ในการตรวจสอบธาตุอาหารฯ เกษตรกรผู้สนใจสามารถส่งดิน

มาวิเคราะห์คุณสมบัติและธาตุอาหารต่างๆโดยละเอียด ได้ที่ ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน นครปฐม โทรศัพท์ 034-351-893 หรือ สถานีพัฒนาที่ดิน จังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ นอกจากนี้ การตรวจธาตุอาหารในดินเบื้องต้นอย่างง่าย เกษตรกรสามารถทำเองได้ง่ายๆ โดยใช้ชุดทดสอบสำเร็จรูป ผลิตโดยภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ซึ่งชุดทดสอบสำเร็จรูปดังกล่าวนี้ สามารถใช้วิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหารในดิน บอกสภาวะความอุดมสมบูรณ์ของดินในสภาพจริง เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ ใช้วิเคราะห์ดินเพื่อประกอบกับข้อมูลอื่นๆ เพื่อให้คำแนะนำปุ๋ยที่ใช้กับพืชทั่วๆ ไป อีกทั้งสามารถพกพาไปในสภาพไร่นา ใช้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว มีราคาถูก ชุดทดสอบสำเร็จรูปอย่างง่าย ที่ใครๆ ก็ทำเองที่บ้านได้นี้ สามารถรู้ผลตรวจอย่างรวดเร็วภายใน 1 ชั่วโมง ด้วยวิธีการทำไม่ยากเลย

อาจารย์เกวลิน ศรีจันทร์ ที่ปรึกษาฝ่ายวิชาการของรายการฯ กล่าวว่า เชื่อมั่นเหลือเกินว่า แฟนๆ รายการเกษตรช่อง 5 พัฒนาชุมชนที่รับชมรายการตอนนี้ จะได้ความรู้ลึกรู้จริงและรู้จักดินในแปลงปลูกของตนเอง ทราบเบื้องต้นคร่าวๆ ว่าธาตุอาหารในแปลงปลูกของตนเองเป็นอย่างไร เพื่อเป็นข้อมูลนำไปปรับใช้ให้ตรงกับความต้องการของพืชที่ปลูก ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการเพาะปลูก เพราะดินดี ปลูกอะไรก็ดี แต่หากดินไม่ดี เราจะสามารถปรนนิบัติดินของเราให้ดีขึ้นได้อย่างเหมาะสม ติดตามรับชมทาง ททบ. 5 และรับชมย้อนหลังทั้งภาพและเสียงทางเพจและยูทูบ “รายการเกษตรช่อง 5 พัฒนาชุมชน” พร้อมทาง KURPlusTV สถานีวิทยุ มก. เวลา 10.30-10.55 น. แนะนำติชมรายการได้ที่

ติดต่อประสานงาน รศ.ดร. จุรีย์รัตน์ ลีสมิทธิ์ (อาจารย์แมว) โครงการ “ด้วยพระเมตตา ประชาอุ่นใจ เรารักในหลวงรัชกาลที่ 10” สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ผู้อำนวยการ ศูนย์ “หนึ่งใจ…ช่วยเหลือเกษตรกร” มูลนิธิมิราเคิล

ในพื้นที่ ตำบลสามเรือน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นพื้นที่ที่มีข้อมูลระบุในเอกสารหลายแห่ง ว่าเป็นพื้นที่ที่มีเห็ดตับเต่าขึ้นมากที่สุด

คุณดนัย ภาคีฉาย หนุ่มกรุงเก่าโดยกำเนิด เรียนจบทางด้านการตลาด ก่อนจะทำงานดูแลระบบคลังสินค้าไม่ไกลจากบ้านมากนัก ทุกๆ วัน คุณดนัยจะไปทำงานที่บริษัท และกลับบ้านในเวลาเย็น คุณดนัยอยู่กับแม่เพียง 2 คน ดังนั้น การดูแลแม่และทุกๆ สิ่งที่แม่ทำ คือ หน้าที่ของคุณดนัย

คุณดนัย อาศัยอยู่กับแม่ คือ คุณสนอง ภาคีฉาย ที่หมู่ 6 ตำบลสามเรือน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

หลายปีแล้ว ที่คุณดนัยมีรายได้สองทาง เป็นรายได้จากการทำงานประจำ และอีกทางคือ การเพาะเห็ดตับเต่าขาย “ผมไม่อยากเรียกว่าเพาะ เพราะเห็ดตับเต่าเป็นพืชพื้นถิ่นที่ขึ้นได้เองตามธรรมชาติ แต่บังเอิญว่า เห็ดตับเต่า ขึ้นในที่ดินของเรา และเรามีเทคนิคที่ช่วยทำให้เห็ดตับเต่าขึ้นได้ดี สามารถเก็บขายได้เป็นกอบเป็นกำ”

