ใช้ความรู้ของคนรุ่นใหม่ ขยายตลาดทุกช่องทางคุณมุกบอกว่า

ก่อนหน้าที่ตนจะเข้ามาทำสวน พ่อและแม่มีตลาดใหญ่ไว้รองรับอยู่แล้วคือตลาดไท และตลาดสี่มุมเมือง ตนเข้ามาพัฒนาในส่วนของตลาดออนไลน์ และตลาดแปรรูป เช่น การแปรรูปผงมะนาวน้ำผึ้ง มะนาวดอง น้ำมะพร้าวน้ำหอม เป็นต้น และในส่วนของตลาดออนไลน์ เริ่มต้นจากการสร้างตัวตนในเพจเฟซบุ๊ก สร้างสตอรี่ว่า มะนาวของสวนมีการผลิตอย่างไร และมีมาตรฐาน GAP รองรับเพราะมองเห็นแล้วว่าในอนาคตข้างหน้ามาตรฐานการผลิตถือเป็นเรื่องสำคัญ เพราะแนวทางการบริโภคสินค้าจะเปลี่ยนไป

ผู้บริโภคต้องการความปลอดภัยที่มากขึ้น ต้องการอาหารและเครื่องดื่มที่ดีต่อสุขภาพ เพราะฉะนั้นมาตรฐานเหล่านี้จะช่วยการันตีสินค้าให้สอดคล้องกับความต้องการตลาดที่เปลี่ยนไป รวมถึงราคาที่ไม่แพง ทำให้เป็นที่ถูกอกถูกใจของทั้งแม่ค้าและผู้บริโภคทุกระดับชั้น และที่สำคัญที่สวนสามารถผลิตมะนาวตามความต้องการของตลาดได้ คือเปลือกบาง น้ำเยอะ มีความพิเศษซึ่งในอนาคตได้มีการวางแผนไว้ว่าจะขยายพื้นที่ปลูกเพิ่ม เนื่องจากตอนนี้ที่สวนกำลังทำผลิตภัณฑ์แปรรูปจากมะนาวตัวใหม่ที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมเข้ามาช่วย ฝากแง่คิดถึงเกษตรกรรุ่นใหม่หวนคืนถิ่นทุกท่าน ให้อดทนแล้วทุกอย่างจะดีขึ้นเอง

“ฝากถึงเกษตรกรรุ่นใหม่อย่างแรกคือต้องมีความอดทนก่อน ช่วงแรกจะหนักพอสมควร กว่าจะผ่านจุดนั้นมาได้ต้องอดทน และใจเย็น ค่อยๆ คิด ค่อยๆ ทำไปเรื่อยๆ แล้วสักวันนึงจะต้องประสบผลสำเร็จ อย่างตัวมุกเองปีนี้เข้าปีที่ 4 แล้ว ที่เข้ามาช่วยที่บ้านเต็มตัว ทุกอย่างเริ่มอยู่ตัวมากขึ้น ก็ได้เรียนรู้ประสบการณ์มากมายจากการทำเกษตร ได้เรียนรู้กระบวนการคิด มีระบบการวางแผนที่ดีขึ้น มีเงินเก็บมากขึ้น เพราะรายได้ที่มีมากขึ้น แต่มีรายจ่ายที่ลดลง ซึ่งมุกพอใจและภูมิใจกับอาชีพเกษตรกรที่ตัวเองได้เลือกเดินมากๆ” คุณมุก กล่าวทิ้งท้าย

เพกาต้นเตี้ย เป็นพืชในตระกูลแคหางด่าง มีชื่อเรียกตามภาษาท้องถิ่นที่แตกต่างกัน ที่มาเลเซีย หรือที่จังหวัดนราธิวาส เรียก เบโด ภาษาทางเหนือเรียก มะลิ้นไม้ หรือมะลิดไม้ จังหวัดเลยเรียก หลิ่นไม้ ลิ้นฟ้า

เพกา เป็นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในประเทศอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งประเทศไทยด้วย โดยพบขึ้นอยู่ตามธรรมชาติ มีทั้งต้นสูงและต้นเตี้ย สายพันธุ์เพกาที่ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรฉะเชิงเทรา ปลูกทดสอบ มีลักษณะเด่นคือ ต้นเตี้ย ให้ผลผลิตเร็ว ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ปักชำ และการชำราก ต้นโตเต็มที่ สูงเพียง 4-5 เมตร เก็บฝักอ่อนได้ง่าย ฝักมีขนาดใหญ่และยาว มีดอกและติดฝักได้เร็ว ปลูกประมาณ 6-8 เดือน ก็เริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตได้แล้ว

