โรงสีอาหารสัตว์ซื้อข้าวเสื่อม ฟาร์มหมูราชบุรีกวาดล้านตัน

เอกชนมึน “7 โรงสี” ผ่านเกณฑ์ร่วมประมูลชิงข้าวเสื่อมบิ๊กลอต 3.66 ล้านตัน “เฮงเพิ่มพูน” เสนอราคาซื้อต่ำสุด 1.88 บาท/กก.บิ๊กอาหารสัตว์ราชบุรี “วี.ซี.เอฟ.” กวาดซื้อสูงสุด 8 แสนตัน มั่นใจรัฐขายได้ไม่ต่ำกว่า 80% อุดช่องนำเข้าข้าวสาลี

แหล่งข่าวจากวงการข้าวเปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ผลการเปิดให้ยื่นซองเสนอราคาประมูลข้าวสารสต๊อกรัฐบาลเพื่อเข้าสู่อุตสาหกรรมที่มิใช่คนบริโภค ครั้งที่ 1/2560 ปริมาณ 3.66 ล้านตัน

มีผู้ผ่านคุณสมบัติ 19 ราย แต่ยื่นซองเสนอราคา 16 ราย เป็นที่น่าสังเกตว่ามีกลุ่มผู้ประกอบการโรงสีเข้าร่วมเสนอราคาถึง 7 ราย โดยหนึ่งในนั้นคือ หจก.เฮงเพิ่มพูน ซึ่งเป็นผู้เสนอราคาระดับต่ำสุด 1.80 บาทต่อกิโลกรัม

“ในเงื่อนไขการประมูลกำหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์เข้าร่วมประมูลว่าจะต้องเป็นบุคคลที่ได้รับใบอนุญาตประกอบโรงงานอุตสาหกรรมที่ไม่ใช่การบริโภคของคน แต่กลับมีโรงสีผ่านเกณฑ์ประมูล 7 ราย”

นอกจากนี้ยังมีบริษัท นิรันดร์ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นผู้ผลิตกรดมะนาว (กรดซิตริก) ซึ่งเป็นบริษัทที่มีบริษัท นิรันดร์(ฮ่องกง) อินเวสต์เม้นท์ถือหุ้น 100% ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2552 ทุนจดทะเบียน 1,500 ล้านบาท มีนายเผิง ฉีเหว่ย (สัญชาติจีน) เป็นกรรมการผู้มีอำนาจ แต่บริษัทนี้ไม่ได้ซื้อในปริมาณมากจนเป็นที่น่าจับตามองเช่นเดียวกับกลุ่มอาหารสัตว์และกลุ่มโรงสี

แหล่งข่าวตั้งข้อสังเกตว่า เหตุผลที่อนุญาตให้โรงสีเข้าร่วมประมูลได้ในครั้งนี้ เพราะทีโออาร์เดิมเป็นการดำเนินการที่ขัดต่อหลักในทางปฏิบัติที่แท้จริง เพราะถึงแม้ว่าจะมีการเปิดประมูล เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ แต่ไม่สามารถนำข้าวไปใช้ได้ทันที เพราะข้าวในคลังของรัฐบาลที่จัดเก็บมานาน และมีสิ่งปลอมปน เช่น ขุยกระสอบจำนวนมาก จำเป็นต้องนำไปผ่านกระบวนการแยกสิ่งปลอมปนก่อน ซึ่งทางปฏิบัติมีแต่โรงสีเท่านั้นจะทำได้ แล้วจึงส่งเข้าโรงงานอาหารสัตว์ เพราะไม่อย่างนั้นการผลิตอาหารสัตว์จะไม่ได้มาตรฐาน และอาจจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพสัตว์ ยกเว้นการนำไปผลิตอาหารปลาสามารถนำไปใช้ได้ทันที

