ในทางวิชาการเรียกวิธีที่คุณวินัยทำว่า การเพาะชำแบบควบแน่น

เมื่อรากงอกออกมาเต็มแก้วจึงเปิดฝาครอบดึงออกมาชำในภาชนะ ช่วงนี้ให้เจอแสงแดดแบบรำไร ประมาณ 1 อาทิตย์ จึงนำเอาไปปลูกในแปลงที่เตรียมไว้ได้เลย หากมีมากก็นำออกจำหน่าย สร้างรายได้อีกทางหนึ่ง

“แนวพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 หาคนไหนเทียบไม่ได้อีกแล้ว ไม่มีใครคนไหนที่จะมองเห็นประชาชน คนเดินดิน เราสามารถนำแนวทางที่พระองค์พระราชทานให้มาต่อยอดได้เลย ไม่ต้องคิดและลองผิดลองถูกให้เสียเวลากันอีก เมื่อเราทำตามแนวพระราชดำริของพระองค์ท่าน จะอยู่ได้สบายไม่มีการจน ไม่เจ็บไข้ เพราะเรากินผัก และผักเป็นยา มีการรวมกลุ่มกัน ชวนกันทำ ร่วมกันผลิต ในหมู่บ้านเมื่อก่อนไม่มีมะนาวกินต้องหาซื้อมาจากตลาด บางปีแพงมาก หลังจากเข้าอบรมจากศูนย์ ก็นำมาทำที่บ้าน ทุกวันนี้มีมะนาวกันทุกครัวเรือน ไม่ต้องซื้อกิน แถมยังมีขายอีกต่างหาก

“รู้สึกดีใจที่ในหลวงรัชกาลที่ 10 ทรงสืบสาน รักษา ต่อยอดของโครงการของในหลวงรัชกาลที่ 9 จะทำการเพิ่มเติมทักษะและความรู้ของเกษตรกรมีการต่อยอดเพิ่มมากขึ้น รู้สึกซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณที่พระองค์ทรงเมตตาต่อราษฎร เป็นอย่างยิ่ง” คุณวินัย กล่าวในที่สุด

ไม่ว่าจะเป็นยุคใดสมัยใด ผู้คนมักให้ความสำคัญกับการรักษาสุขภาพของตนเองเป็นอันดับต้นๆ จึงทำให้มีการหันมาพึ่งพาธรรมชาติมากขึ้น หันมาปลูกผักสวนครัวแทนการปลูกไม้ดอก เพราะรู้สึกมั่นใจว่าร่างกายจะไม่รับสารเคมี นอกจากผักสวนครัวที่สามารถปลูกได้ในครัวเรือนแล้ว ยังสามารถเพาะเห็ดฟางไว้รับประทานได้อีกด้วย
ไม่ใช่สิ่งที่น่าเหลือเชื่อ เพราะผู้คนส่วนใหญ่มักจะคิดว่าการเพาะเห็ดจะต้องทำโรงเรือนใหญ่โต แต่ขณะนี้เราไม่จำเป็นต้องใช้พื้นที่มากในการเพาะเห็ดฟาง เพียงแค่มีตะกร้า 1 ใบ ก็สามารถเพาะเห็ดฟางนำมารับประทานในครัวเรือนได้แล้ว

กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต สำนักงานเกษตรจังหวัดภูเก็ตได้สาธิตและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การเพาะเห็ดฟางในตะกร้าพลาสติก เพื่อเป็นแนวทางส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรที่เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมภูเก็ต ซึ่งมีพื้นที่การเกษตรลดลง ค่าครองชีพสูง และบริเวณที่พักอาศัยมีพื้นที่ว่างไม่มาก การเพาะเห็ดฟางในตะกร้าพลาสติกจะสามารถช่วยเพิ่มรายได้และลดรายจ่าย ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

การเพาะเห็ดฟางสามารถทำได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการเพาะแบบกองเตี้ย การเพาะในถุง การเพาะแบบโรงเรือนอบไอน้ำ แล้วแต่สภาพความพร้อมของพื้นที่และความพร้อมของผู้เพาะ รวมทั้งวัสดุที่ใช้เพาะ ก็ใช้ได้หลากหลายอย่าง ตามที่มีในท้องถิ่น เช่น ฟางข้าว ผักตบชวา ต้นกล้วยแห้ง ไส้นุ่น เปลือกถั่ว หรือกากมันสำปะหลัง ซึ่งเป็นการนำวัสดุที่เหลือใช้ในท้องถิ่นมาเพิ่มมูลค่านั่นเอง