เพกา เป็นพืชอาหารในตำรายาแผนโบราณของจีน ระบุสรรพคุณ ผลหรือฝักของเพกา มีสรรพคุณแก้อักเสบ ลดไข้แก้ปวด มีสารป้องกันโรคภูมิแพ้ มีรายงานผลการวิจัยจากหลายแหล่งระบุว่า การแสดงฤทธิ์ของเพกาสารสกัดจากเปลือก ราก มีฤทธิ์ลดกรดในกระเพาะ ป้องกันเยื่อบุทางเดินอาหาร ป้องกันและรักษาแผลในกระเพาะอาหาร ตลอดจนช่วยบรรเทากรดไหลย้อนหลอดอาหารและหลอดอาหารส่วนบน และมีฤทธิ์ต้านมะเร็ง

เพกา จัดเป็นพืชสมุนไพรประเภท 2 ตามตำรับแพทย์แผนไทย ทุกส่วนมีสรรพคุณใช้รักษาและป้องกันโรคได้ เช่น เปลือกต้น มีรสฝาดเย็นขมเล็กน้อย ใช้ตำผสมกับสุรา ทาหรือพ่นตามตัวสตรีที่ทนต่อการอยู่ไฟไม่ได้ ทำให้หนังชา สมานแผล ทำให้น้ำเหลืองปกติ ดับพิษโลหิต ฝักแก่มีรสขม แก้ร้อนในกระหายน้ำ ฝักอ่อน รสขมร้อน ช่วยขับลม ผายลม เมล็ดแก่ รสขม ช่วยระบายท้อง ราก ช่วยบำรุงธาตุ ช่วยให้เกิดน้ำย่อยอาหาร แก้ท้องร่วง ฝนกับน้ำปูนใส ทาแก้บวมอักเสบ ด้วยที่เพกาเป็นพืชพื้นบ้านที่สามารถนำมารับประทานในชีวิตประจำวัน และให้ประโยชน์ด้านการรักษาโรคตามภูมิปัญญาชาวบ้าน

พื้นที่ปลูกเพกาต้นเตี้ย ในประเทศไทยส่วนใหญ่พบมากทางตะวันออกเฉียงเหนือ มีทั้งพันธุ์ต้นสูงและพันธุ์ต้นเตี้ย การเจริญเติบโตของต้นเพกาขึ้นอยู่กับปัจจัยการเจริญเติบโตของพืชหลายอย่างที่แตกต่างกัน พันธุ์เพกาต้นเตี้ยที่ปลูกในพื้นที่ใกล้เคียงกับศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดฉะเชิงเทรา ได้ทำการศึกษาสภาพดินและสิ่งแวดล้อม และแหล่งปลูกที่เหมาะสม ปัจจุบัน เพกาต้นเตี้ย กำลังได้รับความนิยมปลูก เพราะปลูกได้บนที่ดอนหรือพื้นที่ใช้น้ำน้อย อีกทั้งพื้นที่รอบๆ ศูนย์และบริเวณใกล้เคียงเป็นที่ดอน ถ้าหากลักษณะดินเป็นดินทราย ควรมีการปรับปรุงบำรุงดินเสียก่อน

คุณสมเกียรติ์ คุ้มกัน นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ ประจำศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรฉะเชิงเทรา ชี้แจงว่า ศูนย์ได้ทำการศึกษาวิจัยเรื่องการปลูกเพกาต้นเตี้ยบนที่ดอน ใช้ระยะปลูก 4×4 เมตร เป็นแถวยาว 60 เมตร เตรียมหลุมปลูก 50×50 เซนติเมตร ใส่ปุ๋ยคอกรองก้นหลุม 10 กิโลกรัม ต่อหลุม เมื่อต้นเพกาอายุได้ 1 เดือน ใส่ปุ๋ย สูตร 15-15-15 จำนวน 200 กรัม และปุ๋ยคอก 5 กิโลกรัม ต่อต้น โดยการหว่านรอบโคนต้น ในครั้งต่อไปใส่ปุ๋ย สูตร 8-24-24 จำนวน 200 กรัม ร่วมกับปุ๋ยคอก 5 กิโลกรัม ต่อต้น เมื่อผ่านไป 3 เดือน จำเป็นต้องกำจัดวัชพืช หลังจากนั้นเป็นเวลา 8 เดือน เพกาต้นเตี้ยเริ่มให้ผลผลิต

