ในปี พ.ศ. 2537 ได้เดินทางกลับบ้านเกิดที่อำเภอท่าใหม่

นำกิ่งเงาะโรงเรียนเกือบร้อยกิ่งกลับมาลำปาง แล้วปลูกแทนลิ้นจี่ ปลูกเงาะได้ 57 ต้น ในจำนวนนี้มีเงาะต้นตัวผู้มาด้วย 1 กิ่ง มีมังคุด ทุเรียน และสะละ เพื่อปลูกแซมไว้ไม่กี่ต้น ขณะเดียวกันก็ทำไร่สับปะรดไปด้วยหลายไร่ อยู่ในเขตพื้นที่ ส.ป.ก. เวลาส่วนใหญ่จึงทุ่มเทให้กับไร่สับปะรด ไม่ได้เอาใจใส่กับสวนเงาะมากนัก

ระหว่าง ปี พ.ศ. 2534-2539 ราคาสับปะรดเริ่มตกต่ำมาตลอด จนเหลือกิโลกรัมละ 50 สตางค์ (ปี พ.ศ. 2555 กิโลกรัมละ 2 บาท) จึงเลิกทำไร่สับปะรด เพราะทำไปก็ไม่คุ้มทุน มาปลูกผักสวนครัวในสวนเงาะช่วงที่เงาะยังไม่โต และเอาใจใส่กับสวนเงาะอย่างจริงจัง

การปลูกเงาะในช่วงแรก เนื่องจากเป็นดินที่ไม่มีความอุดมสมบูรณ์ จึงต้องขุดหลุมลึก ประมาณ 1 เมตร กว้างและยาวประมาณ 1 เมตร ใส่ปุ๋ยคอกกับเปลือกถั่วรองก้นหลุม ระยะห่างระหว่างแถว ประมาณ 4 เมตร ให้น้ำอย่างสม่ำเสมอในระยะแรก ในปี พ.ศ. 2542 เงาะเริ่มออกดอกติดผลให้เห็นบางต้น จึงมีกำลังใจขึ้นมาบ้าง คิดว่าน่าจะให้ผลผลิตมากกว่านี้ในฤดูต่อไป

ปี พ.ศ. 2551 เริ่มเก็บผลผลิตขายในหมู่บ้านได้ และเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ต่อมาๆ ตั้งแต่บัดนั้น ปัจจุบันคงเหลือต้นที่ให้ผลผลิตเก็บเกี่ยวได้ 48 ต้น แต่ละต้นสูงมากเกิน 5 เมตร มีเงาะพันธุ์ตราดสีทองอยู่ 1 ต้น

ลักษณะเด่นของเงาะโรงเรียนลำปาง เมื่อลุงอาษาส่งเงาะไปให้น้องชายที่จันทบุรีลองชิม ได้รับการยืนยันกลับมาว่า เงาะโรงเรียนลำปาง ผลค่อนข้างกลม ผลใหญ่กว่าเล็กน้อย ขนรอบผลจะสั้นกว่า เปลือกบางกว่า เนื้อแห้ง มีปริมาณน้ำน้อย มีความกรอบ เนื้อล่อนไม่ติดเปลือกหุ้มเมล็ดติดมาหรือมีติดบ้างไม่มากและไม่แข็ง ความหวานจะหวานกว่าเมื่อเทียบกับเงาะโรงเรียนที่จันทบุรี

ส่วนเงาะโรงเรียนจันทบุรี ผลค่อนข้างแบน ขนรอบผลยาวกว่า ล่อนติดเปลือกหุ้มเมล็ดมาด้วย ฉ่ำน้ำ ความหวานน้อยกว่า น้ำหนักจำนวนผลต่อกิโลกรัมของเงาะโรงเรียนลำปาง ประมาณ 27 ผล ต่อกิโลกรัม ส่วนเงาะจันทบุรี ประมาณ 30-32 ผล ต่อกิโลกรัม และข้อได้เปรียบของเงาะโรงเรียนลำปางคือ ผลผลิตออกหล้ากว่า ปกติจะเก็บเกี่ยวได้ช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนสิงหาคม แต่ปีนี้ (2559) สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง สามารถเก็บเกี่ยวได้ยาวถึงเดือนกันยายน ข้อเสียเปรียบของเงาะที่นี่คือ สีไม่ค่อยสวย สีไม่แดงสดใสเหมือนเงาะจันทบุรี

เงาะตราดสีทอง แม้มีอยู่ต้นเดียวแต่ดก ติดเป็นช่อใหญ่ ติดผลมาก เป็นเงาะที่ติดผลง่าย ผิวสีเหลืองอร่ามสวยงามมาก รสชาติหวานน้อยกว่าเงาะโรงเรียน เนื้อล่อน แต่ฉ่ำน้ำ ลุงอาษาคิดจะโค่นเงาะตราดสีทองทิ้ง แต่ก็เปลี่ยนใจเก็บไว้เพื่อการศึกษาพันธุ์ของผู้ที่สนใจในโอกาสต่อไป

การดูแลรักษาสวนเงาะ ลุงอาษาสามารถดูแลได้ทั่วถึง เพราะพื้นที่ปลูกไม่มาก

การให้น้ำ จะให้มากในฤดูแล้ง ใช้น้ำประปาหมู่บ้านที่มีคลอรีนน้อย ซึ่งไม่ส่งผลกระทบต่อต้นเงาะ รดทั่วโคนต้นด้วยท่อยาง

