ในช่วงที่ยังทำงานออฟฟิศ ป้าหน่อยเริ่มปรับจากที่นามาทำไร่

ปลูกอ้อยและข้าวโพด ผลผลิตที่ได้ก็ถือว่าดีขึ้น แม้ยังทำงานประจำอยู่ก็ยังทำอาชีพเกษตรวันหยุดได้ เชื่อมั่นว่าอาชีพเกษตรกรรมจะสามารถเลี้ยงตัวเองได้แน่นอน จึงเดินหน้าโครงการ 2 ไถที่ปลูกถั่ว

“ทำไมจึงหันมาปลูกถั่วล่ะครับ”

“หวังไว้สองอย่างจ้า หนึ่งคือไม่นานก็จะได้ขายถั่ว สองคือปรับปรุงดินก่อนที่จะลงมือทำสวนเกษตรต่อไป”

“แล้วดินดีจริงป่ะ”

“ดีจ้า หลังตากเก็บถั่วเสร็จ เราก็เอาต้นเอาเปลือกถั่วมาหมักลงดินอีกรอบ ทำแบบนี้ไม่นานก็จะเริ่มเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจน”

หลังจากตัดสินใจขั้นเด็ดขาด ป้าหน่อยก็โบกมืออำลาเพื่อนและสถานที่ทำงาน ใจหายอยู่บ้าง เพราะชีวิตต้องวนเวียนอยู่ในนี้มากว่าสิบปี ความผูกพันกับงาน กับเพื่อนร่วมงานก็ยังเป็นเรื่องที่มนุษย์ยังมีความรู้สึกเช่นนั้น แต่ด้วยใจที่ตั้งมั่นแล้วป้าหน่อยก็ครวญเพลง “จะไม่กลับหลัง ถ้ายังไม่ได้ดี…” มุ่งหน้ากลับมาหาแม่ กลับมาทำอีกอาชีพหนึ่งซึ่งบรรพบุรุษพาสร้างอาชีพนี้ไว้

“สภาพตอนนั้น กลับบ้านมา มีคนเข้าใจเราบ้างไหม”

“โอ๊ย! เจอมาสารพัดจ้า บางคนก็มองเราดังว่าเป็นนักรบผู้พ่ายแพ้ ไปทำงานเสียตั้งนาน พอไปไม่เป็นก็กลับมาตายรังก็มี แต่บางคนก็มาให้กำลังใจ บางคนก็คอยดูเราว่าจะทำได้ไหม จะไปได้สักกี่น้ำ คือเราต้องเข้าใจในความเป็นสังคมอ่ะนะ ทุกคนก็คิด ก็มองในมุมของตัวเอง ตรงนี้หน่อยไม่ว่าใครจ้า”

“มาเริ่มทำสวนตอนไหนครับ”

“จากแปลงนา ก็เปลี่ยนมาเป็นไร่ แล้วก็ปรับอีกครั้งกลายเป็นสวน หน่อยเริ่มจากไม้ผลที่ให้ผลผลิตเร็ว ดูแลไม่ยากนัก ก็มาลงเอยที่ฝรั่ง ตอนนั้นฝรั่งสุ่ยมี่กำลังเข้ามา ก็เลยปลูกฝรั่งสุ่ยมี่เป็นหลักจ้า”

“แล้วปลูกอย่างอื่นอีกไหม”

“หน่อยเดินตามศาสตร์พระราชาจ้า ทำเกษตรผสมผสาน ปลูกกล้วย มะนาว หม่อน มะม่วง มะเดื่อฝรั่ง ขุดบ่อเก็บน้ำและปล่อยปลาลงเลี้ยง แต่ก็ยังทำนาด้วยนะ ยังไงเราก็ยังกินข้าว ต้องทำนาไว้เอง”

“ผลผลิตที่ได้จัดการอย่างไรครับ”

“หน่อยเป็นแม่ค้าเองจ้า เราปลูกเองขายเองโดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง”

“ราบรื่นดีไหม”

“ตอนแรกก็ทำอะไรไม่เป็นหรอกจ้า ติดขัดไปหมดแหละ อาศัยมีเพื่อนๆ พี่ๆ คอยช่วยแนะแนวทาง จนเริ่มเชื่อมั่นมากขึ้น ตอนนี้ก็มีลูกค้าทั้งแวะเวียนเข้ามาและสั่งทางโซเชียลจ้า”

“ผมมองว่าป้าหน่อยทำครบคาถาหัวใจเกษตรกรเลยนะ ปลูกได้ ขายเป็น เน้นสตอรี่ มีดีที่การแปรรูป”

“คือที่นี่มีสตอรี่จริงๆ จ้า กว่าจะมาถึงวันนี้ ต้องผ่านการตัดสินใจที่หนักพอดู แล้วการจะปรับเปลี่ยนวิถีเดิมๆ ของแม่ที่ทำนามาทั้งชีวิตก็เป็นด่านที่หินไม่น้อย หน่อยเองก็ต้องลองผิดลองถูก การปรับปรุงดินก็ต้องใช้เวลา คือทุกเรื่องเรามาปรับเปลี่ยนใหม่หมดเลยแหละ”

“ถามเรื่องรายได้สักนิด ทุกวันนี้เพียงพอเหมือนตอนทำงานออฟฟิศไหม”

