ในส่วนของกรมส่งเสริมการเกษตร นอกจากจะมีภารกิจในการ

สำรวจความเสียหายของพื้นที่เกษตร เพื่อเร่งรัดการจ่ายเงินทดรองราชการตามระเบียบกระทรวงการคลังแล้ว ยังมีภารกิจในการสนับสนุนปัจจัยการผลิตและให้คำแนะนำในการฟื้นฟูดูแลด้านพืชให้กับเกษตรกร เพื่อลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ในช่วงฟื้นฟูพื้นที่เพาะปลูกหลังน้ำลดด้วย จึงได้แนะนำวิธีการปลูก “ผักยกแคร่” ให้เกษตรกรได้เรียนรู้และนำไปปรับใช้ โดยการปลูก “ผักยกแคร่”

เป็นการปลูกผักบนแคร่ไม้ไผ่ ขนาด 1.2×2.4×1.0 เมตร ที่ยกสูงจากพื้นดิน สามารถยกเคลื่อนย้ายได้สะดวก ทำให้เป็นวิธีปลูกพืชที่เหมาะจะใช้ในภาวะน้ำท่วม ซึ่งเกษตรกรจะมีอาหารยังชีพในภาวะน้ำท่วม และยังสามารถสร้างรายได้ในระหว่างฟื้นฟูดินในพื้นที่เพาะปลูกภายหลังน้ำลด สามารถปลูกและดูแลรักษาง่าย ปลูกผักได้หลายชนิด ปลอดภัยจากสารพิษ ให้ผลผลิตเร็ว และได้ผลตอบแทนสูงสำหรับพืชบางชนิด เช่น จิงจูฉ่าย เก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุ 30 วัน และสามารถเก็บเกี่ยวได้ตลอดปี เกษตรกรจะมีรายได้ประมาณ 1,570 บาท/แคร่ ในขณะที่มีต้นทุนประมาณ 900 – 1,200 บาท/แคร่ ขึ้นอยู่กับวัสดุที่ใช้และชนิดของพืช เป็นต้น

ธนาคารน้ำใต้ดิน มักกล่าวถึงกันมากในช่วงไม่นานมานี้ เป็นวิธีการในการจัดการน้ำแบบหนึ่ง โดยอาศัยหลักการเติมน้ำผิวดินช่วงที่มีน้ำเยอะในหน้าฝนลงกักเก็บไว้ในชั้นหินอุ้มน้ำตื้น อาจเป็นชั้นกรวดทราย หรือชั้นหินที่มีความพรุนสูง (สามารถกักเก็บน้ำได้) ผ่านการเปิดชั้นผิวดินที่มีความพรุนต่ำ เป็นผลทำให้ระดับใต้ดินน้ำเพิ่มขึ้น เป็นการเพิ่มศักยภาพของแหล่งน้ำใต้ดินระดับตื้น ซึ่งเพิ่มโอกาสการใช้น้ำในช่วงหน้าแล้งได้

ส่วนกระบวนการเติมน้ำสู่ชั้นน้ำใต้ดินมีหลากหลายวิธี ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่ สภาพชั้นดิน และภูมิประเทศ เช่น ผ่านบ่อน้ำ หรือสระ เป็นต้น ดังตัวอย่างบ่อเปิดใน รูปที่ 1

ประเทศไทยได้มีการศึกษา ทดลอง ระบบการเติมน้ำลงใต้ดินในหลายรูปแบบ ในหลายพื้นที่มานานแล้ว ดังตัวอย่างที่มีการจัดการน้ำด้านการเกษตร ด้วยระบบเติมน้ำจากหลังคาลงใต้ดิน ลงกักเก็บชั้นทราย ลึกประมาณ 14 เมตร มานานกว่า 30 ปี และยังใช้อยู่ในปัจจุบัน บริเวณพื้นที่อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท (อธิบายใน รูปที่ 2) ซึ่งเป็นพื้นที่ทำนา จนทำให้ระดับน้ำเพิ่มขึ้น เพียงพอใช้น้ำใต้ดินในการทำนานอกฤดู

การสร้างธนาคารน้ำใต้ดิน ด้วยการใช้น้ำจากหลังคาเติมลงในชั้นน้ำใต้ดินลึก ประมาณ 14 เมตร บริเวณพื้นที่อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท ผ่านแท็งก์เก็บน้ำ 3 แท็งก์ ได้ใช้งานมาแล้วกว่า 30 ปี มีผลทำให้ระดับน้ำใต้ดินสูงขึ้น ออกแบบก่อสร้างโดยกรมโยธาธิการ (สมัยนั้น)
ประโยชน์ของธนาคารน้ำใต้ดินที่ช่วยแก้ปัญหาพื้นที่แล้ง (การใช้น้ำด้านการเกษตรในหน้าแล้ง) และลดความสูญเสียจากน้ำท่วมในพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก พบว่าช่วงที่ผ่านมาภาครัฐให้การสนับสนุน มีการจัดอบรมให้ความรู้กับเยาวชน นักเรียน รวมทั้งเจ้าหน้าที่ปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างแพร่หลาย

เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง ในการใช้ทรัพยากรและรักษาสภาพแวดล้อมของท้องถิ่นได้อย่างยั่งยืน บนพื้นฐานเชิงวิชาการ ผู้เขียนจึงได้เสนอหลักความจริงของธนาคารน้ำใต้ดิน 8 ประการ ไว้ดังนี้

1. การเลือกพื้นที่ที่เหมาะสมในการทำระบบธนาคารน้ำใต้ดิน ตำแหน่งบ่อหรือสระเพื่อทำหน้าที่เติมน้ำ สามารถทำได้เฉพาะสภาพพื้นที่บริเวณที่มีลักษณะสภาพใต้ดินสามารถกักเก็บน้ำได้เท่านั้น นั่นคือ การจัดการน้ำแบบธนาคารน้ำใต้ดิน จะไม่สามารถทำได้ทุกพื้นที่ บริเวณที่เหมาะสมจะต้องมีชั้นตะกอนหรือหินมีความพรุนสูง หรือมีชั้นรอยแตกในเนื้อหินสูง สามารถกักเก็บน้ำได้ เช่น ชั้นกรวดทราย หรือรอยต่อระหว่างชั้นหินต่างกัน อธิบายไว้ตาม รูปที่ 3 ส่วนที่เข้าใจว่าบริเวณที่พบชั้นหินตับม้า (หรือตับควาย แล้วแต่บางพื้นที่จะเรียก) เป็นชั้นที่กักเก็บน้ำได้ดี ตามจริงเป็นชั้นหินโคลน (Mudstone) สีตับ มีความพรุนต่ำ น้ำอาจกักเก็บตามช่องว่างระหว่างชั้นหินเท่านั้น

ความสำเร็จตามเป้าหมายของโครงการธนาคารน้ำใต้ดินที่ได้ดำเนินการไปแล้ว พบว่า การประชาสัมพันธ์โครงการค่อนข้างเยอะมาก และมักเป็นข่าวตอนเริ่มทำโครงการ แต่ยังขาดการประเมินศักยภาพของการเติมน้ำเมื่อทำเสร็จแล้วให้ชัดเจน และสังเกตว่า แทบไม่มีการกล่าวถึงโครงการที่ล้มเหลว (ไม่ได้ทำหน้าที่เติมน้ำลงในชั้นใต้ดินได้จริง) เช่น อาจทำในบริเวณที่ไม่มีความเหมาะสม ส่วนที่เป็นข่าวถึงผลสำเร็จ (ในปีแรก) แต่ขาดการประเมินประสิทธิภาพการเติมน้ำในปีต่อๆ มา เนื่องจากไม่มีกระบวนการดูแลรักษาสภาพการเติมน้ำให้ยาวนาน ซึ่งมีความจำเป็น เช่น การมีระบบดักตะกอนก่อนน้ำไหลเข้าบ่อเติมเพื่อช่วยยืดอายุของบ่อเติมน้ำ หรือการขุดลอกเอาตะกอนจากก้นบ่อที่ปิดกั้นการเติมน้ำออกทุกๆ ปี เป็นต้น

การกำหนดพื้นที่ที่เหมาะสมกับระบบธนาคารน้ำใต้ดินอย่างมีประสิทธิภาพ ต้องประยุกต์เทคโนโลยีสแกนหาสภาพทางธรณีวิทยาใต้ดินก่อน จึงจะทำให้ทราบ ขอบเขต ความลึก/หนา ของแนวเขตชั้นกรวดทราย หรือขอบเขตที่มีชั้นที่สามารถกักเก็บน้ำใต้ดิน การประยุกต์เครื่องมือธรณีฟิสิกส์ที่ทันสมัย (รูปที่ 5) ของศูนย์วิจัยสำรวจธรณีประยุกต์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประสบความสำเร็จในการนำมาใช้ การเลือกพิกัดตำแหน่งที่เหมาะสม จนวางแผน ออกแบบ สร้างบ่อเติมน้ำของระบบธนาคารน้ำใต้ดินอย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย

3.1 เครื่องมือวัดค่าสนามแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นการวัดการเหนี่ยวนำใต้ผิวดินเพื่อหาบริเวณเป้าหมายที่แตกต่างกันของค่าสภาพนำไฟฟ้า เช่น เขตชั้นกรวดทราย จะมีค่าสภาพนำไฟฟ้าแตกต่างจากสภาพแวดล้อม ที่เป็นดินเหนียว เป็นผลจากการแตกต่าง สนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่ถูกเหนี่ยวนำ (EM Induction)

