ในการทำนาจะไม่ใช้สารเคมี นำเกษตรอินทรีย์เข้ามาใช้

เรียนรู้บนเส้นทางของเกษตรพอเพียง ค้นสูตรปุ๋ยชีวภาพเอง ผสมโน่นผสมนั่น ศึกษาหาข้อมูล พยายามหาข้อมูลตามหน่วยงานต่างๆ เพื่อหาข้อมูลมาปรับใช้ในชุมชน โดยจากการหาข้อมูลทางคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีการนำชีวภาพมาใช้ ตนจึงทำเรื่องไปที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี อาจารย์และทีมงาน และลงพื้นที่สำรวจ และเข้ามาทำการวิจัยและทดลองนวัตกรรมชีวภาพจากความหลากหลายทางชีวภาพเชื้อราปฏิปักษ์ (หัวเชื้อจุลินทรีย์นาโน) มาใช้นาข้าว ปาล์ม และได้เข้ามาบริการองค์ความรู้ให้กับศูนย์อีกด้วย

ความแตกต่างของการใช้สารเคมีและสารชีวภาพ สำหรับการทำนาข้าว จากที่ลงทุน 5,000 บาท/ไร่ เหลือเพียง 1,700-2,200 บาท/ไร่ ได้ปริมาณข้าวเปลือก 1 ไร่/1 ตัน เม็ดข้าวมีคุณภาพดี ไม่ลีบแบน เพิ่มการแปรรูปข้าวเปลือกเป็นข้าวขาวเพิ่มรายได้ ซึ่งภายในศูนย์การเรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ตำบลบึงกาสาม มีเครื่องสีข้าว ตนจะนำข้าวที่ได้มาสีเพื่อนำไปขาย โดยชาวบ้านในชุมชนนำข้าวเปลือกมาสี คิดกิโลกรัมละ 2 บาท ข้าวเปลือกสีเป็นข้าวขาวเพิ่มรายได้จาก 8,500 เป็น 35,000 บาท ต่อเกวียน และที่สำคัญเมื่อได้รายได้หรือใช้จ่ายมาแต่ละครั้ง ต้องมีการทำบัญชีรายรับ รายจ่าย

“ไม่มีใครรู้ล่วงหน้าว่าราคาสินค้าเกษตรจะเป็นอย่างไร อยากให้เกษตรลดต้นทุนให้ได้มากที่สุด หันมาใช้เกษตรอินทรีย์ ลดการใช้สารเคมี ส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อม”

ปี 2553 ได้รับรางวัลหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง เมื่อปี 2556 ศูนย์การเรียนรู้ดีเด่น จากกรมส่งเสริมเกษตรกร และทางชุมชนยังเข้าร่วมโครงการยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน หมู่ที่ 7 บึงกาสาม จังหวัดปทุมธานี แบบมีส่วนร่วมเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุกาญจน์ รัตนเลิศนุสรณ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี หัวหน้าโครงการ เปิดเผยว่า เมื่อปี 2556 ได้ลงพื้นที่ในการสำรวจสภาพปัญหาและความต้องการของชุมชน หมู่ที่ 7 บึงกาสาม พบว่า ดินมีสภาพเป็นกรด มีค่า pH 3-4 สภาพของดินแข็ง ไม่ร่วนซุย เนื่องมาจากการใช้สารเคมี ในการเพิ่มปริมาณธาตุอาหารหลักและรองในดิน กำจัดโรคพืช กำจัดศัตรูแมลง ต้นทุนสูงแต่ได้ผลผลิตต่ำ อีกทั้งผลผลิตมีสารโหละหนักปนเปื้อน ไม่ได้มาตรฐาน GAP ผลผลิตเกษตรอินทรีย์ของกรมวิชาการเกษตร เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น

