 ให้เริ่มนำมาทำได้

วิธีการทำ

นำเห็ดที่แช่ตู้เย็นไว้มาล้างน้ำให้สะอาด
ฉีกเห็ดให้มีขนาดไม่เล็กไม่ใหญ่จนเกินไป นำไปนึ่งพอให้สุก แล้วนำมาพึ่งให้เห็ดเย็นตัว
หลังจากนั้น เตรียมส่วนผสมในการทำแหนมเห็ด ส่วนผสม ได้แก่

เห็ดฉีก 1 กิโลกรัม
ข้าวหุงสุก 200 กรัม (สูตรของที่สวนจะใช้ข้าวไรซ์เบอร์รี่ผสมกับข้าวกล้อง)
กระเทียม 55 กรัม
เกลือ 15 กรัม
นำวัตถุดิบและส่วนผสมทั้งหมดคลุกเคล้าให้เข้ากัน
หลังจากคลุกเคล้าเสร็จใช้ผ้าคลุมพักไว้ให้เซ็ตตัว อย่าให้มีแมลงวันมาตอม
นำมาบรรจุใส่ถุงรัดให้เป็นตุ้มจิ๋วแล้วทิ้งไว้ 2 วัน ให้เป็นแหนมแล้วแพ็กซีนถุงสุญญากาศส่งให้ลูกค้า การทำแหนมเห็ดถือว่าทำไม่ยาก แต่ข้อสำคัญคือว่าถ้าทำไม่ถูกวิธีก็จะกลายเป็นของเสีย เห็ดบูด

ราคาขายแพ็กละ 100 บาท 1 แพ็ก มี 10 ลูก น้ำหนักรวม 50 กรัม หักลบต้นทุนแล้วได้กำไรกิโลกรัมละ 160 บาท เพิ่มมาอีกเท่าตัว ส่วนผลตอบรับถือว่าดีลูกค้าชอบเพราะใส่เนื้อเห็ดเยอะ และเป็นเห็ดที่เพาะเองไม่มีสารพิษ

การตลาด ไม่มีหน้าร้าน ขายผ่านช่องทางออนไลน์อย่างเดียว ซึ่งปัจจุบันขายผ่านทางเพจเฟซบุ๊กบ้านสวนมูลมัง ใครที่สนใจสามารถอินบล็อกเข้ามาสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ช่องทางนี้ได้เลย ตัดสินใจลาออกจากงานมาประจำ
สิ่งที่ได้จากงานเกษตรคือความสุข
คุณอรรณพ บอกว่า หลังจากที่ลาออกจากงานประจำมาทำเกษตรสิ่งที่ได้คือ 1. ความสบายใจ 2. ความสุขที่มากขึ้น 3. เวลาชีวิตมีค่ามากขึ้น ทำให้สามารถหาทิศทางการใช้ชีวิตได้ดีมากกว่าการมองหาโอกาสในการทำงานประจำที่มีการแข่งขันสูง ซึ่งปัจจุบันอาชีพเกษตรกรรมไม่ได้น่าอาย หรือเหนื่อยเหมือนสมัยก่อนเพราะในปัจจุบันเทคโนโลยีที่พัฒนามีเครื่องจักรกลการเกษตรเข้ามาช่วยทุ่นแรงเกษตรกรได้มาก การทำตลาดก็ง่ายและไวขึ้นเพราะมีสื่อออนไลน์เข้ามาช่วยเพิ่มช่องทางการตลาด ช่วยให้เกษตรกรสะดวกสบายมากขึ้น และที่สำคัญมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีความสุขได้อยู่พร้อมหน้าพร้อมตากันทั้งครอบครัว แต่ก่อนที่จะเจอกับความสุขแบบนี้เกษตรกรต้องยอมรับการเริ่มต้นให้ได้ก่อน

“ผมทำงานใช้เวลาเก็บเงินมา 4 ปี ตอนนี้เงินที่เก็บก็หายไปกับการทำเกษตร การเกษตรคือความอดทน สิ่งที่ลงทุนไปแล้วไม่ใช่ว่าจะได้ผลตอบกลับมาทันที แต่อาจจะต้องรอเป็นเดือนเป็นปี อย่างผมที่ลงทุนปลูกหม่อนเพิ่มต้องใช้เวลาเป็นปีกว่าจะมีผลผลิตให้เก็บ และต้องยอมรับกับความผิดหวังให้ได้ เพราะลงทุนปลูกอะไรไม่ใช่ว่าจะสำเร็จทุกตัว” คุณอรรณพ ฝากข้อคิดทิ้งท้าย