3.2 เครื่องมือวัดค่าสภาพต้านทานไฟฟ้าแบบหลายขั้วไฟฟ้า อาศัยหลักการ โดยการปล่อยกระแสไฟฟ้าลงไปในดินผ่านทางขั้วไฟฟ้า และวัดศักย์ไฟฟ้าจากระบบสายเคเบิ้ลที่วางบนผิวดิน ศักย์ไฟฟ้าที่เกิดขึ้นมีการกระจายตัวสัมพันธ์กับสภาพต้านทานไฟฟ้าใต้ผิวดิน ทำให้แยกค่าสภาพความต้านทานของชั้นน้ำใต้ดิน ชั้นดินหรือหิน ที่แตกต่างกันในเชิงธรณีไฟฟ้า จึงสามารถกำหนดการเรียงตัวของชั้นดิน/หิน ความลึกชั้นหินดาน (bed rock) ได้ (อธิบายใน รูปที่ 7)

อนึ่ง การหาสภาพทางธรณีวิทยาใต้ดิน อาจใช้วิธีการเจาะสำรวจ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่ามาก ควรวิเคราะห์องค์ความรู้ทางอุทกธรณีวิทยาน้ำใต้ดินในการออกแบบสร้างระบบธนาคารน้ำใต้ดิน ระบบทิศทางการไหลของน้ำใต้ดินตื้น ที่ขึ้นอยู่กับลักษณะภูมิประเทศ ตำแหน่งแหล่งเติมระบบน้ำใต้ดิน ทิศทางที่น้ำใต้ดินไหลผ่าน และไหลออกจากระบบน้ำใต้ดินในพื้นที่ เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดตำแหน่งที่จะเติมน้ำ และวางแผน การใช้พื้นที่ได้อย่างเหมาะสม

การแนะนำ และสาธิตเอาวัสดุที่ไม่เป็นธรรมชาติและเป็นมิตรกับสภาพแวดล้อม เช่น ยางรถยนต์เก่า ขวดน้ำพลาสติก ฝังกลบใต้ดินเพื่อเพิ่มช่องว่างกักเก็บน้ำ และมีการเผยแพร่สู่สังคมอย่างต่อเนื่อง ถ้าปล่อยแบบนี้ไปเรื่อยๆ จะส่งผลเพิ่มความเสี่ยงการปนเปื้อน โลหะหนัก สารเคมี จากยางเก่าและพลาสติก และในรูปไมโครพลาสติกจากขวดน้ำเก่าสู่ดินและน้ำใต้ดินตื้นในระยะยาว เช่น ตัวอย่างอายุการย่อยสลายขวดน้ำพลาสติก (ขึ้นอยู่กับชนิดสารสังเคราะห์ปิโตรเคมีที่เป็นส่วนประกอบ) อาจต้องใช้เวลา 70-450 ปี (https://www.down2earthmaterials.ie/2013/02/14/decompose/) แต่ช่วงเวลานี้ก็มีบางส่วนหลุดย่อยสลายออกมาบ้าง

ข้อมูลจากเว็บไซต์ของ สวทช. (https://www.nstda.or.th/th/sci-kids-menu/3535-tyre) ยางรถยนต์ มีส่วนประกอบ ด้วย ยางธรรมชาติ ยางสังเคราะห์ คาร์บอนแบล็ก หรือผงเขม่า ผ้าใบ หรือเส้นลวด ออกไซด์ของสังกะสี กำมะถัน ที่สำคัญมีสารเคมีและโลหะหนักอีกหลายตัว เช่น แคดเมียม ทองแดง ตะกั่ว สังกะสี ปรอทและโลหะหนักอื่นๆ รวมทั้งสารประกอบไฮโดรคาร์บอน การกำจัดยางเก่าค่อนข้างยุ่งยาก มีค่าใช้จ่ายสูง ในต่างประเทศ เดิมเขาใช้ฝังกลบใต้ดิน ต้องมีการปูไลเนอร์ทำเป็นพื้นที่ปิด กันการรั่วซึมสู่ชั้นน้ำใต้ดินภายนอก ปัจจุบัน การฝังกลบยางรถยนต์เก่าลงใต้ดินนั้นผิดกฎหมาย (https://www.edie.net/news/4/Old-tyres-banned-from-landfill/11723/) เขาจึงพยายามหาวิธีในการรีไซเคิลยางเก่าแทน

การตรวจวัดคุณภาพน้ำใต้ดินบริเวณที่ฝังกลบยางหรือขวดเก่า ไม่น่าตอบโจทย์ในช่วงระยะสั้น อีกอย่างต้องคำนึงถึงการไหลตลอดเวลาของชั้นน้ำใต้ดิน อนึ่ง การเพิ่มพื้นที่กักเก็บน้ำควรเป็นวัสดุธรรมชาติ เช่น หิน หรือกรวดแม่น้ำ เป็นต้น

