โรคยางไหลและยางตกในผลของมังคุดหลายคนชื่นชมการบริโภค

จึงแบ่งพื้นที่ว่างในสวน ปลูกมังคุดแทรกกับต้นไม้อื่นๆ เมื่อต้นมังคุดเริ่มให้ผลพบว่า เกิดอาการยางไหลสีเหลืองออกจากผิวของผลมังคุด และบางส่วนยางสีเหลืองตกภายในผล โดยไม่ทราบสาเหตุว่าเกิดจากอะไร และจะแก้ไขอย่างไร หากใครเจอปัญหาแบบนี้ จะพาไปหาคำตอบ ที่จะช่วยผลิตมังคุดคุณภาพดีให้กับทุกคนในอนาคตได้เลย

สาเหตุของโรคยางไหลของผลมังคุด

โรคยางไหลของผลมังคุด เกิดขึ้นได้ทั้งระยะผลอ่อนและผลแก่ โรคยางไหลที่เกิดขึ้นในระยะผลอ่อน สาเหตุเนื่องจากการเข้าทำลายของเพลี้ยไฟ ซึ่งเป็นแมลงปากดูดที่มีขนาดเล็ก ลำตัวมีสีเหลืองอ่อน ยาวประมาณ 1.0-2.0 มิลลิเมตร เพลี้ยไฟจะเลือกดูดน้ำเลี้ยงของผลอ่อน และหลบซ่อนอยู่หลืบฐานรองดอก ทำให้ยางสีเหลืองไหลออกจากรอยแผล มีลักษณะเป็นเม็ดทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ผลที่ถูกทำลายรุนแรงจะเจริญเติบโตช้ากว่าปกติ

หากผลไม่ร่วงหล่นลงเสียก่อน เมื่อพัฒนาต่อไปเป็นผลแก่ผลจะมีขนาดเล็กและผิวกร้านขายไม่ได้ราคา ส่วนอาการยางไหลในระยะผลแก่ เกิดขึ้นกับผลมังคุดใกล้สุกแก่ มักแสดงอาการรุนแรงเมื่อมีฝนตกชุก รากของต้นมังคุดจะดูดน้ำขึ้นมาเลี้ยงผลปริมาณมาก ผิวของผลจะเปราะบางกว่าการได้รับน้ำในปริมาณปกติ เมื่อเกิดลมพัดกันโชกแรง ผลของมังคุดจะเสียดสีกันเอง หรือเสียดสีกับกิ่งหรือใบ ทำให้เปลือกเกิดรอยแผล น้ำยางไหลซึมออกมา ต่อมาน้ำยางแห้งแข็งเป็นเม็ดสีเหลืองติดอยู่ที่ผิวเปลือกของผลนำไปจำหน่ายไม่ได้ราคาเช่นเดียวกัน

โรคยางไหลในระยะผลอ่อน เกิดจากการเข้าทำลายของเพลี้ยไฟ ให้หมั่นสังเกตการระบาดของแมลงชนิดนี้อยู่เสมอ โดยเฉพาะในระยะมังคุดเริ่มออกดอก ใช้กระดาษสีขาวชุบน้ำให้เปียกรองใต้ดอกหรือผลอ่อน แล้วเคาะเบาๆ หากพบแมลงนับได้เกิน 5 ตัว ต่อดอกหรือผล แนะนำให้ฉีดพ่นด้วยอิมิดาโคลพริด 10 เปอร์เซ็นต์ เอสแอล อัตรา 30 ซีซี ต่อน้ำ 1 ปี๊บ หรือคาร์โบซัลแฟน 20 เปอร์เซ็นต์ อี.ซี. อัตรา 50 ซีซี ต่อน้ำ 1 ปี๊บ ฉีดพ่นให้ทั่วทั้งทรงพุ่ม 2 ครั้ง ทุกสัปดาห์ การระบาดของเพลี้ยไฟจะหมดไป

ส่วนในระยะผลแก่ ต้องให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ และบำรุงต้นมังคุดให้สมบูรณ์ ตัดแต่งทรงพุ่มให้ลมพัดผ่านได้ นอกจากนี้ ควรทำร่องระบายน้ำออกจากโคนต้นมังคุด เพื่อป้องกันน้ำขังแฉะขณะมีฝนตก หากปฏิบัติได้ตามคำแนะนำ อาการยางไหลในผลแก่จะไม่เกิดขึ้นแต่อย่างใด

อาการยางตกในผลมังคุด

หมอเกษตร ทองกวาว ข้าราชการเกษียณกรมวิชาการเกษตร ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า อาการยางตกในผลมังคุด เกิดขึ้นได้ 2 กรณี กรณีแรกเนื่องจากการเก็บเกี่ยวไม่ดี ผลมังคุดร่วงลงพื้น หรือการใช้อุปกรณ์ไม่เหมาะสม หรือได้รับความกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงขณะขนส่ง ทำให้ท่อน้ำยางภายในผลฉีกขาด น้ำยางจึงไหลแทรกเข้าระหว่างพูของผลมังคุด รสชาติของมังคุดจะเปลี่ยนไป ส่งผลต่อคุณภาพของมังคุดให้ต่ำลง

