ใช้เชื้อเห็ดบนวุ้น เอามาตัดแปะรากนำดอกเห็ดตับเต่ามาปลูก

เลี้ยงเนื้อเยื่อคือนำดอกอ่อนมาตัดเนื้อเยื่อโดยไม่ให้มีสิ่งอื่นปะปน แล้วนำมาเลี้ยงบนอาหารวุ้นจนเติบโต จากนั้นเอามาแปะไว้กับรากต้นไม้ที่ล้างสะอาดแล้ว ก่อนใส่ลงในถุงเพาะชำแล้วเลี้ยงต่อไปอีกประมาณ 1-2 เดือน หากสังเกตดูว่าต้นไม้เจริญเติบโตได้ดี จากนั้นค่อยนำไปปลูก โดยกล้าไม้ที่เพาะเชื้อวิธีนี้จะมีเชื้อเห็ดติดอยู่แน่นอน สำหรับการขยายพันธุ์นั้น ในฤดูดอกเห็ด แนะนำให้ตัดดอกเห็ดออกเป็นแผ่นบางๆ แล้วแปะไว้กับรากที่ทำความสะอาดแล้วแบบเดียวกับขั้นตอนแรก

คุณพุฒินันท์ เคยเห็นตัวอย่างจากวิดีโอของประเทศญี่ปุ่น เกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงเชื้อเห็ดทรัฟเฟิล โดยผู้เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจะขุดเอาเห็ดทรัฟเฟิลมาจากสวนป่า นำมาทำความสะอาดแล้วแยกเชื้อ โดยกรรมวิธีตัดเนื้อเยื่อไม่ให้มีเชื้ออื่นปะปน เอามาเลี้ยงอยู่บนอาหารวุ้น

เมื่อเชื้อเห็ดเจริญดีแล้วก็นำต้นกล้าไม้ 3 อย่าง มาล้างรากให้สะอาดจนเห็นรากชัดเจน นำอาหารวุ้นมาตัดเป็นชิ้นเล็กๆ เห็นเส้นใยเห็ดติดอยู่ด้วย เอามาแปะติดกับรากที่ล้างแล้ว ปิดด้วยปลาสเตอร์ชนิดมีรูพรุนให้อากาศผ่านได้

จากนั้นนำกล้าไม้ใส่ถุงหรือกระถางเพาะ โดยใส่ปุ๋ยละลายช้าและอินทรียวัตถุ แล้วรดน้ำ ในวิดีโอมีการเปรียบเทียบรากให้ดูว่าหลังจากเชื้อเห็ดในอาหารวุ้นติดแน่นกับรากไม้แล้ว รากที่มีเชื้อมีลักษณะคล้ำและหนาขึ้น เมื่อแข็งแรงดีแล้วจึงนำต้นกล้าที่มีเชื้อไปปลูกในสวนป่า หลังจากนั้นอีก 3 ปี ก็สามารถพบเห็ดทรัฟเฟิลได้

3. การทำเชื้อเห็ดให้เป็นลักษณะเหมือนขี้เลื่อย หรือปุ๋ยหมักที่มีเชื้อเห็ดเจริญอยู่

ใช้วิธีแยกเชื้อบริสุทธิ์ แล้วเอาเชื้อบริสุทธิ์นี้เลี้ยงให้เป็นเชื้อสต๊อกอยู่บนอาหารวุ้น เหมือนกับวิธีการเลี้ยงเชื้อเห็ดทั่วไป คือเขี่ยเชื้อเห็ดตับเต่าใส่ลงไปที่ผิวหน้าอาหารในขวดแบน ใส่อาหาร 1/4 แล้ววางแบบตะแคงขวด ปล่อยให้เชื้อเจริญเติบโตอยู่ในอาหารเหลว

เมื่อเส้นใยเจริญเติบโตดีแล้ว เวลาจะใช้งานก็ใช้ขี้เลื่อยหรือปุ๋ยหมักแล้วเทอาหารเหลวที่มีเส้นใยกระจายให้ทั่ว เอาไปเพาะลงในกระถางต้นไม้ แล้วกลบด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยอินทรีย์อื่นๆ รดน้ำให้ชุ่ม เชื้อจะเจริญลงไปอาศัยอยู่กับรากได้เช่นกัน