จากนั้นจึงเริ่มทดสอบการขยายพันธุ์ ด้วยการตัดรากมาเพาะชำ ผลปรากฏว่าการชำรากได้ผลดีมาก จำนวนรากออกมาก ซึ่งการขยายพันธุ์ด้วยวิธีการชำราก จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะขยายพันธุ์เพกาต้นเตี้ยที่เหมาะสม อีกทั้งเป็นการเสริมรายได้ให้แก่เกษตรกรอีกทางหนึ่ง

สนใจติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรฉะเชิงเทรา โทร. 081-683-9619 มะแข่น หรือมะแขว่น ในบางท้องถิ่นก็เรียก พริกหอม หมากมาศ หมากแก่น มะแว่น ลูกระมาศ มะแขว่นจัดเป็นไม้ยืนต้นที่ชาวเหนือนิยมเอาผลและเมล็ดแห้งมาประกอบอาหาร รวมทั้งนำมาใช้เป็นสมุนไพร เนื่องจากผลแห้งมีกลิ่นหอมแรงและมีรสเผ็ดร้อน ทำให้ช่วยดับกลิ่นคาวและเพิ่มรสชาติของอาหารให้อร่อยมากขึ้น

มะแขว่นเป็นไม้ที่พบมากในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบมากในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนตอนใต้ พม่า และลาว ในประเทศไทยมีอยู่ทั่วไป ทั้งภาคกลาง ภาคใต้ และภาคเหนือ ซึ่งชาวเหนือเป็นเครื่องเทศหลักในการประกอบอาหารและรับประทานเป็นเครื่องเคียงอาหารประเภทลาบ

มะแขว่นเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่

คุณสุพัฒธณกิจ โพธิ์สว่าง นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า พืชสกุลมะแขว่นเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ พบในพื้นที่ภาคเหนือ 9 ชนิด มีการนำมาบริโภค 3-4 ชนิด ได้แก่ มะแขว่น มะข่วง และมะก๊าด ส่วนมะแขว่นสายพันธุ์ไต้หวันยังไม่นิยมบริโภคมากนัก เนื่องจากมีกลิ่นและรสชาติแตกต่างจากมะแขว่นสายพันธุ์พื้นเมือง

มะแขว่น หรือมะแข่น ถือเป็นพืชเศรษฐกิจประจำภาคเหนือตอนบนของเมืองไทย นิยมนำมาประกอบอาหารประเภทน้ำพริก แกงอ่อม บางส่วนนำมาใช้ประโยชน์เป็นยาสมุนไพรและเครื่องสำอาง มีการจำหน่ายทั้งผลสดและผลแห้งเพื่อนำมาใช้เป็นเครื่องเทศให้รสเผ็ดและร้อนให้กลิ่นหอมชวนรับประทาน และนำมาเป็นเครื่องเคียงในการรับประทานอาหารประเภทลาบเนื้อทั้งสุกและดิบ

คุณสุพัฒธณกิจ กล่าวว่า มะแขว่นได้รับความนิยมในการบริโภคอย่างแพร่หลายในต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศจีน ซึ่งมีการผลิตและแปรรูปเป็นปริมาณมาก

สำหรับประเทศไทย ผลผลิตในปัจจุบันส่วนหนึ่งเก็บจากต้นที่ขึ้นเองในป่า และส่วนหนึ่งเป็นผลที่ได้จากการปลูกในเชิงเศรษฐกิจ ขณะเดียวกัน ตลาดมีความต้องการผลผลิตมากขึ้น เพราะมีการแปรรูปจำหน่าย และมีการนำมาสกัดมาเป็นส่วนประกอบในการทำเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์ จึงมีการส่งเสริมให้มีการเพาะขยายพันธุ์และส่งเสริมให้มีการเพาะปลูกมะแขว่นเพิ่มขึ้นในหลายพื้นที่

จากที่มะแขว่นเป็นพืชเฉพาะถิ่นที่มีการผลิตมากในบางพื้นที่ จึงหลายภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้สนับสนุนและผลักดันให้มะแขว่นเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ด้านพืช (GI) ประจำจังหวัด เช่น จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดน่าน ศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยาและศึกษาการใช้ประโยชน์พืชสกุลมะแขว่น