มะยงชิด ผลไม้ขึ้นชื่อจังหวัดนครนายก หากใครได้ลิ้มลองรสชาติ เป็นอันต้องติดใจ ด้วยลักษณะพิเศษที่ไม่เหมือนที่อื่น ทั้งขนาดของผลที่ใหญ่ สีของเปลือกและรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ ไม่แปลกใจเลยว่า ทำไมมะยงชิด ของที่นี่มีชื่อเสียงกลายเป็นซิกเนเจอร์ของจังหวัด ที่ใครมาแล้วต้องซื้อกลับ

ซึ่งครั้งนี้เทคโนโลยีชาวบ้านก็ไม่พลาดที่จะพาท่านผู้อ่านไปรู้จักกับสวนมะยงชิดลุงนวย นับเป็นอีกสวนที่ขึ้นชื่อเรื่องของคุณภาพ และรสชาติของมะยงชิดที่หวานกำลังดี มีอมเปรี้ยวหน่อยๆ รวมถึงขนาดผลใหญ่ ที่ใหญ่เท่าๆ กับไข่ไก่ จนแม่ค้าต้องมานอนเฝ้าขอซื้อถึงสวน

คุณอำนวย อินไชยะ (ลุงนวย) ข้าราชการเกีษยณ วัย 81 ปี (เจ้าของสวนมะยงชิดลุงนวย) อยู่บ้านเลขที่ 1 หมู่ที่ 7 ตำบลท่าช้าง อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก เล่าว่า ก่อนที่จะมาทำสวนมะยงชิด ตนทำงานรับราชการเป็นนายช่างสมุทร อยู่กรมพัฒนาที่ดินมาก่อน งานสวนถือเป็นเรื่องไกลตัว อาศัยความมีใจรัก ระหว่างรับราชการมีโอกาสได้ไปคุมงานตามต่างจังหวัด ก็จะไปเสาะหาพันธุ์ไม้ดีๆ มาปลูกสะสมไว้ ด้วยลักษณะของงานที่ทำค่อนข้างเครียด กลับบ้านก็อยากพักผ่อนได้เห็นสีเขียวๆ เดินดูเพลินๆ ปลูกมาหลายชนิด มาจบสุดท้ายที่มะยงชิด เพราะมะยงชิดเป็นไม้ผลที่ดูแลง่าย ช่วงไปทำงานก็อาศัยให้เทวดาช่วยเลี้ยง

พลิกดินเปรี้ยวปลูกมะยงชิด
ปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยคอก ได้ผลดี ต้นทุนต่ำ
ลุงนวย บอกว่า มะยงชิดเป็นผลไม้ที่ออกไม่ตรงกับผลไม้ชนิดอื่น มองเห็นอนาคตว่าจะกลายเป็นของหายากและขายได้ราคาดี ตอนนี้ปลูกมะยงชิดทั้งหมด 12 ไร่ เดิมพื้นที่ตรงนี้เป็นดินเปรี้ยว มีค่า pH 3.5-4 ก่อนปลูกจึงต้องปรับปรุงดินใส่ปุ๋ยคอก แล้วขุดบ่อยกร่องตากดิน ปุ๋ยมูลสัตว์จะเข้าไปช่วยปรับสมดุลในดิน เมื่อต้นไม้ยืนต้นจะปรับสภาพได้เอง

“ก่อนหน้านี้ปลูกมะยงชิดหลายพันธุ์ ไปที่ไหนก็เสาะหามาปลูก หาเองบ้างให้ลูกน้องช่วยหาบ้าง จนมาจบที่พันธุ์บางขุนนนท์ ที่ได้มาจากเพื่อนที่มีบ้านอยู่นนทบุรี จึงให้เขาช่วยหาพันธุ์มา พอปลูกแล้วรู้สึกว่าพันธุ์นี้ถูกใจกว่าพันธุ์อื่น ทั้งเรื่องรสชาติ ขนาดของผล และสีของเปลือก จึงตัดสินใจที่จะปลูกพันธุ์นี้เป็นการค้า”

ลุงนวย เล่าถึงเทคนิคและขั้นตอนการปลูกมะยงชิดว่า อาชีพเกษตรกรรมทำให้ดีต้องมีการวางแผน ผลผลิตแต่ละปีได้ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศด้วย ควรวางแผนการปลูก ที่นี่จะไม่ทำผลผลิตให้ออกพร้อมกันทั้งหมด จะแบ่งปลูกเป็นชุด ชุดละ 5 ไร่ 10 ไร่ เพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยง ชุดนี้โดนฝน ชุดนี้ไม่โดน ถือว่ายังมีผลผลิตได้ออกขายบ้าง