ทั้งนี้ มีการคาดการณ์ว่า การประมูลครั้งนี้รัฐบาลจะสามารถขายข้าวได้ถึง 80% หรือประมาณ 1.8 ล้านตันจากยอดเสนอซื้อสูงสุด 2.07 ล้านตัน โดยผู้ชนะการประมูลสูงสุดน่าจะเป็นกลุ่มอาหารสัตว์ ได้แก่ บริษัท วี.ซี.เอฟ. กรุ๊ป จำกัด โรงงานอาหารสัตว์ เเละฟาร์มสุกรรายใหญ่ที่สุดใน จ.ราชบุรี เสนอซื้อ 800,000 ตัน ราคาเฉลี่ยตันละ 3,000-5,000 บาท รองลงมาคือ กลุ่มผู้เลี้ยงสุกรรายใหญ่ใน จ.ราชบุรีในเครือ “นิติกาญจนา” ซึ่งมี 2 บริษัท ได้แก่ บริษัท เอส พี เอ็มอาหารสัตว์ ของนายสมชาย นิติกาญจนา และบริษัท กาญจนาอาหารสัตว์ ของนายวิวัฒน์ นิติกาญจนา และนางบุญยิ่ง นิติกาญจนา อดีตที่ปรึกษาของนางพรทิวา นาคาศัย อดีต รมว.พาณิชย์

“หากรัฐพิจารณาขายให้กับกลุ่มอาหารสัตว์จำนวนมากอาจไม่จำเป็นต้องนำเข้าข้าวสาลีจากต่างประเทศ ตามที่สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทยเรียกร้องขอให้นำเข้าเพื่อมาชดเชยผลผลิตข้าวโพดที่มีไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์”

ล่าสุด นายกีรติ รัชโน รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวว่า มีเอกชน 15 รายที่ยื่นเสนอซื้อในราคาสูงสุดรวมปริมาณ 2.07 ล้านตัน ใน 157 คลัง หรือคิดเป็นสัดส่วน 56.50% ของปริมาณข้าวที่เปิดประมูลทั้งหมด มูลค่าที่เสนอซื้อ 9,205 ล้านบาท และมีการเสนอซื้อข้าวราคาตั้งแต่ 1,880-5,100 บาท/ตัน หรือ 1.88-5.10 บาท/กก. โดยราคาเฉลี่ยที่เสนอซื้อครั้งนี้ 4-5 บาท/กก. คาดว่ากรมจะนำผลการประมูลเข้าสู่การพิจารณาของคณะทำงานระบายข้าวในวันที่ 28 มี.ค.นี้ เพื่อพิจารณาว่าจะขาย

“หลักเกณฑ์การพิจารณาขายต้องนำข้อมูลรอบด้านมาเทียบเคียงราคาวัตถุดิบที่กลุ่มอาหารสัตว์นำไปผลิต เช่น มันเส้น ราคาปัจจุบันอยู่ที่ 5 บาท/กก. ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อยู่ที่ 8 บาท/กก. รวมทั้งผลกระทบของตลาด และภาระค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บสต๊อกข้าว ที่ปัจจุบันมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 17 ล้านบาท/วัน ก่อนเสนอประธานคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) อนุมัติต่อไป”

นายกีรติกล่าวว่า ตามแผนการเปิดระบายสต๊อกข้าวรัฐบาลที่ได้รับความเห็นชอบจาก นบข.ในเดือน เม.ย.จะนำข้าวกลุ่ม 3 ที่เก็บเกิน 5 ปีขึ้นไป และเป็นข้าวผิดชนิด ผิดมาตรฐาน ที่ไม่เหมาะสมทั้งการบริโภคของคนและสัตว์ต้องเข้าสู่อุตสาหกรรมพลังงานอย่างเดียวลอตสุดท้ายปริมาณ 1.8 ล้านตัน มาเปิดประมูล หลังจากนั้นในเดือน พ.ค.จนถึง ก.ค จะนำข้าวที่เหลือจากการประมูลทุกกลุ่มมาประมูลใหม่ โดยเริ่มจากในกลุ่ม 1 ข้าวเกรด พี เอ บี และมีเกรด ซีปนไม่เกิน 20% ที่คนสามารถบริโภคได้ ที่เหลืออยู่ 1.5 ล้านตัน, เดือน มิ.ย.ประมูลข้าวกลุ่ม 2 ที่เข้าสู่อุตสาหกรรมมิใช่คนบริโภคที่เหลือจากประมูลครั้งนี้ และเดือน ก.ค.จะนำข้าวกลุ่ม 3 ที่จะเปิดประมูลในเดือน เม.ย.หากระบายไม่หมดมาประมูลใหม่ จึงเชื่อว่าภายในปี 2560 รัฐบาลน่าจะระบายข้าวออกจากสต๊อกได้หมดจากจนถึงขณะนี้ที่ระบายไปแล้ว 10.1 ล้านตันจากสต๊อกที่รับมา 18 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 1.03 แสนล้านบาท ยังไม่รวมข้าวที่ระบายในปีนี้ ส่วนการส่งออกข้าวไทยตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-21 มี.ค. 2560 มีปริมาณ 2.6 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 2.7% เทียบกับช่วงเดียวกันปีที่ผ่านมา มูลค่า 3.8 หมื่นล้านบาท ลดลง 1%

