ในที่ดินบางแห่ง อาจมีชั้นหินอยู่ตื้นๆ หรือบางแห่งอาจมีหินดิน

เมื่อฝนตกน้ำจะซึมลงลึกไม่ได้ ซึ่งทำให้น้ำท่วมหน้าดินอย่างรวดเร็ว หรือไหลลงสู่ที่ต่ำหมด และเมื่อถึงฤดูแล้ง น้ำที่อยู่ในชั้นดินที่ลึกๆ จะซึมผ่านชั้นดินดานขึ้นมาชั้นบนได้ยาก ทำให้มะนาวเกิดการขาดน้ำได้อย่างรวดเร็ว และอาจทำให้ต้นมะนาวโค่นล้มได้ง่าย เพราะระบบรากตื้น สภาพดินดานมักเกิดจากการไถพรวนตื้นๆ เพื่อปลูกพืชไร่หรือพืชอายุสั้นติดต่อกันเป็นเวลานานๆ ทำให้ดินที่อยู่ใต้ระดับรอยไถจับตัวกันเป็นชั้นดินแห้งหรือชั้นดินดาน ดังนั้น ควรมีการไถพรวนระเบิดหน้าดินด้วยไถสิ่ว เพื่อให้ชั้นดินดานแตกตัวเสียก่อน จะทำให้น้ำไหลซึมลงไปเก็บกักไว้ในดินชั้นล่างได้ และเมื่อถึงฤดูแล้ง น้ำจะกลับซึมขึ้นมาสู่ผิวดินเป็นประโยชน์

การปลูกแบบที่ลุ่ม

พื้นที่มักจะเป็นที่ลุ่มน้ำท่วมถึงในฤดูฝน ตามปกติจะมีระดับน้ำใต้ดินสูง ส่วนใหญ่มักเป็นที่นามาก่อน มักจะเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำ ดินเหนียวจัดระบายน้ำยาก จึงต้องมีการยกระดับดินให้สูงกว่าพื้นที่ราบโดยทั่วไป โดยทำเป็นร่องปลูก จะทำให้รากต้นไม้ปลูกกระจายได้ลึก ระหว่างแปลงดินเป็นร่องน้ำ สามารถเก็บกักน้ำไว้ใช้และขณะเดียวกันเป็นช่องทางระบายน้ำ โดยมีคันดินรอบแปลงปลูกทั้งหมด เพื่อเป็นแนวป้องกันน้ำท่วมและรักษาระดับน้ำตามต้องการได้

การยกร่องเพื่อปลูกมะนาว

1.การไถปรับพื้นที่ นิยมทำกันในหน้าแล้ง ส่วนใหญ่ใช้รถแทรกเตอร์ขนาด 3-5 ผาน ไถปรับพื้นที่ให้เรียบ ทำคันโอบล้อมพื้นที่ทั้งหมด อาจใช้รถตักดินขนาดใหญ่หรือจ้างคนแทงดินขึ้นเป็นคันโอบ ความกว้างของคันโอบหรือคันล้อมประมาณ 6-8 เมตร ซึ่งสามารถนำรถยนต์เข้าไปบรรทุกผลผลิตได้

2.การไถแหวก นิยมใช้รถแทรกเตอร์ไถ เป็นแนวทางตามเชือกที่ขึงไว้หรือแนวโรยปูนขาว จากนั้นจึงขุดแทงร่องตามแนวที่ไถไว้

3.การแทงร่องหรือซอยร่อง นิยมใช้แรงงานคนมากกว่ารถตักดิน เพราะร่องที่ได้จะมีดินที่ฟูไม่ทึบแน่น ขนาดของแปลงดินหลังร่องนิยมทำกว้าง ประมาณ 6 เมตร ร่องน้ำกว้าง 1.5 เมตร ลึก 1 เมตร และก้นร่องน้ำกว้างประมาณ 0.5-0.7 เมตร แล้วตากดินให้แห้ง 1-2 เดือน จนเม็ดดินแห้ง (เรียกกว่าดินสุก) จึงทำประตูระบายน้ำเข้าออก นิยมทำด้วยท่อคอนกรีตขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 12 นิ้ว (30.5 เซนติเมตร) ซึ่งยังขึ้นกับขนาดสวน แล้วจึงระบายน้ำเข้าท่มแปลงให้ระดับน้ำสูงกว่าแปลงดินประมาณ 10-20 เซนติเมตร ทิ้งไว้ประมาณ 2 สัปดาห์ เพื่อให้ดินยึดตึวดีขึ้น และเป็นการฆ่าเชื้อโรคและแมลงที่อยู่ในดินด้วย จากนั้นระบายน้ำออกจนดินเริ่มแห้ง (หมาด) ถ้าดินเป็นกรดให้โรยใส่ปูนขาวตามอัตราที่กำหนดตามความเป็นกรดด่างของดิน ปกติให้ใส่ปูนขาวก่อนปลูกต้นไม้ประมาณ 1 เดือน แล้วจึงทำการวัดระยะหลุมปลูก