“คำว่าเพียงพอของแต่ละคนไม่เท่ากันจ้า หน่อยถือว่ามีรายได้เข้ามา รายจ่ายน้อยลง ไม่มีหนี้สิน ได้ดูแลแม่ ได้ทำงานที่ตัวเองรัก เท่านี้หน่อยว่าได้มากกว่าการเป็นสาวออฟฟิศมากมายเลยจ้า”

หากสนใจผลผลิตจากสวนนี้ หรือต้องการซื้อกิ่งพันธุ์ แจ้งป้าหน่อยได้เลยครับ ที่เบอร์ โทร. (086) 626-8383 กระซิบว่า หากแจ้งว่าอ่านเจอจากนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน หรือถือนิตยสารติดไปที่สวนด้วย ป้าหน่อยบอกว่า จัดให้พิเศษเลยจ้า

นางจิระนุช ชาญณรงค์กุล ผู้อำนวยการกองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย กรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยถึงสถานการณ์การระบาดของศัตรูพืชในมันสำปะหลังว่า จากการติดตามสถานการณ์ศัตรูพืชในแปลงมันสำปะหลังบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก พบมันสำปะหลังแสดงอาการคล้ายโรคพุ่มแจ้ในหลายจังหวัด โดยจังหวัดที่พบค่อนข้างมากคือ จังหวัดกำแพงเพชร สระแก้ว ชลบุรี และมุกดาหาร

ซึ่งโรคพุ่มแจ้ของมันสำปะหลัง ลักษณะคล้ายกับการทำลายของเพลี้ยแป้ง คือ ใบยอดมันสำปะหลังจะหยิกงอ แคระแกร็น และแตกเป็นฝอยค่อนข้างมาก หากเป็นโรคพุ่มแจ้จะทำลายผลผลิตในไร่มันสำปะหลังเสียหายกว่า 70% ขณะนี้กรมส่งเสริมการเกษตร ได้เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อแจ้งเตือนภัยให้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังในพื้นที่เสี่ยงได้เตรียมการรับมืออย่างถูกต้องและเหมาะสมต่อไป

ด้าน นางสาวสุมนา สิมาสฤษฏ์ ผู้อำนวยการกลุ่มพยากรณ์และเตือนการระบาดศัตรูพืช กล่าวว่า โรคพุ่มแจ้มันสำปะหลัง เกิดจากเชื้อไฟโตพลาสมา มีเพลี้ยจักจั่นเป็นแมลงพาหะของโรค และมีต้นวัชพืชสาบม่วงที่เป็นพืชอาศัย หากเชื้อเพิ่มปริมาณมากจะเข้าไปอุดตันท่อลำเลียงอาหารของพืช ทำให้ส่วนยอดแคระแกร็น พืชจะแตกตาข้างมาเพื่อความอยู่รอด ยอดมีลักษณะเป็นพุ่ม ใบเล็กลงสีเหลือง

กรณีระบาดรุนแรงมันสำปะหลังจะยืนต้นตาย สังเกตบริเวณท่ออาหารใต้เปลือกลำต้นหรือหัวเปลี่ยนเป็นเส้นสีน้ำตาลดำ เนื่องจากโรคพุ่มแจ้แพร่ระบาดโดยท่อนพันธุ์และแมลงพาหะ ถ้าเกษตรกรขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคพุ่มแจ้ ไม่ได้สังเกตอาการของโรคหรือโรคแสดงอาการที่ไม่ชัดเจน อาจมีการนำต้นมันที่มีเชื้อสาเหตุโรคนี้ไปขายเป็นท่อนพันธุ์ ทำให้โรคเกิดการกระจายไปยังแหล่งปลูกมันสำปะหลังเป็นการแพร่เชื้อสาเหตุไปยังแหล่งปลูกมันโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์

ทั้งนี้ กรมส่งเสริมการเกษตร ได้เร่งถ่ายทอดความรู้ให้เกษตรกรรู้จักกับโรคพุ่มแจ้ และแนวทางป้องกันกำจัด ตลอดจนแนะนำให้เกษตรกรหมั่นสำรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากเชื้อสาเหตุโรคสามารถเข้าทำลายต้นมันสำปะหลังได้ทุกฤดูกาลเมื่อต้นอ่อนแอ หากพบอาการดังกล่าวให้แจ้งสำนักงานเกษตรอำเภอใกล้บ้าน

และขุดต้นมันที่แสดงอาการไปเผาทำลายนอกแปลง แล้วปลูกใหม่ด้วยท่อนพันธุ์จากแหล่งปลอดโรค ซึ่งกรมวิชาการเกษตรแนะนำให้สังเกตท่อนพันธุ์ที่คาดว่าอาจจะเป็นโรค จากการแตกตาข้างว่ามีมากแค่ไหน ปกติท่อนพันธุ์จะแตกตาเฉพาะที่บริเวณยอดด้านบนแค่ 2-3 ตา ถ้ามีการแตกตามากบริเวณกลางท่อนพันธุ์ให้สงสัยไว้ก่อนว่าอาจติดเชื้อ

นอกจากนั้น แนะนำให้กำจัดเพลี้ยจักจั่นแมลงพาหะ รวมทั้งกำจัดวัชพืชทั้งในและโดยรอบแปลง โดยเฉพาะต้นสาบม่วง แหล่งที่อยู่อาศัยของเชื้อก่อโรคพุ่มแจ้ ทั้งนี้ เพื่อป้องกันการระบาดและจำกัดพื้นที่การระบาดของโรคพุ่มแจ้ไม่ให้ขยายวงกว้าง

