ในส่วนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้กำหนดมาตรการให้

สวนตัดทะลายปาล์มคุณภาพให้เป็นไปตามมาตรฐานสินค้าเกษตรทะลายปาล์มน้ำมัน (มกษ. 5702-2552) ซึ่งกำหนดคุณภาพทั่วไปของทะลายปาล์มตามที่เก็บเกี่ยวเพื่อจำหน่าย ดังนี้ 1. ทะลายปาล์มต้องมีลักษณะตรงตามพันธุ์ 2. เป็นทะลายปาล์มสุก (ripe bunch) ซึ่งผลปาล์มน้ำมันที่ส่วนใหญ่ผิวเปลือกสีส้มหรือสีแดง และเนื้อปาล์ม (mesocarp) มีสีส้ม มีจำนวนผลร่วงอย่างน้อย 10 ผลต่อทะลาย หรือทะลายปาล์มกึ่งสุก (underripe bunch) เป็นผลปาล์มน้ำมันที่ส่วนใหญ่ผิวเปลือกสีส้มแดงหรือสีแดงม่วง

มีผลร่วงน้อยกว่า 10 ผลต่อทะลาย 3. มีความสด โดยไม่ผ่านการรดน้ำหรือมีการกระทำใดๆ ที่เป็นการเร่งให้ดูเหมือนผลสุกหรือผลร่วง เช่น บ่มแก๊ส (ทะลายปาล์มน้ำมันจะคงความสดเมื่อขนส่งถึงโรงงานภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากเก็บเกี่ยว) 4. สะอาดและปราศจากสิ่งแปลกปลอมที่มองเห็นได้ 5. ไม่มีความเสียหายอันเนื่องมาจากศัตรูพืชที่มีผลกระทบต่อคุณภาพผลิตผล และ 6. ความยาวของก้านทะลายไม่เกิน 5 เซนติเมตร รวมทั้งการแบ่งชั้นคุณภาพทะลายปาล์มสุกออกเป็น ชั้นพิเศษ ชั้นหนึ่ง และชั้นสอง

รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับสาเหตุที่ชาวสวนไม่เก็บเกี่ยวปาล์มสุก (ปาล์มไม่ได้คุณภาพ) เป็นเพราะเกษตรกรเจ้าของสวนไม่ได้ตัดปาล์มน้ำมันเอง หรือไม่ได้ควบคุมคุณภาพในการตัดของผู้รับเหมา รวมทั้งความเข้าใจในการเก็บเกี่ยวปาล์มสุกของแต่ละคนไม่ตรงกัน แนวทางแก้ไข คือ การส่งเสริมให้ชาวสวนปาล์มน้ำมันรวมกลุ่มเกษตรกรในระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ ซึ่งกำหนดเป้าหมายการดำเนินงานในการลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต ยกระดับคุณภาพผลผลิตสู่มาตรฐาน สอดคล้องความต้องการของตลาด และเพิ่มศักยภาพการบริหารการจัดการ โดยในกลุ่มสินค้าปาล์มน้ำมัน ได้นำระบบควบคุมภายใน (Internal Control System : ICS) มาปรับใช้ในการบริหารจัดการกลุ่ม เพื่อควบคุมคุณภาพสินค้าให้ได้มาตรฐาน และให้กลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่ปาล์มน้ำมันเลือกใช้ทีมตัดปาล์มน้ำมันของสมาชิกที่มีการดำเนินการอยู่แล้ว

โดยจัดทีมตัดและให้จัดคิวให้กับสมาชิกในกลุ่มก่อน รวมทั้งจัดอบรมให้ความรู้กับเกษตรกร/ทีมตัดปาล์มน้ำมันของบริษัท /ลานเท/ ทีมตัดปาล์มน้ำมันอิสระ โดยใช้แนวทางของมาตรฐานสินค้าเกษตรปาล์มน้ำมัน (มกษ. 5702-2552) พร้อมทั้งแจ้งให้เกษตรกรชาวสวนขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน (ทบก.) กับกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อจะได้ทราบข้อมูลจำนวนพื้นที่ปลูกและปริมาณผลผลิต รวมถึงให้การส่งเสริมในด้านต่างๆ ต่อไป