การเพาะเห็ด นอกจากจะเป็นการผลิตอาหารในครอบครัวแล้ว ยังสามารถสร้างงาน สร้างรายได้เสริม ในช่วงว่างจากฤดูการทำนา และวัสดุที่เหลือจากการเพาะเห็ดก็สามารถนำกลับลงในแปลงนาเพื่อบำรุงดิน หรือทำเป็นปุ๋ยหมักใส่พืชผักได้อีกด้วย

การเพาะเห็ดในตะกร้า เป็นการเพาะเห็ดอีกรูปแบบหนึ่งที่ทำได้ง่าย ใช้พื้นที่น้อย ขั้นตอนไม่ยุ่งยาก สามารถทำได้ทุกครัวเรือนเพื่อบริโภค ดอกเห็ดสามารถทยอยออกได้เรื่อยๆ เป็นการลดรายจ่ายด้านอาหารในครัวเรือน และสามารถทำเป็นกิจกรรมเสริมเพื่อพักผ่อนหย่อนใจได้ด้วย โดยใช้วัสดุที่เหลือใช้จากไร่นาได้เกือบทั้งสิ้น เช่นเดียวกับการเพาะเห็ดฟางแบบอื่นๆ แต่ที่พิเศษไปกว่านั้นคือ สามารถนำก้อนเชื้อเห็ดที่เก็บดอกหมดแล้วมาใช้ได้ ทั้งเห็ดฟาง เห็ดขอนขาว เห็ดนางฟ้า และเห็ดนางรม

สำหรับวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ก็หาได้ไม่ยาก ประกอบด้วย ตะกร้าพลาสติก ขนาด 12×14 นิ้ว มีตาห่างประมาณ 2 นิ้ว เชื้อเห็ดฟางที่พร้อมเพาะ ก้อนเชื้อเห็ดเก่า ปุ๋ยหมัก หรือผักตบชวาหั่นสด ท่อนไม้สำหรับรองก้นตะกร้า โครงไม้ไผ่แบบสุ่ม และผ้าพลาสติกคลุมสุ่ม
ส่วนวิธีเพาะ ให้เทก้อนเชื้อเห็ดเก่าออกจากถุง ขยี้ให้แตก อัดลงในตะกร้า หนาชั้นละ 3 นิ้ว ใส่อาหารเสริมจำพวกปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก หรือผักตบชวาสับ ชั้นละ 1-2 กำมือ โรยเชื้อเห็ดฟาง รดน้ำพอชุ่มแล้วทำชั้นที่ 2 และชั้นที่ 3 ต่อไปเหมือนกัน โดยชั้นที่ 3 ให้เหลือช่องว่างของตะกร้าจากปากไว้ 3 นิ้ว การเลือกเชื้อเห็ดที่ดี ควรเลือกที่มีเส้นใยเต็มถุง มีสีขาวนวล ไม่อ่อนหรือแก่เกินไป ไม่มีการปนเปื้อนของเชื้อรา และมีกลิ่นหอมของเห็ดฟาง ส่วนพื้นที่เพาะเห็ดต้องเป็นบริเวณที่ไม่มียาฆ่าแมลง น้ำไม่ท่วมขัง มีการระบายน้ำได้ดี

วิธีการดูแลไม่ยาก หลังจากบรรจุวัสดุเพาะเห็ดเรียบร้อย ให้นำตะกร้าเห็ดที่ได้ไปวางไว้ตามร่มไม้ชายคา ที่มีแสงแดดเล็กน้อย โดยเอาท่อนไม้วางรองด้านล่างกันปลวก โดยการเพาะ 1 สุ่ม ควรใช้ตะกร้า 4 ใบ วางด้านล่าง 3 ใบ ซ้อนด้านบน 1 ใบ ใช้สุ่มครอบ คลุมด้วยแผ่นพลาสติก
เมื่อครบ 4 วัน ให้เปิดพลาสติกคลุมตอนเช้าหรือเย็นเพื่อให้เชื้อเห็ดรับอากาศ ประมาณ 2 ชั่วโมง แล้วปิดไว้ตามเดิม ทิ้งไว้กระทั่ง วันที่ 9-12 ดอกเห็ดฟางก็จะเกิด สามารถเก็บไปประกอบอาหารได้ ถ้าทำจำนวนมากหลายสุ่มจะเหลือจำหน่ายเป็นรายได้เสริมอย่างดีอีกด้วย

ดอกเห็ดฟางในตะกร้าสามารถเก็บได้เรื่อยๆ จนหมดรุ่น ซึ่งสามารถเปิดพลาสติกรดน้ำให้เปียกเอารุ่นที่ 2 ได้อีก พอดอกเห็ดหมดสามารถนำวัสดุที่เหลือนำไปเป็นปุ๋ยหมัก ใส่แปลงผัก หรือใส่แปลงนาได้อย่างดี หลังจากนั้น ล้างตะกร้าให้สะอาดตากแดด ประมาณ 1-2 แดด นำมาเพาะเห็ดรุ่นต่อไปได้

