โน้มกิ่งหม่อนที่ปลูกแบบทรงพุ่ม โดยการโน้มกิ่งให้ปลายยอด

ขนานกับพื้นหรือโน้มลงพื้นดิน รูดใบหม่อนออกให้หมด พร้อมทั้งตัดยอดส่วนที่เป็นกิ่งสีเขียวออก ยาวประมาณ 30 เซนติเมตร ใช้เชือกผูกโยงติดไว้กับหลักไม้ไผ่ ซึ่งปักไว้บนพื้นดินสำหรับยึดเชือกไว้

2. หลังการโน้มกิ่ง 8-12 วัน ดอกหม่อนจะแตกออกพร้อมใบ จากนั้นจะมีการพัฒนาการของผลหม่อน โดยผลจะเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีขาว สีชมพู สีแดง และสีม่วงดำ ตามลำดับ โดยใช้เวลาประมาณ 45-60 วัน ผลจะเริ่มแก่และสุก สามารถเก็บไปรับประทานสดหรือนำไปแปรรูปได้ มีระยะเวลาในการเก็บผลประมาณ 30 วัน ต่อต้น เพราะผลหม่อนจะทยอยสุก เนื่องจากออกดอกไม่พร้อมกัน

เมื่อต้นหม่อนมีอายุตั้งแต่ 2 ปี เป็นต้นไป จะให้ผลผลิตหม่อน ประมาณ 1.5-3.5 กิโลกรัม (ประมาณ 750-1,850 ผล ต่อครั้ง ต่อต้น) เพียงพอต่อการบริโภคผลสดทั้งครอบครัวทุกวันตลอดปี ซึ่งร่างกายต้องการ วันละ 10-30 ผล เท่านั้น อีกทั้งยังมีผลหม่อนสดไว้แปรรูปเป็นอาหารและเครื่องดื่มได้อีกหลายชนิด เช่น น้ำหม่อน แยมหม่อน เชอเบทหม่อน ฯลฯ สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาดูงานในจังหวัดสกลนคร ติดต่อได้ที่ คุณยุธยา เทอำรุง โทร. 081-871-2932 ได้ทุกวัน

มะพร้าวอ่อน โดยทั่วไปเรียกกันว่า มะพร้าวน้ำหอม

แรกๆ มะพร้าวอ่อน อาจจะมีน้ำหวานพร้อมทั้งให้กลิ่นหอม แต่นานเข้าพบว่า มะพร้าวอ่อนที่นิยมบริโภคกันนั้นน้ำมีรสชาติหวาน แต่กลิ่นหอมน้อยลงหรือหายไป ระยะหลังนักวิจัยได้คิดค้นวิธีการวัดกลิ่นหอมของมะพร้าวขึ้น โดยมีหน่วยวัดชัดเจน

ในมะพร้าวอ่อน หากน้ำมีรสชาติหวาน บวกกับมีกลิ่นหอมมากๆ ก็จะได้รับความนิยมจากผู้ปลูกและผู้บริโภค คุณนงนารถ ห่วงเจริญ อยู่บ้านเลขที่ 12/2 หมู่ที่ 2 ตำบลบางตลาด อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นเกษตรกรทำสวน เธอเรียนจบจากวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีฉะเชิงเทรา

คุณนงนารถ เล่าว่า ตนเองทำเกษตรในพื้นที่ 50 ไร่ เพื่อจำหน่ายผลผลิตและต้นพันธุ์มะพร้าว…อย่างอื่นมีปลูกมะม่วง

มะพร้าวที่ปลูกในเขตอำเภอบางคล้ามีชื่อเสียงมากทางด้านรสชาติ เพราะหวานกลมกล่อม มีกลิ่นหอมที่ชัดเจน แต่นานๆ ไป มีการผสมข้าม จึงเกิดการกลายพันธุ์ โดยที่กลิ่นหอมมีน้อยลง

จากประสบการณ์ของคุณนงนารถ หลังจากเพาะมะพร้าวจนต้นและรากงอกแล้วดูที่ราก สามารถระบุได้ว่า ผลไหนหากนำไปปลูกแล้วได้รสชาติหวานและมีกลิ่นหอมด้วย