การอ้างประโยชน์จากธนาคารน้ำใต้ดิน บริเวณพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีสภาพน้ำใต้ดินเค็มอยู่แล้ว ว่าช่วยเปลี่ยนคุณภาพน้ำเค็มในพื้นที่ให้เป็นน้ำจืดได้ จากการให้น้ำจืดดันหรือกดน้ำเค็มลงระดับล่าง เนื่องจากยังไม่มีงานวิจัยที่แสดงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นในกรณีดังกล่าว ซึ่งน่าจะเป็นไปได้ยากมาก เนื่องจากน้ำใต้ดินเค็มเกิดจากการละลายเกลือหินระดับลึกตลอดเวลา และชั้นน้ำใต้ดินก็มีการไหลเคลื่อนที่ตลอดเวลา มีแต่จะเพิ่มโอกาสการแพร่กระจายของน้ำเค็มมากขึ้นด้วยซ้ำไป
ผลกระทบจากการสร้างธนาคารน้ำใต้ดินที่เกิดขึ้น อาจจะไม่เป็นบวกอย่างเดียว ธรรมชาติของชั้นน้ำใต้ดินเป็นระบบที่ซับซ้อน ขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดิน/หิน และภูมิประเทศ บางครั้งยากที่จะอธิบายความสัมพันธ์กัน ระหว่างบ่อเติม-บ่อรับน้ำ ของระบบธนาคารน้ำใต้ดินบริเวณพื้นที่เดียวกัน หากมีการสร้างบ่อเติมจำนวนมาก ก็คงน่าจะดี แต่บางพื้นที่พบว่า มีผลกระทบด้านลบ เช่น ทำให้น้ำในบ่อน้ำบาดาลที่กำลังใช้งานอยู่เดิมหายไป เป็นต้น

หากการก่อสร้างธนาคารน้ำใต้ดินไม่มีความเหมาะสมตามหลักวิชาการ พื้นที่ไม่มีชั้นกักเก็บน้ำใต้ดิน เช่น เป็นชั้นดินเหนียว ไม่ทำหน้าที่เติมกลับลงในชั้นน้ำใต้ดิน หรือที่ใส่วัสดุเพิ่มช่องว่างกักเก็บ แต่มีดินไหลไปอุดตันตามช่องว่าง ดังนั้น หลักการสุดท้าย เมื่อไม่มีธนาคารให้เก็บ จึงแนะนำให้ใช้ทฤษฎี “ทำใจ” อย่างน้อย ก็มีบ่อ/สระ เก็บน้ำ เผื่อเหลือน้ำไว้ใช้ถึงในหน้าแล้งก็ยังดี

การออกแบบสร้างธนาคารน้ำใต้ดินอย่างมีประสิทธิผล ควรเป็นบริเวณมีที่แหล่งกักเก็บน้ำที่เหมาะสม ต้องใช้เทคโนโลยีการสำรวจที่ทันสมัยเข้าช่วย รวมทั้งรักษาสภาพแวดล้อมด้วย จึงเป็นการจัดการน้ำอย่างสมดุล อาจช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมและภัยแล้งได้ ผลการเปลี่ยนแปลงทำให้ระดับน้ำใต้ดินตื้นเพิ่มขึ้น เมื่อมีโอกาสบริหารจัดการน้ำใช้หลังฤดูเก็บเกี่ยว เป็นการสร้างอาชีพ เพิ่มรายได้ให้กับชุมชน เปลี่ยนคุณภาพชีวิตของชุมชนให้ดีขึ้น

ผลการสแกนใต้ดินด้วยวิธีวัดค่าสภาพต้านทานไฟฟ้า หาเขตที่เป็นชั้นทรายใต้ดิน (สีเขียว-แดง) มีค่าประมาณ 20-30 โอห์มเมตร ปรากฏในชั้นตะกอนแวดล้อมที่เป็นดินเหนียว ค่าสภาพต้านทานไฟฟ้าต่ำกว่า (สีน้ำเงิน) น้อยกว่า 10 โอห์มเมตร ช่วยกำหนดตำแหน่งที่เหมาะสมเป็นจุดเติมน้ำ

ดอกสลิด หรือ ดอกขจร ผักพื้นบ้านที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง เพราะสามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายประเภท หรือจะนำมาลวกจิ้มกินกับน้ำพริกก็อร่อย แถมยังมีวิธีการปลูกและดูแลง่าย ปลูกได้ทุกสภาพพื้นดิน เพียงแต่ต้องรู้จักนิสัยสักหน่อย

คุณศราวุฒิ ลาจังหรีด (ต่าย) อยู่บ้านเลขที่ 95 หมู่ที่ 8 บ้านโคกโจด ตำบลกุดโบสถ์ อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา พนักงานประจำด้านปศุสัตว์ สนใจอยากหารายได้เสริมให้ครอบครัว ด้วยความที่ไม่อยากให้พ่อกับแม่ที่มีอายุมากออกไปรับจ้างทำงานข้างนอกบ้าน จึงมีความคิดที่จะปลูกดอกขจรเป็นอาชีพเสริม เพราะจากที่ศึกษาข้อมูล ขจร เป็นพืชที่ปลูกง่าย ลงทุนน้อย ปลูกครั้งเดียวเก็บดอกได้นาน 5 ปี