สำหรับวิธีจัดการปาล์มทะลายที่ไม่ได้คุณภาพ ในการดำเนินงานโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ปาล์มน้ำมัน ได้เน้นให้มีการนำระบบควบคุมภายใน (Internal Control System : ICS) มาใช้ ในการควบคุมคุณภาพผลผลิต โดยให้จัดทำข้อตกลงภายในกลุ่ม ตามแนวทางมาตรฐานสินค้าเกษตรปาล์มน้ำมัน (มกษ. 5702-2552) ซึ่งสมาชิกทุกคนต้องมีการปฏิบัติตาม หากเกษตรกรรายใดไม่ปฏิบัติตาม ก็จะมีบทลงโทษตามข้อตกลงของแต่ละกลุ่ม การดำเนินการดังกล่าวจะได้รับความร่วมมือจากการเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างกลุ่มเกษตรกร ลานเท/โรงงานสกัด ในการคัดผลผลิตที่ไม่ได้คุณภาพส่งคืนเกษตรกร

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงพาณิชย์ จับมือบูรณาการหาแนวทางพัฒนาอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันทั้งระบบให้มีเสถียรภาพ ตามยุทธศาสตร์การปฏิรูปปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มทั้งระบบ ปี 2560 – 2579 เน้นการเพิ่มอัตราการสกัดน้ำมันปาล์มดิบให้ได้ไม่น้อยกว่า 18% (OER ไม่น้อยกว่า 18%) และราคาจำหน่ายตามประกาศคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ ของกระทรวงพาณิชย์ พร้อมกำหนดมาตรการให้ชาวสวนตัดปาล์มให้ได้คุณภาพเป็นไปตามมาตรฐานสินค้าเกษตร มกษ.

นายสำราญ สาราบรรณ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มอบหมายให้กรมส่งเสริมการเกษตรเข้าร่วมประชุมเพื่อบูรณาการแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันทั้งระบบให้มีเสถียรภาพ ร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงพาณิชย์ ณ ศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยกระทรวงพาณิชย์ ได้ให้ข้อมูลสถานการณ์ปาล์มน้ำมันขณะนี้ว่ายังมีปริมาณสต๊อกน้ำมันปาล์มดิบอยู่ในโรงงานเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ราคาผลผลิตปาล์มดิบของเกษตรกรลดลง ประกอบกับเกษตรกรตัดทะลายปาล์มที่ยังไม่สุกไปจำหน่าย ทำให้อัตราการสกัดปาล์มน้ำมันดิบต่ำ จึงได้เร่งหาแนวทางการดำเนินการตามยุทธศาสตร์การปฏิรูปปาล์มน้ำมันทั้งระบบ

โดยกระทรวงอุตสาหกรรมเน้นเรื่องการกำหนดอัตราการสกัดขั้นต่ำของโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มให้อยู่ที่ 18% และราคาที่โรงงานรับซื้อเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการของกระทรวงพาณิชย์ ขณะที่กระทรวงพาณิชย์โดยกรมการค้าภายในได้พิจารณาแนวทางการกำหนดราคาวัตถุดิบ การกำกับควบคุมลานเท และการบริหารสต๊อกน้ำมันปาล์ม เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและให้ราคาเป็นไปตามกลไกของตลาด โดยมีนายวิชวุทย์ จินโต ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้นำเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในการขอความร่วมมือโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มในการส่งออกเพื่อระบายสต๊อกออกไป และจัดทำแผนการขับเคลื่อนพัฒนาปาล์มน้ำมันคุณภาพจังหวัดสุราษฎร์ธานีอย่างยั่งยืน โดยอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในจังหวัด

ในส่วนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้กำหนดมาตรการให้ชาวสวนตัดทะลายปาล์มคุณภาพให้เป็นไปตามมาตรฐานสินค้าเกษตรทะลายปาล์มน้ำมัน (มกษ. 5702-2552) ซึ่งกำหนดคุณภาพทั่วไปของทะลายปาล์มตามที่เก็บเกี่ยวเพื่อจำหน่าย ดังนี้ 1. ทะลายปาล์มต้องมีลักษณะตรงตามพันธุ์ 2. เป็นทะลายปาล์มสุก (ripe bunch) ซึ่งผลปาล์มน้ำมันที่ส่วนใหญ่ผิวเปลือกสีส้มหรือสีแดง และเนื้อปาล์ม (mesocarp) มีสีส้ม มีจำนวนผลร่วงอย่างน้อย 10 ผลต่อทะลาย หรือทะลายปาล์มกึ่งสุก (underripe bunch)