กรณีที่ 2 อาจเกิดจากการได้รับน้ำ เมื่อฝนตกมากเกินไป โดยไม่ได้เตรียมต้นมังคุดให้พร้อมไว้ก่อน ต้นมังคุดจะดูดน้ำและส่งไปยังผลมากเกินความต้องการทำให้ท่อน้ำยางภายในผลแตกและปรากฏน้ำยางให้เห็นในผลเมื่อผ่ารับประทาน

วิธีป้องกัน ให้ใช้เครื่องมือเก็บเกี่ยวที่ดีและขณะขนส่งระวังอย่าให้ผลมังคุดบอบช้ำ ส่วนเกิดจากการได้รับน้ำมากเกินไปนั้น ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับอาการยางไหลของผลมังคุดระยะใกล้สุกแก่ หากสามารถปฏิบัติได้ตามคำแนะนำข้างต้น อาการของยางตกในผลมังคุดจะไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน

จากสภาพอากาศร้อนและมีฝนตกในบางพื้นที่ กรมวิชาการเกษตร แนะเกษตรกรผู้ปลูกขิงให้เฝ้าระวังโรคเหง้าเน่า ที่สามารถพบได้ในระยะที่มีการเจริญเติบโตทางต้น อาการเริ่มแรกใบจะเหี่ยวม้วนเป็นหลอดสีเหลือง และจะลุกลามจากส่วนล่างขึ้นไปยังส่วนปลายยอดจนแห้งตายทั้งต้น บริเวณโคนต้นและหน่อที่แตกออกมาใหม่มีลักษณะฉ่ำน้ำสีน้ำตาลเข้มถึงดำ เมื่อผ่าลำต้นตามขวางจะพบเมือกแบคทีเรียไหลซึมออกมาเป็นสีขาวขุ่น ลำต้นเน่า และหลุดออกจากเหง้าได้ง่าย อาการบนเหง้ามีลักษณะฉ่ำน้ำสีคล้ำ ต่อมาเหง้าจะเน่าในที่สุด

เกษตรกรควรหมั่นตรวจและกำจัดวัชพืชในแปลงและรอบแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ หากพบต้นขิงที่เริ่มแสดงอาการของโรคเหง้าเน่า ให้ขุดต้นไปเผาทำลายนอกแปลงปลูกทันที เพื่อลดแหล่งสะสมเชื้อสาเหตุโรค จากนั้น ให้โรยด้วยปูนขาวบริเวณหลุมที่ขุด เพื่อป้องกันการระบาดของโรค และควรทำความสะอาดอุปกรณ์การเกษตรที่ใช้กับต้นที่เป็นโรคก่อนนำกลับมาใช้ใหม่ สำหรับในแปลงที่มีการระบาดของโรค หลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ให้เกษตรกรเก็บส่วนต่างๆ ของพืชที่เป็นโรคนำไปเผาทำลายทิ้งนอกแปลงปลูกทันที

การป้องกันกำจัดโรคเหง้าเน่าในฤดูปลูกถัดไป เกษตรกรควรเลือกพื้นที่ในการปลูกที่ไม่เคยมีการระบาดของโรคนี้มาก่อน และควรทำแปลงปลูกให้มีการระบายน้ำที่ดี เกษตรกรควรเตรียมดิน โดยไถพรวนดินให้ลึกจากผิวดินมากกว่า 20 เซนติเมตรขึ้นไป และตากดินไว้ให้นานกว่า 2 สัปดาห์ จะสามารถช่วยลดปริมาณเชื้อในดินลงได้มาก กรณีในพื้นที่ที่เคยมีการระบาดของโรค ก่อนปลูก ให้รมดินเพื่อฆ่าเชื้อโรคด้วยการโรยยูเรียผสมปูนขาว อัตรา 80:800 กิโลกรัมต่อไร่ จากนั้น ให้ไถกลบและรดน้ำให้ดินมีความชื้น ทิ้งไว้ประมาณ 3 สัปดาห์ จึงเริ่มปลูกขิง อีกทั้งให้เลือกใช้หัวพันธุ์ที่มีคุณภาพดีจากแหล่งปลอดโรค หลีกเลี่ยง การปลูกพืชอาศัยของเชื้อ เช่น พืชตระกูลขิง พืชตระกูลมะเขือ มันฝรั่ง พริก และถั่วลิสง รวมถึงควรสลับเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่นหมุนเวียน เช่น ข้าว ข้าวโพด และมันสำปะหลัง เพื่อตัดวงจรการระบาดของโรค