“เราได้คิดค้นนวัตกรรมชีวภาพจากความหลากหลายชีวภาพปฏิปักษ์จากดินในชุมชน โดยนำหลักการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาบูรณาการเพื่อการถ่ายทอดเทคโนโลยีชีวภาพด้วยนวัตกรรมจากความหลากหลายทางชีวภาพเชื้อราปฏิปักษ์ (หัวเชื้อจุลินทรีย์นาโน) เมื่อเห็นผลที่ออกมา ดีใจที่ได้ช่วยแก้ปัญหาให้เกษตรกรและเห็นเกษตรกรมีผลผลิตรายได้ กำไร ลดต้นทุน ความเป็นอยู่ดีขึ้นและเพิ่มขึ้น และมีการแบ่งปันให้กลุ่มเกษตรกรมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ปีนี้พบว่า เกษตรกรเพิ่มผลผลิตจากเดิม 2 เท่า เพิ่มการแปรรูปเป็นข้าวกล้อง ข้าวขาว ขอใบรับรอง GAP ขยายตลาดกว้างขวางมากขึ้น นอกจากทางมหาวิทยาลัยยังได้ไปบริการวิชาการให้เกษตรกรตามที่ต่างๆ เช่น กลุ่มเกษตรกรสวนปาล์มกระบี่ เกษตรกรผลไม้ทุเรียน ลำไย จันทบุรี ตราด อีกด้วย”

สับปะรด เป็นผลไม้ที่น่ารับประทาน ไม่ว่าจะเป็นคนไทยหรือชาวต่างประเทศ ต่างก็ชอบรับประทาน ทั้งแปรรูปและผลสด ถึงแม้ว่าสับปะรดจะไม่มีชื่อเสียงโด่งดัง เช่น ทุเรียน หรือมังคุด แต่ประเทศไทยก็เป็นประเทศที่ผลิตสับปะรดมากเป็นอันดับต้นๆ ของโลก หรือราว 12% ของผลผลิตทั้งโลก

จากรายงานของกรมศุลกากร ปี 2554 ประเทศไทยส่งออกสับปะรดสดและสับปะรดแปรรูปต่างๆ รวมแล้วประมาณ 0.85 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 21,279 ล้านบาท อาจกล่าวได้ว่าสับปะรดเป็นสินค้าเกษตรที่มีปริมาณการผลิตและการส่งออกสูงเป็นอันดับ 1 ของโลก

จากปริมาณความต้องการสับปะรดของโลกที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดการขาดแคลนวัตถุดิบที่จะป้อนเข้าสู่โรงงานแปรรูปและโรงงานส่งออกสับปะรดในรูปของสับปะรดกระป๋องเป็นประจำ ดังนั้น ภาคเอกชนหรือโรงงานจึงแนะนำให้เกษตรกรหันมาปลูกสับปะรดใหม่ทุกครั้งหลังจากการเก็บเกี่ยวผลผลิต เพราะจะทำให้ผลของสับปะรดที่ได้มีขนาดสม่ำเสมอและขายได้ราคา

คุณทวีศักดิ์ แสงอุดม นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า สับปะรดที่นิยมปลูกเป็นการค้า จะมีอยู่ 2 กลุ่ม คือ พันธุ์ที่สำหรับส่งโรงงาน เรียกสั้นๆ ว่าสับปะรดโรงงาน ส่วนใหญ่จะเป็นพันธุ์ปัตตาเวีย และพันธุ์นางแล หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า สับปะรดภูแล

“พันธุ์ภูแล ถึงแม้ว่าจะอยู่กลุ่มเดียวกับสับปะรดโรงงาน แต่ก็จะเป็นสับปะรดที่นำมาบริโภคสด พันธุ์ภูแลจะปลูกกันทางภาคเหนือ ที่ ตำบลนางแล อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นแหล่งปลูกที่เหมาะสมที่สุด”

อีกกลุ่มหนึ่งเป็นพันธุ์ที่เรารู้จักกันดี คือ พันธุ์สวี ภูเก็ต และตราดสีทอง เป็นพันธุ์ที่ใช้บริโภคสดเช่นเดียวกัน ไม่สามารถนำมาทำสับปะรดกระป๋องได้ เพราะเนื้อไม่แน่น พันธุ์สวีจะมีผลสั้นกว่าพันธุ์ภูเก็ตและตราดสีทอง

คุณทวีศักดิ์ กล่าวอีกด้วยว่า จังหวัดภูเก็ต เป็นแหล่งปลูกสับปะรดที่เหมาะสมสำหรับพันธุ์ภูเก็ต จังหวัดตราดก็เหมาะสมกับพันธุ์ตราดสีทอง และอำเภอสวี จังหวัดชุมพร ก็เป็นแหล่งที่เหมาะสมกับการปลูกสับปะรดพันธุ์สวี