“ที่สวน มีมะพร้าว 1,200 ต้น…เมื่อเราเพาะ มีรากออกมา หากไส้ในของรากมีสีชมพูออกแดง หมวกรากสีชมพู ใช้มือขยี้ดูมีกลิ่นหอม เมื่อนำไปปลูก ผลผลิตที่ได้มีกลิ่นหอมมากและหวาน…ส่วนผลมะพร้าวที่เพาะแล้วไส้ในรากสีขาว หมวกรากสีเหลือง เมื่อนำไปปลูกได้ผลผลิตหวานจริง แต่กลิ่นหอมน้อย” คุณนงนารถ อธิบาย

เจ้าของสวนบอกว่า ผลมะพร้าวที่คัดอย่างดี หมวกรากสีชมพู จำหน่ายต้นละ 180-200 บาท ส่วนมะพร้าวไส้ในรากสีขาว จำหน่ายต้นละ 70 บาท ผู้ที่สนใจสอบถามได้ที่ กลางวันอากาศร้อนแดดแรง กลางคืนอากาศเย็นอุณหภูมิลดต่ำลงในช่วงนี้ กรมวิชาการเกษตร แนะเกษตรกรผู้ปลูกกระเจี๊ยบเขียวให้เฝ้าระวังโรคเส้นใบเหลือง ที่สามารถพบได้ในทุกระยะการเจริญเติบโตของพืช อาการเริ่มแรกจะพบใบกระเจี๊ยบเขียวด่าง เส้นใบมีสีเหลือง ยอดเหลือง ใบและยอดม้วนงอ ต้นเตี้ยแคระแกร็น ฝักมีสีเหลือง ติดฝักน้อย และฝักไม่สมบูรณ์

สำหรับในแปลงปลูกกระเจี๊ยบเขียวที่มีการระบาดของโรค ให้เกษตรกรหมั่นตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ ถ้าพบต้นที่เป็นโรค ให้ถอนแล้วนำไปทำลายนอกแปลงปลูกทันที และกำจัดวัชพืชในแปลงและรอบแปลงปลูก โดยเฉพาะวัชพืชที่เป็นพืชอาศัยของเชื้อไวรัสสาเหตุโรค เช่น สาบแร้งสาบกา กะเม็ง หญ้าขน ลำโพง โทงเทง และขี้กาขาว เพื่อลดแหล่งสะสมเชื้อไวรัสและแมลงพาหะ กรณีพบโรค เชื้อไวรัสสาเหตุโรคพืชยังไม่มีสารป้องกันกำจัดโดยตรง แต่สามารถป้องกันการระบาดของโรคได้ ด้วยการกำจัดแมลงหวี่ขาวยาสูบที่เป็นพาหะนำโรค โดยใช้สารฆ่าแมลงบูโพรเฟซิน 25% ดับเบิ้ลยูจี อัตรา 10 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารอิมิดาโคลพริด 10% เอสแอล อัตรา 20 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารคาร์โบซัลแฟน 20% อีซี อัตรา 3 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร

หลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ให้เกษตรกรเก็บซากพืชไปทำลายนอกแปลงปลูก และไม่ปลูกกระเจี๊ยบเขียวซ้ำที่เดิม เกษตรกรควรเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่นหมุนเวียน หลีกเลี่ยงการปลูกพืชอาศัยของเชื้อไวรัสใกล้แปลงปลูกกระเจี๊ยบเขียว อาทิ พืชตระกูลแตง เช่น แตงกวา ฟักทอง มะระ และบวบ พืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วเหลือง ถั่วเขียว และถั่วแขก พืชตระกูลมะเขือ เช่น มะเขือเทศ มะเขือเปราะ มะเขือยาว พริก และยาสูบ และพืชชนิดอื่น ได้แก่ งา กะเพราขาว ตำลึง ฝ้าย หงอนไก่ บานไม่รู้โรย และทานตะวัน จากนั้น ให้เกษตรกรเลือกใช้กระเจี๊ยบเขียวพันธุ์ต้านทานโรค ได้แก่ พันธุ์ OK 9701 และ พันธุ์พิจิตร 1