คุณมานพ อมรอรช (อาต) บ้านเลขที่ 17 เทศบาลสาย 7 ต.ขลุง อ.ขลุง จ.จันทบุรี บัณฑิตหนุ่มจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เรียนจบสาขาวิชาพืชสวนประดับ กลับมาสานต่อสวนไม้ผลที่พ่อแม่อนุรักษ์ทุเรียนสายพันธุ์โบราณไว้กว่า 10 สายพันธุ์ คุณอาตเล่าว่า สาเหตุที่ตัดสินใจเลือกเรียนเกษตรเพราะจากประสบการณ์พบเห็นจากคนแถวบ้านหลายคนที่ไปเรียนไกลถึงกรุงเทพ เรียนจบจากหลากที่หลายคณะ มีทั้งจบเกษตรโดยตรงและจบจากสาขาอื่น แต่สุดท้ายก็ต้องกลับมายังบ้านเกิดและลงเอยทีงานสวนอยู่ดี ด้วยสาเหตุนี้จึงตัดสินใจเรียนคณะเกษตร และพอดีตอนนั้นได้โควต้าจากมทร.ตะวันออก วิทยาเขตจันทบุรี เรียนจบในระดับ ปวส. แล้วเข้าศึกษาต่อที่ม.แม่โจ้ ช่วงจบใหม่ๆ ได้ลองไปทำงานหาประสบการณ์ที่บริษัทจัดสวนก่อน หลังจากนั้นไปทำเกี่ยวกับเคมีเกษตร และกลับมาสานต่ออาชีพของครอบครัวในที่สุด

มรดกสวนทุเรียนจากพ่อ-แม่ 30 ไร่ สร้างเงิน สร้างอาชีพมาตลอด
พื้นที่สวนทุเรียนคุณอาตอยู่เขตตำบลซึ้ง อำเภอขลุง มีพื้นที่กว่า 30 ไร่ มีทุเรียนกว่า 400 ต้น เป็นมรดกที่พ่อแม่ทิ้งไว้ให้ ตนแค่มาสวนต่อ ซึ่งคุณอาตกลับมาสานต่อการทำสวนได้เป็นเวลา 10 ปีแล้วหลังจากที่เรียนจบได้มีการไปหาประสบการณ์จากที่อื่นมา เมื่อกลับมาที่สวนตอนแรกถือว่าสภาพสวนดูรกร้างเพราะเนื่องจากเป็นสวนเก่าก็ต้องใช้เวลาปรับปรุงพื้นที่อยู่สักพัก

ทุเรียนที่พ่อแม่คุณอาตทิ้งไว้มีกว่า 10 สายพันธุ์ ล้วนแล้วแต่เป็นพันธุ์โบราณ อาทิเช่น กำปั่นทอง ชมพูศรี เม็ดในยายปราง ก้านยาวัดสัก ทองหยิบ ชะนี หมอนทอง พวงมณี อีลีบ อีกบ แต่ละพันธุ์มีอายุต้น 20-30 ปีขึ้นไปให้ผลผลิตปีละ 30-40 ตัน

ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจถือว่าดี ทุเรียนตลาด อย่างหมอนทองปีที่แล้วขายได้กิโลกรัมละร้อยกว่าบาทส่วนพันธุ์โบราณอย่างเม็ดในยายปรางขายได้กิโลกรัมละ 200 บาท

สืบเนื่องจากช่วงปีหลังๆ มานี้คุณอาตบอกว่าผู้บริโภคเริ่มหันมานิยมบริโภคทุเรียนพันธุ์โบราณกันมากขึ้น ส่งผลให้สวนคุณอาตเริ่มมีคนรู้จักเพิ่มมากขึ้น ส่วนใหญ่แล้วรู้จักทางเฟสบุ๊กของของสวนคุณอาตเอง

พาชมทุเรียนสวนคุณอาตเพลิดเพลินกับทุเรียนสายพันธุ์โบราณกว่า 10 สายพันธุ์
ผู้เขียนได้มีโอกาสลงพื้นที่ไปที่สวนคุณอาตด้วยตัวเอง ในระหว่างการสัมภาษณ์คุณอาตเดินพาชมสวนทุเรียนอย่างเพลิดเพลิน ในระหว่างที่เดินชมสวนก้ต้องแปลกใจกับรูปแบบสวนทุเรียนที่แปลกตา ที่ส่วนใหญ่แล้วตามที่ได้เคยลงพื้นที่มักจะเห็นสวนทุเรียนที่โล่งเตียน แต่ที่สวนคุณอาตหญ้าขึ้นสูงถึงเข่า จึงมีความสงสัยและถามกับคุณอาตไปว่าสวนทุเรียนที่นี่แปลก หญ้าขึ้นเต็มไปหมด จึงได้คำตอบกลับมาว่าที่สวนคุณอาตปลูกทุเรียนอิงธรรมชาติ ระบบการทำสวนจะไม่ใช้ยาฆ่าหญ้าเลย ปีหนึ่งจะตัดครั้งสองครั้ง และความห่างระหว่างต้นค่อนข้างห่างกันพอสมควรเพราะมีการปลูกไม้ผลอย่างลองกอง มังคุดแซมด้วย วิธีการดูแลแบบอิงธรรมชาติ ผลดีคือช่วงหลังอัตราการตายของทุเรียนน้อยลง สองปีแรกมีปุ๋ยมียาอยู่ในมือก็อัดใส่เข้าไปทุกเดือนผลปรากฏว่าทุเรียนตายเกือบหมด นี่จึงเป็นสาเหตุที่คุณอาตหันมาพึ่งระบบธรรมชาติ