เมื่อค่ำวานนี้ (27 มีนาคม) ที่ห้องประชุมริมน้ำ โครงการชลประทานเชียงใหม่ สำนักชลประทานที่ 1 อ.เมืองเชียงใหม่ นายเจนศักดิ์ ลิมปิติ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานเชียงใหม่ นำทีมผู้บริหารแถลงสถานการณ์น้ำและแผนการบริหารจัดการน้ำในฤดูแล้ง ปี 2559/2560 ของพื้นที่ลุ่มน้ำปิงตอนบนว่า ไม่น่าจะมีปัญหาและสามารถผ่านฤดูแล้งนี้ไปได้ โดยอ่างเก็บขนาดเล็ก จำนวน 115 แห่ง มีน้ำกักเก็บเฉลี่ย 46% โดยปริมาณน้ำที่เหลือมากที่สุดคือ อ.กัลยาณิวัฒนา 91% และน้อยที่สุดคือ อ.ฮอด 8% และมี 4 อำเภอที่น่าห่วงคือ แม่วางและดอยเต่าที่มีน้ำเหลือน้อยกว่า 30% ส่วนดอยสะเก็ดและแม่แตงอยู่นอกเขตชลประทาน ในขณะที่อ่างเก็บน้ำขนาดกลาง จำนวน 12 แห่ง มีน้ำกักเก็บมากสุดคือ อ่างเก็บน้ำแม่ตะไคร้ 89% และน้อยที่สุดคือ อ่างเก็บน้ำห้วยมะนาว 24%

นายเจนศักดิ์ กล่าวว่า ส่วนอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ คือเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล อ.แม่แตง มีปริมาณน้ำกักเก็บ 48% หรือ 127 ล้านลูกบาศก์เมตร อยู่ในเกณฑ์พอใช้ได้ และมีการแบ่งน้ำออกเป็น 3 ส่วน คือ 50 ล้านลูกบาศก์เมตร เพื่อพื้นที่ทางการเกษตรโครงการเขื่อนแม่งัด 78 ล้านลูกบาศก์เมตร เพื่อปล่อยลงน้ำปิงใน 17 รอบตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม 2560 เนื่องจากเป็นช่วงข้าวออกรวงและลำไยออกผลผลิต และขอร้องเกษตรระงับการปลูกข้าวนาปรัง ส่วน 32 ล้านลูกบาศก์เมตร เก็บสำรองไว้ในเขื่อน โดยคาดการณ์ว่าฝนน่าจะตกในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม 2560

“เขื่อนแม่กวงอุดมธารา อ.ดอยสะเก็ด มีปริมาณน้ำ 27% หรือ 62 ล้านลูกบาศก์เมตร แม้จะมากกว่าปีที่ผ่านมาแต่ปริมาณน้ำเริ่มลดลงอย่างรวดเร็ว เพราะอยู่ในช่วงต้นข้าวออกรวง แต่ยังควบคุมได้ไม่น่าห่วง สำหรับแม่น้ำปิง โชดคีที่ปีนี้น้ำดีกว่าปีที่ผ่านมา ยกเว้นด้านท้ายน้ำที่ประตูแม่สอย ซึ่งอยู่ระหว่างแม่น้ำแจ่ม เนื่องจากลำน้ำปิงลาดชัน ทำให้เกษตรสูบน้ำยาก จึงวางแผนให้สูบน้ำในเวลาที่กำหนดหรือเฉพาะช่วงที่ส่งน้ำไปเท่านั้น ห้ามสูบน้ำตลอดเวลาเหมือนที่ผ่านมา” นายเจนศักดิ์ กล่าว

