ใช้หลักการตลาด แบบ Push คุณกมลวรรณ เล่าว่า ไร่แสงสกุลรุ่ง

ของเราได้นำกลยุทธ์การตลาดที่เรียกว่า Push Strategy หรือการส่งเสริมการตลาดแบบผลัก เป็นการผลักสินค้าออกไปขายผ่านช่องทางค้าปลีกต่างๆ เราพยายามไปออกร้านกับหน่วยงานต่างๆ ที่เชิญเราไป ไม่ว่าจะต้องไปไกลแค่ไหน เราก็พยายามไป เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ของเราสินค้าของเราไปถึงผู้บริโภคกลุ่มต่างๆ หลังจากที่แม่ได้พยายามทำมาหลายปี วันนี้ก็ได้เห็นแล้วว่า เราทำได้ ผลิตภัณฑ์ของเราเริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้น มีลูกค้าถามหามากขึ้น มีสื่อต่างๆ เข้ามาถ่ายทำ มาสัมภาษณ์มากขึ้น แต่เราก็ยังพยายามประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียด้วย เพื่อให้ลูกค้ามีช่องทางเห็นสินค้าของเรามากขึ้น โดยหนูเองที่รับหน้าที่ทำการตลาดออนไลน์ให้กับไร่แสงสกุลรุ่งของเรา”

คุณกมลวรรณ บอกว่า “หลังจากเพียรพยายามมาเกือบ 20 ปีของคุณแม่ วันนี้ไร่แสงสกุลรุ่งเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป แต่เราก็ยังไม่ลืมที่จะพัฒนาชุมชนบ้านเรา โดยเราจะเปิดไร่แสงสกุลรุ่งเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับผู้ที่สนใจ รวมทั้งหน่วยงานต่างๆ ได้เข้ามาศึกษาหาความรู้กัน เช่น กศน. อำเภอด่านมะขามเตี้ย จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และเกษตรทฤษฎีใหม่ โรงเรียนต่างๆ นำนักเรียนมาเรียนรู้ที่ไร่ อบต. เทศบาลจากหลายแห่งทั่วประเทศพาคนมาเรียนรู้กับเรา เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่เราภาคภูมิใจกับการเป็นเกษตรกรที่ได้ร่วมรับใช้ชุมชนและสังคม

ใครสนใจอยากสอบถาม พูดคุยกับ คุณกมลวรรณ รุ่งประเสริฐวงศ์ กริ๊งกร๊างกันไปได้ที่ โทร. 091-753-6491 ครับ ฉบับนี้หมดพื้นที่แล้ว คอลัมน์ “คิดใหญ่แบบรายย่อย” กับผมธนากร เที่ยงน้อย ขอลากันไปก่อน สวัสดีครับ

ญาตินันท์ บุรมย์ จากพนักงานขับรถส่งของ สู่เกษตรกรรุ่นใหม่ ผลิตพืชผักอินทรีย์ ได้ใบรับรองออร์แกนิกไทยแลนด์ ที่หนองบัวลำภู เกษตรกรรุ่นใหม่ หรือ Young Smart Farmer เป็นคนหนุ่มสาว ที่อายุ 17-45 ปี เป็นบุคคลที่มีความรู้หลายๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านไอที เดิมจะอยู่ในอาชีพใดก็ตาม เมื่อถูกชักชวนและสมัครเป็นเกษตรกรรุ่นใหม่แล้ว จะได้รับการเรียนรู้เพิ่มเติมเป็นระยะๆ ที่เรียกว่า Young Smart Farmer สัญจร ทั้งในกลุ่ม Young Smart Farmer ด้วยกันเองหรือบุคคลอื่นที่ประสบผลสำเร็จเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในฟาร์มของตนเอง ซึ่งหลายคนได้เปลี่ยนวิถีชีวิตจนประสบกับความสุข อย่างเช่น