มะยงชิด สามารถปลูกได้ทุกสภาพพื้นที่ ทั้งดินทราย ดินลูกรัง ดินร่วนปนทราย แต่มีข้อสำคัญคือ ตอนปลูกครั้งแรกพื้นที่ปลูกต้องไม่มีน้ำขัง ถ้าน้ำขังรากจะเน่า ให้ปลูกในลักษณะพูนดินขึ้นมาเป็นกระทะ รอจนต้นเริ่มแตกใบอ่อนให้เห็นแสดงว่ารอด ก็สามารถอยู่และเจริญเติบโตริมน้ำได้สบาย

มะยงชิด ใช้เวลาปลูก 3 ปี ให้ผลผลิต เก็บผลผลิตได้นานอีก 40-50 ปี “ผมปลูกมะยงชิดตั้งแต่ปี 2524 ผ่านมาแล้ว 38 ปี ตอนนี้ยังให้ลูกดกอยู่เลย พูดง่ายๆ ว่าต้นยิ่งแก่ลูกยิ่งดก นับเล่นๆ แค่ 11 ต้น ได้ผลผลิตเกือบสองตัน ต้นหนึ่งเก็บได้ 200-300 กิโลกรัม” ลุงบอก

ฤดูของผลผลิต …ปกติตามธรรมชาติเริ่มออกดอกเดือนพฤศจิกายนอย่างเร็ว แต่เดี๋ยวนี้มีเทคนิคใหม่คือ เปิดไฟเร่งดอก อย่างที่นี่เปิดไฟเร่งดอกตั้งแต่เดือนตุลาคม ผลผลิตออกมาเก็บขาย วันที่ 3 มกราคม เป็นวันแรก

การเตรียมดิน …การปลูกจะดินอะไรก็แล้วแต่ ต้องดูว่าพื้นดินเป็นที่ลุ่มหรือเปล่า ถ้าเป็นที่ลุ่มก็ควรจะพูนดินขึ้นมาเป็นหลังเต่า ถ้าดินดีไม่ต้องขุดลึก ขุดแค่ 50 เซนติเมตร แล้วผสมปุ๋ยหรือใช้ดินธรรมดาปลูกได้ทุกสภาพ อย่าให้น้ำขัง อย่าให้แล้งจัด ช่วงแรกต้องให้ความชุ่มชื้น

การปลูก … มี 2 แบบ ถ้าปลูกแบบทำกิ่งขาย ใช้ระยะ 4-5 เมตร แต่ถ้าปลูกเพื่อเก็บผลผลิต ให้ปลูกระยะ 8 เมตร ถือว่าดีที่สุด 10 ปี แทบไม่ต้องทำอะไรเลย แค่ดูว่ากิ่งข้างในพุ่มยาวไปเสียบข้างในหรือเปล่าแค่นี้เอง

ระบบน้ำ … มะยงชิด เป็นพืชที่ทนแล้งได้ แต่จะอาศัยเทวดาเลี้ยงอย่างเดียวไม่ได้ ทางที่ดีควรมีระบบน้ำ หากปลูกแบบรอน้ำฝนต้นไม่ตาย แต่ผลผลิตที่ได้ก็จะไม่ดีเท่าที่ควร ขนาดของผลจะเล็ก การให้น้ำก็ไม่ต้องให้เยอะ ให้ดูว่าถ้าแห้งจัดก็ให้ ระยะการให้ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นดินของแต่ละที่ คนปลูกต้องหมั่นสังเกตเอาเองจะดีที่สุด

ปุ๋ย …ทันทีที่เก็บลูก ควรตัดแต่งกิ่งที่เสียออก แล้วใส่ปุ๋ยคอก ที่นี่ไม่ได้ใส่ปุ๋ยเร่งลูกเร่งขนาด ปล่อยตามธรรมชาติ เพราะพันธุ์ที่ปลูกดีอยู่แล้ว โรคและแมลงที่พบ
จะมีปัญหาเป็นช่วง ถ้าผลผลิตออกช่วงเดือนพฤศจิกายน แมลงวันทอง หรือเพลี้ยจักจั่นยังไม่มี เพราะมะม่วงกับกระท้อนยังไม่ออก แต่หลังจากช่วงที่ผลผลิตมะม่วง กระท้อน ออกพร้อมกัน จะเริ่มมีแมลงมารบกวน วิธีแก้ ใช้แค่แอมโมเนียชุบสำลีแขวนไว้ตามต้นแค่นั้น