คุณสุพัฒธณกิจ กล่าวต่อไปว่า ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ สถาบันวิจัยพืชสวน และสำนักคุ้มครองพันธุ์พืช ซึ่งเป็นหน่วยงานวิจัยของกรมวิชาการเกษตร ได้ทำการศึกษาวิจัยความหลากหลายและการตรวจวิเคราะห์จำแนกชนิดพันธุ์พืชพื้นเมืองทั่วไปสกุลมะแขว่น เพื่อศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยา จำแนกชนิด และศึกษาการใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ของพืชพื้นเมืองทั่วไปสกุลมะแขว่น

ในระหว่างปี 2560-2562 ได้ทำการสำรวจเก็บตัวอย่าง รวบรวมข้อมูลการใช้ประโยชน์พืชสกุลมะแขว่นในประเทศไทย และพบพืชสกุลมะแขว่น จำนวน 3 ชนิด ได้แก่ มะแขว่น, มะแขว่นสายพันธุ์ไต้หวัน และมะข่วง ซึ่งพืชสกุลมะแขว่นมักพบตามป่าทั้งป่าเบญจพรรณ ป่าดิบเขา ที่รกร้าง ชายป่า หรือริมสวนป่า ตั้งแต่ระดับพื้นราบไปจนถึงบนดอยที่มีความสูงมากกว่า 1,000 เมตร

มารู้จักกับชนิดของพืช สกุลมะแขว่น

มะแขว่น หรือมะแข่น จัดเป็นพืชบุกเบิกที่ขึ้นภายหลังจากไฟไหม้ป่า หรือป่าเสื่อมโทรม ทนทานต่อสภาพแห้งแล้ง โตเร็ว โรคและแมลงศัตรูพืชมีน้อย ต้องการการบำรุงรักษาน้อย สามารถปลูกในสภาพป่าธรรมชาติ และปลูกร่วมกับพืชเศรษฐกิจชนิดอื่นในภาคเหนือได้ดี เช่น ชา กาแฟอะราบิก้า ส้ม เงาะ ลิ้นจี่ มะม่วง สับปะรด ไม้ผลเมืองหนาว หรือแม้แต่พืชผัก

คุณสุพัฒธณกิจ บอกว่า เนื่องจากมะแขว่นเป็นพืชที่ผลัดใบ และมีทรงพุ่มสูงโปร่ง แสงทะลุผ่านทรงพุ่มได้ดี จึงสามารถเป็นพืชบังร่มเงาให้กับพืชที่ไม่ชอบแสงแดดจัดได้ รวมทั้งยังช่วยลดปัญหาบางประการในการผลิตพืชได้ อาทิ ลดอาการผิวไหม้ (sun-burn) ในการผลิตส้ม

มะแขว่นจะเริ่มให้ผลผลิตหลังจากปลูกประมาณ 3 ปี มีอายุการให้ผลผลิตนานหลายสิบปี และให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นตามอายุ

คุณสุพัฒธณกิจ บอกอีกด้วยว่า มะแขว่นผลสด 3 กิโลกรัม เมื่อนำมาทำแห้งแล้วจะเหลือ 1 กิโลกรัม มะแขว่นอายุ 3-5 ปี จะให้ผลผลิตประมาณ 5-15 กิโลกรัมสดต่อต้น อายุ 6-10 ปี จะให้ผลผลิต 15-45 กิโลกรัมสดต่อต้น และต้นที่อายุ 15 ปีขึ้นไป ขนาดต้นสมบูรณ์สามารถให้ผลผลิตได้มากกว่า 50 กิโลกรัมต่อต้น

มะแขว่นสายพันธุ์ไต้หวัน

ลักษณะเด่นมะแขว่นสายพันธุ์ไต้หวันคือ ลำต้นมีหนามสั้นแหลม ต้นเตี้ย และเล็กกว่ามะแขว่นสายพันธุ์ไทย มีผลดก ผลสุกจะมีสีแดงสด ผลมีน้ำมันหอมระเหยปริมาณมาก ใบและขนาดทรงพุ่มเล็กกว่า เมื่อเทียบกับมะแขว่นสายพันธุ์ไทย