นายเจนศักดิ์ กล่าวอีกว่า ในแง่ของการเพาะปลูก จ.เชียงใหม่มีพื้นที่ปลูกข้าว 170,000 ไร่ ขณะนี้ปลูกไปแล้ว 120,000 ไร่ จากที่ได้รับโควต้า 112,112 ไร่ แม้จะเกินไปเล็กน้อยแต่ไม่น่าห่วง โดยเรามีการปลูกข้าวมากที่สุดในพื้นที่ อ.แม่แตง รับน้ำจากคลองชลประทาน 700 ปี คือ 68,000 ไร่ มากกว่าปีที่ผ่านมา 8,000 ไร่ อยู่ในเกณฑ์เฝ้าระวังเพราะปริมาณน้ำผ่านแม่แตงลดลง ส่วนในเขตเขื่อนแม่กวงปลูก 69,000 ไร่ เป็นไปตามแผนไม่น่าจะมีปัญหาแย่งชิงน้ำ ที่น่าห่วงคือลุ่มน้ำปิงมีการปลูกข้าว 14,000 ไร่ หากไม่มีการปลูกข้าวนาปรังเพิ่มก็ไม่มีปัญหา ล่าสุดได้ประสานผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ให้ทางอำเภอดอยหล่อและจอมทองระงับการปลูกข้าวนาปรังรอบที่ 2 ในเดือนเมษายน เพราะจะเกิดปัญหาน้ำไม่เพียงพอและเกิดการแย่งชิงน้ำ เนื่องจากทราบว่ามีการเตรียมพื้นที่แล้วกว่า 1,000 ไร่ ซึ่งจะต้องใช้น้ำสูงมากกว่า 2 ล้านลูกบาศก์เมตร

“สำหรับน้ำในช่วงเทศกาลสงกรานต์ประจำปี 2560 ในเดือนเมษายนนี้ ชลประทานเชียงใหม่เตรียมผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำแม่หยวก หรือ กรีนเลค เข้าสู่คูเมืองในระหว่างวันที่ 28 มีนาคม-4 เมษายน 2569 ซึ่งสาเหตุที่ใช้น้ำจากกรีนเลคกว่า 200,000 ลูกบาศก์เมตร เพราะกำลังเตรียมขุดลอกพอดี โดยจะแบ่งน้ำออกเป็น 2 ก้อน คือ แบ่งให้คูเมือง 5 หมื่นลูกบาศก์เมตร และผลิตน้ำประปา 8 หมื่นลูกบาศก์เมตร ซึ่งจากการขุดลอกจะทำให้เพิ่มพื้นที่การกักเก็บน้ำของกรีนเลค 6 หมื่นลูกบาศก์เมตร” นายเจนศักดิ์ กล่าวอีก

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเล็งเห็นคุณประโยชน์มากมายของ “มะกอกโอลีฟ” ที่มีถิ่นกำเนิดในแถบเมดิเตอร์เรเนียน ที่นำมาทำเป็นน้ำมันมะกอกและรับประทานได้ มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง และมีสารปฏิชีวนะที่ทำลายเชื้อไวรัส อันเป็นสาเหตุสำคัญในการเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคมะเร็ง หัวใจ เบาหวาน ตลอดจนเอดส์

ทว่า มะกอกเป็นพืชเมืองนอก การนำเข้ามาทำให้ผลิตภัณฑ์มีราคาสูง จึงมีพระราชดำรัสให้โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา ร่วมกับภาครัฐและเอกชนศึกษาวิจัยมะกอกโอลีฟ ตั้งแต่ปี 2539 สำหรับบริโภคภายในประเทศเพื่อสุขภาพของประชาชนชาวไทย

จากนั้นวันนั้นถึงวันนี้ เป็นเวลา 21 ปี ผลของการศึกษาวิจัยเป็นอย่างไร หาคำตอบได้ในกิจกรรม “ตามรอยพ่อ สานต่อที่พ่อทำ” จัดโดยบริษัท ไอ.ซี.ซี. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.เพชรบุรี