ฉันเกิดมาแม้ว่าไม่ค่อยมีคนรู้จัก แต่ฉันมีชื่ออยู่ในประวัติศาสตร์ ตั้งแต่สมัยพระเจ้าอู่ทองย้ายเมืองมา ตั้งแต่ตำบลหนองโสน ได้ขุดพบสังข์ทักษิณาวัตร 1 ขอน อยู่ใต้ต้นหมัน จึงได้ถูกกำหนดให้เป็นตราสัญลักษณ์ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งมีความหมายว่า การเชื่อมประสานรอยแตกร้าวให้เป็นแผ่นเดียวกัน หรือที่ชาวเรือเขาทำ “ตอกหมัน” เพื่อป้องกันเรือรั่ว น้ำเข้าเรือ หากเป็นกลุ่มคนก็ให้สามัคคีเป็นกลุ่มชนเดียวกัน

ถ้าพูดถึงคำว่า “หมัน” ทุกคนส่วนใหญ่ไม่ได้นึกถึงชื่อต้นไม้ แต่ทุกคนจะนึกถึงหมันที่ คุณหมอ “ทำหมัน” ไม่ให้มีบุตร ฉันเองก็สงสัยอยู่ว่าใครน๊ะ ที่ตั้งชื่อให้ฉัน

ลองไปเปิดพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 และพจนานุกรมฉบับของ อาจารย์เปลื้อง ณ นคร มีความหมายถึง 3 ความหมาย เช่น หมายถึงด้ายดิบที่ใช้คลุกกับชัน น้ำมันยาง สำหรับยาแนวเรือ และหมายถึงต้นไม้ชนิดหนึ่งที่ใช้เปลือกต้นไม้แทนปอได้ คือทำเป็นเชือกนั่นแหละ ทีนี้ยังมีความหมายที่ไม่สามารถมีบุตรได้ หรือหมายถึงไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใดๆ เช่น สำนวนที่ว่า “ทำไปก็เป็นหมัน”

แม้ว่าฉันเองมีคนรู้จักน้อย แต่ต้นฉันก็กระจายพันธุ์ไปทั่ว เพราะฉันชอบขึ้นทั่วไปในป่าภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นานมาแล้ว ฉันเป็นต้นไม้โด่งดังอย่างมากที่ชาวบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งมีอาชีพเกษตรกรรม เลี้ยงสัตว์ ทำนา และทำตาลโตนด เขาใช้ภูมิปัญญาชาวบ้าน นำเอาเปลือกต้นหมัน คือฉันนี่แหละไปทำเป็นเชือกแบบง่ายๆ แต่มีความเหนียวคงทนใช้ในวิถีชีวิตประจำวันได้ดี เช่น เชือกผูกวัว ควาย เชือกกระบอกใส่น้ำตาลโตนด แต่เดี๋ยวนี้ส่วนใหญ่เปลี่ยนมาใช้เป็นเชือกไนล่อน จึงไม่ค่อยมีใครสนใจฉัน อ้อ! แต่ขอบอกก่อนว่าฉันไม่เกี่ยวข้องกับต้น “หมันแดง” นะ คนละต้นกับฉัน ปัจจุบันเขาเรียกหมันแดงว่า “คอร์เดีย” หรือคอร์เดียแสด

ฉันเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงได้ถึง 15 เมตร ผลัดใบ กิ่งห้อยย้อยลงมา เปลือกต้นสีเทาเข้มปนดำ แตกเป็นร่องถี่ตื้นๆ ตามความยาวต้น ดอกสีขาว หอมอ่อนๆ ออกเป็นช่อตามกิ่งปลายใบ มีผลสด เนื้อเมล็ดเดียว ใช้เพาะปลูกได้ แต่เนื้อผลมียางเหนียว ใช้ทำกาว ในด้านสมุนไพรก็ใช้รากต้มดื่มแก้เจ็บหน้าอก ใบอ่อนเขากินเป็นผักลวกจิ้มน้ำพริก หรือไปแกงได้ ปลูกฉันไว้ในบ้านให้ร่มเงาดี แต่ดอกร่วงก็ดีนะ ขยันกวาดก็ดีเน้อ

อินทผลัม พืชเศรษฐกิจ ราคาแพง น่าจับตามองมากในขณะนี้ ด้วยประโยชน์คุณค่าทางอาหารที่มากมาย ถือเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพ ราคาสูงทั้งผลสดและผลแห้ง แต่ตลาดกลับมีความต้องการสูง จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ในปัจจุบันเกษตรกรไทยจะหันมาจับพืชตัวนี้เป็นพืชทำเงิน