สภาพอากาศที่เหมาะสมในการเพาะเห็ดฟาง ประมาณ 35-37 องศาเซลเซียส เนื่องจากเห็ดฟางชอบอากาศร้อน เจริญเติบโตได้ดีทั้งในฤดูฝนและในฤดูร้อน เพราะอากาศร้อนจะช่วยเร่งการเจริญเติบโตของดอกเห็ดได้ดีอยู่แล้ว ส่วนในช่วงอากาศหนาวไม่ค่อยจะดีนัก เพราะอากาศที่เย็นเกินไปไม่เอื้ออำนวยต่อการเติบโตของดอกเห็ดฟาง
สำหรับทางภาคใต้ก็สามารถจะเพาะเห็ดฟางได้ตลอดทั้งปี ถ้ามีฝนตกไม่มากเกินไปนัก จึงเห็นได้ว่า การเพาะเห็ดฟางของประเทศไทยเราสามารถเพาะได้ตลอดปี แต่หน้าหนาวผลผลิตจะลดน้อยลง เนื่องจากอุณหภูมิต่ำ จึงทำให้เห็ดฟางมีราคาสูง
เห็ดฟาง ไม่ชอบแสงแดดโดยตรง หากถูกแสงแดดมากเกินไปเส้นใยเห็ดอาจจะตายได้ง่าย จึงควรจะคลุมกองด้วยผ้าพลาสติกเพื่อพรางแสงแดด โดยดอกเห็ดฟางที่ไม่โดนแสงแดดจะมีสีขาวนวลสวย ถ้าดอกเห็ดฟางโดนแดดแล้วจะเปลี่ยนจากสีขาวเป็นสีดำเร็วขึ้นกว่าปกติ

การเก็บเห็ดได้เร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับวิธีการเพาะและฤดูกาล คือ ฤดูร้อนและฤดูฝนจะเก็บเห็ดได้เร็วกว่าฤดูหนาว เพราะความร้อนช่วยเร่งการเจริญเติบโตของเห็ด นอกจากนั้น ถ้าใส่อาหารเสริมด้วยแล้ว จะทำให้เกิดดอกเห็ดเร็วกว่าไม่ใส่อีกด้วย ดอกเห็ดที่ขึ้นเป็นกระจุก มีทั้งอ่อนและแก่
ถ้ามีดอกเล็กๆ มากกว่าดอกใหญ่ ควรรอเก็บเมื่อดอกเล็กโตหรือรอเก็บชุดหลัง เก็บดอกเห็ดที่ขึ้นทั้งกระจุก โดยใช้มือจับทั้งกระจุกอย่างเบาๆ แล้วหมุนซ้ายและขวาเล็กน้อย ดึงขึ้นมาพยายามอย่าให้เส้นใยกระทบกระเทือน

ศัตรูของเห็ดฟางคือ แมลง เช่น มด ปลวก ไรเห็ด วิธีการแก้ไข ให้ใช้สารเคมีพวกเซฟวินโรยรอบๆ กอง ห่างประมาณ 1 ศอก ควรจะโรยสารเคมีนี้ประมาณ 1 สัปดาห์ ก่อนที่จะเริ่มกองเห็ด แต่อย่าโรยภายในกอง เพราะจะมีผลต่อการออกดอก อีกทั้งยังมีสารพิษตกค้างในดอกเห็ด ซึ่งเกิดอันตรายต่อผู้บริโภคได้
นอกจากแมลงที่เป็นศัตรูของเห็ดฟางแล้ว ศัตรูอีกอย่างคือ เห็ดคู่แข่ง เป็นเห็ดที่เราไม่ได้เพาะ แต่ขึ้นมาด้วย หรือเชื้อโรคอื่นๆ ที่เป็นศัตรูของเห็ดฟาง เช่น พวกราต่างๆ วิธีแก้คือ การเก็บฟางไม่ควรให้ถูกฝน และถ้ามีราขึ้นให้หยิบฟางขยุ้มนั้นทิ้งให้ไกลกองเพาะ

