ใช้ตะแกรงตาถี่วางปิดกะละมังไว้ กันแมลงพ่อแม่พันธุ์ออก

หลังจากปล่อยพ่อแม่พันธุ์แล้ว เมื่อมีการผสมพันธุ์กัน แม่พันธุ์จะไข่ไว้ในเปลือกมะพร้าวมีสีขาวเหมือนเม็ดข้าวสาร ในช่วงวางไข่ศัตรูอันดับหนึ่งของไข่คือแมลงวันลายเสือ ซึ่งจะมาวางไข่ที่ไข่ด้วงอีกที เมื่อไข่แมลงวันเจริญเติบโตเป็นหนอนก็จะกินหนอนด้วงมะพร้าวเป็นอาหาร…ใช้เวลา 3 วัน ไข่ด้วงมะพร้าวจะถูกฟักเป็นตัว และใช้เวลาต่ออีก 15 วัน หนอนด้วงจะเจริญเติบโตขึ้น ในวันที่ 14 เราจะต้องจับพ่อแม่พันธุ์ออกมาทั้งหมดแล้วนำมาใส่กะละมังใหม่พร้อมอาหารและเปลือกมะพร้าวแบบเดิม พ่อแม่พันธุ์นี้เราสามารถย้ายได้ 3 ครั้ง เมื่อย้ายครั้งที่ 3 พ่อแม่พันธุ์จะหมดอายุ หลังจาก 14 วัน ที่นำพ่อแม่พันธุ์ด้วงออกจากกะละมัง จะเลี้ยงต่อไปอีกประมาณ 30-35 วัน ตัวด้วงจะโตเต็มที่สามารถนำมาจำหน่ายได้

การเก็บตัวด้วงจะใช้วิธีการคว่ำกะละมัง คัดแยกขนาดที่ใช้ไม่ได้ออกมาใส่กะละมังใหม่ ซึ่งจะใช้เฉพาะมันสำปะหลังเป็นอาหารเพียงอย่างเดียวไม่ต้องผสมอาหารหมูอีก เพราะอาหารหมูจำเป็นสำหรับด้วงในวัยตัวอ่อน ใส่กะละมังละประมาณ 230 ตัว แม่ค้ามักจะชอบยกกะละมังไปเพื่อวางให้ลูกค้าเห็น ตอนตัวด้วงกำลังกระดึ๊บๆ นัยว่าเป็นที่ยั่วน้ำลายดีนักแล และเป็นอันรู้กันว่าของสด ลูกค้าที่เป็นนักดื่มจะชอบซื้อที่ล้างเสร็จแล้วซึ่งสามารถนำไปทำอาหารได้เลยไม่ต้องรอ ก่อนที่จะคว่ำกะละมังเพื่อล้างจะต้องให้หนอนด้วงกินกล้วยสุกหรือมะละกอสุกก่อน อย่างน้อยครึ่งวันก่อนนำมาล้าง มิฉะนั้นด้วงจะติดกลิ่นเหมือนอาหารหมูเน่าเข้าไปด้วย ถือว่าเป็นเคล็ดลับที่จะทำให้เมนูด้วงมีความอร่อย

ครูต๋อย บอกว่า เมนูด้วงของภาคเหนือมีหลายเมนู

น้ำพริกด้วง…ใช้ด้วง 20 ตัว เสียบไม้แล้วค่อยจี่ เนื้อจะเหลือแค่ 1 ใน 4 พริกหนุ่ม 5 เม็ด กระเทียม นำมาจี่เช่นกัน แล้วโขลกรวมใส่เกลือเล็กน้อยก็เป็นน้ำพริกได้แล้ว

หมกด้วง…ใช้พริกสด ตะไคร้ กระเทียม ขมิ้นเหลืองมาโขลก แล้วคลุกกับไข่พร้อมตัวด้วง มาห่อด้วยใบขมิ้นเป็นชั้นแรกต่อด้วยใบตอง ใช้เชือกกล้วยมัด วางบนถ่านไฟ รสชาติจะออกหอม กินกับข้าวเหนียวรับรองว่าลำขนาด

