ในมาเลเซียและไนจีเรีย มีการใช้ผักเบี้ยใหญ่ช่วยให้นอนหลับ

และบำรุงหัวใจ เช่นเดียวกับชาวพื้นเมืองแอฟริกาตะวันตก ส่วนแถบเกาะสุมาตราใช้รักษาอาการเจ็บหน้าอก ประเทศจาไมกาใช้รักษาโรคหลอดเลือดและหัวใจ

จากการที่ใบผักเบี้ยใหญ่มีโอเมก้า 3 สูงมาก จึงมีบทบาทสำคัญในการป้องกันหลอดเลือดตีบแข็ง หัวใจวาย ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรง และมีผลทำให้ตามีน้ำหล่อเลี้ยงมากขึ้น ใบผักเบี้ยใหญ่ยังมีข้อดีกว่าน้ำมันปลา เนื่องจากมีเส้นใยอาหาร ให้แคลอรีและไขมันต่ำ นอกจากนี้ หมอยาพื้นบ้านไทยยังนิยมใช้รักษาอาการร้อนคอ ร้อนท้อง ริดสีดวง ช่วยระบาย

ปัจจุบันมีงานวิจัยใหม่ๆ ที่แสดงให้เห็นถึงฤทธิ์และคุณสมบัติอันมากมายของผักเบี้ยใหญ่ทยอยกันออกมาเรื่อยๆ เช่น ฤทธิ์บำรุงสมองและหัวใจ ฤทธิ์ต้านมะเร็งได้หลายชนิด ลดน้ำตาลในเลือด ลดไขมันในเลือด และรักษาโรคผิวหนัง ใช้เป็นส่วนผสมบำรุงผิวในเครื่องสำอาง สารสกัดน้ำของผักเบี้ยใหญ่ช่วยลดการหลั่งกรด ป้องกันแผลเยื่อบุกระเพาะอาหาร เมื่อให้ในขนาดสูงมีผลเทียบเท่ายา sucralfate ซึ่งเป็นยาสมัยใหม่ที่ใช้รักษาแผลในกระเพาะ

ข้อควรระวัง สตรีมีครรภ์ไม่ควรใช้ เนื่องจากพบว่ามีฤทธิ์ทำให้กล้ามเนื้อเรียบหดตัว ใบสดของผักเบี้ยใหญ่ 100 กรัม มีกรดออกซาลิก 1.31 กรัม หรือ 9% ของน้ำหนักแห้ง ผู้ป่วยที่เป็นนิ่วในไตจึงควรระวังการใช้

ที่สำคัญ ผักเบี้ยใหญ่ยังมีปริมาณโพแทสเซียมสูง ผู้ป่วยที่ต้องจำกัดปริมาณโพแทสเซียม เช่น ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่มีภาวะโพแทสเซียมสูง จึงควรปรึกษาแพทย์บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ตั้งเป้าให้ปี 2565 ซี.พี.เวียดนามคอร์ปอเรชั่น หรือ ซี.พี.เวียดนาม ใช้วัตถุดิบปลาป่นทั้งหมด ทั้งมาจากผลพลอยได้จากโรงงานแปรรูปปลา หรือการจับปลาจะต้องได้รับการรับรอง International Fishmeal and Fish Oil Organisation Responsible Supply (IFFO RS) หรือมาตรฐาน IFFO RS Improver Programme (IFFO RS IP) ซึ่งเป็นมาตรฐานสูงสุดในการผลิตปลาป่นด้วยความรับผิดชอบอย่างยั่งยืน เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคและลูกค้า ว่าสินค้าของซี.พี.เวียดนามมาจากการประมงที่ถูกกฎหมาย ปลอดการค้ามนุษย์

น.สพ.สุจินต์ ธรรมศาสตร์ ประธานผู้บริหารฝ่ายปฏิบัติการ สายธุรกิจสัตว์น้ำของ ซีพีเอฟ กล่าวว่า ในปัจจุบัน วัตถุดิบปลาป่นจากโรงงานแปรรูปปลา (By-Product) ที่บริษัทนำมาใช้ได้รับการรับรองมาตรฐาน IFFO RS ทั้งหมดแล้ว นอกจากนี้ บริษัทยังได้กำหนดเพิ่มเติมว่า วัตถุดิบเหล่านี้จะต้องไม่มาจากปลาที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ตามนิยามในบัญชีแดงของ World Conservation Union พร้อมเสริมว่าปลาป่นมาตรฐาน IFFO RS จากประเทศเวียดนามบางส่วนยังถูกนำมาใช้ในธุรกิจอาหารสัตว์น้ำของบริษัทในประเทศไทยแล้วอีกด้วย