การให้ปุ๋ย ให้ปุ๋ยด้วยสูตรเสมอ 15-15-15 ปีละ 1 ครั้ง จำนวน 2 กิโลกรัม ต่อต้น ไม่ใช้ปุ๋ยเร่งความหวาน ใส่ปุ๋ยหลังการเก็บเกี่ยวแล้ว โดยทำความสะอาดรอบโคนต้นก่อนใส่ ส่วนต้นที่ไม่ให้ผลผลิตจะใส่ปุ๋ยช่วงต้นฝน เพื่อให้แตกใบอ่อนหลังจากเดือนมีนาคมไปแล้ว

เทคนิคการติดดอกออกผล ลุงอาษาปลูกเงาะต้นตัวผู้ไว้ 1 ต้น อยู่เกือบกลางสวน ลักษณะแตกต่างจากเงาะต้นอื่นที่ลำต้นขึ้นตรงสูงชะลูด แตกกิ่งก้านส่วนบน ไม่แตกกิ่งก้านส่วนล่างโคนต้น ต้นเหมือนกับไม้ป่า เงาะต้นตัวผู้จะออกดอกตั้งแต่ต้นปีและบานอยู่นานเป็นเดือน เงาะต้นตัวผู้มีแต่ดอกอย่างเดียว ไม่ติดผล โดยจะให้น้ำเงาะต้นตัวผู้ก่อนต้นอื่น ประมาณ 1 สัปดาห์ เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคมดอกเงาะต้นตัวผู้จะบาน ฝูงผึ้งมาดูดกินน้ำหวานดอกต้นตัวผู้นำละอองเกสรไปยังดอกต้นตัวเมียและเกสรดอกตัวผู้ยังปลิวไปผสมกับดอกเงาะตัวเมีย ทำให้เงาะติดผลง่าย สังเกตได้ว่าต้นที่อยู่ติดกับเงาะต้นตัวผู้จะติดผลดกมาก ดอกตัวเมียบานอยู่ได้ประมาณ 10 วัน

ลุงอาษา บอกว่าวิธีการนี้ไม่ต้องใช้ฮอร์โมนฉีดพ่นเพื่อให้เงาะติดผล ซึ่งชาวสวนเงาะที่จันทบุรีรู้จักเทคนิคนี้ดี จึงนำเทคนิคนี้มาใช้ และเงาะที่สวนของลุงไม่เคยใช้ฮอร์โมน

การใช้สารเคมี ลุงอาษาใช้สารเคมีที่มีส่วนผสมของกำมะถัน (ไมโครไธออล) ฉีดพ่นเพื่อป้องกันราดำ เมื่อช่อเริ่มติดผล ผลมีขนาดเท่าเมล็ดพริกไทยจึงฉีดพ่น เป็นสารเคมีที่ยังไม่มีจำหน่ายในจังหวัดลำปาง ลุงอาษาต้องไปซื้อที่จันทบุรีเมื่อมีโอกาสไปเยี่ยมบ้านเดิม โดยตั้งใจจะเอาฉลากสารเคมีเป็นตัวอย่าง เพื่อให้ร้านค้าในลำปางสั่งให้ต่อไป กับการใช้สารเคมีกำจัดแมลงพวกไรแดง เพลี้ย เมื่อมีการระบาด และคำนึงถึงการใช้สารเคมีเมื่อจำเป็นเท่านั้น สัตว์ศัตรูมักมากัดกินผลเงาะในช่วงเงาะแก่ เช่น พวกบ่าง กระรอก และนก แต่มีเป็นจำนวนน้อย

การตัดหญ้าในสวน จะตัดด้วยตนเอง หรือจ้างตัดในบางครั้ง ไม่ใช้สารเคมีในการกำจัดหญ้า ลุงอาษาบอกว่า จะส่งผลกระทบในภายหน้ากับตัวเราเอง

การเก็บเกี่ยว เริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคม เมื่อผลเงาะเริ่มเป็นสีส้มแดง เงาะจะแก่ไม่พร้อมกันทั้งช่อ จะใช้ขอเกี่ยวเลือกเฉพาะผลที่แก่เป็นสีส้มแดง ปล่อยผลที่เหลืองเขียวยังไม่แก่ไว้ก่อน ซึ่งเสียเวลาในการเก็บเกี่ยวอย่างมาก ช่อหนึ่งเกี่ยวได้ 1-3 ผล ไม่ดกเป็นช่อใหญ่หลายผลเหมือนกับเงาะที่จันทบุรี ก่อนที่ผลจะแก่ ประมาณ 30-45 วัน เริ่มเป็นเนื้อแล้ว ผลจะร่วงลงมาอย่างมากเป็นอยู่เช่นนี้ตลอด เหลือติดช่อละ 3-4 ผล ระยะที่เงาะเริ่มเป็นเนื้อนี้ห้ามขาดน้ำเป็นอันขาด ต้องให้น้ำทุกวัน ถ้าระยะนี้ขาดน้ำเปลือกจะแตก เพราะเนื้อภายในขยายออก แต่เปลือกไม่ขยายใหญ่ตาม ตะขอที่ใช้เกี่ยวเงาะซื้อมาจากจันทบุรี ผลผลิตที่ได้ปีหนึ่ง 400-500 กิโลกรัม แม้ไม่มากแต่ก็ทำรายได้ให้พอสมควร