ด้วงทอด…ต้องนำมาต้มก่อน ตั้งน้ำให้เดือดเอาด้วงลวก ประมาณ 3 นาที ตัวจะเต่งสวย ตักขึ้นมาทำให้เย็น แล้วใช้กรรไกรตัดหัวออกครึ่งหนึ่งซึ่งเป็นส่วนเขี้ยว ใช้น้ำมันพืชตั้งไฟให้ร้อนด้วยไฟกลาง ทอดประมาณ 15 นาที สีจะเปลี่ยนจากเหลืองเป็นเหลืองทอง ใส่ใบเตยลงไปเล็กน้อย แล้วตักด้วงออก รอให้เย็น ซับน้ำมันโดยใช้วางบนกระดาษซับน้ำมัน พอน้ำมันสะเด็ดจะโรยเกลือและผงบาร์บีคิว ถ้าใช้ซอสปรุงรสจะกลบกลิ่นของด้วงจนเสียรสชาติ

ด้วงย่าง…เมื่อต้มด้วงเสร็จไม่ต้องตัดปาก นำมาเสียบไม้ จำนวน 8 ตัว ต่อ 1 ไม้ ย่างไฟอ่อนๆ จนสุก เป็นเมนูยอดฮิต

ความรู้ความชำนาญของครูต๋อยเกิดจากประสบการณ์ที่สะสมจากครูพักลักจำและลองผิดลองถูกมาหลาย ประสบการณ์ในเรื่องนี้ไม่ได้น้อยหน้าใครแน่นอน และได้นำความรู้ไปถ่ายทอดให้นักเรียนในโรงเรียนอย่างสม่ำเสมอตลอดเวลา จึงเป็นที่เชี่ยวชาญในการถ่ายทอดความรู้ด้านนี้ ทำให้ผู้ได้รับการอบรมสามารถนำไปใช้อย่างได้ผล

นอกจากจำหน่ายตัวด้วงสดแล้ว ครูต๋อยยังจำหน่ายพ่อแม่พันธุ์พร้อมกับอาหารสำเร็จอีกด้วย ในการนำไปเลี้ยง ครูต๋อยก็จะมีการอบรมให้อีกเป็นเวลาประมาณ 3 ชั่วโมง หลังจากการอบรมแล้วนำไปทำถ้ามีปัญหาก็สามารถโทร.มาปรึกษาได้ตลอดเวลา การส่งพ่อแม่พันธุ์ด้วงมะพร้าวจะบรรจุกล่องไปอย่างดี เพื่อไม่ให้เสียหายก่อนถึงมือผู้รับ สามารถติดต่อได้ทางโทรศัพท์มือถือ (089) 699-6442 และ (088) 254-0667

คุณทวีพงศ์ สุวรรณโร ผู้อำนวยการกองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย กรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวให้ความเห็นว่า ด้วงงวงเป็นศัตรูที่สำคัญของมะพร้าว เข้าทำลายทีหลังด้วงแรด กรมส่งเสริมการเกษตร มีหน่วยงานที่แนะนำวิธีการเลี้ยงแมลงให้ถูกวิธี สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงด้วงงวงหรือด้วงสาคูอยู่ ควรเลี้ยงในที่มิดชิด อย่าให้เล็ดลอดออกมาภายนอกได้ ช่วงนี้ยังไม่มีปัญหา เพราะขายได้ราคาดี แต่หากราคาตกต่ำ อาจจะมีการปล่อยปละละเลยก็เป็นได้

“กำลังดูแหล่งเลี้ยงด้วงงวงกับปริมาณการระบาดในธรรมชาติว่ามีความสัมพันธ์กันมากน้อยแค่ไหน” คุณทวีพงศ์ กล่าว คุณฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงภาพรวมการค้าสินค้าเกษตรระหว่างประเทศของไทยไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลกพบว่า ในปี 2564 (มกราคม-ธันวาคม 2564) ไทยสามารถส่งออกสินค้าเกษตรไปตลาดโลก เป็นมูลค่ามากถึง 1.3 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 17 เมื่อเทียบกับปี 2563 ส่งผลให้ไทยได้ดุลการค้าสินค้าเกษตรรวม 813,693 ล้านบาท

ที่มา : กองเศรษฐกิจการเกษตรระหว่างประเทศ รวบรวมจากสถิติการค้าสินค้าของกรมศุลกากร ข้อมูล ณ 14 กุมภาพันธ์ 2565

