ในปัจจุบันมีข้อมูลใหม่ล่าสุดพบว่า การใช้ต้นตอส้มต่างประเทศ

ที่มีชื่อว่า โวลคา-เมอเรียน่าซึ่งเป็นพืชตระกูลส้มในกลุ่มของเลมอนเมื่อนำยอดมะนาวแป้นดกพิเศษมาเสียบบนต้นตอส้มโวลคา-เมอเรียน่า จะเจริญเติบโตเร็วมากและให้ผลผลิตเร็วมาก ปลูกไปเพียงปีเศษเท่านั้น ปัจจุบัน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรแพร่ กรมวิชาการเกษตร ได้ใช้มะนาวเสียบยอดบนต้นตอโวลคา-เมอเรียน่า ได้รับการยอมรับว่าดีจริงและได้เผยแพร่ให้เกษตรกรได้ขยายพื้นที่ปลูกกันอย่างกว้างขวางในขณะนี้

สรุปได้ว่า ต้นตอส้มโวลคา-เมอเรียน่า มีความเหมาะสมที่สุดที่จะใช้เป็นต้นตอและนำยอดมะนาวมาเสียบ ในปี พ.ศ. 2554 ประเทศไทยประสบปัญหามหาอุทกภัยน้ำท่วมครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์ ภาคการเกษตรได้รับความเสียหายอย่างยับเยิน เกษตรกรที่ปลูกมะนาวโดยใช้กิ่งตอนน้ำท่วมขังเพียงไม่กี่วัน พบว่าต้นมะนาวยืนต้นตายเกือบทั้งหมด ในขณะที่เกษตรกรที่ปลูกต้นมะนาวโดยใช้กิ่งเสียบยอดบนต้นตอส้มต่างประเทศรอดตายหลายราย เนื่องจากมีระบบรากที่แข็งแรง

สรุปข้อดีของการปลูกมะนาวบนต้นตอส้มโวลคา-เมอเรียน่า ได้ดังนี้ ลำต้นแข็งแรงทนทานต่อสภาพแห้งแล้ง แม้จะเอาใจใส่น้อยก็ตาม เพราะมีระบบรากที่หากินเก่ง แม้จะเป็นดินลูกรังก็เจริญเติบโตได้ดี หรือในสภาพดินปนหิน, ลดการเกิดโรคแคงเคอร์ โรคนี้ถือเป็นโรคประจำตัวของมะนาว โดยเฉพาะถ้าปลูกด้วยกิ่งตอน ในช่วงปีแรกเกษตรกรต้องเฝ้าดูแลรักษาโรคนี้เพราะพันธุ์มะนาวแป้นจะอ่อนแอต่อโรคมาก

แต่ว่าปลูกด้วยต้นตอส้มโวลคา-เมอเรียน่า แล้วเอามะนาวแป้นดกพิเศษมาเสียบ การเกิดโรคนี้ลดลงไปอย่างมาก ลดการใช้ยาป้องกันกำจัดโรคแคงเคอร์ไปได้มาก การใช้สารเคมีพ่นจาก 7-10 วัน อาจห่างเป็น 15 วัน ต่อครั้ง, ลดการใช้ไม้ค้ำช่วงติดผลดก หากปลูกด้วยกิ่งต้องจำเป็นต้องใช้ไม้ค้ำรอบทรงพุ่ม ถ้าคิดเป็นพื้นที่ 1 ไร่ ต้องใช้ไม้นับพันอัน คิดเป็นเงิน 5,000 – 6,000 บาท หากปลูกด้วยกิ่งเปลี่ยนยอดแทบจะไม่ต้องใช้ไม้ค้ำ เนื่องจากความแข็งแรงของกิ่งก้าน ทรงต้นสามารถแบกรับน้ำหนักผลมะนาวในต้นได้ โดยมิต้องใช้ไม้ค้ำช่วย และบังคับออกนอกฤดูง่ายติดผลดก

ต้นที่เปลี่ยนยอดจะขยันออกดอกอย่างเห็นได้ชัด โดยเกษตรกรเช็คข้อมูลได้ง่ายๆ โดยนำกิ่งมะนาวเสียบยอดไปปลูกแทรกในแถวมะนาวที่ปลูกด้วยกิ่งตอน ก็จะสังเกตได้ชัดว่าออกดอกง่ายกว่า สันนิษฐานว่าเกิดจากระบบลำเลียงน้ำและอาหารอาจไม่สะดวกโดยเฉพาะตรงรอยต่อ ทำให้มีผลต่อการออกดอกง่ายขึ้น และบริเวณโคนที่เป็นต้นตอส้มเหนือพื้นดินจะทนต่อการใช้ยาฆ่าหญ้า หากฉีดพ่นโดนบ้างก็ไม่เป็นไร กรณีโคนต้นรกมากกำจัดวัชพืชไม่ทัน จำเป็นต้องใช้ยาฆ่าหญ้าช่วยจะประหยัดแรงงานได้มาก

เป็นที่ทราบกันดีว่าในการปลูกมะนาวในเชิงพาณิชย์ในปัจจุบันนี้ตลาดมีความต้องการมะนาวพันธุ์แป้นรำไพและพันธุ์แป้นดกพิเศษมากที่สุด และการเลือกใช้กิ่งพันธุ์มะนาวได้เปลี่ยนจากการใช้กิ่งตอนมาใช้กิ่งเสียบยอดบนต้นตอส้มต่างประเทศ เนื่องจากต้นมีความสมบูรณ์แข็งแรงและอายุยืนยาวกว่าปลูกด้วยกิ่งตอน

การจัดการสวนที่ถูกต้องเป็นส่วนสำคัญต่อความสำเร็จของการผลิตมะนาวนอกฤดู สิ่งที่ชาวสวนมะนาวและนักวิชาการเกษตรไม่ควรมองข้ามในการบังคับให้มะนาวออกนอกฤดูนั้น เรื่องของการจัดการสวนเป็นหัวใจที่มีความสำคัญ ซึ่งสรุปได้ดังนี้