หลังจากเพาะเชื้อได้เองแล้ว คุณพุฒินันท์แนะนำให้คอยตรวจสอบสภาพดินด้วยว่ามีค่าความเป็นกรด-ด่าง ที่เหมาะสมหรือไม่ อาจใช้เครื่องมือวัดหรือเก็บตัวอย่างดินมาทดสอบ โดยใช้ดินลึก 1 คืบ ถ้าค่า พีเอช 6.5-7 ถือว่าเหมาะสมอยู่แล้ว ไม่ต้องใส่ปูนเกษตร แต่ค่า พีเอช ต่ำกว่า 7.5 ถือเป็นดินเปรี้ยว ยิ่งค่าต่ำมาก ยิ่งเปรี้ยวมาก การใส่ปูนเกษตรจะทำให้ได้ผลดีขึ้น สามารถทำได้โดยค่อยๆ ใส่เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทีละน้อย จะทำให้เส้นใยเห็ดเจริญเติบโตได้ดีขึ้น ผลผลิตเห็ดก็จะมากขึ้น ต้นไม้ก็จะเจริญเติบโตดีด้วย นอกจากนั้น การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ทับลงไปบนกองใบไม้ใต้ต้นโดยไม่ต้องเก็บกวาดใบทิ้ง จะช่วยให้เห็ดเจริญเติบโตได้ดีในปริมาณที่มากกว่าใต้ต้นไม้ที่โล่งเตียน

สำหรับดินบางแห่งเก็บอุ้มน้ำได้ไม่ดีนัก เช่น ดินทราย ดินปนทราย แต่เห็ดต้องการความชื้นสูง ดังนั้น การใช้โพลีเมอร์จะช่วยอุ้มน้ำได้ดีมาก เมื่อใช้โพลีเมอร์จะขยายตัวอุ้มน้ำ ประมาณ 200 เท่า โดยอาจใช้โพลีเมอร์ช่วยเก็บความชื้นหลังจากฝนตกหรือหลังรดน้ำ ทำให้ไม่ต้องรดน้ำมากหรือบ่อยครั้ง

ส่วนดินเหนียวหรือดินที่แน่นเกินไป อุ้มน้ำมากและนานเกินไป ทำให้อากาศที่อยู่ในเนื้อดินน้อยลง จะไม่เหมาะกับเห็ดตับเต่าที่ชอบออกซิเจนมากๆ การใช้สารดินร่วนหรือสารละลายดินดาน พืชบดหยาบชิ้นเล็กๆ หรืออาจใส่วัสดุชิ้นเล็กชิ้นน้อย เช่น แกลบ ขี้ไก่ หว่านกระจายบางๆ ที่ผิวหน้าดิน บางส่วนก็จะแทรกลงดิน ทำให้ดินร่วนซุยขึ้น

กรณีที่ต้องการให้เกิดความชื้น ไม่อยากให้น้ำระเหยออกมากเกินไป อาจใช้พลาสติกขนาดใหญ่ คลุมทับในระหว่างที่ดอกเห็ดกำลังเริ่มเจริญเติบโต ก็จะทำให้มีความชุ่มชื้นอย่างเพียงพอ เส้นใยของเห็ดก็จะส่งผ่านขึ้นมาเป็นดอกเห็ดที่ใหญ่ขึ้น เทคนิคต่างๆ เหล่านี้สามารถทดลองด้วยตัวเองได้อีกหลายแนวทาง ภายใต้กฎของไมคอร์ไรซ่า ที่จะต้องเติบโตใช้ประโยชน์ร่วมกันกับรากไม้บางชนิดในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ทั้งความชื้นและอินทรียวัตถุ ขอให้สนุกกับความท้าทายในการสร้างสวนเห็ดตับเต่ากันทุกคนนะคะ

สูตรนี้เตรียมเหมือนอาหารวุ้น พีดีเอ ทั่วไป เมื่อนำมาทดลองเลี้ยงเห็ดไมคอร์ไรซ่าทั้งหลาย เช่น เห็ดเผาะ เห็ดตับเต่า พบว่ามีอัตราการเจริญเติบโตดีมาก เมื่อดัดแปลงสูตรไม่ใส่วุ้น แต่ใช้ต้มเมล็ดข้าวฟ่างเพื่อเลี้ยงเชื้อบนเมล็ดข้าวฟ่างแทน ก็สามารถทำให้เชื้อเต็มขวดภายใน 3 สัปดาห์

