โดยโรบอทแทรกเตอร์ที่ได้เห็นถือเป็นเครื่องเทคโนโลยีล่าสุด

มีการวางจำหน่ายแล้วในประเทศญี่ปุ่น อีกทั้งแทรกเตอร์คันนี้ยังคงได้รับรางวัลโรบอทยอดเยี่ยมครั้งที่ 7 ของประเทศญี่ปุ่นด้วย จึงถือโอกาสการสาธิตรถโรบอทแทรกเตอร์ในวันนี้เพื่อการแสดงออกให้ทุกท่านได้เห็นว่ายันม่าร์มีความทุ่มเทเพื่อจะเป็นส่วนหนึ่งในการตอบสนองนโยบายรัฐบาลทางด้านการเกษตรอัจฉริยะ

คุณชิเกมิ ฮิดากะ ผู้จัดการฝ่ายพัฒนา บริษัท ยันม่าร์ อกริบิสเนส จำกัด เป็นผู้ดูแลโปรเจ็กต์โรบอทแทรกเตอร์ กล่าวว่า ถือเป็นครั้งแรกที่ได้นำตัวโรบอทแทรกเตอร์ตัวนี้มาแสดง

จากสถานการณ์การผลิตอ้อยในปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกมาก ผลผลิตออกมากเป็นเงาตามตัว ราคาค่อนข้างต่ำ ทำให้รายได้ต่อไร่ต่ำ มีเกษตรกรรายย่อยหลายรายปลูกอ้อยแล้ว เมื่อถึงระยะจะตัดอ้อยส่งโรงงานกลับไม่ตัดเอง เพราะไม่คุ้มค่าตัด แรงงานหายาก จึงขายเหมาให้พ่อค้ามาตัดส่งโรงงาน ในราคาไร่ละ4,000-5,000 บาท (เกษตรกรบางรายบอกขาย ไร่ละ 3,500 บาท ก็มี) และมีพ่อค้าจำนวนหนึ่งต้องเผาอ้อยเพื่อให้สะดวกต่อการตัด ทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการตัด เช่นเดียวกับเกษตรกรบางรายก็เผาก่อนตัด โดยไม่ได้รับผิดชอบต่อผลกระทบที่เกิดขึ้น จึงเกิดฝุ่นละออง เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ประกอบกับในการปลูกอ้อยนั้นทำรายได้ปีละครั้ง และในระยะแรกเกษตรกรยังต้องใช้สารกำจัดวัชพืชค่อนข้างมาก ส่งผลให้ตกค้างในดิน บางส่วนถูกฝนชะล้างพัดพาลงสู่แหล่งน้ำ และเกิดผลกระทบอื่นๆ มากมาย

คุณลักษณู หาริพงษ์ อายุ 36 ปี อยู่บ้านเลขที่ 61 หมู่ที่ 4 บ้านฝั่งแดง ตำบลฝั่งแดง อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู โทร. 089-160-9889 เป็นอีกคนหนึ่งที่ปลูกอ้อย ต่อมาลดพื้นที่การปลูกลงแล้วหันมาปลูกดาวเรือง ข้าวโพดข้าวเหนียว และพืชผัก เพียงไม่กี่ไร่ สร้างรายได้ตลอดปี ปีละกว่า 2 แสนบาท

คุณลักษณู ให้ข้อมูลว่า เมื่อหลายปีมาแล้ว ทำไร่อ้อย ประมาณ 10 ไร่ ระยะแรกรายได้ดี และใช้สารกำจัดวัชพืชค่อนข้างมาก ต่อมาราคาตกต่ำ จึงลดพื้นที่ปลูกลง ปัจจุบัน ทำนา 5 ไร่ เก็บผลผลิตไว้บริโภคในครัวเรือน อ้อยโรงงาน 4 ไร่ แต่ที่ทำรายได้หลักคือ ดาวเรือง รุ่นละประมาณ 7,000 ต้น (ราว 1 ไร่) และข้าวโพดข้าวเหนียว รุ่นละประมาณ 1 งาน โดยพื้นที่ปลูกดาวเรืองและข้าวโพด ประมาณ 3 ไร่ สลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไป

คุณลักษณู บอกว่า ปลูกดาวเรืองมา 3 ปี ปีละ 4 รุ่น รุ่นละ 7,000 ต้น พันธุ์มหาโชค สีเหลืองทองซื้อเมล็ดราคา เมล็ดละ 1 บาท ปลูกเพื่อร้อยมาลัย

ขั้นตอนการปลูกและดูแลรักษา เริ่มจากเพาะเมล็ดในกระบะเพาะ เป็นเวลา 15 วัน แล้วนำลงปลูกในแปลงระยะระหว่างต้น ประมาณ 1 คืบ ระหว่างแถว ประมาณ 120 เซนติเมตร ให้น้ำโดยระบบน้ำหยด