สมบัติ วนาอุปถัมภ์กุล ผู้จัดการแผนกวิจัย ส่วนวิจัยและพัฒนา บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล แลบบอราทอรีส์ จำกัด ซึ่งเป็นภาคเอกชนที่ศึกษาวิจัยร่วมกับโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา จนค้นพบสารสกัดมะกอกโอลีฟ เล่าว่า โครงการนี้เริ่มต้นจากสายพระเนตรอันยาวไกลของในหลวง ร.9 ทรงอยากเอาของดีมาให้คนไทยใช้ ต่อมาปี 2543 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี รับสั่งให้พิจารณานำมะกอกโอลีฟพันธุ์ของประเทศโครเอเชียมาปลูกในประเทศไทย โดยเริ่มดำเนินการปลูกเมื่อปี 2544 ในศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ จ.สกลนคร

“แม้การทดลองปลูกจะไม่ประสบผลสำเร็จ เพราะปลูกแล้วต้นไม่ออกผล แต่เราศึกษาวิจัยจนค้นพบประโยชน์จากใบ ที่สามารถสกัดออกมาเป็นน้ำมัน ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางได้ ขณะที่ใบมะกอกโอลีฟมีสาร Oleuropein ซึ่งช่วยรักษาโรคเบาหวาน ชะลอความแก่ กระตุ้นภูมิคุ้มกัน ปริมาณสูงกว่าในผลมะกอกโอลีฟมาก ขณะเดียวกันในใบยังมีสารต้านอนุมูลอิสระได้ดีกว่าสารสกัดชาเขียวและสารสกัดเมล็ดองุ่นเกือบ 2 เท่า สูงกว่าวิตามินซีถึง 5 เท่า และมีประสิทธิภาพสูงกว่าผลไม้ตระกูลเบอร์รี่มากกว่า 100 เท่า ฉะนั้น ถือเป็นสารสกัดที่เหนือกว่าสารกัดทั่วไป” สมบัติกล่าว

ขณะที่ เสน่ห์ อ่วมทอง นักวิชาการเกษตร ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายฯ ซึ่งคลุกคลีกับมะกอกโอลีฟมาตั้งแต่เริ่มโครงการทดลอง เล่าว่า การปลูกมะกอกโอลีฟในประเทศไทยไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะสภาพภูมิอากาศที่มะกอกโอลีฟอยู่ในพื้นที่แห้ง แต่ภายหลังที่มีการศึกษาวิจัยจนค้นพบประโยชน์จากใบ โครงการจึงดำเนินต่อ ซึ่งจากการศึกษาระยะหลังเราค้นพบวิธีขยายพันธุ์ วิธีดูแลที่ถูกวิธี ทำให้ต้นมีอัตรารอดตายเกือบทั้งหมด แต่มะกอกโอลีฟยังเป็นเพียงโครงการทดลอง จึงไม่ได้นำออกไปเผยแพร่ หรือส่งเสริมประชาชนให้ปลูกแต่อย่างใด

ดารนี มาตาแก้ว ผู้จัดการผลิตภัณฑ์ เครื่องสำอาง PURE CARE by BSC บริษัทไอ.ซี.ซี.ฯเล่าว่า ผลิตภัณฑ์ชุด Pure Care Royal Olive Series เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้สารสกัดจากโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา ถือเป็นความภาคภูมิใจของบริษัทที่ได้สืบสานแนวพระราชดำริในหลวง ร.9 อีกทั้งยังลดการนำเข้ามะกอกโอลีฟจากต่างประเทศ ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์วางจัดจำหน่ายไปแล้ว 2 ปี เปี่ยมด้วยคุณภาพ ในราคาที่ได้มาตรฐาน ถือเป็นจุดเริ่มต้นส่งเสริมพัฒนาผลิตภัณฑ์ธรรมชาติของไทยสู่สากลมีเสียงตอบรับเป็นที่น่าภูมิใจเช่นกัน

เมื่อเวลา 15.30 น. วันที่ 28 มีนาคม ที่บริเวณจุดตรวจคุณภาพทุเรียนที่ตั้งอยู่ที่บริเวณถนนสุขุมวิท ขาออก ด่านท่าจอด ต.แสนตุ้ง อ.เขาสมิง จ.ตราด คณะกรรมการตรวจสอบคุณภาพทุเรียนอำเภอเขาสมิง นำโดย นายกฤษณะ อยู่สุข นายอำเภอเขาสมิง พร้อมด้วย นายฐิตินันท์ ประเทืองคุณ ปลัดอำเภอ นายวันชัย เจริญใจ เกษตรอำเภอเขาสมิง และเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร ได้ร่วมกันตั้งจุดตรวจสอบคุณภาพทุเรียนเพื่อเป็นการป้องกันผลผลิตด้อยคุณภาพออกสู่ตลาด