“สวนนงนุชพัทยา” ตำบลนาจอมเทียน อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่รวบรวมพืชพันธุ์เขตร้อนที่งดงาม มีสวนสวย (Beautiful Garden) ประเภทสวนกระบองเพชร สวนลอยฟ้า สวนสับปะรดสี สวนปาล์มโลก สวนปรง สวนเฟื่องฟ้า สวนเฮลิโคเนีย ฯลฯ ภายในสวนตระการตาไปด้วยดอกไม้ประดับกว่าร้อยชนิด จนได้รับความนิยมระดับแนวหน้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และระดับโลก มีนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกเดินทางเข้ามาเยี่ยมชมวันละกว่า 5,000 คน นอกจากจะเป็นแหล่งสร้างงาน สร้างรายได้ ให้กับประชาชนในท้องถิ่นแล้ว สวนนงนุชพัทยา ยังเปรียบเสมือนแม่เหล็กตัวใหญ่ที่ดึงดูดเม็ดเงินจากนักท่องเที่ยวเข้าประเทศได้ปีละมหาศาล

คุณพานิชย์ ยศปัญญา บรรณาธิการนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน นำทีมผู้สื่อข่าวไปสัมภาษณ์พิเศษ คุณโต้ง หรือ คุณกัมพล ตันสัจจา ประธานสวนนงนุชพัทยา เกี่ยวกับแรงบันดาลใจในการสร้างอาณาจักรพรรณไม้อย่างยิ่งใหญ่อลังการ เปรียบเสมือน “สวรรค์บนดิน” สำหรับคนรักธรรมชาติ และ ติด 1 ใน 10 “สวนพฤกษศาสตร์” ที่สวยที่สุดของโลกในวันนี้

พื้นฐานครอบครัวตันสัจจา

คุณโต้ง เล่าว่า ครอบครัวผมทำกิจการโรงภาพยนตร์มาก่อน ที่รู้จักกันดี ได้แก่ สกาล่า สยาม ลิโด้ เฉลิมไทย อินทรา และมีธุรกิจห้องอาหารสกาล่าและมาเรีย สมัยนั้นกิจการเจริญรุ่งเรืองมาก ครอบครัวส่งผมไปเรียนต่อระดับมัธยมศึกษาที่ St. Stephen’s College ฮ่องกง ผมเรียนจบปริญญาตรีด้านวิศวกรไฟฟ้า จาก University of Arkansas สหรัฐอเมริกา หลังจากนั้นกลับมาช่วยครอบครัวทำธุรกิจด้านภาพยนตร์และโรงภาพยนตร์ระยะหนึ่ง ต่อมาคุณแม่ (คุณนงนุช ตันสัจจา) ดึงตัวมาช่วยดูแลกิจการสวนนงนุชพัทยาจนถึงทุกวันนี้

เมื่อ 65 ปีก่อน ครอบครัวผมมาซื้อที่ดินแปลงใหญ่ 1,700 ไร่ ซึ่งเป็นสวนผลไม้ ในพื้นที่ตำบลนาจอมเทียน อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี คุณแม่ผมมีโอกาสเดินทางไปเที่ยวสวนสวยที่สิงคโปร์และอินโดนีเซียแล้วเกิดความประทับใจ เพราะคุณแม่ชื่นชอบไม้ดอกไม้ประดับและธรรมชาติที่สวยงามอยู่แล้ว จึงจุดประกายความคิด อยากให้เมืองไทยมีแหล่งท่องเที่ยวประเภทนี้บ้าง จึงปรับพื้นที่สวนผลไม้เก่าให้กลายเป็นสวนนงนุชพัทยา เมื่อ 40 ปีที่แล้ว

ตอนนั้น ผมไม่เห็นด้วยกับความคิดของคุณแม่ที่จะสร้างสวนเพื่อเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจและแหล่งเรียนรู้ศึกษาธรรมชาติ เพราะมันเป็นหน้าที่ของรัฐบาลหรือมูลนิธิที่มีเงินทุนเยอะ ที่ลงทุนสร้างสวนเพื่อสังคม ผมบอกแม่ว่า มันไม่คุ้มค่าหรอก เพราะไม่มีเงินอยู่ในนี้ แต่คุณแม่ก็ตัดสินใจสร้างสวนนงนุชขึ้นมา เน้นสร้างสวนสวย โชว์รำไทย แสดงวัฒนธรรมไทยและการแสดงช้างแสนรู้ หลังจากนั้น 5 ปีต่อมา คุณแม่ก็เลือกให้ผมมารับช่วงสืบทอดกิจการสวนนงนุช จนถึงทุกวันนี้ เป็นระยะเวลา 35 ปีแล้ว

ไม่เลย ตอนแรกที่คุณแม่มอบให้ผมเข้ามาดูแลกิจการ ผมไม่รู้เรื่องสวนเลย ต้องมาเรียนรู้ว่า สวนคืออะไร พยายามประคองกิจการอยู่รอดก่อน ตอนนั้น สวนนงนุชขาดทุนมาก แม้อยู่ใกล้เมืองพัทยาแต่แทบไม่มีนักท่องเที่ยวเลย