โรคแมลงศัตรู มีหนอนกินดอก เจาะดอก เจาะยอด ถ้าพบจะฉีดพ่นด้วยยาฆ่าแมลง แต่ละรุ่น 2-3 ครั้ง

หลังจากปลูก 15 วัน ดาวเรืองจะเจริญเติบโตมีใบ 6 ใบ (3 คู่) ให้เด็ดยอด นับอีก 15 วัน จะเริ่มออกดอก (ตั้งแต่เพาะกล้าถึงออกดอกราว 45 วัน) ให้ใส่ปุ๋ย สูตร 15-15-15 โดยโรยข้างหลุมแล้วใช้ดินกลบ ให้น้ำให้ชุ่มอยู่เสมอ อีกประมาณ 15 วัน จะเริ่มเก็บดอกขายได้ (เมื่ออายุรวม 60 วัน) จากนั้นจะเก็บดอกได้ทุกๆ 3-4 วัน เป็นจำนวนร่วม 20 รุ่น

โดยรุ่นแรก ดอกจะโต ราคาขาย ดอกละ 70-80 สตางค์ จะเก็บดอกได้ราว 3,000-4,000 ดอก รุ่นที่ 2 ขนาดดอกจะลดลง ราคา ดอกละ 40-60 สตางค์ ได้ดอก 7,000-8,000 ดอก รุ่นที่ 3 เป็นต้นไป ราคา ดอกละ 25-30 สตางค์ ได้ดอก 11,000-12,000 ดอก แต่ละรุ่นจะให้ดอกเพิ่มประมาณ 5,000 ดอก โดยรุ่นท้ายๆ จะเก็บดอกได้ 60,000-70,000 ดอก โดยใช้เวลาในการเก็บดอกขายเดือนเศษ รายได้รุ่นละ 35,000-40,000 บาท โดยส่งขายให้พ่อค้าที่จังหวัดอุดรธานี ช่วงที่ราคาดีจะอยู่ในช่วงฤดูฝนต่อเนื่องถึงเดือนธันวาคม จากนั้นราคาจะลดลงบ้าง ทั้งนี้เนื่องจากหลังจากเก็บเกี่ยวข้าว จะมีการปลูกดาวเรือง ทำให้ผลผลิตออกมากทำให้ราคาต่ำ

นอกจากนี้ ยังปลูกข้าวโพดข้าวเหนียว รุ่นละประมาณ 1 งาน ใช้เวลา 2 เดือนเศษ นำมานึ่งขายที่หน้าสวน (ติดถนน) มีรายได้รุ่นละประมาณ 8,000-9,000 บาท ปีละ 4-5 รุ่น และยังปลูกผักขายภายในชุมชนอีกด้วย

คุณลักษณู บอกว่า ภายหลังจากลดการปลูกอ้อย หันมาปลูกดาวเรือง ข้าวโพดข้าวเหนียวและพืชผัก ปรากฏว่ามีรายได้หมุนเวียนทุกเดือน ปีละกว่า 2 แสนบาท (นอกเหนือจากข้าวและอ้อย)

คุณชนะ ไชยฮ้อย เกษตรจังหวัดหนองบัวลำภู กล่าวว่า จังหวัดหนองบัวลำภูมีพื้นที่ปลูกอ้อย 6 แสนไร่เศษ ในการผลิตมีการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช ประกอบกับส่วนใหญ่มักจะปลูกพืชเชิงเดี่ยว (อ้อย) ที่อายุยาวหลายเดือน รายได้ต่อไร่ก็ลดลงค่อนข้างมาก เนื่องจากอ้อยราคาตก ดังนั้น จึงขอแนะนำให้เกษตรกรลดการปลูกอ้อยลง แล้วหันมาทำการเกษตรหลายอย่างในรูปแบบไร่นาสวนผสม หรือเกษตรผสมผสาน และปลูกพืชหลากหลายชนิดหมุนเวียน ที่ทำให้มีการใช้แรงงานตลอดปี ทำให้มีรายได้รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน และผลิตให้ปลอดภัยจากสารพิษ ลดละการใช้สารเคมี โดยใช้วิธีการอื่นทดแทน จะทำให้สินค้าปลอดสารพิษเป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้น