นายวันชัย กล่าวว่า จากการที่ผู้ว่าราชการจังหวัดตราด ได้มีนโยบายให้มีการเข้มงวดไม่ให้มีการลักลอบตัดและค้าทุเรียนอ่อน เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ทางจังหวัดได้รับความเสียหายโดยเฉพาะทุเรียนที่มาจากสวนของชาวตราด จึงได้มีการจัดตั้งจุดสกัดตรวจสอบคุณภาพทุเรียนขึ้น ที่บริเวณด่านท่าจอด และ ที่ ด่านตรวจตู้ยามบ้านนาแกลง ต.ประณี ต อ.เขาสมิง ซึ่งจากผลการตรวจสอบพบรถยนต์กระบะ 5 คัน พบว่าแต่ละคันบรรทุกทุเรียนหมอนทองมาเต็มคันรถน้ำหนักคันละ 1 ตัน รวมทั้งหมด 5 ตัน หรือ 5,000 กิโลกรัม ซึ่งเป็นทุเรียนจากพื้นที่ตำบลท่าเลื่อนและตำบลห้วงน้ำขาว ทางเจ้าหน้าที่ได้เรียกตรวจและทำการสุ่มตรวจเบื้องต้น พบว่าเป็นทุเรียนอ่อน (ด้อยคุณภาพ) ที่มีเปอร์เซ็นต์แป้งไม่ผ่านเกณฑ์มาตราฐานที่ตั้งไว้ 32% โดยวัดค่าเปอร์เซ็นแป้งได้ สูงสุด 22.2% และต่ำสุด 14.3% ได้ทำการตรวจยึดทุเรียนจำนวน 5 ตัน พร้อมรถยนต์กระบะ รวมทั้งพ่อค้าจากตราด จันทบุรี และ ยโสธร นำส่งพนักงานสอบสวน สภ.เขาสมิงดำเนินคดีต่อไป

นายสายัณห์ อินทรภักดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง เปิดเผยถึงการรณรงค์ให้ประชาชนหันมาพึ่งพาเศรษฐกิจพอเพียงว่า ปัจจุบันพืชสมุนไพรได้รับความนิยมจากประชาชนที่หันมาอาศัยสมุนไพรในการรักษาสุขภาพและรักษาโรคกันมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังนิยมรับประทานพืชผักสวนครัวปลอดสารพิษอีกด้วย ดังนั้น ในชุมชนจึงกันมาจัดตั้งสิ่งอำนวยความสะดวกด้านสุขภาพ เช่น ชุมชนบ้านเขาโหรง หมู่ที่ 2 ตำบลน้ำผุด อำเภอเมือง จังหวัดตรัง ได้ตั้งโรงอบสมุนไพรเพื่อสุขภาพ บ้านเขาโหรง หมู่ที่ 12 ตำบลน้ำผุด เพื่อเปิดโอกาสให้ชาวบ้านได้ใช้เพื่อสร้างสุขภาพ วัตถุดิบที่ใช้มาจากการปลูกของชาวบ้านในพื้นที่ โดยชาวบ้านเข้าร่วมหุ้น 40 ครัวเรือน บริการอบสมุนไพรให้ประชาชนและนักท่องเที่ยว ครั้งละ 50 บาท กิจกรรมนี้เป็นไปตามงบประมาณเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ โดยคณะกรรมการโรงอบสมุนไพรบ้านเขาโหรงเป็นผู้บริหารจัดการ

“นอกจากนี้ ชาวบ้านตำบลวังคีรี อำเภอห้วยยอด เป็นอีกชุมชนหนึ่งที่จัดให้มีกิจกรรม ฟื้นฟูส่งเสริมวัฒนธรรมข้าว และวิถีชีวิตชาวนาในรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงเกษตรกรรม (Agriculture Tour) จัดให้มีกิจกรรมสมโภชแม่โพสพ การแข่งขันนวดข้าว การฝัดข้าว การตำข้าวด้วยครก การสาธิตการทำข้าวหลาม การตำข้าวเม่า การทุบข้าวเม่า การสีข้าวด้วยครกสีโบราณ การมอบเครื่องสีข้าวให้โรงเรียน 3 โรง การหว่านเมล็ดปอเทืองบำรุงดิน การแสดงนิทรรศการของหน่วยงาน สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และผลงานของกลุ่มเกษตรกร”