แหล่งที่พบ มีการนำเข้าพันธุ์มาจากแรงงานรับจ้างที่ไปทำงานที่ประเทศไต้หวัน นำมาปลูกที่จังหวัดพะเยาเป็นแห่งแรก พบว่าเจริญเติบโตได้ดีและให้ผลผลิตเร็วกว่ามะแขว่นพื้นเมืองพันธุ์ไทย ได้มีการเพาะพันธุ์ต้นกล้าจำหน่ายแพร่กระจายไปทั่วภาคเหนือหลายจังหวัด

มะแขว่นสายพันธุ์ไต้หวันมีกลิ่นไม่หอมเหมือนมะแขว่นพื้นเมืองสายพันธุ์ไทย จึงไม่ได้รับความนิยมมาประกอบอาหารเป็นเครื่องเทศ ภายหลังต้นมะแขว่นสายพันธุ์ไต้หวันขาดการดูแลและถูกโค่นทิ้ง แต่จากการสกัดทำน้ำมันหอมระเหย พบว่ามีปริมาณน้ำมันค่อนข้างสูง จึงได้รับความสนใจในการนำน้ำมันที่สกัดมาใช้ประโยชน์แทนการบริโภค

พบได้ตามป่าเบญจพรรณ เจริญในพื้นที่เขตร้อน หรือในพื้นที่เขตอบอุ่นของโลก สำหรับประเทศไทยพบมะข่วงในพื้นที่ทางภาคเหนือ เช่น จังหวัดเชียงใหม่ แพร่ และพะเยา

คุณสุพัฒธณกิจ อธิบายว่า มะข่วงเป็นไม้ยืนต้นสูงประมาณ 10-20 เมตร มีหนามรอบลำต้นและกิ่ง ใบเป็นประกอบแบบขนนกใบคู่ หรือคี่เรียงสลับกัน ออกดอกตรงปลายกิ่งช่วงเดือนเมษายน เป็นดอกชนิดไม่สมบูรณ์ เพศ (แยกต้นแยกเพศ) เริ่มให้ผลประมาณปลายเดือนเมษายน ผลค่อนข้างกลม เมล็ดขนาดเล็ก สีดำเป็นมัน มีน้ำมันเป็นองค์ประกอบ

คุณสุพัฒธณกิจ อธิบายต่อไปว่า เรายังสามารถพบมะข่วงในบางพื้นที่ของภาคตะวันตกที่มีสภาพภูมิอากาศหนาวเย็น และมีฝนตกชุกในช่วงฤดูฝน โดยเฉพาะในบางที่ของจังหวัดเพชรบุรี อำเภอหนองหญ้าปล้อง อำเภอเขาย้อย และอำเภอแก่งกระจาน เนื่องจากมีชาติพันธุ์กะเหรี่ยงและลาวโซ่งอาศัยอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว ปลูกสำหรับใช้ประกอบอาหารและนำมาเป็นยาสมุนไพร ชาติพันธุ์กลุ่มนี้เรียกพืชชนิดนี้ว่า มะแข่น มะแขว่น พริกพราน หรือพริกนายพราน นอกจากนั้น มะข่วงถูกนำมาใช้ประโยชน์เป็นยาแผนโบราณสำหรับรักษาโรคชนิดต่างๆ อย่างหลากหลาย โดยพบว่ามีสารแอลคาลอยด์ เป็นสารกลุ่มหลัก และสารกลุ่มรองคือ ลิกแพนคูมา รินเอไบด์ และเทอร์ฟีน และยังมีข้อมูลจำนวนมากที่ชี้ให้เห็นถึงการมีฤทธิ์ทางชีวภาพที่หลากหลายของสารพฤกษเคมีที่เป็นองค์ประกอบโดยแสดงฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย ต้านออกซิเดชั่น ต้านการอักเสบ และฤทธิ์ต้านมะเร็ง

การจำหน่าย เขามักจะนำผลสุกแก่ที่ตากแห้งมามัดเป็นช่อขนาดประมาณ 1 กำมือ มาวางขายในราคากำละ 20-50 บาท แล้วแต่ช่วงฤดูกาล เพื่อใช้เป็นเครื่องเทศประกอบอาหารประเภทพริกแกง

โอกาสที่มะแขว่น จะเป็นพืชเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงใหม่