หนึ่ง: โครงสร้างของดิน ดินที่มีลักษณะเป็นทราย มีการระบายน้ำที่ดีจะมีผลทำให้การชักนำการออกดอกได้ดีกว่าดินที่อุ้มน้ำสูงและดินเหนียว

สอง: ขนาดของพุ่มต้น ควรเตรียมแปลงปลูกในลักษณะของแนวแถวยกสูงเป็นแบบลูกฟูกอันที่จะช่วยให้เกิดการระบายน้ำได้ดีขึ้น การชักนำการออกดอกจะง่ายกว่า สาม: ขนาดของพุ่มต้น มะนาวที่มีขนาดพุ่มต้นที่เล็กกว่าสามารถชักนำการออกดอกเพื่อการผลิตนอกฤดูได้ดีกว่า ต้นตอบสนองต่อสภาพการงดน้ำได้เร็วมากขึ้น (ใช้เวลาสั้นกว่า)

สี่: การปฏิบัติเพื่อชักนำการออกดอก ควรจะต้องเข้าใจถึงธรรมชาติและนิสัยการออกดอก กิ่งมะนาวจะไม่มีการออกดอกหากว่ากิ่งนั้นยังคงมีผลติดอยู่ เมื่อเป็นดังนี้ จึงจำเป็นที่จะต้องทำลายดอกหรือผลในช่วงที่ไม่ปรารถนาออกทิ้งไปก่อน กิ่งจึงจะสามารถออกดอกได้ การเปลี่ยนแปลงจากตาใบไปเป็นตาดอกยังสามารถควบคุมได้ด้วยปุ๋ยทางใบที่มีธาตุโพแทสเซียม (K) สูงในระยะที่ตาผลิก่อนมีความยาวยอดมากกว่า 7.5 เซนติเมตร การพ่นปุ๋ยทางใบที่มี ธาตุ N:P:K ในสัดส่วน 1:1:3 ; 1:1:4 ; 1:1:5 หรือ 1:2:5

ในระยะยอดอ่อนผลิจะมีบทบาทช่วยให้การสร้างตาดอกดีมากยิ่งขึ้น และสุดท้าย การป้องกันการกำจัดศัตรูพืช ศัตรูพืชที่สำคัญของมะนาว ได้แก่ เพลี้ยไฟ หนอนชอนใบ ไรแดง และโรคแคงเกอร์ เป็นต้น หากใบถูกทำลายความสมบูรณ์ของต้นจึงลดลง ทำให้ออกดอกลดลงตามไปด้วย

เทคนิคการผลิตมะนาวนอกฤดูแบบต่างๆ ปัจจุบันมีเทคนิคในการผลิตมะนาวนอกฤดูหลากหลายวิธีทั้งภาคเกษตรกรและนักวิชาการเกษตรจึงจำเป็นที่จะต้องใช้หลายๆ วิธีเข้ามาใช้ร่วมกัน ดังนี้

หนึ่ง: การปลิดดอกและผลอ่อนของมะนาว มะนาวมีการออกดอกในฤดูกาลใหญ่ 2 ระยะ รวมทั้ง กิ่งที่มีผลผลิตติดอยู่ก็ไม่สามารถออกดอกได้ดีตามต้องการ จึงจำเป็นต้องกำจัดดอกและผลอ่อนที่ไม่ต้องการในฤดูกาลนั้นทิ้งไปเสียก่อน การตัดแต่งกิ่งนอกจากจะเป็นการกำจัดดอกและผลอ่อนออกไปได้บางส่วนแล้ว ยังเป็นตัวช่วยกระตุ้นให้มีการผลิยอดอ่อนใหม่ที่ค่อนข้างสม่ำเสมออีกด้วย ซึ่งไม่ควรตัดลึกมาก ควรจำกัดอยู่ที่ปลายกิ่งระดับ 5-10 ซม. สามารถกำจัดดอกและผลอ่อนที่เหลือโดยการฉีดพ่นสารเอทิฟอนที่ความเข้มข้น 300 ppm พ่นในระยะดอกบาน, กลีบดอกโรย รวมถึงระยะผลอ่อน

สอง: การยับยั้งการออกดอกของต้นมะนาวในฤดู สารควบคุมการเจริญเติบโตที่มีชื่อว่า จิบเบอเรลลิกแอซิดหรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “จิบเบอเรลลิน” มีคุณสมบัติช่วยในการส่งเสริมการเจริญเติบโตทางกิ่งใบในไม้ยืนต้น ใช้พ่นเพื่อยับยั้งการออกดอก

สาม: การกำจัดใบ ต้นมะนาวที่สมบูรณ์มากมีพุ่มต้นแน่นทึบหรือมีลักษณะที่เรียกว่า บ้าใบ การปลิดใบออกบ้างบางส่วน อาจมีผลในด้านการลดระดับไนโตรเจนในต้นให้ลดต่ำลง อันเป็นการช่วยปรับระดับของคาร์โบไฮเดรตต่อระดับของไนโตรเจน หรือที่ภาษาวิชาการเรียกว่า ซี/เอ็นเรโช (C/N ratio) ให้สูงขึ้น อาจช่วยให้มีการออกดอกดีขึ้นได้

สี่: การใช้สารเคมี สารในกลุ่มชะลอการเจริญเติบโต เช่น สารแพคโคลบิวทราโซล มีบทบาทในการยับยั้งการสังเคราะห์จิบเบอเรลลินในธรรมชาติของต้นพืช ดังนั้นพืชจึงมีการเจริญทางกิ่งใบลดลง ส่งผลให้มีโอกาสในการออกดอกมากขึ้น แนะนำให้ฉีดพ่นสารแพคโคลบิวทราโซลชนิดความเข้มข้น 10% ในอัตรา 80 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร

ปัญหาและอุปสรรคที่ทำให้ชาวสวนมะนาวไม่ประสบความสำเร็จในการผลิตมะนาวนอกฤดู ที่พอสรุปได้ดังต่อไปนี้

หนึ่ง: ชาวสวนไม่มีความตั้งใจจริง โดยเฉพาะในวงจรที่ 2 ถ้าต้นมะนาวจะมีผลผลิตเต็มต้นในทุกกิ่ง โอกาสชักนำให้ออกดอกในระหว่างเดือนตุลาคม–พฤศจิกายน จะเป็นไปได้ยากขึ้น ทั้งนี้ธรรมชาติของมะนาวและส้มจะไม่มีการออกดอกจากกิ่งที่มีผลติดอยู่

สอง: ชาวสวนมะนาวโดยส่วนใหญ่ไม่เข้าใจวงจรการออกดอก-ติดผลของมะนาวอย่างแท้จริง ทำให้ไม่อาจนำเทคนิคดังกล่าวไปใช้ได้

สาม: ชาวสวนผู้ปลูกมะนาวหวังพึ่งเพียงกรรมวิธีที่เป็นสูตรสำเร็จอย่างง่ายๆ

และประการสุดท้าย: สภาพต้นมะนาวขาดความสมบูรณ์ไม่เหมาะสมสำหรับการผลิต การผลิตมะนาวนอกฤดูจำเป็นต้องใช้หลายๆ กรรมวิธีมาประมวลร่วมกันจึงจะได้ผลดี จากประสบการณ์ที่ได้เคยแนะนำให้ชาวสวนปฏิบัติมักได้ผลไม่มากนักตามที่คาดหวัง เนื่องจากชาวสวนยังคงยึดถือวิธีที่ได้กระทำกันอยู่

“บ้านท่าลี่” หมู่บ้านเล็กๆ ริมลำน้ำสงครามในตำบลโซ่ อำเภอโซ่พิสัย จังหวัดบึงกาฬ เป็น 1 ในแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของอำเภอโซ่พิสัย ท่าลี่ ได้รับการยกย่องว่าเป็น “มนต์เสน่ห์แห่งแม่น้ำสงคราม” เพราะมีเอกลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวที่โดดเด่นไม่เหมือนใคร ด้วยแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติที่สวยงามของ “แก่งหิน-สายน้ำ”

จังหวัดบึงกาฬ โดย สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดบึงกาฬ คัดเลือกให้ “บ้านท่าลี่” เป็นหนึ่งในชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี หรือเรียกสั้นๆ ว่า “แอ่งเล็ก เช็คอิน” โดยสนับสนุนงบประมาณให้กับชุมชนบ้านท่าลี่ จัดอบรมความรู้เพื่อสร้างความเข้มแข็งแก่ผู้นำชุมชน ส่งเสริมให้ชาวบ้านร่วมกันค้นหาอัตลักษณ์ของชุมชน และมีส่วนร่วมในวางแผนการท่องเที่ยว พัฒนาภูมิปัญญาพื้นบ้านสู่ผลิตภัณฑ์ OTOP พร้อมปรับปรุงภูมิทัศน์เพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวของชุมชน ส่งเสริมการแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน และอาหารพื้นถิ่น เพื่อสร้างจุดขายดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้าไปเยี่ยมชม ใช้จ่ายเงินเป็นค่ากินอยู่ และซื้อสินค้าโอท็อปติดมือกลับบ้าน ช่วยกระจายรายได้สู่ผู้คนในชุมชนอย่างทั่วถึง

รู้จัก “บ้านท่าลี่”

หมู่บ้านท่าลี่ กำเนิดขึ้นโดย พ่อกะลัง อำนวยการ ซึ่งแต่เดิมพักอาศัยอยู่ที่ดงน้ำพี โพนพิสัย จังหวัดหนองคาย พ่อกะลัง ได้ค้นพบพื้นที่ของหมู่บ้าน เมื่อปี 2449 ระหว่างล่องหาปลามาตามแม่น้ำสงคราม ไปบ้านหนองตะไคร้ จังหวะนั้นเป็นช่วงหน้าแล้ง พ่อกะลัง ได้เจอหินโบราณ มีถ้ำและน้ำตก จึงได้ย้ายถิ่นฐานมาตั้งรกรากที่ชุมชนแห่งนี้ หลังจากนั้น ปี พ.ศ. 2479 ได้ก่อตั้งวัดประจำหมู่บ้านขึ้น คือวัดนาสวารี ต่อมาปี พ.ศ. 2509 ได้จัดตั้งเป็นหมู่บ้านท่าสวาท หมู่ที่ 9 และแยกตัวออกมาเป็นบ้านท่าลี่ หมู่ที่ 14 จนถึงปัจจุบัน

“จำลอง ลาภอาสา” ผู้ใหญ่บ้านท่าลี่ หมู่ที่ 14 เล่าให้ฟังว่า บ้านท่าลี่ มีลำน้ำสงครามไหลผ่าน ชุมชนแห่งนี้มีสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ เรียกว่า “แก่งหินบ้านท่าลี่” ตั้งอยู่กลางลำน้ำสงคราม แก่งหินมีขนาดใหญ่ มีลักษณะเป็นช่องลอดของลำน้ำ ชาวบ้านเรียกว่า “หลี่” ซึ่งเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้าน “ท่าลี่” นั่นเอง หมู่บ้านแห่งนี้มีความอุดมสมบูรณ์มาก เพราะมีน้ำกินน้ำใช้สอย สำหรับเพาะปลูกพืชและทำประมงได้ตลอดทั้งปี