เกริ่นถึงวิธีการดูแลสวนพอคร่าวๆ ทีนี้เรามาเริ่มชมสวนดูทุเรียนหลากสายพันธุ์กันดีกว่า

พันธุ์แรก ชมพูศรี เป็นทุเรียนพื้นเมืองของจันทบุรี เป็นพันหนัก โตเต็มที่น้ำหนักอยู่ที่ 5-6 กิโลกรัม อยู่ที่เอาไว้มากหรือน้อย ต้นมีอายุ 20-30 ปี ให้ผลผลิตประมาณ 80 ลูกต่อต้น ทนทานต่อโรค

จุดเด่น เนื้อเยอะ เม็ดลีบ คล้ายๆ หมอนทอง ราคาขายปีที่แล้วกิโลละ 70-100 บาท

กำปั่นทอง เนื่อสีออกจำปา รสชาติหวานมัน แต่จะไม่หวานจัด เหมาะสำหรับท่านที่ไม่ชอบทานหวานมาก

ราคาขายกิโลกรัมละ 200-250 บาท

กระดุม เป็นทุเรียนพันธุ์เบา ขนาดผลค่อนข้างเล็ก ออกผลดก สีเนื้อเหลืองเข้ม เนื้อละเอียด กลิ่นอ่อน รสชาติหวานมัน ราคาไม่แพงกิโลกรัมละ 120 บาท

หมอนทอง เป็นทุเรียนพันธุ์ตลาด รสชาติเชื่อว่าทุกท่านคงจะรู้จักดี ขายกิโลกรัมละ 120-150 บาท

เม็ดในยายปราง ถือเป็นทุเรียนยอดนิยมอีกสายพันธุ์หนึ่ง ด้วยกลิ่นและรสชาติมีความหอมเฉพาะตัว แต่ปีนี้ติดลูกน้อย

จุดเด่น รสชาติหวานมัน เม็ดลีบ เนื้อเยอะ

ทองหยิบ ทุเรียนพื้นบ้าน รสชาติค่อนไปทางหวาน ผู้ที่ได้ชิมบอกว่า รสชาติคล้ายนมสด หารับประทานยาก แต่ปีนี้เสียใจที่สวนคุณอาตทุเรียนทองหยิบไม่ติดลูก เพราะอากาศแปรปรวน

อีลีบ ถือเป็นพันธุ์ที่คุณอาตเจ้าของสวนโปรดปรานเป็นพิเศษ ด้วยรสชาติอร่อย เนื้อเยอะ เม็ดลีบเยื่อดี

และนอกเหนือจากขายผลแล้วคุณอาตยังทำต้นพันธุ์ทุเรียนกำปั่นทอง อีลีบ เม็ดในยายปราง ก้านยาววัดสัก จำหน่ายอีกด้วย ฝากถึงเกษตรกรมือใหม่เมื่อมีปัญหาเข้ามาอย่าเพิ่งท้อ

คุณอาตฝากถึงเกษตรกรที่เพิ่งจบมาใหม่ อยากจะลองมาเป็นเกษตรกร ก่อนอื่นต้องบอกว่าอย่าไปคาดหวังเยอะ และอย่าทำตามกระแส ให้ทำตามที่ตัวเองถนัด อย่างตัวคุณอาตเรียนจบทางเกษตรพอได้คลุกคลีกับดินกับโคลนมาบ้าง แต่เมื่อลงมือทำเองจริงๆ แล้วถือว่าอาชีพเกษตรหนักเอาการ เพราะช่วงที่คุณอาตเริ่มหันมาเป็นเกษตรกรอย่างเต็มตัวเป็นช่วงที่ภาคการเกษตรเข้าสู่ภาวะวิกฤต

ทุเรียนเหลือกิโลกรัมละแค่สิบกว่าบาท ตอนนั้นก็คิดแล้วว่าจะทำอย่างไรต่อไปดีจะมีเงินใช้หนี้หรือเปล่า แต่เมื่อสู้ไปเรื่อยๆ 2-3 ปีหลังจากนั้นมาเริ่มลืมตาอ้าปากได้ ดังนั้นจึงอยากให้เกษตรกรรุ่นใหม่มองปัญหาของผมเป็นแรงสู้ ความอดทนต้องมี มาถึงปัจจุบันนี้ก็คิดว่าตัวเองเลือกเรียนวิชาไม่ผิด เพราะเราก็ได้ประโยชน์จากตรงนี้หลายอย่างคือ 1.ได้ความรู้มาปรับปรุงภายในสวน 2.ได้พักพวกเพื่อนฝูงคอยให้คำปรึกษากัน และทุกวิชาอื่นๆ ที่เราเรียนมา ถึงตอนนี้รู้แล้วว่าสามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตจริงได้ทุกอย่าง ถึงแม้เราจะทำไม่ได้ทุกอย่างแต่ก็พอมีความรู้เพื่อไม่ให้โดนหลอกได้ง่ายๆ