อดีตคุณดนัยบอกว่า ไม่มีใครรู้ว่าเห็ดชนิดนี้กินได้หรือไม่ จนกระทั่งมีคนทางภาคอีสานมารับซื้อ เริ่มขายได้ ก็รู้ว่ารับประทานได้และหายาก เมื่อถึงฤดูกาลที่เห็ดออกตามธรรมชาติ ชาวบ้านก็เก็บขายให้กับพ่อค้าที่มารับซื้อ เป็นรายได้เสริมในทุกปี และเป็นรายได้เสริมที่ได้มาในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ของแต่ละปี ประมาณ 3-4 เดือนเท่านั้น ช่วงที่ฝนเริ่มตกหนัก ราวเดือนกันยายนเป็นต้นไป น้ำจะท่วมขึ้นมาบนพื้นที่ที่มีต้นโสนอยู่ เกษตรกรในพื้นที่ตำบลสามเรือนจะรอให้น้ำลดลงจนแห้ง ประมาณต้นเดือนมกราคม เมื่อน้ำแห้งลงสนิท เกษตรกรจะเข้าตัดต้นโสนที่แก่ออกทั้งหมด ให้เหลือพื้นที่โล่ง อาจเหลือเมล็ดโสนที่หล่นตามพื้นดินบ้าง ก็จะเป็นเมล็ดพันธุ์ทำให้เกิดต้นโสนขึ้นมาอีก

ในช่วงนี้ คุณดนัย บอกว่า พื้นที่ของบ้านที่มีต้นโสนและเห็ดตับเต่าขึ้น ซึ่งปรับแต่งพื้นที่ให้โล่งแล้ว คุณดนัยและแม่ได้วางระบบสปริงเกลอร์ระยะห่าง 1.20 เมตร รดน้ำให้ชุ่ม ต้นโสนจะเจริญเติบโตขึ้นมาเอง ระหว่างนี้ต้นโสนจะเริ่มค่อยๆ เจริญเติบโตขึ้นมาพร้อมๆ กับวัชพืช เกษตรกรจะรอให้ต้นโสนสูงประมาณ 2 เมตร จากนั้นเข้ากำจัดวัชพืชด้วยการถอน ไม่สามารถใช้สารกำจัดแมลงใดๆ ได้ เพราะเห็ดตับเต่าเป็นพืชที่ไวต่อสาร หากมีสารเคมีมากระทบ จะไม่เจริญเติบโต

คุณดนัย ต้องการดูแลให้ระบบสปริงเกลอร์ใช้งานได้นาน จึงถอดหัวสปริงเกลอร์ออกในช่วงที่น้ำท่วม เมื่อน้ำลด จึงนำหัวสปริงเกลอร์มาต่อเข้าที่เดิมก่อนจะเริ่มใช้งาน นอกจากนี้ ยังใช้แรงงานเดินรดน้ำด้วยสายยาง ในจุดที่ระบบสปริงเกลอร์เข้าไม่ถึง

หลังจากถางพื้นที่จนโล่งแล้ว ควรรดน้ำทุกวัน เพื่อให้ดินมีความชื้น แต่ถ้ามีฝนตกบ้างอาจจะเว้นระยะการรดน้ำ 2-3 วัน ต่อครั้ง ส่วนวัชพืชก็ควรดูแลไม่ให้ขึ้นรก ควรกำจัดออกอย่างสม่ำเสมอ หากปล่อยไว้จะแย่งอาหารของเห็ด ทำให้ได้ปริมาณเห็ดตับเต่าน้อย

เมื่อต้นโสนสูงประมาณ 2 เมตร จะเริ่มมองเห็นเห็ดตับเต่า ระหว่างนี้ดูแลด้วยการรดน้ำ กำจัดวัชพืช และคอยระวังแมลงที่จะมาทำลายต้นโสน หากปล่อยทิ้งไว้ให้กัดกินต้นโสนเสียหาย จะส่งผลต่อเห็ดตับเต่าที่เจริญเติบโตด้วย

คุณดนัย บอกว่า ในอดีตไม่พบโรคหรือแมลง แต่ปัจจุบันมีหนอนเข้ามาทำลายต้นโสนจำนวนมาก วิธีกำจัดของเกษตรกรคือ การจับหนอนออกจากแปลงเพียงวิธีเดียว