นายสายัณห์ กล่าวด้วยว่า ที่ผ่านมาได้เชิญชวนข้าราชการ เกษตรกร คนรักนา และประชาชนคนกินข้าวหลากหลายสาขา ร่วมกันเกี่ยวข้าวหอมปทุมในพื้นที่ 14 ไร่ ซึ่งทำบนผืนนาที่ถูกทิ้งร้างมาหลายปี ในพื้นที่ตำบลนาพละ อำเภอเมืองตรัง ด้วยการถวายข้าวเปลือกในกิจกรรมก่อเจดีย์ข้าวเปลือกให้กับวัดหัวเขา ตำบลนาหมื่นศรี อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง และฟื้นฟูการสีข้าวด้วยครกสี การตำข้าวเม่า การทำขวัญข้าวบูชาพระแม่โพสพ การชิมข้าวใหม่หลายสายพันธุ์ ร่วมรับประทานอาหารกลางวัน อาหารเย็น กิจกรรมรื่นเริงดนตรีเพื่อชีวิต ผลจากการชวนคนกินข้าวลงนาครั้งนี้คาดว่าจะทำให้เกษตรกร ประชาชนทั่วไป และเยาวชนหันมาสนใจการทำนาเพื่อกินและขายกันมากขึ้น

ส่งออกเครื่องหนัง “จระเข้ ปลากระเบน งู” ไทยสุดฮอต คาดตัวเลข ปี 2560 แตะ 6 หมื่นล้าน เผยคู่แข่งสำคัญ “อินเดีย-เวียดนาม-จีน” แข่งเดือด ได้เปรียบต้นทุนหนัง-ค่าแรงต่ำ

ดร. พสุ โลหารชุน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า ปี 2559 อุตสาหกรรมเครื่องหนังสามารถสร้างมูลค่าได้กว่า 1,600 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 54,000 ล้านบาท มีตลาดที่สำคัญ ได้แก่ สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา และตะวันออกกลาง โดยผู้บริโภคในประเทศดังกล่าวยังคงให้ความนิยมหนังสัตว์เลื้อยคลานของไทยโดยเฉพาะหนังจระเข้ หนังงู รวมถึงหนังปลากระเบน ซึ่งทั้ง 3 ชนิดนี้ สามารถผลิตเป็นสินค้าได้หลากหลาย ทั้ง เบาะรถ กระเป๋า รองเท้า เข็มขัด โดยเฉพาะหนังจระเข้ในปัจจุบันมีราคาอยู่ที่ เซนติเมตรละ 800 บาท รองลงมา ได้แก่ หนังปลากระเบน มีราคาอยู่ที่ เซนติเมตรละ 110 บาท และหนังงูทั่วไป มีราคาอยู่ที่ เซนติเมตรละ 20 บาท ดังนั้น ในปี 2560 ตั้งเป้าว่าจะสามารถสร้างมูลค่าได้ถึงระดับ 60,000 ล้านบาท

“ปีที่ผ่านมามี 3 กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่สร้างรายได้ ประกอบด้วย magiuropa.com กลุ่มผลิตภัณฑ์หนังฟอกและหนังอัด มูลค่าประมาณ 710 ล้านเหรียญสหรัฐ กลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องใช้สำหรับเดินทาง มูลค่าประมาณ 280 ล้านเหรียญสหรัฐ และกลุ่มผลิตภัณฑ์รองเท้าและชิ้นส่วน มูลค่าประมาณ 620 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีประเทศที่เป็นคู่แข่งสำคัญ ได้แก่ อินเดีย ที่มีความสามารถในการผลิตหนังได้ในปริมาณมาก เวียดนาม ได้เปรียบในด้านค่าแรงที่มีราคาต่ำกว่า และประเทศจีนที่เป็นคู่แข่งในเรื่องของราคาและการออกแบบ”