ในส่วนของวัตถุดิบปลาป่นจากการจับปลา (By-catch) ซีพีเอฟ และ ซี.พี.เวียดนาม ได้ร่วมมือกับ IFFO RS IP ในการพัฒนาหลักเกณฑ์การประเมินการบริหารจัดการประมงให้เหมาะสมกับการทำประมงสำหรับประเทศแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นการจับปลาแบบหลากหลายสายพันธุ์และเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำหายากหลายชนิด ให้มีการแยกปลาที่ต้องการและปล่อยปลาที่ไม่ต้องการคืนสู่ทะเล เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมประมงตามแนวทางความยั่งยืน

“ซี.พี.เวียดนาม ส่งเสริมให้คู่ค้าผู้ผลิตปลาป่นของบริษัทในเวียดนามเข้าร่วมโครงการ IFFO RS IP ซึ่งเป็นก้าวแรกในพัฒนาคู่ค้าไปสู่การรับรองมาตรฐาน IFFO RS ผ่านการอบรมความรู้เกี่ยวกับมาตรฐาน IFFO ตลอดจนส่งต่อโยบายการจัดหาอย่างยั่งยืนและแนวปฏิบัติคู่ค้าธุรกิจสู่คู่ค้าในเวียดนาม สร้างภาพลักษณ์การดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใส ปลอดการค้ามนุษย์ และสามารถเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกได้” น.สพ.สุจินต์ กล่าว

นอกจากการสนับสนุนคู่ค้าให้เข้าสู่การรับรองมาตรฐาน IFFO แล้ว ฟารม์สัตว์น้ำ 5 แห่งของซี.พี.เวียดนามยังได้รับการรับรองมาตรฐาน ASC Certification ซึ่งเป็นมาตรฐานด้านการบริหารจัดการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอย่างยั่งยืน ระดับสากล และกำลังดำเนินการเพื่อรับรองมาตรฐานในฟาร์มสัตว์น้ำอื่นๆ ทั้งหมด รวมถึงอยู่ระหว่างการติดตั้งระบบตรวจสอบย้อนกลับแบบดิจิตอลสำหรับสายธุรกิจสัตว์น้ำ เพื่อช่วยให้การตรวจสอบแหล่งที่มาของวัตถุดิบมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นอีกด้วย

กรมส่งเสริมการเกษตร แจ้งเตือนเกษตรกรและผู้ส่งออกระวังศัตรูมะม่วง “ด้วงงวงเจาะเมล็ด” เผยพบด้วงชนิดนี้โผล่ไปเกาหลีใต้ หวั่นกระทบตลาดส่งออกมะม่วงไทย เน้นคัดผลผลิตจากสวนที่ได้มาตรฐานตามหลัก GAP

นายสำราญ สาราบรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เผยว่า ขณะนี้พบด้วงงวงเจาะเมล็ดมะม่วง : Sternochetus olivieri (Faust) ซึ่งเป็นแมลงปีกแข็งที่เข้าทำลายกัดกินเมล็ดภายในผลมะม่วง และเป็นอุปสรรคต่อการส่งออกมะม่วงไปยังประเทศเกาหลีใต้ ตั้งแต่วันที่ 6 กันยายน 2561-26 มิถุนายน 2562 รวม 12 ครั้ง สร้างความเสียหายมากกว่า 10 ล้านบาท โดยขณะนี้เกาหลีใต้ยังไม่มีมาตรการรุนแรงเพื่อหยุดยั้งการนำเข้า แต่ได้รอดูท่าทีการแก้ไขและปฏิบัติเพื่อควบคุมการระบาดของด้วงงวงดังกล่าว ดังนั้น ประเทศไทยทุกภาคส่วน