คุณญาตินันท์ บุรมย์ หรือที่เพื่อนๆ เรียก “รัน” อยู่บ้านเลขที่ 123 หมู่ที่ 1 บ้านหนองหว้าใหญ่ ตำบลหนองหว้า อำเภอเมืองหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู คุณรัน ให้ข้อมูลว่า จบการศึกษา ชั้น ม.3 เมื่อคุณพ่อเสีย จึงไม่ได้เรียนต่อ ออกจากบ้านไปหางานทำตั้งแต่ยังเด็ก ทำงานบริษัทเอกชนในกรุงเทพฯ หลายแห่ง บริษัทสุดท้ายที่ทำเป็นพนักงานขับรถส่งของ เป็นเวลานานถึง 9 ปี ก่อนตัดสินใจลาออกมาทำการเกษตร ตนไม่มีความรู้ และไม่เคยทำการเกษตรมาก่อน ถึงแม้ว่าจะเป็นลูกเกษตรกรแต่ก็ไม่เคยทำ เพราะหลังจากเรียนจบก็ไปหางานทำเลย

ปี 2558 กลับมาตั้งใจที่จะมาดูแลแม่ พร้อมกับปรับปรุงฟาร์มที่บ้าน ได้พบประธาน Young Smart Farmer ขณะนั้น (คุณวิวิช พวงสวัสดิ์) ได้ชวนเข้ากลุ่ม Young Smart Farmer เพื่อได้มีโอกาสเรียนรู้และศึกษาดูงานสวนที่ประสบผลสำเร็จ

ระยะแรก ก็ปรับที่นา ขุดสระน้ำ ทำร่องจีน ปลูกในสิ่งที่กินได้ เช่น ฝรั่ง ผักหวานป่า ผักสวนครัว บวบ ฯลฯ หลังจากผ่านไป 1-2 ปี ก็เริ่มเป็นรูปเป็นร่าง

ปัจจุบันทำการเกษตรหลายอย่าง

ทำนา 8 ไร่ แบ่งเป็น กข 6 พื้นที่ 5 ไร่ หอมมะลิ 3 ไร่ ผลผลิตเก็บไว้บริโภค ที่เหลือทำเป็นข้าวถุงขาย ปีละร่วม 1,000 กิโลกรัม รายได้ปีละ 40,000 บาทเศษ
ปลูกฝรั่งกิมจู 70 กว่าต้น มีผลผลิตขายทุกสัปดาห์ กิโลกรัมละ 35-40 บาท เดือนละ 2,500-3,000 บาท
มะนาวไร้เมล็ดและพันธุ์แป้นต่างๆ 50 ต้น ผลผลิตออกตลอดปี
ผักหวานป่า 60 ต้น อายุ 3 ปี เริ่มเก็บขายได้บ้างแต่ยังไม่มาก
ผักหลายชนิดหมุนเวียนกันไป เช่น ชะอม ผักชี หอม กวางตุ้ง ผักกาดขาว หอม ผักบุ้ง ฯลฯ มีรายได้ทุกสัปดาห์
ยางนา 400 ต้น อายุ 4 ปี เป็นเงินออม เป็นไม้เพื่ออนาคต

แนวคิดในการทำการเกษตรคือ ทำเกษตรอินทรีย์ คือไม่ใช้ปุ๋ยเคมีทุกชนิด ไม่ใช้สารเคมีในการควบคุมโรคแมลงศัตรู แต่ใช้วิธีการอื่นแทน โดยได้รับความรู้จากสำนักงานเกษตรจังหวัดหนองบัวลำภู สำนักงานเกษตรอำเภอเมือง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้เอง เช่น ดินหมัก น้ำหมักปลา น้ำหมักผลไม้ หมักกับมูลหมู รำ และแกลบ ส่วนการควบคุมโรค จะใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า โดยขอหัวเชื้อจากสำนักงานเกษตรจังหวัดมาผลิตใช้เอง การควบคุมแมลงจะใช้เชื้อราบิวเวอเรีย

ปัจจุบัน ได้รับใบรับรอง ออร์แกนิกไทยแลนด์ จากกรมวิชาการเกษตร ล่าสุดยังได้ใช้ฟาร์มแห่งนี้เป็นสถานที่ศึกษาดูงานและประชุมสัญจร Young Smart Farmer หนองบัวลำภูด้วย

มีหลายรูปแบบ เช่น ผู้บริโภคในชุมชน มาซื้อที่ฟาร์ม จำหน่ายที่ตลาดเกษตรกรของสำนักงานเกษตรจังหวัด ณ บริเวณสำนักงานเกษตรอำเภอเมืองหนองบัวลำภู และบางส่วนขายแบบออนไลน์