หากพิจารณาเฉพาะการค้าสินค้าเกษตรของไทยกับประชาคมอาเซียน 9 ประเทศ (บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย เมียนมา ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และเวียดนาม) ภาพรวมการค้ายังคงขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.86 คิดเป็นมูลค่า 422,754 ล้านบาท โดยการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.46 ส่งผลให้ไทยยังคงได้เปรียบดุลการค้า คิดเป็นมูลค่า 171,355 ล้านบาท ทั้งนี้ ไทยส่งออกไปยังมาเลเซียเป็นอันดับหนึ่ง และรองลงมา ได้แก่ เวียดนามและกัมพูชา ซึ่งสินค้าเกษตรส่งออกสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ เครื่องดื่มประเภทนมยูเอชที นมถั่วเหลือง มูลค่า 46,647 ล้านบาท รองลงมาคือ น้ำตาลและผลิตภัณฑ์จากน้ำตาล มูลค่า 38,075 ล้านบาท ยางพาราธรรมชาติ มูลค่า 29,900 ล้านบาท ของปรุงแต่งเบ็ดเตล็ดที่บริโภคได้ มูลค่า 28,433 ล้านบาท และของปรุงแต่งจากธัญพืช แป้ง และนม มูลค่า 25,099 ล้านบาท

ที่มา : กองเศรษฐกิจการเกษตรระหว่างประเทศ รวบรวมจากสถิติการค้าสินค้าของกรมศุลกากร ข้อมูล ณ 14 กุมภาพันธ์ 2565

นอกจากนี้ ไทยยังสามารถส่งออกได้ดีกับประเทศที่ไทยทำความตกลงการค้าเสรี (Free Trade Agreement : FTA) ซึ่งไม่นับรวมประชาคมอาเซียน โดยไทยสามารถส่งออกในอัตราการขยายตัวเพิ่มสูงถึงร้อยละ 33.06 หรือคิดเป็นมูลค่า 653,663 ล้านบาท ส่งผลให้ไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้า คิดเป็นมูลค่ากว่า 474,197 ล้านบาท ตลาดส่งออกที่มีอัตราการขยายตัวมากที่สุด ได้แก่ อินเดีย จีน เกาหลี นิวซีแลนด์ และญี่ปุ่น ตามลำดับ สำหรับสินค้าเกษตรที่มีการส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ น้ำมันปาล์ม มูลค่า 22,782 ล้านบาท มันสำปะหลัง มูลค่า 41,020 ล้านบาท ยางพาราธรรมชาติ มูลค่า 175,978 ล้านบาท ผลไม้สด มูลค่า 135,991 ล้านบาท และสตาร์ชและอินูลิน มูลค่า 52,805 ล้านบาท

“การส่งออกสินค้าเกษตรไทยในปีที่ผ่านมา มีทิศทางที่ดีอย่างมาก แม้ต้องเผชิญกับผลกระทบจากโควิด-19 โดยส่วนหนึ่งมาจากการที่ผู้บริโภคและผู้ประกอบการเริ่มมีการปรับตัวตามสภาวการณ์ ทำให้ไทยมีโอกาสและแนวโน้มในการส่งออกเพิ่มขึ้น รวมไปถึงการดำเนินนโยบายและมาตรการเชิงรุกและเชิงรับของภาครัฐ การขยายช่องทางการตลาดทั้งออนไลน์และออฟไลน์ และที่สำคัญ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ให้ความสำคัญกับมาตรการป้องกันการปนเปื้อนเชื้อไวรัสโควิด-19 ในสินค้าเกษตร ทั้งพืช ประมง และปศุสัตว์ อย่างเข้มงวด และเชื่อมั่นว่า ด้วยความร่วมมือของทุกฝ่าย ในปี 2565 สินค้าเกษตรไทยจะยังคงส่งออกได้เติบโตอย่างต่อเนื่อง” เลขาธิการ สศก. กล่าวทิ้งท้าย

คุณธีรวัฒน์ รังสิกรรพุม เจ้าของสายมีฟาร์ม อยู่ที่ตำบลวังชมภู อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นเกษตรที่ปลูกพริกส่งออกยุโรปและญี่ปุ่น อาจเรียกว่าเป็นรายใหญ่ของไทยก็ว่าได้ โดยส่งออกพริกประมาณอาทิตย์ละ 2-3 ตัน หรือปีละ 100 ตันเลยทีเดียว