การเพาะเห็ดฟางในตะกร้า มีต้นทุนต่ำ เหมาะกับทุกบ้านเรือน เนื่องจากใช้พื้นที่น้อย ให้ผลผลิตทุกฤดูกาล ที่สำคัญเป็นพืชปลอดสารพิษ นอกจากนำผลผลิตมารับประทานในบ้านเรือนแล้ว ผลผลิตที่เหลือยังสามารถนำไปขายเป็นรายได้เสริมอย่างดี
กรณีสำนักงานเกษตรจังหวัดภูเก็ตให้ความสำคัญต่อการเพาะเห็ดฟางในตะกร้า ส่วนหนึ่งเกิดจากก่อนหน้านี้การสร้างโรงเรือนเพาะเห็ดใกล้แหล่งเพาะปลูกที่ต้องอาศัยปุ๋ยเคมี กระทั่งมีสารเคมีตกค้างในพื้นดินจำนวนมาก จนทำให้การเพาะเห็ดในโรงเรือนได้รับสารเคมีไปด้วย การเพาะเห็ดในตะกร้าจึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการหลีกเลี่ยงสารเคมีจากผลผลิตทางการเกษตร

เห็ดฟาง หรือเห็ดบัว ภาคอีสานเรียกว่า เห็ดเฟียง มีชื่อสามัญว่า Straw Mushroom มีถิ่นกำเนิดจากประเทศจีน เห็ดฟางเป็นเห็ดที่ขึ้นตามกองฟาง ดอกตูมมีลักษณะเป็นก้อนกลมสีขาว มีเยื่อหุ้มกระเปาะคล้ายถ้วย รองรับฐานเห็ดเรียกว่า ผ้าอ้อมเห็ด เมื่อหมวกเห็ดเจริญเติบโตเต็มที่จะกางออกคล้ายร่ม ด้านบนของหมวกเห็ดจะสีเทาอ่อน หรือเทาเข้ม ผิวเรียบและอาจมีขนละเอียดคลุมอยู่บางๆ คล้ายเส้นไหม ด้านล่างมีครีบดอกบางๆ ก้านดอกสีขาว เนื้อในแน่น ละเอียด ออกดอกทุกฤดูกาล

เห็ดฟางนำมาปรุงอาหารได้หลายอย่าง เช่น ยำเห็ดฟาง เห็ดฟางผัด ต้มยำเห็ดฟาง และแกงเลียงใส่เห็ดฟาง เป็นต้น นอกจากนี้ เห็ดฟางยังมีสรรพคุณทางยาอีกด้วย เพราะเห็ดฟางมีสาร Vovatoxin ช่วยป้องกันการเจริญเติบโตของไวรัส ที่ทำให้เกิดไข้หวัดใหญ่ ช่วยลดปัญหาเกี่ยวกับไขมันในเส้นเลือดและโรคหัวใจได้
นอกจากจะอร่อยแล้วยังมีประโยชน์ต่อร่างกายไม่น้อยเลยทีเดียว หากผู้อ่านสนใจก็สามารถทดลองเพาะเห็ดฟางในตะกร้าได้ภายในบริเวณบ้าน แต่หากอดทนรอเพาะเห็ดฟางรับประทานเองไม่ไหว คงต้องอุดหนุนเกษตรกรผู้เพาะเห็ดดีกว่า

สวัสดีค่ะ ส่วนหนึ่งของการเรียนในรายวิชาส่งเสริมการเกษตร สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การเกษตร มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี ในความดูแลของ อาจารย์ธนากร เที่ยงน้อย ในบทเรียนการเขียนบทความเพื่อเผยแพร่ข้อมูลด้านการเกษตร อาจารย์ให้งานพวกเราลงพื้นที่เพื่อสัมผัสชีวิตเกษตรกร รวมทั้งสัมภาษณ์ ถ่ายภาพเกษตรกรที่น่าสนใจในเรื่องแนวคิด วิธีการทำสวนทำไร่ แล้วนำมาเขียนบทความส่งให้อาจารย์พิจารณา

กลุ่มของเราจึงสืบเสาะค้นหาเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จในอาชีพการเกษตรจนได้มาพบกับผู้ปลูกและค้าส่งข้าวโพดหวานรายใหญ่ ตามไปดูกันว่า กว่าจะมีวันนี้ เขาผ่านอะไรมาบ้าง และข้าวโพดหวานราคาเป็นอย่างไร กับพวกเรานักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การเกษตร มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี

ข้าวโพดหวาน ปลูกได้ตลอดปี
ทนต่อทุกสภาพอากาศ

พวกเราได้ไปพบปะพูดคุยกับ คุณอาคม ศิระสรวงศุกล เจ้าของผู้ประกอบการข้าวโพดหวานรายใหญ่ ที่ตำบลหนองหญ้า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ปัจจุบันคุณอาคมเป็นทั้งผู้ปลูกข้าวโพดหวานและผู้ค้าส่งข้าวโพดหวานรายใหญ่ในตลาดสี่มุมเมือง