ช่วงนั้น ผมทำทุกอย่างเพื่อให้ได้เงินจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ พอมีกำลังทรัพย์มากขึ้น ก็ลงทุนปรับปรุง “สวนนงนุช” ให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ด้านพฤกษศาสตร์อีกแห่งของโลก นำไม้ดอกไม้ประดับทั้งในประเทศและต่างประเทศเข้ามาประดับตกแต่งสวนตามจินตนาการ รวมทั้งจำลองรูปแบบแหล่งท่องเที่ยวสำคัญซึ่งเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลกมาจัดแสดงที่สวนนงนุชพัทยาเพื่อสร้างจุดขายดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเข้ามาใช้บริการเพิ่มมากขึ้น

ผมค่อยๆ ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสวนไปทีละนิด เก็บสะสมพันธุ์ไม้ไม่หยุด ทำตามโปรแกรมของสวนพฤกษศาสตร์ที่ต้องสะสมพันธุ์ไม้ไปเรื่อยๆ ทั้งพันธุ์ไม้ในประเทศและต่างประเทศ ซื้อเก็บเข้ามามาก บางครั้งซื้อซ้ำพันธุ์เดิมก็มีบ่อย หน่วยงานภาครัฐก็เก็บสะสมพันธุ์ไม้ แต่โครงการหมด ต้นไม้ก็หมดไปด้วย ผมเคยไปขอคอลเล็กชั่นมะม่วงของกรมวิชาการเกษตร อย่างละ 1-2 ต้น มาเก็บสะสมที่สวนนงนุช

เราเก็บสะสมพันธุ์ไม้ต่อเนื่อง ทำให้มีพันธุ์ไม้เพิ่มขึ้นทุกวัน อย่างงานแสดงพรรณไม้ สวนหลวง ร.9 ผมสั่งลูกน้องไปไล่ซื้อพันธุ์ไม้ที่ยังไม่มี ซื้อเก็บให้หมด บางครั้งคนที่เดินทางไปต่างประเทศ เจอพันธุ์ไม้สวย ไม้แปลกหายากมาเสนอขายผมก็รับซื้อ ตอนนี้ผมมีคอลเล็กชั่นมณฑาที่ใหญ่ที่สุด ปลูกบนดอยที่เชียงใหม่ ซึ่งมีผู้นำมามอบให้ผมดูแลกว่า 200 สายพันธุ์

สวนนงนุช เข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนพันธุ์ไม้กับเครือข่ายพันธมิตร หากพันธุ์ไม้ชนิดไหนตายก็สามารถไปเอาจากอีกที่หนึ่งได้ ทำให้มีพันธุ์ไม้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เก็บพันธุ์ไม้จำนวนมาก เลี้ยงตายไปก็เยอะ กว่าต้นไม้จะอยู่รอดได้ ต้องเก็บซ้ำเป็นครั้งที่ 2 หรือ 3 สาเหตุสำคัญคือ ความไม่รู้ ไม่เข้าใจ ว่าไม้ชนิดนี้ชอบแดด ไม่ชอบน้ำ ต้องใช้เวลาศึกษาเรียนรู้ธรรมชาติของพันธุ์ไม้แต่ละชนิดตลอดเวลา

ปัจจุบัน สวนนงนุชพัทยา เก็บสะสมพันธุ์ไม้มากที่สุด จำนวน 5 ชนิด ได้แก่ เฮลิโคเนีย เก็บได้ 508 ชนิด ซึ่งทั่วโลกมีอยู่ 600 ชนิด ส่วน โฮย่า เก็บได้ 1,093 ชนิด ซึ่งทั่วโลกมีอยู่ 1,500 ชนิด สายพันธุ์ปาล์ม เก็บได้ 1,567 ชนิด ซึ่งทั่วโลกมีอยู่ 2,600 ชนิด สายพันธุ์ปรง เก็บได้ 348 ชนิด ซึ่งทั่วโลกมี 352 ชนิด เพื่องฟ้า เก็บได้ 196 ชนิด ซึ่งทั่วโลกมี 300 ชนิด พันธุ์ไม้ที่มีอยู่ในสวนนงนุชไม่เคยประเมินมูลค่า ผมไม่ใช่พ่อค้าร้อยเปอร์เซ็นต์ ผมทำเพื่อเพิ่มแม่เหล็ก ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้กับสวนนงนุช