ระยะปลูกที่เหมาะสมสะดวกต่อการปฏิบัติจัดการสวน คือ ระยะระหว่างต้นและระหว่างแถว เท่ากับ5 x5 หรือ 6×6 เมตร

การเตรียมหลุมปลูกต้นมะนาว ควรขุดหลุมให้มีขนาดกว้าง ยาว และลึกประมาณ 80 เซนติเมตร หาเศษใบไม้ใบหญ้าหรือเศษฟางเก่าๆ ผุเปื่อยใส่รองก้นหลุม อัดให้แน่นหนาประมาณ 20 เซนติเมตร เพื่อให้ช่วยซับน้ำที่รดลงไปเก็บไว้ ให้มีความชุ่มชื้นแก่รากมะนาว ชั้นถัดขึ้นมาใส่ปุ๋ยคอกหนาประมาณ15 เซนติเมตร อาจใส่ปุ๋ย 20-10-20 ประมาณ 2 ช้อนแกงผสมลงไปด้วย เพื่อเป็นแหล่งธาตุอาหารแก่ราก กิ่งต้นพันธุ์ที่ใช้ควรผ่านการนำไปชำในกระบะเพาะชำ หรือลงถุงชำ ระยะหนึ่ง ประมาณ 2-3 สัปดาห์ หลังตัดกิ่งตอนที่ออกรากดี จะช่วยลดอัตราการตายหลังปลูกลงได้มากกว่าการตัดกิ่งตอนมาปลูก ก่อนที่จะวางกิ่งพันธุ์ลงในหลุม ต้องกรีดถุงพลาสติกออกแล้วจึงวางกิ่งให้อยู่ตรงกลางหลุม

การปลูกควรจัดรากให้แผ่ออกไปโดยรอบในลักษณะไม่หักพับ เมื่อวางกิ่งต้นลงหลุมแล้ว ค่อยๆ โรยดินกลบไปจนมิด ควรกลบให้ดินพูนสูงขึ้น เพื่อป้องกันการแช่ขังของน้ำในปากหลุม และกดดินรอบต้นให้แน่นพอสมควร แล้วรดน้ำ เพื่อให้เม็ดดินกระชับราก ควรปักไม้หลักผูกยึดลำต้น เพื่อป้องกันการโยกคลอน

ควรปลูกตอนต้นฤดูฝน ฉะนั้น ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายนผู้ปลูกจะต้องปรับพื้นที่ให้เรียบ หรือทำเป็นคันร่องนูนแบบหลังเต่าเพื่อไม่ให้น้ำขังในช่วงฝนตกชุกและช่วยระบายน้ำออกได้โดยเร็ว

ระยะปลูก ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของดิน ถ้าดินอุดมสมบูรณ์ควรใช้ระยะ 6 x 6 เมตร พื้นที่ 1 ไร่ ปลูกได้ประมาณ 44 ต้น หากดินไม่อุดมสมบูรณ์ ควรพูนดินให้สูงขึ้น เพื่อไม่ให้น้ำขังในช่วงฝนตกชุก และช่วยระบายน้ำออกได้โดยเร็ว

แต่ปัจจุบันมีวิธีการปลูกที่แตกต่างไปตามสภาพของพื้นที่ เพื่อป้องกันไม่ให้มะนาวเกิดโรคได้ง่าย เช่น การขึ้นลูกฟูกสูง การปลูกมะนาวในวงบ่อซีเมนต์ เป็นต้น

การดูแลรักษา

การให้น้ำ ช่วงปลูกใหม่ๆ ควรให้น้ำวันละครั้ง (กรณีฝนไม่ตก) หลังจากต้นมะนาวตั้งตัวได้แล้ว การให้น้ำสามารถเว้นระยะนานขึ้น หลังจากมะนาวออกดอกและกำลังติดผลอ่อน เป็นช่วงที่มะนาวต้องการน้ำมาก

การให้ปุ๋ย ต้นที่ให้ผลผลิตแล้ว แบ่งการใส่ปุ๋ย ดังนี้

1.บำรุงต้น ใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16

2.สร้างตาดอก ใช้ปุ๋ยสูตร 12-24-12 หรือ 9-24-24

3.บำรุงผล ใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หนทอ 16-16-16

4.ปรังปรุงคุณภาพ ใช้ปุ๋ยสูตร 13-13-21

ส่วนปริมาณการใส่ปุ๋ยประมาณ 1 กิโลกรัม / ต้น / ครั้ง

การพรวนดินดายหญ้า ในฤดูฝนวัชพืชมักจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ถ้าหากไม่ถากถางออกเสียบ้างเป็นครั้งคราวก็จะไปแย่งอาหารต้นมะนาวได้ ฉะนั้นควรดายหญ้าสัก 1-2 ครั้ง ในฤดูฝนก่อนใส่ปุ๋ยตอนปลายฤดูฝน จำเป็นอย่างยิ่งต้องพรวนดินดายหญ้า สุ่มโคนต้นเพื่อช่วยเก็บความชุ่มชื้นในดินไว้ เพราะไม่มีฝนตกมากนักในฤดูหนาวและฤดูร้อน