ทั้งเกษตรกร ผู้ส่งออก ภาครัฐ จึงจำเป็นต้องเข้ามาร่วมกันแก้ปัญหาดังกล่าวอย่างเร่งด่วน เอาจริงเอาจัง เพื่อให้ปัญหาด้วงงวงเจาะเมล็ดมะม่วงอยู่ในสถานการณ์ที่ควบคุมได้ เนื่องจากตลาดเกาหลีใต้ถือเป็นตลาดส่งออกมะม่วงที่สำคัญของไทยในขณะนี้ และมีปริมาณการส่งออกสูงสุดถึง 10,247,991 กิโลกรัม หากตลาดส่งออกที่เกาหลีใต้สะดุดหรือหยุดลงก็อาจส่งผลกระทบต่อเกษตรกรชาวสวนมะม่วงเป็นอย่างมาก กว่าจะกู้สถานการณ์ส่งออกให้กลับมาเหมือนเดิมคงต้องใช้เวลานาน กรมส่งเสริมการเกษตรจึงขอความร่วมมือเกษตรกรและผู้ส่งออกให้ตระหนักและเอาจริงเอาจังต่อการแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดย 1. ผู้ส่งออกต้องซื้อมะม่วงจากเกษตรกรที่ได้รับการรับรอง GAP เท่านั้น 2. เกษตรกรต้องดำเนินการผลิตตามแนวทางเกษตรดีที่เหมาะสม GAP เน้นการป้องกันและควบคุมด้วงงวงเจาะเมล็ด ที่ถูกต้อง

ลักษณะของด้วงงวงเจาะเมล็ด เป็นด้วงงวงปีกแข็งขนาดลำตัวกว้าง 5 มิลลิเมตร ยาว 8 มิลลิเมตร ตัวสีน้ำตาล ตัวหนอนจนถึงตัวแก่กัดกินเมล็ดมะม่วงภายในผล และเจาะออกสู่ภายนอก การเข้าทำลายด้วงงวงจะออกไข่ครั้งละ 8-10 ฟอง ช่วงมะม่วงติดผลอ่อน ตัวหนอนขนาด 1 มิลลิเมตร จะเจาะเข้าไปในผลทะลุเข้าไปในเมล็ดกัดกินเนื้อเมล็ดเป็นตัวหนอนขนาด 5 มิลลิเมตร อายุ 30 วัน แล้วเข้าสู่ดักแด้ขนาดกว้าง 5 มิลลิเมตร ยาว 8 มิลลิเมตร พักตัว 30-45 วัน และฟักเป็นตัวแก่ขนาดกว้าง 5 มิลลิเมตร ยาว 8 มิลลิเมตร เมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสมจะออกสู่ภายนอกหรืออาศัยกัดกินผลมะม่วงสุก เน่า หรืออินทรียวัตถุ และอาศัยตามดิน หรือรอยแตกของต้นมะม่วง และเมื่อมะม่วงออกดอกติดผลใหม่ด้วงตัวแก่จะออกมาวางไข่อีกครั้งเป็นวัฏจักรอย่างนี้ต่อไป

การระบาดและแพร่กระจาย โดยปกติตัวด้วงจะเคลื่อนที่ช้า บินไปได้ไม่ไกล หากในแปลงปลูกมีการแพร่กระจายในระยะใกล้ๆ หากไม่มีปัจจัยอื่นสนับสนุน เช่น ลมพัดพาไป การเคลื่อนย้าย ผลผลิตไปแหล่งอื่นๆ การนำมะม่วงไปแปรรูปแล้วทิ้งเมล็ดไว้ โดยไม่มีการควบคุมและกำจัดจากโรงงานแปรรูป ร้านเพาะชำกล้ามะม่วงไม่ควบคุมกำจัดศัตรูด้วงงวง จะทำให้ปริมาณสะสมและย้อนกลับมาระบาดต่อไปโดยไม่สิ้นสุด