คุณสีหนาท สนสุวรรณ์ (คุณฟารุก) อยู่บ้านเลขที่ 44/7 ราษฎร์อุทิศ 46 แขวงแสนแสบ เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร ผู้ประกอบธุรกิจขายอินทผลัมผลสด และนำเข้าผลแห้งจากต่างประเทศ เล่าว่า ตนเรียนจบปริญญาตรีที่ไทย แล้วได้ไปศึกษาต่อระดับปริญญาโทที่สหรัฐอเมริกา เมื่อเรียนจบได้กลับมาทำงานที่ประเทศไทยเกี่ยวกับโลจิสติกส์ ทำไปได้สักระยะได้ลาออกจากงานเพื่อมาแต่งงาน พอทุกอย่างเรียบร้อยจึงกลับไปสมัครงานที่ใหม่ ทำไปได้เรื่อยๆ จนวันหนึ่งคุณพ่อโทร.มาบอกว่า ธุรกิจที่บ้านเกิดวิกฤตให้กลับมาช่วย จึงตัดสินใจลาออกจากงานและมาช่วยที่บ้าน เมื่อเข้ามาช่วยกู้วิกฤตที่บ้านได้อยู่ตัว จึงเริ่มมองหาอาชีพเสริม ลองนำเข้าอินทผลัมแบบเพาะเมล็ดเข้ามาจากต่างประเทศ นำเข้ามาเพียง 10 เมล็ด เพราะคิดว่าประเทศไทยคงปลูกไม่ได้ผล จึงไม่ได้จริงจังอะไร แต่ปรากฏว่า ปี 2553 อินทผลัมที่ปลูกเริ่มมีผลผลิตออกมา แต่ไม่เยอะ จึงเริ่มสนใจตั้งแต่ตอนนั้นมา

เริ่มปลูกทดลองตลาด เพียง 3 ไร่ ผลตอบรับดีเกินคาด

จากการปลูกอินทผลัมแบบเพาะเมล็ดเริ่มมีผลผลิตครั้งแรก ปี’53 ก็สรุปได้ว่า จาก 10 ต้น ที่ปลูก เป็นต้นตัวเมีย 4 ต้น ตัวผู้ 1 ต้น ที่เหลือตายหมด ต้นที่เหลือก็ให้ผลผลิตแต่น้อย แต่ก็ถือว่าเป็นสัญญาณที่ดีในการเริ่มต้น และในปีถัดมาอินทผลัมที่ปลูกก็เริ่มให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จึงเริ่มคิดและลองเอาต้นที่อร่อยมาลองขยายพันธุ์เพิ่ม ใน 4 ต้น มี 1 ต้น ที่อร่อยที่สุด ต้นนั้นคือ พันธุ์บาร์ฮี จุดเด่นคือ ลูกสีเหลือง รับประทานได้เฉพาะผลสด เมื่อรับประทานรสชาติจะไม่ฝาดมาก มีความมัน อร่อย รสชาติเป็นสากลที่สุด

ฟารุกฟาร์ม เริ่มปลูกในพื้นที่เขตมีนบุรี มีทั้งหมด 5 ไร่ แบ่งปลูกอินทผลัม 3 ไร่ ตอนปลูกครั้งแรกไม่มีความรู้ ปลูกแบบระยะถี่มาก เว้นระยะห่างไม่ถึง 5×5 เมตร ซึ่งปกติอินทผลัมต้องปลูกในระยะ 5×5 เมตร หรือมากกว่านี้ เพื่อให้ใบแผ่รับแสงได้เต็มที่ แต่สาเหตุที่ปลูกแบบนี้เพื่อจะดูว่าที่ปลูกไปให้ผลผลิตไหม ต้นสมบูรณ์หรือเปล่า และผลออกมาเป็นที่น่าพอใจคือ ให้ลูกสมบูรณ์ เหมือนกับว่าทำสวนนี้เพื่อเป็นแปลงสาธิตศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นของอินทผลัม

วิธีการปลูก

คุณฟารุก บอกว่า ระยะห่างที่เหมาะสมในการปลูกอินทผลัมคือ 5×5 เมตรขึ้นไป ถามว่า ทำไม ต้อง 5×5 เมตรขึ้นไป เพราะใบกำลังแผ่กระจายได้ดี และได้จำนวนต้นต่อ 1 ไร่ ที่คุ้มค่า คือ 1 ไร่ สามารถปลูกได้ 60 ต้น ซึ่ง 60 ต้น ถ้าเกษตรกรปลูกจริงๆ ถ้ามีต้นตัวผู้กับต้นตัวเมียอย่างละครึ่ง ก็ยังได้ผลผลิตที่เยอะพอสมควร ถึงแม้ในอนาคตราคาผลผลิตจะตกลง เหลือกิโลกรัมละ 100 บาท ก็ยังคุ้มค่า ถ้าปลูกไปแล้วอย่างน้อย 7 ปี ต้องได้ผลผลิตต่อต้น อย่างน้อย 100 กิโลกรัมขึ้นไป

การดูแล

ใส่ปุ๋ย N-P-K คือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม เป็นสูตรเสมอ ส่วนเรื่องอาหารเสริมแล้วแต่ว่าเกษตรกรอยากจะให้อะไรตามความเหมาะสม แต่อย่าให้อาหารหลักขาด เพราะจำเป็นต่อพืช

ระบบน้ำหยด ตั้งทามเมอร์ไว้ เปิดรดเช้า 1 รอบ เย็น 1 รอบ ระยะเวลาในการรดนานครึ่งชั่วโมงต่อครั้ง ให้น้ำทุกวัน แต่ถ้าเป็นช่วงหน้าฝนจะให้เพียงรอบเดียว