ในเรื่องของสายพันธุ์พริกที่ปลูกจะเป็นสายพันธุ์เรดฮอท และชุปเปอร์เรดฮอท เป็นของบริษัทเพื่อนเกษตรกร จำกัด ทางบริษัทได้มีการพัฒนาพริกให้เป็นพันธุ์ลูกกผสม เพื่อให้ผลผลิตดกได้ประมาณผลผลิตต่อไร่สูง และที่สำคัญอายุการเก็บเกี่ยวสั้น

“เรดฮอทเป็นพริกที่มีการพัฒนาสายพันธุ์มาไม่ต่ำกว่า 4 ปี ลักษณะพิเศษคือเป็นพริกที่มีผลสม่ำเสมอ ส่วนชุปเปอร์เรดฮอทเป็นพริกที่พัฒนามาได้ 1 ปีกว่าๆ ซึ่งตอนนี้กำลังทำตลาดอยู่ที่จังหัดขอนแก่น เป็นพริกที่พัฒนาสายพันธุ์เพื่อพัฒนาผลให้ใหญ่ขึ้น และมีสีที่เข้มขึ้น” คุณพิทักษ์ชน กล่าวให้ฟังถึงลักษณะของสายพันธุ์พริก

มีประสบการณ์การปลูกพริก คุณธีรวัฒน์ เล่าให้ฟังว่า เขาเป็นเกษตรกรที่ปลูกพริกอยู่ในจังหวัดเพชรบูรณ์ประมาณ 30 ไร่ และได้มีการทำเป็นเครือข่ายกับเพื่อนเกษตรกรในพื้นที่อื่นๆ รวมแล้วอีกประมาณกว่า 200 ไร่ จึงทำให้พริกที่ปลูกสามารถส่งขายหมุนเวียนได้ตลอดทั้งปี ซึ่งเขาเองได้เลือกปลูกพริก 2 พันธุ์นี้ คือ เรดฮอท และชุปเปอร์เรดฮอท เป็นพริกที่ผ่านมาตรฐานในการส่งออก เพราะมีความเผ็ดมีกลิ่นที่หอม และมีผลที่ตรงสม่ำเสมอตลอดการเก็บเกี่ยวผลผลิต ซึ่งการส่งออกไปยังต่างประเทศนั้น จะต้องควบคุมในเรื่องความปลอดภัยต่อผู้บริโภคอย่างเข้มงวด เพื่อไม่ให้มีสารตกค้างไปถึงผู้บริโภค

“ข้อดีของพริกสายพันธุ์เรดฮอท ผลจะมีความสม่ำเสมอ ไล่จากล่างขึ้นบน และที่สำคัญการเก็บพริกก็เก็บได้ง่าย ส่วนสายพันธุ์ชุปเปอร์เรดฮอทจากประสบการที่ผมได้ปลูกมา ถือว่ามีการต่อยอดที่ดีกว่า ในเรื่องของสีที่แดงสวย ผลผลิตต่อไร่สูง อย่างเก็บทำพริกแดงสามารถทำผลผลิตได้ 2.5-3 ตันต่อไร่” คุณธีรวัฒน์ กล่าว

ในขั้นตอนของการปลูกพริก ขั้นตอนแรกจะนำเมล็ดพริกมาเพาะลงในกระบะเพาะขนาด 200 หลุม วัสดุที่ใช้เพาะจะเป็นพีทมอส โดยหยอดเมล็ดพริกลงไปในกระบะเพาะ ต้นละ 1 หลุม ซึ่งการเพาะกล้าจะใช้เวลาประมาณ 30-40 วัน พริกจะมีขนาดประมาณ 1 คืบ จึงเตรียมย้ายไปปลูกลงในแปลกที่เตรียมไว้

ซึ่งพริกสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี โดยเลือกพื้นที่ให้เหมาะสม อย่างเช่นพื้นที่ที่หมดฝนแล้ว ควรเลือกพื้นที่ราบเรียบ ส่วนช่วงที่เป็นฤดูฝนควรเลือกพื้นที่ลาดเอียง

“การเตรียมแปลงในครั้งแรก เราจะไถตากดินก่อน ทิ้งไว้ประมาณ 7 วัน เราก็จะไถพรวนยกร่องให้มีความสูงประมาณ 20 เซนติเมตร ให้สันร่องห่างกันประมาณ 1.50 เมตร ปลูกพริกให้ห่างกัน 40 – 45 เซนติเมตร จะทำให้สามารถปลูกพริกได้ประมาณ 3,500-4,000 ต้นต่อไร่” คุณธีรวัฒน์ อธิบายวิธีการปลูก