เริ่มปลูกดอกขจร ด้วยเงินเพียง 500 บาท
คุณต่าย เริ่มปลูกดอกขจรเป็นอาชีพเสริมมานานกว่า 5 ปี ดอกขจรที่ปลูกคือ พันธุ์เกษตร 1 ให้ช่อดอกใหญ่ ดกเต็มต้น ขายได้ราคาดี

“ผมเริ่มต้นปลูกดอกขจรเป็นอาชีพเสริม ด้วยเงินเพียง 500 บาท คือการซื้อกิ่งพันธุ์มาชำแล้วปลูกเองจำนวน 200 กิ่ง ปลูกได้ไม่ถึง 2 งาน เริ่มเปิดตลาดด้วยการนำดอกขจรไปนั่งขายที่ตลาดนัด ก็ได้รับผลตอบรับดี ชาวบ้านให้ความสนใจ มีลูกค้าประจำจำนวนหนึ่ง และมีลูกค้าหน้าใหม่ๆ ที่อยากจะลองซื้อไปทำกับข้าวเข้ามาเรื่อยๆ ผมไปนั่งขายที่ตลาดนัดอย่างนี้เป็นเวลานับปี ผลตอบรับก็ดีมาตลอด จึงคิดขยายแปลงเพิ่ม พอปลูกเพิ่มผลผลิตก็มากขึ้นจึงคิดว่าถ้าไปนั่งขายที่ตลาดนัดอย่างเดียวคงไม่หมด ประกอบกับแถวบ้านมีตลาดผักเจ้าใหญ่ที่ส่งทางภาคอีสานพอดี จึงไปติดต่อพ่อค้ามารับซื้อ เมื่อพ่อค้าเห็นผลผลิตก็ตอบตกลงและเข้ามารับเองถึงสวนมานานกว่า 4 ปี ราคาอยู่ที่กิโลกรัมละ 50-100 บาท ตามฤดูกาล”

ขจร ปลูกง่าย ต้นทุนต่ำ ปลูกครั้งเดียวเก็บได้นาน 5 ปี
เจ้าของ บอกว่า ขจรถือเป็นพืชทนแล้ง ชอบแสงแดดร้อยเปอร์เซ็นต์ ไม่ชอบที่แฉะน้ำท่วมขัง ชอบดินร่วนระบายน้ำได้ดี ปลูกได้ทุกฤดู แต่จะแนะนำให้ปลูกช่วงปลายฝนต้นหนาว หลังจากปลูก 3 ถึง 4 เดือนเริ่มให้ดอก ดอกจะออกให้เก็บช่วงหน้าร้อนถึงหน้าฝน ก็คือถ้าเราปลูกช่วงปลายฝนต้นหนาว ระยะที่เราจะได้เก็บ จะประมาณปลายเดือนกุมภาพันธ์ยาวไปถึงเดือนตุลาคม

การเตรียมดิน…เหมือนกับปลูกพืชทั่วไป ไถตากดินทิ้งไว้ 1 สัปดาห์ แล้วไถอีกครั้งจากนั้นขุดหลุมปลูกได้เลย หลุมขุดลึกแค่พอกลบกิ่งชำ 1 ไร่ ปลูกได้ 400 ต้น ระยะห่างระหว่างต้น 1.50 เมตร

วิธีปลูก… ขจรเป็นพืชไม้เลื้อย ก่อนปลูกต้องทำค้างก่อน ค้างที่ทำแล้วได้ผลดีเรียกว่าค้างโต๊ะ ลักษณะเป็นรูปตัวยูคว่ำ มีไม้ด้านข้างยาวไปตลอดแนว และใช้ตาข่ายคลุมด้านบน ช่วยลดลมปะทะ ถ้าเป็นค้างแบบแนวตั้งเมื่อลมมาจะต้านลมเยอะอาจทำให้ต้นล้มได้

ระบบน้ำ…เป็นระบบสปริงเกลอร์ ใน 2 สัปดาห์แรกเปิดน้ำรดทุกวัน ช่วยให้โตเร็ว รากเดินดี หลังจากนั้นสังเกตว่าใบเริ่มแตก ให้ลดน้ำลงเหลือสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ตามสภาพอากาศ

โรคแมลง…ส่วนใหญ่ที่เจอคือเพลี้ยไฟ ขจรเป็นพืชที่ต้องดูแลทุกวัน ถ้าเดินเจอให้ตัดเอาไปทิ้งเพื่อป้องกันการระบาดผลผลิตดก 2 ไร่
สร้างรายได้เฉียดแสนต่อเดือน
ดอกขจรเป็นพืชใช้เงินลงทุนน้อย ปลูกครั้งเดียวสามารถเก็บผลผลิตได้นาน 5 ปี ทั้งนี้ ต้องขึ้นอยู่กับการดูแลด้วย ในการปลูกจะมีค่าใช้จ่ายหลักๆ คือค่าต้นพันธุ์ ส่วนค่าทำค้างขึ้นอยู่กับวัสดุ ถ้าเกษตรกรท่านใดมีไม้เป็นอุปกรณ์เดิมอยู่แล้วก็ไม่ต้องซื้อหา จะช่วยลดต้นทุนไปได้เยอะ จะเสียเฉพาะค่าตาข่าย