นำเข้าผลแห้งจากต่างประเทศ บินไปคัดเกรดคุณภาพด้วยตัวเอง

อย่างที่ทราบว่า ช่วงแรก คุณฟารุก เริ่มจากการขายต้นพันธุ์และผลสด แต่มีสาเหตุที่ต้องขยายตลาดเพิ่มสินค้า เพราะคิดว่าไม่มีใครปลูกต้นไม้ทุกวัน ส่วนผลสด 1 ปี ขายได้แค่ครั้งเดียว แต่ถ้าเป็นของกินคนกินทุกวัน จึงเริ่มมองหาการตลาดเพิ่มเติม ซึ่งตัวนั้นคือ อินทผลัมผลแห้ง เพราะอินทผลัมผลแห้งเป็นอะไรที่ชาวมุสลิมรู้จักเป็นอย่างดี แต่ในประเทศไทยปลูกพันธุ์แห้งไม่ได้ พันธุ์แห้งต้องปลูกในภูมิอากาศที่แห้งจัด ถ้านำมาปลูกบ้านเราที่เป็นร้อนชื้นก็จะเกิดราขึ้น แต่ถ้าเป็นประเทศแถบตะวันออกกลาง อากาศจะแห้ง ฝนตกปีหนึ่งประมาณไม่เกินสัปดาห์ ก็จะเจริญเติบโตได้ดี อินทผลัมผลแห้งการแห้งต้องแห้งคาต้น ถ้าเอามาบ่มก็แห้งได้แต่ไม่เหมือนธรรมชาติ คุณฟารุก บอก

เมื่อต้องการขยายตลาด และต้องการของคุณภาพมาขาย คุณฟารุกจึงลงทุนบินไปดูงานที่ต่างประเทศด้วยตัวเอง ไปดูเรื่องอินทผลัมผลแห้งเพื่อคัดเกรดเอง จะไม่เหมือนกับที่ขายทั่วไป บินไปสองประเทศหลักคือ สหรัฐอาหรับอิมิเรตส์ และซาอุดีอาระเบีย และการบินไปครั้งนั้นก็ไม่ได้เปล่าประโยชน์ คุณฟารุกได้อินทผลัมผลแห้งกลับมาหนึ่งล็อต ซึ่งปีแรกที่ทำถือว่ามีอุปสรรค สินค้าเสียหาย เพราะไม่มีความรู้เรื่องการเก็บรักษามาก่อน ปีถัดๆ มาจึงเริ่มศึกษาการเก็บรักษาอย่างจริงจัง และก็ทำสำเร็จจนได้

ขั้นตอนการนำเข้าอินทผลัมผลแห้ง

วิธีการนำเข้า คุณฟารุก เล่าว่า จะนำเข้าสายพันธุ์หลักๆ คือ คาลาส ดับบาส มาซาฟาตี เดคเลทนัวร์ ซาฟาวี่ มาลิก เมดจูล นำเข้ามาเป็นตู้คอนเทนเนอร์ สมมุติว่านำเข้าพันธุ์คาลาส มา 1 ตู้ บรรจุ 20 ตัน 3 เดือน นำเข้ามา 1 ครั้ง ต่อ 1 พันธุ์ หรือถ้าเป็นพันธุ์ที่มีราคาแพง อาจจะสั่งเข้ามาเป็นตู้สั้น ขนาด 20 นิ้ว สลับสับเปลี่ยนกันไป

การเก็บรักษาอินทผลัมผลแห้ง

การเก็บรักษาอินทผลัมค่อนข้างเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน เมื่อก่อนเข้าใจว่าแค่เปิดแอร์แล้วเก็บอินทผลัมไว้ในห้องนั้นก็ได้แล้ว สรุปเมื่อเปิดห้องมาอินทผลัมเน่าเสีย เพราะความเย็นไม่ถึง วิธีเก็บรักษาอินทผลัมที่ถูกต้องคือ ต้องเก็บไว้ในอุณหภูมิ 3 ถึง -3 องศา ถ้าจะให้เก็บไว้ได้นานที่สุดคือ ต้อง -18 องศา ซึ่งก็ถือว่าต้องใช้เงินลงทุนมากพอสมควร

การทำความสะอาด

ผลผลิตที่เรานำเข้ามาคือ ของที่ดีที่สุด แต่เมื่อสินค้ามาถึงสวนก็ต้องคัดทำความสะอาดอีกครั้ง ถ้าเป็นผลที่นำเข้ามาจะต้องเช็ดทีละเม็ด เลือกดูทีละเม็ด เมื่อเช็ดเสร็จนำมาบรรจุใส่กล่อง กล่องละ 500 กรัม หรือบางสายพันธุ์ถ้ามีจำนวนเยอะก็จะใช้ลมแรงสูงเป่าไล่ฝุ่น หรือถ้าบางล็อตมีมอด ก็เป่าไล่ทิ้งไว้ 1 คืน เพราะมอดถ้าเจอความร้อนจะหนีออกมา แต่ส่วนใหญ่ของที่นำมาจะไม่ค่อยมีมอด มีเพียงส่วนน้อย ส่วนลูกไม่สวย เราทำความสะอาดแล้วไปทำน้ำอินทผลัม หรือนำไปแปรรูปเป็นซีเรียลอินทผลัม ทำเป็นพาวเวอร์บอล ตัวนี้แปรรูปต่อยอดโดยที่เราไม่เสียผลผลิต และเป็นการสร้างความหลากหลายของสินค้าอีกด้วย