ในเรื่องของการรดน้ำในฟาร์มของคุณธีรวัฒน์ จะใช้ระบบการให้น้ำ 2 ระบบ คือ ระบบน้ำหยดกับระบบสปริงเกอร์ ซึ่งระบบสปริงเกอร์จะมีข้อดีคือช่วยในเรื่องของการล้างใบ ทำให้อุณหภูมิของใบเย็นลง เป็นการปรับอุณหภูมิกลางวันกับกลางคืนมีความใกล้เคียงกัน ทำให้ลดในเรื่องของอาการเม็ดด่างลงไปได้

เมื่อลงปลูกพริกในแปลงได้อายุประมาณ 10 วัน จะเริ่มใส่ปุ๋ยสูตร 27-5-5 เพื่อเร่งการเจริญเติบโตของใบ โดยใส่ปุ๋ยทุกๆ 10 วัน เมื่อพริกมีอายุประมาณ 45 วัน จะเปลี่ยนปุ๋ยเป็นสูตรเสมอ 15-15-15 ในอัตราส่วน 25 กิโลกรัม ต่อไร่ “การให้ปุ๋ยเราต้องสังเกตุดูสภาพต้น ว่ายอดของพริกที่เราปลูกเจริญเติบโตดีไหม อยู่ที่ความพอใจของคนปลูก สมมุติว่าเราพอแล้วในเรื่องของยอด ต้องการการเพิ่มน้ำหนัก พอพริกข้าสู่อายุ 60-75 วัน ก็จะปรับปุ๋ยเป็นสูตร 13-13-21 ซึ่งพริกปลูกจนสามารถเก็บผลผลิตได้ ก็ใช้เวลาประมาณ 90 วัน” คุณธีวัฒน์ บอกถึงวิธีการใส่ปุ๋ย

เมื่อพริกได้อายุออกผลผลิตจนสามารถเก็บเกี่ยวได้แล้ว จะให้ผลผลิตเก็บเกี่ยวได้ประมาณ 2-3 เดือน ซึ่ง 1 ต้น จะให้ผลผลิตเกิน 1 กิโลกรัมขึ้น

แมลงศัตรูพืชที่ต้องระวังสำหรับการปลูกพริก จะเป็นพวกเพลี้ยไฟ ไร หมอนเจาะผล ทำการป้องกันด้วยการฉีดพ่นยาที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภคเป็นสำคัญ เน้นส่งออกยุโรป

พริกที่ปลูกภายในฟาร์มทั้งหมดและรวมถึงสมาชิกที่มีอยู่ในกลุ่ม จะส่งออกไปยังยุโรปรวมกว่า 20 ประเทศ ส่วนพริกบางส่วนก็จะนำมาขายภายในประเทศ เน้นขายให้กับห้างสรรพสินค้าภายใต้มาตรฐาน GAP (จีเอพี) ซึ่งเป็นมาตรฐานเดียวกับที่ส่งขายไปยังยุโรป

“ราคาพริกยังถือว่าดีอยู่ ยิ่งเป็นช่วงที่เจออากาศดีๆ อย่างเช่นราคาพริกแดงจะอยู่ที่ราคา 90-100 บาท ต่อกิโลกรัม 1 ไร่ เก็บ 1 ครั้ง ต่อสัปดาห์ ก็จะได้ประมาณ 200-300 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งตั้งแต่อยู่ในวงการนี้มาผมก็จะปลูกแต่พริกอย่างเดียว ยังไม่เคยทำเกษตรด้านอื่น เราก็มีขายทั้งแบบเป็นพริกสด และมีการแปรรูปทำเป็นพริกแห้งเพื่อส่งให้กับลูกค้าที่อยู่ต่างประเทศ” คุณธีรวัฒน์ กล่าว

คุณธีรวัฒน์ บอว่า การเป็นเกษตรกรปลูกพริกก็ถือว่าทำรายได้ไม่แพ้กับการเกษตรด้านอื่น เกษตรกรสามารถทำผลผลิตออกมาขายได้อย่างสบาย เพียงปลูกแบบทุกต้องตามขั้นตอน และที่สำคัญเรื่องของเมล็ดพันธุ์ก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน

“สำหรับคนที่อยากจะปลูกพริก เพื่อเป็นอาชีพ ต้องบอกก่อนเลยว่าต้องเลือกฤดูกาลที่เหมาะสม ซึ่งการปลูกพริกอาจเรียกว่าเป็นการเกษตรแบบต้นทุนต่ำก็ได้ถ้าปลูกถูกฤดู แต่ถ้าผิดฤดูกาลไม่เหมาะสมมันก็จะทำให้ต้นทุนเราสูงได้ เรื่องพื้นที่ปลูก จึงเป็นเรื่องที่สำคัญ ส่วนเรื่องของสายพันธุ์ตัวนี้ก็สำคัญ ต่อให้เราปลูกดูแลดีขนาดไหน แต่ถ้าสายพันธุ์พริกที่เราปลูกยังไม่มีคุณภาพ ผลผลิตที่เราตั้งเป้าไว้ มันก็จะได้ไม่ดี ดังนั้นเรื่องนี้จึงสำคัญ” คุณธีรวัฒน์ กล่าวแนะนำ ติดต่อสอบถามข้อมลเพิ่มเติมได้ที่ คุณธีวัฒน์ รังสิกรรพุม หรือคุณโน๊ต ที่หมายเลยโทรศัพท์

น้อยหน่า เป็นไม้ผลประจำถิ่นของอเมริกากลาง เรียกกันว่า “อะ โน น่า” สันนิษฐานว่าน้อยหน่าเข้ามาเมืองไทยเป็นครั้งแรก ช่วงสมัยกรุงศรีอยุธยา ในแผ่นดินสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ประมาณปี 2060 โดยชาวโปรตุเกสเป็นผู้นำพันธุ์มาเผยแพร่ แต่บางกระแส เชื่อว่า ชาวอังกฤษ เป็นผู้นำน้อยหน่ามาจากอินเดียเข้ามาเผยแพร่ในไทย ในแผ่นดินสมเด็จพระเอกาทศรถ ประมาณปี พ.ศ. 2155

มีสันนิษฐานกันว่า หากชาวโปรตุเกสเป็นผู้นำน้อยหน่าเข้ามาไทย คาดว่าจะปลูกน้อยหน่าเป็นครั้งแรก แถบอยุธยา และลพบุรี หากอังกฤษเป็นผู้นำเข้ามา น่าจะเริ่มปลูกน้อยหน่าในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี นครปฐม เรื่อยไปจนถึงอยุธยา และลพบุรี เนื่องจากจังหวัดลพบุรี เคยมีน้อยหน่าท้องถิ่นสายพันธุ์หนึ่ง เรียกว่า “น้อยหน่าพระที่นั่งเย็น” หรือ “น้อยหน่าพระนารายณ์” นั่นเอง

ทุกวันนี้ มีการปลูกน้อยหน่าแพร่หลายไปทั่วประเทศ และมีการเรียกชื่อน้อยหน่าแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น เช่น นอแน่ มะนอแน่ (ภาคเหนือ) มะออจ้า หรือ มะโอจ้า (ไทยใหญ่) หน่งเกล๊าะแช (เงี้ยวหรือไทยใหญ่แม่ฮ่องสอน) บักเขียบ (ภาคอีสาน) น้อยแน่ (ภาคใต้) ลาหนัง (ปัตตานี) นอกจากนี้ น้อยหน่ายังเป็นพืชเศรษฐกิจของหลายประเทศ เช่น บราซิล อียิปต์ อิสราเอล แอฟริกากลาง อินเดีย และภูมิภาคเอเชียใต้

ลักษณะทั่วไป
น้อยหน่าเป็นไม้ผลที่มีลำต้นเล็ก เป็นไม้เนื้ออ่อน เปราะบาง สูงประมาณ 5-6 เมตร มีทั้งกิ่งหลัก กิ่งรอง กิ่งแขนง และกิ่งย่อย ลำต้น เป็นไม้ประเภทผลัดใบ มีใบเดี่ยว ใบอ่อนจะมีสีขาวปนเขียว ใบแก่ก็เขียวเข้มปนน้ำตาล ปลายใบแหลมรูปหอก มีดอกโผล่ตามกิ่งในฤดูใบไม้ผลิ หลังจากผลัดใบ