ส่วนในเรื่องของผลผลิต ปลูก 2 ไร่ ถือว่าสร้างรายได้ดีเลี้ยงครอบครัวได้สบาย รายได้แซงงานประจำไปแล้ว

“ตอนปลูกที่นี่จะเริ่มปลูกช่วงปลายฝนต้นหนาว ดอกขจรปลูกครั้งหนึ่งเก็บผลผลิตได้นาน 3-5 ปี เก็บดอกได้ตลอดยกเว้นช่วงหน้าหนาว”

ช่วงหน้าหนาวของทุกปี คือฤดูกาลตัดแต่งทำสาวต้นขจร เพื่อให้ดอกจะได้ช่อใหญ่และดก

เริ่มให้ดอกเดือนที่ 3-4 แต่ในช่วงแรกดอกจะยังไม่ติดหมด อาจจะมีร่วงบ้าง จะเริ่มเก็บดอกได้จริงจังช่วงเดือนที่ 5 เก็บไปตลอด ให้ผลผลิตนาน 7-8 เดือน หยุดให้ดอกช่วงหน้าหนาว

ช่วงพีคๆ เก็บดอกได้รอบละกว่า 80-90 กิโลกรัม

“เก็บแบบวันเว้นสองวันเพราะจะได้มีเวลาไปทำงานอย่างอื่นด้วย งานอย่างอื่นคืองานตัดแต่งกิ่ง ดูแลสวนเช็คความเรียบร้อยต่างๆ ภายในสวน ผลผลิตที่นี่ถือว่าดก แต่ในความดก เกี่ยวกับช่วงอายุของต้นด้วย สมมติว่าของผมที่ผ่านมา ต้นยังสดใหม่ ช่วงปีแรกอาจจะยังไม่เยอะมาก จะไปเยอะปีที่สองและสาม พอปีสี่ปีห้าดอกจะเริ่มลดลง” เจ้าของบอก

การตลาดไปได้สวย
ราคาดีมาตลอด 5 ปี
ปลูกดอกขจรขายมานานกว่า 5 ปี ราคาดีมาโดยตลอด ราคาขายส่งมีพ่อค้ามารับซื้อถึงสวน กิโลกรัมละ 50-100 บาท หากมีเวลาแบ่งไปขายที่ตลาดจะได้ราคาดีเพราะเราสามารถแบ่งขายได้ขีดละ 20 บาท 1 กิโลกรัม ก็ได้เงิน 200 บาท และนอกจากการขายดอก เจ้าของยังทำกิ่งพันธุ์ขายด้วย

ตอนนี้ขายอยู่ 3 แบบ 1. กิ่งสดแช่น้ำยาเร่งราก ราคากิ่งละ 10 บาท 2. ตุ้มตอนเหมือนกิ่งตอนทั่วไป เอาขุยมะพร้าวไปห่อ อันนี้ตุ้มละ 8 บาท 3. แบบชำพร้อมปลูก ถ้าเป็นชำพร้อมปลูกถ้าส่งต่างจังหวัดไกลๆ จะส่งแบบล้างรากเอาดินออก คิดราคาต้นละ 10 บาท แต่ถ้าหากมารับที่สวนต้นสมบูรณ์พร้อมปลูกราคาต้นละ 25 บาท ตลาดของดอกขจร ส่วนใหญ่จะเป็นแถบภาคอีสาน ด้วยดอกขจรทำอาหารได้หลายประเภท ต้ม ทอด แกง ผัด ทำได้หมด ตลาดไปได้อีกไกลเพราะคนทำดอกขจรแบบจริงจังยังมีน้อย แล้วดอกขจรจะมีเสน่ห์เฉพาะตัว บริโภคได้ทุกกลุ่ม รสชาติจะออกหวานนิดๆ กินง่าย ประกอบอาหารได้หลายอย่าง เจ้าของบอก

ฝากถึงเกษตรกรมือใหม่
สำหรับผม ดอกขจรยังไปได้อีกไกล แต่อยากแนะสำหรับเกษตรกรมือใหม่ สิ่งแรกที่ต้องทำคือศึกษาข้อมูลหรือนิสัยของพืชที่เราจะปลูกก่อน และอีกอย่างเราต้องกลับไปดูพื้นที่ของเราด้วยว่าจะสามารถปลูกได้ไหม หรือถ้าที่ดินยังไม่เหมาะเราจะประยุกต์หรือบำรุงดินได้อย่างไรบ้าง ดัดแปลงที่ดินให้เหมาะสมแก่การปลูก ถ้าเราทำตรงนี้ได้ตรงอื่นก็ไม่ยาก ขจรเป็นพืชที่ดูแลง่าย คนแก่ก็ทำได้ ถือเป็นรายได้เสริมที่ดี เมื่อก่อนจะเป็นรายได้เสริม เดี๋ยวนี้จะเป็นรายได้หลักแล้ว ใช้แรงงานไม่เยอะ แต่ช่วงที่ให้ผลผลิตต้องอยู่กับเขาตลอด มีจ้างแรงงานบ้างเพราะเก็บไม่ทัน