ชาวบ้านท่าลี่ส่วนใหญ่ปลูกยางพาราเป็นรายได้หลักเลี้ยงดูครอบครัว ปลูกข้าวเพื่อยังชีพ หลังทำสวนยางพาราเสร็จในแต่ละวัน ผู้หญิงจะใช้เวลาว่างปลูกหม่อนเลี้ยงไหม และทอผ้าไหม บางรายใช้เวลาว่างไปเก็บต้นกกในท้องนา หรือริมลำน้ำมาใช้ทอเสื่อกก หรือสาด ในภาษาอีสาน แต่ละวันจะทอเสื่อได้หนึ่งผืน ขายเสื่อในราคาผืนละ 100 บาท แต่ละเดือนจะมีรายได้หมุนเวียนหลายพันบาท

นักท่องเที่ยวที่มาเยือนชุมชนแห่งนี้ “หากไม่ได้กินปลา ก็มาไม่ถึงท่าลี่” เพราะปลา คือ อาหารพื้นถิ่นที่ขึ้นชื่อของชุมชนแห่งนี้ วิถีชีวิตประมงพื้นบ้านของที่นี่ จะหาปลา โดยใช้เบ็ดตกปลา หว่านแห และใช้ “ยอใหญ่” อุปกรณ์จับปลาที่มีชื่อเสียงของท้องถิ่น จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของคำขวัญประจำท้องถิ่น คือ “ดินแดนน้ำใส ยอใหญ่ท่าลี่ ของดีปลาร้าปลาส้ม อุดมถิ่นยางพารา ศาลปู่ย่าศรีสุทโธ ผู้คนหลั่งไหล ท่าน้ำศรีสมัย ร่วมใจสะพานมิตรภาพ”

ปลาที่ชาวบ้านจับได้นิยมนำมาแปรรูปเป็นปลาร้า ปลาส้ม ปลาร้าบอง จนกลายเป็นอาหารที่เป็นเอกลักษณ์ นิยมใช้ต้อนรับนักท่องเที่ยว จนหลายคนเกิดความประทับใจในรสชาติความอร่อยมิรู้ลืม ทั้งเมนูส้มตำ ลาบปลา ต้มยำปลา ปลาส้มทอด และกล้วยเชื่อม

เรียกว่า ใครมาบึงกาฬ อยากได้ปลาร้า ปลาส้ม อย่าลืมนึกถึงบ้านท่าลี่ แวะเวียนมากินปลาสดๆ จากแม่น้ำสงคราม พร้อมเลือกซื้อผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารที่หลากหลายและผลิตภัณฑ์พื้นเมืองเอกลักษณ์ของชาวบ้านท่าลี่แห่งบึงกาฬ

จุดเช็คอิน “บ้านท่าลี่” “แม่น้ำสงคราม” เป็นแนวแบ่งเขตระหว่างจังหวัดบึงกาฬกับจังหวัดสกลนคร นักท่องเที่ยวสามารถเดินชมทัศนียภาพตลอดแนวสะพานข้ามแม่น้ำสงคราม ทางเชื่อมต่อระหว่างบึงกาฬ-สกลนคร ได้ที่ “บ้านท่าลี่” หมู่ ที่ 14 ตำบลโซ่ อำเภอโซ่พิสัย

นักท่องเที่ยวที่มาเยือนบ้านท่าลี่ จะได้ล่องแพ และลงเล่นน้ำแก่งหินท่าลี่ ในช่วงฤดูแล้ง ประมาณเดือนมกราคม-เมษายน และร่วมกิจกรรมล่องเรือชมธรรมชาติแม่น้ำสงคราม ในช่วงฤดูน้ำหลาก ประมาณเดือนพฤษภาคม-กันยายน หากมาช่วงเดือนมกราคม-เมษายน นักท่องเที่ยวจะได้ร่วมกิจกรรมนอนนับดาว เท้าติดดิน หินบำบัด

แวะมาที่บ้านท่าลี่ ห้ามพลาดชม “แหล่งอนุรักษ์พันธุ์ปลา” ที่ท่าน้ำศรีสมัยและชมวิถีชีวิตการหาปลาด้วยอุปกรณ์ที่ขึ้นชื่อที่สุดของบ้านท่าลี่ อย่าง ยอใหญ่ หรือ สะดุ้ง (ภาษาอีสาน) ตามสโลแกนที่ว่า “มาท่าลี่ต้องมายกยอใหญ่” นอกจากนี้ ยังมีแก่งหินขนาดใหญ่ที่มีความสวยงาม และธารหินดวงจันทร์ที่เป็นแก่งหินขรุขระคล้ายพื้นผิวดวงจันทร์ บ้านท่าลี่มีตำนานหลี่ผี เรื่องราวลี้ลับที่ชาวบ้านเล่าต่อกันมาว่า ครั้งหนึ่งเคยมีคนตกลงไปในช่องหินที่เรียกว่า หลี่ แต่รอดตายได้เพราะไปโผล่มาออกที่ปากถ้ำ เรียกว่า “หลี่ผี”

การเดินทางสู่ บ้านท่าลี่

เสื่อกก สินค้าขายดีของบ้านท่าลี่
เนื่องจาก “บ้านท่าลี่” ไม่มีพิกัดใน GPS นักท่องเที่ยวสามารถขับรถไปตามเส้นทาง อำเภอโซ่พิสัย ไปอำเภอเฝ้าไร่ จังหวัดหนองคาย ประมาณกิโลเมตรที่ 12 บ้านห้วยทราย จะมีป้ายเลี้ยวซ้ายไปบ้านท่าสวาท ระยะทางหลังจากเลี้ยวซ้ายกว่าจะถึงที่หมาย ประมาณ 5 กิโลเมตร เมื่อถึงบ้านท่าสวาท เป้าหมายต่อไปก็คือ ท่าลี่ สัญลักษณ์ของบ้านท่าลี่ คือ ศาลหลักเมือง กลางสี่แยก