การปลิดดอก ในระยะ 1-2 ปีนับจากวันปลูก ถ้าหากต้นมะนาวออกดอกในช่วงนี้ควรจะปลิดทิ้ง เพราะต้นมะนาวยังเล็กไม่มีกำลังพอที่จะเลี้ยงทั้งต้นและลูก ถ้าหากปล่อยให้ติดลูกต้นมะนาวอาจจะแคระแกรนไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร หรือจะโทรมตายเร็วกว่าเท่าที่ควร ดังนั้นควรจะให้ต้นมะนาวติดผลได้เมื่ออายุ 3 ปี

การตัดแต่งกิ่ง หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ควรตัดกิ่งที่เป็นโรค กิ่งแห้ง กิ่งที่ไม่มีประโยชน์ออกให้หมด ในช่วงอายุ 4 ปี ควรตัดแต่งกิ่งออก 1 ส่วน 3 ของทรงพุ่ม เมื่อต้นมะนาวอายุ 6 ปี ควรตัดแต่งกิ่งออก 1 ส่วน 2 ของทรงพุ่ม

การกำจัดวัชพืช สามารถทำได้หลายวิธี เช่น ถอน ถาง หรือใช้เครื่องตัดหญ้าแต่ต้องระวังอย่าให้เกิดบาดแผลตามโคนต้น หรือกระทบกระเทือนราก วิธีกำจัดวัชพืชอีกวิธีหนึ่งที่นิยมคือการใช้สารเคมี เช่น พาราชวิท ไกลโฟเสท ดาวพอน เป็นตัน โดยการใช้จะต้องระวัง อย่าให้สารพวกนี้ปลิวไปถูกใบมะนาวเพราะอาจเกิดอันตรายได้ เช่นทำให้ ใบไหม้เหลืองเป็นจุดๆ หรือไหม้ทั้งใบ ดังนั้นจึงควรฉีดพ่นตอนลมสงบ

บางคนบอกว่า ไม่เคยกินถั่วเหลืองเลยสักครั้ง ซึ่งท่านอาจนึกไม่ถึงว่าทุกวันนี้เราได้รับโปรตีนจากถั่วเหลืองเข้าไปโดยไม่รู้ตัวก็ได้ เช่น ตื่นขึ้นมาตอนเช้าออกไปซื้อน้ำเต้าหู้หน้าปากซอย ซึ่งก็ทำมาจากถั่วเหลืองนั่นเอง บางคนบอกไม่กินอาหารไทยตอนเช้าๆ แต่โปรดปรานอาหารฝรั่ง ต้องกินขนมปัง ไข่ดาว ไส้กรอก เบคอน หมูแฮม ที่ต้องบอกว่า อุดมไปด้วยไขมันและคอเลสเตอรอลทั้งสิ้น แต่ถึงยังไงๆ อาหารเหล่านั้นก็ต้องเหยาะซอสปรุงรสสีดำๆ ที่ใครๆ ต่างก็เรียกว่า ซีอิ๊ว และซอสปรุงรส โดยเครื่องปรุงรสเหล่านั้นต่างก็ทำมาจากถั่วเหลืองทั้งนั้น พอถึงช่วงกลางวันกินอาหารเที่ยงสั่งผัดผักรวม เขาก็เหยาะซีอิ๊วขาวที่ทำจากถั่วเหลืองลงไปอีก และพอตกเย็นกิน ข้าวต้มกุ๊ย สั่งผัดผักบุ้งไฟแดง และผัดถั่วงอกเต้าหู้อาหารจานโปรด ซึ่งเต้าหู้และเต้าเจี้ยวต่างล้วนแล้วแต่ทำจากถั่วเหลืองอีกนั่นแหละ

ซีอิ๊ว และ ซอสปรุงรส (หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่เป็นของเหลวได้จากการย่อยโปรตีนของถั่วเหลืองด้วยการหมักหรือกรรมวิธีอื่นที่เหมาะสม และจะแต่งรสหรือสีหรือไม่ก็ได้ หรือเครื่องปรุงรสอย่างน้ำปลา ทำด้วยถั่วเหลือง น้ำปลาถั่วเหลือง ก็เรียก อย่างใส เรียกว่า ซีอิ๊วขาว อย่างข้น เรียกว่า ซีอิ๊วดำ ถ้าใส่น้ำตาลทรายแดง เรียกว่า ซีอิ๊วหวาน