ได้ผลตอบแทนคุ้มค่ากับการลงทุนไหม

ผมเสียเงินค่าต้นไม้ไปกว่าร้อยล้านแล้ว ถามว่าผมได้เงินคืนสักบาทไหม คำตอบคือ ไม่ได้เลย แถมเสียค่าดูแลต้นไม้ทุกวัน หาเงินได้ ก็ใส่เข้าไป การสร้างสวยลอยฟ้า ถามว่า คุ้มหรือไม่คุ้ม ผมไม่รู้ ถือเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับสวนพฤกษศาสตร์สำคัญของโลกที่เมืองไทยต้องมี คนทั่วไปจะไล่ซื้อต้นไม้ที่เก็บแล้วได้ตังค์ ไม่ได้ตังค์ก็ทิ้งไป แต่ผมเก็บพันธุ์ไม้ทุกอย่าง พันธุ์ไม้เหล่านี้ ขายได้หรือไม่ได้ ผมไม่รู้ ผมเก็บหมด ซึ่งมีค่าใช้จ่ายมหาศาลในการปลูกดูแล ผมทำทุกอย่างตอนนี้ ไม่ได้เอาเงินเป็นตัวตั้ง หากเอาเงินเป็นตัวตั้ง ผมไม่ทำแล้ว เก็บเงินในธนาคารไม่ดีกว่าเหรอ ปิดสวนนงนุชไม่ดีกว่าเหรอ ทุกวันนี้ผมขาดทุน วันละ 1,000,000 กว่าบาท ซึ่งเป็นค่าจ้างแรงงาน

ก่อนหน้านี้ผมมีรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติ 80% และคนไทย 20% หลังเกิดวิกฤตโควิด รายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติเป็นศูนย์ ผมหากินแทบตาย มีรายได้จากนักท่องเที่ยวคนไทยแค่ 20 เปอร์เซ็นต์ โชคดีที่มีโครงการไทยเที่ยวไทย ทำให้มีรายได้จากนักท่องเที่ยวคนไทยเพิ่มขึ้นเป็น 30% เท่ากับผมมีค่าใช้จ่าย 70% ถามว่า ผมจะอยู่ได้ไง ผมอยู่ได้ทุกวันนี้เพราะมีรายได้จากธุรกิจรับจ้างจัดสวน เข้ามาสนับสนุนกิจการสวนนงนุชให้อยู่รอดได้

ผมติดป้ายโปรโมตว่า สวนนงนุช ติด 1 ใน 10 สวนสวยที่สุดในโลก เพื่อดึงดูดให้คนอยากมาดู ผมเปิดให้คนเข้าชมสวนฟรี หลังผมเปิดให้นักท่องเที่ยวมาชมฟรี เขาจะกลายเป็นกระบอกเสียง ไปบอกญาติพี่น้องในหมู่บ้าน ทำให้คนอยากมาเที่ยวสวนนงนุชบ้าง ผมคิดว่า ผมคุ้มนะ แต่ก่อนคนไทยมาเที่ยวสวนนงนุชในช่วงวันหยุด อย่างมากก็แค่วันละ 2,000-3,000 คน แต่ตอนนี้ ช่วงวันหยุดนักขัตฤกษ์ผมได้นักท่องเที่ยวคนไทยถึง 9,000 คน

ผมจัดสวนผมตามความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ที่ต้องการ มาถ่ายรูป ผมวางทุกอย่างให้เขาได้ถ่ายรูป ทำให้สวนนงนุช เป็นหน้าต่างของต้นไม้ นักท่องเที่ยวหลายคนได้ไอเดียในการใช้ประโยชน์จากต้นไม้ และไอเดียในการจัดสวน นี่คือสิ่งที่เราทำสำเร็จ

สิ่งสำคัญที่เป็นความภาคภูมิใจที่สุดของสวนนงนุช คือได้เด็กเยาวชนจำนวนมากเข้ามาเยี่ยมชมสวนนงนุชกันมากขึ้น เด็กเดินถ่ายรูป ไปเหยียบต้นไม้ ตุ๊กตาแตก เดินมาขอโทษ ผมก็ไม่ว่า ถือว่าเป็นอุบัติเหตุ ไม่คิดตังค์ ผมอยากให้สวนนงนุชเป็นจุดเรียนรู้เรื่องธรรมชาติของเด็กเยาวชนไทยทั่วประเทศ ฝรั่งมาดูงาน ถามว่า รัฐบาลช่วยอะไรบ้าง ผมบอกว่าไม่รู้สิ ฝรั่งบอกว่าคุณทำหน้าที่ให้ประเทศแล้วนะ และทำได้ดีด้วย ทุกประเทศควรมีสวนพฤกษศาสตร์แบบนี้