การปลูกสับปะรดส่งป้อนโรงงานอุตสาหกรรมสับปะรดกระป๋องซึ่งเป็นพันธุ์ปัตตาเวีย จะมีพื้นที่ปลูกทางภาคตะวันตก ได้แก่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ราชบุรี รวมพื้นที่ปลูกประมาณ 300,000 กว่าไร่ อีกประมาณ 200,000 ไร่ จะอยู่ทางภาคตะวันออก ได้แก่ จังหวัดชลบุรี ระยอง ซึ่งจะมีโรงงานอุตสาหกรรมสับปะรดรองรับทั้ง 2 ภาค

สำหรับทางภาคใต้ แถวจังหวัดชุมพร พัทลุง ภาคเหนือ ได้แก่ ลำปางและอุตรดิตถ์ จะนิยมปลูกพันธุ์ปัตตาเวียสำหรับบริโภค การปลูกส่งโรงงานต่างจากการปลูกเพื่อบริโภคสด

คุณทวีศักดิ์ อธิบายว่า การปลูกสับปะรดส่งโรงงาน ทางโรงงานต้องการสับปะรดที่มีน้ำหนัก ประมาณ 1-2 กิโลกรัม ต่อผล แบ่งตามเส้นผ่าศูนย์กลางเป็น 2 ขนาด คือสับปะรดคุณภาพชั้นหนึ่ง ต้องมีเส้นผ่าศูนย์กลางผล 10.5-15.5 เซนติเมตร ความยาวผลต้องไม่น้อยกว่าเส้นผ่าศูนย์กลางของผลสับปะรด

ส่วนคุณภาพชั้นสอง เส้นผ่าศูนย์กลางผลต้องอยู่ระหว่าง 9.0-10.0 เซนติเมตร ถ้าใหญ่กว่านี้ จะถูกคัดขายไปเป็นสับปะรดสำหรับบริโภค การปลูกเพื่อบริโภคสด เกษตรกรจะปลูกให้มีผลใหญ่ต่างจากการปลูกส่งโรงงาน ซึ่งต้องการให้มีผลสม่ำเสมอทั่วทั้งแปลง ต้องการผลเล็กจึงต้องปลูกจำนวนต้นต่อพื้นที่ค่อนข้างมาก

ที่มาของการคิดประดิษฐ์เครื่องปลูกสับปะรด

เนื่องจากโรงงานอุตสาหกรรมสับปะรดกระป๋อง ต้องการสับปะรดจำนวนมากและต้องมีผลขนาดสม่ำเสมอ จึงแนะนำให้เกษตรกรปลูกใหม่หลังจากการเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วทุกครั้ง เพราะสับปะรดที่ได้จะมีขนาดสม่ำเสมอกัน ถึงแม้ว่าการปลูกให้ได้ขนาดจะมีวิธีบังคับ โดยจำนวนที่ปลูกก็ตาม คือ ปลูกประมาณ 8,000-10,000 ต้น ต่อไร่ จะได้ผลสับปะรดขนาดหรือไซซ์ ประมาณ 1-2 กิโลกรัม

เนื่องจากพื้นที่ปลูกสับปะรดส่งโรงงานส่วนใหญ่จะเป็นที่ราบแปลงใหญ่ และการปลูกสับปะรดจะเป็นการใช้แรงงานคนทั้งหมด ตั้งแต่การยกร่อง การเตรียมดิน การใส่ปุ๋ย การขนย้ายหน่อสับปะรด รวมทั้งการปลูก การเก็บเกี่ยว ยกเว้นขั้นตอนการเตรียมดินซึ่งใช้รถแทรกเตอร์ติดจานผาล นอกนั้นใช้แรงงานคนทั้งหมด

คุณวุฒิพล จันสระคู วิศวกรการเกษตรชำนาญการพิเศษ ศูนย์วิจัยเกษตรวิศวกรรมขอนแก่น สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม กรมวิชาการเกษตร หัวหน้าคณะทำงานประดิษฐ์และพัฒนาเครื่องปลูกสับปะรด กล่าวว่า ปัญหาแรงงานภาคการเกษตรของไทยในปัจจุบันมีจำนวนลดลง และค่าแรงงานก็มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ค่าแรงงานการผลิตสับปะรดคิดเป็น 37% ของต้นทุนค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการผลิตสับปะรด โดยคิดเป็นต้นทุนค่าแรงงานในการเก็บเกี่ยวสับปะรดถึง 65% ของต้นทุนค่าแรงงานทั้งหมด ต้นทุนค่าแรงปลูก 9% และต้นทุนค่าแรงงานในการเตรียมดิน 8%