“บ้านหมากม่วง เป็นฟาร์มช้อป (farm shop) ที่ขายผลผลิตที่มาจากสวนเป็นหลัก นอกจากนั้น ยังทำผลิตภัณฑ์แปรรูปที่มาจากมะม่วงในสวนของเรา หลายๆ ผลิตภัณฑ์ เรามีพวกฟาร์มทัวร์ (farm tour) ที่ให้ลูกค้ามานั่งทานที่สวนของเรา”

ความตั้งใจของ คุณแนน หรือ คุณวราภรณ์ มงคลแพทย์ สาวน้อยที่จบการศึกษาจากสำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กลายมาเป็นกุญแจดอกสำคัญในการพลิกโฉมสวนมะม่วง พื้นที่กว่า 250 ไร่ ในเขตอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ที่เป็นอาชีพของครอบครัว

จุดเริ่มต้นของการกลับมาพัฒนาสวนมะม่วงของครอบครัว คุณแนน เล่าให้ฟังว่า เกิดจากครอบครัวของตนเอง เธอเห็นพ่อกับแม่ทำสวนมะม่วงมาตลอดกว่า 30 ปี โตมากับสวนมะม่วง ตั้งแต่วันที่ครอบครัวไม่มีอะไร จากชีวิตที่ติดลบ แต่ ณ วันนี้ ครอบครัวและเธอโตมาได้ มีทุกวันนี้ได้ เพราะอาชีพที่เกิดจากการทำสวนมะม่วงของพ่อและแม่ ด้วยเหตุผลนี้จึงกลายเป็นโจทย์ “ว่าจะทำอย่างไร ที่จะสามารถพัฒนาและยกระดับ เก็บรักษาอาชีพนี้ไว้ให้อยู่กับครอบครัวไปตลอด”

จากโจทย์ที่เธอตั้งให้กับตัวเอง การตัดสินใจไปศึกษาในสาขาวิชาที่สามารถจะนำมาพัฒนาต่อยอดอาชีพเกษตรกรรมจึงเป็นตัวเลือกแรกที่เธอตัดสินใจไปศึกษาด้าน major food poisoning & food safety จากสำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

“ตอนนั้นตั้งใจไปเรียนเพื่อที่จะกลับมาพัฒนาต่อยอดสวนมะม่วงของคุณพ่อ ตอนนั้นยังไม่รู้ว่าเราจะกลับมาทำอะไรได้บ้าง แต่คิดว่ามันเป็นอย่างเดียวที่บ้านเรายังขาดความรู้ ก็น่าจะสามารถเอามาต่อยอดเป็นธุรกิจที่บ้านได้ และเป็นสิ่งที่ตัวเองน่าจะทำได้ดี พอประเมินตัวเองแล้วว่า น่าจะกลับมาทำได้ ก็เลยเรียนเพื่อที่จะกลับมา ไม่ได้มีเป้าหมายอย่างอื่นให้ชีวิต ก็เป็นที่มาให้กลับมาทำเกษตรต่อจากพ่อและแม่”

คุณแนน เรียน นำองค์ความรู้ที่เรียนมาตลอด 4 ปีเต็ม ผนวกกับบริบทของพื้นที่เขาใหญ่ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยว โดยการนำมะม่วงสุกจากสวนมาสร้างมูลค่า แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย จำหน่ายผ่านฟาร์มช้อป

“จริงๆ ตอนแรกที่กลับมาทำร้านใหม่ๆ ตอนนั้นคิดน้อยใจ เพราะเราไม่มีประสบการณ์ มีความโลกสวยอยู่ประมาณหนึ่ง แล้วคิดว่าเขาใหญ่มันเป็นเมืองท่องเที่ยว คิดว่ายังไงเรากลับมา ก็น่าจะประสบความสำเร็จได้ คงจะขายนักท่องเที่ยว คือไม่ได้มีแผนที่ดีอะไรมากมาย แค่ตอนนั้นมันมีไฟ มีใจที่กล้า ที่จะกลับมาทำ แล้วก็คิดว่าตัวเองทำได้ พอกลับมาจริงๆ แล้ว เราก็จะรู้ว่าสภาพเศรษฐกิจที่เราอยู่จริงๆ ที่เรายังไม่เคยศึกษามันดีๆ จริงๆ แล้วมันเป็นยังไง กลับมาเจอสิ่งที่มันเป็นความจริง เป้าหมายที่มันคนละเรื่องเลยกับที่เราคิดเอาไว้ มันก็เลยเป็นสิ่งที่เราต้องกลับมาทำงานหนัก ไม่ใช่แค่กับงานของตัวเอง แต่ต้องทำร่วมกับคนในครอบครัวทั้งบ้าน งานมันไม่ใช่แค่หน้าร้าน แล้วทุกอย่างมันเชื่อมโยงกันหมด ตั้งแต่สวนมาถึงหน้าร้าน มาถึงผลิตภัณฑ์แปรรูป