ถ้าเรามองดูทั้งโลกนี้ล้วนแล้วแต่มีอาหารที่ทำจากถั่วเหลืองแทบทั้งสิ้น อย่างเช่น ประเทศญี่ปุ่น มีนัตโตะ ทำจากถั่วเหลืองหรือถั่วลิสงหมักเหนียวๆ และมีซีอิ๊วญี่ปุ่น ส่วนประเทศจีนก็มี ซีอิ๊ว เต้าเจี้ยว เต้าหู้ และแบ่งเป็นเต้าหู้หลายชนิด เช่น เต้าหู้แผ่น เต้าหู้กระดาน เต้าหู้เหลือง เต้าหู้พวง เต้าหู้หลอด และแม้แต่เต้าหู้เน่า คนจีนเขายังเอามาทอดกินหอมไปเจ็ดบ้านแปดบ้าน มาถึงประเทศอินโดนีเซีย มี เทมเป้ ที่หมักจากถั่วเหลืองทำเป็นแผ่น ใช้กินแทนข้าวหรือใส่ปรุงรสอาหาร เหมือนทางภาคเหนือเรามีถั่วเน่าที่คล้ายๆ กับเทมเป้ แต่ของเรามักจะใช้ใส่เป็นเครื่องปรุงรสน้ำพริกมากกว่าแทนกะปิ หรือเอามาปิ้งกินได้

เทมเป้ อาหารพื้นเมือง และเป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญของชาวอินโดนีเซียมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1815 แต่บัดนี้ เทมเป้ กำลังเป็นที่นิยมไปทั่วโลก

นัตโตะ เป็นอาหารพื้นเมืองของประเทศญี่ปุ่น ทำจากถั่วเหลือง หมักด้วยเชื้อแบคทีเรีย นิยมรับประทานเป็นอาหารเช้า นัตโตะอุดมไปด้วยโปรตีน เช่นเดียวกับมิโซะ ทำให้เป็นแหล่งโภชนาการที่สำคัญของญี่ปุ่นมาช้านาน และคุณค่าทางโปรตีนที่สูงทำให้สามารถใช้แทนเนื้อสัตว์ได้

ส่วนฝรั่ง ค่อยขยับตามหลังชาวเอเชียมาทีหลัง และไม่ได้คิดค้นทำเต้าหู้แบบชาวจีน แต่เขาลงลึกไปถึงส่วนประกอบของถั่วเหลือง โดยการสกัดถั่วเหลืองได้แป้งถั่วเหลือง ที่มีโปรตีนอยู่ถึง 50% เพื่อนำมาใช้ทำขนมต่างๆ ใส่พวกซีเรียล อาหารเด็ก ไส้กรอก โดนัท แครกเกอร์ และของกินจากฝรั่งอีกมากมายที่ระบาดเข้ามาอยู่ในเมืองไทย จะผสมแป้งถั่วเหลืองเข้าไปแทบทั้งนั้น เนื่องจากต้นทุนถูกและให้คุณค่าทางโปรตีนสูงกว่าแป้งสาลี ซึ่งทำให้เรากินเข้าไปโดยไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่าเรากินถั่วเหลือง

ในถั่วเหลืองมีเลซิติน ซึ่งเป็นไขมันชนิดหนึ่งจากถั่วเหลืองใช้ผสมอาหารเหมือนกัน และยังมีผลวิจัยว่าช่วยลดคอเลสเตอรอล กินแล้วทำให้ผิวหนังเต่งตึงและบำรุงประสาท

ส่วนน้ำมันจากถั่วเหลือง กรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง ช่วยลดคอเลสเตอรอล โปรตีนของถั่วเหลืองของโปรดของนักมังสวิรัติ ซึ่งช่วยเสริมคุณค่าจนให้ประโยชน์ใกล้เคียงเนื้อสัตว์ แถมยังได้ไฟเบอร์ และวิตามินอีกด้วย และยังเอามาผสมนมสด ผสมโยเกิร์ต ผสมนมผง โดยที่ไม่รู้เลยว่ามีส่วนประกอบของถั่วเหลืองอยู่เลย

จากการศึกษาวิจัยคุณค่าโภชนาการในถั่วเหลือง ทำให้รู้ว่า ถั่วเหลือง เป็นพืชชนิดเดียวที่อุดมไปด้วยโปรตีน สามารถทดแทนเนื้อสัตว์อีกทั้งยังดีต่อสุขภาพ มีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย และยังพบว่าถั่วเหลืองมีโปรตีนสูงกว่าถั่วชนิดอื่นๆ

ดังนั้น เพื่อให้คุณภาพของโปรตีนมีความสมบูรณ์ ควรบริโภคถั่วเหลืองร่วมกับถั่วเมล็ดแห้งธัญพืช โดยเฉพาะที่ไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง เมล็ดพืชชนิดอื่น เช่น งา เมล็ดทานตะวัน เมล็ดฟักทอง ซึ่งจะช่วยเสริมกรดอะมิโนครบสมบูรณ์ ทำให้ได้อาหารที่มีคุณภาพของโปรตีนเท่าเทียมกับโปรตีนที่ได้มาจากเนื้อสัตว์ ร่างกายสามารถนำไปใช้ในการเสริมสร้างโปรตีนกล้ามเนื้อ เนื้อเยื่อ และน้ำย่อยต่างๆ ได้

แม้ถั่วเหลืองจะมีไขมันสูง แต่เป็นไขมันที่มีคุณภาพดี เพราะมีกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว ได้แก่ กรดลิโนลีอิค และกรดโอเลอิค ซึ่งเป็นกรดไขมันจำเป็นสูง กรดลิโนเลอิค มีหน้าที่สำคัญคือให้ความสมบูรณ์แก่ผิวหนัง ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด และยังมีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของทารกและเด็ก