ในปี 2560 ถือเป็นอีกปีที่เชื่อว่าผลิตภัณฑ์เครื่องหนังจะมีการแข่งขันสูงมาก ทั้งจากในและต่างประเทศ ซึ่งผู้ประกอบการที่ผลิตเครื่องหนังต้องปรับเปลี่ยนจากสินค้าในระดับล่างมาผลิตสินค้าในระดับกลางและสูงให้มากขึ้น โดยจะต้องพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ทันสมัย โดยอิงตามกระแสแฟชั่นและควบคุมคุณภาพให้ได้มาตรฐานเป็นที่ต้องการของตลาด เพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน โดยเฉพาะการลดต้นทุนในส่วนที่ไม่ใช่ค่าจ้างแรงงาน การนำวัตถุดิบมาต่อยอดผลิตเป็นสินค้าอื่นๆ นอกเหนือจากผลิตภัณฑ์เดิม รวมถึงเร่งสร้างตราสินค้าให้เป็นที่รู้จัก แม้จะต้องใช้ระยะเวลาที่ยาวนาน แต่หากยังรับจ้างผลิตจะประสบปัญหาในอนาคต

อย่างไรก็ดี กสอ. ได้จัดงาน “แฟนพันธุ์แท้เครื่องหนังไทย 2560” ขึ้นตั้งแต่วันนี้ถึง 31 มีนาคม 2560 ณ ชั้น 1 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ถนนพระรามที่ 6 กระทรวงอุตสาหกรรม สุราษฎร์ธานี-นายสมชาติ เจริญวุฒิชัย ผู้ตรวจราชการกรมประมง นายยุทธนา รัตโน ประธานสหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งลุ่มน้ำท่าทอง จำกัด และ นางอุษณีย์ แสงสิงแก้ว รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่หน่วยธุรกิจบริการการบิน บริษัท การบินไทย ร่วมลงนามความร่วมมือเพื่อการซื้อขายกุ้งทะเล ปั้นเมนูเสิร์ฟผู้โดยสารบนสายการบินระดับสากล โดยมี นายวิชวุทย์ จินโต รองผู้ว่าฯ สุราษฎร์ธานี ร่วมเป็นสักขีพยานเมื่อเร็วๆ นี้ ที่โรงแรมวังใต้ อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี

นายสมชาย กล่าวว่า กระทรวงเกษตรฯ มีนโยบายช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อยเพื่อลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต และเพิ่มโอกาสทางการแข่งขัน ตามโครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ โดยสนับสนุนให้ทำแปลงขนาดใหญ่ พร้อมทั้งสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้มีความสามารถในการจัดการผลิตสินค้า จนถึงแหล่งจัดจำหน่ายที่มีมาตรฐานเช่นเดียวกับฟาร์มขนาดใหญ่ สำหรับสินค้ากุ้งทะเล มีทั้งกุ้งขาวแวนาไม และกุ้งกุลาดำ นับเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่มีศักยภาพสูง

กรมการค้าภายใน ระดมสมอง 3 สมาคมโรงสกัด-โรงกลั่น-ไบโอดีเซล รับมือผลปาล์ม ปี’60/61 ทะลัก 11.7 ล้านตัน หวั่นราคาร่วง เอกชนแนะรัฐหามาตรการคุมเข้มเกษตรกร-จุดรับซื้อแก้ปัญหาตัดปาล์มอ่อนเปอร์เซ็นต์น้ำมันต่ำ ขู่หากไม่ได้ผลควรใช้ มาตรา 44 ดูแล

แหล่งข่าวจากวงการปาล์มน้ำมัน เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2560 นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมการค้าภายใน ประชุมหารือสถานการณ์การผลิตและราคาผลผลิตปาล์ม โดยภาครัฐได้ขอความร่วมมือผู้ประกอบการ 3 สมาคม ประกอบด้วย โรงสกัด โรงกลั่น และไบโอดีเซล ให้พัฒนาคุณภาพเปอร์เซ็นต์น้ำมันปาล์มทั้งระบบเพื่อให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์การปฏิรูปน้ำมันปาล์ม และขอไม่ให้มีการตัดปาล์มดิบ ซื้อปาล์มดิบ แยกลูกร่วง หรือการทำลายคุณภาพน้ำมัน เป็นต้น ทั้งนี้ หากในอนาคตไม่สามารถควบคุมได้อาจมีความจำเป็นต้องใช้ มาตรา 44 ภายใต้รัฐธรรมนูญเข้าไปดูแล