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือสนใจซื้อกิ่งพันธุ์ดอกขจร ติดต่อ คุณศราวุฒิ ลาจังหรีด (ต่าย) ได้ที่เบอร์โทร. (095) 621-9544“นราพัฒน์” ร่วม”จุรินทร์” เปิดเวทีประชาสัมพันธ์มาตรการประกันรายได้แก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 62/63 จ่ายครั้งแรก 15 ต.ค. นี้

นายนราพัฒน์ แก้วทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้าร่วมการประชาสัมพันธ์ชี้แจงมาตรการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2562/2563 รอบที่ 1 ณ CK Convention Hall ศูนย์ประชุมจังหวัดพิจิตร เพื่อชี้แจงหลักเกณฑ์ โครงการ เงื่อนไข และสิทธิประโยชน์ที่เกษตรกรจะได้รับจากมาตรการประกันรายได้ โดยมีตัวแทนเกษตรกรเข้าร่วมการสัมมนาจากจังหวัดภาคเหนือตอนล่างกว่า 300 ราย

กระทรวงเกษตรฯ และกระทรวงพาณิชย์ เร่ง kick off มาตรการประกันรายได้ใน 5 พืช ชนิดหลัก ได้แก่ ข้าว ยางพารา ปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง และข้าวโพด สำหรับสินค้าข้าว รัฐบาลประกัน 5 ชนิดข้าวเปลือก โดยจะกำหนดราคาเป้าหมายซึ่งเป็นราคาที่เกษตรกรควรได้รับตามราคาตลาดเฉลี่ยทุก 15 วัน ได้แก่ 1. ข้าวหอมมะลิ 15,000 บาท ต่อตัน ไม่เกินครัวเรือนละ 14 ตัน 2. ข้าวหอมมะลินอกพื้นที่ 14,000 บาทต่อตัน ไม่เกินครัวเรือนละ 16 ตัน 3. ข้าวเจ้า 10,000 บาท ต่อตัน ไม่เกินครัวเรือนละ 30 ตัน 4. ข้าวหอมปทุม 11,000 บาท ต่อตัน ไม่เกินครัวเรือนละ 25 ตัน และ 5. ข้าวเหนียว 12,000 บาท ต่อตัน ไม่เกินครัวเรือนละ 16 ตัน ทั้งนี้ เกษตรกรต้องขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่

นายนราพัฒน์ เน้นย้ำว่า มาตรการประกันรายได้เป็นหลักประกันเบื้องต้นให้พี่น้องเกษตรกรมั่นใจว่า ทำนาแล้วไม่ขาดทุน นอกจากนี้ ยังต้องมีมาตรการเสริม เพื่อผลักดันราคาสินค้าเกษตรให้มีราคาสูงขึ้น

ในส่วนของภาคเกษตร กระทรวงเกษตรฯ เน้นการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกข้าวที่มีคุณภาพ ปลอดภัย เพื่อการแข่งขันในตลาดโลก และสนับสนุนการลดต้นทุน และพัฒนาระบบการเก็บรักษาพืชผลทางการเกษตรให้มีคุณภาพ ต่อไปกระทรวงเกษตรฯ และกระทรวงพาณิชย์ จะทำงานร่วมงานอย่างใกล้ชิด จะใช้ทุกช่องทางเพิ่มตลาดให้พี่น้องเกษตรกรทั้งในระบบออนไลน์และออฟไลน์

มะนาว ถือเป็นหนึ่งในพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของอำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร บ้านแพ้ว ในแต่ละวันจะมีผลผลิตมะนาวออกสู่ผู้บริโภค โดยผ่านพ่อค้าคนกลาง ซึ่งจะไปเดินทางรวบรวมนะนาวจากสวนต่างๆ ส่งตลาดค้าส่งที่สำคัญ เช่น ตลาดปากคลองตลาด ตลาดไท เป็นต้น

คุณสมใจ หรือ บอย เทพจินดา อยู่บ้านเลขที่ 14 หมู่ 9 ตำบลหนองสองห้อง อำเภอบ้านแพ้ว โทร.08-9826-4202 เป็นหนึ่งในเกษตรกรผู้ปลูกมะนาว ที่เน้นการจำหน่ายทั้งผลมะนาวและกิ่งพันธุ์มะนาว โดยมีพื้นที่ปลูกทั้งสิ้น 22 ไร่

คุณบอย บอกว่า ครอบครัวเทพจินดาได้ปลูกมะนาวกันมานานกว่า 10 ปีแล้ว และได้หยุดไปปลูกองุ่นอยู่ระยะหนึ่ง ประมาณ 4 ปี แต่การปลูกองุ่นต้องประสบปัญหาต้นทุนที่สูงมาก ทำให้รับไม่ไหว จึงปรับเปลี่ยนกิจกรรมการปลูกพืชกลับมาเป็นมะนาวเหมือนเดิมจนถึงทุกวันนี้