คนทางภาคเหนือนิยมนำผลและเมล็ดแห้งประกอบอาหาร เนื่องจากผลแห้งของมะแขว่นมีกลิ่นหอมแรงและมีรสเผ็ดร้อน ช่วยดับกลิ่นคาวและเพิ่มรสชาติของอาหารให้อร่อย รวมถึงใช้เป็นยาสมุนไพร มีฤทธิ์กระตุ้นความอยากอาหาร และฆ่าพยาธิบางชนิด

นอกจากนี้ ยังมีการนำผลสดและแห้งมาสกัดเป็นน้ำมันหอมระเหย เพื่อใช้ทา ถู นวด ลดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ได้มีการนำมาใช้เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอาง เช่น แชมพู ครีมบำรุงผม และยังสามารถพัฒนาทำเป็นผลิตภัณฑ์ฉีดพ่นป้องกันยุงและไล่แมลงศัตรูพืช

คุณสุพัฒธณกิจ กล่าวอีกด้วยว่า จากสรรพคุณต่างๆ ดังกล่าว มะแขว่นมีศักยภาพและสามารถที่จะผลักดันให้เป็นพืชเศรษฐกิจอันดับต้นๆ ของบางพื้นที่ในจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดน่าน เนื่องจากมีการผลิตและจำหน่ายเป็นพืชการค้า มีการใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลายทั้งการเป็นส่วนประกอบอาหาร และยาในตำรับยาไทยและตำรับยาจีน

สารสำคัญหลักในมะแขว่น ที่ให้กลิ่นและรสชาติเป็นเอกลักษณ์ คือ สาร D-limonene, Terpin-4-OL และ Sabimene จากการวิจัยยังพบว่า น้ำมันมะแขว่นมีสรรพคุณบรรเทาอาการบาดเจ็บ และลดการอับเสบของกล้ามเนื้อ การสูดดมน้ำมันมะแขว่น ยังมีผลต่อการเพิ่มค่าความดันโลหิต และกระตุ้นประสาทให้มีการตื่นตัว ทำให้รู้สึกสดชื่นกระปรี้กระเปร่ามากขึ้นด้วย

ส่งเสริมให้ปลูกมะแขว่นเพื่อเพิ่มพื้นที่ป่า

คุณสุพัฒธณกิจ กล่าวว่า จากการสำรวจพบว่า มะแขว่นเป็นพืชที่ขยายพันธุ์ยาก เนื่องจากในธรรมชาติ เมล็ดมีอัตราการงอกต่ำ ต้นกล้ามะแขว่นที่เพาะได้ เมื่อย้ายปลูกลงดิน มีอัตราการรอดชีวิตน้อย เนื่องจากระบบรากอ่อนแอและไม่ทนน้ำขัง รวมทั้งไม่ทนทานต่อสารเคมีกำจัดวัชพืช จึงจำเป็นต้องการมีพัฒนาและส่งเสริมให้มีการขยายพันธุ์มะแขว่นอย่างถูกต้องเหมาะสม และให้เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกรที่จะนำไปปลูก

จากการสำรวจจะเห็นว่า มะแขว่นเป็นพืชอีกชนิดหนึ่งที่มีศักยภาพในการส่งเสริมให้มีการปลูกเพื่อเพิ่มพื้นที่ป่า และสามารถปลูกเป็นพืชเพิ่มรายได้ร่วมกับป่าและร่วมกับพืชอื่น โดยใช้พื้นที่อย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพมากกว่าการปลูกพืชเชิงเดี่ยว

คุณสุพัฒธณกิจ เล่าว่า ที่ตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่แตง มีการปลูกมะแขว่นมากที่สุดในจังหวัดเชียงใหม่ โดยในพื้นที่หมู่ที่ 2 ซึ่งมีพื้นที่และต้นปลูกมากที่สุด