เสริมจุดขายในสวนนงนุชพัทยา

ผมกำลังทำสวนนงนุช 2 เพื่อเป็นจุดเรียนรู้เรื่องการทำเกษตรโดยเฉพาะ เช่น การทำเกษตรอินทรีย์ การทำปุ๋ยหมัก เตาเผาถ่าน การทำน้ำส้มควันไม้ ตอนแรกที่ทำจุดเรียนรู้ทางการเกษตร ก็รู้ว่าขาดทุนแน่นอน แต่ทำไปทำมามีคนมาดูงานเยอะ ก็เริ่มมีกำไรเหมือนกัน ผมสร้างจุดเรียนรู้นี้เพื่อดึงคนมาดูงานโดยเฉพาะ

ตอนนี้กำลังให้ลูกน้องปั้นโอ่งขนาด 12 ปี๊บ สำหรับปลูกไม้ผล ไม่ต้องลงดิน แสดงให้นักท่องเที่ยวเห็น สามารถเอาต้นไม้ไว้ในบ้านได้หรือปลูกผักในภาชนะ ปลูกผักในโรงเรือนอีแว้ป นี่คือ แหล่งเรียนรู้เพื่อพึ่งพาตัวเองตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

ผมพยายามสร้างแหล่งเรียนรู้เพื่อเด็ก ผมคิดว่าผมทำไปได้เยอะแล้วนะ ต้องดูว่าเด็กต้องการเรียนรู้อะไรอีก ผมคิดจะจัดโซนปลูกต้นไม้นานาชนิดอยู่ในจุดเดียวกัน เช่น ต้นหมากผู้หมากเมีย ต้นชวนชม ต้นลิ้นแม่ยาย ฯลฯ มีป้ายแสดงข้อมูลพันธุ์ไม้ เพื่อสอนให้เด็กได้เรียนรู้อย่างรวดเร็ว

อย่างแปลงปลูกกัญชา ผมลงทุนไป 20 กว่าล้านบาท ทั้งที่รู้อยู่แก่ใจว่า ทุกบาททุกสตางค์ที่ลงทุนผมไม่ได้คืนแน่ แต่ไม่เสียดายเงิน เพราะปลูกได้เท่าไรก็เป็นทรัพย์สินของหลวงหมด แต่ผมได้รับอนุญาตให้ทำแนวรั้วกระจกให้เด็กได้เรียนรู้ว่า ต้นกัญชาหน้าตาเป็นอย่างไร

หลักการบริหารงาน

การบริหารสวนนงนุช ผมใช้ทฤษฎีฝรั่ง “2 นาที” คือทำเดี๋ยวนี้เลย ช่วยให้ดูแลบริหารงานได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ยังใช้ทฤษฎี “อีกนิดหนึ่ง” ในการบริหารงาน ผมดูสวนตะบองเพชร ยังไม่มีอะไรแปลก เห็นสวนถาดเด็กนักเรียนทำ ก็คิดว่า เราทำตะบองเพชรสวนถาดได้ แต่ทำให้ดีอย่างไร เรียกนักปั้นให้ช่วยคิด เขาออกแบบสวนถาดให้มีรูปแบบสวยงามแปลกตา มีลูกค้ามาบ่นว่า อยากดูบัว ผมก็ให้คนงานนำบัวใส่กระถางไปวางริมถนน ก็ได้เสียงบ่นกลับมาอีกว่า รถไม่หยุด ถ่ายรูปไม่ได้ ก็เอาใหม่ จัดสวนบัวหน้าสวนไดโนเสาร์เลย นักท่องเที่ยวก็ชอบใจ

นี่คือ คำว่า “อีกนิดหนึ่ง” ของผม เป็นการทำงานต่อยอด ไม่หยุดนิ่ง คนส่วนใหญ่คิดแค่ว่าทำเสร็จสิ้นแล้วคือจบเลย ซึ่งมันไม่ใช่ ต้องคิดปรับปรุงให้งานที่ทำอยู่ มันดีขึ้นกว่าเดิม คนรุ่นใหม่ที่จบปริญญาตรี เวลาสั่งงานไป มักไม่ฟัง มักทำตามทฤษฎีที่เรียนมา ซึ่งเป็นรากฐานที่ผิดพลาดมาก เพราะการไม่ฟัง ไม่เชื่อ ไม่ถาม คิดเอาเอง เป็นเรื่องที่เลวร้ายมาก ทำให้การบริหารงานล้มเหลวได้