ภายในชุมชนแห่งนี้ ชาวบ้านพร้อมให้บริการบ้านโฮมสเตย์ กว่า 15 หลังคาเรือน บ้านพักสะอาด และใส่ใจให้ความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยวทุกรายเป็นสำคัญ หากสนใจใช้บริการที่พักโฮมสเตย์บ้านท่าลี่ ติดต่อได้ที่ คุณอุสาห์ ลาภอาสา ประธานกลุ่มโฮมสเตย์ โทร. (097) 005-9266 หรือ คุณสุภาลินี จารย์โพธิ์ คณะกรรมการชุมชนท่องเที่ยวบ้านท่าลี่ โทร. (081) 729-8913

ข้าวเหนียวดำ หรือเรียกตามภาษาพื้นเมืองของภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือว่า “ข้าวก่ำ” เป็นการเรียกตามลักษณะสีของเมล็ดที่มีสีแดงเข้ม หรือ “แดงก่ำ” ซึ่งข้าวก่ำนั้นถือได้ว่ามีคุณค่าทางสมุนไพรหรือความเป็นยาของข้าวก่ำที่ชาวเหนือดั้งเดิมหรือชาวล้านนาได้คิดค้นปรากฏชัดเจนในวัฒนธรรมข้าวชาวเหนือ โดยเฉพาะในนวัตกรรมการเพาะปลูกในพิธีกรรมการเซ่นไหว้ การโภชนาการ การเสริมสวย และยารักษาโรค นับว่าเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของโภชนศาสตร์เกษตรและเภสัชรักษาพื้นบ้านล้านนา โดยทางคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกข้าวพันธุ์ก่ำดอยสะเก็ด ซึ่งได้รับใบรับรองจากกรมวิชาการเกษตรในการรับรองพันธุ์พืชขึ้นทะเบียน ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518

รศ.ดร. ดำเนิน กาละดี ภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ คณะเกษตรศาสตร์ หน่วยวิจัยข้าวก่ำ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดเผยว่า ข้าวพันธุ์ก่ำดอยสะเก็ดเป็นข้าวเหนียวที่มีประวัติการปรับปรุงพันธุ์ ในปี 2538 ได้รวบรวมพันธุ์ข้าวจาก คุณพินิจ คำยอดใจ อาชีพทำนา อยู่บ้านเลขที่ 31/1 บ้านสันปูเลย ตำบลสันปูเลย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 2 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์เหนียวสันป่าตอง และอีกพันธุ์ เป็นข้าวเหนียวดำ เรียกว่า “ข้าวก่ำ”

จากนั้นได้เริ่มรวบรวมและอนุรักษ์พันธุกรรมข้าวก่ำพื้นเมืองของไทย ตั้งแต่ปี 2539 ทำงานวิจัยในเชิงวิทยาศาสตร์เกษตรมาโดยตลอด และประสบผลสำเร็จ มีผลงานวิจัยเผยแพร่เป็นองค์ความรู้ใหม่ทางวิทยาศาสตร์เกษตรเป็นที่น่าสนใจจนกระทั่งได้รับอนุมัติจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ให้จัดตั้งเป็น “หน่วยวิจัยข้าวก่ำ” หรือ Purple Rice Research Unit (PRRU) อยู่ภายใต้การดูแลของ สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งปัจจุบันทางคณะวิจัยสามารถรวบรวมพันธุกรรมข้าวก่ำพื้นเมืองได้ 42 พันธุกรรม จากแหล่งปลูกข้าวทั่วประเทศไทย ทั้งในสภาพของข้าวนาดำ และข้าวไร่ โดยมีพันธุ์ข้าวปรับปรุงที่ได้รับการรับรองพันธุ์ตาม พ.ร.บ. พันธุ์พืช พ.ศ. 2518 จากกองคุ้มครองพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2548 จำนวน 2 พันธุ์ คือ พันธุ์ข้าวก่ำดอยสะเก็ด และข้าวก่ำอมก๋อย

รศ.ดร.ดำเนิน กล่าวเพิ่มว่า สำหรับพันธุ์ที่ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ข้าวก่ำดอยสะเก็ด เนื่องจากมีสารที่เป็นประโยชน์ คือ แกมมาโดไรซานอลสูงกว่าข้าวขาว 2-3 เท่า และยังมีสารสีที่พบในข้าวก่ำ คือ โปรแอนโทไซยานิดิน และสารแอนโทไซยานิน และมีวิตามินอี ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายในระดับที่สูง ซึ่งสารกลุ่มนี้มีสูงกว่าในข้าวทั่วไป งานวิจัยยังพบอีกว่าเมื่อแกมมาโอไรซานอลได้ทำงานร่วมกับแอนโทไซยานินจะมีคุณสมบัติที่โดดเด่น ในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ สารชะลอความแก่ เพิ่มภูมิคุ้มกัน ลดคอเลสเตอรอล ป้องกันการเกิดมะเร็ง โรคอ้วน ความดัน โรคหัวใจ และความจำเสื่อม จึงเหมาะแก่ผู้บริโภคทุกเพศทุกวัย

สำหรับลักษณะพันธุ์ข้าวเหนียวดำ เป็นพืชล้มลุกวงศ์หญ้าเป็นข้าวเหนียวตอบสนองต่อช่วงไวแสง ระบบรากแบบ Fibrous Root System ลักษณะการเจริญเติบโตทางลำต้น มีการแตกกอ เฉลี่ย 9 กอ ต่อต้น มีความสูงเฉลี่ย 141 เซนติเมตร สีของลำต้นเป็นสีม่วง มีปล้องสีม่วง ส่วนเขี้ยวใบก็เป็นสีม่วงเช่นกัน รูปร่างของใบเป็นแบบใบแคบ มีสีม่วงทั้งกาบใบและตัวใบ มีเส้นกลางใบเป็นสีม่วง ลักษณะช่อดอกเป็นแบบรวง ดอกเดี่ยว สมบูรณ์เพศ กลีบดอกรองมีสีม่วง และกลีบดอกมีสีม่วงเช่นกัน เกสรตัวผู้สีเหลือง เกสรตัวเมียสีม่วง