สำหรับการป้องกันและกำจัด 1. วิธีเขตกรรม ในสภาพแปลงปลูกให้ดูแลเก็บผลมะม่วงสุกที่ถูกด้วงเข้าทำลายหรือเผาทิ้ง ตัดแต่งกิ่งให้โปร่ง กำจัดวัชพืช พร้อมพรวนดินบริเวณทรงพุ่ม และหมั่นทำความสะอาดแปลงเสมอ 2. ทางเคมี พ่นสารเคมีอิมิดาคลอพริด อัตรา 5-10 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือแลมป์ด้าไซฮาโลทริน อัตรา 20 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือคาร์บาริล (Sevin S 85) อัตรา 30 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ผสมสารจับใบ พ่น ล้างต้นและลงดินเพื่อฆ่าตัวแก่ ในระยะมะม่วงเริ่มแทงช่อดอกควรพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช เพื่อควบคุมเพลี้ยไฟ ราแอนแทรกโนส สารควบคุมเพลี้ยไฟ ควรใช้สารเคมีแลมป์ด้าไซฮาโลทริน หรืออิมิดาคลอพริด (สลับกันไปเพื่อป้องกันแมลงดื้อยา) ทุกๆ 7-10 วัน ยกเว้นช่วงดอกบาน และทำการฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชต่อไป ส่วนการดูแลต้องดำเนินการต่อไป โดยเฉพาะด้วงงวงเจาะเมล็ด ให้ฉีดพ่นสารเคมีกลุ่มอิมิดาคลอพริด และแลมป์ด้าไซฮาโลทรินอัตราข้างต้น โดยเฉพาะระยะมะม่วงติดผลเล็ก ขนาดเมล็ดถั่วเขียวจนถึงระยะห่อผล สามารถควบคุมด้วงงวงเจาะเมล็ดได้แน่นอน

3. การควบคุมด้วงงวงเจาะเมล็ดนอกแปลงปลูก เมล็ดมะม่วงที่โรงงานนำมาแปรรูปแล้วควรควบคุมด้วงงวงเจาะเมล็ดด้วยการฉีดพ่นสารเคมีกำจัดศัตรูมะม่วง (กลุ่มอิมิดาคลอพริด หรือแลมป์ด้าไซฮาโลทริน เก็บไว้ในโรงที่ทำด้วยมุ้งลวดกันแมลงแพร่กระจาย สำหรับผู้ที่นำเมล็ดมะม่วงจากโรงงานมาแกะเมล็ดเพาะเป็นกล้า ต้องชุบเมล็ดด้วยสารเคมีอิมิดาคลอพริด 5-10 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือแลมป์ด้าไซฮาโลทริน 20 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือคาร์บาริล 30-50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ประมาณ 25 นาที หรือถ้าเป็นเมล็ดที่แกะแล้วควรฉีดพ่นทำลายแมลงตัวแก่ที่เมล็ด เพื่อเป็นการตัดวงจรการแพร่ระบาดต่อไป 4. สำหรับการแก้ปัญหาการ ส่งออก ผู้ส่งออกต้องตระหนักและให้ความร่วมมือซื้อมะม่วงจากเกษตรกรที่ได้รับการรับรอง GAP เท่านั้น เพื่อลดปัญหาด้วงงวงเจาะเมล็ดกับมะม่วงที่ส่งออกไปยังปลายทาง และขอความร่วมมืออย่านำใบรับรอง GAP ของสวนอื่นไปสวมสิทธิ์ เพื่อซื้อขายส่งออก ทั้งนี้ กรมวิชาการเกษตรจะมีมาตรการสุ่มตัวอย่างก่อนอบไอน้ำเข้มข้นมากยิ่งขึ้น รวมทั้งมาตรการป้องกันปัญหาการสวมสิทธิ์ให้รัดกุมมากขึ้น

เรียน คุณหมอเกษตร ทองกวาว ที่นับถือ

ผมยังสับสนเกี่ยวกับสารต้านอนุมูลอิสระ ว่าทำหน้าที่อย่างไร และทราบว่ามีประโยชน์กับร่างกาย แต่ทำประโยชน์อย่างไรไม่ทราบ มีการประชาสัมพันธ์ว่า มีมากในข้าว ชนิดที่มีสีเข้มนั้นเป็นจริงหรือไม่ ขอให้คุณหมอเกษตรช่วยแนะนำข้าวสีม่วงที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูงให้ทราบด้วยครับ แล้วผมจะติดตามอ่านในนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้านต่อไปครับ ผมถือโอกาสขอบคุณคุณหมอเกษตร ทองกวาว มา ณ โอกาสนี้

สารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) เป็นสารที่ทำหน้าที่ชะลอการออกซิเดชั่น (Oxidation) ในเซลล์สิ่งมีชีวิต รวมทั้งมนุษย์เรา จึงส่งผลทำให้เซลล์แก่ตัวช้าลงตามไปด้วย นอกจากนี้ ยังช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้องอกในร่างกาย ลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคมะเร็ง โรคเบาหวาน และป้องกันอาการเส้นเลือดตีบ