นอกจากนี้ โสนที่เจริญเติบโตขึ้นมา ควรถอนทิ้งบ้าง เพื่อให้มีช่องว่างระหว่างต้นให้แสงส่องถึงเห็ดตับเต่า จะช่วยให้เห็ดตับเต่าเจริญเติบโตได้ดี เมื่อเห็ดชุดแรกเจริญเติบโตขึ้น คุณดนัยและแม่จะไม่เก็บเห็ดตับเต่าชุดแรกจำหน่าย ปล่อยให้เห็ดตับเต่าบานแล้วเก็บมาหมักกับน้ำ ทำเป็นน้ำเชื้อสำหรับใช้บำรุง เพื่อเพิ่มปริมาณเห็ดตับเต่า ซึ่งการหมักใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์ บางสูตรหมักเห็ดตับเต่ากับเหล้าขาว หมักไว้ 1 สัปดาห์ แล้วนำไปรดให้ทั่วดงโสน จะช่วยเพิ่มปริมาณเห็ดตับเต่าได้เช่นกัน

คุณดนัย บอกว่า บางบ้านนำน้ำหมักเห็ดตับเต่าไปจำหน่าย มีคนมาซื้อไปเป็นหัวเชื้อเห็ดตับเต่า บ้างก็ขึ้นดี บ้างก็ไม่ขึ้น “โดยปกติจะเก็บเห็ดตับเต่าที่ตูมขายเท่านั้น เมื่อเห็ดตับเต่าบานจะขายไม่ได้ ทำให้มีช่วงระยะเวลาของการขายเห็ดตับเต่าที่น้อย ราคาจึงสูง แต่ระยะหลังเริ่มมีคนมารับซื้อเห็ดตับเต่าบานไปทำหัวเชื้อ ทำลูกบอลเห็ด เอาไว้ไปปลูก ซึ่งผมไม่รู้ว่านำไปปลูกแล้วจะขึ้นหรือไม่ขึ้นอย่างไร แต่ก็ช่วยให้เกษตรกรสามารถขายเห็ดตับเต่าที่บานแล้วได้ราคา จากเดิมที่เก็บไปทำน้ำหมักได้เพียงอย่างเดียว”

ในการเก็บเห็ดตับเต่าแต่ละครั้งได้มากถึงวันละ 40-50 กิโลกรัม ช่วงที่เห็ดเจริญเติบโตได้ดี เก็บได้มาก 80-90 กิโลกรัมต่อวัน เห็ดตับเต่าที่เก็บจำหน่ายได้จะเริ่มเก็บในปริมาณน้อยไปถึงมาก และค่อยๆ ลดจำนวนลง ในระยะเวลา 3-4 เดือน ที่เห็ดตับเต่าให้ผลผลิตเท่านั้น ราคาจำหน่ายต่ำสุด อยู่ที่กิโลกรัมละ 80 บาท โดยเฉลี่ยกิโลกรัมละ 100 บาท และเคยขายได้ราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 120 บาท เมื่อคิดมูลค่าของการจำหน่ายเห็ดตับเต่าในช่วงฤดูกาล ทำให้เกษตรกรมีรายได้เสริมที่ดีมากทีเดียว

การจำหน่าย จำหน่ายผ่านพ่อค้าที่มารับซื้อบริเวณใกล้เคียง ไม่ต้องกังวลว่าจะขายไม่ได้ เพราะพ่อค้าจากภาคอีสานมารอรับซื้อจำนวนมากในทุกฤดูกาล ทุกปี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จะจัดงานวันเห็ดตับเต่าขึ้น มีพ่อค้าแม่ค้าซึ่งเป็นเกษตรกรโดยตรงจากตำบลสามเรือน อำเภอบางปะอิน นำเห็ดตับเต่าไปจำหน่ายภายในงาน มีการประกวดเห็ดตับเต่า ซึ่งแปลงเห็ดตับเต่าของคุณดนัยเคยได้รับรางวัลมาแล้ว