การเก็บเงาะจะเก็บเงาะในช่วงเช้า โดยมีเพื่อนบ้าน 1 คน มาช่วยเก็บ ลุงอาษาปีนขึ้นไปเก็บไม่ไหว ลุงอาษาได้แต่ช่วยเก็บรวบรวมใส่ถุงอยู่โคนต้น ใช้เวลาในช่วงเช้าเก็บประมาณ 3 ชั่วโมง จากนั้นนำไปคัดเลือกขนาด เด็ดขั้วทิ้งบรรจุเป็นถุง วันหนึ่งเก็บได้ประมาณ 20 กิโลกรัม กิจวัตรประจำวันของลุงอาษาในช่วงเช้าจะเข้าสวน ส่วนในช่วงบ่ายจะพักผ่อนอยู่บ้าน เพื่อนบ้านผู้นี้จะนำเงาะไปขายที่หน้าบ้านอยู่ติดถนนริมคลองชลประทาน ขายหมดทุกวัน ใครที่ได้รับประทานแล้วต่างติดใจ บางวันมีหน่วยงานของลูกชายมาสั่งก็จะไม่ได้ขาย ขายกิโลกรัมละ 50 บาท ถึงสิ้นเดือนกันยายนผลผลิตจึงจะหมด

การตัดแต่งกิ่ง ลุงอาษาจะตัดแต่งกิ่งเมื่อมีเวลาว่าง ตัดกิ่งกระโดง กิ่งแซม กิ่งต่ำๆ ด้านล่างออกให้โปร่ง เพื่อให้อากาศด้านล่างถ่ายเทได้ดี กิ่งใบรับแสงแดดได้มากขึ้น จะช่วยให้ต้นเงาะเจริญเติบโตดีขึ้น

ลุงอาษา สาริการ ผู้ประสบความสำเร็จในการปลูกเงาะโรงเรียนที่ลำปาง อยู่บ้านเลขที่ 85 หมู่ที่ 6 บ้านห้วยยาง ตำบลบ้านเสด็จ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง 52000 ผู้ที่สนใจ

ก่อนจะมีการถมดินสร้างสนามบินสุวรรณภูมิเพียงเล็กน้อย ทีมงานนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้านมีโอกาสไปพูดคุยกับเกษตรกรที่ปลูกมะม่วงในแถบนั้น พร้อมกับชิมมะม่วงน้ำดอกไม้…มะม่วงที่ได้ชิมรสชาติเยี่ยมยอดอยู่ในระดับเดียวกันกับทางพระประแดง และอำเภออื่นๆ ของจังหวัดสมุทรปราการ

เหตุที่มะม่วงของถิ่นนี้รสชาติดี เพราะดินที่ปลูกเป็นดินเหนียว เกิดจากการทับถมมานานปี บางช่วงมีน้ำเค็มเข้าถึง ดินลักจืดลักเค็ม ว่างเว้นจากการทำข่าวแถวหนองงูเห่าไปนาน เพราะเข้าใจว่า พื้นที่เกษตรคงแทบไม่เหลือแล้ว เครื่องบินโดยสารลำใหญ่ที่ส่งเสียงดัง ต้นไม้คงยอดหด ไม่เจริญเติบโต…มีความเข้าใจอย่างนี้จริงๆ แต่เมื่อได้ไปสัมผัสอีกครั้งหนึ่ง โดยการนำทางของ คุณศักดิ์ชัย ศรีสุวรรณ อดีตนักวิชาการเกษตร สำนักงานเกษตรจังหวัดสมุทรปราการ พบว่า ที่จังหวัดสมุทรปราการยังปลูกมะม่วงได้ผลดีอยู่ คุณศักดิ์ชัย บอกว่า พื้นที่รวมๆ แล้ว มีประมาณ 7,000 ไร่ สวนของเกษตรกรที่พาไปดู อยู่ห่างจากสนามบินสุวรรณภูมิทางตรงราว 10 กิโลเมตร เท่านั้น

คุณศักดิ์ชัย นำทางจากสำนักงานเกษตรจังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งแรกๆ ริมถนนสองข้างทางเต็มไปด้วยป่า เป็นป่าคอนกรีต พอแยกจากถนนสุขุมวิทเข้าไป จึงพบแปลงนาจำนวนมาก

“นั่น! คนนั้นแขนขาด แต่ขยัน ทำข้าวได้ผลผลิตต่อไร่สูงมาก” คุณศักดิ์ชัย ชี้ให้ดูเกษตรกรรายหนึ่งที่มีแขนข้างเดียว

คุณ ศักดิ์ชัย อธิบายว่า เกษตรกรที่ทำนา แล้วใช้เครื่องสูบน้ำ เครื่องจักรอื่นๆ มักประสบอุบัติเหตุเสมอ โดยเฉพาะคนที่ใส่เสื้อแขนยาว มักถูกเครื่องยนต์ดึงแขนเสื้อฉีกขาด บางคนแขนหัก ต้องตัดทิ้ง ดังนั้น หากเห็นเกษตรกรใส่เสื้อหนัง เปลือยกายท่อนบนทำงานอยู่ จงเข้าใจ…นั่นเป็นการสร้างความปลอดภัยให้กับตนเอง ผลที่ตามมาคือ ประหยัด