สารต้านอนุมูลอิสระ มีมากในพืชผักชนิดต่างๆ โดยเฉพาะในหัวผักกาดม่วง มะเขือม่วง ข้าวโพดสีม่วง ข้าวสีม่วง และพืชผักสีม่วงอื่นๆ ในพืชผักสีม่วงจะอุดมไปด้วยสารแอนโธไซยานิน (Anthocyanin) ในตัวของแอนโธไซยานิน มีส่วนประกอบของวิตามินเอ วิตามินซี วิตามินดี กลูต้าไธโอน แคโรทีนอยด์ โคเอนไซม์คิว 10 และแร่ธาตุอีกหลายชนิด เช่น ธาตุเหล็ก และสังกะสี

พันธุ์ข้าวที่มีสารแอนโธไซยานิน ผมนำข้าว 2 พันธุ์ มาเป็นตัวอย่าง พันธุ์แรก ข้าวพันธุ์ไรซ์เบอร์รี่ เป็นข้าวที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีม่วง มีสารต้านอนุมูลอิสระ 1,135 มิลลิกรัม ต่อกิโลกรัม ธาตุสังกะสี 31.9 มิลลิกรัม ต่อกิโลกรัม และธาตุเหล็ก 13-18 มิลลิกรัม ต่อกิโลกรัม และ ข้าวพันธุ์ก่ำเจ้า มช.107 กับ ข้าวเมล็ดสีม่วงเข้ม มีสารต้านอนุมูลอิสระ 1,640 มิลลิกรัม ต่อกิโลกรัม ธาตุสังกะสี 30 มิลลิกรัม ต่อกิโลกรัม และธาตุเหล็ก 15 มิลลิกรัม ต่อกิโลกรัม มาดูความสำคัญของธาตุเหล็ก (Fe) กับ ธาตุสังกะสี (Zn)

ธาตุเหล็ก มีบทบาทช่วยในขบวนการสร้างเม็ดเลือด ช่วยสร้างเซลล์สมอง และเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง

ธาตุสังกะสี ทำหน้าที่ช่วยลดการสะสมคอเลสเตอรอล และน้ำตาลในเลือดของมนุษย์ดังนั้น จะเห็นว่าข้าวสีม่วง หรือข้าวก่ำ ที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดมีสีเข้ม ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง จึงเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพของผู้บริโภคโดยตรง

เมื่อเร็วๆ นี้ นายณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา พร้อมด้วย นายนาวิน อินทจักร เกษตรจังหวัด, นายกร มหาวงศนันท์ หัวหน้าสำนักงานป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด, นายสิทธิ์ วงศ์ม่าน นายอำเภอปง, นายจรัญ กาญจนปัญญานนท์ นายอำเภอเชียงคำ และ นายเทวา ปัญญาบุญ นายอำเภอดอกคำใต้ ได้ร่วมกันแถลง ผลการดำเนินการดำเนินการป้องกัน และแก้ไขปัญหาการระบาดหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด (Fall armyworm) ที่มีการแพร่ระบาดในพื้นที่จังหวัดพะเยา โดยเฉพาะในข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ทำให้เกิดความเสียหายนั้น ทางจังหวัดพะเยา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้มีการตรวจสอบข้อเท็จจริง พบว่าปี 2562 จังหวัดพะเยา มีการปลูกข้าวโพดจำนวนกว่า 71,000 ไร่ พื้นที่แพร่ระบาดจำนวน 70,234.25 ไร่ พื้นที่คาดว่าจะเสียหายเบื้องต้นประมาณ 43,858 ไร่ กระจายไปทั่วทุกอำเภอ พบแล้ว 7 อำเภอ ซึ่งพบมากที่สุด ที่อำเภอปง ประมาณ 20,000 ไร่ อำเภอดอกคำใต้ ประมาณ 7,000 ไร่ และอำเภอเชียงม่วน ประมาณ 5,000 และกระจายไปอำเภอต่างๆ รวม 7 อำเภอ