แนนคิดว่าหลายๆ คนเจอ เป็นปัญหาของเด็กที่เรียนเพื่อที่จะกลับบ้านไปทำเกษตร เพราะพ่อแม่ก็ไม่อยากให้กลับมาเท่าไร เขากลัวว่าเราจะลำบาก เราเป็นผู้หญิงด้วย กลับมาทำอะไรแบบนี้ เขากลัวว่าจับแล้วมันไม่ใช่ว่าจะปล่อยได้ มันก็ต้องทำต่อไปตลอดทั้งชีวิต แล้วเราจะอยู่กับมันได้ไหม เขาห่วงเราแบบนั้นมากกว่า ก็เลยไม่ค่อยอยากให้กลับมา แต่แนนคิดว่าสิ่งพวกนั้นมันเกิดจากการที่เรามีประสบการณ์และความคิดที่มันต่างกัน พ่อกับแม่ขายส่งมาทั้งชีวิต แล้วเขาก็ไม่รู้ว่าทำสวนมะม่วงแบบเราคือจะไปทางไหน ยังไงต่อได้ เขายังคิดไม่ออกกับเรื่องพวกนี้ หน้าที่ของเราก็คือ เอาสิ่งที่เขาส่งเราไปเล่าเรียน แล้วไปเห็นทุกสิ่งทุกอย่างกลับมาสร้างภาพในหัวให้เป็นเรื่องเดียวกัน แล้วสุดท้ายมันก็จะเป็นการจับมือเดินไปด้วยกัน”

เขียนกลยุทธ์ ศึกษา และทำความเข้าใจ

การทำการเกษตรในยุคปัจจุบันที่มีการแข่งขันสูง การวางแผนบริหารต้นทุนและทรัพยากรการผลิตให้สอดคล้องกับรายได้ ตลอดจนการหาวิธีเพิ่มมูลค่าให้ผลผลิตในแต่ละฤดูกาลนั้นนับเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่คุณแนนและครอบครัวให้ความสำคัญ

“แนนว่า เกษตรกรทุกคนเจออยู่แล้ว เพราะเราทำงานกับสิ่งที่ควบคุมไม่ได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ทั้งสภาพดิน ฟ้า อากาศ ถ้าพูดถึงปัญหา ก็จะมีเหมือนเกษตรกรทั่วๆ ไป คือ ผลผลิต อาจจะได้ตามที่เราวางแผนบ้าง ได้บ้าง ไม่ได้บ้าง มีขาดทุนบ้าง ได้ดีบ้าง แนนว่าเป็นธรรมดาของอาชีพเกษตรกรรม แต่เราต้องวางแผนและจัดการมันให้ดี

การวางแผนที่ดี ในที่นี้คือ มันต้องมาจากการทำงานหลังบ้าน ให้มันมีประสิทธิภาพที่สุด คุยกันกับครอบครัว เพราะว่าธุรกิจมันข้องเกี่ยวกันมากเลย พ่อต้องทำให้ผลผลิตดีที่สุด เพื่อที่จะสนับสนุนเรา เราต้องมาปรับแผนของฟาร์มด้วยกัน ทำยังไงให้มันตรงกับหน้าร้าน ผลผลิตช่วงนี้ใช้มากน้อยแค่ไหน มันก็ต้องเขียนโมเดลธุรกิจมาให้มันดีพอ แล้วเราก็ต้องมีความรู้เพียงพอที่จะทำมัน สิ่งที่แนนใช้ตลอดจะเป็นพวกหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เราพยายามเอาสิ่งพวกนี้มาปรับใช้ รู้จักตัวเอง ประมาณตน รู้ว่าตัวเองทำอะไรอยู่ เรามีอะไรบ้างมันก็คล้ายๆ swot ถ้าจับคู่ห่วงนี้กับธุรกิจ มันต้องมีเหตุมีผล มีภูมิคุ้มกันที่ดี แนนว่าสิ่งพวกนี้สำคัญที่สุด”