ผลน้อยหน่าจะเกิดจากดอกเพียงดอกเดียว ไม่พึ่งการผสมเกสรระหว่างดอก มีลักษณะกลมรีรูปหัวใจ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2-10 เซนติเมตร รอบพื้นผิวของผลจะมีส่วนที่นูนขึ้นเป็นตะปุ่มตะป่ำ สีเขียวแกมเหลือง ภายในผลน้อยหน่ามีเนื้อนุ่มและหวาน หุ้มอยู่นอกเมล็ดใน ชุ่มน้ำ และมีกลิ่นหอมชวนรับประทาน เมล็ดในของน้อยหน่า มีสีดำสนิท หรือน้ำตาลเข้มนั้น เป็นที่สะสมอาหาร เพื่อใช้บำรุงรากและลำต้น ในการใช้เมล็ดปลูกครั้งใหม่

ในอดีตน้อยหน่าในเมืองไทยมีแค่ 3 พันธุ์ คือพันธุ์พื้นเมือง และพันธุ์หนัง ส่วนพันธุ์พื้นเมือง ยังแตกพันธุ์ออกถึง 3 ชนิด ได้แก่ 1. ชนิดผลสีเขียวหรือฝ้ายเขียว หรือน้อยหน่าฝ้าย 2. พันธุ์พื้นเมืองสีม่วง หรือฝ้ายครั่ง 3. ชนิดผิวเหลืองอ่อนหรือน้อยหน่าเผือก แต่เป็นชนิดที่ไม่เป็นที่นิยม เพราะสีไม่สวย รสก็ไม่หวาน

ปัจจุบันนี้ พันธุ์น้อยหน่าพัฒนาไปอีกมาก สำหรับพันธุ์หนังนั้นเป็นน้อยหน่าเวียดนาม แต่ไพล่ไปเรียกกันว่า พันธุ์เขมร เป็นพันธุ์มีผลสีเขียว ส่วนพันธุ์นี้ที่มีผลสีเหลือง ก็เรียกอีกชื่อว่า น้อยหน่าหนังสีทอง และคำว่า “หนัง” นั้นมาจากชื่อเมืองดานังในเวียดนาม แต่ไทยเรียกว่า หนัง

ไม้ผลในตระกูลเดียวกับน้อยหน่า มี 4 ชนิด คือ 1. ซีรีมัวย่า เป็นพันธุ์จากเม็กซิโก แต่เดิมมีความสำคัญทางเศรษฐกิจเป็นที่สองรองจากน้อยหน่า 2. น้อยโหน่ง เป็นพืชชนิดที่ทนต่อสภาพอากาศแห้งแล้ง มีต้นขนาดเดียวกับน้อยหน่า แต่ตามกิ่งไม่มีขน ใบก็เหมือนน้อยหน่า 3. ทุเรียนเทศ เป็นทุเรียนแขกหรือทุเรียนน้ำ ได้พันธุ์มาจากมาเลเซีย ส่วนทางมาเลเซียเรียกว่า ทุเรียนยุโรป 4. อิลามา มีปลูกตามไหล่เขาในเม็กซิโก นิการากัว และซานซัลวาดอร์

การปลูก
น้อยหน่าช่วงออกดอก ต้องการอากาศแห้งแล้ง จะทำให้ผลิดอกออกผลได้ดี ผลจะมีขนาดใหญ่ และมีคุณภาพ แต่ถ้าปลูกในที่มีความชื้นสูง จะให้ผลแคระแกร็น ติดผลน้อย และมีคุณภาพต่ำ ส่วนรากน้อยหน่าลงดินไม่ลึก ต้องเป็นดินที่ระบายน้ำได้ดี งอกได้ทั้งดินเหนียว ดินทราย ดินหิน และดินปูน ขอให้ได้น้ำเข้าถึงก็ใช้ได้

แปลงปลูกน้อยหน่าไม่ต้องพิถีพิถันนัก เว้นแต่พื้นที่ป่าเก่า ต้องไถพรวนดินเอารากไม้ออก และไม่ควรมีไม้อื่นคอยบังทางลม และแย่งอาหาร ก่อนปลูกต้องโค่นแบบถอนรากถอนโคน รอทำทีหลังไม่ได้เด็ดขาด จะทำให้ต้นน้อยหน่าไม่งอกงาม และตอนโตแล้วยิ่งโค่นลำบาก เพราะไปติดกิ่งก้านน้อยหน่า ยากไปจนถึงตอนเก็บเกี่ยว