นอกจากนี้ ถั่วเหลืองยังมีไฟโตนิวเทรียนท์ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ซึ่งพบว่าถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์ ได้แก่ เต้าหู้ ซอสถั่วเหลือง เต้าเจี้ยว และนมถั่วเหลือง มีสารสังเคราะห์จากพืชธรรมชาติ ฟลาโวนอยด์ ซึ่งเป็นกลุ่มสารที่ช่วยทำลายอนุมูลอิสระ ที่เกิดจากการเผาผลาญสารอาหารที่เรากินเข้าไป และผู้ที่กินถั่วเหลืองหรือผลิตภัณฑ์ถั่วเหลืองเป็นประจำ จะสามารถลดการเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งได้

ปัจจุบัน มีเมนูอาหารที่ทำจากถั่วเหลือง ที่เป็นทั้งอาหารคาวและหวาน และมีการดัดแปลงใช้โปรตีนถั่วเหลืองเป็นเนื้อเทียมผสมกับเนื้อสัตว์ ซึ่งในช่วงแรกก็ยังไม่คุ้นเคยกัน แต่ที่ง่ายและยอมรับกันมากคือ เต้าหู้ชนิดต่างๆ ที่นำมาทำกับข้าวได้หลายชนิด มีความอร่อยไม่แพ้เนื้อสัตว์ เช่น เต้าหู้ขาวแข็งผัดกะเพรา และผัดพริก ทำแกง หรือพะแนง ส่วนประเภทแกงจืด เช่น แกงจืดเต้าหู้ขาวหลอด หรือเต้าหู้สอดไส้หมู หรือไก่สับ จะนำไปผัดหรือแกงจืดถั่วงอก ถั่วเหลือง ที่เรียกว่า ถั่วงอกหัวโต และยังมีเมนูอื่นๆ อีกมากมาย

ทำไม คนส่วนใหญ่ไม่ชอบกินถั่วเหลือง

เป็นเวลาหลายศตวรรษแล้ว ที่ชาวจีนและชาวญี่ปุ่นนิยมรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของถั่วเหลืองเป็นอย่างมาก เพราะและรู้ถึงประโยชน์ของถั่วเหลืองที่สามารถช่วยต่ออายุให้ยืนยาว จึงทำให้ชาวญี่ปุ่นมีอัตราการตายจากมะเร็งและโรคหัวใจต่ำกว่าชาวอเมริกันมาก ในปัจจุบันนักวิจัยเชื่อว่าการกินอาหารที่ทำมาจากถั่วเหลืองเพิ่มเพียงแค่ 2 ออนซ์ ในอาหารแต่ละวัน จะเป็นเกราะที่คุ้มกันโรคต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ถั่วเหลืองมีเส้นใยอาหารสูง อีกทั้งยังเป็นหนึ่งในอาหารจากพืชไม่กี่ชนิดที่มีโปรตีนครบสมบูรณ์ โดยมีสัดส่วนของกรดอะมิโนที่สำคัญ 8 ชนิด อย่างสมดุล โปรตีนจากถั่วเหลืองสามารถเป็นแหล่งโปรตีนเพียงอย่างเดียวของมนุษย์ได้ เช่นเดียวกับโปรตีนจากพืชอื่นๆ คุณค่าทางโภชนาการของถั่วเหลืองจะเพิ่มขึ้นหากกินร่วมกับธัญพืชอย่างข้าวกล้องหรือพาสต้า

โปรตีนจากถั่วเหลือง ดีกว่าจากเนื้อสัตว์เพราะ

เทมเป้ กำลังเป็นที่นิยมไปทั่วโลก
ไขมันต่ำกว่า
ปราศจากคอเลสเตอรอล
มีไฟโตนิวเทรียนท์สูง (สารเคมีที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพที่พบเฉพาะในพืช อาจเป็นสารที่ทำให้พืชผักชนิดนั้นๆ มีสี กลิ่น หรือรสชาติที่เป็นลักษณะเฉพาะตัว มีฤทธิ์ต่อต้านหรือป้องกันโรคมะเร็ง)
เป็นแหล่งที่ดีของแร่ธาตุ เช่น แคลเซียม เหล็ก แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส และวิตามินบี เช่น ไทอะมิน ไรโบฟลาวิน และไนอะซิน สำหรับผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองมีวิตามินบี 12 ไม่มากนัก ยกเว้น เทมเป้ หรือถั่วหมัก เท่านั้น ดังนั้น ผู้ที่ทานมังสวิรัติควรเสริมวิตามินบี 12 เข้าไปด้วย
โปรตีน ทำไมต้องเป็นถั่วเหลือง