เทคนิคทำขนาดผลให้ใหญ่
มี 2 ประการ ประการแรก ขึ้นอยู่กับพันธุ์ที่เลือกปลูก ถ้าพันธุ์ที่ปลูกเป็นพันธุ์ที่ให้ลูกเล็กดูแลดีแค่ไหน ลูกก็ยังเล็กอยู่ ประการที่สอง ระบบน้ำ ถ้าพันธุ์ที่ปลูกดีแค่ไหน แต่ไม่รดน้ำ จะอาศัยธรรมชาติอย่างเดียวแล้วให้ลูกใหญ่ถือว่ายาก ทางที่ดีคือ เมื่อผลเท่าหัวแมลงวันก็เริ่มให้น้ำได้ ให้วันเว้นวันหรือสองวันครั้ง ถ้าให้มากเกินไปใบอ่อนออกต้นจะสลัดลูกทิ้ง ของแบบนี้ต้องอาศัยประสบการณ์และเป็นคนช่างสังเกตด้วย ไม่ใช่อ่านทฤษฎีมา เขาบอกทำแบบนั้นแบบนี้แล้วจะได้ผลตามเขา แค่พื้นที่ปลูก หรือฝน ฟ้า อากาศ ก็ไม่เหมือนกันแล้ว

ห่อผลด้วยโฟม กับกระดาษ
มีข้อดี ข้อเสีย ต่างกัน
ที่นี่มีการดูแลผลของมะยงชิดอยู่ 2 แบบ

1. ห่อด้วยกระดาษ ข้อดี คือได้ผลสวย และแมลงไม่มารบกวนแน่นอน ส่วนข้อเสีย คือเราจะไม่รู้ว่าผลผลิตสุกหรือยังต้องเสียเวลามาเปิดดูทีละลูก

2. ห่อด้วยโฟมตาข่าย ข้อดี คือสามารถเห็นผลได้ชัดไม่ต้องเปิดดู ช่วยประหยัดเวลา กันนกได้ส่วนหนึ่ง ข้อเสีย กันแมลงตัวเล็กไม่ค่อยดี

แม้ผลผลิตออกเยอะ ตลาดก็ไม่ตัน
เพราะมีคุณภาพการันตี
ลุงนวย เริ่มปลูกมะยงชิดตั้งแต่ ปี 2524 ปลูกสะสมมาเรื่อย มีการคัดหาสายพันธุ์เพื่อหาพันธุ์ที่ดีที่สุดอยู่หลายปี กิ่งพันธุ์จะราคาแพงเท่าไรไม่เกี่ยง เมื่อสะสมปลูกนานไปผลผลิตเริ่มเยอะ กินไม่ไหว ก็เอาไปแจกเพื่อน พอเหลือแจกก็ขายบ้าง การตลาดเริ่มจากมีแม่ค้าที่รู้จักกันอยู่อำเภอสาริกา โทร. มาหาว่ายังมีผลผลิตอยู่ไหม ให้เอามาเดี๋ยวขายให้ เราก็เอาไปให้ลังหนึ่ง สรุปยังกลับไม่ถึงบ้านเลย เขาโทร. มาบอกให้เอาไปให้อีกลัง เมื่อกี้หมดแล้ว

ตั้งแต่นั้นก็กลายเป็นว่ามีคนตามมาซื้อถึงสวนเลย เพราะมะยงชิดเราลูกใหญ่ รสชาติดี ราคาขายเป็นกิโลก็ดีช่วงเดือนมกราคมเก็บขายคละไซซ์กิโลกรัม 280 บาท พอเป็นช่วงที่ผลผลิตออกเยอะ ราคาจะค่อยลดลงมาตามตลาดแต่ไม่มาก หากเป็นไซซ์ใหญ่ชั่งได้ 16 ลูกโล กิโลกรัมละ 280 บาท แม่ค้าก็เอาแล้ว แต่ถ้าจะคัดแบบจริงจังให้ได้ราคาเพิ่ม 12 ลูก 1 กิโลกรัมกำลังดี ด้วยคุณภาพที่ดีมาตลอด ผลผลิตออกมากแค่ไหนไม่กลัวว่าจะขายไม่หมด เพราะแม่ค้าเขามาเฝ้าเก็บเอาเลย เก็บเอง ชั่งเอง เจ้าของจดจำนวนรับเงินอย่างเดียว