แม้ว่าจะเป็นพืชท้องถิ่นที่เกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติ แต่ก็เป็นพืชชนิดหนึ่งที่สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรได้มาก แม้จะเป็นช่วงระยะเวลาสั้นๆ แต่ก็ทำให้เห็นว่าสร้างรายได้ได้เสมอ ที่บ้านสวนผสมผสาน สวนสุวรรณีปรางทอง ตำบลอ่างทอง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ของปราชญ์พื้นบ้าน อย่าง คุณลุงวิเชียร หรือ อาจารย์วิเชียร บุญเกิด ผู้คร่ำหวอดอยู่กับต้นหมากรากไม้มายาวนานกว่า 30-40 ปี ในพื้นที่ 17 ไร่ ปลูกไม้ผลผสมผสานเพื่อให้มีรายได้ตลอดปี แบ่งปลูกพืชหลักๆ เช่น มะนาวแป้นดกพิเศษกำแพงเพชร 500 ต้น มะยงชิด 250 ต้น (ละมุด 150 ต้น โดยแบ่งเนื้อที่ เพียง 2 ไร่ ปลูกห่าง 4 เมตร) มะขามป้อม 70 ต้น มีไม้ผลทั้งหมด 15 อย่าง อย่างละ 50 ต้น โดยประมาณ ทำให้มีรายได้หมุนเวียนตลอดปี

อาจารย์วิเชียร บุญเกิด กล่าวกับผู้เขียนว่า “กว่าจะถึงวันนี้ก็ลองผิดลองถูกมามากมาย แต่ด้วยความมุ่งมั่นและต่อสู้ อดทน ปัญหามีไว้แก้ ที่สวนเป็นเหมือนตำราเล่มใหญ่และอาจารย์ใหญ่ที่ทรงพลัง ที่อ่านไม่มีวันหมด”

ตอนนี้จะกล่าวถึงเรื่องเคล็ดลับการปลูกละมุดยักษ์ให้ประสบความสำเร็จ และลูกมีขนาดเท่าๆ กันทั้งสวน ภายในสวนอันร่มรื่น เต็มไปด้วยไม้ผลนานาชนิด ผลิตผลจากสวนของอาจารย์เป็นที่กล่าวขานของคนทั่วไปว่า ถ้าผลผลิตมาจากสวนสุวรรณีปรางทองนั้น นำไปเป็นของฝากได้เลย รับรองจากชื่อเสียงของเจ้าของสวนที่มีการรับผิดชอบต่อลูกค้าสูงมาก

“เราต้องการกินไปนานๆ ปากต่อปาก คือความรับผิดชอบ ของที่ออกจากสวนต้องได้คุณภาพตามภาพถ่าย เพราะผลไม้ต่างๆ เดี๋ยวนี้ในยุคโรคระบาด จะต้องส่งทางขนส่งเท่านั้น ผู้รับได้รับของแล้วเปิดดูนั่นแหละ ต่อไปเขาก็สั่งจากเรา ละมุดของผมถ้าสุกแล้วหมดภายในหนึ่งเดือน ปีต่อๆ ไปเขาก็สั่งมาอีกและเพิ่มลูกค้าขึ้นไปอีก เพราะเขาแนะนำกันต่อๆ ไป เพราะความซื่อสัตย์ของเรา สำคัญมากต่อการสร้างรายได้ให้ยั่งยืน” อาจารย์วิเชียร กล่าว

อาจารย์ปลูกละมุด 150 ต้น
“ครับผมปลูกยืนพื้น 150 ต้น แต่อาจจะเพิ่มหรือลดต้องดูตามสภาพ เช่น ผมจะควบคุมความสูงของต้น และปลูกค่อนข้างติดกัน โดยปลูกห่าง 4×4 เมตร สังเกต ดูต้นไม้ที่สวนผม ไม่มีไม้ค้ำยัน สาเหตุที่ปลูกติดกันเพราะกันเรื่องของการป้องกันลมแรงหรือพายุฤดูร้อน ถ้าต้นไหนมีอายุ 10 ปี ผมก็จะตัดแต่งให้ต้นเตี้ย หรือเรียกว่าทำสาว แต่ถ้าดูรูปทรงต้นแล้วไม่ค่อยสมบูรณ์ผมก็จะโค่นแล้วปลูกใหม่ เราต้องคอยดูด้วยว่าถ้าเขาให้ผลผลิตน้อยลงต้องทำสาว หรือตัดแต่ง อย่าเสียดาย ให้ตัดกิ่งก้านออกให้หมดเพื่อให้ละมุดแตกยอดใหม่แล้วบำรุงด้วยฮอร์โมนสาหร่ายทะเล ละมุดมีอายุยืน 40-50 ปี ถ้าพันธุ์พื้นเมืองเราอยู่ได้เป็นร้อยปี” อาจารย์บอก