สำนักงานเกษตรอำเภอ และสำนักงานเกษตรจังหวัด ได้มีการรายงานให้ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยาทราบ เมื่อต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ทั้งนี้ เมื่อพบการแพร่ระบาด ก็ได้มีการสั่งการให้สำนักงานเกษตรจังหวัด จัดทีมออกพื้นที่ ให้คำแนะนำการป้องกันกำจัดหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด โดยแบ่งเป็นพื้นที่ ออกเป็นพื้นที่ ที่ได้รับผลกระทบ และพื้นที่ ที่ไม่ได้รับผลกระทบ เช่น อำเภอปง ได้จัดวันรณรงค์ให้ความรู้ โดยมีหน่วยงาน ได้แก่ ศูนย์บริหารจัดการศัตรูพืช จังหวัดเชียงใหม่ศูนย์วิจัย และพัฒนาเกษตรแพร่ โดยมีเกษตรกรเข้าร่วมประมาณ 700 ราย ซึ่งสามารถควบคุมการระบาดในพื้นที่ได้ ในส่วนพื้นที่ ที่ได้รับความเสียหาย ได้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคือ ศูนย์บริหารศัตรูพืชจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างการดำเนินการของ ฝ่ายวิชาการที่กำลังดำเนินการตรวจสอบวินิจฉัยศัตรูพืช ในส่วนของจังหวัด ได้ประสานอำเภอ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสารภัย ท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่ บ้านสำรวจความเสียหายเบื้องต้น ซึ่งอยู่ในระหว่างการดำเนินการตามขั้นตอนการช่วยเหลือตามระเบียบของทางราชการต่อไป

สำหรับพื้นที่ ที่เกิดการระบาดแล้ว ได้ให้คำแนะนำ ให้กำจัดหนอน และไข่ ก่อนที่จะไถกลบ เพื่อเป็นการตัดวงจรชีวิตของหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด พร้อมทั้งไถตากดินอย่างน้อย 15 วัน ส่วนพื้นที่ ที่ยังไม่ได้เกิดการระบาด ได้มีการประชาสัมพันธ์เน้นย้ำให้เกษตรกรหมั่นสำรวจแปลงปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถ้าพบการระบาดให้กำจัดตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตรต่อไป

สำหรับมาตรการการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดโดยมีการเฝ้าระวังก่อนการระบาด โดยมีการประชุมแต่งตั้งคณะทำงานในพื้นที่ สุ่มตรวจ สร้างการรับรู้ให้เกษตรกร ผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ ได้แก่ การอบรม การจัดงาน และณรงค์ ผ่านสื่อวิทยุ สื่อออนไลน์ ผู้นำชุมชน สื่อประชาสัมพันธ์ต่างๆ การป้องกัน และควบคุมกรณีเกิดการโรคระบาด ได้มีการจัดตั้งหน่วยเคลื่อนที่เร็ว ลงพื้นที่ให้คำแนะนำที่ถูกต้อง ใช้สารเคมีตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร ใช้ชีววิถีร่วมตามหลักวิชาการ ใช้วิธีกล เขตกรรม หรือวิธีอื่นๆ การให้ความช่วยเหลือกรณีได้รับความเสียหายนั้น ได้มีการส่งเสริมการปลูกพืชทดแทน สนับสนุนศัตรูธรรมชาติ สนับสนุนปัจจัยการผลิตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กรณีเสียหายโดยสิ้นเชิง รายงานความเสียหาย และดำเนินการตามขั้นตอนการให้ความช่วยเหลือ ประสานกรมส่งเสริมการเกษตร ให้ความช่วยเหลือตามระเบียบของทางราชการต่อไป

โดยผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา กล่าวว่า สำหรับปีนี้ ที่มีการแพร่ระบาดของหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด เป็นจำวนมาก เนื่องจากปีนี้ ค่อนข้างแล้ง ทำให้หนอนชนิดนี้ แพร่พันธุ์อย่างรวดเร็ว ตรงนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก็ได้มีการดำเนินการประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้ ในการป้องกัน ให้กับเกษตรกร ตั้งแต่เมื่อต้นปีที่ผ่านมาแล้ว ขณะเกิดสถานการณ์หลายหน่วยงาน ก็ได้ระดมเข้าไปแก้ไขปัญหา ตอนนี้ทางสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด และเกษตรอำเภอเข้าไปสำรวจความเสียหาย และจะต้องมีหน่วยทางวิชาการ เข้ามาตรวจสอบ เพื่อยืนยัน และรับรองการเกิดภัย ก่อนจะช่วยเหลือตามระเบียบทางราชการในการเยียวยาต่อไป โดยสถานการณ์ขณะนี้ สามารถจำกัดพื้นที่ การแพร่ระบาดได้หมดแล้ว แต่ห่วงเรื่องการแพร่ระบาดหนอนไปในนาข้าว ซึ่งหากมีการแพร่ระบาดไปในข้าวแล้ว ก็จะทำให้เกิดความเสียหายอย่างมาก จึงอยากจะวอนขอให้เกษตรกร ช่วยกันตัดวงจรหนอนกระทู้โพดลายจุดด้วย ซึ่งที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่ก็ได้มีการให้ความรู้เรื่องการตัดวงจรชีวิตหนอนอย่างต่อเนื่องแล้ว