ลักษณะของเมล็ดมีเปลือกสีม่วง เยื่อหุ้มเมล็ดสีม่วง เมล็ดเรียวยาว ขนาดเมล็ดกว้าง 0.33 เซนติเมตร ยาว 0.97 เซนติเมตร ส่วนจำนวนเมล็ดต่อรวงเฉลี่ย 120 เมล็ด อายุการออกดอก 86 วัน มีระยะเวลาการบานดอกจากกอแรกถึงการบาน 90 เปอร์เซ็นต์ นาน 15 วัน

ผักอินทรีย์ หรือ ผักที่ปลอดสารเคมี กำลังเป็นที่นิยมทั้งในและต่างประเทศ กระแสการบริโภคผักปลอดสารเคมี ในทุกประเทศทั่วโลกต่างก็ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก เรื่องอาหารเพื่อสุขภาพจะต้องมาเป็นอันดับหนึ่ง ในต่างประเทศเขามองว่าสุขอนามัยประชากรของเขาต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ อาหาร พืชผัก สินค้าอุปโภคบริโภคจะต้องไร้สารพิษ ดังนั้น การผลิตพืชผักและสินค้าเกษตรของไทยจำเป็นจะต้องขานรับกระแสนิยมจากผู้บริโภคทั่วโลก ผักอินทรีย์ไม่ใช่ทางเลือกแต่เป็นทางที่จะต้องทำให้ได้ เพื่อก้าวสู่การเป็นประเทศผู้ผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยจากสารพิษ

คุณวราภรณ์ กับ คุณบุญชัย การพีระยศ สองคู่ทุกข์คู่ยาก ชาวบ้านหมู่ที่ 6 ตำบลอ่างหิน อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี ผู้ซึ่งปลูกผักอินทรีย์ส่งบริษัทที่จัดส่งพืชผักไปต่างประเทศ กล่าวว่า การทำผักอินทรีย์ไม่ยากแต่ต้องซื่อสัตย์กับตนเอง ต้องมีความอดทนให้มากๆ รักที่จะทำผักอินทรีย์ต้องไม่โกหกและต้องไม่ขอผลัดผ่อนกับตนเองเป็นอันขาด หากขอผลัดผ่อนกับตนเอง มีข้อแม้กับตนเองได้ ครั้งที่ 1 ก็จะมีครั้งที่ 2 ที่ 3 ตามมา

ข้อแม้ที่ขอผลัดผ่อนก็คือ ขอใช้สารเคมีเพียงครั้งเดียว หากใจอ่อนก็หมายถึงความล้มเหลวของการทำผักอินทรีย์เกิดขึ้นแล้ว และยิ่งทำผักอินทรีย์ส่งต่างประเทศยิ่งแล้วใหญ่ ในต่างประเทศเขาเข้มงวดกับเรื่องของสารเคมีมาก ถ้าไม่ทำตามกฎข้อบังคับของเขา โอกาสที่จะเสียตลาดลูกค้าต่างประเทศมีสูงมาก ดังนั้น ทำผักอินทรีย์จึงต้องซื่อสัตย์กับตนเอง

สารเคมีจริงๆ จังๆ ว่า เดิมทีเป็นชาวอำเภอดำเนินสะดวก มีอาชีพปลูกผักมาก่อน แต่เป็นการปลูกผักใช้สารเคมีเต็มรูปแบบ ต่อมาย้ายถิ่นที่ทำกินมาปลูกผักที่บ้านหมู่ที่ 6 ตำบลอ่างหิน อำเภอปากท่อแห่งนี้

“มาอยู่ที่นี่ครั้งแรกก็ยังปลูกผักที่ใช้เคมีก่อน ในปีนั้นเองสุขภาพร่างกายเราทั้งสองไม่ดี ไปตรวจเลือดพบว่าเลือดมีสีน้ำเงินเป็นอันตราย สาเหตุมาจากได้รับสารเคมี เข้าไปในร่างกายมากนั่นเอง”

คุณวราภรณ์ กล่าวว่า พอทราบว่าในร่างกายมีสารพิษก็ตกใจ คราวนั้นตัดสินใจเลยว่าจะเลิกปลูกผัก แต่มาติดตรงที่ว่าเรามีอาชีพปลูกผัก ถ้าไม่ให้ปลูกผักแล้วจะปลูกอะไร ปลูกผักไม่กี่เดือนก็มีรายได้ ปลูกพืชอื่นใช้เวลานานกว่าจะได้เงินในระยะเวลาสั้นๆ จะเอาค่าใช้จ่ายที่ไหนมาหมุนในครอบครัว พอดีกับที่ทาง อาจารย์ปัญญา พวงสวัสดิ์ แนะนำให้รู้จักกับบริษัทที่รับซื้อพืชผักอินทรีย์จากเกษตรกร เพื่อนำส่งไปยังประเทศสิงคโปร์เร าสองคนได้รับทราบถึงวิธีการปลูกผักอินทรีย์อย่างละเอียด ก็เห็นว่าทำไม่ยาก จึงตัดสินใจหันมาปลูกผักแบบไม่ใช้สารเคมีเลย

ทางบริษัทส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาดูพื้นที่แปลงปลูกผักของเรา เอาผัก เอาดิน เอาน้ำ ไปตรวจ แล้วก็แนะนำให้เริ่มทำแปลงปลูกผักอินทรีย์

คุณวราภรณ์ กล่าวอีกว่า บริษัทแนะนำให้พักแปลงปลูกผัก 3 ปี ระยะเวลา 3 ปี เราก็ยังปลูกผักเช่นเดิมแต่เขาจะยังไม่รับซื้อผักจากเรา ซึ่งเราจะต้องงดใช้สารเคมีในแปลงผักของเราสิ้นเชิง บริษัทเขาจะส่งเจ้าหน้าที่มาเก็บตัวอย่างดินและน้ำไปตรวจทุกปี

