ในส่วนของการสนับสนุน อุตสาหกรรมร้อยเอ็ดร่วมกับสถาบันอาหาร

โดยสถาบันอาหารเป็นผู้วิจัยสูตรและกระบวนการผลิตทั้งหมด อีกทั้งยังคงเป็นที่ปรึกษาให้แก่โครงการในการทำการแปรรูป มีการสนับสนุนทางด้านงบประมาณเครื่องจักรในการแปรรูปจากข้าวที่หักเป็นขนมชิปปี้ไรท์บาร์ ขนมป๊อปไรซ์ ผลิตภัณฑ์ในปัจจุบันของกลุ่ม ได้แก่ ข้าว ข้าวหอมมะลิ ข้าวกล้อง ข้าวขาว ข้าวหอมมะลินิลสุรินทร์

คุณสมภพ เผยจุดเด่นของข้าวกลุ่มว่า “เมล็ดข้าวเรียวยาว สีขาว กลิ่นหอม รสสัมผัสนุ่ม”

ทางด้านการกำหนดราคาขาย ดังนี้ ข้าวหอมมะลินิลสุรินทร์ กิโลกรัมละ 95 บาท ต่อกิโลกรัม
ข้าวกล้องและข้าวขาว กิโลกรัมละ 75 บาท ต่อกิโลกรัม
โดยกิจกรรมของกลุ่มข้าวหอมมะลิเพชรทุ่งกุลาร้องไห้ มุ่งเน้นการผลิตและการจัดจำหน่ายข้าวหอมมะลิ ภายใต้สโลแกนกลุ่มที่ว่าด้วย “ขยัน ซื่อสัตย์ เสียสละ” เป็นสิ่งสำคัญ

ในส่วนของวิสัยทัศน์ของกลุ่ม “เป็นผู้นำในการผลิตและแปรรูปข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ที่มีมาตรฐานตรงต่อความต้องการของตลาดไทย” โดยควบคู่กับสโลแกนที่ว่า “อัญมณีแห่งผืนนาเมืองเกศข้าวหอมมะลิเพชรทุ่งกุลาร้องไห้”

ขนมโดนัทจากแป้งข้าวหอมมะลิ ที่ทุ่งกุลาร้องไห้ มีกลุ่มแปรรูปข้าวหอมมะลิหัก เป็นแป้งข้าวหอมมะลิ

ทางกลุ่มได้เรียนรู้ทำโดนัทจากแป้งข้าวหอมมะลิ

หัวเรี่ยวหัวแรงคือ คุณสุตาภัทร ถะเกิงผล อยู่ที่ 213 หมู่ที่ 9 ตำบลดงครั่งใหญ่ อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด

คุณสุตาภัทร เล่าว่า เริ่มจากซื้อแป้งในเครือข่ายกิโลกรัมละ 35 บาท เพื่อใช้ในการทำโดนัท เป็นแป้งจากข้าวเจ้าหอมมะลิ 100% ไม่มีกลูเตน ไม่เสี่ยงต่อการแพ้ในกลุ่มของผู้บริโภค คุณสุตาภัทร เผยจุดเด่นของโดนัทคือ “ความอร่อยและกลิ่นหอม อีกทั้งยังทำจากแป้งข้าวเจ้าหอมมะลิ 100%”

โดยคุณสมภพ เผยว่า “ปัจจุบันมีการส่งตรวจให้สถาบันอาหารช่วยคำนวณและช่วยตรวจค่าโภชนาการของโดนัท…อีกไม่นานคงทราบผล”

สนใจซื้อผลิตภัณฑ์ ผ่านช่องทางดังนี้ ผ่านเพจ : ข้าวเพชรทุ่ง ผ่านเบอร์โทร. (087) 248-2928 สั่งซื้อผ่าน Line ID : 087-248-2928 จากตัวเมืองตรังถึงอำเภอปะเหลียน ระยะทางราว 40 กว่ากิโลเมตร ระยะทางประมาณนี้ไม่ถือว่าไกลสำหรับการเดินทางในต่างจังหวัด ยิ่งเมื่อลัดเลาะลึกเข้าไปตามตำบลและหมู่บ้าน ห่างไกลจากถนนสายหลักด้วยแล้ว ความสดชื่นร่มรื่นที่ได้จากต้นไม้ระหว่างทางยิ่งเพิ่มพูนเข้าสู่ร่างกายไม่น้อยเลยทีเดียว แม้ว่าต้นไม้ส่วนใหญ่ที่เห็นได้ในภาคใต้เป็นสวนปาล์มและสวนยางพารา แต่ก็สร้างความจำเริญใจได้เป็นอย่างดี

ด้วยสภาพของพื้นที่ตำบลปะเหลียน เป็นภูมิประเทศที่ราบสลับกับเทือกเขาบรรทัด และลาดลงมาทางทิศตะวันตก จึงก่อให้เกิดน้ำตกขึ้นในพื้นที่ตำบลปะเหลียนหลาย ทั้งยังมีกลุ่มเขาเล็กๆ ตั้งสลับหว่างตลอดพื้นที่ ตลอดระยะทางกว่า 40 กิโลเมตร จึงเป็นการเดินทางที่ผ่อนคลายมากที่สุดในรอบสัปดาห์