“มะนาวยังเป็นไม้ผลที่ให้ผลตอบแทนดี แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นกับราคาตลาดด้วย ถ้าราคาดี ไม่มีการให้นำเข้าจากต่างประเทศ นับเป็นพืชที่สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรได้ดีชนิดหนึ่งทีเดียว” คุณบอย กล่าว

ปัจจุบันที่สวนแห่งนี้จะมีผลผลิตมะนาวพันธุ์แป้นทะวายออกสู่ตลาดอย่างสม่ำเสมอทั้งปี“สาเหตุที่เลือกปลูกมะนาวพันธุ์แป้นพวงนั้น เพราะให้ลูกดอกและลูกใหญ่ ให้น้ำหอม เป็นที่ต้องการของตลาด” เทคนิคการเลือกต้นพันธุ์มาปลูก
ส่วนสำคัญที่คุณบอยบอกว่าจะต้องใส่ใจมากที่สุดคือ ลักษณะการให้ลูกของมะนาว ว่าจะดอกหรือไม่

“เราจะซื้อต้นพันธุ์มะนาวมาจากที่ไหนสิ่งสำคัญผมมองว่า ต้องไปดูครับ ไปดูถึงสวนเขาเลยว่า มะนาวให้ลูกดกหรือไม่ พอได้เห็นเก็บข้อมูลทุกอย่างแล้วให้เอากลับมาประมวลดูว่าจะตัดสินใจซื้อหรือไม่ ซึ่งถ้าดีตามที่เราต้องการก็ตัดสินใจได้เลย”

อย่างไรก็ตามสิ่งหนึ่งที่เป็นนิยมกันของเกษตรกรชาวสวนมะนาว โดยผ่านมุมมองของบอยคือ เมื่อมีต้นพันธุ์มะนาวมาปลูกไว้ในสวนแล้วหากต้องการปลูกมะนาวให้มากขึ้น จะไม่ใช้วิธีการไปซื้อมาเพิ่มเติม แต่จะใช้วิธีการคัดต้นมะนาวจากปลูกอยู่ในสวน ดูว่าต้นไม้เจริญเติบโตดี ให้ผลดก น้ำมาก จะคัดต้นนั้นเก็บไว้ทำแม่พันธุ์ และขยายพันธุ์มาปลูกเพิ่มเติมตามจำนวนที่ต้องการ

“ในส่วนของกิ่งพันธุ์มะนาวที่เราทำจำหน่ายก็เช่นกัน เราจะคัดต้นพันธุ์ที่สมบูรณ์ที่สุด เมื่อคัดแล้วก็จะดูผลผลิตว่าว่าติดลูกดกดีหรือไม่ ถ้าเป็นไปตามที่เรากำหนดไว้ จึงจะดำเนินการขยายพันธุ์อกมาจำหน่าย ส่วนมากจะดูประมาณ 2 ปีหลังจากเริ่มติดผล ที่ต้องใช้เวลานานสาเหตุเพราะต้องดูให้แน่ใจเพราะบางที่ต้นที่เราคัดมากก็พบว่ามีกลาย ให้ผลไม่ดกก็มี” คุณบอย กล่าว

สำหรับกิ่งพันธุ์ที่ทำบอยจำหน่ายนั้นจะเน้นการตอนกิ่งเป็นหลัก “ในเขตบ้านแพ้วจะนิยมปลูกด้วยกิ่งตอน ซึ่งจะให้ผลผลิตเร็วกว่า หากกิ่งพันธุ์เลี้ยงสมบูรณ์ดี ประมาณ 18 เดือน ก็สามารถเริ่มมีผลผลิตให้เก็บแล้ว”

ถนัดดูแลมะนาวที่ปลูกแบบยกร่อง
สำหรับรูปแบบการปลูกมะนาวของเกษตรกรในเขตอำเภอบ้านแพ้ว คุณบอยบอกว่า จะนิยมปลูกกันแบบยกร่อง มากกว่าการปลูกแบบไร่เหมือนกันในจังหวัดอื่นๆ ด้วยลักษณะเป็นพื้นที่ที่ตั้งอยู่บริเวณพื้นที่ราบริมฝั่งคลองดำเนินสะดวกที่เชื่อมต่อระหว่างแม่น้ำท่าจีนกับแม่น้ำแม่กลอง

“การปลูกในลักษณะยกร่อง ตามความรู้สึกผม นอกจากเป็นความค้นเคยที่คนบ้านแพ้วจะทำการเกษตรแบบยกร่องทั้งการปลูกผัก ไม้ผล นอกจากนี้ ผมยังคิดว่าช่วยทำให้การทำงานของเราง่าย โดยเฉพาะในการขนย้ายมะนาวออกมาจากสวนเพื่อส่งจำหน่ายหรือการนำปัจจัยการผลิตต่างๆ เช่น ปุ๋ยไปใส่ให้กับต้นมะนาว”