โดยล่าสุดวันนี้( 27 มิ.ย.) พล.ต. เศรษฐพล เกตุเต็ม ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 34 พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง เกษตรอำเภอดอกคำใต้ ได้เข้าตรวจสอบความเสียหายต้นข้าวโพดในพื้นที่ อำเภอดอกคำใต้ และพื้นที่ ที่ได้รับความเสียหายใน จังหวัดพะเยา พร้อมให้ความรู้เกษตรกรในเรื่องของการตัดวงจรชีวิตหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด เพื่อเร่งแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นโดยเร็ว

เหนือสุดแดนสยาม ที่นึกได้ก็อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ที่มีด่านพรมแดนแม่สายเชื่อมต่อกับด่านพรมแดนท่าขี้เหล็ก แขวงท่าขี้เหล็ก รัฐฉาน ประเทศเมียนมา และมีจุดเด่นที่ใครๆ หลายคนเมื่อขึ้นไปเที่ยวถึงจังหวัดเชียงราย ต้องแวะคือ ตลาดแม่สาย

ภูมิประเทศและภูมิอากาศที่เหมาะสม ทำให้เกิดพืชชนิดหนึ่ง ซึ่งเกษตรกรในท้องถิ่นเชื่อว่า หากลงปลูกในดินแล้ว จะเจริญงอกงามได้ดีที่สุดคือ ที่บ้านสันทรายมูล หมู่ที่ 6 ตำบลโป่งผา อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย เพียงแห่งเดียว แม้จะขยับไปปลูกหมู่บ้านถัดไป ผลผลิตและการเจริญงอกงามที่ได้ ก็ไม่สวยงามเท่าบ้านสันทรายมูลแห่งนี้

ภาษาพื้นถิ่น เรียกกันว่า ว่านเศรษฐี หรือ ว่านกวนอิมแต่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไปในชื่อของ ไผ่กวนอิม

ในพื้นที่บ้านสันทราย หมู่ที่ 6 ปลูกกันเป็นไม้ประดับเกือบทุกบ้าน บ้านละ 1-3 กอมานาน เสมือนเป็นไม้ในบ้านไปเสียแล้ว กระทั่งมีเกษตรกรหมู่บ้านใกล้เคียงมองเห็นความสวยของไผ่กวนอิม ตัดเอาไปส่งขายให้กับญาติที่ปากคลองตลาด ตลาดขายไม้ดอกไม้ประดับใหญ่ในกรุงเทพฯ ไผ่กวนอิมที่นี่ จึงเริ่มติดตลาด และเริ่มเป็นพืชที่สร้างเม็ดเงินให้กับชาวบ้านในพื้นที่

คุณณัชพล ตาวงค์ ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกไผ่กวนอิมแบบแปลงใหญ่ ให้ข้อมูลกับนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน ว่าอาชีพดั้งเดิมของเกษตรกรที่นี่คือ การทำนา เมื่อไผ่กวนอิม พืชที่ปลูกและขึ้นเองตามธรรมชาติอยู่รอบบ้าน กลายเป็นพืชทำเงิน ทำให้หลายครอบครัวหันมาให้ความสำคัญ เริ่มดูแลให้กอสวยงามและตัดก้านเพื่อขยายพันธุ์ให้มีหลายกอ และเริ่มหาพื้นที่ปลูก ครัวเรือนไหนมีพื้นที่น้อยก็ปลูกน้อย ครัวเรือนไหนมีพื้นที่มากก็ปลูกมาก ตามความสามารถของแต่ละครัวเรือน