“แถวนี้ประสบอุบัติเหตุบ่อย บางคนก็ได้รับบาดเจ็บเล็กๆ น้อยๆ” คุณศักดิ์ชัย บอก เจ้าถิ่นได้นำทางไปตามถนนที่คดโค้ง บางช่วงผ่านโรงงานอุตสาหกรรม ไม่นานนักก็ถึง บ้านเลขที่ 9 หมู่ที่ 9 ตำบลศีรษะจรเข้ใหญ่ อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ เจ้าของบ้านคือ คุณวิชิต รักษาธรรม ส่วนภรรยาคือ คุณทองดี รักษาธรรม

คุณวิชิต ทำเกษตรในพื้นที่ 34 ไร่ พื้นที่ส่วนหนึ่งใช้สำหรับเลี้ยงปลา โดยจับปลาจำหน่ายปีละครั้ง พื้นที่ที่เหลือปลูกมะม่วงจำนวน 1,250 ต้น โดยประมาณ สายพันธุ์มะม่วงที่ปลูก คือน้ำดอกไม้ และเขียวเสวย ระยะปลูก 5 คูณ 5 เมตร สังเกตว่า ขนาดของทรงพุ่มไม่ใหญ่นัก ทั้งนี้ เพราะมีการตัดแต่งกิ่งอยู่เป็นประจำนั่นเอง

ผลผลิตมากกว่า 100 ผล ต่อต้น ต่อปี

คุณวิชิตและภรรยาปลูกมะม่วง และผลิตให้ออกนอกฤดูมาแล้วกว่า 10 ปี

เจ้าของอธิบายว่า ราวเดือนเมษายน หลังจากเก็บผลผลิตหมดแล้ว ตัดแต่งกิ่ง ส่วนจะตัดมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับขนาดของทรงพุ่ม ซึ่งมีตัดตั้งแต่ 20 เปอร์เซ็นต์ แต่บางต้นต้องตัดโกร๋นไม่เหลือใบเลย

กรณีของการตัดหมดทั้งต้น ต้องคอยสร้างใบให้มีความพร้อมเสียก่อน จึงจะราดสาร

การดูแลรักษามะม่วงนั้น เจ้าของเน้นปุ๋ยชีวภาพ ฉีดพ่นทางใบให้

สูตร ที่ใช้อยู่เป็นประจำเจ้าของหมักเอง ประกอบด้วยกากน้ำตาล สับปะรด หอยเชอรี่ มะม่วงสุก นำสิ่งเหล่านี้มาหมัก เมื่อได้ที่นำน้ำหมักผสมน้ำฉีดพ่นให้ 2-3 ครั้ง

เมื่อต้นสมบูรณ์ เดือนพฤษภาคม ราดสารให้กับมะม่วงเขียวเสวย เดือนกรกฎาคม ราดสารให้กับมะม่วงน้ำดอกไม้

สารที่ราดให้เรียกอย่างเป็นทางการ คือสารยับยั้งการเจริญเติบโต มีจำหน่ายตามร้านเคมีเกษตรทั่วไป เขามีบอกอัตราการใช้อย่างชัดเจน อย่างทรงพุ่ม 5 เมตร ใช้เท่านั้นเท่านี้ เกษตรกรรายนี้บอกว่า สำหรับมะม่วงเขียวเสวย ออกดอกยาก ควรใช้มากกว่าอัตราที่แนะนำครึ่งหนึ่ง

หลังราดสารได้ 50 วัน ฉีดพ่นไทโอยูเรียและโพแทสเซียม เพื่อเรียกดอก

วิธี การดูแลรักษา เพื่อให้มะม่วงออกดอกไม่ยาก แต่ที่ยากกว่าคือ การทำให้ติดผล ขณะที่มีดอกแล้วฝนชุก การติดผลจะน้อย เพราะส่วนหนึ่งดอกจะเน่าเสีย คุณวิชิต บอกว่า ตนเองเริ่มเก็บมะม่วงขายได้เดือนพฤศจิกายน ไปหมดเอาราวเดือนมีนาคม ก่อนฤดูนิดหนึ่ง

มะม่วงที่เกษตรกรรายนี้ปลูกได้ มีขนาด 2-4 ผล ต่อกิโลกรัม

ผลผลิตที่ได้นั้น เกษตรกรบอกว่า มะม่วงเขียวเสวย เก็บผลผลิตได้ 100 ผล ต่อต้น ต่อปี ส่วนน้ำดอกไม้ เก็บได้ 120 ผล ต่อต้น ต่อปี

ราคา ที่จำหน่าย เดือนพฤศจิกายน 2552 จำหน่ายได้กิโลกรัมละ 45 บาท พอถึงเดือนมีนาคม 2553 จำหน่ายได้กิโลกรัมละ 35 บาท เป็นราคาจากสวน บางครั้งเจ้าของก็นำไปส่งที่ตลาดหัวตะเข้ (ศีรษะจรเข้)

เมื่อถึงผู้ซื้อกิน ราคาจะขยับสูงถึงเท่าตัว ปีที่ผ่านมา เจ้าของบอกว่า มะม่วงขายได้ราคาดี

“บ่อปลา เลี้ยงปลาเบญจพรรณ จับปีละครั้งโดยประมาณ ส่วนผลผลิตมะม่วง แม่ค้าจากพระประแดงก็มาซื้อที่นี่” คุณวิชิต บอก

ยังทำได้ดี

คุณวิชิต บอกว่า สวนของตนเองอยู่ห่างจากสนามบินสุวรรณภูมิราว 10 กิโลเมตร ได้ยินเสียงเครื่องบินบ้าง แต่ไม่มีปัญหาอะไร โดยสภาพทั่วไป น้ำยังดีอยู่ ดังนั้น คงทำสวนมะม่วงไปได้อีกนาน เพราะตนเองยังหนุ่มแน่น อายุเพียง 56 ปี(ปี 2559)