เป็นผลปาล์มน้ำมันที่ส่วนใหญ่ผิวเปลือกสีส้มแดงหรือสีแดงม่วง มีผลร่วงน้อยกว่า 10 ผลต่อทะลาย 3. มีความสด โดยไม่ผ่านการรดน้ำหรือมีการกระทำใดๆ ที่เป็นการเร่งให้ดูเหมือนผลสุกหรือผลร่วง เช่น บ่มแก๊ส (ทะลายปาล์มน้ำมันจะคงความสดเมื่อขนส่งถึงโรงงานภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากเก็บเกี่ยว) 4. สะอาดและปราศจากสิ่งแปลกปลอมที่มองเห็นได้ 5. ไม่มีความเสียหายอันเนื่องมาจากศัตรูพืชที่มีผลกระทบต่อคุณภาพผลิตผล และ 6. ความยาวของก้านทะลายไม่เกิน 5 เซนติเมตร รวมทั้งการแบ่งชั้นคุณภาพทะลายปาล์มสุกออกเป็น ชั้นพิเศษ ชั้นหนึ่ง และชั้นสอง

รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับสาเหตุที่ชาวสวนไม่เก็บเกี่ยวปาล์มสุก (ปาล์มไม่ได้คุณภาพ) เป็นเพราะเกษตรกรเจ้าของสวนไม่ได้ตัดปาล์มน้ำมันเอง หรือไม่ได้ควบคุมคุณภาพในการตัดของผู้รับเหมา รวมทั้งความเข้าใจในการเก็บเกี่ยวปาล์มสุกของแต่ละคนไม่ตรงกัน แนวทางแก้ไข คือ การส่งเสริมให้ชาวสวนปาล์มน้ำมันรวมกลุ่มเกษตรกรในระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ ซึ่งกำหนดเป้าหมายการดำเนินงานในการลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต ยกระดับคุณภาพผลผลิตสู่มาตรฐาน สอดคล้องความต้องการของตลาด และเพิ่มศักยภาพการบริหารการจัดการ

โดยในกลุ่มสินค้าปาล์มน้ำมัน ได้นำระบบควบคุมภายใน (Internal Control System : ICS) มาปรับใช้ในการบริหารจัดการกลุ่ม เพื่อควบคุมคุณภาพสินค้าให้ได้มาตรฐาน และให้กลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่ปาล์มน้ำมันเลือกใช้ทีมตัดปาล์มน้ำมันของสมาชิกที่มีการดำเนินการอยู่แล้ว โดยจัดทีมตัดและให้จัดคิวให้กับสมาชิกในกลุ่มก่อน รวมทั้งจัดอบรมให้ความรู้กับเกษตรกร/ทีมตัดปาล์มน้ำมันของบริษัท /ลานเท/ ทีมตัดปาล์มน้ำมันอิสระ โดยใช้แนวทางของมาตรฐานสินค้าเกษตรปาล์มน้ำมัน (มกษ. 5702-2552) พร้อมทั้งแจ้งให้เกษตรกรชาวสวนขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน (ทบก.) กับกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อจะได้ทราบข้อมูลจำนวนพื้นที่ปลูกและปริมาณผลผลิต รวมถึงให้การส่งเสริมในด้านต่างๆ ต่อไป

สำหรับวิธีจัดการปาล์มทะลายที่ไม่ได้คุณภาพ ในการดำเนินงานโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ปาล์มน้ำมัน ได้เน้นให้มีการนำระบบควบคุมภายใน (Internal Control System : ICS) มาใช้ ในการควบคุมคุณภาพผลผลิต โดยให้จัดทำข้อตกลงภายในกลุ่ม ตามแนวทางมาตรฐานสินค้าเกษตรปาล์มน้ำมัน (มกษ. 5702-2552) ซึ่งสมาชิกทุกคนต้องมีการปฏิบัติตาม หากเกษตรกรรายใดไม่ปฏิบัติตาม ก็จะมีบทลงโทษตามข้อตกลงของแต่ละกลุ่ม การดำเนินการดังกล่าวจะได้รับความร่วมมือจากการเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างกลุ่มเกษตรกร ลานเท/โรงงานสกัด ในการคัดผลผลิตที่ไม่ได้คุณภาพส่งคืนเกษตรกร