ถั่วเหลืองเป็นพืชที่ปลูกง่าย ปลูกที่ไหนก็ปลูกได้ ต้นทุนต่ำ ให้ผลผลิตมาก และที่สำคัญให้โปรตีนสูงเทียบเท่าเนื้อสัตว์หรือมากกว่า ถึงแม้ว่าจะแบ่งแยกส่วนประกอบกรดอะมิโนที่รวมกันเป็นโปรตีน ก็ยังมีกรดอะมิโนครบตามที่ร่างกายต้องการเมื่อเทียบเท่ากับถั่วชนิดอื่นๆ ถั่วเหลืองทิ้งห่างแบบไม่เห็นฝุ่นเลยทีเดียวเชียว และที่สำคัญถั่วเหลืองยังมีกรดไขมันอิ่มตัวสูงถึง 80% ซึ่งหากเรากินแต่น้ำมันถั่วเหลืองก็จะช่วยลดและป้องกันการเกิดคอเลสเตอรอลได้ และนอกจากนี้ยังมีแคลเซียมมากกว่าในเนื้อ ในนม

ซึ่งแค่นี้ก็น่าจะเป็นเหตุผลที่พียงพอแล้วว่า ทำไม ทั้งโลกนี้ถึงต้องใช้ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองมาเป็นโปรตีนทดแทนเนื้อสัตว์กันมานานแสนนานนั่นเอง! และวันนี้คุณได้เหยาะซอสปรุงรสที่ทำจากถั่วเหลืองแท้ๆ สักหยดลงในจานอาหารของคุณแล้วหรือยังคะ

ปัจจุบันการทำเกษตรได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นเพศไหนหรือวัยใดก็ล้วนต้องการกลับมาพัฒนาการทำเกษตรในบ้านเกิดของตนเอง จากที่พบเห็นจากสื่อโซเชียลต่างๆ จะเห็นได้ว่า บางรายถึงกับลาออกจากงานประจำ มาใช้ความสุขในด้านการทำเกษตร พร้อมทั้งต่อยอดและพัฒนาให้การทำเกษตรมีความก้าวหน้ามากขึ้นไปตามลำดับ โดยเฉพาะอย่างที่เรารู้ดีที่สุดคือเรื่องของราคาผลผลิต บางช่วงถึงกับตกต่ำส่งผลให้เกษตรกรเกิดสภาวะขาดทุนทีเดียว ส่งผลให้เกษตรกรเกิดภูมิคุ้มกันในเรื่องของการหาทางออก ด้วยการทำเกษตรให้มีความหลากหลายมากขึ้น หรือที่เรียกว่าเกษตรครบวงจร

ดร.วิมล หอมยิ่ง ผู้รักการทำเกษตรอยู่ที่อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี โดยได้บ่มเพาะประสบการณ์การต่างๆ ที่ได้พบเห็นทั้งในและต่างประเทศ มาพัฒนาการทำเกษตรในแบบที่เขาวางแผนไว้ ว่าการทำตลาดเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ดังนั้น ก่อนที่จะผลิตสินค้าออกมาจำหน่ายได้ ในเรื่องของการมีตลาดรองรับจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ จึงจะช่วยให้ผลผลิตที่ออกมาสามารถจำหน่ายและเกิดรายได้อย่างยั่งยืน

ดร.วิมล เล่าว่า ช่วงที่โอกาสได้ไปศึกษาเรียนอยู่ที่ต่างประเทศ ได้พบเห็นว่าเกษตรกรในต่างประเทศไม่ได้เจอปัญหาหนี้สิ้นหรือราคาสินค้าผลผลิตตกต่ำ โดยทุกครอบครัวที่ทำการเกษตรค่อนข้างมีคุณภาพชีวิตที่ดี เมื่อพบเห็นสิ่งเหล่านั้นและเข้าไปสัมผัสจึงได้สั่งสมองค์ความรู้และประสบการณ์ นำมาปรับใช้ในประเทศไทยหลังจากที่ได้กลับมา โดยมองหาซื้อที่ดินในอำเภอสอยดาว มาสร้างสวนเกษตรแบบผสมผสานครบวงจรในแบบที่ตั้งใจไว้

“ช่วงปี 2554 ก็มาเริ่มทำเกษตรทันที โดยเลือกที่ดินในจังหวัดจันทบุรี เพราะมองว่าที่นี่มีภูเขาสวย และไม่ไกลจากกรุงเทพมหานครมากนัก พร้อมทั้งมีแหล่งน้ำที่สมบูรณ์เพราะฝนตกมากกว่าจังหวัดอื่นๆ จึงเลือกพื้นที่นี้เพื่อมาสร้างการทำเกษตรในแบบของเรา ทั้งดินน้ำทุกอย่างดีหมด เราก็เลยนำองค์ความคิดที่เราไปเจอมาจากที่ต่างๆ มาผสมเข้ากับความชอบของเรา เพื่อให้การทำเกษตรของเรายั่งยืน และรุ่งเรืองไปพร้อมกับความสุขในทุกวัน” ดร.วิมล บอก