ปัจจุบัน เหลือจากการบริโภคในครัวเรือนแล้วยังขายมีรายได้ เดือนละประมาณ 10,000 บาท ซึ่งพอใจ เพราะได้อยู่กับบ้าน อยู่กับธรรมชาติ ได้รับประทานอาหารที่ปลอดจากเคมี และที่สำคัญไม่มีหนี้

ฝากถึงเกษตรกรมือใหม่ “ก่อนทำการเกษตร ให้ศึกษาเรื่องที่สนใจให้ถ่องแท้ อย่าลองผิดลองถูก เพราะถ้าผิดพลาดจะเสียเวลา เพราะตนเองเคยประสบมาแล้ว การซื้อพันธุ์ไม้ควรศึกษาจากฟาร์มที่เชื่อถือได้ ถ้าสวนใดสำเร็จให้ซื้อพันธุ์จากเขา อย่าซื้อกิ่งพันธุ์ตามตลาดนัดหรือที่นำมาเร่ขาย”

ท่านที่เคารพครับ จะเห็นว่า คุณญาตินันท์ บุรมย์ เกษตรกรรุ่นใหม่หนองบัวลำภูท่านนี้ ได้ทำการเกษตรในรูปแบบไร่นาสวนผสม คือทำหลายอย่างควบคู่กันไป ทำให้มีผลผลิตหลากหลายและออกสู่ตลาดเป็นระยะๆ และที่สำคัญผลิตแบบอินทรีย์ (ออร์แกนิก) ซึ่งเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค หากคนหนุ่มสาวท่านใดต้องการสมัครเป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ สมัครได้ตลอดเวลา ที่สำนักงานเกษตรอำเภอใกล้บ้าน!!

จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นดินแดนถิ่นฐานเดิมแห่งราชนิกุล เรียกว่า แขวงบางช้าง มาแต่โบราณตามที่เจ้านายในวังท่านเรียกกัน และเรียกสวนที่อยู่บางช้างว่า “บางช้างสวนนอก” และเรียกสวนที่อยู่ทางบางกอกว่า “สวนใน” จึงเป็น “บางช้างสวนนอก” เรียกคู่กับ “บางกอกสวนใน” แขวงบางช้างเมืองสมุทรสงคราม มีชื่อเสียงในเรื่องผักผลไม้ที่รสชาติดี เช่น พริกบางช้าง หอม-กระเทียมบางช้าง ยาจืดบางช้าง มะพร้าวผลใหญ่ มะม่วงรสหวาน ส้มโอรสดี

มะม่วงรสหวาน คงน่าจะหมายถึง มะม่วงอกร่องบางช้าง ที่หอมและหวานไว้รับประทานคู่กับข้าวเหนียวมะม่วง ตอนนั้นยังไม่มีมะม่วงพันธุ์ไหนมาเทียบได้ถึงความหวานและความหอมฟุ้งขจรไปทั่วทั้งบ้านเท่ามะม่วงอกร่องบางช้าง ที่ทั้งหอมทั้งหวาน คนรุ่นเก่าชอบรับประทานข้าวเหนียวมูนกับมะม่วงอกร่องเท่านั้น หรือคนเฒ่าคนแก่มักรับประทานข้าวสวยกับมะม่วงอกร่อง เมื่อปล่อยต้นให้มีอายุมากจะให้ผลเล็ก ก่อนที่จะมีมะม่วงน้ำดอกไม้ที่ผลใหญ่กว่า เนื้อเยอะกว่า ความหวานไม่ต่างกันเข้ามาแทน มะม่วงอกร่องบางช้าง จึงค่อยๆ หายไปจากข้าวเหนียวมะม่วง กลายเป็นมะม่วงหารับประทานยาก เพราะชาวสวนมะม่วงโค่นไปมาก จนแทบจะไม่เหลือไว้ติดสวน กำลังจะกลายเป็นมะม่วงในตำนานมะม่วงอกร่องบางช้าง

อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม มีมะม่วงโบราณพันธุ์ดีหลายพันธุ์ แม้นว่าอัมพวาไม่ใช่แหล่งผลิตมะม่วงรายใหญ่ของประเทศก็ตาม แต่อัมพวาก็มีมะม่วงอยู่หลากหลายพันธุ์ มีมะม่วงที่ยังไม่รู้จักรอการเปิดตัว ชาวสวนเองก็ไม่รู้ว่ามีมะม่วงแปลกอยู่คู่สวน สาเหตุหนึ่งที่ชาวสวนไม่รู้จัก เนื่องมาจากรุ่นปู่และรุ่นพ่อไม่ได้บอกชื่อไว้ พอตกมาถึงคนรุ่นลูกจึงไม่รู้จักชื่อมัน หรือรุ่นปู่และรุ่นพ่อก็ลืมชื่อมัน และไม่ได้ใส่ใจสนใจดูแลรักษา เพราะมีไม่กี่ต้น ซึ่งไม่ใช่มะม่วงพันธุ์หลักที่ปลูกจำนวนมากเพื่อไว้ขาย ผลไม้ชนิดไหนไม่ทำเงินก็มักถูกลืม แต่ทราบมาว่ามีมะม่วงโบราณพันธุ์หนึ่งอยู่ที่อัมพวา ชื่อ “มะม่วงเหนียงนกกระทุง” ซึ่งมันไม่ใช่มะม่วงทำเงิน แต่ก็น่าสนใจในความเป็นมะม่วงโบราณกับชื่อที่แปลกของมัน

ดังนั้น เมื่อผู้เขียนกลับมาอัมพวา ได้ตามหามะม่วงพันธุ์โบราณพันธุ์นี้มาหลายปี มาแต่ละครั้งก็ต้องไปสอบถามกับชาวสวนมะม่วงโบราณ แต่ไม่มีใครรู้จัก จนกระทั่ง พ.ศ. 2557 คุณสถาพร อร่ามดี ชาวสวนที่อัมพวา ผู้สร้างความฮือฮากับ มะม่วงทองเอก เอาขึ้นห้างขายกิโลกรัมละเกือบ 200 บาท หลังจากนั้น ก็ได้ติดต่อกับ คุณสถาพรอยู่ตลอดมา เพื่อให้เขาช่วยตามหามะม่วงโบราณ มะม่วงเหนียงนกกระทุง คุณสถาพร บอกว่า มีในตำบลเหมืองใหม่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม มีเหลือไม่กี่ต้นจะลองสืบค้นให้ แต่อาจจะพบได้ตามสวนมะม่วงเก่าถ้าเขายังไม่โค่นมะม่วงเก่าเปลี่ยนไปปลูกมะม่วงพันธุ์ใหม่ ได้แต่ภาวนาให้คุณสถาพรเจอสักต้น

การสืบค้นเริ่มต้นที่คุณสถาพรเดินทางไปหา คุณลุงฉะอ้อน เพ็งอุดม ที่บ้านเลขที่ 37 หมู่ที่ 5 บ้านคลองวัว-ทุ่งเศรษฐี ตำบลเหมืองใหม่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม คุณลุงฉะอ้อน อายุ 78 ปี เป็นลูกพี่ลูกน้องกับอดีตกำนันตำบลเหมืองใหม่ คือ กำนันสวัสดิ์ เพ็งอุดม ที่สวนของกำนันสวัสดิ์เคยมีมะม่วงเหนียงนกกระทุง แต่มันตายไปนานแล้ว เหลือแต่สวนลิ้นจี่

คุณลุงฉะอ้อนมีต้นมะม่วงเหนียงนกกระทุงอยู่ 1 ต้น คุณสถาพรจึงขอยอดมา 3-4 ยอด เอามาเสียบยอดกับมะม่วงที่บ้าน แต่ปรากฏว่ายอดที่เอามาเสียบยอดไม่ติด ตายหมด จะกลับไปขอยอดใหม่ก็เกรงใจคุณลุงฉะอ้อน แต่รู้ว่าในตำบลเหมืองใหม่ยังมีต้นมะม่วงเหนียงนกกระทุงที่บ้าน คุณลุงสงบ อุยวรรณัง อยู่บ้านเลขที่ 4/1 หมู่ที่ 8 ซอยโรงเจคลองดอน ตำบลเหมืองใหม่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ได้ขอยอดต้นมะม่วงเหนียงนกกระทุงมาเสียบใหม่หลายยอด คราวนี้ติดทุกยอด ต่อมา คุณลุงสงบ อุยวรรณัง ได้เสียชีวิต ถ้ารับประทานผลที่เสียบยอดคงรอไปอีก 3-4 ปี