ปัจจุบัน สวนนงนุช เป็นหนึ่งในแม่เหล็กสำคัญของเมืองพัทยา เป็นอาณาจักรพรรณไม้นานาชนิด ที่รวบรวมธรรมชาติที่บริสุทธิ์และงดงามไว้มากมาย เป็นแหล่งท่องเที่ยวใกล้ตัวคนไทยที่รอให้นักท่องเที่ยวมาเยือน หากใครมาเที่ยวพัทยาแล้วไม่แวะสวนนงนุชพัทยาถือว่าพลาดแล้ว

เผยแพร่ในระบบออนไลน์เป็นครั้งแรกเมื่อวันอาทิตย์ที่ 3 มกราคม พ.ศ.2564 ส้มโอ เป็นผลไม้ที่ต้องใช้เวลาหลายปีกว่าจะให้ผลผลิต จึงทำให้การทำสวนส้มโอในอดีตเป็นไปอย่างช้าๆ และไม่มีการขยายพื้นที่มากเหมือนพืชชนิดอื่น และส้มโอเป็นผลไม้ที่มีราคาดี ไม่เคยมีการประท้วงนำผลส้มโอไปเททิ้งให้เป็นข่าวเป็นคราว ทั้งยังเป็นที่ต้องการของตลาด ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่สำคัญลงทุนไม่สูง ปัจจุบัน มีการขยายพื้นที่ปลูกต้นส้มโอกันมากขึ้น และปลูกได้ทั่วประเทศ

ที่จังหวัดแพร่ มีสองสามี-ภรรยา เปลี่ยนชีวิตจากผู้มีรายได้ประจำ กลับบ้านเกิดมาขยายพื้นที่ปลูกส้มโอ ก็ยังพอมีรายได้เลี้ยงดูครอบครัว

คุณวรรัตน์ จันทรมงคล หรือ โอ๋ อายุ 45 ปี บ้านเลขที่ 150 หมู่ที่ 9 บ้านคอกช้าง ตำบลห้วยอ้อ อำเภอลอง จังหวัดแพร่ 54150 โทร. 082-171-2517 สามี คุณนิคม มะโนมูล หรือ คม ทั้งสองสามีภรรยาเคยใช้ชีวิตอยู่ที่จังหวัดนนทบุรี แต่ชีวิตหักเห กลับมาตั้งหลักปักฐาน ทั้งสามี-ภรรยา-ลูก ที่บ้านสามี ตั้งแต่ปี 2557

คุณโอ๋ เล่าย้อนอดีตให้ฟังว่า “ถิ่นกำเนิดเดิมเป็นชาวพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เข้าทำงานโรงงานเย็บผ้า จนได้มาพบกับคุณนิคม เป็นครอบครัวเดียวกัน แต่เนื่องจากบ้านสามีที่อำเภอลอง จังหวัดแพร่ ไม่มีใครดูแล จึงจำเป็นต้องพาครอบครัวมาอยู่ที่นี่”

คุณคม บอกและกล่าวเสริมว่า ทรัพย์สินของพ่อ-แม่ ทั้งบ้าน ที่ทำกิน เป็นที่พ่อ-แม่แบ่งให้ มีต้นส้มโอเก่าแก่อยู่หลายต้น เป็นพันธุ์ขาวน้ำผึ้ง ทั้งสองเห็นพ้องกันว่า เมื่อมาอยู่บ้านคอกช้าง ไม่ได้ทำงานประจำ ก็ขอสานต่อสวนส้มโอ ทั้งต้นเก่าและขยายพันธุ์ด้วยการตอน ขยายพื้นที่ใหม่

คุณโอ๋ กล่าวว่า “จากคนมีงานทำ มีเงินเดือนประจำ ก็ไม่เคยทำสวนส้มโอมาก่อน แม้จะเป็นลูกชาวสวนในอดีต ที่ตำบลบางน้ำผึ้ง พระประแดง ตา-ยายก็ทำสวนไม้ผล แต่พี่คมเขาเคยเห็นพ่อ-แม่ทำสวนส้มโอมาตั้งแต่ยังเป็นเด็ก”

คุณคม ได้เล่าอดีตที่มาของต้นส้มโอสมัยคุณพ่อ คุณแม่ ว่า พ่อได้ปลูกไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 เป็นพันธุ์ขาวน้ำผึ้ง นับอายุถึงปัจจุบัน 45 ปีเข้าไปแล้ว ต้นก็ยังสมบูรณ์อยู่ ให้ผลผลิตทุกปี เมื่อมีที่ดินว่างเปล่าแต่สภาพรกร้าง ใช้เวลาถากถางหญ้าและเถาวัลย์ ถึง 3 เดือน จึงโล่งเตียน จากนั้นนำกิ่งพันธุ์ส้มโอที่ตอนจากต้นดั้งเดิมลงปลูก และทำการขยายพื้นที่ออกไปจนเต็มพื้นที่ ต้นส้มโอแปลงใหม่ส่วนใหญ่อายุ 7 ปี และ 3 ปี