การปลูกมะยงชิดไม่มีอะไรซับซ้อน ถ้าจะปลูกไว้กินเองมีแหล่งน้ำเพียงพอก็ปลูกได้ สมัยนี้กิ่งพันธุ์ราคาไม่แพง แต่ถ้าจะปลูกเชิงการค้าให้หาตลาด และศึกษาธรรมชาติดูสักนิดก่อน ไม่มีอะไรที่ได้มาง่ายๆ ให้ท่องจำไว้เสมอว่า ทุกอย่างมันไม่ใช่ 1+1 = 2 ยังต้องมีองค์ประกอบอื่นๆ อีกเยอะ ไปอ่านมาบอกให้ใส่ปุ๋ยสูตรคนนั้นสั่งมาให้ใส่ปุ๋ยวันนั้นวันนี้ไม่ใช่ ที่ดินแต่ละที่ดินฟ้าอากาศไม่เหมือนกัน บางที่ตก อีกที่ไม่

หาก…ท่านใดอยากโทร.มาปรึกษาขอความรู้ ทางลุงยินดีมากๆ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 093-654-9562 เมื่อวิกฤตเศรษฐกิจแปรปรวน รายได้กับรายจ่ายไม่สมดุลมักส่งผลกระทบกับวิถีการยังชีพต่อครัวเรือน การคิดใหม่ทำใหม่ของเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังด้วยการรวมกลุ่มเข้าร่วมโครงการ “แปลงใหญ่มันสำปะหลังตำบลวังม่วง” เพื่อทำกิจกรรมและใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมพัฒนาการผลิต รวมถึงการนำเหง้ามันสำปะหลังมาเผาในเตาเผาถ่านชีวมวลไร้มลพิษ ผลิตเป็นถ่านไม้ได้ผลิตภัณฑ์ขายดี ทำให้มีรายได้เพิ่ม วันนี้จึงนำเรื่อง “สู้วิกฤตเศรษฐกิจที่แปรปรวน ผลิตถ่านไม้จากเหง้ามันสำปะหลังขาย ทำให้วิถีมั่นคง” มาบอกเล่าสู่กัน

คุณเสาวนิตย์ พรหมโชติ เกษตรอำเภอวังม่วง เล่าให้ฟังว่า ได้ส่งเสริมเกษตรกรรวมกลุ่มปลูกมันสำปะหลังในโครงการแปลงใหญ่มันสำปะหลังตำบลวังม่วง มีสมาชิก 76 ราย พื้นที่ดำเนินการ 2,392 ไร่ พร้อมกับสนับสนุนให้เกษตรกรจัดระบบปลูกพืชแบบเหลื่อมฤดูเพื่อหลีกเลี่ยงการเก็บเกี่ยวในช่วงฝนตกชุกและลดความเสียหายจากการเน่าเสียของผลผลิต ให้จัดระบบปลูกพืชแบบหมุนเวียนเพื่อการปรับปรุงบำรุงดิน และลดต้นทุนการผลิต ส่งเสริมให้เกษตรกรใช้ประโยชน์จากทุกส่วนของต้นมันสำปะหลัง รวมทั้งให้นำเหง้ามันสำปะหลังมาเผาในเตาเผาถ่านชีวมวลไร้มลพิษ ก็จะได้น้ำส้มควันไม้เพื่อใช้เป็นสารป้องกันศัตรูพืช และได้ถ่านไม้นำไปขายหรือใช้เป็นเชื้อเพลิงในการหุงต้มหรือปิ้งย่าง เป็นหนึ่งวิธีการเพิ่มมูลค่าผลผลิตและยกระดับรายได้ครัวเรือนให้มั่นคง

คุณอนัญญา จันทร์น้อย ประธานแปลงใหญ่มันสำปะหลังตำบลวังม่วง เล่าให้ฟังว่า เกษตรกรในพื้นที่ตำบลวังม่วง ส่วนใหญ่จะปลูกมันสำปะหลังเป็นอาชีพหลัก วิธีการปลูกก็เป็นไปในลักษณะต่างคนต่างทำ จึงต้องใช้ต้นทุนการผลิตค่อนข้างสูง ไม่ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อพัฒนาการผลิต ผลผลิตที่ได้คุณภาพต่ำ แล้วยังไม่มีอำนาจต่อรองด้านการตลาดจึงส่งผลให้ไม่มั่นคงด้านรายได้และการยังชีพ