ดังนั้น หากเกษตรกรมีปัญหาในการทำการเกษตร หรือการควบคุมโรคแมลงศัตรูพืช ขอคำปรึกษาได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอใกล้บ้านท่าน!!!ประเทศไทยมีสภาพแวดล้อมเหมาะสมต่อการปลูกโกโก้เป็นอย่างมาก เกษตรกรไทยหันกลับมาให้ความสนใจปลูกโกโก้มากขึ้นในช่วงนี้เนื่องจากผลตอบแทนดีกว่าพืชเศรษฐกิจหลายชนิด โดยพื้นที่เพาะปลูกทั่วประเทศ อยู่ที่ 5,464.39 ไร่ และพื้นที่เก็บเกี่ยว 4,090.66 ไร่

ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในภาคเหนือ คิดเป็นพื้นที่ 3,957.59 ไร่ ซึ่งจังหวัดที่ปลูกมากคือ จังหวัดน่าน จังหวัดเชียงราย จังหวัดลำปาง และจังหวัดตาก ขณะที่ภาคตะวันออกก็ปลูกมากเช่นกันโดยมีพื้นที่เพาะปลูก 586.48 ไร่ จังหวัดที่ปลูกมากคือ จังหวัดจันทบุรี

ขณะที่ผู้ผลิตช็อกโกแลตในประเทศไทยยืนยันว่า ความต้องการบริโภคช็อกโกแลตของคนไทยอยู่ที่ 120 กรัม ต่อคน ต่อปี เมื่อเทียบกับประเทศเบลเยียมอยู่ที่ 8 กิโลกรัม ต่อคน ต่อปี โกโก้สามารถป้อนเข้าสู่อุตสาหกรรมได้หลายผลิตภัณฑ์ ทั้งบริโภคเป็นอาหารทำเป็นช็อกโกแลตโอวัลติน หรือไมโล และยังใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพเครื่องสำอาง

ปัจจุบันมีบริษัทเอกชนรับซื้อเมล็ดตากแห้งในราคากิโลกรัมละ 50 บาท เพื่อส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่น ประเทศฝรั่งเศส ประเทศเยอรมนี และประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งถือว่าตลาดโกโก้ในไทยยังมีโอกาสขยายตัวได้อีกมาก

ทั้งนี้ คุณอาชว์ชัยชาญ เลี้ยงประยูร ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 2 จังหวัดราชบุรี เปิดเผยว่า สำนักงานมีพื้นที่รับผิดชอบ 8 จังหวัด คือ จังหวัดกาญจนบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม

“โดยในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์เป็น 1 ใน 8 จังหวัดภายใต้การรับผิดชอบที่มีการปลูกโกโก้แซมพืชหลัก เช่น มะพร้าว ปาล์มน้ำมัน ยางพารา และมีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกโกโก้อำเภอบางสะพาน โดยมี คุณนิตย์ ตั่นอนุพันธ์ เป็นประธานกลุ่ม”

“คุณนิตย์ ตั่นอนุพันธ์ ปลูกโกโก้แซมมะพร้าว จำนวน 2,200 ต้น บนพื้นที่ 126 ไร่ แปลงโกโก้แซมปาล์มน้ำมัน จำนวน 350 ต้น ในพื้นที่ 28 ไร่ และแปลงโกโก้แซมยางพารา จำนวน 200 ต้น ในพื้นที่ 16 ไร่ ทั้ง 3 แปลง อยู่ในพื้นที่อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และแปลงโกโก้อย่างเดียว จำนวน 16,000 ต้น ในพื้นที่ 104 ไร่ อยู่ในอำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี รวมมีต้นโกโก้ 23,700 ต้น ในพื้นที่ทั้งหมด 274 ไร่” คุณอาชว์ชัยชาญ กล่าว

ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 2 จังหวัดราชบุรี กล่าวเพิ่มเติมว่า ผลผลิตโกโก้จะเริ่มออกปีที่ 3 และให้ผลผลิตสูงสุดปีที่ 6 โดยมีผลผลิตสูงสุด 24 กิโลกรัมแบบน้ำหนักสด ต่อต้น ต่อปี มีต้นทุนการปลูกการเก็บเกี่ยวรวมกองควักเมล็ดใส่ถุงหมัก ฯลฯ เป็นเงินประมาณ 15,500 บาท ต่อตัน มีรายได้เฉลี่ยที่ไร่ละ 46,500 บาท

ในอดีตมีการส่งเสริมการปลูกโกโก้ เพื่อส่งผลผลิตสดให้ผู้รับซื้อและรวบรวมส่งโรงงานแปรรูปขนาดใหญ่ซึ่งเป็นบริษัทที่ดำเนินกิจกรรมการผลิตโกโก้ระดับโลก ทำให้การตลาดเป็นแบบผูกขาดตลาดรับซื้อผลผลิตจึงมีอำนาจในการกำหนดราคาเป็นหลัก หลังจากมีปัญหาด้านราคาจึงส่งผลให้ผู้ปลูกโกโก้ในอดีตเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นทดแทน ถึงกระนั้นก็ยังมีบางคนที่เห็นโอกาสของอุตสาหกรรมโกโก้ในประเทศไทยเนื่องจากมีความต้องการสูง จึงได้สร้างโรงงานขนาดกลางและขนาดเล็กขึ้นเพื่อผลิตผงโกโก้ป้อนอุตสาหกรรมต่างๆ จึงมีความต้องการโกโก้เป็นจำนวนมาก