แต่ผลมะม่วงเหนียงนกกระทุงที่รับประทานนี้เป็นต้นของคุณลุงฉะอ้อนที่ปลูกแทนต้นเก่า อายุมากแล้ว ต้นแม่แก่มาก ต้นเก่าตายไปนาน ต้นที่ปลูกแทนต้นเก่าเป็นต้นใหม่อายุก็เกือบ 50 ปี ปลูกไว้เพียงต้นเดียว เพราะแกชอบนกกระทุงมากกว่าอกร่อง มะม่วงเหนียงนกกระทุงไม่มีจำหน่ายแม้จะมาถึงท้องถิ่นอัมพวา เนื่องจากปลูกกันน้อยจึงมีผลผลิตออกมาน้อย มีพอไว้รับประทานในครอบครัว ส่วนใหญ่ชาวสวนจะปลูกไว้ต้นหรือสองต้น เพราะชอบรับประทาน ต้นมะม่วงเหนียงนกกระทุงต้นนี้คุณลุงฉะอ้อนปลูกเอง ปลูกเพราะชอบ ชอบนกกระทุงมากกว่าอกร่อง คุณสถาพรได้ผลมะม่วงเหนียงนกกระทุงจากคุณลุงฉะอ้อนมา 7 ผล ได้มาน้อย เพราะปีนี้ (กุมภาพันธ์ 2563) มันไม่ดก ผลค่อนข้างเล็ก คุณสถาพรส่งมาให้ผู้เขียน 2 ผล ถึงผิวของมันไม่สวย ผิวเป็นขี้กลากราดำ แต่ก็ไม่ได้ติดใจที่ผิวของมัน ขอให้ได้ชิมรสชาติของมันเป็นครั้งแรก รับประทานได้ทั้งดิบทั้งสุก

จากคำบอกเล่าของชาวสวนต่างพื้นที่บอกว่า ยังมีต้นมะม่วงเหนียงนกกระทุงอยู่ที่ ตำบลท้ายหาด อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม และที่ตำบลบางยี่รงค์ อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม เรียกมะม่วงตีนนก หรือมะม่วงนก ดังนั้น ยังมีมะม่วงเหนียงนกกระทุงกระจัดกระจายอยู่ในจังหวัดสมุทรสงคราม

คุณสถาพร ยังมีความวิตกว่า ต้นมะม่วงเหนียงนกกระทุงของคุณลุงฉะอ้อนปลูกนั้น คุณลุงฉะอ้อนได้ปลูกด้วยเมล็ดจากต้นเก่า อาจเกิดการกลายพันธุ์ ไม่ตรงตามสายพันธุ์ดั้งเดิม ซึ่งก็ไม่มีใครรู้รสชาติดั้งเดิมว่าเป็นเช่นไร เพราะคนเก่าคนแก่ในยุคนั้นได้ลาลับกันไปหมดแล้ว แต่เมื่อได้มาชิมรสชาติแล้วยังคงความหวานอยู่มาก หอมอ่อนๆ ไม่เหม็นกลิ่นขี้ไต้ เนื้อไม่เละ ก็ต้องเชื่อได้ระดับหนึ่งว่าเป็น มะม่วงเหนียงนกกระทุง

เมื่อผลยังอ่อนมีส่วนท้องที่ยื่นออกมาเล็กน้อย คล้ายมะม่วงหนังกลางวัน มะม่วงมันศาลายา ผลดิบเมื่อแก่มีเนื้อสีขาว เนื้อค่อนข้างกรอบ หวาน มัน เพราะความมันเวลารับประทานจึงแทะถึงเปลือกเมล็ด ผลสุกผิวสีเหลืองอ่อนๆไม่เหลืองเต็มผล มีสีเขียวเจือปน มีสีเป็นสุกๆ ดิบๆ รับประทานตอนสุกงอมเนื้อไม่เละไม่เหี่ยว เพราะเปลือกหนากว่าอกร่อง เนื้อมีเสี้ยนน้อย หวานมาก มีเนื้อเหลืองอ่อน

มะม่วงเหนียงนกกระทุง มีทรงพุ่มสูงโปร่ง ความสูงประมาณ 5-10 เมตร ทรงพุ่มคล้ายมะม่วงหนังกลางวัน ใบ มีสีเขียวเข้ม ใบยาว 22-30 เซนติเมตร กว้าง 5-7 เซนติเมตร ก้านใบยาว 3-6 เซนติเมตร ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบเป็นมัน