วันที่ 10 พฤษภาคม ผู้สี่อข่าวรายงานว่า หลังจากฝนตกหนักในพื้นที่จังหวัดสกลนครส่งผลให้เขาภูพานเริ่มเขียวขจีชุ่มช่ำ อุดมสมบูรณ์ จึงทำให้บรรดาของป่าทั้งหลายเริ่มออกดอกออกผลกันเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะเห็ดนานาชนิดที่กินได้รวมถึงของป่าอาหารพื้นบ้านทั่วไป เมื่อถึงฤดูกาลชาวบ้านจึงรวมตัวกันนำตะกร้าและเสียมออกตระเวนไปตามป่าบนเขาภูพาน เพื่อเก็บเห็ดสำหรับเห็ดที่กำลังออกตอนนี้ประกอบด้วย เห็ดก่อ เห็ดผึ้ง เห็ดระโงก เห็ดไข่ เห็ดเผาะ และเห็ดบด

นางทองเทพ ตั้งใจ อายุ 54 ปี ชาว จ.กาฬสินธุ์ กล่าวว่า ตนรวมกลุ่มกันกับเพื่อนบ้านนั่งรถมาพร้อมกันเนื่องจากช่วงนี้สภาพอากาศร้อนชื้นและฝน ส่งผลให้เห็ดจำนวนมากขึ้นตามเขาภูพาน การเตรียมตัวไม่มีอะไรมากแค่สวมชุดเสื้อผ้าแขนยาวกางเกงขายาวถือเสียมและตะกร้าออกเดินจากจุดจอดรถเข้าไปในป่า เดินไปเรื่อยๆตั้งแต่ช่วงเช้าพอตกบ่ายก็กลับออกมา ในแต่ละวันจะได้เห็ดประมาณ 1-2 กิโลกรัม จากนั้นจะนำไปขายต่อ โดยขณะนี้เห็ดที่แพงที่สุดคือเห็ดเผาะ กิโลกรัมละ 700 บาท รองลงมา เห็ดระโงก 400-500 บาท นอกจากนี้ยังมีแมงแคง ที่ราคาสูงถึงกิโลกรัม 2,000 บาท เมื่อนำไปจำหน่ายรวมๆเฉลี่ยมีรายได้ 1,000-1,200 บาท ต่อวัน

น.ส.วราลักษณ์ สาสุนัน อายุ 36 ปี แม่ค้าขายของป่าริมทางถนน สกลนคร-กาฬสินธุ์ กล่าวว่า ตนจะรับของป่าจากชาวบ้านที่เข้าไปหามาขายอีกทอด จึงทำให้ที่ร้านริมทางมีของป่ามากมายอาทิ ผักอีรอก ผักหวาน มะไฟ เห็ดเผาะ เห็ดระโงก นำมาแบ่งขายปลีก เช่น เห็ดระโงก เห็ดบด กองละ 50 บาท กองใหญ่ 100 บาท ส่วนเห็ดเผาะถุงเล็ก 100 บาท ถุงใหญ่ 300 บาท จะมีลูกค้าที่สัญจรไปมาผ่านแวะซื้อกลับบ้านไปประกอบอาหาร ตนก็จะแถมใบผักติ้วให้ลูกค้าด้วยเนื่องจากเวลานำไปใส่แกงเห็ดจะอมเปรี้ยวนิดๆทำให้แกงเห็ดกลมกล่อมมากขึ้นแต่ละวันจึงมีรายได้ จากการขายเห็ดและของป่า 2-3 พันบาทต่อวัน

กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานลักษณะอากาศทั่วไปว่า บริเวณประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองหลายพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมไว้ด้วย

ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนได้แผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้แล้ว ประกอบกับมีลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคใต้ ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองหลายพื้นที่และมีฝนตกหนักบางแห่ง

พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทยตั้งแต่เวลา 12:00 วันนี้ ถึง 12:00 วันพรุ่งนี้
ภาคเหนือ มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก ตาก กำแพงเพชร พิจิตร และเพชรบูรณ์ อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดสกลนคร นครพนม มุกดาหาร ยโสธร กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด อำนาจเจริญ อุบลราชธานี และศรีสะเกษ อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

ภาคกลาง มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท อ่างทอง สิงห์บุรี ลพบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี และราชบุรี อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

ภาคตะวันออก มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดนครนายก ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด อุณหภูมิต่ำสุด 25-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต และกระบี่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 27-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