คุณวุฒิพล กล่าวต่ออีกว่า การที่คิดประดิษฐ์คิดสร้างเครื่องปลูกสับปะรดนี้ขึ้นมา เนื่องจากนักวิชาการเกษตรจากสถาบันวิจัยพืชสวน ไปได้หารือกับ คุณอัคคพล เสนาณรงค์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม กรมวิชาการเกษตร ให้ช่วยหาแนวทางในการพัฒนาและประดิษฐ์เครื่องทุ่นแรงในการปลูกสับปะรด เพื่อช่วยเกษตรกรแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ประหยัดเวลาในการปลูกและประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาว

ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม จึงได้มอบให้ศูนย์วิจัยเกษตรวิศวกรรมขอนแก่นดำเนินการออกแบบและสร้างต้นแบบเครื่องปลูกสับปะรดดังกล่าว

แนวคิดการสร้างเครื่องต้นแบบ

คุณวุฒิพล บอกว่า สร้างโดยเลียนแบบพฤติกรรมการปลูกสับปะรดของเกษตรกร ซึ่งมีวิธีปลูกอยู่ 2 แบบ คือ ปลูกโดยใช้หน่อและปลูกโดยใช้จุก แต่การปลูกโดยใช้หน่อจะให้ผลผลิตดีกว่า และเกษตรกรนิยมปลูกโดยใช้หน่อมากกว่า

“เราจึงยกเอาวิธีการปลูกโดยใช้หน่อมาเป็นแนวคิดในการพัฒนาเป็นเครื่องต้นแบบ คณะผู้วิจัยพิจารณาเห็นว่า การออกแบบและพัฒนาเครื่องปลูกสับปะรดแบบพ่วงท้ายรถแทรกเตอร์สำหรับใช้ในระดับเกษตรกร โดยใช้หน่อสับปะรดที่ผ่านการคัดขนาดแล้ว และเครื่องปลูกแบบที่ใช้หน่อปลูกจะใช้แรงงานเพียง 2-3 คน ก็สามารถช่วยให้เกษตรกรทำงานได้เร็วขึ้น และลดปัญหาการใช้แรงงานได้อีกด้วย”

ศึกษารูปแบบการปลูกสับปะรดของเกษตรกร

รูปแบบที่หนึ่ง การปลูกแบบแถวเดี่ยว ใช้ระยะปลูกระหว่างต้น 30-50 เซนติเมตร ระหว่างแถว 75-100 เซนติเมตร พื้นที่ 1 ไร่ จะปลูกได้ประมาณ 6,000-10,000 ต้น การปลูกวิธีนี้ปลูกเพื่อจำหน่ายผลสด เพราะให้ผลใหญ่ ให้หน่อมาก และไว้หน่อให้ออกผลสืบแทนต้นแม่ได้หลายรุ่น แต่ก็มีข้อเสียคือให้ผลผลิตต่อไร่ต่ำ เปลืองเนื้อที่ เปลืองแรงงาน เปลืองค่าใช้จ่ายในการกำจัดวัชพืช และการทรงตัวของลำต้นไม่ดี

รูปแบบที่สอง การปลูกแบบแถวคู่ ใช้ระยะปลูกระหว่างต้น ประมาณ 25-30 เซนติเมตร ระหว่างแถวประมาณ 50 เซนติเมตร สลับฟันปลาระยะระหว่างแถวของคู่ 70-100 เซนติเมตร ใน 1 ไร่ จะปลูกได้ประมาณ 6,500-8,000 ต้น บางแห่งอาจถึง 10,000 ต้น แล้วแต่ความต้องการของโรงงานว่าต้องการผลขนาดใด

เมื่อศึกษารูปแบบการปลูกสับปะรดทั้ง 2 แบบแล้ว เห็นว่าการปลูกแบบแถวคู่เป็นวิธีที่เหมาะสำหรับการปลูกเพื่อจำหน่ายให้แก่โรงงานอุตสาหกรรม เพราะให้ผลขนาดเล็กตามความต้องการของโรงงานและให้ผลผลิตต่อไร่สูง เสียค่าใช้จ่ายแรงงานและเวลาในการกำจัดวัชพืชน้อยกว่าการปลูกแบบแถวเดี่ยว การทรงตัวของลำต้นดี เพราะต้นสับปะรดจะเจริญเติบโตเบียดเสียดพยุงกันไว้ไม่ให้ล้ม