พัฒนาการผลิต สำนักงานเกษตรอำเภอวังม่วงร่วมกับอีกหลายหน่วยงาน ได้ส่งเสริมให้เกษตรกรรวมกลุ่มปลูกมันสำปะหลังแปลงใหญ่ภายใต้ชื่อ โครงการแปลงใหญ่มันสำปะหลังตำบลวังม่วง มีเป้าหมายเพื่อ 1. ลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มผลผลิต 2. เพื่อเป็นศูนย์กลางรองรับองค์ความรู้ 3. เพื่อใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อพัฒนาคุณภาพผลผลิตให้ได้มาตรฐานที่ตลาดต้องการ 4. ด้านการตลาด ร่วมมือกันพัฒนาการตลาดด้วยการจัดหาตลาดเพื่อซื้อขายสินค้าด้วยราคาเป็นธรรม 5. เพื่อบริหารจัดการและสร้างกลุ่มเกษตรกรให้มีความเข้มแข็งและมั่นคง

เกษตรกรที่เข้าร่วมในโครงการแปลงใหญ่มันสำปะหลัง นอกจากจะได้รับการสนับสนุนให้ใช้เทคโนโลยีการผลิตที่เหมาะสมเพื่อพัฒนาคุณภาพผลผลิต ก็ได้ให้นำทุกส่วนของต้นมันสำปะหลังมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยเฉพาะการนำเหง้ามันสำปะหลังมาตากแห้งแล้วนำไปเผาเป็นถ่านไม้เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม

คุณอนัญญา เล่าให้ฟังอีกว่า ปลูกมันสำปะหลัง 200 ไร่ ได้ผลผลิตหัวมันเฉลี่ย 8,000 กิโลกรัม ต่อไร่ เมื่อตัดหัวมันแยกออกจะได้เหง้ามันในราว 700 กิโลกรัม ต่อไร่ แล้วนำเหง้ามันมาเผาจะได้เป็นถ่านไม้ 200-210 กิโลกรัม ต่อไร่ หรือคิดจากพื้นที่ปลูก 10 ไร่จะผลิตถ่านไม้ได้ 2,000-2,100 กิโลกรัม นำไปขาย 5-8 บาท ต่อกิโลกรัม ทำให้มีรายได้ 10,000-16,000 บาท หรือ 10,500-16,000 บาท ก็เป็นอีกแนวทางการเสริมสร้างรายได้แบบพอเพียง เกษตรกรได้รับการสนับสนุนเตาเผาถ่านชีวมวลไร้สารมลพิษ 100 เตา

จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิทยาเขตอำเภอแก่งคอย เป็นการใช้นวัตกรรมจากผลงานวิจัยมาสู่การปฏิบัติ ด้วยการนำเหง้ามันสำปะหลังที่เหลือใช้มาเผาในเตาเผาถ่านชีวมวลไร้มลพิษ ทำให้ได้ถ่านไม้คุณภาพ ลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ครัวเรือน มีเกษตรกรตั้งแต่ 40 รายขึ้นไป นำเหง้ามันสำปะหลังมาเผาในเตาเผาถ่านชีวมวลไร้มลพิษ วัสดุที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงในการเผาถ่านเป็นเศษไม้หรือต้นกระถินที่หาได้จากหัวไร่ปลายนา ใช้เวลาเผาถ่าน 4-5 ชั่วโมง ตนเองจะเป็นศูนย์กลางรวบรวมถ่านไม้เหง้ามันสำปะหลังจากสมาชิกแล้วจัดการขายให้กับพ่อค้า 5-8 บาท ต่อกิโลกรัม นับเป็นหนึ่งทางเลือกที่ทำให้สมาชิกสร้างมูลค่าเพิ่มจากผลผลิตและยกระดับรายได้สู่ความมั่นคง

คุณมะยม สมบูรณ์ ผู้ปลูกมันสำปะหลัง เล่าให้ฟังว่า ได้เข้าร่วมในโครงการแปลงใหญ่มันสำปะหลัง มีพื้นที่ปลูก 120 ไร่ พื้นที่ 1 ไร่ใช้ต้นพันธุ์ปลูกในราว 500 ต้น วิธีปลูกได้นำต้นพันธุ์ 1 ต้นมาตัดเป็น 2-4 ท่อน แต่ละท่อนมี 5-7 ตา การปลูกนำไปปักเอียงลงในดิน 10-15 เซนติเมตร ปลูกระยะห่างระหว่างต้นและแถว 80-100 เซนติเมตร หลังจากปลูกมันสำปะหลัง 3-4 เดือน ได้ใส่ปุ๋ย 0-0-60 อัตรา 1/2 ถุง ต่อต้น การให้น้ำ ในฤดูฝนได้จัดการให้ต้นมันสำปะหลังได้รับน้ำจากน้ำฝน และส่วนฤดูแล้งให้ได้รับน้ำจากระบบน้ำหยด