คุณอาคม เล่าให้ฟังว่า “จุดเริ่มต้นของการเป็นเกษตรกรผู้ปลูกและผู้ค้าข้าวโพดหวานเริ่มต้นเมื่อตอนเรียนจบ ผมได้ไปทำงานเป็นคนขับรถส่งข้าวโพดให้แม่ของผมเองและส่งให้คนอื่นบ้าง จนมาถึง ปี 2554 ได้ตัดสินใจซื้อที่ดินเพื่อลองผิดลองถูกกับการปลูกข้าวโพดเป็นของตัวเอง ซึ่งก็มีความล้มเหลวบ้าง แต่ผมก็ปลูกมาได้เรื่อยๆ จนถึงทุกวันนี้ ด้วยความที่ข้าวโพดหวานนั้น ปลูกได้ดีมีราคา ระยะเวลาในการปลูกไม่นานเกินไป และสามารถนำไปแปรรูปได้หลายอย่าง จึงเป็นเหตุผลที่เลือกปลูกและยึดเป็นอาชีพมาจนถึงปัจจุบัน”

การปลูกและการดูแลข้าวโพดหวาน

คุณอาคม เล่าต่อไปว่า ในส่วนของเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดหวานมีหลากหลายบริษัทผลิตออกมาจำหน่าย ที่ผมใช้อยู่คือ พันธุ์ไฮ-บริกซ์ 33 ไฮ-บริกซ์ 3 และ ไฮ-บริกซ์ 59 ใช้ระยะปลูก ที่ระยะต้น 25-30 เซนติเมตร ระยะแถว 115 เซนติเมตร ยกเป็นร่องเพื่อให้เดินสายน้ำหยด (1 ร่อง ต่อข้าวโพด 2 แถว) หากใช้ระยะปลูกขนาดนี้ พื้นที่ 1 ไร่จะต้องใช้เมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม ก่อนจะปลูกต้องจัดการเอาหญ้าออก โดยวิธีการฉีดยาฆ่าหญ้า เริ่มฉีดเมื่อช่วงแรกในการเตรียมหน้าดินและอีกช่วงหนึ่งที่หญ้าเริ่มขึ้น ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพอากาศและสภาพเนื้อดินอีกด้วยที่เป็นปัจจัยทำให้หญ้าโต

ส่วนการปลูกจะใช้การปลูกแบบหยอดหลุม โดยหยอดหลุมละเมล็ด หลังจากปลูกนับจากวันที่เริ่มปลูกผ่านไป 15 วัน ให้ใส่ปุ๋ย สูตร 18-8-8 ในรอบแรกเพื่อบำรุงต้นและช่วยการเจริญเติบโต หลังจากนั้น ผ่านไป 15 วัน ใส่ปุ๋ย สูตร 18-8-8 ในรอบที่สอง (30 วัน)

ผ่านไปอีก 15 วัน ใส่ปุ๋ย สูตร 14-7-35 ในรอบที่สาม (45 วัน) เพื่อเร่งในเรื่องของรสชาติของข้าวโพดให้หวานขึ้น สีสวยขึ้น โดยทุกครั้งของการให้ปุ๋ยจะใส่ปุ๋ย ประมาณ 1 กระสอบ 50 กิโลกรัม ต่อพื้นที่ปลูกข้าวโพดหวาน 1 ไร่ จะเห็นได้ว่าการปลูกข้าวโพดหวานของคุณอาคมนั้นต้องมีการดูแลและใส่ใจปฏิบัติที่ดีพอสมควรเลยนะคะ

ข้าวโพดหวาน ปลูก 75-80 วัน ก็เก็บเกี่ยวได้

มืออาชีพด้านการปลูกและการตลาดข้าวโพดหวานอย่างคุณอาคม บอกอีกว่า ตัวช่วยในการทุ่นแรงสำหรับการทำข้าวโพดหวานของคุณอาคมก็มีการใช้เครื่องมือพวกรถไถ เอามาไถดิน ชักร่องในแปลง กับที่สำคัญเลยคือ สายน้ำหยด ช่วยในการรดน้ำแปลงข้าวโพดหวาน ที่ทำให้การทำงานได้สะดวก ผลผลิตก็จะสม่ำเสมอ โดยให้น้ำ วันเว้นวัน จะให้เป็นสายน้ำหยดลากยาวตามแนวร่องแปลง หากมีการจัดการเรื่องน้ำ ปุ๋ย และวัชพืช เป็นอย่างดีการปลูกข้าวโพดหวานจะใช้เวลา 75-80 วัน หรือประมาณ 2 เดือนครึ่งเท่านั้น