เมื่อศึกษารูปแบบการปลูกสับปะรดทั้ง 2 แบบแล้ว เห็นว่าการปลูกแบบแถวคู่เป็นวิธีเหมาะสำหรับปลูกเพื่อจำหน่ายให้แก่โรงงาน คณะผู้วิจัยจึงได้ออกแบบและสร้างต้นแบบเครื่องปลูกสับปะรด เป็นแบบพ่วง 3 จุด ท้ายรถแทรกเตอร์ขนาดกลาง 39-50 แรงม้า มีกระบะสำหรับใส่หน่อสับปะรด 2 กระบะ อยู่ด้านข้าง ข้างละ 1 กระบะ มีคนนั่งป้อนหน่อสับปะรดซ้าย-ขวา ข้างละ 1 คน เพื่อให้สามารถหยิบหน่อสับปะรดใส่ท่อลำเลียงได้สะดวก กระบะ 2 กระบะนี้ สามารถบรรจุหน่อสับปะรดได้กระบะละไม่ต่ำกว่า 200 หน่อ

สำหรับหน่อสับปะรดที่ใช้ปลูก จะต้องตัดแต่งยอดให้สม่ำเสมอ มีความยาว 30-50 เซนติเมตร และคัดขนาดหน่อให้มีน้ำหนักใกล้เคียงกัน ระหว่าง 300-500 กรัม

อุปกรณ์ป้อนหน่อสับปะรด

เรียกว่า อุปกรณ์ลำเลียงสับปะรด มีลักษณะเหมือนลูกโม่ปืน มีจำนวน 2 ลูก ทำจากท่อพีวีซี ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 นิ้ว ความสูงของท่อพีวีซี 60 เซนติเมตร ในแต่ละลูกโม่มีท่อพีวีซี จำนวน 9 อัน มีระบบถ่ายทอดกำลัง โดยใช้ล้อขับเคลื่อนส่งกำลังผ่านชุดเฟืองขับอุปกรณ์ป้อนลำเลียงหน่อสับปะรด ขนาดล้อเส้นผ่าศูนย์กลาง 60 เซนติเมตร เพื่อกำหนดระยะระหว่างต้น ประมาณ 30-40 เซนติเมตร

ตัวเปิดร่องปลูก เป็นแบบขาไถป้อนส่งหน่อสับปะรดผ่านท่อพีวีซี กลบดินและหน่อสับปะรดโดยใช้ผาลจาน ขนาด 10 นิ้ว จำนวน 2 ผาล กลบดินที่หน่อสับปะรด กระบะสำหรับบรรจุหน่อสับปะรดบรรจุได้ครั้งละไม่ต่ำกว่า 400 หน่อ (กระบะละ 200 หน่อ)

“เราได้ทำการทดสอบต้นแบบเครื่องปลูกสับปะรดแบบพ่วงท้ายรถแทรกเตอร์ในหลายจังหวัด ได้แก่ แปลงปลูกของศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรหนองคาย แปลงปลูกสับปะรดของเกษตรกรที่อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย แปลงปลูกสับปะรดของเกษตรกรที่จังหวัดขอนแก่น และจังหวัดเพชรบุรี จากผลงานวิจัยและพัฒนาเครื่องปลูกสับปะรดแบบพ่วงท้ายรถแทรกเตอร์ขนาดเล็ก 30-50 แรงม้า ปลูกแบบแถวคู่ โดยใช้หน่อที่ตัดแต่งยอดให้สม่ำเสมอ ให้มีความยาว 30-50 เซนติเมตร น้ำหนักหน่อขนาดที่ใกล้เคียงกัน คือในช่วง 300-500 กรัม กระบะบรรจุหน่อสับปะรด 2 ข้าง ซ้าย-ขวา บรรจุข้างละประมาณ 200 หน่อ

มีกระบะ สำหรับใส่หน่อสับปะรดเตรียมปลูก 2 กระบะ อยู่ด้านข้างซ้าย-ขวา
เครื่องปลูกสับปะรดมีความสามารถในการทำงาน 0.63 ไร่ ต่อชั่วโมง ที่ความเร็วขับเคลื่อน 0.28 เมตร ต่อวินาที อัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง 2.15 ลิตร ต่อไร่ ประสิทธิภาพปลูก 96.05% หน่อมีความเอียง 72.02 องศา จากแนวระนาบ ความลึกการปลูกเฉลี่ย 16.20 เซนติเมตร ระยะห่างระหว่างต้นเฉลี่ย 34.80 เซนติเมตร ระยะห่างระหว่างแถวเฉลี่ย 105 เซนติเมตร