“ทำงานกันสองคน ลูก” คุณวิชิต บอก

คุณ ศักดิ์ชัย ศรีสุวรรณ บอกว่า สวนมะม่วงของคุณวิชิต เป็นสวนมาตรฐาน ทำมะม่วงได้คุณภาพดี

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม หรือซื้อผลผลิต ติดต่อเจ้าของได้ตามที่อยู่และเบอรโทรศัพท์ 082-6788181 คุณธนาคาร รักษาธรรม(บุตรชาย) และคุณพวงทอง รักษาธรรม (บุตรสาว) โทรศัพท์ 083-0940888

เกษตรกรเมืองสมุทรสาคร สู้ทำ “มะพร้าวน้ำหอม” จนราคาดี ปลดหนี้ได้ ทั้งออกแบบผลิตภัณฑ์และสร้างแบรนด์ใหม่ แต่งตัวพร้อมขึ้นห้าง ทุกวันนี้ต้องคัดมะพร้าวน้ำหอมให้ได้ 8,000 ลูก เพื่อส่งขายโมเดิร์นเทรด เซเว่น อีเลฟเว่น รับซื้อรายเดียว 1,500-2,000 ลูก ต่อวัน

เทคนิคปลูกมะพร้าวน้ำหอมให้หวาน ส่งขายโมเดิร์นเทรด วันละกว่า 6,000-8,000 ลูก “มะพร้าวน้ำหอม” พระเอกแห่งเมืองสมุทรสาคร และเป็นสินค้าเกษตรประจำเมืองสมุทรสาครที่ขึ้นชื่อว่า มีความหวาน กลมกล่อม อร่อยกว่าทุกพื้นที่ ทำให้เกษตรกรกลุ่มหนึ่งสามารถมีรายได้ และนำมะพร้าวน้ำหอมส่งขายผ่านโรงงาน โดยมีช่องทางจำหน่ายรายใหญ่ที่เรียกว่า โมเดิร์นเทรด แต่กว่าจะทำให้ “มะพร้าวน้ำหอม” ขึ้นห้างได้ เกษตรกรในพื้นที่ได้บอกเล่าถึงเทคนิคและขั้นตอนต่างๆ ซึ่งมีผลอย่างมากที่ทำให้มะพร้าวน้ำหอมอวดโฉมได้อย่างสวยงามและมีราคาดีขึ้นมาทันตา

คุณธานี ทรัพย์สมบูรณ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทรัพย์ประเสริฐ จำกัด เจ้าของธุรกิจมะพร้าวน้ำหอม “โคโค่ เฟรส” (COCO FRESH) และเป็นหนึ่งในเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวน้ำหอมในจังหวัดสมุทรสาคร เล่าให้สื่อมวลชนฟังอย่างเป็นกันเอง ถึงวิธีการปลูกและตัดมะพร้าวน้ำหอมให้สามารถส่งขายผ่านช่องทางการตลาดใหม่ หรือ โมเดิร์นเทรด (moderntrade) ว่าจะต้องใช้เทคนิคการตัดลูกมะพร้าวจากการตัดครั้งก่อน 20 วัน หากตัดก่อนหน้านั้นจะได้น้ำมะพร้าวที่เปรี้ยวและเนื้อบาง แต่ถ้าหากตัดหลังจากนั้นไปน้ำมะพร้าวจะกลายเป็นมะพร้าวเผา ไม่สามารถนำไปบรรจุภัณฑ์วางขายในช่องทางโมเดิร์นเทรดได้

“เรื่องระยะห่างของการตัดมะพร้าว อยู่ช่วง 20 วัน ไม่เกิน 22 วัน ตัดน้อยกว่านี้เนื้อบาง น้ำเปรี้ยว ตัดมากกว่านี้กลายเป็นมะพร้าวเผา ลูกเขียวๆ ร้อยลูก ต้องมาคัดทุกขั้นตอน และกว่าจะส่งได้ คัดเหลือ 50% อีก 50% เก็บไว้ เวลาคัดมะพร้าว ต้องคัดจากอายุการตัด นอกจากนี้ ยังดูอีกว่า เมื่อปอกมาแล้ว เป็นตาดำมากไหม สีได้ไหม เนื้อเยอะเกินไปไหม ทุกวันนี้คัดมะพร้าวได้ประมาณ 80% เพราะในมะพร้าวน้ำหอม 1 ทะลาย จะใช้ได้ไม่ทั้งหมด อันล่างจะแก่มากกว่าอันบน เราก็ดูค่าเฉลี่ย และเลือกให้ได้มากที่สุด บางสวนยังเอาเกลือหรือเอาปุ๋ยขี้ไก่ไปใส่ในดิน แต่ที่จังหวัดสมุทรสาคร ดินที่นี่ปลูกไม้ผลมีผลผลิตรสชาติดี เพราะเป็นดินราบลุ่มแม่น้ำ โภชนาการอาหารดีมาก ทำให้รสชาติมะพร้าวน้ำหอมดีกว่าพื้นที่อื่นๆ เพราะมะพร้าวน้ำหอมจะชอบดินที่มีรสชาติกร่อยนิดหนึ่ง”