ฉบับนี้เปลี่ยนบรรยากาศจากไม้ต้นใหญ่มาเป็นไม้พลัดถิ่นที่รับประทานได้กันบ้าง ถ้าพูดถึง “มะตูม” น้อยคนที่จะไม่รู้จัก เพราะคุ้นเคยกับ “มะตูมไทย” มาช้านาน แต่ถ้าพูดถึง “มะตูมแขก” หรือ “มะตูมซาอุ” บางคนอาจจะไม่รู้จักเอาเสียเลย นอกจากคนที่ชอบรับประทานผักเท่านั้น

ผู้เขียนได้ไปเที่ยวบ้านพักของน้องทหารเรือท่านหนึ่ง ที่ฐานทัพเรือสัตหีบ จังหวัดชลบุรี มีโอกาสได้เห็นต้นมะตูมแขกที่กำลังออกดอกสะพรั่งขาวนวล มีผลสีแดงเต็มต้น เป็นช่อพวงสีเขียวอ่อนๆ สีชมพูแก่ สีแดง มองไปช่างสดใสน่าดูชม แถมเมล็ดกำลังพอเหมาะเข้าปากนกได้สบายๆ

คนไทยเรียกชื่อว่า มะตูม เพราะมีกลิ่นคล้ายมะตูม บางคนเรียก “สะเดามาเลย์” เพราะใบคล้ายสะเดา บางคนเรียก “พริกไทยชมพู” เพราะเป็นช่อคล้ายพริกไทย แต่มะตูมซาอุกลับเป็นพืชวงศ์เดียวกับมะม่วง (Anacardiaceae) เสียงั้น

มะตูมแขก เป็นไม้ประดับในวงศ์มะม่วง ลักษณะเป็นไม้ต้นขนาดเล็ก เป็นไม้พุ่มไม่ผลัดใบ สูง 7-10 เมตร ยอดอ่อนสีส้มอมแดง มีกิ่งก้านมากจนมองไม่เห็นลำต้น แตกกิ่งก้านได้ดี ยิ่งตัดยอดยิ่งแตก ทำให้มียอดอ่อนไว้รับประทานเป็นผักสดได้ตลอดปี

ถิ่นกำเนิด อยู่ในอเมริกาใต้ แถบประเทศบราซิล อาร์เจนตินา และปารากวัย มะตูมแขกปลูกแพร่หลายในตะวันออกกลาง เชื่อกันว่าแรงงานไทยที่ไปทำงานในประเทศซาอุดีอาระเบีย นำเข้ามาปลูกแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ด้วยรสชาติที่จัดจ้าน ฝาด มัน ทำให้แกล้มกับลาบ น้ำพริก อาหารอีสานได้อรรถรส และลงตัวพอดี

ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว มีใบย่อย 5-15 ใบ ใบย่อยรูปรีถึงใบหอก ขอบใบหยัก ขนาดประมาณ 2-3×3-6 เซนติเมตร เมื่อขยี้ใบมีกลิ่นฉุน ขอบใบมีลักษณะเป็นหยักหนาม

ดอก ออกเป็นช่อเล็กๆ สีขาวนวล ดอกตัวผู้ และดอกตัวเมียมีลักษณะคล้ายกัน แต่เป็นดอกแยกเพศอยู่ต่างต้น ออกเป็นช่อยาวประมาณ 15 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงสีเขียวรูปใบหอก 5 กลีบ กลีบดอกสีขาวรูปรี 5 กลีบ ออกดอกทั้งปี

ผล เป็นผลชนิดมีเนื้อแบบ drupe เมล็ดเดี่ยวแข็ง เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4-5 มิลลิเมตร เมื่ออ่อนมีสีเขียว และเปลี่ยนเป็นสีแดงสดเมื่อแก่ เมื่อแก่จัดเปลือกจะแห้งติดเมล็ดคล้ายพริกไทยแต่เล็กกว่า มีรสเผ็ด

จริงๆ แล้ว ผลของมะตูมแขกนี้ที่แท้ก็คือ “พริกไทยชมพู” (Pink Peppercorns) ชนิดหนึ่งนั่นเอง ซึ่งเป็นส่วนผสมในขวดพริกไทยผสม (five peppercorns mixture) นี่แหละ ตามซุปเปอร์มาร์เก็ตในต่างประเทศก็มีแยกขายเฉพาะ Pink Peppercorns ซึ่งมีราคาแพงเสียด้วย เพาะเมล็ด ปักชำ และตอนกิ่ง