ด้วยองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์

ในการทำสวน ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์เกษตรถือเป็นปัจจัยสำคัญที่จะเข้ามาช่วยยกระดับผลผลิตทางการเกษตรให้มีคุณภาพ ด้วยสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป องค์ประกอบอื่นๆ ที่ส่งผลกระทบต่อลักษณะของมะม่วงที่ไม่ใช่แค่ผิวสวย ไซซ์ลูกใหญ่ แต่เหนืออื่นใด ความปลอดภัยและรสชาติที่มันอยู่ข้างในต้องตรงกับความต้องการของผู้บริโภค ดังนั้น องค์ความรู้ในการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

“คุณพ่อแนนเขาทำสวนมาจนถึงวันนี้ 30 ปีแล้ว เขายังบอกว่า เขาต้องเรียนรู้ เริ่มต้นใหม่ทุกๆ วัน อ่านหนังสือเพิ่มเติมทุกๆ วัน เพราะว่าทุกอย่างมันเปลี่ยนไป สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนไป ปัญหาโรคและแมลงมันมากมายไปหมด ไหนจะการที่เรามาทำหน้าร้าน เราต้องเจอลูกค้าตัวต่อตัวทุกๆ วัน เขาให้ผลตอบรับเราตลอดเลยว่า มะม่วงเราเป็นแบบนั้นนะ แบบนี้นะ มันไม่เหมือนเมื่อก่อนแล้ว ที่เราทำขายๆ ส่งเข้าตลาดไป

ถ้าเป็นเมื่อก่อนเราทำในและนอกฤดูเพราะเราไม่ได้มีหน้าร้านในการทำรายละเอียด เพราะฉะนั้นเราจะส่งต่อไปกับบริษัทที่ทำส่งออกไปเลย ส่วนที่เหลือก็ขายเข้าตลาดสี่มุมเมือง แต่พอ ณ ปัจจุบัน เราทำหน้าร้าน แผนของเราก็ต้องปรับ เพราะว่าเราไม่รู้ว่าในแต่ละปีเราจะต้องเจอกับอะไรที่มันควบคุมไม่ได้ สภาพดิน ฟ้า อากาศ อะไรต่างๆ โรคแมลงจะระบาดมากน้อยแค่ไหน เราจำเป็นต้องใช้สารจำกัดแมลง เราก็ต้องเช็คก่อนว่ามันระบาดมากน้อยแค่ไหน ไม่ใช่ฉีดมั่วซั่วไปก่อน เรียกได้ว่าเรา lean business เรามากกว่า แล้วพยายามไปคุมต้นทุนในส่วนอื่น เช่น การขนส่ง ก็ให้มันคุ้มทุนขึ้น หรือเราจะพยายามบริหารจัดการผลผลิตเราผ่านหน้าร้านยังไง เพื่อที่จะเพิ่ม margin ทุกๆ ลูก ในแปลงเรา”

แปรรูป เพิ่มมูลค่า จำหน่ายผ่านฟาร์มช้อป

นอกจากการบริหารจัดการสวนให้มีคุณภาพแล้ว คุณแนนยังให้ความสำคัญกับการเพิ่มมูลค่า โดยการนำผลผลิตบางส่วนจากสวนมาบริหารจัดการจำหน่ายผ่านฟาร์มช้อป ภายใต้แบรนด์ บ้านหมากม่วงเขาใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น ข้าวเหนียวมะม่วงสุก ไอศกรีมมะม่วง พุดดิ้งมะม่วง น้ำมะม่วง และอื่นๆ ที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับมะม่วงของสวนให้ได้มากที่สุด