“คิดว่าปลูกส้มโอ พอมองเห็นอนาคตในระยะยาวเก็บผลได้นาน และส้มโอที่นี่มีรสชาติอร่อย คนที่มาซื้อส้มโอก็ว่าอร่อย เลยคิดว่าส้มโอนี่แหละ ดีที่สุดแล้ว” คุณโอ๋ กล่าว

ปัจจุบันนี้สวนส้มโอของคุณโอ๋ให้ผลผลิตอย่างต่อเนื่อง netmarketingmastery.com มีพ่อค้าคนกลางเข้าไปรับซื้อถึงสวน ครอบครัวคุณโอ๋จึงมีรายได้ส่วนหนึ่งจากการขายส้มโอ ซึ่งส้มโอที่ออกมาจากสวน คุณโอ๋ บอกว่า คนที่มาซื้อยอมรับในคุณภาพว่ามีรสชาติอร่อย ผลสวย อาจจะมีผิวผลที่เปลือกมีตำหนิบ้าง ก็เป็นที่ยอมรับของตลาดและผู้บริโภค ที่สำคัญไม่ได้ใช้สารเคมีใดๆ ทั้งสิ้น คุณโอ๋ บอกว่า เธอและสามี ได้ดูแลเอาใจใส่สวนส้มโอเป็นอย่างดี

ผู้เขียน เลยขอให้คุณโอ๋และคุณคม บอกเล่าถึงการดูแลสวนส้มโอ คุณโอ๋ ได้ให้รายละเอียด เริ่มตั้งแต่หลังเก็บผลส้มโอแล้วก็ให้พักต้น และเตรียมความพร้อมของต้น ให้ต้นมีการสะสมธาตุอาหารจนเข้าสู่ระยะแตกใบอ่อน และพัฒนาใบ ดูแลเมื่อเริ่มออกดอก และพัฒนาดอกจนถึงติดผล การพัฒนาของผลจนผลแก่สุกเก็บขายได้

คุณโอ๋ ได้กล่าวถึง Timeline หรือแผนผังแสดงลำดับเหตุการณ์ ที่ได้ปฏิบัติการดูแลในสวนส้มโอ ในเรื่องดิน การให้ปุ๋ย ให้น้ำ การจัดการวัชพืช โรคและแมลง ของแต่ละระยะ ตามวัฏจักรแห่งฤดูกาล ดังนี้

จาก Timeline ที่ได้แสดงเป็นแผนผังไว้ คุณโอ๋ ได้ขยายความเพิ่มเติมอีกว่า

ดิน สวนส้มโออยู่ใกล้ลำห้วยแม่ลาน เป็นดินตะกอน หรือดินน้ำไหลทรายมูล มีอินทรียวัตถุทับถมมาเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน มีการดูแลอนุรักษ์ดินด้วยการไม่ใช้สารเคมีในการกำจัดวัชพืช แต่ใช้การตัด ไม่ขุดจิ้งโกร่ง (เป็นชื่อพื้นเมือง คล้ายจิ้งหรีดแต่ตัวใหญ่กว่า) เพราะช่วยทำให้ดินร่วนซุย มีโพรงอากาศ และเป็นการรักษาระบบนิเวศได้อีกวิธีหนึ่ง

ปุ๋ย ใช้ปุ๋ยเคมี 2 สูตร คือ

สูตร 15-9-20 ใช้สำหรับบำรุงต้นปีละ 4 กระสอบ

สูตร 16-16-16 ใช้ตั้งแต่ผลส้มมีขนาดเล็ก จนผลโตก่อนเก็บผล 1 เดือน ปีละ 6 กระสอบ

ทำน้ำหมักชีวภาพ และน้ำหมักไล่แมลง

น้ำหมักชีวภาพ (จุลินทรีย์หน่อกล้วย)

วัตถุดิบ

หน่อกล้วย 10 กิโลกรัม
กากน้ำตาล 5 ลิตร
น้ำเปล่า 1 ลิตร
วิธีทำ นำวัตถุดิบทั้ง 3 อย่าง ใส่ในถัง หมักไว้ 3 เดือน เมื่อใช้ให้บีบคั้นเอาแต่น้ำไปฉีดพ่น อัตรา 40 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ช่วยส่งเสริมการพัฒนาของส้มโอ