ดอก ดอกช่อสีนวล ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ยาว 18-30 เซนติเมตร กลีบดอกมี 5 กลีบ

ผล ผลค่อนข้างเป็นรูปยาวรี ส่วนหัวมน (ค่อนข้างจะเล็ก) ส่วนก้นมน (ค่อนข้างจะแหลม) ส่วนท้องหรือตรงกลางยื่นออก (เป็นส่วนที่กว้างที่สุด) ส่วนหลังแอ่นลงรับกับส่วนท้องที่ยื่นออก ผลมีขนาดกลาง 3-4 ผล ต่อกิโลกรัม เป็นข้อเสียเปรียบอย่างหนึ่ง ขนาดค่อนข้างจะเล็ก

เมล็ด มีลักษณะโค้งงอนไปตามลักษณะรูปทรงของผล เอ็มบริโอ (embryo) เป็นส่วนที่จะเจริญไปเป็นต้นพืชนูนขึ้นมาอยู่ตรงกลางๆ

ความหวาน ประมาณ 25-26 องศาบริกซ์ ความหวานอยู่ในระดับสูงมาก มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว หอมอ่อนๆ ถ้าเก็บมาแล้วปล่อยไว้สุกงอมผิวเหี่ยวย่นจนหมดกลิ่นหอม หรือความหอมน้อยลง ความหวานจะสูงขึ้นไปอีกเล็กน้อย แต่ไม่ถึง 27 องศาบริกซ์ (มะม่วงน้ำตาลเตา ประมาณ 27-28 องศาบริกซ์)

ความหวานของมันทำให้เหล่าบรรดากระรอกรอเฝ้าสวนอดใจไม่อยู่ แอบมากินก่อนเจ้าของสวนหลายครั้ง เพราะมันมาตอนเจ้าของสวนไม่อยู่ กระรอกเฝ้าสวนมีหลายตัว แต่เจ้าของสวนมีคนเดียว มะม่วงยิ่งมีอยู่น้อย ต้นอื่นมันก็ไม่ไปกิน ชอบมากินต้นที่เจ้าของเขาหวง มันชอบกินที่ส่วนหัว

ความหวานพอที่จะรับประทานกับข้าวเหนียวได้ เพราะไม่มีเปรี้ยวติดมาเลยสักนิด แต่จะขายคู่กับข้าวเหนียวมะม่วง ต้องทำใจสักหน่อยว่าจะขายได้หรือเปล่า ความหวานสู้ได้ แต่หน้าตาเป็นรอง เพราะผลมีรูปทรงค่อนข้างจะอัปลักษณ์ ทำนองเงาะถอดรูป ผลไม่สวยแต่ถ้าได้ชิมจะติดใจ

พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ได้บรรยายชื่อพันธุ์มะม่วงเป็นกาพย์ยานี 11 เมื่อปี พ.ศ. 2427 ประมาณ 136 ปี ได้กล่าวไว้บทหนึ่งถึง มะม่วงเหนียงนกกระทุง ดังนี้

ชื่อเรียกมะม่วงเหนียงนกกระทุง ก็น่าจะเป็นท้องมะม่วงที่ยานยื่นออกมามาก ถ้ามองในแนวดิ่งผลห้อยจากต้นลงมาจะมองไม่เห็นชัด แต่ถ้าเด็ดผลลงมามองทางด้านข้างให้ท้องมะม่วงที่ยานห้อยลงข้างล่าง ส่วนหลังจะแอ่น ทำให้บางคนจึงเรียกอีแอ่นบ้าง ซึ่งเป็นคนละพันธุ์กัน ส่วนท้องที่ยื่นออกมาจะมองคล้ายกับเหนียงปากของนกกระทุงที่เอาไว้ดำน้ำจับช้อนปลาตัวเล็กๆ จึงนำส่วนใต้ปากที่เป็นเหนียงมาตั้งชื่อมะม่วงชนิดนี้ แสดงว่าในอดีตพื้นที่จังหวัดสมุทรสงครามเคยมีนกกระทุงอาศัยอยู่ที่ปากอ่าวแม่กลอง ตอนเป็นเด็กเคยเห็นเรือประมง (เรือตังเก) “ชื่อนกกระทุง” ลำใหญ่แล่นมาตามแม่น้ำแม่กลองมาเอาน้ำแข็งที่หน้าวัดปากน้ำผ่านอัมพวา เมื่อได้น้ำแข็งแล้วก็แล่นออกกลับไปแม่กลอง ปากอ่าวแม่กลองก็คงมีนกกระทุง