ส่วนช่วงปลูกข้าวโพดหวานที่เหมาะสม คุณอาคม บอกว่า คือช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม เพราะเป็นระยะที่ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดี ประกอบกับสภาพอากาศดีเหมาะสมกับการเริ่มเพาะปลูก ส่วนช่วงที่ไม่ควรปลูกข้าวโพดหวานคือ ช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม เพราะเป็นช่วงฤดูร้อน จึงไม่เหมาะสมในการเริ่มเพาะปลูก เนื่องจากจะทำให้ข้าวโพดฟันหลอ (ข้าวโพด มีเมล็ดไม่เต็มฝัก) ในด้านของการเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวโพดหวานที่ไร่ของคุณอาคมจะใช้แรงงานคนค่ะ โดยจะใช้คนหักฝักข้าวโพดใส่กระสอบ เมื่อเต็มกระสอบแล้วจะยกขึ้นรถบรรทุกเพื่อนำไปจำหน่าย

ข้าวโพดหวานราคาดี

ในส่วนของราคาขายข้าวโพดหวาน คุณอาคม เล่าว่า ราคาผลผลิตข้าวโพดหวานจะขึ้นอยู่กับสภาพอากาศในช่วงการผลิตกับผลผลิตที่ได้ เช่น เดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม จะได้ผลผลิตที่คุณภาพไม่ดีเท่าไร จึงทำให้ราคาตก ส่วนเดือนตุลาคม-ธันวาคม เป็นช่วงหน้าหนาว ซึ่งจะได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ จะขายได้ราคาดี ราคาอยู่ที่ 4-6 บาท ต่อฝัก แล้วแต่ขนาดฝักที่เราขายแบบคัดไซซ์ เล็ก กลาง ใหญ่ ผลผลิตส่วนใหญ่ผมส่งไปขายที่ตลาดสี่มุมเมือง จังหวัดปทุมธานีเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็มีผลผลิตบางส่วนไปส่งที่ตลาดปฐมมงคล จังหวัดนครปฐมบ้าง

คุณอาคม บอกว่า ปริมาณความต้องการข้าวโพดหวานขึ้นอยู่กับผู้บริโภค ซึ่งส่วนใหญ่จะมีลูกค้ามาซื้อปลีก เพื่อนำไปแปรรูปในการขาย เช่น ข้าวโพดต้ม ข้าวโพดปิ้ง ข้าวโพดคลุกเนย น้ำนมข้าวโพด ไอศกรีมข้าวโพด เป็นต้น และถ้าช่วงใดที่ราคาข้าวโพดหวานตก จะนำส่งเข้าโรงงานซึ่งแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้อีกช่องทางหนึ่ง เห็นไหมคะว่า ข้าวโพดหวาน มีตลาดที่หลากหลาย ขึ้นอยู่กับราคา ปริมาณผลผลิตและเกษตรกรจะกำหนดตลาดค่ะ

มุมมองอนาคตของข้าวโพดหวานในไทย

คุณอาคม มองว่า ปัจจุบันสถานการณ์การผลิตข้าวโพดหวานของประเทศนั้นมีทิศทางในทางที่ดีและคิดว่าในอนาคตข้างหน้าจะมีแนวโน้มการผลิตเพิ่มขึ้นอีกด้วย เนื่องจากมีการพัฒนาข้าวโพดหวานสายพันธุ์ใหม่ๆ เพิ่มมากขึ้น เช่น พันธุ์ทับทิมสยาม (ที่สามารถบริโภคสดได้โดยไม่ต้องทําให้สุก) ในขณะที่ข้าวโพดพันธุ์พื้นเมืองก็เป็นที่นิยมเหมือนกัน เช่น พันธุ์ข้าวเหนียว ข้าวโพดเทียน

“ผมมองว่า ควรสนับสนุนให้เกษตรกรที่มีความพร้อมหันมาปลูกข้าวโพดหวาน เพราะการปลูกข้าวโพดหวานนั้น ถึงแม้ว่าต้องมีขั้นตอนกระบวนการปลูก การดูแลที่ค่อนข้างจะละเอียด แต่หากผลผลิตที่ได้นั้นมีคุณภาพเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค ราคาของผลผลิตนั้นก็จะสูงขึ้น ซึ่งทำให้เป็นการสร้างรายได้ที่ดีอย่างหนึ่งสำหรับเกษตรกร อย่างตัวของผมเอง ปัจจุบัน ก็ขยายพื้นที่การปลูกอยู่ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตลาดและของผู้บริโภคที่มีความต้องการข้าวโพดหวานมากขึ้น ส่วนตัวผมมองว่า ข้าวโพดหวาน มีข้อดีคือ ข้าวโพดหวานนั้นสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปีทุกฤดูกาล แต่ก็มีข้อจำกัดคือ ถึงแม้ว่าข้าวโพดหวานจะสามารถปลูกได้ตลอด แต่ผลผลิตที่ได้นั้นก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น สภาพอากาศ สภาพแวดล้อม การดูแลของเกษตรกรด้วย”