ต้นละมุดได้จากการเสียบยอด มีอายุได้กี่ปี
ต้นละมุดนี่มีอายุยาวได้เลย 20-30 ปี หรือเป็น 50-60 ปี ยังไม่ตายกรณีที่เป็นต้นที่มีรากแก้ว เพียงแต่ว่าการคุมขนาดของผลอาจจะลดลงถ้าอายุของต้นมากเกินไป ที่สวนนี้ปลูกมา 13 ปี ประมาณปีที่ 10 ก็ตัดแต่ง หรือทำสาว หรือตอนก็จะได้ต้นละมุดที่แข็งแรงเหมือนเดิม ถือว่ารากเขาเดินเต็มที่ และรากแก้วยึดดินแล้ว

แหล่งที่มาของต้นพันธุ์
ต้นพันธุ์ส่วนใหญ่จะเป็นพันธุ์นำเข้ามาจากมาเลเซีย เวียดนาม โดยต้นพันธุ์เสียบยอด แต่ทางเวียดนามจะนำไปต่อยอด โดยการพัฒนาสายพันธุ์ให้มีขนาดใหญ่รูปทรงกลม บ้างก็เรียกว่า ละมุดสาลี่ ส่วนมาเลเซีย จะมีลักษณะของผลยาวรี แต่รสชาติทั้งสองอย่างระดับความหวานอยู่ที่หน่วยวัด เรียกว่า 18 บริกซ์ ทั้งคู่ (ถ้าหวานปกติ อยู่ที่ 16 บริกซ์) แต่จะได้ความละเอียดของเนื้อ การพัฒนาพันธุ์ก็ต้องให้ดีกว่าพันธุ์พื้นเมือง แต่พันธุ์พื้นเมืองก็ใช้ทำเป็นต้นตอ เพื่อความสำเร็จขั้นสูงเข้าไปอีก นั่นแหละเรียกว่าสายพันธุ์ละมุดที่ดี และเป็นที่ต้องการของตลาด ที่สวนจะปลูกสายพันธุ์เวียดนามและมาเลเซีย และนำเข้าสายพันธุ์จากเวียดนามโดยตรง การพัฒนาพันธุ์ของเวียดนามก้าวไกลไปมาก โดยมีการพัฒนาพันธุ์ต้นเดียวมีสองลักษณะ คือ กลมและยาวรี หมายถึงออกลูกเป็นสองขนาด แต่น้ำหนักเท่าๆ กัน ความหวานเหมือนกัน แต่ได้ความแปลกและผลใหญ่ทั้งคู่เป็นข้อดีด้านการตลาดที่ผู้บริโภคต้องการรูปลักษณ์ที่แตกต่างแต่อยู่ในต้นเดียวกัน และเป็นต้นพันธุ์ที่ใช้ต้นตอของละมุดพันธุ์พื้นเมืองเพราะต้านทานโรค และหาอาหารเก่ง

ขั้นตอนการเสียบยอด ให้ได้ต้นพันธุ์ที่แข็งแรง
การนำต้นพันธุ์พื้นเมืองเริ่มแรกจากการเพาะจากเมล็ดเพื่อให้ได้รากแก้ว เพาะใส่ถุงเพาะขนาดเล็ก ระยะเวลา 15-16 เดือน หรือ 1 ปีครึ่ง ถึงได้ขนาดที่พอเหมาะ นำมาเสียบยอดจากละมุดพันธุ์ดี พันด้วยพลาสติกอย่างดี มัดให้แน่นกันน้ำเข้า หุ้มด้วยถุงพลาสติก 45 วัน แล้วเปิดเจาะรู กว้างขนาดประมาณนิ้วก้อยลอดได้ ทิ้งไว้ 10 วัน ค่อยๆ แย้มเปิดถุงออก 3 วัน แล้วยกออก ไว้ในที่ร่มแดดรำไร หลังจากนั้นนำไปปลูกได้ ถ้าหน้าร้อนให้เวลามากกว่านี้ รักษาความชื้นให้มาก เขาว่าระยะสะดุ้งตัวรับแสง ก็จะได้ต้นพันธุ์เสียบยอด นำออกมาเปิดปากถุงอีก 2 สัปดาห์ ก็นำไปปลูกได้เลย

การควบคุมขนาดของผลผลิต ให้มีขนาดเท่าๆ กัน
เป็นสิ่งสำคัญในเชิงการค้าในปัจจุบันต้องมีการคัดไซซ์ แต่นี่แหละเคล็ดลับคือการปลูก อายุของต้นไม่ควรเกิน 15 ปี ต้องตอนหรือทำสาวเพื่อให้ได้ขนาดของลูกใหญ่ และปลูกห่างกันไม่มากเพื่อกันลมให้กันและกัน