ขายราคาไม่แพง เน้นสินค้ามีคุณภาพ

ผู้บริโภคอินทผลัมผลแห้งในประเทศไทยถือว่ามีอยู่ไม่น้อย จากการที่ฟารุกฟาร์มได้สำรวจตลาดมาคือ พฤติกรรมของคนไทยชอบบริโภคสินค้าที่มีคุณภาพ แต่ราคาถูก จึงใช้ของที่มีคุณภาพมาขาย แต่ถามว่าของคุณภาพดี ราคาถูกมีด้วยเหรอ มีสิ แต่เราต้องยอมสละกำไรของเราให้เหลือน้อยลง คือปกติอินทผลัมจะมีค่า VAT ที่เกิดขึ้นในการนำเข้ามา แต่ของฟารุกฟาร์มไม่ได้บวกตรงนั้น จะมีการบวกกำไรเพียง 10-15 เปอร์เซ็นต์ ตัวอย่างเช่น ของมา 100 บาท เราบวก 15 บาท คือกำไร

ในกำไรนี้รวมค่าดำเนินการไปแล้วด้วย ซึ่งกำไรน้อยมาก แต่เน้นให้ราคาถูก และเน้นให้ลูกค้ามาซื้อที่เรา เทคนิคทำการตลาด สินค้าคุณภาพ ช่องทางการสั่งซื้อสะดวก ขนส่งรวดเร็ว

หลายท่านคงสงสัยว่า จะทำการตลาดอย่างไรดี ให้ขายได้ตลอดทั้งปี คุณฟารุก บอก ไม่ยาก แค่ต้องขยันและซื่อสัตย์ต่อลูกค้า การตลาดหลักๆ ของฟารุกฟาร์มคือ เน้นของมีคุณภาพ มีตัวเลือกเสนอให้ลูกค้า 2 ตัวเลือก 1. หากลูกค้าไม่พอใจในสินค้า เปิดกล่องมาแล้วไม่ชอบที่ส่งไป เราส่งของใหม่ให้ทันที ตัวเลือกที่ 2. คือ เมื่อได้รับสินค้าแล้วไม่ชอบ ให้ส่งสินค้ากลับคืนมา แล้วทางฟาร์มจะโอนเงินกลับไปให้ทันที

อันนี้ถือเป็นการตลาดที่เกษตรกรควรทำ ยกตัวอย่างให้เห็นข้อดีง่ายๆ ทำไม ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ฟารุกฟาร์มถึงอยู่ได้ ในขณะที่สินค้าอย่างอื่นตกลง แต่ที่ฟาร์มโตขึ้นจากเดิม 100 เปอร์เซ็นต์ เพราะยึดคุณภาพเป็นสำคัญ ถ้าของเสียหายของไม่ดี เราไม่ขาย เราถือคติที่ว่า

“ถ้าเราขายของไม่ดีให้ลูกค้าหนึ่งครั้ง ลูกค้าจำเราได้แม่น กลับกัน หากเราขายของดีให้ลูกค้าครั้งแรก เขาก็จำเราได้แม่นเช่นกัน” เจ้าของเน้น เจ้าของบอกว่า ช่องทางการสั่งซื้อสะดวก มีเฟซบุ๊ก อินสตราแกรม เว็บไซต์ ไลน์ ทุกอย่างเหล่านี้ถือเป็นเครื่องมือการตลาดชั้นดี ด้วยพฤติกรรมการเสพสื่อออนไลน์ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว คนสมัยนี้เวลาจะทำอะไร ก็เอาความสะดวกเข้าว่า เราจึงต้องมีช่องทางการสั่งซื้อให้ครบ เพื่อเข้าให้ถึงลูกค้าโดยกว้าง ฟารุกฟาร์มเติบโตมาได้ถึงทุกวันนี้เพราะเฟซบุ๊ก ใช้ความรู้ที่มีมาต่อยอดให้เป็นประโยชน์ หรือถ้ามีลูกมีหลานก็ให้เขาช่วยได้ หมั่นลงสตอรี่ มีความเคลื่อนไหวในสื่อออนไลน์ต่างๆ หรือลงโปรโมชั่นพิเศษที่น่าสนใจ ให้ลูกค้าได้เห็น สักวันเขาต้องมาเป็นลูกค้าเรา

เจ้าของอธิบายว่า การขนส่งรวดเร็ว ทุกวันนี้สินค้าที่ฟารุกฟาร์มต้องส่งให้กับลูกค้าหลายกลุ่มด้วยกัน ทั้งห้างสรรพสินค้า ตัวแทนประจำจังหวัด ตลาดออนไลน์ หรือหน่วยงานต่างๆ ดังนั้น เราจะส่งของช้าไม่ได้ เรื่องบริการต้องครบวงจร นัดวันไหน ต้องวันนั้น ถ้าเป็นลูกค้าจากต่างจังหวัด เราก็จะกำหนดวันให้ดี อย่าให้พลาด แต่ถ้าเป็นลูกค้าสั่งทางออนไลน์ หรือจากหน่วยงานที่อยู่ใกล้เราพอจะส่งให้เขาได้ของวันนี้ก็ยิ่งดี ถือเป็นการสร้างความประทับใจให้ลูกค้าไปในตัวด้วย

จำหน่ายทั้งผลสดและผลแห้ง สร้างรายได้หลักล้านบาท ต่อปี

ฟารุกฟาร์ม เติบโตมาจากการเริ่มจำหน่ายต้นพันธุ์ และช่วงนั้นอินทผลัมถือเป็นพืชที่ใหม่มาก และคนให้ความนิยม เพราะถือเป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ที่น่าจะมาแรง เริ่มขายกล้าได้ดี ตอนนั้นจำหน่าย ต้นละ 300 บาท จำหน่ายช่วง ปี 2555 เริ่มขายจริงจัง 2556 ขายกล้าได้ปีหนึ่งถือว่าไปได้สวย แต่ก็เริ่มมองหาตลาดอย่างอื่นด้วย เพราะเราขายกล้าปีหนึ่งระบบการผลิตยังไม่มากพอ ยังไม่ครอบคลุม ค่าใช้จ่าย เมื่อต้นโตจึงมีการทำตลาดเรื่องผลสด และต่อยอดมาเป็นผลแห้งในที่สุด