โดยสวนผสมผสานที่มาเริ่มทำได้แบ่งพื้นที่สำหรับปลูกลำไย เลี้ยงไก่ตะเภาทอง และเลี้ยงโคนม ซึ่งทุกอย่างภายในสวนผสมผสานแห่งนี้สามารถนำมาต่อยอดเกิดเป็นรายได้ทั้งหมด อย่างลำไยจะให้ผลผลิตต่างฤดูกาลปีละ 1 ครั้ง เกิดเป็นรายได้รายปี ส่วนไก่ตะเภาทองนำไข่ที่เก็บได้ในแต่ละวันมาใช้ประโยชน์ภายในร้านอาหาร พร้อมทั้งนำนมโคที่รีดจากฟาร์มเองมาแปรรูปเป็นชีส เพื่อเป็นสินค้าแปรรูปหลักในการทำพิซซ่าที่เป็นสูตรของทางร้านเอง จึงทำให้ผลผลิตที่ออกจากสวน มาทิศทางตลาดที่แน่นอนตั้งแต่ ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ

“การที่จะให้สินค้าทางการเกษตรของเรามีผลกำไร คือเราก็เลยมาตั้งร้านขายอาหารที่เป็นเหมือนปลายน้ำ สำหรับรองรับผลผลิตทางการเกษตรจากสวนของเรา โดยโคนมบางส่วนเราจะแบ่งมาแปรรูปทำชีสเพื่อใช้ในร้านของเรา และส่วนที่เหลือจากการนำมาแปรรูปก็จะส่งขายให้กับแหล่งรับซื้อในพื้นที่ ขายได้อยู่ที่กิโลกรัมละ 18 บาท เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่สร้างรายได้ พร้อมทั้งนำไข่ไก่ที่ได้จากไก่ตะเภาทองมาเป็นวัตถุดิบในการปรุงอาหารของร้านด้วย” ดร.วิมล บอก

อาหารที่จำหน่ายภายในร้านราคาเมื่อเทียบกับวัตถุดิบที่มากด้วยคุณภาพแล้ว ราคาถือว่าย่อมเยา ลูกค้าที่ผ่านไปมาสามารถรับประทานได้ทุกเพศทุกวัย พิซซ่าที่ทำเองตามสูตรของที่ร้าน พร้อมชีสที่ทำจากนมโคที่เลี้ยงเอง สนนราคาอยู่ที่ถาดละ 380 บาท นอกจากนี้ ยังมีสเต๊กและอาหารอื่นๆ อีกหลายชนิดที่ลูกค้าสามารถสั่งรับประทานได้ เรียกง่ายๆ ว่าที่เป็นจุดขายของที่ร้านคือพิซซ่าที่เป็นชีสสูตรร้านทำเอง เมื่อลูกค้าผ่านไปมาในย่านนี้เรียกว่าต้องกลับมารับประทานซ้ำ ด้วยรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์และเป็นสูตรเฉพาะของร้านแท้ๆ

จากการได้มาทำเกษตรแบบครบวงจร ด้วยการมีแหล่งผลิตวัตถุดิบเป็นของตัวเอง มีการแปรรูปใช้เอง พร้อมทั้งสร้างตลาดด้วยการมีร้านจำหน่ายเอง ดร.วิมล บอกว่า ทำให้เห็นว่าการทำเกษตรแบบครบวงจรสามารถสร้างรายได้อย่างยั่งยืนได้จริง พร้อมทั้งทุกขั้นตอนตั้งแต่การผลิตไปจนถึงการแปรรูปเพื่อจำหน่ายเป็นขั้นตอนสุดท้าย เขาเองสามารถควบคุมการผลิตได้ทั้งหมด ด้วยความใส่ใจและความรักที่มีต่อการทำเกษตรในแบบที่ใจเขารักมาจนถึงทุกวันนี้

“ด้วยความที่เราเป็นนักวิชาการ เราจึงอยากจะทำเกษตรแบบผสมผสานที่ครบวงจรให้เห็นว่า ที่แท้จริงว่าเราสามารถทำทุกอย่างด้วยตัวเราเองได้ โดยเฉพาะในเรื่องของการทำตลาด ที่การขายสมัยนี้ง่ายกว่าสมัยก่อนมาก ด้วยการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยขาย อย่างสื่อโซเชียลต่างๆ ถือว่าเป็นกำลังสำคัญในการทำตลาด พร้อมทั้งศึกษาหาข้อมูลการทำเกษตรต่างๆ ไว้ ให้มีจดขายเป็นของตัวเอง มีความแตกต่างที่ทำแล้วมีความสุข และอยู่อย่างมั่นคงเป็นรายได้ที่ยั่งยืน โดยเฉพาะในเรื่องของความใส่ใจในการผลิต หัวใจของการบริการที่มีต่อลูกค้า เท่านี้ก็จะทำให้ไม่ว่าจะทำอะไรลูกค้าก็เชื่อมั่นและใช้บริการจากเราแน่นอน”

สำหรับท่านใดที่สนใจอยากเข้าไปชิมอาหารที่เป็นสูตรของทางร้าน ผ่านไปผ่านมายังอำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี ก็สามารถแวะเวียนไปชิมกันได้ หรืออยากเข้าชมสวนการทำเกษตรแบบครบวงจร สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ดร.วิมล หอมยิ่ง ที่