“ทั้งหมดนี้จะทำมาจากพวกผลผลิตที่มันขายได้ราคาถูกจากสาเหตุต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นมะม่วงสุกคาต้น มะม่วงที่แตกเสียหาย ซึ่งเดิมทีมันไม่มีคุณค่าหรืออะไรก็ตาม หรือมะม่วงที่ลูกเล็ก ไซซ์ตกเกรด หรือผิวลายๆ จะคิดทุกอย่างว่า จะทำโปรดักซ์ตัวนี้เท่ากับเราขายมะม่วงพ่อได้กิโลกรัมละเท่าไร ได้ลูกละเท่าไร อันนั้นคือ วิธีทำงานที่เราทำให้มันเป็นศูนย์กลางเกษตรกร”

ตอนที่กลับมาสิ่งแรกที่ตั้งไว้ คือ ทำให้บ้านหมากม่วงจัดการผลผลิตในแปลงปลูกของเราให้ได้ 50 เปอร์เซ็นต์ ของผลผลิตฟาร์มแต่ละปี ซึ่งปีๆ หนึ่งผลผลิตจากพื้นที่สวนกว่า 250 ไร่ มะม่วงประมาณ 8,500 ต้น เรามีผลผลิตประมาณ 200 ตัน ต่อปี สิ่งที่เราต้องจัดการให้ได้คือ 100 ตัน ต่อปี ซึ่งร้านค้ามีหน้าที่ทำให้ตรงนี้มันเกิดขึ้น เป้าหมายปีแรกแนนจัดการไป 5 เปอร์เซ็นต์ ปีที่ 2 ขยับเพิ่มมาเป็น 10 เปอร์เซ็นต์ ปีที่ 3 ก็สัก 12-13 เปอร์เซ็นต์ และเป้าหมายที่เราไม่คิด คือ การที่ได้ปอกมะม่วงตัวเองปีเป็นแสนๆ ลูก เราได้ทำเพราะว่างานของเราจำเป็นที่ต้องทำแบบนั้น ดังนั้น ทุกๆ วันที่เราปอก เราจะรู้ว่ามะม่วงอันนี้มาจากโซนไหน แล้วมันกำลังมีปัญหาอะไรอยู่ รสชาติมันเป็นยังไง ทดสอบกันตลอดเวลา คือตรงนี้มันทำให้เราทราบว่าตอนนี้ผลผลิตเรามันมีปัญหาอะไร”

คุณแนน ยังบอกอีกว่า หน้าร้านมีส่วนในการพัฒนาฟาร์ม เพราะการพูดคุยพบปะกับลูกค้าจะเป็นข้อมูลที่สามารถนำไปคุยกับคุณพ่อ มันไม่เหมือนกับอดีตที่เป็นลูกๆ แล้วขนส่งเข้าตลาดไปเลย การปอกทำให้เราทราบว่า มันเป็นอะไร เราเอากลับไปคุยกับพ่อ พ่อก็จะวินิจฉัยว่ามันเกิดอะไรขึ้น มากไปกว่านั้นคือ มันก็เหมือนสวนใหญ่ๆ เรามาวิเคราะห์กันว่าปีนี้มันเกิดปัญหาอย่างนี้ ถ้าเราอยากพัฒนามะม่วงให้มันดีขึ้น รสชาติดีขึ้น เนื้อสัมผัสดีขึ้น ความหวานต่างๆ จะทำยังไง เพราะฉะนั้นต้องจัดการพวกธาตุอาหารล่วงหน้า 1 ปี 2 ปี แล้วแต่ธาตุ เพื่อให้ในวันข้างหน้าผลผลิตเราจะดีขึ้น ตามที่เราอยากจะได้”

ความสำเร็จ และความหวังต่อจากนี้

การพัฒนาการเกษตรด้วยหลักเศรษฐกิจพอเพียง และคืนสิ่งที่ดีให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจตลอดห่วงโซ่นั้น ได้ผลักดันให้ บ้านหมากม่วงเขาใหญ่ ก้าวสู่ความสำเร็จขั้นต้นที่เป็นฐานในการพัฒนาธุรกิจและชุมชนต่อไปในอนาคต