คุณณัชพล บอกว่า เกือบ 20 ปีแล้ว หลังจากที่ทุกบ้านเริ่มเห็นความสำคัญของไม้ประดับขอบรั้วที่สามารถทำเงินเทียบเท่าหรือมากกว่าการทำนาที่เป็นอาชีพหลักได้ ตลาดก็เริ่มรู้จักว่าหมู่บ้านเรามีหลายบ้านที่ปลูกและตัดส่งขายได้ เรื่องของราคารับซื้อจากพ่อค้าคนกลางจึงเริ่มเป็นปัญหา ทำให้เกษตรกรหลายครัวเรือนหันหน้าปรึกษากัน ประกอบกับเมื่อไม่นานมานี้ รัฐบาลมีโครงการเกษตรแปลงใหญ่ จึงมองว่าการรวมกลุ่มจะทำให้การซื้อขายสามารถต่อรองราคาได้ดีกว่านี้ ทำให้เกิดการรวมกลุ่มขึ้น โดยปัจจุบันมีสมาชิก 45 คน มีพื้นที่ปลูกกว่า 1,000 ไร่ ในพื้นที่หมู่ที่ 6 บ้านสันทราย และหมู่ที่ 2 บ้านหนองอ้อ

ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกไผ่กวนอิมแบบแปลงใหญ่ บอกด้วยว่า ไผ่กวนอิมจัดว่าเป็นพืชที่ดูแลรักษาง่าย เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย ซึ่งพื้นที่ตำบลโป่งผาส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทราย มีความเหมาะสมพอที่จะปลูกไผ่กวนอิมให้เจริญงอกงามดี เกษตรกรจึงปรับพื้นที่ให้เป็นแปลงปลูกไผ่กวนอิมแล้วส่วนใหญ่

การปลูกไผ่กวนอิมในครั้งแรก บนพื้นที่ 1 ไร่ ใช้เงินลงทุนการปลูกทั้งหมด ประมาณ 60,000 บาท ต้นทุนส่วนใหญ่อยู่ที่โครงสร้างและซาแรน เพราะไผ่กวนอิมเป็นพืชที่ต้องการแสงแดดเพียง 40 เปอร์เซ็นต์ จึงต้องใช้ซาแรนกันแสง 60 เปอร์เซ็นต์ หากไผ่กวนอิมได้รับแสงเกินกว่าความต้องการ จะทำให้ใบเหี่ยว ไหม้ เสียหาย ไม่สวย ขายได้แต่ราคาไม่ดี หรือเรียกว่า ตกเกรด

ไผ่กวนอิมที่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกไผ่กวนอิมแบบแปลงใหญ่ปลูก มี 4 ชนิด ตามชื่อเรียกของกลุ่ม คือ เงิน ทอง เขียวมรกต (สีเขียวล้วน) และซาเซียน (มรกตมีเส้นกลางใบ) ชนิดที่ได้รับความนิยมมาก คือ ซาเซียนและเขียวมรกต ราคาซื้อขายจะสูงกว่าและมีออเดอร์เข้ามา เมื่อต้องการให้แปรรูปเป็นไผ่รูปทรงต่างๆ ในกระถาง คล้ายไม้ดัด มูลค่าจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยเท่าตัว

การขยายพันธุ์ ทำโดยการตัดที่ลำไผ่ แล้วนำบริเวณที่ตัดไปปักลงดินไว้ ภายใน 20 วัน รากจะเริ่มงอกออกมาการให้ปุ๋ย ให้ครั้งแรกหลังลงปลูก จากนั้นให้ทุก 3-4 เดือน โดยใช้ปุ๋ยสูตร 16-16-16

การให้น้ำ ไผ่กวนอิมไม่ชอบน้ำมาก ควรดูที่ดินปลูก หากมีความชุ่มชื้นก็งดให้ แต่ถ้าดินเริ่มแห้งควรให้น้ำพอชุ่ม

การให้น้ำของเกษตรกรที่ตำบลโป่งผา คือการปลูกแบบยกร่อง ปล่อยน้ำเข้าร่อง เมื่อสังเกตว่าดินแห้ง จะปล่อยน้ำเข้าไปตามร่อง ส่วนใหญ่จะปล่อยน้ำเข้าร่องทุกๆ 45 วัน

ต้องหมั่นถอนหญ้าหรือวัชพืชที่รบกวนออกเสมอ เพื่อไม่ให้แย่งอาหารจากไผ่กวนอิม