คุณธานี เล่าถึงเทคนิคที่ทำให้ได้มะพร้าวน้ำหอมชั้นดีวางขายบนชั้นวางสินค้าตามช่องทางจำหน่ายของเซเว่น อีเลฟเว่น (7-11), บิ๊กซี (Big-C), แม็กซ์ แวลู (Max Value) และโมเดิร์นเทรดอื่นๆ ให้ฟังด้วยว่า ขนาดของลูกมะพร้าวที่ต้องการ จะต้องไม่ใหญ่หรือไม่เล็กเกินไป ถึงจะวางบนชั้นวางสินค้าได้ อย่างมะพร้าว ถ้าลูกใหญ่คือ มะพร้าวที่เห่อต้น ถ้าใหญ่เกินไปก็ไม่เหมาะกับชั้นวางสินค้า

ปัจจุบันคุณธานี ส่งมะพร้าวน้ำหอมไปขายยังที่ต่างๆ เฉลี่ยวันละไม่ต่ำกว่า 6,000 ลูก โดยส่งขายที่เซเว่น อีเลฟเว่น 1,500-2,000 ลูก และส่งขายที่ห้างบิ๊กซี และแม็กซ์ แวลู 5,000 ลูก โดยนำมะพร้าวน้ำหอมทั้งจากสวนของตัวเอง และรับซื้อจากเกษตรกรพื้นที่ใกล้เคียงจำนวน 20 ราย

“ตอนนี้เราลงมะพร้าวน้ำหอมให้เซเว่น อีเลฟเว่น แค่พื้นที่เขต 7 ได้แก่ สมุทรสาคร สมุทรปราการ และ ประจวบคีรีขันธ์ โดยเลือกคลังสินค้าที่ใกล้พื้นที่โรงงานมากที่สุด ถ้าไปกับคลังอื่นจะไม่สะดวกในการขนส่ง เลยเลือกคลังที่ใกล้โรงงานเพียง 5 กิโลเมตร และส่งจำนวน 1,500-2,000 ลูก และหลังจากเซเว่นฯ เข้ามาเราก็สั่งเครื่องจักรเพื่อลดต้นทุนการผลิต นอกจากนี้ ยังส่งขายให้บิ๊กซี, แม็กซ์แวลู และโมเดิร์นเทรดอื่นๆ อีก 5,000 ลูก เพราะฉะนั้น วันหนึ่งโรงงานของผมต้องผลิต ให้ได้ 7,000-8,000 ลูก ต่อวัน”

เทคนิคในการทำโรงงานมะพร้าวน้ำหอมและเป็นเกษตรกรเองด้วยนั้น ทำให้คุณธานียังมีหนี้สินอยู่พอสมควรกับธนาคารพาณิชย์ และยังเคยล้มลุกคลุกคลานเป็นหนี้นับสิบล้าน แต่นั่นเป็นเพียงสิ่งที่ต้องประสบระหว่างการทำธุรกิจ และสิ่งที่ทำให้สร้างโรงงานซึ่งมีมะพร้าวน้ำหอม โคโค่ เฟรส เป็นผลิตภัณฑ์พระเอกและขายดีจนทุกวันนี้ คุณธานี บอกเทคนิคว่า กำลังใจสำคัญคือ การทำ “สมาธิ” ในทุกๆ วัน เพื่อสร้างกำลังให้เกิดขึ้น ในยามที่ต้องเจอวิกฤต ซึ่งทุกอย่างก็ค่อยๆ ดีขึ้น มีตลาดที่สามารถส่งมะพร้าวน้ำหอมได้ในแต่ละวัน

“ผมเริ่มทำมะพร้าวโคโค่ เฟรส ส่งเซเว่น อีเลฟเว่น ตั้งแต่ปี 2553 สมัยนั้นมะพร้าวน้ำหอมยังราคาไม่สูงมาก ผมทำได้ 1 เดือน ผมหยุดการขาย ผมสู้ราคาไม่ไหว สอง วิธีการที่ผมคิดขึ้นมา มันยังไม่สามารถสอดรับกับระบบสมัยนั้นได้ แต่ ณ วันนี้ ตั้งแต่ปี 2558 ผมคิดว่า ตัวผมเองเริ่มพร้อม พร้อมด้วยระบบเงินทุนและภาคการผลิต ก็เลยเดินเข้าไปที่เซเว่น อีเลฟเว่น อีกครั้งหนึ่ง และเข้าไปพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้ดีขึ้น จากเดิมเป็นลูกมะพร้าวธรรมดา มีช้อนและมีหลอด ต่อมาได้ร่วมพัฒนากับเซเว่น อีเลฟเว่น ซึ่งได้ไอเดียว่าควรอยู่ในถุง และช้อนเปลี่ยนจากพลาสติกเป็นสแตนเลส การที่เรามาร่วมกับเซเว่น อีเลฟเว่น เราได้เรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการผลิตให้ถูกสุขลักษณะ เพื่อให้ได้สินค้าที่ดีต่อผู้บริโภค” คุณธานี เล่าให้ฟัง

ที่สำคัญ วิธีการจัดการของคุณธานีนั้น ในการคัดเลือกมะพร้าวน้ำหอม ปริมาณมะพร้าวน้ำหอมที่คัดเลือกส่วนหนึ่งจะขายไปยังโมเดิร์นเทรดโดยตรง และอีกส่วนหนึ่งคัดเลือกไว้เพื่อเก็บเป็นสต๊อก เพื่อขายในช่วงฤดูร้อนปีต่อไป