จนกระทั่งปีที่ 3 แปลงปลูกผักของเราผ่านการตรวจสอบจากบริษัท จึงเริ่มปลูกผักอินทรีย์อย่างจริงจังเพื่อส่งบริษัท ถึงตอนนี้บริษัทจะเข้ามารับซื้อผลผลิตพืชผักถึงไร่เลย นัดหมายวันเวลาการเก็บผัก ถึงเวลาบริษัทก็จะเอารถห้องเย็นมารับผักที่เก็บจากแปลงไปสดๆ

บริษัทจะกำหนดชนิดผักให้ปลูก แต่เราก็ต้องเลือกผักที่เหมาะสมกับพื้นที่และฤดูกาลด้วย ต้องดูว่าฤดูนี้ ช่วงนี้ ต้องปลูกผักอะไร บริษัทกำหนดให้ปลูกผัก 17 ชนิด ต่อฤดูกาล เมื่อเราแจ้งความประสงค์ชนิดของผักที่จะปลูก บริษัทก็จะกำหนดแผนการปลูกให้มา ถึงตอนนี้เป็นหน้าที่ของเราที่จะต้องปลูกผักให้ได้โดยไม่ใช้สารเคมีเลย ตรงนี้สำคัญมาก เพราะหากทางบริษัทเขาตรวจพบว่าเราแอบใช้สารเคมี เป็นการผิดเงื่อนไขต่อกัน บริษัทมีสิทธิ์ยกเลิกรับซื้อผัก หมายถึง เราเสียโอกาสและเสียตลาดรับซื้อที่ดีไป ฉะนั้น ต้องซื่อสัตย์ต่อตนเองและซื่อสัตย์ต่อบริษัทที่รับซื้อผลผลิตด้วย

คุณวราภรณ์ บอกว่า ในเนื้อที่ทั้งหมด 17 ไร่ 2 งาน แบ่งเป็นปลูกลิ้นจี่ 11 ไร่ ปลูกผัก 6 ไร่ สมาชิกในครัวเรือนมี 4-5 คน ก็มาช่วยกันทำงาน การปลูกผักอินทรีย์นั้นเริ่มต้นจากการไถแปลงปลูกก่อน ในพื้นที่ 6 ไร่ไถครั้งแรกหว่านปุ๋ยหมักให้ทั่วแปลง ประมาณ 100 ตัน แล้วไถกลบด้วยผาล 3 ไถแปรด้วยผาล 7 จากนั้นก็ตีร่องปลูกผัก

เริ่มจากผักกวางตุ้ง กวางตุ้งฮ่องเต้ ข้าวโพดหวาน คะน้า และผักกาดหอม พอเข้าเดือนพฤศจิกายน ตลาดต้องการผักสลัด ก็ไปหาเมล็ดพันธุ์ผักสลัดจากทางเชียงใหม่มาทดลองปลูก ปรากฏว่าพื้นที่ในเขตบ้านอ่างหิน สามารถปลูกผักสลัดจากทางเหนือได้ผลผลิตดี ถึงตอนนี้มีเพื่อนบ้านมาดูงานก็แนะนำให้เขาทำผักอินทรีย์บ้าง มีหลายๆ แปลงที่เข้าร่วมโครงการปลูกผักอินทรีย์กับเรา

คุณวราภรณ์ บอกว่า ปัญหาแมลงศัตรูผักจะใช้เชื้อชีวภัณฑ์ ใช้สารสมุนไพรตะไคร้หอม สาบเสือ เสือหมอบ ใบน้อยหน่าเหล่านี้มาไล่แมลง นอกจากนี้ ยังทำน้ำส้มควันไม้ใช้เองอีกด้วย

“การทำผักอินทรีย์ต้องขยัน อย่าขี้เกียจ ถ้าเราฉีดสารสมุนไพรวันนี้ ตรวจดูวันรุ่งขึ้น ยังพบว่ามีแมลงศัตรูผักอยู่อีกก็ต้องฉีดซ้ำ ซ้ำไปเรื่อยๆ จนกว่าแมลงศัตรูผักจะหนีไป ตะไคร้หอมจะทิ้งไม่ได้เลยควรปลูกไว้รอบๆ แปลง พบแมลงมาลงผักก็เดินเอาไม้ตีกอตะไคร้หอมให้กลิ่นน้ำมันหอมระเหยออกมา จะช่วยไล่แมลงได้อีกทางหนึ่ง”

นอกจากนี้ ตัวห้ำ ตัวเบียน แมงง่าม ยังช่วยกำจัดแมลงศัตรูผักได้ กบ เขียด คางคก ก็ช่วยกำจัดแมลงได้ดี เราต้องรักมันอย่าไปรังเกียจมัน วิธีการนี้จะต่างจากการใช้สารเคมี

“แรกๆ ใจไม่ค่อยดี เพราะเราเคยทำผักเคมีมาก่อน พอผักโตขึ้นมาได้ประมาณ 1 ฟุต ถ้าใช้สารเคมีก็แป๊บเดียวแมลงหายผักยังสวยเหมือนเดิม แต่พอมาทำแนวอินทรีย์ ผักโต 1 ฟุต แมลงมากินใบผักเป็นรูๆ มันทำให้เราใจไม่ค่อยดี ไปติดต่อให้บริษัทเข้ามาดู เขาก็แนะนำให้ใช้สารสมุนไพร และเชื้อชีวภัณฑ์ต่างๆ”