ในวันนี้จึงเป็นทางเลือกหนึ่งของเกษตรกรที่จะปลูกโกโก้ และสามารถกำหนดราคาของผลผลิตเองได้ ด้วยมีการรวมกลุ่มกันทำการผลิตจึงสร้างความมั่นใจให้กับเกษตรกรผู้ปลูกรายใหม่ๆ เพิ่มมากขึ้น

ที่สำคัญในกระบวนการปลูกแทบไม่ต้องมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเลย สามารถปลูกเป็นพืชแซม
ก็ช่วยส่งเสริมพืชหลักได้ สามารถปลูกแซมกับพืชได้หลากหลาย เช่น มะพร้าว ลองกอง ยางพารา ปาล์มน้ำมัน และโกโก้ เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่แล้วจะสามารถอยู่กลางแจ้งได้

“ในการผลิตโกโก้เพื่อป้อนอุตสาหกรรม จะยึดราคาตลาดโลก โดยเฉลี่ยราคาที่เกษตรกรควรได้รับคือ ราคาผลสดที่กิโลกรัมละ 5 บาท แต่ในบางพื้นที่ที่ราคาผลสดสูงกว่าราคาเป็นจริงในขณะนี้นั้นเนื่องจากว่ามีผู้ซื้อไปเพื่อเพาะกล้าจำหน่ายเนื่องจากมีเกษตรกรเริ่มหันมาให้ความสนใจในการปลูกมากขึ้น โดยเฉพาะการปลูกแซมพืชหลัก ซึ่งจะเป็นรายได้สำรองหากราคาพืชหลักมีความผันผวน สำหรับราคาโกโก้ในตลาดโลก ณ ราคาปัจจุบันเกษตรกรสามารถดูได้จากเว็บไซต์ https://markets.businessinsider.com เป็นราคาโกโก้ ต่อ 1,000 กิโลกรัม (1 ตัน) ต่อดอลลาร์สหรัฐ เป็นราคาอ้างอิงได้” คุณอาชว์ชัยชาญ กล่าว

ผักพื้นบ้านเป็นสิ่งที่ธรรมชาติประทานให้มาเป็นอาหารของมนุษย์ ผักพวกนี้จะมีความแตกต่างกันตามสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ ทนทานต่อสภาพแวดล้อมและโรคแมลงในถิ่นกำเนิดเนื่องจากเป็นผักที่แพร่พันธุ์เองในธรรมชาติ ในประเทศไทยเราแต่ละภาคมีผักส่วนหนึ่งที่แตกต่างกันทำให้มีความหลากหลายในการนำมาบริโภค ผักกูดเป็นผักพื้นบ้านที่มีแหล่งกำเนิดในธรรมชาติทั่วทุกภาคของประเทศไทยและในภูมิภาคนี้ ทำให้ผักกูดจึงเป็นผักพื้นบ้านที่นำมากินกันมานานแล้ว

ก่อนจะมาเข้าเรื่องผักกูด ผู้เขียนเห็นเพจหนึ่งในเฟซบุ๊กชื่อ ป๋าสนธิ์ ป๋าสนธิ์ ได้ลงรูปสวนผักกูดและมีเรื่องราวเกี่ยวผักกูดมากมาย จึงได้ติดข้อมูลความเป็นไปมานาน จนกระทั่งได้มีโอกาสคุยกับเจ้าของเพจ ที่ชื่อ คุณสนธิ์ นันตรี หรือให้เรียกนิคเนมว่า ป๋าสนธิ์ โดยได้เล่าให้ฟังเรื่องราวชีวิตนักสู้ให้ฟังว่า หลังจากเรียนจบมัธยมศึกษาตอนปลายก็ได้เข้าทำงานเป็นพนักงานของบริษัทผลิตและบรรจุเมล็ดพันธุ์ยี่ห้อหนึ่งในกรุงเทพฯ ทำอยู่ได้ประมาณ 1 ปี ญาติทางฝั่งภรรยาได้ชักชวนให้ทำงานในบริษัทโฟมแห่งหนึ่ง ซึ่งกิจการของบริษัทคือทำชนวนกันความร้อนด้วยโฟมตามหลังคารอาคารต่างๆ อยู่หลายปีจนมีความชำนาญ จึงหันมาประกอบกิจการด้านนี้เสียเองโดยหุ้นกับญาติคนดังกล่าว ทำงานเกี่ยวกับโฟมอยู่หลายปี จนกระทั่งเริ่มถึงจุดอิ่มตัวจึงกลับมาบ้านของภรรยาที่จังหวัดพะเยาเพื่อดำรงชีวิตการเกษตรกรรมที่ตัวเองรัก