เมื่อวันที่ 10 พ.ค. พ.ต.อ.ธงชัย อยู่เกษ ผกก.1 บก.ป. พร้อมด้วยพ.ต.ท.ก่อเกียรติ วุฒิจำนงค์ สว.กก.1 บก.ป. นำกำลังเข้าทำการจับกุมตัวนายอภิรักษ์ ถาวรเจริญสุข อายุ 42 ปี ชาวกะเหรี่ยง อยู่บ้านเลขที่ 2/ช ม.13 ต.บ้านเก่า อ.เมือง จ.กาญจนบุรี ตามหมายจับศาลแขวงพระนครศรีอยุธยา ที่54/2561 ลงวันที่ 10 เม.ย. 2561 ข้อหาฉ้อโกงทรัพย์ และศาลจังหวัดนนทบุรี ที่621/2560 ลงวันที่ 27 ธ.ค. 2560 ข้อหา “นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน และฉ้อโกง” โดยจับกุมได้ในพื้นที่ ต.ท่ากระดาน อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี

สืบเนื่องจากนายอภิรักษ์ได้เปิดเว็บไซด์ขายกุ้งเครย์ฟิช โดยอ้างตัวว่าเป็นชาวสิงคโปร์สามารถนำเข้ากุ้งเครย์ฟิชในราคาถูกและคุณภาพดีจากต่างประเทศมาขายยังประเทศไทยได้ เมื่อผู้เสียหายหลงเชื่อก็จะขอค่ามัดจำสินค้าล่วงหน้าและค่าดูแลกุ้ง ต่อมาเมื่อผู้เสียหายโอนเงินให้นายอภิรักษ์ กลับอ้างว่าไม่สามารถส่งกุ้งให้ได้ เนื่องจากสินค้ายังไม่มาหรือติดปัญหาต่างๆ

กระทั่งสุดท้ายก็ไม่มีการส่งสินค้าดังกล่าวแต่อย่างใด เป็นเหตุให้มีผู้หลงเชื่อและเกิดความเสียหายกว่า 25 ล้านบาท ทางผู้เสียหายจึงรวมตัวกันเข้าแจ้งความพนักงานสอบสวน กก.1 บก.ป. กระทั่งตามจับกุมดังกล่าว ทั้งนี้ จากการสอบสวนนายอภิรักษ์ให้การรับสารภาพตลอดข้อกล่าวหา หลังสอบสวนเสร็จแล้วเจ้าหน้าที่จึงนำตัวส่งพนักงานสอบสวน กก.1 บก.ป. เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป

การลักลอบตัดทุเรียนอ่อนก่อนผลผลิตออกสู่ท้องตลาดในฤดูกาลปกติ เพื่อนำไปจำหน่ายให้กับผู้บริโภคในราคาค่อนข้างสูง มีปัญหามาอย่างยาวนาน ทำให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องต้องกำหนดมาตรการ ลงโทษตามกฎหมายเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค และมีแนวทางสร้างภาพลักษณ์ที่ดี เพื่อให้การจำหน่ายทุเรียนทั้งในและตลาดต่างประเทศได้รับการยอมรับ ส่วนการใช้อุปกรณ์ตรวจสอบคุณภาพผลผลิตพบว่ายังมีราคาค่อนข้างแพง

นายจิตวัฒนา บุญเลิศ หัวหน้าแผนกวิชาช่างกลโรงงาน วิทยาลัยการอาชีพบางสะพาน ตำบลทองมงคล อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เปิดเผยว่า ในพื้นที่ อำเภอบางสะพาน มีทุเรียนบ้านคลองลอยได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง แต่ที่ผ่านมาผู้บริโภคมักประสบปัญหาจากการตรวจสอบคุณภาพเนื้อทุเรียนที่พ่อค้านำไปจำหน่าย นอกจากนั้นยังพบว่าพฤติกรรมการบริโภคทุเรียนยังมีความแตกต่างจากความต้องการเนื้อทุเรียนสุกหรือห่าม กลุ่มนักศึกษาและคณะครูที่ปรึกษาจึงร่วมกันคิดค้นสิ่งประดิษฐ์เพื่อใช้ตรวจสอบคุณภาพเนื้อทุเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความแม่นยำสูง

“นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ประกอบด้วย นายเมธี ขำพวง นายพันทิวา คำแก้ว และ นายสมทรง แจ้งอักษร จากแผนกวิชาเทคนิคการผลิต ประสบความสำเร็จจากการผลิตอุปกรณ์วัดความสุกของทุเรียนมีความถูกต้อง 100% จากการทำโครงงานนวัตกรรมและงานวิจัยก่อนจบระดับการศึกษา โดยใช้เวลาคิดค้นเพียง 3 เดือน ได้รับรางวัลชนะเลิศระดับจังหวัด จากนั้นได้รับรางวัลชนะเลิศระดับตัวแทนภาคกลาง และได้รับรางวัลด้านนวัตกรรมโดดเด่นระดับชาติ ในการประกวดสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่ และการแข่งขันหุ่นยนต์อาชีวศึกษาระดับชาติ ของกรมอาชีวศึกษา ประจำปีการศึกษา 2560 ประเภทที่ 2 สิ่งประดิษฐ์ด้านการประกอบอาชีพ”

นายจิตวัฒนา กล่าวด้วยว่า อุปกรณ์ดังกล่าวพกพาสะดวก เนื่องจากมีขนาดเล็ก ใช้งานง่าย มีลักษณะคล้ายปากกา ไม่ได้ใช้วัดเปอร์เซ็นต์แป้งของทุเรียน หรือมีเทคโนโลยีที่มีความซับซ้อนจากระบบอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ต้องใช้แบตเตอรี่ แต่ใช้ตรวจสอบเนื้อทุเรียนเพื่อให้ผู้บริโภคสามารถเลือกรับประทานได้ตามที่ต้องการ โดยใช้หลักการง่ายๆ ของการวัดแรงต้านที่เนื้อทุเรียน เพื่อพิสูจน์ว่าเป็นผลดิบ เนื้อห่าม หรือสุกเนื้อนิ่ม สำหรับการใช้เครื่องมือวัดชนิดนี้จะใช้แทนการใช้มีด เปิดผิวทุเรียนแบบเก่า เพื่อใช้นิ้วกดตรวจสอบเนื้อทุเรียน หรือใช้การเคาะที่ผล ซึ่งผู้ขายเท่านั้นจะมีความชำนาญในการฟังเสียง แต่ไม่ได้ยืนยันว่าทุเรียนจะสุกเท่ากันทั้งผล เนื่องจากบางสวนมีการใช้สารเคมีเพื่อเร่งความสุก แต่การใช้อุปกรณ์ชิ้นนี้สามารถเจาะตรวจเนื้อทุเรียนได้ทั้งผล แต่มีไม่มีผลกระทบกับเนื้อทุเรียน

“วิธีการใช้เพียงนำอุปกรณ์วัดความสุกของทุเรียนที่มีปลายแหลมจากเข็มฉีดยา ทิ่มลงไปในเปลือก ให้ตรงกับบริเวณที่มีเนื้อทุเรียน จากนั้นทิ่มส่วนปลายเข็มลงไปให้สุด แล้วกดตัววัดที่ติดไว้ด้านบนของอุปกรณ์ สเกลจะหยุดตรงค่าของเนื้อทุเรียนที่ได้ โดยมีสเกล 3 สี สีเขียว หมายถึงทุเรียนสุก เนื้อนิ่ม สีเหลือง หมายถึงทุเรียนห่าม สีแดง หมายถึงทุเรียนดิบ” นายจิตวัฒนา ตบท้าย

ด้าน นายเมธี ขำพวง นักศึกษาชั้น ปวส.จากแผนกวิชาเทคนิคการผลิต กล่าวว่า พื้นเพเดิมเป็นชาว อำเภอบางสะพานน้อย บ้านอยู่ใกล้กับสวนทุเรียนคลองลอย จึงมีแนวคิดร่วมกับเพื่อนในการออกแบบ เพื่อใช้อุปกรณ์วัดความสุกของทุเรียนอย่างง่ายที่สุด มีราคาถูก จากการใช้วัสดุอุปกรณ์ที่ผลิตจาก สแตนเลส มีต้นทุน 200 บาท โดยนำมาขึ้นรูปให้เหมาะสมกับการใช้งานของกลุ่มเป้าหมายทั้งผู้ขาย และผู้บริโภค จากนั้นได้นำไปทดสอบกับทุเรียนหมอนทองบ้านคลองลอย ปรากฏว่าได้ผลดี ขณะนี้มี ผู้สนใจหลายรายต้องการสั่งซื้อเพื่อนำไปใช้ตรวจสอบเนื้อทุเรียน เนื่องจากวิธีการใช้ไม่มีความซับซ้อน สามารถตรวจเนื้อทุเรียนเพื่อวัดความสุกที่ต้องการได้จริง