ส่วนหนึ่งที่ทำให้มะม่วงโบราณลดจำนวนลงหรือสูญหายไป อาจเนื่องมาจากในยุคหนึ่งชาวสวนนิยมปลูกลิ้นจี่และส้มโอ จึงโค่นไม้ผลที่ไม่ทำรายได้สูง เพื่อปลูกลิ้นจี่และส้มโอ ทำให้มะม่วงเหนียงนกกระทุงถูกโค่นไปด้วย

โอกาสที่มะม่วงเหนียงนกกระทุงจะได้รับความนิยมคงจะมีน้อยมาก นอกจากในหมู่นักสะสมมะม่วงโบราณ

ที่วัดบัวงาม เลขที่ 1 บ้านบัวงาม หมู่ที่ 1 ตำบลบัวงาม อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี 70210 ได้รวบรวมผลไม้ไทยไว้หลายอย่าง เป็นพันธุ์โบราณหายาก เช่น ทุเรียนรวบรวมไว้หลายพันธุ์โบราณ มะม่วงรวบรวมไว้หลายพันธุ์รวมทั้งเหนียงนกกระทุง

อัมพวายังจะมีมะม่วงเหลืออยู่ที่ไม่เปิดตัวอีกกี่พันธุ์ บางพันธุ์ได้หายสาบสูญไปนานแล้ว คงเหลือไว้แต่ชื่อ

สนใจ มะม่วงเหนียงนกกระทุง ติดต่อที่ คุณสถาพร อร่ามดี โทร. 081- 697-8763 บ้านเลขที่ 26 หมู่ที่ 9 ตำบลสวนหลวง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม 75110 ตอนเขียนต้นฉบับ คนต่างจังหวัดที่เข้ามาทำงานในเมืองกรุง ต่างพากันหนีเชื้อไวรัส โควิด-19 กันอย่างจ้าละหวั่น ซึ่งทางรัฐบาลก็ไม่มีมาตรการรองรับ ทำให้น่าเป็นห่วงว่าจะกระจายเชื้อโรคไปทั่วประเทศ ส่วนคนในกรุงเทพฯ ก็ต้องตุนอาหารกับเวชภัณฑ์ที่หายาก คือ แฮลกอฮอล์ หน้ากากอนามัย ส่วนผู้เขียนตุนข้าวและอาหารกระป๋องอาหารแห้งไว้ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์แล้ว นัยว่าจะยังชีวิตได้หลายเดือนอยู่ ประกอบกับผักที่ปลูกไว้ในสวน ไก่ไข่ที่เลี้ยงไว้ น่าจะรอดปลอดภัย

กรุงเทพฯ ในตอนที่ผู้อ่านได้อ่านเรื่องนี้ ไม่รู้ว่าจะมีสภาพอย่างไร แต่ขอให้ประชาชนชาวไทยจงผ่านพ้นวิฤกติไปได้ด้วยดี เนื่องจากเราเป็นครัวโลก เป็นแหล่งผลิตอาหาร เราจึงไม่น่าจะขาดแคลนเหมือนกับเมืองนอกเมืองนาเขา ซึ่งต้องพึ่งอาหารส่วนใหญ่จากการนำเข้า

เดิมกรุงเทพฯ ก็มีความเจริญเฉพาะใกล้กับพระบรมมหาราชวัง แค่ระยะเสียงปืนที่ได้ยิงจากวังในตอนเที่ยง ถ้าไม่ได้ยินแล้วถือเป็นบ้านนอก คำว่า “ไกลปืนเที่ยง” มาจากเรื่องราวนี้ เมื่อหลายสิบปีก่อน แถวมีนบุรีถือเป็นบ้านนอกคอกนา แต่ปัจจุบันความเจริญเข้าใกล้มาจนกลายเป็นที่เจริญกันหมด ผืนดินแต่ละตารางวาจับแทบไม่ลง หมู่บ้านจัดสรรขึ้นเป็นดอกเห็ด มีปัญญาซื้อได้แค่ทาวน์เฮ้าส์ไม่กี่ตารางวาเท่านั้น