“ถ้าในด้านฟังก์ชั่นของร้านมีหลายสิ่งที่เราทำได้สำเร็จไปแล้ว เรื่องตัวเลขเราก็สามารถเรียกได้ว่าประสบความสำเร็จ แต่มันก็จะมีตรงเรื่องอื่นๆ ที่คิดว่ามันสำคัญกว่าเรื่องตัวเลข คือ แนนทำให้ทุกๆ คนกลับมาทำงานร่วมกัน อยู่ด้วยกัน มีความสุข มีความทุกข์ร่วมกัน ช่วยกันทำอาชีพนี้ต่อไป แนนอยากใช้ร้านเป็นเครื่องมือที่จะขับเคลื่อนให้สวนอยู่กับเราไปได้ตลอด”

แต่มากไปกว่านั้น การกลับมาสานต่ออาชีพเกษตรกรรมของผู้หญิงตัวเล็กๆ ที่ตั้งเป้าหมาย คือการรักษาภูมิปัญญาของครอบครัวเราไว้ ยังเป็นตัวอย่างที่ช่วยนำเสนอผลผลิตในผืนดินปากช่องให้คนรู้จักมากขึ้นอีกด้วย

ในระยะนี้เป็นช่วงที่มะม่วงเริ่มออกดอก กรมส่งเสริมการเกษตร เตือนให้เกษตรกรชาวสวนมะม่วงเฝ้าระวังเพลี้ยจักจั่น ซึ่งระยะที่ทำความเสียหายมากที่สุด คือ ระยะที่มะม่วงกำลังออกดอกโดยดูดน้ำเลี้ยงจากช่อดอกทำให้แห้งและดอกร่วง ติดผลน้อยหรือไม่ติดเลย ระหว่างที่เพลี้ยจักจั่นดูดกินน้ำเลี้ยงจะถ่ายมูลมีลักษณะเป็นน้ำหวานเหนียวๆ ติดตามใบ ช่อดอก ผล และรอบๆ ทรงพุ่ม ทำให้ใบมะม่วงเปียก ต่อมาจะเกิดราดำปกคลุม ถ้าเกิดมีราดำปกคลุมมาก มีผลต่อการสังเคราะห์แสงของมะม่วงได้

นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ขอแนะเกษตรกรชาวสวนมะม่วง โดยช่วงที่มะม่วงกำลังออกดอก ให้หมั่นสำรวจสวนมะม่วงอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง หากพบแมลงขนาดเล็กคล้ายจักจั่น กระโดดไป-มา เวลาเดินเข้าใกล้ต้นมะม่วง หรือพบน้ำเหนียวๆ คล้ายน้ำหวานติดตามใบ ช่อดอก ผล และมีราดำขึ้นปกคลุม สามารถจัดการเบื้องต้น โดยในระยะที่ดอกมะม่วงกำลังบาน การฉีดพ่นน้ำเปล่าในตอนเช้าจะช่วยให้การติดมะม่วงดีขึ้น และยังช่วยลดปัญหาช่อดอกและใบดำจากราดำด้วย ใช้กับดักแสงไฟดัก จับตัวเต็มวัยเพลี้ยจักจั่นมะม่วงที่บินมาเล่นไฟ เพื่อช่วยลดความเสียหาย

นอกจากนี้ เกษตรกรควรตัดแต่งกิ่งทรงพุ่มต้นมะม่วง หลังจากการเก็บเกี่ยว ให้โปร่งอยู่เสมอ เพื่อช่วยลดที่หลบซ่อนต่อการแพร่ขยายพันธุ์ของเพลี้ยจักจั่นมะม่วงได้ กรมวิชาการเกษตร แนะนำกล้วยน้ำว้าพันธุ์ใหม่ “สุโขทัย 1” ผลกลมป้อม ใหญ่ยาว เนื้อทั้งสุกและดิบสีครีมอ่อน เนื้อละเอียดเหนียว รสชาติหวานไม่อมเปรี้ยว ให้ผลผลิตสูง 1 เครือ มี 9 หวี น้ำหนักเครือกว่า 16 กิโลกรัม ทั้งคุณค่าทางโภชนาการ วิตามินบี 3 และโพแทสเซียมสูง แซงพันธุ์การค้า