รายได้จากการขายอินทผลัมผลสด 1 ปี จำหน่ายได้เพียง 1 ครั้ง ซึ่งที่สวนก็ปลูกไม่มาก เพียง 3 ไร่ ได้ผลผลิตไม่มากเพียง 1-2 ตัน ต่อปี เก็บขายได้ กิโลกรัมละ 500 บาท

รายได้จากการขายผลแห้ง อันนี้ถือว่าแซงการขายผลสดไปมาก สร้างเงินได้ดี แต่ต้นทุนการนำเข้าผลสด และการที่ต้องลงทุนทำห้องเย็นให้ได้มาตรฐานก็หนักเช่นกัน อนาคต อินทผลัมทั้งผลสด-แห้ง ยังสดใส

คุณฟารุก บอกว่า อินทผลัมในประเทศไทยถือว่ายังเป็นพืชที่ใหม่ ถ้าเกษตรกรไทยเข้มแข็งและตั้งใจ เพราะหากทำสำเร็จเราจะมีอำนาจการต่อลองการค้าที่มากขึ้น อาจจะมีการรวมกลุ่มทำส่งต่างประเทศ ยกตัวอย่างเช่น ประเทศมาเลเซียเป็นประเทศที่มีการนำเข้าอินทผลัมเป็นจำนวนมาก หากเราทำการตลาดได้จะดีแค่ไหน ยกตัวอย่างถ้าที่ผ่านมาทางมาเลเซียเคยสั่งอินทผลัมจากประเทศอิรัก อิหร่าน อิสราเอล แต่ถ้าประเทศไทยผลิตของให้เขาได้และพอต่อความต้องการของเขา เขาอาจจะยกเลิกการสั่งจากประเทศแถบตะวันออกกลาง แล้วหันมาสั่งที่ไทยแทน เพราะการขนส่งที่สะดวกกว่า ง่ายกว่า ใกล้กว่า และเร็วกว่า จึงไม่น่ายากหากเราจะเริ่มต้นทำ

ติดต่อสอบถาม ซื้อสินค้าของฟารุกฟาร์ม ได้ตามที่อยู่ หรือโทรศัพท์ (081) 806-8127

วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม 2561 นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน จัดสัมมนาอินทผลัมกินผล ทางผู้จัดได้เชิญ คุณฟารุก หรือคุณสีหนาท สนสุวรรณ์ มาพูดคุยด้วย ผู้สนใจสามารถจองได้ โดยดูรายละเอียดการสัมมนาได้ในเล่มนี้

มะม่วงน้ำดอกไม้…ผลสุกมีรสหวาน หอม กินกับข้าวเหนียวมูนเลิศรสยิ่งนัก เป็นหนึ่งอาหารคู่ครัวไทยมานานปี บางครัวเรือนพอมีพื้นที่บ้าง จึงมักจะปลูกมะม่วงไว้บริโภค แต่บางคนที่มีสวนแต่กลับปล่อยสวนมะม่วงให้เสื่อมโทรมด้วยการออกไปทำงานนอกบ้าน เมื่อไปแล้วไม่ประสบความสำเร็จดังที่หวังไว้ สุดท้าย กลับมาฟื้นฟูสวนมะม่วงด้วยการเสียบยอดเพื่อเปลี่ยนเป็นมะม่วงพันธุ์ดี มีการปฏิบัติดูแลรักษาที่ดี ทุกสิ่งอย่างดีวันดีคืน มีผลมะม่วงให้เก็บขาย มีรายได้พอเพียงต่อการยังชีพ และได้เดินตามรอยพ่อ สู่เศรษฐกิจพอเพียง เพื่อมีวิถีที่มั่นคงได้ดังหวัง

ดร. รุจิพัชร บุญจริง เกษตรจังหวัดสิงห์บุรี เล่าให้ฟังว่า จังหวัดสิงห์บุรี มีพื้นที่ปลูกพืชสวน 17,759 ไร่ จากพื้นที่ทำการเกษตร 381,559 ไร่ มะม่วงเป็นไม้ผลเศรษฐกิจสำคัญของจังหวัดสิงห์บุรี มีพื้นที่ปลูกมะม่วง 871 ไร่ ให้ผลผลิตแล้ว 469 ไร่ พื้นที่เก็บเกี่ยวผลผลิต 346 ไร่ ได้ผลผลิต 234,441 กิโลกรัม ได้ผลมะม่วงเฉลี่ย 499.87 กิโลกรัม ต่อไร่ เกษตรกรขายผลผลิตได้เฉลี่ย 24.50 บาท ต่อกิโลกรัม ราคานี้เปลี่ยนแปลงได้ตามกลไกของตลาด

การพัฒนาการผลิตมะม่วง ได้ส่งเสริมให้เกษตรกรปฏิบัติตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ปลูกและผลิตในระบบเกษตรดีที่เหมาะสม หรือ GAP เพื่อให้ได้ผลผลิตดี มีคุณภาพ ให้มีการจัดการสวนที่ดีด้วยการใช้ที่ดิน เงินทุน แรงงาน หรือใช้ปัจจัยการผลิตผสมผสานเพื่อลดต้นทุนการผลิต และทำให้ได้รับผลตอบแทนมากขึ้น