“หลังจากได้รับรางวัลในระดับชาติ คณะครูที่ปรึกษาจะนำสิ่งประดิษฐ์ไปทำการจดสิทธิบัตรจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา แต่ด้วยกลไกที่ไม่ซับซ้อน เชื่อว่าจะมีการผลิตลอกเลียนแบบได้ และอาจจะมีคุณภาพดีกว่า ซึ่งทุกคนที่ร่วมกันคิดค้นถือว่าเป็นการช่วยต่อยอด เพื่อให้ประชาชนที่ชอบบริโภคทุเรียนนำไปใช้ได้อย่างมีคุณภาพ สำหรับการผลิตอุปกรณ์จำหน่ายจะตั้งราคาไว้ที่ 1,000 บาท แต่ราคาจะลดลงได้อีกหากมีการผลิตจำหน่ายจำนวนมากในภาคอุตสาหกรรม”

ทุ่งบัวแดงบึงละหาน จังหวัดชัยภูมิ ชาวบ้านได้อนุรักษ์ไว้เพื่อให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งใน บึงละหาน บึงขนาดใหญ่เนื้อที่กว่า 18,000 ไร่ มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาและสัตว์น้ำจืดที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศ ในช่วงเดือนมกราคม-มิถุนายน จะมีบัวแดงขึ้นเต็มท้องทุ่ง โดยเฉพาะในเขตบ้านท่ามะเกลือ ตำบลหนองบัวใหญ่ อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ เริ่มมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาสัมผัส ทำให้ชาวบ้านที่นี่มีรายได้เสริมจากการบริการนักท่องเที่ยว ล่าสุด สำนักงานเกษตรจังหวัดชัยภูมิ ได้เปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงการเกษตร พร้อมจัดกิจกรรมเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ให้รู้จักกว้างขวางมากขึ้น

นายดำรงฤทธิ์ หลอดคำ เกษตรจังหวัดชัยภูมิ เปิดเผยว่า ทุ่งบัวแดงบึงละหาน มีความโดดเด่นเหมาะที่จะส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยว สร้างงาน สร้างรายได้ให้กับคนในท้องถิ่น และในบึงละหานยังมีปลาชะโดอาศัยอยู่อย่างชุกชุมอีกด้วย ซึ่งสามารถนำปลาชนิดนี้มาทำเป็นอาหารได้หลากหลาย ท่านที่สนใจต้องการไปสัมผัสการท่องเที่ยวเชิงเกษตรแบบนี้ สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานเกษตรจังหวัดชัยภูมิ

พาณิชย์เตรียมเสนอ กนป.อนุมัติ 5 มาตรการ แก้ปัญหาสต๊อกน้ำมันปาล์มล้น ราคาตกต่ำ คาด ผลผลิตออกสู่ตลาด 15 ล้านตัน มีส่วนเกิน 6 แสนตัน เชื่อช่วยพยุงราคา สร้างสมดุลการผลิตและ ใช้จริง เร่งเพิ่มสตาร์ตอัพที่มีขนาดตลาด 80-90 ล้านเหรียญ แตะ 2 พันราย หนุนธุรกิจนำดิจิทัลต่อยอดธุรกิจ

นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (พณ.) กล่าวภายหลังประชุมคณะอนุกรรมการเพื่อบริการจัดการปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มด้านการปาล์ม ที่กระทรวงพาณิชย์ว่า ที่ประชุมได้พิจารณาแนวทางลดปัญหาสต๊อกน้ำมันปาล์มล้นและราคาปาล์มตก โดยพิจารณา 4-5 มาตรการช่วยเหลือ และเตรียมนำเสนอคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ (กนป.) ในวันที่ 11 พฤษภาคมนี้พิจารณาเห็นชอบต่อไป โดยสถานการณ์ปาล์ม ทางสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) คาดผลปาล์มน้ำมันออกสู่ตลาด 15 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ (18%) หรือ 2.7 ล้านตันซีพีโอ แต่ความต้องการเพื่อบริโภคและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง และไบโอดีเซล รวม 2.4 ล้านตันซีพีโอ รวมกับสต๊อกเดิม และหักสต๊อกปกติเพื่อความมั่นคงทางอาหาร 2.5 แสนตัน ก็จะมีส่วนเกินประมาณ 6 แสนตัน