การเก็บเกี่ยว การปฏิบัติดูแลบำรุงรักษาเหมาะสม เมื่อต้นมันสำปะหลังอายุ 8-10 เดือนก็จะได้หัวมันคุณภาพเฉลี่ย 8 ตัน ต่อไร่ หรือ 8,000 กิโลกรัม ต่อไร่ พื้นที่ปลูก 120 ไร่จะได้ผลผลิตเฉลี่ย 960 ตัน หรือ 960,000 กิโลกรัม

การใช้ประโยชน์ ได้นำส่วนต่างๆ ของต้นมันสำปะหลังไปสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยการขายหัวมันสด ที่แปรรูปเป็นหัวมันสดหมัก มันเส้นสะอาดที่ใช้เป็นส่วนผสมอาหารโคนมสูตร TMR หรือขาย ต้นมัน เพื่อใช้เป็นพันธุ์ปลูก

การผลิตถ่านไม้ ได้นำเหง้ามันจากพื้นที่ 120 ไร่มาเผาในเตาเผาถ่านชีวมวลไร้มลพิษ พื้นที่ 1 ไร่จะได้ถ่านไม้เฉลี่ย 200 กิโลกรัมหรือได้ถ่านไม้รวม 24,000 กิโลกรัม นำออกขาย 5 บาท ต่อกิโลกรัม จะมีรายได้ 1,000 บาท ต่อไร่ หรือมีรายได้รวม 120,000 บาท เมื่อนำไปรวมกับรายได้จากการขายส่วนต่างๆ ของต้นมันสำปะหลังที่แปรรูป ทำให้แต่ละปีมีรายได้เป็นเงินเรือนแสนบาท ส่งผลให้วิถีการยังชีพมีความมั่นคงกว่าวิธีการเดิม

จากเรื่อง “สู้วิกฤตเศรษฐกิจที่แปรปรวน ผลิตถ่านไม้จากเหง้ามันสำปะหลังขาย ทำให้วิถีมั่นคง” เป็นการใช้ประโยชน์จากส่วนต่างๆ ต้นมันสำปะหลังอย่างรู้คุณค่า สอบถามเพิ่มได้ที่ คุณอนัญญา จันทร์น้อย บ้านเลขที่ 105 หมู่ที่ 9 บ้านหนองบอน ตำบลวังม่วง อำเภอวังม่วง จังหวัดสระบุรี โทร. (083) 878-5961 หรือคุณมะยม สมบูรณ์ โทร. (084) 775-6042 หรือคุณเสาวนิตย์ พรหมโชติ สำนักงานเกษตรอำเภอวังม่วง โทร. (036) 359-021 ก็ได้ครับ

กรมวิชาการเกษตร คลอดกล้วยน้ำว้าพันธุ์ใหม่ “สุโขทัย 1” ผลกลมป้อม ใหญ่ยาว เนื้อทั้งสุกและดิบสีครีมอ่อน เนื้อละเอียดเหนียว รสชาติหวานไม่อมเปรี้ยว ให้ผลผลิตสูง 1 เครือ มี 9 หวี น้ำหนักเครือกว่า 16 กิโลกรัม ทึ่งคุณค่าทางโภชนาการ วิตามินบี 3 และโพแทสเซียมสูง แซงพันธุ์การค้า

นางสาวเสริมสุข สลักเพ็ชร์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกกล้วยประมาณ 481,639 ไร่ ในจำนวนนี้มีพื้นที่ปลูกกล้วยน้ำว้ามากที่สุด จำนวน 328,456 ไร่ กล้วยไข่ จำนวน 63,233 ไร่ กล้วยหอม จำนวน 62,525 ไร่ และกล้วยอื่นๆ จำนวนประมาณ 27,425 โดยพื้นที่ปลูกกล้วยน้ำว้าจะปลูกมากที่สุดในเขตภาคเหนือ อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาในประเทศไทยแต่ยังขาดกล้วยน้ำว้าพันธุ์ดี และขาดข้อมูลของพันธุ์ ดังนั้น ศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย กรมวิชาการเกษตร จึงได้ศึกษาหาสายต้น หรือพันธุ์กล้วยน้ำว้าที่ดีมีคุณภาพ เพื่อปรับปรุงพันธุ์ให้ได้สายพันธุ์ใหม่ที่มีลักษณะดีเด่น ให้ผลผลิตสูง มีคุณภาพ และมีคุณค่าทางโภชนาการสูงกว่าพันธุ์การค้า เป็นที่ยอมรับของเกษตรกรและผู้บริโภค เพื่อเป็นพันธุ์ทางเลือกสร้างรายได้เพิ่มให้แก่เกษตรกร