เปลี่ยนเป็นอาชีพเลี้ยงไก่สามสาย

เริ่มอาชีพเกษตรกรรมด้วยอาชีพการเลี้ยงไก่เนื้อสามสายเนื่องจากเป็นที่นิยมบริโภค จึงซื้อลูกไก่มาเลี้ยงไว้จำนวน 800 ตัว ต้องสร้างโรงเรือนขึ้นมาหนึ่งหลัง อยู่มาไม่นานไก่ยังไม่ทันจับ เกิดวิกฤติไข้หวัดนกทำให้ไก่ตายเกือบหมดเล้า เงินทุนที่สะสมมาแล้วนำมาลงทุนเลี้ยงไก่ก็หายไปในพริบตา ต้องกลับบ้านไปที่จังหวัดน่านเพื่อยืมเงินพ่อมา 3,500 บาท มาลงทุนขายลูกชิ้น ตับไก่ทอดขายในหมู่บ้าน ปรากฏว่าขายดิบขายดี จึงเพิ่มเป็นร้านขายของชำเล็กๆ ก็ประสบความสำเร็จ ต่อมาจึงทำเป็นตลาดสดมีการเชือดหมูและวัว วันละตัว ก็ขายดีอีก แต่ทำอยู่ 6-7 ปี กิจการขายเนื้อวัวและเนื้อหมูที่ต้องเชือดเองก็เลิกเพราะเหนื่อยมาก เหลือแต่ร้านขายของชำอย่างเดียว ส่วนร้านลูกชิ้นทอดก็โอนกิจการให้ญาติ

ในช่วงนั้นมีเวลาว่างจึงคิดทดลองปลูกผักสลัดขาย ทำได้ดี แต่มาเหนื่อยที่ต้องเตรียมแปลงปลูกทุกครั้งที่ถอนขายแล้ว จึงมาคิดว่าจะปลูกผักอะไรดีที่ปลูกครั้งเดียวแล้วสามารถเก็บขายได้เรื่อยๆ ไม่ต้องปลูกใหม่ทุกรอบ นึกขึ้นได้ว่าตอนอยู่ที่จังหวัดน่านเห็นพ่อแม่ปลูกผักกูดข้างบ้านซึ่งสามารถเก็บมากินได้ตลอดปี จึงทดลองเอาพันธุ์มาจังหวัดน่านปลูกดูเพียงไม่กี่ต้น ก็เจริญงอกงามดี เลยคิดการที่จะปลูกผักกูดให้แปลงใหญ่ ทำไปสักระยะหนึ่ง มีใครมาหาที่บ้านก็ถ่ายรูปกับแปลงผักกูด จึงขยายไปเรื่อยๆ และเพิ่มซาแรนคลุมแปลง ก็สามารถเก็บยอดได้ทุกวัน

เนื่องจากผักกูดชอบความชื้น ควรเลือกที่ลุ่มสำหรับปลูกอย่าเลือกปลูกในที่ดอน แต่ต้องสามารถระบายน้ำได้ดี ไม่ใช่ที่น้ำขัง ถึงแม้ว่าเราจะเห็นว่าตามธรรมชาติผักกูดอยู่ในน้ำ แต่เมื่อพิจารณาจริงๆ แล้วผักกูดจะอยู่ริมๆ น้ำ เพราะผักกูดชอบความชื้นแต่ไม่ใช่ผักน้ำ เมื่อไถพรวนเสร็จก็สามารถนำพันธุ์ผักกูดมาปลูกได้เลย ที่ดีควรตัดยอดให้เหลือจากรากประมาณ 10-12 นิ้วก็เพียงพอ และต้นพันธุ์ควรจะมีรากสมบูรณ์ ขุดหลุมไม่กว้างมากพอให้ลงต้นกล้าผักกูดได้ ระยะต้นและระยะแถวอยู่ที่ประมาณ 30-50 เซนติเมตร นำปุ๋ยมูลสัตว์ใส่ลงในหลุมประมาณ 1 กระป๋องนม แล้วเอาดินเก่าทับ นำผักกูดลงปลูกแล้วกดดินให้แน่น