หากลำต้นแกว่งมากก็มีผลในระยะออกดอก ดอกจะร่วง และเด็ดผลละมุดที่เบียดกันทิ้ง 1 ผล ให้เหลือไว้ผลเดียว เพื่อขนาดของลูกและป้องกันหนอนเจาะ สายพันธุ์ก็สำคัญเช่นกัน ถ้าก้านละมุดยาวมากและเล็กก็จะอุ้มน้ำหนักของผลไม่ไหว

การเลือกสายพันธุ์ปลูก ก็มีส่วนสำคัญมากเป็นพื้นฐานของการเริ่มปลูก ได้สายพันธุ์ดี เป็นที่ต้องการของตลาดก็คุ้มค่า เพราะละมุดจะให้ผลผลิตตลอดปี จะมากหรือน้อยแล้วแต่ฤดูกาล ในช่วงเดือนเมษายนถึงพฤษภาคมของบ้านเรา จะเป็นช่วงให้ผลผลิตสูง หรือเป็นฤดูกาลของละมุด

อาจารย์ขายผลผลิตทางออนไลน์
ขายทั้งออนไลน์และมีพ่อค้าขาประจำมารับซื้อที่สวน อาจารย์ขายส่งกิโลละ 50-55 บาท ไม่เกิน 4 ลูก (มีขนาด 3-4 ลูก ต่อกิโลกรัม) ลูกค้าจะโทร.จองและสั่งล่วงหน้า เจ้าของส่งทั่วประเทศ ละมุด หลังจากเก็บจากต้นแล้วต้องนำมาล้างไคลที่เป็นขุยออกเพื่อให้ลูกสะอาด สวยงาม แล้วนำมาบ่มด้วยก้อนแก๊สแบบโบราณ ส่งถึงมือลูกค้าภายใน 2 วัน ก็กินได้พอดี ส่วนมากลูกค้าสั่งอย่างน้อยคนละ 10 กิโลกรัม อาจารย์ส่งขั้นต่ำ 5 กิโลกรัม แพ็กใส่กล่องซีลอย่างดี เดี๋ยวนี้การขนส่งทันสมัย การปรับตัวของชาวสวนยิ่งได้เปรียบทั้งคนขายและลูกค้า เพราะได้ราคาต้นทุนจากสวนเลย ยุคโควิด-19 ระบาด สินค้าเกษตรยิ่งขายดี ขอให้เราสร้างความเชื่อถือ ความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์ เงินทองไหลมาเอง สินค้าไม่ดีอย่าส่งให้ลูกค้าแม้แต่ลูกเดียว

ข้อดีของการขยายพันธุ์ โดยการเสียบยอด
มีข้อดีหลายอย่าง เช่น ต้นไม้จะไม่สูงมากเหมือนปลูกแบบธรรมชาติ การดูแลผลผลิตรวมถึงการเก็บเกี่ยวก็ง่าย ลำต้นไม่ล้มง่ายเพราะมีรากแก้ว สามารถเสริมรากให้แข็งแรง ลำต้นโตเร็วได้ภายใน 6 เดือน ถึง 1 ปี เหมาะสำหรับเกษตรกร เพราะประหยัดค่าใช้จ่ายในการเก็บเกี่ยว

การปลูกก็ห่าง 4×4 เมตร การใส่ปุ๋ยก็ปุ๋ยคอกดีที่สุด เสริมด้วยฮิวมัส หรือดินโป่ง หมั่นพรวนดินโคนต้นเพื่อป้องกันแมลงหรือหนอนเจาะโคนต้น การปลูกละมุดไม่จำเป็นต้องขุดร่อง แม้กระทั่งปลูกใส่กระถางก็ยังได้ แต่ปลูกเหมือนไม้กระถางต้องใช้กระถางใหญ่หน่อยก็จะดีเผื่อรากเดินสะดวก

โรคของละมุด และการดูแล
เรื่องของโรค ระวังเรื่องหนอนเจาะโคนต้น สังเกตได้ง่าย จะมีรอยกัดโคนต้นเป็นขุย หรือก้อนเล็กๆ คล้ายมูลของหนอน และน้ำยางละมุดจะซึมออกมา ก็ใช้ยาฉุนอัดเข้าไปตรงรอยแผล หรือบางคนใช้ทางลัดโดยการใช้สเปรย์กระป๋องสำหรับฉีดมด ฉีดเข้าไปตามรอยแผล โรคอย่างอื่นแทบจะไม่มี ละมุดปลูกง่าย และเป็นพืชทนแล้งได้ดีอีกด้วย แต่ก็ให้น้ำบ้างถ้าภาวะแล้งจัด แต่หน้าฝนก็ระวังเรื่องโรคราน้ำค้าง แก้โดยฉีดพ่นด้วยน้ำส้มควันไม้