หากใครสนใจวิธีการปลูก หรือสนใจซื้อข้าวโพดหวาน ติดต่อผ่านเบอร์โทร. 081-926-2402 (คุณอาคม ศิระสรวงศุกล) ตำบลหนองหญ้า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี คุณธนารัตน์ งามวลัยรัตน์ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ประกาศวิสัยทัศน์ในการดูแลเกษตรกร ซึ่งเป็นลูกค้าสำคัญให้สามารถพึ่งพาตัวเองได้ทางเศรษฐกิจ เพราะเกษตรกรอยู่ได้ ธ.ก.ส. อยู่ได้ จึงเน้นดูแลให้สินเชื่อและร่วมมือกับสถาบันการศึกษาต่างๆ เข้าไปสร้างองค์ความรู้ เพื่อพัฒนาต่อยอดผลผลิต สร้างอาชีพและรายได้ให้กับชุมชน สนับสนุนให้เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตรและเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทางการตลาด โดยเน้นการเชื่อมโยงตลาด Social Commerce การตรวจสอบย้อนกลับสินค้าเกษตรอินทรีย์ ตลอดห่วงโซ่คุณค่าบนระบบ Blockchain การพัฒนาสินค้าเกษตรสู่มาตรฐานสินค้า ที่ได้เป็นมาตรฐาน ฯลฯ ซึ่งเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเกษตรกรมีความเข้มแข็งและเติบโตอย่างมีคุณภาพ มั่งคั่ง และยั่งยืน

วิสาหกิจชุมชนสวนตาเหน่ง ตั้งอยู่ในพื้นที่ ตำบลเทพราช อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช ภายใต้การนำของประธานกลุ่ม คุณจิรัชญา งามขา (โทร. 081-918-5078) วิสาหกิจชุมชนสวนตาเหน่ง ผลิตและจำหน่ายสินค้าประเภทสะละสด สะละแปรรูป ท่องเที่ยวเชิงเกษตร ผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติ ผ้าอีโค่ปริ้นต์

วิสาหกิจชุมชนสวนตาเหน่ง เกิดจากการรวมตัวของเกษตรกรผู้ปลูกสะละทั้งหมด 7 สวน ในตำบลเทพราช อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช พวกเขารวมกันจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชน เมื่อปี 2562 โดยชุมชนแห่งนี้เน้นปลูกสะละพันธุ์เนินวง แล้วยังเปิดพื้นที่สวนเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร มีกิจกรรมต่างๆ ให้ผู้สนใจมาศึกษาเรียนรู้ ได้แก่ ชมสวน ชิมสะละ ผสมเกสรสะละ รับประทานสะละแปรรูป ทำผ้ามัดย้อมและผ้าอีโค่ปริ้นต์

หลังจากวิสาหกิจชุมชนสวนตาเหน่งเปิดให้บริการเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรก็ได้รับความสนใจจากผู้บริโภคในวงกว้าง ที่ผ่านมาได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้นักท่องเที่ยวลดลง และตลาดที่ขายสินค้าเดิมก็ต้องปิดตัวลง ทำให้ช่องทางการจำหน่ายสินค้ามีแต่ทางออนไลน์อย่างเดียว ทำให้สมาชิกวิสาหกิจชุมชนสวนตาเหน่งมีรายได้ลดลง สำนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จังหวัดนครศรีธรรมราชจึงเข้ามาสนับสนุนให้วิสาหกิจชุมชนสวนตาเหน่งเข้าร่วมโครงการพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ ณ จังหวัดสงขลา เมื่อปี 2562

กลุ่มทุเรียนแปลงใหญ่ ตำบลสี่ขีด

กลุ่มทุเรียนแปลงใหญ่ ตำบลสี่ขีด ตั้งอยู่ เลขที่ 90 หมู่ที่ 3 ตำบลสี่ขีด อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช ประธานกลุ่มคือ คุณโยธิน โจมฤทธิ์ (โทร. 065-496-1541) กลุ่มเกษตรกรแห่งนี้เน้นผลิตและจำหน่ายทุเรียนผลสดและต้นพันธุ์ทุเรียน