คุณวุฒิพล บอกว่า เกษตรกรที่จะซื้อเครื่องปลูกสับปะรดมาใช้งาน ควรมีพื้นที่ปลูกหรือรับจ้างปลูกไม่ต่ำกว่า 58.47 ไร่ ต่อปี และต้องใช้งานเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 7 ปี จะคุ้มมากกว่าการจ้างแรงงานปลูก ในกรณีที่เกษตรกรมีพื้นที่การใช้งาน 150 ไร่ ต่อปี ถ้าเลือกใช้เครื่องปลูกสับปะรดจะมีต้นทุนในการทำงาน 730.83 บาท ต่อไร่ ซึ่งถูกกว่าการจ้างแรงงานปลูกถึง 149.17 บาท ต่อไร่ เมื่อใช้เครื่องปลูกสับปะรดแทนการจ้างแรงงานคนปลูก

“จากการศึกษา พบว่า ต้นทุนในการใช้งานของเครื่องปลูกสับปะรดจะลดลง เมื่อพื้นที่การใช้งานมากขึ้น หากเกษตรกรต้องการจะซื้อเครื่องปลูกสับปะรดมาใช้งาน ควรพิจารณาจากต้นทุนในการใช้งานเครื่องปลูกสับปะรด ซึ่งควรจะต่ำกว่าราคาค่าจ้างแรงงานปลูก ในปัจจุบันมีค่าจ้างปลูก 880 บาท ต่อไร่” คุณวุฒิพล กล่าว

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์วิจัยเกษตรวิศวกรรมขอนแก่น สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม กรมวิชาการเกษตร เลขที่ 320 หมู่ที่ 2 ถนนมะลิวัลย์ ตำบลบ้านทุ่ม อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น โทร. (043) 255-038, (084) 602-5648

แท็กเครื่องปลูกสับปะรด
FacebookTwitterGoogle+Line

เนื้อหาที่ได้รับการโปรโมต

นี่คือนักฆ่าต่อมลูกหมากอักเสบ! ผู้ชายรีบอ่านดูเลย!
PROSTINAL

เมืองนนทบุรี: ขายเก้าอี้ปรับเอนนอนและเฟอร์นิเจอร์อื่นๆ มากมาย ดูราคา
ค้นหาโฆษณา

เมืองนนทบุรี: ขายเก้าอี้และเฟอร์นิเจอร์อื่นๆ จำนวนมาก ดูราคา
ค้นหาโฆษณา

ง่ายแค่นี้เองเหรอ? ผมหายแผลเบาหวานเรื้อรัง หลังทำสิ่งนี้
HEALTH AND LUCKY

เมืองนนทบุรี: ที่นอนยางพาราที่ขายไม่ออกเกือบจะแจกไปดูราคา!
ค้นหาโฆษณา

เครื่องซักผ้าที่ขายไม่ออกมีการนำออกขายราคาเกือบไม่เหลืออะไร
ค้นหาโฆษณา

เมืองนนทบุรี: ตู้เย็นที่ขายไม่ออกเกือบจะแจกไปดูราคา!
ค้นหาโฆษณา
ลบริ้วรอยได้ง่ายๆแม้อายุ 65 ปี!!
BIORECIN

เมืองนนทบุรี: ขายตู้เย็น เกือบฟรี! ดูราคา
ค้นหาโฆษณา

รถยนต์มือสองที่ยังไม่ได้ขายจะถูกขายในราคาที่ต่ําอย่างไม่น่าเชื่อ
ค้นหาโฆษณา

รถยนต์ไม่ได้ขายในปี 2021 ในราคาที่ต่ำมากใน จังหวัดนนทบุรี
ค้นหาโฆษณา

ตาล้า น้ำตาไหลเอง อย่าปล่อยไว้ ผลไม้นี้จัดการได้ใน 7 วัน
BOOM_IZ

SUV 2021 ที่ขายไม่ออกตอนนี้เกือบฟรี (ดูราคา)
ค้นหาโฆษณา

ค้นหาอพาร์ทเม้นท์สำหรับผู้สูงอายุแห่งใหม่ใน เมืองนนทบุรี ราคาดีที่สุด
ค้นหาโฆษณา

SUV ที่ขายไม่ออกในปี 2021 มีราคาถูกมากใน จังหวัดนนทบุรี
ค้นหาโฆษณา
ติดตามเรา

เรื่องน่าสนใจ

มะพร้าวทะเล ไม้อวบน้ำน่าปลูก เกษตรกรลพบุรี ขยายพันธุ์ส่งขายทั้งไทยและเทศ
วันเสาร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ.2565