สี่ห้าปีก่อน ผมเคยนำเสนอเรื่องราวของ สมัครจีคลับ ชาวนาแห่งทุ่งบางขวด ผมไม่ใช่เหี้ย (วรนัส) และหมามุ่ยอินเดีย ล้วนมาจากองค์ความรู้ของ ท่านอาจารย์สมโภชน์ ทับเจริญ ซึ่งเป็นนักวิชาการ ซี 8 อดีตผู้อำนวยการศูนย์สุกรแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ทั้งสิ้น จากประสบการณ์ที่สะสมมา 27 ปี ในชีวิตราชการ ท่านได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์เรื่องการเกษตรมาอย่างครบถ้วน หลังจากผมนำเสนอเรื่องเกี่ยวกับอาจารย์สมโภชน์ไป สื่อแขนงต่างๆ โดยเฉพาะสื่อโทรทัศน์ ได้นำเสนอกันต่อๆ ไปอีกมากมาย รวมถึงสื่อจากต่างประเทศด้วย

อาจารย์สมโภชน์ ทับเจริญ เล่าว่า ตลอดเวลาที่รับราชการมา 27 ปี ได้ตั้งใจทำงานเพื่อประโยชน์ของหน่วยงานและสังคมให้มากที่สุด ส่วนเวลาที่เหลือก็จะมาทำสิ่งที่ตัวเองคิดฝันไว้ กะว่าจะลาออกตอนอายุ 55 ปี แต่พอดีคุณแม่มาเสีย คุณพ่ออยู่คนเดียว จึงตัดสินใจลาออกล่วงหน้ามา 1 ปี เพื่อมาดูแลคุณพ่อ ซึ่งอายุมากแล้ว ความฝันที่บรรพบุรุษทิ้งไว้ให้เป็นประโยชน์ทางด้านการเกษตร และที่เรารักในอาชีพนี้ จึงออกมาด้วยความเต็มใจ เมื่อเราเป็นข้าราชการชั้นผู้บริหาร ต้องสั่งงานต่างๆ ไม่ค่อยได้ลงมือทำแล้ว

จึงคิดว่าน่าจะเพียงพอ น่าจะเปิดโอกาสให้คนรุ่นหลังได้มีความเจริญก้าวหน้าทั้งตำแหน่งและความคิดของเขาต่อไป มากกว่าที่จะถูกกำหนดโดยเรา และจะถือโอกาสออกมาก่อนที่แรงจะไม่มีทำการเกษตรที่หวัง เพราะถ้าออกตอน 55 ปี จะใช้เวลาอีก 10 ปี ทำงาน หลังจากนั้น ทุกอย่างก็จะเข้ารูปเข้ารอย เมื่ออายุ 65 ปี แรงคงลดน้อยถอยลงมากแล้ว แต่ก็จะทำไปเรื่อยๆ เหนื่อยก็พัก ไม่รีบไม่ร้อน

ที่ดินผืนนี้เป็นผืนดินของทวด ตกมาถึงปู่ ตกมาถึงพ่อ และมาถึงรุ่น อาจารย์สมโภชน์ ในปัจจุบัน ที่ดินที่ตั้งอยู่ในย่านบางขวด หรือซอยนวลจันทร์ 56 แขวงนวลจันทร์ เขตบึงกุ่ม กทม. นี้ มีจำนวน 50 ไร่ ล้อมรอบด้วยหมู่บ้านจัดสรร ราคาครั้งสุดท้ายที่บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์มาเสนอให้ ราคาไร่ละ 30 ล้านบาท รวมเป็นเงิน 1,500 ล้านบาท อาจารย์สมโภชน์ กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า “ไม่ขาย เพราะได้มาฟรี ไม่ได้เอาเงินตัวเองซื้อ แต่เอาบุญเก่าซื้อ ตราบใดที่ไม่ได้ขาย มูลค่าของมันจะมีค่าขึ้นไปเรื่อย ผมไม่ได้มีเงิน เพราะมีแต่ที่และมูลค่าของมัน ถ้าเกิดขายแล้วได้เงินเยอะแยะมากมาย ก็ไม่รู้จะเอาไปทำอะไร ถ้าเราคิดจะขาย คงไม่มีที่ดินสืบต่อมาให้ลูก และถ้าพ่อแม่คิดขายที่ดิน คงไม่สืบต่อมาถึงผม ผมจึงต้องรักษามันไว้”