การปักชำ เลือกกิ่งอ่อนกึ่งแก่ที่อยู่เกือบปลายของกิ่งหลัก ตัดกิ่งประมาณ 15-20 เซนติเมตร วัสดุปักชำอาจจะเป็นแกลบดำ แกลบเผา หรือขุยมะพร้าวก็ได้ แต่แกลบดำได้ผลดีสุด นำกิ่งไปปักบนแกลบดำ กดให้แน่น รดน้ำตั้งไว้ในร่มรำไรที่ลมสงบ ประมาณ 1-2 สัปดาห์ ยอดและรากจะเดิน เมื่อรากแข็งแรงดีก็ย้ายออกแดดได้ มะตูมแขกชำติดง่ายเกือบไม่ต้องใช้สารเร่งรากเลย แต่ถ้าจะใช้ก็ผสมตามที่ข้างขวดระบุไว้ รดน้ำทุก 3 หรือ 4 วัน

การนำไปใช้ประโยชน์

มะตูมแขก ใช้เป็นพืชอาหาร และใช้เป็นพืชสมุนไพรได้ดี นิยมนำมารับประทานเป็นผักสด เป็นเครื่องเคียงกับลาบ น้ำพริก ผัดไทย ขนมจีน ปลูกง่าย ปลูกลงดินหรือใส่กระถางก็ได้รับประทานยอด

มะตูมแขก มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราได้ดี มีรายงานว่า สารสกัดของมะตูมแขกช่วยลดการอักเสบ ควบคุมการเต้นของหัวใจ ช่วยรักษาโรคความดันต่ำ แก้ท้องผูก กระตุ้นการหดตัวของกล้ามเนื้อและรักษาบาดแผล นอกจากนี้ ยังช่วยลดอาการปวดกล้ามเนื้อ ทำลายเซลล์มะเร็ง ลดอาการซึมเศร้า ลดอาการชักกระตุก ทำลายเชื้อไวรัส กระตุ้นการย่อยอาหาร ขับปัสสาวะ ขับเสมหะและกระตุ้นการขับประจำเดือน

เปลือก ใช้ต้มน้ำดื่ม ครั้งละ 1 แก้ว วันละ 2 ครั้ง หรือใช้ใบแก่ต้มน้ำดื่ม ครั้งละ 1 ถ้วยกาแฟ วันละ 2 ครั้ง ลำต้น แก่น และ เปลือก ทุบพอแตก ดองเหล้า ทำยาดอง ใช้ดื่มครั้งละ 1 แก้วเป๊ก เช้าและเย็น วันละ 2 ครั้ง

น้ำมัน/น้ำมันหอมระเหย มีกลิ่นหอม และก่อให้เกิดรสเผ็ด เป็นประโยชน์หลายชนิด

มะตูมซาอุเป็นพืชที่มีประวัติศาสตร์การใช้เป็นยาสมุนไพรมาเป็นเวลาช้านาน อเมริกากลาง/อเมริกาใต้ ชนพื้นเมืองใช้เปลือกต้นเป็นยาสมานแผล ต้านแบคทีเรียและไวรัส หรือใช้เป็นยาบำรุงกำลัง ทำชาชงเป็นยาระบายขับปัสสาวะ น้ำมัน และชันจากต้น ใช้เป็นยาฆ่าเชื้อทาแผลภายนอก ห้ามเลือด และแก้ปวดฟัน

จากบทความของท่าน รศ.ภญ. รุ่งระวี เต็มศิริฤกษ์กุล อาจารย์มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รายงานถึงสรรพคุณทางยาที่อเมริกาใต้มีใช้กันว่า ใบตากแห้งเอาไปชงเป็นชารักษาอาการปวดข้อ ใบสดสูดดมรักษาหวัด ลดความดันโลหิต และอาการซึมเศร้า ใบสดต้มน้ำรักษาอาการประจำเดือนไม่ปกติ

ประเทศเปรู ใช้นํ้ายางจากต้นเป็นยาระบายอ่อนๆ และใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ส่วนทั้งหมดของต้นใช้เป็นยาปฏิชีวนะ ส่วนของนํ้ายางที่แห้งแล้วเมื่อนำมารวมกับนํ้ามันหอมระเหยที่ได้จากใบ ใช้เป็นยารักษาแผล ช่วยในการหยุดเลือด รักษาอาการปวดฟัน

จะเห็นว่าสรรพคุณทางยาที่มีมากมาย และกลิ่นใบที่หอมคล้ายมะตูมไทย เนื้อใบที่กรอบ และรสฝาดมันอร่อย ทำให้ติดอันดับผักสดที่คนอีสานชอบรับประทาน ทุกวันนี้มีขายตามร้านผักสดแบบลาวแทบทุกร้าน คนที่ชอบรับประทานผักจะรู้ดีว่ากลิ่นมะตูมแขกนี่ใกล้เคียงกับยอดมะตูมไทยมาก