สาวราชบุรี ปลูกมะพร้าวน้ำหอมอินทรีย์ บำรุงด้วย ปุ๋ยขี้ไก่-เกลือดำ เก็บผลผลิตขายได้ทุก 20 วัน
วันพฤหัสที่ 22 ธันวาคม พ.ศ.2565

ตัวอย่าง “เลี้ยงวัวทุนน้อย” แต่ครบวงจร รายย่อยทำได้ ไม่มีจน
วันศุกร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ.2565

“พุดซ้อน” ไม้ใบมหัศจรรย์ งานสร้างรายได้แบบเงียบๆ ร้านดอกไม้ต้องการสูง
วันศุกร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ.2565

10 นวัตกรรมเกษตรยุคใหม่ ตอบโจทย์ “สมาร์ทฟาร์มอัจฉริยะ”
วันจันทร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ.2563

เทคโนโลยีชาวบ้าน
เกี่ยวกับเรา
บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) 12 ถนนเทศบาลนฤมาล หมู่บ้านประชานิเวศน์ 1 แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทร 02-589-0020-1
ตามเรา
Thailand Web Stat

คุณเสน่ห์ รัตนาภรณ์ เกษตรจังหวัดร้อยเอ็ด มอบหมายให้คุณวัชรินทร์ เขจรวงศ์ เกษตรอำเภอสุวรรณ ติดตามงานส่งเสริมการเกษตร ในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ 15 ตำบล 199 หมู่บ้าน พื้นที่กว่า 1,042 ตารางกิโลเมตร นักส่งเสริมการเกษตรมืออาชีพ 10 คน ข้าวหอมมะลิ เป้าหมายหลักนำนโยบายแห่งรัฐ คือการเกษตรระบบแปลงใหญ่ ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต สร้างคุณภาพ การบริหารจัดการ สู่การตลาดที่ดี ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร(ศพก.) ข้าวหอมมะลิ ฐานเรียนรู้เรื่อง ดิน น้ำ ข้าว พืช สัตว์ ประมง แปรรูปผลผลิต สู่การตลาดคุณภาพ เป็นศูนย์การศึกษาดูงานของชุมชน โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ เกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรพอเพียง เป้าหมาย คือ เกษตรกรกินอิ่ม นอนอุ่น ทุนมี หนี้หมด ครอบครัวเกษตรกรมีความสุข กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต้องแบกรับภารกิจหลัก

ผ่านทางพบ คุณยอด หลักสนาม อยู่บ้านเลขที่ 50 ม.15 บ้านหนองมั่ง ต.สระคู อ.สุวรรณภูมิ จ.ร้อยเอ็ด โทร.083-3447040 เกษตรกรหนุ่มใหญ่ กำลังก้มๆเงย ในแปลงพืชผัก เป็นมะเขือเปราะ อายุ 35-40 วัน ปลูกด้วยการบริหารจัดการน้ำแบบประหยัด สูบน้ำใต้ดินมาใช้ คลุมหน้าดินด้วยฟางข้าว วัชพืชไม่รุนแรง จะระบาดมากคือ “ปลวก” มันมาใต้ดิน หากมีการเตรียมดินที่ดี สามารถป้องกันได้

ต้นมะเขือเหี่ยว แน่นอนคือปลวก ไม่ใช่รากเน่าโคนเน่า พริก ผักชี ผักบุ้ง อายุ 25-30 วัน ถอนขาย คะน้า กระเพรา แมงลัก คุณยอดเป็นคนทำงาน ประมาณ 12-16 ชั่วโมง เช้าๆนำวัว ควาย ไปเลี้ยงในทุ่งนา จากนั้นเดินทางมาที่สวนผัก รถน้ำพรวนดิน เก็บพืชผักไปให้ภรรยา นำไปจำหน่ายที่ตลาด รับประทานอาหาร ไปทำงานก่อสร้าง ทั้งวัน 17.00 น.เดินทางไปนำวัว ควายเข้าคอก จากนั้นเดินทางไปแปลงพืชผัก 1 ไร่ ให้น้ำพรวนดิน