ระหว่างปี 2547-2554 ศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย Royal Online ได้คัดเลือกสายต้นหรือพันธุ์กล้วยน้ำว้าจากแปลงรวบรวมและอนุรักษ์พันธุกรรมกล้วยของศูนย์ฯ โดยใช้เกณฑ์การคัดเลือกคือ ให้ผลผลิตสูง มีจำนวนหวีต่อเครือไม่ต่ำกว่า 7 หวี เนื้อแน่น สีเนื้อขาวนวลถึงเหลือง รสชาติหวาน คุณภาพการบริโภคดี ผู้บริโภคยอมรับสูง โดยสามารถคัดเลือกไว้ 7 สายต้น นำไปปลูกเปรียบเทียบสายต้น และคัดเลือกสายต้นที่ดีเด่นไว้ 2 สายต้น ปี 2558-2560 นำไปปลูกทดสอบที่ศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเลย และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเพชรบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่มีสภาพภูมิประเทศและสภาพภูมิอากาศที่แตกต่างกัน พบว่า กล้วยน้ำว้าสายต้น สท.55-4 เจริญเติบโตได้เร็ว ต้นแข็งแรง ผลผลิตเฉลี่ยน้ำหนักเครือและจำนวนหวีต่อเครือสูงสุดทั้ง 3 สถานที่ผลิต ที่สำคัญยังมีคุณค่าทางโภชนาการสูง ซึ่งคุณสมบัติทั้งหมดตรงกับวัตถุประสงค์ในการปรับปรุงพันธุ์

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า ศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย เป็นหน่วยงานในการพัฒนาพันธุ์กล้วยน้ำว้าสายต้น สท.55-4 ดังนั้น จึงได้ตั้งชื่อกล้วยน้ำว้าพันธุ์ใหม่นี้ว่า “กล้วยน้ำว้าสุโขทัย 1” ซึ่งมีลักษณะเด่น คือ ให้ผลผลิตสูง น้ำหนักเครือ 16.1 กิโลกรัม สูงกว่ากล้วยน้ำว้ามะลิอ่องซึ่งเป็นพันธุ์การค้าที่ให้ผลผลิต 13.7 กิโลกรัม จำนวน 9 หวี/เครือ สูงกว่ากล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง ซึ่งให้จำนวนหวี 8 หวี/เครือ ให้คุณค่าทางโภชนาการ ได้แก่ วิตามินบี 3 และโพแทสเซียม สูงกว่าพันธุ์การค้า นอกจากนี้ กล้วยน้ำว้าพันธุ์สุโขทัย 1 ยังมีลักษณะผลค่อนข้างป้อมกลม ผลค่อนข้างใหญ่กว้าง 3.8 เซนติเมตร และยาว 14 เซนติเมตร ซึ่งใหญ่กว่าพันธุ์การค้า เนื้อผลทั้งดิบและสุกมีสีครีมอ่อน เนื้อละเอียดเหนียว และมีรสชาติหวานไม่ปนเปรี้ยว

ศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย มีแปลงแม่พันธุ์กล้วยน้ำว้าพันธุ์สุโขทัย 1 พร้อมขุดแยกหน่อได้ปีละ 2,000-3,000 หน่อ ใช้ปลูกในพื้นที่ประมาณ 20-30 ไร่ โดยในปี 2562 ที่ผ่านมาสามารถขุดแยกหน่อได้ ประมาณ 2,000 หน่อ ใช้ปลูกในพื้นที่ 20 ไร่

ถามถึงพื้นที่ปลูกส้มที่มากที่สุดของประเทศ คงเป็นภาคเหนือ โดยเฉพาะที่จังหวัดเชียงใหม่ สายพันธุ์ที่นิยมปลูกกันมากในปัจจุบัน หนีไม่พ้นส้มสายน้ำผึ้ง ด้วยคุณสมบัติที่ใยส้มจะนิ่ม ไม่หนา เนื้อแน่น น้ำเยอะ เปลือกบางล่อน และผิวมีสีเหลืองทองอร่ามเมื่อสุกได้ที่

แต่ก็ยังมีสายพันธุ์อื่นที่ปลูกไว้มากและก่อนที่จะมีส้มสายน้ำผึ้งเข้ามา
เช่น ส้มสีทอง ส้มเขียวหวาน ส้มโอเชี่ยน ฮันนี่ ส้มฟรีมองต์ ส้มเช้ง ส้มแมนดาริน เป็นต้น