ไถพรวนดินแปลงแล้วปล่อยให้แห้ง 1 สัปดาห์ taniavaughan.com จากนั้นไถเพื่อให้ดินร่วนซุย ตอนปลูกควรเว้นระยะห่างตามสภาพดิน ถ้าดินดีต้องห่าง 4×4 เมตร ดินไม่สู้ดีห่าง 3×3 เมตร ระยะห่างระหว่างแถวก็ใช้หลักเดียวกัน ทั้งนี้เกิดจากเหตุผลที่ว่า ถ้าดินดี ลำต้น กิ่ง และก้านจะสมบูรณ์ แผ่ออกก่ายกันระหว่างต้น รากก็แย่งอาหารกันเอง ยิ่งยังลำบากตอนเก็บเกี่ยว

ต้นน้อยหน่า ควรปลูกต้นฤดูฝนคือ เดือนพฤษภาคม หาน้ำได้ไม่ลำบาก แต่พูดถึงความทนทานก็ปลูกได้ทุกฤดู ด้านพืชเป็นกำแพงบังลมแรง มีสนทะเล ไผ่รวก ยูคาลิปตัส หรือพวกไม้ผลอย่าง ขนุน มะม่วง แต่ต้องไม่ปล่อยให้ร่มเงาแผ่กว้าง ส่วนพืชแซมอาจเป็น ละมุด มะม่วง และพืชคลุมดินจำพวกถั่ว เพื่อช่วยสร้างธาตุอาหารในดินหลังเก็บเกี่ยว ตอนยังอยู่ก็ช่วยป้องกันหน้าดินถูกชะล้าง ทั้งยังช่วยรักษาสภาพดิน เก็บความชื้นของดิน และกำจัดวัชพืชไปในตัว

กรณีต้นน้อยหน่า มีกิ่งก้านมาก ควรตัดแต่งโดยคำนึงถึงว่า น้อยหน่าเป็นไม้ยืนต้นอายุยืน นานไปกิ่งก้านจะรกทึบ เกิดอุปสรรคหลายด้านดังที่กล่าวมา อายุออกดอกถึงวันเก็บเกี่ยวประมาณ 110-120 วัน เก็บเกี่ยวได้ราวเดือนพฤษภาคม ควรเก็บด้วยมือ ถ้าสูงก็ใช้ไม้ง่ามสอย หรือทำเป็นตะกร้อ เก็บใส่เข่งที่กรุด้วยใบตอง แล้วคัดแยกผลใหญ่เล็กออกจากกัน

น้อยหน่าใช้ผลสดรับประทานแทนอาหารว่าง เป็นที่นิยมตรงที่ราคาไม่แพง รสก็หวานอร่อย รากใช้ทำยาสมุนไพร ต้มกับน้ำเป็นยาระบาย เปลือกลำต้นที่ฝาดใช้ฝนกับแผ่นหินทำยาสมานแผล ส่วนใบใช้เป็นยาฆ่าเชื้อ ขับพยาธิในลำไส้ด้วยการต้มน้ำดื่ม ถ้าเอาใส่ครกโขลกพอกแก้ช้ำบวม แก้เกลื้อนกลาก และเมล็ดใช้กลั่นน้ำมันเพื่อใช้ทำสบู่ หรือเอากากน้ำมันทำปุ๋ย

น้อยหน่าจะมีขายเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม ส่วนผลที่บังคับให้ออกนอกฤดู จะมีขายในเดือนเมษายนกับพฤศจิกายน มีในตลาดปากช่อง นครราชสีมา ชาวสวนมักขนมาขายเองริมถนนมิตรภาพ พอจะมีพ่อค้าคนกลางไปซื้อในสวนมาขายเองบ้าง ในกรุงเทพฯ พอมีที่ปากคลองตลาด มหานาค และตลาด อ.ต.ก. สี่มุมเมือง

แม้เมืองไทยจะผลิตน้อยหน่าน้อย การส่งออกยังพอมี เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ และตะวันออกกลาง ต่างประเทศพอใจน้อยหน่าไทย ติดขัดตรงคุณภาพหย่อนไปบ้าง การขนส่งยังไม่มีประสิทธิภาพ 2-4 วัน ผลก็เน่า ค่าโสหุ้ยยังสูง เพราะต้องขึ้นเครื่องบิน ส่วนน้อยหน่าคุณภาพเวลานี้ มาจากป่ากลางดง อำเภอปากช่อง เป็นชนิดที่มีความทนทานต่อสภาพการเน่าเสียสูง