ถ้าเอาฟางคลุมโคนได้จะช่วยรักษาความชื้นในช่วงแรกได้ดี ผักกูดสามารถตั้งตัวได้เร็ว การรดน้ำช่วงแรกวันละครั้งก็เพียงพอ และพื้นที่ที่ปลูกผักกูดควรจะมุงด้วยซาแรนประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์เพื่อบังแสงแดดให้ แสงที่ผักกูดชอบจะเป็นแสงรำไร ถ้าแสงแดดจ้าหรือแสงร่มเกินไปผักกูดจะไม่ค่อยงาม

ผักกูดเป็นพืชที่ไม่มีศัตรูพืชมากนัก แต่ในช่วงหน้าแล้งถ้าไม่ได้ให้น้ำสม่ำเสมอ จะมีหนอนเข้ามากินยอดอ่อน และถ้าผักกูดโดนแสงมากเกินไปเราจะเด็ดยอดได้แค่สั้นๆ ส่วนในฤดูที่ความชื้นและแสงเหมาะสมเราสามารถเด็ดผักกูดได้ก้านยาวมาก โดยปกติหลังจากเด็ดยอดแล้ว 2-3 วัน ยอดผักกูดจะแตกขึ้นมาใหม่ ยาฆ่าแมลงและยาปราบศัตรูพืชจึงไม่จำเป็นต้องใช้ แต่ในสวนของป๋าสนธิ์มักจะใช้จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงซึ่งหมักไว้เองฉีดพ่นทุกๆ สัปดาห์ละครั้ง โดยใช้จุลินทรีย์ 1 แก้วกับน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นได้ในช่วงกลางวันเพราะจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงทนแดดได้ระดับหนึ่ง ยอดจะอวบเขียวน่ากิน ส่วนปุ๋ยจะใส่เฉพาะปุ๋ยมูลสัตว์เท่านั้น ไม่ใส่ปุ๋ยเคมีเด็ดขาด

ในช่วงแรกมีผักกูดแปลงเดียวพื้นที่ประมาณ 1 ไร่ข้างบ้าน ผักกูดเจริญเติบได้ดี แต่ผลผลิตก็ไม่พอขาย จึงขยายเพิ่มเข้าไปปลูกในสวนยางอีก 1 ไร่ แต่ในสวนยางไม่มีน้ำรด จึงมีผลผลิตเฉพาะในช่วงฤดูฝนและต้นฤดูหนาวเท่านั้น ในสวนยางไม่สามารถคลุมซาแรนได้ในช่วงที่ยางผลัดใบ แสงที่ส่งลงมากระทบต้นผักกูดจ้าเกินไปจึงไม่ค่อยมีผลผลิตในช่วงดังกล่าว จึงจำเป็นต้องเพิ่มเนื้อที่ปลูกอีก 2 ไร่ ในแปลงนี้มีการมุงซาแรนอย่างดี แต่เมื่อหน้าร้อนที่ผ่านมา ลมพัดแรงทำให้เสาหักไปจำนวนหนึ่ง จึงเหลือพื้นที่จริงแค่ 1 ไร่เท่านั้น รวมพื้นที่ที่มีผลผลิตทั้งปีแค่ 2 ไร่ในปัจจุบัน

ผักกูดที่ปลูกใหม่จะใช้เวลาประมาณ 10 เดือนก็เริ่มเก็บยอดได้ แต่จะให้ผลผลิตเต็มที่เมื่อใช้เวลา 1 ปี ในฤดูฝนยอดผักกูดจะมีผลผลิตมากที่สุด ซึ่งในสวนจะเก็บได้ประมาณวันละ 20-30 กิโลกรัม สวนป๋าสนธิ์จะขายยอดผักกูดในราคากิโลกรัมละแค่ 40 บาท ค่าขนส่งผู้ซื้อเป็นคนออก เนื่องจากราคาไม่แพงทำให้มียอดสั่งซื้อจากหลายจังหวัด โดยเฉพาะคนภาคเหนือที่ทำงานอยู่กรุงเทพฯ มักจะรวบรวมกันหลายคนแล้วสั่ง ยอมเสียค่าขนส่งเพราะส่งมาถึงกรุงเทพฯ ก็ยังถูกกว่าซื้อในกรุงเทพฯ อยู่ดี และอีกอย่างหนึ่งเขาบอกว่ากินอร่อยกว่าผักกูดอื่น ซึ่งอาจเป็นการคุ้นชินกับรสชาติผักของที่บ้าน วิธีการส่งเมื่อเด็ดยอดผักกูดมาแล้ว ก็จะห่อหนังสือพิมพ์ปิดหัวท้ายแล้วส่งทางเคอร์รี่ ให้ส่งของตลาดใกล้บ้านคือตลาดเชียงคำ ป๋าสนธิ์จะไปส่งถึงที่ ส่วนใหญ่จะเป็นแม่ค้าที่สั่งไปขายเป็นประจำ