การขยายพันธุ์ปลูก ได้ส่งเสริมให้เกษตรกรเสียบยอดมะม่วง สมัคร UFABET เพื่อเปลี่ยนเป็นมะม่วงพันธุ์ดี เป็นหนึ่งวิธีการขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ เป็นหนึ่งวิธีลดต้นทุนการผลิตเมื่อได้ดำเนินการเสียบยอดด้วยตนเอง มีวิธีการง่ายๆ คือ นำยอดพันธุ์ดีมาเสียบกับต้นตอหรือกิ่งของต้นพันธุ์ไม่ดี เมื่อรอยแผลของยอดพันธุ์ดีกับต้นตอเชื่อมติดกันดีแล้ว ก็จัดการดูแลใส่ปุ๋ยให้น้ำพอเพียง ต้นมะม่วงและยอดพันธุ์ดีเจริญเติบโตก็จะมีผลมะม่วงให้เก็บเกี่ยวได้ภายใน 1 ปี และให้ผลผลิตนานหลายปี เมื่อเกษตรกรมีการปฏิบัติดูแลรักษาที่ดีและเหมาะสม

คุณแรงเทียน หัวไผ่ เกษตรกรเสียบยอดเปลี่ยนเป็นมะม่วงพันธุ์ดี เล่าให้ฟังว่า วิถีชีวิตคนเรานั้นมีขึ้นมีลง มีผิดหวังและสมหวัง ดังเช่นก่อนหน้านี้ พ่อ-แม่ได้มอบสวนมะม่วงที่สร้างไว้ให้ดูแลรักษาต่อ แต่อยากจะรวยไวๆ จึงได้ปล่อยทิ้งสวนมะม่วงแล้วเข้าไปทำงานในเมือง หวังจะมีรายได้เป็นกอบเป็นกำเพื่อให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น แต่ก็ไม่เป็นอย่างที่หวังสุดท้าย ก็ลาออกจากงาน หันหลังคืนกลับมาสู่เย้าเข้าพัฒนาฟื้นฟูสวนมะม่วงขึ้นมาใหม่ ผกผันจริงๆ

มรดกที่พ่อ-แม่ให้เป็นพื้นที่ปลูกพืชสวน 12 ไร่ แบ่งเป็นปลูกกล้วย 2.5 ไร่ ปลูกพืชผัก 1 ไร่ ปลูกไม้ผลหลายชนิดรวมกัน ได้แก่ มะละกอ ขนุน ฝรั่ง มะปราง มะยงชิด อกร่อง และเขียวเสวย ปลูกชนิดละ 2-3 ต้น พื้นที่ 1.5 ไร่ และปลูกมะม่วงแก้วรวมกับมะม่วงพันธุ์พื้นบ้าน พื้นที่ 7 ไร่

พื้นที่ 7 ไร่ ที่ปลูกมะม่วงแก้วรวมกับมะม่วงพื้นบ้านได้ยกร่องแปลงปลูกกว้าง 3-4 เมตร ระยะห่างระหว่างแปลงปลูก กว้าง 2.5 เมตร ปลูกกลางร่องแปลงให้ต้นมีระยะปลูกห่างกัน 3×3 เมตร ปลูกมะม่วงได้กว่า 240 ต้น

การพัฒนาฟื้นฟูสวนมะม่วงขึ้นมาใหม่ เนื่องจากมีเงินทุนน้อย จึงได้เริ่มต้นในช่วงก่อนลาออกจากงานปีกว่า ด้วยการไปซื้อกิ่งหรือต้นพันธุ์มะม่วงน้ำดอกไม้ เบอร์ 4 จากจังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งเป็นแหล่งพันธุ์ดีปลอดภัยจากโรคมาปลูก 3 ต้น ระหว่างนี้ต้องขึ้นล่องทั้งเพื่อทำงานและมาปฏิบัติดูแลสวนมะม่วงและต้นพันธุ์มะม่วงที่ปลูกใหม่

การขยายพันธุ์ด้วยเงินทุนที่มีน้อย ได้เสียบยอดเพื่อเปลี่ยนเป็นมะม่วงพันธุ์ดี เมื่อต้นพันธุ์มะม่วงที่ซื้อมาปลูกแตกกิ่งก้านเจริญเติบโตสมบูรณ์ ได้เริ่มทยอยตัดยอดไปเสียบกับกิ่งหรือต้นตอ ครั้งแรกได้เสียบยอดกระจายไปที่ต้นมะม่วง 3 ต้น ได้ 50 กิ่ง หรือต้นตอ แล้วพักต้น 2-3 เดือน เพื่อให้ต้นมะม่วงเจริญเติบโตแตกยอดออกมาใหม่ ครั้งที่ 2 นี้เสียบยอดไปได้เกือบ 100 กิ่ง หรือต้นตอ แล้วพักต้น 2-3 เดือน เมื่อต้นมะม่วงเจริญเติบโตแตกยอดออกมาใหม่ ก็ได้ตัดยอดไปเสียบกับกิ่งหรือต้นตอเพิ่มอีก และได้ทยอยทำเช่นนี้ไปกระทั่งเสียบยอดได้มากกว่า 600 กิ่ง หรือต้นตอ