ด้วยผลที่มีสีสวยสด เป็นที่ชื่นชอบของนกหลากหลายชนิด ซ้ำออกได้ทั้งปี ผู้เขียนคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ต่อคน ต่อนก และสิ่งแวดล้อม หากปลูกเป็นไม้สมุนไพรก็จะได้รับประทานเป็นผัก หากปลูกเป็นไม้ประดับก็จะมีโอกาสได้เห็นนกหลายๆ ชนิด มาร่ายรำ ร้องเพลงจนแทบจะหนวกหูก็ว่าได้…(ฮา)

ปัจจุบัน ตามร้านพันธุ์ไม้มีกิ่งพันธุ์มะตูมแขกขายกันเป็นล่ำเป็นสัน หากท่านใดยังไม่มีต้นพันธุ์ ก็ติดต่อขอรับเมล็ดพันธุ์ได้ที่คอลัมน์นี้ “นางไม้แห่งลานสะแบง’’ e-mail: rdijpb@ku.ac.th เพราะผู้เขียนได้เก็บเมล็ดพันธุ์ไว้จำนวนหนึ่ง ไว้เพาะขยายพันธุ์เพื่อแจกจ่าย โดยส่วนหนึ่งจะนำไปปลูกที่ลานสะแบง เมืองแม่ย่า (โคราช) เพื่อเรียกนกมาเต้นระบำเช่นกัน ฉบับหน้าเจอกันใหม่ สวัสดี

พื้นที่ฝั่งธนบุรี อยู่ทิศตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา และตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ดั้งเดิมอาชีพของประชากรส่วนใหญ่ในย่านฝั่งธนฯ จะยึดอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก ทั้งปลูกผัก ทำสวนผลไม้ ปลูกมะพร้าว หมากพลู และในเขตบางขุนเทียนมีอาชีพทำประมง เนื่องจากยังมีเขตแดนส่วนหนึ่งติดกับทะเล แต่ปัจจุบันสภาพพื้นที่เปลี่ยนแปลงกลายเป็นโรงงานอุตสาหกรรมและหมู่บ้านจัดสรร ทำให้พื้นที่ทำการเกษตรเหลือลดน้อยลง

เขตหนองแขม เป็น 1 ใน 15 เขต ที่อยู่ในฝั่งธนบุรี สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่ม มีคลองภาษีเจริญตัดผ่าน สภาพเศรษฐกิจดั้งเดิมขึ้นอยู่กับการเกษตรกรรม แต่ปัจจุบันสภาพพื้นที่เปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากชุมชนเมืองขยายตัวจากพื้นที่ชั้นใน มีผู้ย้ายถิ่นเข้ามาอยู่อาศัยและประกอบอาชีพมากขึ้น พื้นที่การเกษตรจึงเริ่มถูกเปลี่ยนแปลงเป็นสถานที่ราชการ สถานศึกษา โรงพยาบาล โรงงานอุตสาหกรรม อาคารพาณิชย์ และหมู่บ้านจัดสรร

แต่ท่ามกลางความเจริญของสิ่งปลูกสร้าง สมัคร GClub ยังมีชาวบ้านในพื้นที่ส่วนหนึ่งที่ยึดอาชีพเกษตรกรรมไว้อย่างเหนียวแน่น เพียงแต่ปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับพื้นที่การเกษตรขนาดเล็ก ที่ถูกโอบล้อมไปด้วยหมู่บ้านจัดสรรและอาคารพาณิชย์ โดยการหันไปปลูกไม้ดอกไม้ประดับ ประเภทดอกดาวเรือง ดอกรัก กุหลาบ และจำปี เพื่อส่งจำหน่ายให้แม่ค้าที่ปากคลองตลาด ซึ่งเกษตรกรเหล่านี้เป็นสมาชิกของสหกรณ์การเกษตรหนองแขมบางขุนเทียน จำกัด ที่มีอยู่ราว 760 คน

คุณพยุง หนูแย้ม หนึ่งในกรรมการสหกรณ์การเกษตรหนองแขมบางขุนเทียน จำกัด ที่หันมาเปลี่ยนอาชีพปลูกดอกจำปีขายตั้งแต่ปี 2536 บนพื้นที่ 15 ไร่ ที่ปรับสภาพขุดเป็นร่อง ยกคันดินให้สูงประมาณ 1 เมตร มีต้นจำปีเรียงรายสวยงาม และมีน้ำล้อมรอบ สร้างบรรยากาศอันร่มรื่น จนแทบไม่น่าเชื่อว่ายังมีสถานที่เช่นนี้หลงเหลืออยู่ในเมืองหลวง