กรณีปลูกไปนานผักกูดจะเริ่มโทรม จะสังเกตเห็นว่ายอดมีขนาดเล็กลง ให้ใช้เครื่องตัดหญ้าตัดใบเก่าให้สูงกว่ายอดสุดท้ายขึ้นมาหน่อย หรือถ้าต้นมีขนาดใหญ่เกินให้ขุดต้นขึ้นมาแล้วตัดรากนำมาปลูกใหม่ ก็จะได้ผักกูดที่มียอดอวบใหม่อย่างเดิม

ขายทางออนไลน์

เนื่องจากป๋าสนธิ์ได้เผยแพร่รูปภาพของสวนทางสื่อออนไลน์ทำให้คนต้องการปลูกผักกูดมีเยอะมากจึงสั่งจากสวนไปปลูก โดยทางสวนจะขายต้นพันธุ์ผักกูดในราคาต้นละ 5 บาท ถ้าซื้อ 50 ต้น จะมีค่าขนส่ง 100 บาท ถ้าสั่ง 100 ต้นขึ้นไปค่าส่งฟรี แต่ถ้าสั่งจำนวนมากราคาไม่ถึงต้นละ 5 บาท ถ้าสั่ง 500 ต้นจะขายแค่ 2,000 บาทค่าส่งฟรี ถ้า 1,000 ต้นจะขาย 3,500 บาทฟรีค่าส่ง และในทุกการสั่ง 100 ต้นจะแถม 10 ต้น บางครั้งลูกค้าก็มาซื้อถึงบ้าน พร้อมกับซักถามรายละเอียดเรื่องการปลูก ในช่วงระยะเวลาที่ลงสื่อมา ป๋าสนธิ์ได้ขายต้นพันธุ์ผักกูดไปหลายหมื่นต้นแล้ว เพราะส่งมาแล้วแทบทุกจังหวัด เช่น สงขลา ประจวบคีรีขันธ์ พัทลุง เพชรบูรณ์ เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง อีสานส่งเกือบทุกจังหวัด กรุงเทพฯ ก็ยังมีคนสั่งไปปลูกไว้กิน

สนใจเกี่ยวกับเรื่องการปลูกผักกูด ไม่ว่าจะทำเป็นการค้าหรือปลูกไว้กินเอง ติดต่อที่ ป๋าสนธิ์ หมู่บ้านใหม่เจริญไพร ตำบลฝายกวาง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา โทรศัพท์ (082) 183-9672 เฟซ ป๋าสนธิ์ ป๋าสนธิ์ เพจ สวนผักกูดภาคเหนือ

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.พาณิชย์ แถลงหลังการประชุม 3 ฝ่าย โดยกระทรวงพาณิชย์ ตัวแทนผู้ประกอบการและตัวแทนเกษตรกรโดยสมาคมชาวนา และผู้เกี่ยวข้องทั้งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และกระทรวงพาณิชย์ ว่า ที่ประชุมห็นชอบโครงการประกันรายได้ข้าว ในข้าว 5 ประเภทได้แก่

1) ข้าวเปลือกเจ้า 10,000 หมื่นบาท ความชื้น 15% โดยประกันรายได้ให้ไม่เกินละ 30 ตัน/ครัวเรือน หรือไม่เกิน 40 ไร่

2) ข้าวเหนียว ประกันที่ตันละ12,000 บาท ไม่เกิน 16 ตัน หรือไม่เกิน 40 ไร่

3)ข้าวหอมมะลิ 15,000 บาท ที่ไม่เกิน 40 ไร่ หรือ 14 ตัน

4) ข้าวหอมนอกพื้นที่ ตันละ 14,000 บาท ไม่เกิน 40ไร่ หรือไม่เกิน 16 ตัน

5)ข้าวหอมปทุม ไม่เกิน 11,000 บาท ไม่เกิน 40 ไร่ หรือไม่เกิน 25 ตัน

โดยหลังจากนี้จะนำประเด็นดังกล่าวเข้าที่ประชุม หารือ นบข. (คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ)

นายจุรินทร์ กล่าวต่อว่า ส่วนงบประมาณการเบื้องต้นจะหารือในที่ประชุม นบข. โดยให้เกษตรกรชาวนา ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตรหลัง รายงานแจ้งว่า หลักเกณฑ์กลางในการอ้างอิงแต่งตั้งคณะอนุกรรมการกำหนดเกณฑ์อ้างอิงโดยประกาศราคาอ้างอิงทุก 15 วัน ส่วนการใช้สิทธิ์และการจ่ายเงินนั้นเกษตรกรทำสัญญากับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์โดยโครงการจ่ายตรงผ่านบัญชีการกำกับดูแลมีการตั้งคณะอนุกรรมการกำกับดูแลแก้ไขปัญหาและกรรมการนโยบายบริหารข้าวระดับจังหวัด