คุณยอดบอกว่า ตนเองมีความสุขดี ลูกสาว 1 คนกำลังเรียนหนังสือ ตนทำงานตลอดเรื่อยมา ทำให้ร่างกายแข็งแรงดีไม่เครียด โชคดีที่ นักส่งเสริมการเกษตร เอาใจใส่ดูแลเกษตรกร คุณนิรมล ภาสองชั้น เกษตรตำบลสระคู ออกมาให้ความรู้เรื่องการป้องกันกำจัดศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน การใช้น้ำสกัดชีวภาพ สารไล่แมลง การจัดการดิน ปลูกพืชหมุนเวียน ดินได้พักหน้าดินบ้าง โรคและแมลงลดลง

คุณยอด บอกว่า วันนี้ดีใจที่ สมัครเล่นคาสิโน เกษตรอำเภอสุวรรณภูมิ เดินทางลงมาพบปะพูดคุย เรื่องการเพาะปลูกพืช นำความห่วงใยของท่านสฤษดิ์ วิฑูรย์ ผวจ.ร้อยเอ็ด สู่เกษตรกร เกษตรกรรายนี้ชอบคำพูดของเกษตรอำเภอฯ “มีความขยันอย่างฉลาด ปราศจาคอบายมุข มองเห็นความทุกข์ยากของคนอื่น เป็นภารกิจที่จะต้องแก้ไข”

ถึงแม้ทำงานเหนื่อยแต่เกษตรกรมีกำลังใจจาก ภรรยาและลูก ส่วนราชการออกมาให้คำแนะนะ เราเดินไปด้วยดัน เหนื่อยแต่มีกำลังใจ

การเกษตรดีที่เหมาะสม(GAP.) ลดการใช้สารเคมี ใช้อย่างถูกต้องและปลอดภัย ก้าวเข้าสู่การเกษตรอินทรีย์ สำนักงานเกษตรอำเภอสุวรรณภูมิ กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เดินหน้าไปด้วยกัน ท่องเที่ยวเชิงเกษตร ไปที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ที่นี่ไม่มีภูเขา ไม่มีถ้ำ ไม่มีอุโมงค์ไม่มีน้ำตก แต่เรามีทุ่งกว้าง “ทุ่งกุลาร้องไห้” ไปนอนเต็นท์ดูดาว ท่ามกลางสายลม ห่มฟ้า คืนเดือนมืดชมดาว คือเดือนหงายชมพระจันทร์ เส้นทางวัฒนธรรม “กู่กาสิงห์ กู่โพนวิท กู่โพนระฆัง กู่พระโกนา ดูลิง 3 ฝูง สระสี่เหลี่ยม สุสานพันปีขี้นกอินทรีย์ มาท่องเที่ยววิถีชุมชน วิถีชาวบ้านแบบคนทุ่งกุลาร้องไห้”

ผู้อ่านมีโอกาสแวะไปทางทุ่งกุราร้องไห้ คนท้องถิ่นยินดีต้อนรับ การขยายพันธุ์ดาวเรือง ทำได้ 2 วิธี ทั้งวิธีเพาะเมล็ด และการปักชำ ทั้งนี้ การปลูกด้วยเมล็ดเป็นที่นิยมมากกว่า เพราะปลูกได้ในปริมาณมากกว่าการปลูกด้วยวิธีปักชำ การเพาะเมล็ด อาจเพาะลงในแปลงภายใต้โรงเรือน หรืออาจเพาะลงในกระบะ เมื่อต้นกล้าอายุ 12-15 วัน จึงใช้ปลูกลงในแปลงได้ ส่วนวิธีการปักชำ เกิดจากผลพลอยได้เมื่อถึงระยะเด็ดยอด เพื่อให้แตกกิ่งออกด้านข้างเป็นการเพิ่มจำนวนดอกในระยะต้นสูง ประมาณ 20-25 เซนติเมตร จึงเด็ดยอดออก ยาว 4-5 เซนติเมตร ชุบฮอร์โมนเร่งราก ปักชำลงในวัสดุเพาะชำ อาจใช้ขุยมะพร้าวหรือแกลบดำชุบน้ำอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วเก็บในร่ม รากจะงอกออกมาภายใน 3-5 วัน จากนั้นนำออกให้ได้รับแสงแดดอีก 4-5 วัน ก่อนนำไปปลูกลงในแปลงปลูก อย่างไรก็ตาม ดอกที่ได้จากต้นปักชำมักมีขนาดเล็กกว่าต้นกล้าที่ได้จากการเพาะเมล็ด อีกทั้งยังมีวิธีการที่ยุ่งยากกว่า