นางสาวเสริมสุข สลักเพ็ชร์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร สมัครน้ำเต้าปูปลา เปิดเผยว่า ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกกล้วยประมาณ 481,639 ไร่ ในจำนวนนี้มีพื้นที่ปลูกกล้วยน้ำว้ามากที่สุด จำนวน 328,456 ไร่ กล้วยไข่ จำนวน 63,233 ไร่ กล้วยหอม จำนวน 62,525 ไร่ และกล้วยอื่นๆ จำนวนประมาณ 27,425 ไร่ โดยพื้นที่ปลูกกล้วยน้ำว้าจะปลูกมากที่สุดในเขตภาคเหนือ

ที่ผ่านมาในประเทศไทยยังขาดกล้วยน้ำว้าพันธุ์ดี และขาดข้อมูลของพันธุ์ ดังนั้น ศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย กรมวิชาการเกษตร จึงได้ศึกษาหาสายต้นหรือพันธุ์กล้วยน้ำว้าที่ดีมีคุณภาพ เพื่อปรับปรุงพันธุ์ให้ได้สายพันธุ์ใหม่ที่มีลักษณะดีเด่น ให้ผลผลิตสูง มีคุณภาพ และมีคุณค่าทางโภชนาการสูงกว่าพันธุ์การค้า เป็นที่ยอมรับของเกษตรกรและผู้บริโภค เพื่อเป็นพันธุ์ทางเลือกสร้างรายได้เพิ่มให้แก่เกษตรกร

ระหว่าง ปี 2547-2554 ศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย ได้คัดเลือกสายต้นหรือพันธุ์กล้วยน้ำว้าจากแปลงรวบรวมและอนุรักษ์พันธุกรรมกล้วยของศูนย์ โดยใช้เกณฑ์การคัดเลือกคือ ให้ผลผลิตสูง มีจำนวนหวีต่อเครือไม่ต่ำกว่า 7 หวี เนื้อแน่น สีเนื้อขาวนวลถึงเหลือง รสชาติหวาน คุณภาพการบริโภคดี ผู้บริโภคยอมรับสูง

โดยสามารถคัดเลือกไว้ 7 สายต้น นำไปปลูกเปรียบเทียบสายต้น และคัดเลือกสายต้นที่ดีเด่นไว้ 2 สายต้น ปี 2558-2560 นำไปปลูกทดสอบที่ศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเลย และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเพชรบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่มีสภาพภูมิประเทศและสภาพภูมิอากาศที่แตกต่างกัน พบว่า กล้วยน้ำว้าสายต้น สท. 55-4 เจริญเติบโตได้เร็ว ต้นแข็งแรง ผลผลิตเฉลี่ยน้ำหนักเครือและจำนวนหวีต่อเครือสูงสุดทั้ง 3 สถานที่ผลิต ที่สำคัญยังมีคุณค่าทางโภชนาการสูง ซึ่งคุณสมบัติทั้งหมดตรงกับวัตถุประสงค์ในการปรับปรุงพันธุ์

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า ศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย เป็นหน่วยงานในการพัฒนาพันธุ์กล้วยน้ำว้าสายต้น สท. 55-4 ดังนั้น จึงได้ตั้งชื่อกล้วยน้ำว้าพันธุ์ใหม่นี้ว่า “กล้วยน้ำว้าสุโขทัย 1” ซึ่งมีลักษณะเด่น คือ ให้ผลผลิตสูง น้ำหนักเครือ 16.1 กิโลกรัม สูงกว่ากล้วยน้ำว้ามะลิอ่องซึ่งเป็นพันธุ์การค้าที่ให้ผลผลิต 13.7 กิโลกรัม จำนวน 9 หวี/เครือ สูงกว่ากล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง ซึ่งให้จำนวนหวี 8 หวี/เครือ ให้คุณค่าทางโภชนาการ ได้แก่ วิตามินบี 3 และโพแทสเซียม สูงกว่าพันธุ์การค้า นอกจากนี้ กล้วยน้ำว้าพันธุ์สุโขทัย 1 ยังมีลักษณะผลค่อนข้างป้อมกลม ผลค่อนข้างใหญ่กว้าง 3.8 เซนติเมตร และยาว 14 เซนติเมตร ซึ่งใหญ่กว่าพันธุ์การค้า เนื้อผลทั้งดิบและสุกมีสีครีมอ่อน เนื้อละเอียดเหนียว และมีรสชาติหวานไม่ปนเปรี้ยว