ทางด้านมาตรการคู่ขนานจะดำเนินการด้านการผลิตโดยลดต้นทุนการผลิต บริหารจัดการค่าปุ๋ย ค่ายา ค่าเก็บเกี่ยว การส่งเสริมระบบการเกษตรแปลงใหญ่หรือนาแปลงใหญ่ การส่งเสริมให้เกษตรกรใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี และโครงการประกันภัยพืชผล เช่นโครงการประกันภัยข้าวนาปี

มาตรการประหยัดตลาด คือ การตลาดนำการผลิตการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์และข้าวจ GAP หรือข้าวที่ผ่านมาตรฐานการเพาะปลูก และการส่งเสริมการผลิตข้าวตลาดเฉพาะ ส่วนมาตรการระยะยาว คือ การพัฒนาชาวนาให้เป็นสมาร์ทฟาร์มเมอร์ การวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีและสร้างนวัตกรรมการผลิตข้าว

ส่วนมาตรการด้านการตลาดนั้น งานเร่งด่วนคือการปรับสมดุลโดยการให้สินเชื่อชะลอการขาย การใช้สินเชื่อโดยสถาบันเกษตรกรหรือการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต๊อก การปรับปรุงทางด้านยุทธศาสตร์ข้าวไทย และการรักษาตลาดส่งออก ทั้งตลาดเดิม ตลาดเก่า (อิรัก) และขยายตลาดใหม่ พูดถึงมะระ เดิมคุ้นเคยกันดีคือมะระพันธุ์พื้นเมือง ที่เรียกกันว่ามะระพันธุ์ไทยหรือมะระขี้นก ต่อมามีปลูกมะระผลขนาดใหญ่ ที่เรียกว่ามะระจีน ทำให้มะระไทยลดน้อยถอยลง หลังๆ เมื่อพูดถึงมะระ เป็นที่เข้าใจกันว่า คือมะระจีนนั่นเอง

ตลาดริมปิง ตั้งอยู่เลขที่ 117/1 หมู่ที่ 12 ถนนนครสวรรค์-พิษณุโลก ตำบลบางม่วง อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ ที่นี่เป็นแหล่งรวมสินค้าทางการเกษตรหลายชนิด ทั้งนี้ เป็นเพราะภูมิประเทศอุดมสมบูรณ์ มีแม่น้ำสายใหญ่มาบรรจบกัน จนเรียกกันว่าเมืองสี่แคว ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรได้ทั้งปริมาณและคุณภาพ

ที่ตลาดริมปิง เป็นแหล่งรวมพืชที่มีรสขม แต่ผู้คนก็ชอบกินกัน นั่นก็คือมะระ ริมปิง ศูนย์กลางการรับซื้อ-ขายผลผลิตมะระ

ร้าน ต.ไพศาลการเกษตร เป็นร้านจำหน่ายปัจจัยการผลิตทางการเกษตร ที่ตั้งอยู่ตลาดริมปิง เปิดดำเนินการมาแล้วกว่า 10 ปี

คุณน้อง ศศิวรรณ คุ้มกัน ร้าน ต.ไพศาลการเกษตร เล่าว่า ปัจจัยการผลิตที่ทางร้านจำหน่ายอยู่นั้นมีหลายกลุ่มด้วยกัน สำหรับเมล็ดพันธุ์มะระปีหนึ่งจำหน่ายออกไปคิดเป็นพื้นที่ปลูกไม่น้อย เกษตรกรที่มาซื้อส่วนหนึ่งเป็นเกษตรกรในท้องถิ่น แต่ที่อยู่ห่างออกไปก็มาซื้อ เช่น อุทัยธานี กำแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์ ชัยนาท เมื่อเกษตรกรปลูกแล้ว ก็นำผลผลิตมาจำหน่ายยังตลาดริมปิง เพื่อกระจายไปยังส่วนต่างๆ ของประเทศไทย เกษตรกรที่นำผลผลิตมาจำหน่าย คือเกษตรกรจังหวัดต่างๆ ที่ซื้อเมล็ดพันธุ์ไปปลูกนั่นเอง

“ตลาดริมปิงรองรับผลผลิตของเกษตรกรได้ โดยเฉพาะมะระ ที่นี่เป็นศูนย์กลางการรับซื้อผลผลิตมะระ มีกระจายทั้งปี โดยเฉพาะฤดูฝนจะมีปริมาณมาก” คุณน้อง บอก