จุดเริ่มต้นของ กลุ่มทุเรียนแปลงใหญ่ ตำบลสี่ขีด เกิดจากเกษตรอำเภอสิชล เล็งเห็นว่าตำบลสี่ขีดมีทุเรียนคุณภาพดีแต่ขายได้ราคาต่ำ เนื่องจากเกษตรกรผู้ผลิตทุเรียนเป็นเกษตรกรรายเล็ก ไม่มีกำลังต่อรองราคาขายสินค้ากับพ่อค้า จึงแนะนำให้เกิดการรวมกลุ่มผู้ปลูกทุเรียนเป็นทุเรียนแปลงใหญ่ เพื่อเพิ่มโอกาสทางการตลาด รวมทั้งต่อรองราคาขายสินค้ากับพ่อค้าคนกลาง

เกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนในตำบลสี่ขีด สมัครน้ำเต้าปูปลา จึงมีการรวมกลุ่มเกษตรกร เพื่อส่งเสริมการผลิตทุเรียน และการบริหารจัดการร่วมกันเพื่อลดต้นทุนการผลิต เพิ่มประสิทธิภาพผลผลิตและเพิ่มโอกาสในการแข่งขัน ปัจจุบันกลุ่มทุเรียนแปลงใหญ่ ตำบลสี่ขีดมีสมาชิกกลุ่มเพิ่มขึ้นและสามารถจำหน่ายทุเรียนผลสดได้ในราคาที่สูงขึ้นแล้ว ยังสามารถจำหน่ายต้นพันธุ์ทุเรียนให้กับเกษตรกรและผู้สนใจทั่วประเทศอย่างต่อเนื่อง

ปัญหาอุปสรรคสำคัญที่พบในชุมชนแห่งนี้ก็คือ ปัญหาแหล่งน้ำที่ไม่เพียงพอกับความต้องการใช้งานของเกษตรกร เนื่องจากบางพื้นที่มีเหล่งน้ำน้อย ส่งผลให้ต้นทุเรียนล้มตายเป็นจำนวนมากในช่วงฤดูแล้ง นอกจากนี้ ยังประสบปัญหาโรคพืชและแมลงศัตรูพืชที่ควบคุมได้ยากอีกด้วย สำนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จังหวัดนครศรีธรรมราช จึงเข้ามาสนับสนุนเงินทุนในการจัดหาแหล่งน้ำ เช่น การเจาะบ่อบาดาล และสนับสนุนสินเชื่อในการบริหารจัดการสวนทุเรียนให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น

ต้อมเบต้า ไทยแลนด์

ต้อมเบต้า ไทยแลนด์ เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายปลาหางนกยูงและพัฒนาสายพันธุ์ปลาสวยงามให้แก่ผู้สนใจทั่วไป ต้อมเบต้า ไทยแลนด์ เริ่มต้นทำธุรกิจจากความสนใจในการเพาะพันธุ์ ขยายพันธุ์ พัฒนาสายพันธุ์และทำเป็นอาชีพเสริม เพื่อสร้างรายได้เพิ่ม เนื่องจากเล็งเห็นถึงความต้องการของตลาดการส่งออกทั้งในและต่างประเทศ ที่มีความต้องการปลาสวยงามเป็นจำนวนมาก ปัจจุบันมีการเพาะพันธุ์และพัฒนาสายพันธุ์ตามความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ และตอบสนองความต้องการของลูกค้าในตลาดออนไลน์เป็นหลัก

เนื่องจากสินค้าปลาสวยงามขาดความหลากหลายของปลาสายพันธุ์ใหม่ๆ จึงเป็นปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจ ต้องพึ่งพาการนำเข้าปลาสวยงามจากต่างประเทศ นอกจากนี้ ยังประสบปัญหาเรื่องโรคปลาที่มาตามฤดูกาล สำนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จังหวัดนครศรีธรรมราช จึงสนับสนุนเงินทุนในการเพิ่มช่องทางการเรียนรู้และจำหน่ายผลิตภัณฑ์ รวมถึงสนับสนุนการนำสินค้าออกแสดงและจำหน่ายในงานแสดงสินค้าต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ทำให้สามารถขยายตลาดและมีจำนวนลูกค้าเพิ่มมากขึ้น

มาดาวี ฟาร์ม

มาดาวี ฟาร์ม ตั้งอยู่ในพื้นที่ ตำบลปากแพรก อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นหนึ่งในสมาชิกวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้เลี้ยงแพะสิชลก้าวหน้า เจ้าของกิจการ มาดาวี ฟาร์ม ชื่อ คุณก้าว หรือ คุณธีรวีร์ ตันติพงศ์ (โทร. 091-549-9546) เกษตรกรรุ่นใหม่ที่เรียนจบปริญญาโท ด้านการเงิน จากสหรัฐอเมริกา แต่สนใจลงทุนทำฟาร์มเกษตรอินทรีย์ครบวงจร โดยเลี้ยงแพะ เลี้ยงวัว ทำฟาร์มไก่ไข่ เลี้ยงปลาหมอ