หนอนเจาะผลละมุด โดยหนอนจะเข้าเจาะผลเป็นรู หลังจากการสำรวจของเจ้าหน้าที่พบว่า ส่วนมากจะเกิดขึ้นกับละมุดที่มีผลเบียดกัน และสวนที่ปลูกแบบปลอดสารเคมี แก้โดยเก็บผลที่หนอนเจาะทำลายจนเสียหายไปทำลายเพื่อตัดวงจรตัวหนอน และตัดแต่งกิ่งทรงพุ่มให้โปร่ง กำจัดวัชพืชในแปลงเพื่อลดที่อยู่ของการวางไข่ของผีเสื้อกลางคืน โคนต้นต้องไม่มีวัชพืช ผลที่เบียดกันก็เด็ดทิ้ง ถ้าระบาดมากก็ฉีดพ่นด้วยสารสะเดา

ปลูก 150 ต้น ในเนื้อที่ 2 ไร่ ก็ทำเงินได้แล้ว
การปลูกละมุด หรือทำสวนละมุดเป็นการลงทุนครั้งเดียวแต่อยู่ได้หลายปี ในกรณีมีที่ 2-3 ไร่ ก็ปลูกเป็นการค้าได้ เพียงแต่ระยะแรกก็ใช้เวลาในการเริ่มต้นการปลูก 2-3 ปี ถึงจะให้ผลผลิต ละมุดเป็นพืชทนแล้ง และต้านทานโรคได้ดี การดูแลไม่มาก เหมาะสำหรับทำการเกษตรคนเดียว หรือทำแบบครัวเรือน

“ผมแบ่งเนื้อที่ปลูกละมุด 2 ไร่ 150 ต้น ต้นที่มีอายุ 7 ปีขึ้นไป จะให้ผลผลิต 50-60 กิโลกรัม ต่อต้น ละมุดจะให้ผลผลิตมาก หรือฤดูกาลคือเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม นอกนั้นให้ผลผลิตประปรายแต่ออกลูกทั้งปี ราคาขายละมุดยักษ์ขายส่งจากสวน กิโลกรัมละ 50-55 บาท รายได้เฉลี่ยอยู่ที่ 2,750 บาท ต่อต้น x 150 ต้น = รายได้เฉลี่ย 375,000 – 412,500 บาท ต่อปี ในช่วงเดือนเมษายน ถึงพฤษภาคม นอกนั้นก็มีประปราย ขายบ้าง ให้ผู้ที่มาชมสวนได้กินบ้าง ละมุดดูแลง่าย ปลูกแบบลืมๆ ก็ให้ผลผลิต การให้น้ำก็ไม่บ่อย บางครั้งก็ปล่อยไปตามธรรมชาติ ไม่จำเป็นต้องให้น้ำทุกวัน การปลูกละมุดเป็นการค้าเหมาะสำหรับผู้ที่มีเวลาน้อยแต่ต้องการมีรายได้เสริม หรือวัยเกษียณ เพราะละมุดไม่ต้องดูแลมาก เพียงเท่านี้ก็ทำเงินได้แล้ว” อาจารย์อธิบาย

เมืองไทยเราเป็นเมืองเกษตรกรรม การเกษตรปัจจุบันเป็นอาชีพที่ยั่งยืน ขอเพียงแต่ที่ดินควรจะมีแหล่งน้ำ ก็ถือว่าพื้นที่นั้นสร้างอาชีพได้ ผมมีประสบการณ์ด้านไม้ผล เพียงแต่การบริหารจัดการภายในสวนให้เป็นระบบและคอยกำจัดวัชพืชสม่ำเสมอ พืชบางอย่างก็ต้องการความโปร่งของโคนต้น ถ้าต้นไม้มีอายุหลายปี อย่างน้อย 5 ปีขึ้น พื้นที่โคนต้นต้องโปร่งเพื่อให้แสงแดดส่องเข้าถึง เพราะต้นไม้ก็ต้องการอากาศและแสงแดด แต่ถ้าเริ่มปลูกภายใน 2-3 ปี พวกหญ้าวัชพืชก็เก็บไว้ได้บ้างเพื่อคลุมดินรักษาความชื้น

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สวนสุวรรณีปรางทอง โดย อาจารย์วิเชียร บุญเกิด เลขที่ 161/2 หมู่ที่ 1 ตำบลอ่างทอง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร 62000 โทร. 085-244-1699