ผมเคยถามมนุษย์เงินเดือนว่า สิ่งปรารถนาที่สุดในชีวิตคืออะไร หลายคนตอบว่า อยากกลับไปอยู่บ้านเกิด ใช้ชีวิตอยู่ในสวน ใช้ชีวิตในเวลานี้หรือบั้นปลายให้มีความสุข สงบ สโลว์ไลฟ์ ตามใจปรารถนา อยากทำงานก็ทำ ไม่อยากทำก็ไม่ทำ ไม่ต้องเป็นลูกจ้างใคร เป็นลูกจ้างตัวเอง พอถามความพร้อม ที่ดินมีไหม เงินทุนสำรองมีไหม รายได้อื่นมีไหม ไม่มีสักอย่าง ถามว่าค่าใช้จ่ายประจำมีไหม บอกมี แววอดตายก็ปรากฏให้เห็น

ความมุ่งหวังเป็นเรื่องที่มีความสุข ทำให้ชีวิตดำเนินไปข้างหน้า แต่ต้องดูความพร้อมด้วย เหมือนตอนเด็กๆ เราอยากเรียนหมอ แต่เราไม่ได้เรียนเก่ง แล้วยังไม่ได้พยายาม แต่มีความหวังลมๆ แล้งๆ ไปเรื่อยเปื่อย สู้เอาความคิดมาจดจ่ออยู่กับสิ่งที่เราทำได้ดีกว่า ถ้าสิ่งไหนที่เรามุ่งมั่นและมีความชอบสิ่งนั้นทำเป็นอาชีพที่ทำให้เราเลี้ยงตัวได้

การทำเกษตรไม่ใช่ว่าทำไม่ได้เลย สมัครเล่น UFABET แต่การลาออกแล้วมาทำเกษตรสำหรับคนไม่พร้อม ตายลูกเดียว แต่มีวิธีหนึ่งที่จะทำความฝันให้เป็นจริง คือการทำควบคู่กันไป ผมมาเจอคนคนหนึ่งซึ่งผมว่าใช่เลย คุณวิชัย สายวารี จบปริญญาตรีด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร จากมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต เมื่อปี 2550 ได้ทำงานเกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพอาหาร บริการจัดการระบบคุณภาพและบริหารจัดการโรงงานอุตสาหกรรม โดยปัจจุบันมีตำแหน่งเป็นผู้จัดการโรงงาน ซึ่งมีความชอบทางด้านการเกษตรและได้ลงมือทำควบคู่กับงานประจำจนประสบความสำเร็จระดับหนึ่ง

ด้วยแรงบันดาลใจจากแนวเศรษฐกิจพอเพียง ที่ได้อ่านจากหนังสือและในยูทูบ นำมาปรับใช้ในการทำการเกษตร โดยคุณวิชัยก็มีพื้นฐานที่มีครอบครัวทำการเกษตรที่จังหวัดกระบี่ ซึ่งปลูกปาล์มน้ำมันและสวนยาง คิดว่าทำอย่างไรเพื่อให้มีผักกินโดยไม่ต้องซื้อและเป็นผักปลอดภัย จากคำนิยามว่า “ปลูกทุกอย่างที่กิน กินทุกอย่างที่ปลูก” นำมาเป็นหลักคิดในการทำการเกษตรตอนแรกเริ่ม

แนวคิดที่ทำการเกษตรบนพื้นที่ข้างบ้าน ในหมู่บ้านจัดสรรที่อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ตนี้คือ
อย่างแรก มีผักปลอดภัยที่ไม่ใช้สารเคมีทั้งหมดบริโภคภายในบ้าน เนื่องจากผักส่วนใหญ่ที่ซื้อในตลาดเป็นผักที่ใช้สารเคมี ซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค

อย่างที่สอง คือลดรายจ่ายในการซื้อวัตถุดิบมาปรุงอาหาร เนื่องจากในจังหวัดภูเก็ตค่าครองชีพสูงกว่ากรุงเทพฯ เสียอีก ประการสุดท้าย ผลผลิตส่วนหนึ่งจะมากเกินการแจกจ่ายก็จะนำมาจำหน่ายเพิ่มรายได้ ถึงแม้จะไม่มากนัก

ปลูกผักสามชั้น
จากบ้านทาวเฮ้าส์สองชั้นหลังริม บนพื้นที่ 31 ตารางวา มีพื้นที่ข้างบ้านเหลือประมาณ 40 ตารางเมตร เริ่มจากทดลองปลูกของที่กินอยู่ในชีวิตประจำวันก่อน เช่น พริก ข่า ตะไคร้ โหระพา กะเพรา สะระแหน่ แมงลัก ซึ่งได้ผลผลิตเพียงพอที่จะนำมากินในชีวิตประจำวัน ส่วนใหญ่จะเหลือแจกจ่ายเพื่อนบ้านด้วยซ้ำ เมื่อเห็นว่าประสบผลสำเร็จ จึงปลูกเตย มะเขือยาว ขิง ผักหวานบ้าน กวางตุ้ง ปูเล่ ผักกูด และผักสลัด ซึ่งทั้งหมดเป็นพืชชั้นแรก