คุณวราภรณ์ บอกด้วยว่า caseyrace.com ตอนแรกยังไม่รู้จุด แต่พอทำไปและได้รับคำแนะนำจากบริษัท ทดลองทำเองดูบ้าง ก็ทำให้เราสามารถแก้ปัญหาเองได้ ในช่วงแรกทำผักได้ครึ่งทิ้งครึ่ง แต่ยังพอมีกำไร ซึ่งการปลูกผักอินทรีย์หากเสียครึ่งหนึ่งยังได้กำไรแม้ไม่มากนัก แต่สามารถเรียกราคาได้เอง หากทำเคมีพ่อค้าแม่ค้าเข้ามารับซื้อให้ราคาเท่าไรก็เท่านั้น ทำผักอินทรีย์ต้องทำสัญญากับผู้รับซื้อ

“ผักที่ไร่ วิธีเก็บและส่งให้ลูกค้าอาจจะไม่เหมือนที่อื่น ซึ่งที่อื่นเขาอาจต้องพิถีพิถันสักหน่อย แต่กับของที่นี่ทำผักส่งประเทศสิงคโปร์ บางคนส่งออกไปเป็นผัก GAP เน้นความสะอาด แต่ถ้าเป็นผักอินทรีย์มีดินติดไปบ้าง เป็นการยืนยันว่าผักเราปลูกแบบธรรมชาติ ไม่ใช้สารเคมีจริงๆ ไม่มีการปรุงแต่งสารอะไรเพิ่มเติม เพราะเขาจะตรวจวิเคราะห์ดินที่ติดอยู่กับผัก”

คุณวราภรณ์ บอกด้วยว่า หลังจาก 3 ปี ถ้าเราสามารถฟันฝ่าอุปสรรคทั้งหลายได้ มีความตั้งใจทำผักอินทรีย์จริงๆ เราก็จะประสบความสำเร็จ หลักสำคัญคือ ขอให้เราเรียนรู้อย่างจริงจังในเรื่องของแมลงศัตรูผัก ต้องเรียนรู้วงจรพืชที่ปลูก วงจรชีวิตแมลงศัตรูผัก ต้องรู้ว่าทำอย่างไรถึงจะกำจัดมันได้ รุ่นปู่ย่าของเราท่านก็ปลูกผักแบบไม่ใช้สารเคมี เขายังปลูกกันได้ แถมได้ผักสวยอีกด้วย เราจึงต้องหันกลับไปยังจุดนั้นให้ได้

ยิ่งปัจจุบันมีเชื้อชีวภัณฑ์คุณภาพดีเทียบเท่าเคมีตามที่กรมวิชาการเกษตรแนะนำ เราต้องขวนขวายเรียนรู้ให้ได้ แล้วนำกลับมาพิจารณาในพื้นที่ของเราว่าจะใช้อย่างไหนถึงจะดี

คุณพัฒนะ มีพรหม นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการพิเศษ (หัวหน้ากลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศ) สำนักงานเกษตรจังหวัดบึงกาฬ ให้ข้อมูลว่า ภายในจังหวัดบึงกาฬมีเกษตรกรที่ทำสวนยางพาราขึ้นทะเบียนอยู่จำนวน 8 แสนกว่าไร่ ซึ่งการทำสวนยางพาราเป็นอาชีพหลักของประชากร รองลงมาคือการทำนา 4 แสนกว่าไร่ เน้นปลูกเพื่อบริโภคเองภายในครัวเรือนเท่านั้น ดังนั้น ในเรื่องของราคาจำหน่ายผลผลิตข้าวจึงไม่มีปัญหาเท่ากับยางพารา

โดยการจำหน่ายยางพาราส่วนใหญ่ของเกษตรกรเป็นการจำหน่ายยางแบบยางก้อนถ้วย ราคารับซื้อปัจจุบันอยู่ที่ 15-17 บาท ต่อกิโลกรัม ซึ่งอนาคตในจังหวัดบึงกาฬจะมีการสร้างโรงงานรับซื้อน้ำยางจากเกษตรกรมากขึ้นด้วยการสร้างโรงงานเพิ่ม ก็จะทำให้เกษตรกรมีทางเลือกในการจำหน่ายยางพารา จากเดิมที่เป็นยางก้อนถ้วยก็พัฒนาจำหน่ายเป็นแบบน้ำยางที่มีราคามากกว่า 30 บาท ต่อกิโลกรัม

“ส่วนใหญ่แล้วเกษตรกรภายในพื้นที่บึงกาฬ ยังใช้แรงงานภายในครอบครัวช่วยกันทำงานอยู่ จึงทำให้ต้นทุนการผลิตไม่สูง เพราะปริมาณการทำสวน ยังอยู่ในเกณฑ์ที่เกษตรกรสามารถทำกันเองได้ภายในครัวเรือน ส่วนพื้นที่เหลือจากนั้น ก็จะมีการปลูกพืชแซมเข้ามาเสริม โดยเฉพาะในเรื่องของไม้ผลที่จังหวัดบึงกาฬสามารถปลูกได้มีคุณภาพดี รวมทั้งการเลี้ยงปลาและปศุสัตว์ ทำให้เกษตรกรทุกวันนี้ไม่ได้เน้นเป็นเกษตรเชิงเดี่ยว แต่มีการทำผสมผสานมากขึ้น จึงมีผลผลิตหมุนเวียนเกิดเป็นรายได้หลากหลาย พร้อมทั้งทำสวนยางแบบลดต้นทุนการผลิต ถึงช่วงที่ราคายางพาราตกต่ำเกษตรกรก็ยังสามารถมีกำไรจากการทำสวนต่อไปได้” คุณพัฒนะ กล่าว

คุณทองใบ ทองนาค อยู่บ้านเลขที่ 71 หมู่ที่ 10 ตำบลคำแก้ว อำเภอโซ่พิสัย จังหวัดบึงกาฬ เป็นเกษตรกรทำสวนยางพารามากว่า 20 ปี มีการนำปุ๋ยชีวภาพมาลดต้นทุนการผลิต พร้อมทั้งเสริมรายได้ด้วยการเลี้ยงปลาและปศุสัตว์ จึงทำให้มีรายได้หมุนเวียนนำมาใช้จ่ายภายในครัวเรือนได้เป็นอย่างดี