ทั้งนี้พบว่า พื้นที่หมู่ที่ 2 ตำบลป่าแป๋ มีสภาพอุดมสมบูรณ์หนาแน่นไปด้วยป่าไม้ ราษฎรทุกบ้านจะช่วยกันอนุรักษ์ป่าไม้ไม่ให้มีการตัดไม้ทำลายป่า ทุกบ้านจะปลูกต้นมะแขว่นเป็นพืชร่วมกับป่าไม้ เนื่องจากต้นมะแขว่นเป็นต้นไม้ขนาดกลาง ปลูกอยู่ท่ามกลางป่าไม้ ช่วยในการอนุรักษ์ต้นไม้ใหญ่ และปลูกร่วมกับพืชระดับล่าง เช่น กาแฟอะราบิก้า ซึ่งเป็นพืชที่ให้ผลผลิตและสร้างรายได้มากที่สุด อะโวกาโด พลัม (ลูกไหน) โกโก้ กล้วย มะกิ๊ง (พืชใกล้จะสูญพันธุ์) รวมทั้งพืชสมุนไพร ได้แก่ กระชายดำ กระชายขาว ขมิ้น เถาวัลย์เปรียง ไพลดำ ไพลเหลือง หญ้าเอ็นยืด ซึ่งเป็นสมุนไพรองค์ประกอบในการทำลูกประคบ

สานต่องานวิจัยให้สมบูรณ์

ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ได้นำองค์ความรู้จากการศึกษาวิจัยเบื้องต้นดังกล่าว จัดทำ “โครงการยกระดับการผลิต การกระจายพันธุ์ การแปรรูป การสร้างผลิตภัณฑ์ และการส่งเสริมการตลาดมะแขว่นแบบครบวงจร” เพื่อยกระดับให้มะแขว่นเป็นพืชอัตลักษณ์พื้นถิ่น ส่งเสริมให้เป็นพืชเกษตรปลอดภัย ภายใต้แนวทางเกษตรชีวภาพ และเกษตรแปรรูป ต่อยอดสู่เกษตรอุตสาหกรรม และส่งเสริมและผลักดันให้มะแขว่นซึ่งเป็นพืชเฉพาะถิ่น และเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ด้านพืช ประจำตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่

สนใจชมสวนป่ามะแขว่น ปลูกร่วมป่าไม้ และพืชสมุนไพร ที่ตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ติตต่อสอบถามได้ที่ ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ ตำบลหนองควาย อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ 50230 โทร. 053-114-133-6 หรือ คุณสุพัฒธณกิจ โพธิ์สว่าง ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ โทร. 089-637-4821 คุณธนงศักดิ์ บัวแดง เกษตรกรชาวอำเภอเชียงม่วน อยู่บ้านเลขที่ 117 หมู่ที่ 7 บ้านท่าฟ้าใหม่ ตำบลสระ อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา สมัยที่แล้วดำรงตำแหน่งประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลสระ ช่วงนี้วางมือทางการเมืองท้องถิ่นหันมาดูแลสวนอย่างจริงจัง แต่ยังคงเป็นเครือข่ายศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.)

คุณธนงศักดิ์ เล่าให้ฟังว่า รู้จักกับ อาจารย์ประพันธ์ เขื่อนขันธ์ อดีตอาจารย์วิทยาลัยเกษตรกรรมแพร่ บ้านอยู่ตำบลสวนเขื่อน อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ และเป็นที่ปรึกษานายกองค์การบริหารส่วนตำบลสวนเขื่อน เมื่อปี พ.ศ. 2548 ได้ถามคุณธนงศักดิ์ว่าประกอบอาชีพอะไร ก็ได้บอกว่ายังไม่มีอาชีพอะไร ท่านก็เลยบอกว่าให้กลับไปทำสวนผลไม้ โดยมอบต้นพันธุ์ลองกองและเงาะให้มาปลูก นับถึงปัจจุบัน นับอายุได้ 17 ปี มีผลผลิตออกสู่ตลาดทุกปี รสชาติหวาน กรอบ แห้ง เป็นที่ถูกใจของผู้บริโภค โดยจำหน่ายในเขตอำเภอเชียงม่วนและใกล้เคียง ทำรายได้ให้เป็นอย่างดี

ส่วน นายสุรชัย ณ มา นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร magiuropa.com ปฏิบัติการรับผิดชอบงานส่งเสริมการผลิตไม้ผล สำนักงานเกษตรอำเภอเชียงม่วน ให้ข้อมูลทางวิชาการว่า ลองกอง มีชื่อสามัญว่า Longkong มีชื่อวิทยาศาสตร์ Lansium domesticum Corr. จัดเป็นพืชที่อยู่ในชนิดเดียวกันกับลางสาดและลูกู หรือ ดูกู (Duku) โดยจัดอยู่ในวงศ์ MELIACEAE เช่นเดียวกับกระท้อน กัดลิ้น ตะบูนขาว ตะบูนดำ และสะเดา ลองกองมีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า ลังสาดเขา (นครศรีธรรมราช) ส่วนชื่อลองกองนั้นมาจากชื่อพื้นเมืองจากจังหวัดสุราษฎร์ธานี