“เดิมๆ แถบนี้เป็นทุ่งนา ปลูกข้าว ต่อมายกร่องทำเป็นสวนส้ม ปลูกดอกรัก ปลูกผักและพืชล้มลุกสักระยะหนึ่ง แต่ทำแล้วก็ยังมีรายได้ไม่ดี จึงหันมาปลูกดอกจำปีแทน เพราะจำปีเป็นพืชที่ปลูกง่าย และต้นทุนถูก เพียงเตรียมดินให้พร้อม ขุดเป็นร่อง ยกคันดินให้สูงประมาณ 1 เมตร เพื่อเวลาที่ฝนตกลงมารากจำปีจะได้ไม่แฉะ หลังจากเตรียมดินรอไว้ 15 วัน จึงนำต้นกล้าจำปีที่เตรียมไว้มาลงดิน ใช้เวลาปลูกประมาณ 1 ปีครึ่ง-2 ปี ก็จะเริ่มเก็บดอกได้ เดือนหนึ่งใส่ปุ๋ยคอกสัก 1 ครั้ง และถ้าเราดูแลรักษาดีๆ ก็จะให้ผลผลิตได้นาน แต่ต้องระวังศัตรูที่น่ากลัวสำหรับจำปีคือไส้เดือนดิน เพราะว่าดินแถวนี้เป็นดินเหนียว ไส้เดือนเป็นเมือก เมื่อไส้เดือนเลื้อยไป เมือกจะช่วยเก็บน้ำเวลาฝนตก ดินจะแฉะ ทำให้ต้นไม่แตกใบอ่อน ใบไม่มีเรี่ยวแรง ปัจจุบันใช้กากชาหว่านใต้ลำต้น เพื่อทำให้ไส้เดือนตาย” คุณพยุง กล่าว

ในแต่ละวันใช้แรงงานราว 6-7 คน ช่วยกันเก็บดอกจำปี ตั้งแต่เวลา 1 ทุ่ม – 5 ทุ่ม ได้ดอกจำปีสด 20,000-30,000 ดอก อายุความสดของดอกจำปีอยู่ได้ 24 ชั่วโมง ซึ่งในช่วงที่ราคาดีจะส่งขายให้กับพ่อค้าปากคลองตลาด ในราคา 40-50 บาท ต่อ 100 ดอก เดือนพฤษภาคมจะเป็นช่วงที่ดอกออกมาก แต่ราคาตก และในช่วงฤดูหนาวผลผลิตออกมาน้อยจะขายได้ราคาดี เกษตรกรจึงมีการวางแผนการผลิตเพื่อให้ออกดอกเยอะๆ ในช่วงที่ราคาสูง โดยนับถอยหลังไปประมาณ 60 วัน เพื่อปรับปรุงดินและใส่ปุ๋ยบำรุงต้นจำปี เตรียมการให้ออกดอกตรงกับช่วงเทศกาลต่างๆ เพื่อจะได้ราคาดี เช่นในช่วงสงกรานต์หรือเข้าพรรษา

เมื่อปี 2542 ราคาผลผลิตตกต่ำจนต้องเททิ้ง ทำให้เกิดความเสียดาย จึงเกิดแนวคิดที่จะนำดอกจำปีมาเพิ่มมูลค่า โดยได้รวมกลุ่มผู้ปลูกจำปีในเขตหนองแขม 32 คน ตั้งเป็นกลุ่มอาชีพแปรรูปดอกจำปีเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อความงาม ซึ่งอยู่ในสังกัดสหกรณ์การเกษตรหนองแขมบางขุนเทียน จำกัด และในปี 2545 เริ่มเข้าร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ทำการวิจัยสกัดน้ำมันดอกจำปีเพื่อให้ได้เป็นหัวน้ำหอมสำหรับนำมาแปรรูปเป็นน้ำหอม จากนั้นค่อยๆ พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย เช่น โลชั่นทาผิว ครีมอาบน้ำ แชมพูสระผม

โคโลญจ์ สบู่ และล่าสุดได้นำไปผสมกับเกลือขัดผิวเพื่อใช้สำหรับดูแลผิวพรรณ ปัจจุบันได้ผ่านการตรวจสอบคุณภาพจนได้รับการรับรองจาก มผช. อย. และได้รับการคัดเลือกให้เป็นสินค้ามาตรฐานสหกรณ์ของกรมส่งเสริมสหกรณ์ พร้อมทั้งจดลิขสิทธิ์การจำหน่ายสินค้าภายใต้ตราสัญลักษณ์ดอกจำปีคู่ ซึ่งการแปรรูปช่วยเพิ่มมูลค่าให้ดอกจำปี ในช่วงที่ผลผลิตราคาตกต่ำ ต้องขายในราคา 5-10 บาท/100 ดอก แต่สามารถมาแปรรูปเพิ่มมูลค่า ด้วยการทำเป็นหัวน้ำหอม คิดเป็นมูลค่าได้ถึง ดอกละ 1 บาท เลยทีเดียว