ผมเองเป็นผู้ที่ชื่นชอบรับประทานก๋วยเตี๋ยวมาก (ยกเว้นก๋วยเตี๋ยวเนื้อ) บาคาร่ายูฟ่า มากชนิดที่เจอที่ไหนไม่ได้ต้องแวะชิมให้รู้ดำรู้ดีกันไปว่ามีรสชาติที่พอจะเข้าเทียบท่าไหนได้ (ฮา) แต่ต้องออกตัวก่อนว่าไม่ใช่นักชิมมืออาชีพ และรสชาติที่คุ้นเคยมากจนทำให้การรับประทานเกิดรสชาติแซ่บ คือ ต้องเผ็ด (แบบไม่โหด) ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นก๋วยเตี๋ยวประเภทใดจึงต้องเผ็ดนำไว้ก่อน

จำได้ว่าเมื่อหลายสิบปีก่อนมีก๋วยเตี๋ยวประเภทหนึ่ง ที่ให้ชื่อว่า “ก๋วยเตี๋ยวหมูพริกกะเหรี่ยง” ขายอยู่หลายแห่ง ถือว่าเป็นก๋วยเตี๋ยวที่มีความอร่อยตรงพริกปรุงที่นำพริกกะเหรี่ยงมาใช้ ทำให้รสชาติหอม น้ำซุปรสเด็ดจัดจ้าน ปัจจุบัน ก๋วยเตี๋ยวพริกกะเหรี่ยง ยังคงมีจำหน่ายอยู่แต่ไม่แพร่หลายเหมือนก่อน ค่อนข้างหารับประทานยาก หากท่านผู้อ่านพบเห็นที่ใดในเขตกรุงเทพฯ แบบที่ขายดิบขายดีช่วยอนุเคราะห์ส่งข้อมูลแหล่งที่พบมาตามอีเมลด้านบนด้วย ขอขอบพระคุณมาล่วงหน้า และจักเป็นพระคุณยิ่ง พริกกะเหรี่ยง ไม่ใช่พริกขี้หนูสวน ชอบแสงแดดจัดการปลูกพริกกะเหรี่ยงของคนกะเหรี่ยงจะปลูกแบบพืชไร่โดยการเอาเมล็ดพริกผสมกับเมล็ดพืชอื่นๆ อาทิ เมล็ดฟัก แฟง แตงกวา ฯลฯ หว่านในไร่ หลังจากที่หยอดเมล็ดข้าวไปแล้วเมล็ดข้าวงอกก่อนและเป็นร่มเงา ให้ต้นกล้าผักซึ่งรวมถึงต้นกล้าพริกด้วย ระหว่างที่รอต้นข้าวให้ผลผลิตชาวกะเหรี่ยงจะได้กินผักชนิดต่างๆ เป็นอาหาร เมื่อเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จต้นพริกกะเหรี่ยงอยู่ในระหว่างออกดอกและติดผลพอดี ชาวกะเหรี่ยงทยอยเก็บเกี่ยวพริกกะเหรี่ยงได้ต่อเนื่อง 5-6 เดือน

ชาวกะเหรี่ยงบอกถึงคุณลักษณะที่เด่นเฉพาะตัวของพริกกะเหรี่ยง คือ ต้องปลายแหลม ก้นโต สีส้มจัด (ไม่แดงคล้ำ) เผ็ดแต่ไม่แสบลิ้นและมีกลิ่นหอม พริกกะเหรี่ยงมีความทนทานต่อสภาพแวดล้อม มีลำต้นใหญ่ การแตกแขนงดี สามารถเก็บผลผลิตติดต่อกันได้ระยะเวลานาน นิยมแปรรูปเป็นพริกแห้งโดยใช้พริกกะเหรี่ยงสด 3 กิโลกรัม เมื่อเป็นพริกแห้งได้น้ำหนักเฉลี่ย 1-1.3 กิโลกรัม ปัจจุบัน โรงงานที่ผลิตซอสพริกนิยมนำเอาพริกกะเหรี่ยงแห้งไปปั่นผสมกับพริกหนุ่มเขียวเพื่อเพิ่มความเผ็ดและมีกลิ่นหอม

คุณชาติ และคุณเสน่ห์ สามีภรรยา ตระกูลจันทร์คงวงษ์ อยู่บ้านเลขที่ 6/2 บ้านสำนักเย็น ตำบลพระแท่น อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี มีอาชีพทำไร่ทำสวน อยู่เพียงลำพังสองคน เพราะบรรดาลูกต่างหันหลังให้กับอาชีพที่สร้างรายได้มาตั้งแต่บรรพบุรุษ