ผลไม้ลองกอง ผลไม้ที่มีถิ่นกำเนิดทางแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในหมู่เกาะชวา เกาะมลายู ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และทางภาคใต้ของประเทศไทย ในจังหวัดนราธิวาส และยังมีในประเทศทางแถบซูรินัม เปอร์โตริโก ออสเตรเลีย และฮาวาย โดยประเทศไทยสามารถผลิตลองกองที่มีคุณภาพได้ดีที่สุด เนื่องจากมีสภาพแวดล้อมในการปลูกที่เหมาะสม แต่พื้นที่ที่สามารถทำการปลูกลองกองได้ยังมีจำกัด ทำให้มีผลผลิตน้อย ไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด จึงทำให้ผลไม้ชนิดนี้มีราคาสูง และจัดได้ว่าเป็นผลไม้เศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศอีกชนิดหนึ่ง โดยแหล่งเพาะปลูกลองกองในประเทศส่วนใหญ่จะอยู่ทางภาคใต้ รองลงมาคือภาคตะวันออก ส่วนภาคเหนือและภาคกลางก็มีปลูกอยู่บ้างเล็กน้อย

สายพันธุ์ลองกอง ในประเทศไทยมีอยู่หลายสายพันธุ์ โดยมีลักษณะที่แตกต่างกันมากบ้างน้อยบ้าง โดยสายพันธุ์ลองกองที่สามารถรวบรวมได้ทั้งหมดมีอยู่ด้วยกัน 7 สายพันธุ์ ได้แก่ ลองกองทั่วไป ลองกองแกแลแมร์ (ลองกองแปรแมร์) ลองกองคันธุลี ลองกองธารโต ลองกองไม้ ลองกองเปลือกบาง และลองกองกาญจนดิษฐ์ ซึ่งในแต่ละสายพันธุ์นั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด ได้แก่ ลองกองแห้ง (เนื้อใส แห้ง รสหวาน กลิ่นหอม เปลือกเหลืองคล้ำและไม่มียาง) ลองกองน้ำ (เนื้อฉ่ำน้ำ สีเปลือกเหลืองสว่าง) และลองกองกะละแม (แกแลแม, ปาลาเม, แปรแมร์) (เนื้อนิ่ม กลิ่นไม่หอม เปลือกบาง และมียางเล็กน้อย) โดยลองกองแห้งจะเป็นชนิดที่ได้รับความนิยมในการปลูกเป็นการค้ามากที่สุด เนื่องจากเป็นชนิดที่มีผลคุณภาพดี เนื้อมีรสหวาน หอม มีเมล็ดน้อยหรือไม่มีเลย และเมล็ดยังไม่ขมอีกด้วย ดังนั้น สายพันธุ์ของลองกองจึงควรจะมีเพียงสายพันธุ์เดียว เพราะเป็นประโยชน์ในการค้า ไม่จำเป็นต้องแยกชนิดพันธุ์ เพราะคุณภาพนั้นเป็นที่ยอมรับของตลาดอยู่แล้ว

ลักษณะของต้นลองกอง ในส่วนของลำต้นไม่กลมนัก มักมีสันนูนและรอยเว้าอยู่บ้าง ผิวเปลือกค่อนข้างหยาบ ไม่เรียบ แตกกิ่งแขนงภายในเป็นทรงพุ่มไม่กลมตรง มีแอ่งเว้าตามรอยของง่ามกิ่งและตามลำต้นให้เห็นเป็นระยะ ลักษณะเป็นรอยสูงต่ำ เป็นคลื่นๆ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมที่ปลูกด้วย ถ้าหากปลูกภายใต้ร่มเงาทึบหรือมีไม้อื่นมาก ลำต้นก็จะสูงชะลูดและผิวเปลือกจะค่อนข้างเรียบ แต่ถ้าปลูกในพื้นที่ที่มีร่มเงาน้อย ลำต้นมักจะแผ่เป็นพุ่มกว้างๆ และมีผิวเปลือกที่หยาบ ขยายพันธุ์ได้หลายวิธี ทั้งวิธีการเพาะเมล็ด การทาบกิ่ง การต่อกิ่ง หรือการเสียบยอดและเสียบข้าง และวิธีการติดตา