“ช่วงเมษายน-พฤษภาคม มะพร้าวลูกละ 25-30 บาท ช่วงนั้นผมขายมะพร้าว 40 บาท ต่อลูก ผมเอาจากสวนเกษตรกรที่ล้นตลาดช่วงนี้มาบ่มเก็บไว้ ตอนนี้ออเดอร์ต่างประเทศระงับ อย่างประเทศจีนชะลอการซื้อลง เพราะฉะนั้น ตอนนี้เกษตรกรไม่กลัวราคามะพร้าวน้ำหอมจะถูกลง เพราะถ้ายังมีผู้รับซื้อไม่ต่ำกว่า 2 บาท เกษตรกรอยู่ได้ ซึ่งตอนนี้ราคา 10 บาท ขอให้มีคนมารับซื้อผลผลิตของเขาเถอะ อย่าปล่อยให้คาต้น เพียงเท่านี้เกษตรกรอยู่ได้” คุณธานี เล่าถึงอนาคตของตลาดมะพร้าวน้ำหอม ซึ่งมีผลจากปัจจัยในปัจจุบันเป็นหลัก โดยเฉพาะเรื่องการรับซื้อมะพร้าวน้ำหอมในต่างประเทศที่ลดลง

เซเว่น อีเลฟเว่น ในปี 2559 เป็นแบล็กรับซื้อมะพร้าวน้ำหอม

คุณสุวิทย์ กิ่งแก้ว รองกรรมการผู้จัดการอาวุโสบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารเซเว่น อีเลฟเว่น ร้านอิ่มสะดวกของคนไทย บอกว่า บริษัทมีนโยบายในการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าเกษตร เช่น มะพร้าวน้ำหอมจากสวนของเกษตรกรในจังหวัดสมุทรสาคร แหล่งผลิตมะพร้าวน้ำหอมขึ้นชื่อของประเทศไทย สู่การผลิตผลิตภัณฑ์มะพร้าวน้ำหอมพร้อมรับประทาน ที่จำหน่ายผ่านเซเว่น อีเลฟเว่น ภายใต้แบรนด์ “โคโค่ เฟรส” ของบริษัท ทรัพย์ประเสริฐ จำกัด จังหวัดสมุทรสาคร ที่ช่วยส่งเสริมให้เกษตรกรในพื้นที่มีอาชีพที่มั่นคง มีฐานะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีรายได้เพิ่มขึ้น

“บริษัทมีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนสินค้าจากผู้ประกอบการขนาดกลาง และเล็ก หรือ เอสเอ็มอี ที่สามารถผลิตสินค้าได้คุณภาพมาตรฐาน โดยจะเป็นช่องทางการจำหน่ายสินค้าให้กับผู้ประกอบการเหล่านี้ เพื่อส่งสินค้าตรงถึงมือผู้บริโภคทั่วประเทศผ่านสาขาร้านเซเว่นฯ ทั่วประเทศ และบริษัท ทเวนตี้โฟร์ ช้อปปิ้ง จำกัด ที่มีช่องทางการจำหน่ายผ่านนิตยสารทเวนตี้โฟร์แคตตาล็อก ร้านสาขา ศูนย์บริการลูกค้าสัมพันธ์ และอีคอมเมิร์ซ ซึ่งสามารถรองรับความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่ ช็อปปิ้งสะดวกตลอด 24 ชั่วโมง ปัจจุบันทั้งเซเว่น อีเลฟเว่น และทเวนตี้โฟร์ ช็อปปิ้ง จัดจำหน่ายสินค้าเอสเอ็มอี รวมทั้งสิ้นประมาณกว่า 20,000 รายการ และมีการเพิ่มสัดส่วนสินค้าเอสเอ็มอี อย่างต่อเนื่อง” คุณสุวิทย์ กล่าว

ผู้ประกอบการธุรกิจเอสเอ็มอีรายใดที่สนใจนำสินค้าไปจำหน่ายที่เซเว่น อีเลฟเว่น เหมือนโคโค่ เฟรส สามารถติดต่อได้หลายช่องทาง เช่น เว็บไซต์ www.cpall.co.th หรือ www.7eleven.co.th และติดต่อผ่านสำนักจัดซื้อของเซเว่นฯ เบอร์โทรศัพท์ (02) 677-9000 นอกจากนี้ บริษัท 24 Shopping จำกัด ในกลุ่ม ซีพี ออลล์ ยังได้ทำการตลาดผ่านทเวนตี้โฟร์แคตตาล็อก ซึ่งเป็นระบบเมลออเดอร์ที่ทันสมัย และผ่านช่องทางร้านสาขา รวมไปถึงเว็บไซต์

ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานในพิธีเปิดศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยียืดอายุลำไยเพื่อการส่งออก ซึ่งได้มอบหมายให้ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ดำเนินการจัดสร้างขึ้นตามนโยบายรัฐบาล โดยใช้องค์ความรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเป็นต้นแบบและเพิ่มขีดความสามารถของเอกชน ชุมชน เกษตรกรลำไย ให้รู้จักการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อแก้ไขปัญหาการเน่าเสียของลำไยจากสภาวะลำไยล้นตลาด ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ผลผลิตได้มาตรฐานการส่งออก เมื่อวันที่ 26 พ.ย.2559 ณ อบต.เหล่ายาว อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน

ในการนี้ นางสาวปาณี นาคะนาท รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน และ ดร.ลักษมี ปลั่งแสงมาศ ผู้ว่าการ วว. พร้อมด้วยผู้บริหารและแขกผู้เกียรติร่วมให้การต้อนรับ โดยกิจกรรมภายในงาน ประกอบด้วย การเสวนาเรื่อง “ประโยชน์จากการถ่ายทอดความรู้การยืดอายุลำไยเพื่อส่งออก” เยี่ยมชมการดำเนินงานของศูนย์ฯ นิทรรศการด้านเทคโนโลยีลำไย รวมทั้งโชว์ผลิตผลของพี่น้องเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดลำพูน

ทั้งนี้ภายในศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยียืดอายุลำไยเพื่อการส่งออก เป็นที่ตั้งของโรงรมแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ต้นแบบ มีประสิทธิภาพควบคุมปริมาณซัลเฟอร์ไดออกไซด์ตกค้างในเนื้อลำไยได้ ช่วยลดการใช้กำมะถัน ลดปริมาณการปล่อยแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ออกสู่บรรยากาศ ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยยืดอายุการเก็บผลลำไยหลังการเก็บเกี่ยวได้นานขึ้น 30-45 วัน เสริมสร้างขีดความสามารถการส่งออกลำไยที่ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับของตลาดต่างประเทศ

โรงรมแก๊สซัลเฟอร์ได้ออกไซด์แห่งนี้ นำเทคโนโลยีการรมควันลำไยด้วยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ของ วว. เข้ามาใช้ ซึ่งมี 3 ระบบ คือ 1.ระบบการรมควันด้วยแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่สามารถควบคุมปริมาณแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่ตกค้างในเนื้อลำไยได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2.ระบบป้องกันการรั่วไหลของแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์จากกระบวนการและในพื้นที่ทำงานในโรงงาน และ 3.ระบบการควบคุมแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่ปล่อยออกนอกโรงงาน เป็นระบบมีการหมุนเวียนน้ำกลับไปใช้ซ้ำไม่มีการระบายน้ำทิ้ง และได้ผลพลอยได้เป็นยิปซั่ม สามารถใช้เป็นวัสดุปรับปรุงสภาพดินได้

ดร.ลักษมี ปลั่งแสงมาศ กล่าวว่า ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยียืดอายุลำไยเพื่อการส่งออก นอกจากจะเป็นที่ตั้งของโรงรมแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ต้นแบบแล้ว ยังเป็นศูนย์ถ่ายทอดองค์ความรู้ของ วว. ในด้านเทคโนโลยีการจัดการสวนลำไย เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวลำไยสด และเทคโนโลยีการรมควันลำไยด้วยแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ประกอบด้วย หลักสูตรการเรียนการสอน การฝึกอบรม และศึกษาดูงาน ให้แก่ประชาชนในชุมชน รวมทั้งนักเรียน นักศึกษาระดับอาชีวศึกษา ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการเรียนรู้การสร้างเศรษฐกิจของชุมชนและสังคม มีการแลกเปลี่ยน เสริมสร้างองค์ความรู้ประสบการณ์ และข้อมูลทางวิชาการร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งเป็นการเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการวิจัยพัฒนา บริการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของ วว. ให้สอดคล้องกับความต้องการของอุตสาหกรรมเป้าหมายและชุมชนอย่างยั่งยืน

ผู้ว่าการ วว. สมัคร GClub กล่าวถึงความสำเร็จในการนำองค์ความรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของ วว. เข้าไปสร้างความเข้มแข็งให้กับพี่น้องเกษตรกรผู้ปลูกลำไยในพื้นที่จังหวัดลำพูนและแก้ไขปัญหาการส่งออกลำไยสด ภายใต้การดำเนินงานของศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยียืดอายุลำไยเพื่อการส่งออกว่า ได้ดำเนินการอย่างครบวงจรและเป็นรูปธรรม อันได้แก่ โรงรมแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ซึ่งจะเป็นต้นแบบของโรงรมที่ได้มาตรฐานสากลให้กับผู้ประกอบการและเกษตรกร การถ่ายทอดเทคโนโลยีและยกระดับมาตรฐานลำไยเพื่อส่งออก (เปิดสอน 3 หลักสูตรเทคโนโลยีการจัดการสวนลำไย 1.กระบวนการรมควันลำไยด้วยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ 2.การจัดการสวนลำไย และ 3.เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวลำไยสด พัฒนา QR Code เพื่อตรวจสอบย้อนกลับตั้งแต่จากสวนผู้ผลิตลำไยถึงผู้ส่งออก ยกระดับมาตรฐานด้านคุณภาพ เพิ่มคุณค่าให้กับผลิตภัณฑ์และความปลอดภัยให้แก่ผลผลิต พัฒนาระบบมาตรฐานผู้ประกอบการลำไยเพื่อการส่งออก ดำเนินงานพัฒนาระบบมาตรฐานและรับรองระบบ GMP ตามมาตรฐาน Codex โดยมีเป้าหมายให้ผู้ประกอบการผ่านการรับรองระบบจำนวน 2 ราย/ปี) การเสริมรายได้ผู้ปลูกลำไย (การปลูกเห็ดในแปลงลำไย พัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพจากลำไย บรรจุภัณฑ์ลำไยสด เครื่องมือช่วยเก็บลำไย การผลิตลำไยอินทรีย์นอกฤดู การผลิตปุ๋ยอินทรีย์เคมี)