จุดหมายปลายทางอยู่ที่ไร่วังน้ำค้าง หมู่ 11 ตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง ห่างจากบริเวณทางเข้าน้ำตกน้ำพ่าน ราว 5-6 กิโลเมตร ไร่วังน้ำค้างแห่งนี้ถูกโอบล้อมไปด้วยเขาเล็กๆ พอเรียกได้ว่า ตั้งอยู่ท่ามกลางหุบเขา อุณหภูมิบริเวณไร่จึงต่ำกว่าด้านนอก พื้นที่ทั้งหมด 150 ไร่ ครึ่งหนึ่งของพื้นที่ทั้งหมดปลูกส้มโชกุน ซึ่งมีถิ่นกำเนินอยู่ที่จังหวัดยะลา การเจริญเติบโตและลักษณะต้นคล้ายกับส้มเขียวหวาน ส่วนพื้นที่อีกครึ่งที่เหลือ เจ้าของไร่วังน้ำค้าง ปลูกไม้ผลอื่นอีก คือ ทุเรียน มังคุด และเงาะ

ไร่วังน้ำค้าง มีคุณอดิเรก คงวิทยา วัย 49 ปี เป็นเจ้าของ พืชที่ปลูกโดยรอบของไร่วังน้ำค้าง ส่วนใหญ่เป็นปาล์มและยางพารา หากจะเป็นพืชอื่นก็อยู่ในกลุ่มพืชไร่ที่ไม่ใช่ไม้ผล ดังนั้น บริเวณนี้มีเพียงไร่วังน้ำค้างแห่งเดียวที่ปลูกไม้ผลยืนต้นไว้รับประทานและจำหน่ายในเชิงพาณิชย์

คุณอดิเรก เป็นชาวจังหวัดตรังโดยกำเนิด ด้วยพื้นเพเป็นชาวใต้ การปลูกยางพาราก็เป็นสิ่งที่เห็นมาตลอดตั้งแต่เด็ก เมื่อเติบโตขึ้นมีที่ดินพอทำกิน จึงปลูกยางพาราเช่นเดียวกับเพื่อนบ้าน เมื่อมุมมองด้านการตลาดกว้าง จึงเล็งเห็นราคาผลผลิตที่สูงอย่างต่อเนื่องในตลาดผลไม้ จึงเปลี่ยนแนวคิดนำทุเรียนสายพันธุ์ดีจากจังหวัดจันทบุรีมาปลูก เริ่มต้นจากจำนวน 800 ต้น แต่เพราะไม่มีพื้นฐานความรู้ในการปลูกไม้ผล ทำให้ 8 ปีแรกไม่ได้ผลผลิต เมื่อศึกษาการปลูกทุเรียนอย่างจริงจัง กระทั่งได้ผลผลิตเป็นที่น่าพอใจ วางขายในตลาดเมืองตรังได้ราคาดี แต่พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนเป็นกระแสรักษ์สุขภาพ ปริมาณการบริโภคทุเรียนลดลง เมื่อคำนวนต้นทุนการผลิตแล้ว คุณอดิเรกเห็นว่าไม่คุ้ม จึงตัดสินใจเลิกปลูกจำหน่ายเชิงพาณิชย์

คุณอดิเรก ทิ้งช่วงการศึกษาหาพืชที่เหมาะสมกับตลาดและพื้นที่นานเกือบ 2 ปี ท้ายที่สุดมาสรุปที่ส้มโชกุน เพราะราคาขายตามท้องตลาดสูง เกษตรกรผู้ปลูกส้มโชกุนก็มีจำนวนไม่มาก ผลผลิตมีตลอดปี ราคาขายไม่ผันผวนตามตลาดมากนัก อีกทั้งส้มยังเป็นผลไม้ที่คนรักสุขภาพกินได้ และใช้ได้ในทุกเทศกาล

“ผมซื้อกิ่งตอนต้นส้มโชกุนมาจากอำเภอเบตง จังหวัดยะลา ครั้งแรกจำนวน 800 ต้น ลงปลูกในเนื้อที่ 12 ไร่ ปลูกไป 5 ปีแรก ส้มก็ออกดอก มั่นใจว่าได้ผลแน่นอน แต่ผิดคาด ถูกเพลี้ยทำลายหมด เป็นประสบการณ์ที่ต้องศึกษาให้ดีก่อนจะปลูกอะไร สุดท้ายก็ฝ่าฟันมา ได้ผลผลิตนำไปขายได้ในปีที่ 7 เข้าปีที่ 8 ของการปลูกทีเดียว”

โชคดีที่คุณอดิเรกมีแผงค้าผลไม้ในตลาดเมืองตรังเป็นของตนเอง จึงไม่ต้องพึ่งพาฝากขาย หรือรอให้พ่อค้าแม่ค้ารับซื้อมากดราคาถึงสวน เมื่อได้ผลผลิตจึงนำไปวางขายที่แผง แรกๆ ยังไม่ติดตลาด เพราะมือใหม่ยังดูแลผิวส้มไม่ดี ผิวจึงไม่สวย ขณะที่ส้มสายน้ำผึ้งกำลังเป็นที่นิยม ผิวสวย มันวาว กว่าจะทำให้ติดตลาดได้ใช้เวลาเกือบ 2 ปีทีเดียว

จากขายหน้าแผงของตนเอง ก็มีแม่ค้ามารับซื้อถึงสวน ให้ราคาสูงเป็นที่น่าพอใจ จนถึงปัจจุบัน ไม่ต้องพึ่งพ่อค้าแม่ค้าคนกลาง เพราะส่งผู้ค้ารายใหญ่ที่รับไปจำหน่ายในห้างสรรพสินค้าเท่านั้น

คุณอดิเรก ปลูกส้มโชกุน 2 แบบ คือ 1.ระยะห่างระหว่างต้น 6 เมตร ระยะห่างระหว่างแถว 4 เมตร และ 2.ระยะห่างระหว่างต้น 5 เมตร ระยะห่างระหว่างแถว 5 เมตร

แบบที่ 1 เป็นแปลงส้มโชกุนชนิดเดียว ไม่มีไม้ผลอื่นปะปน ส่วนแบบที่ 2 เป็นการปลูกส้มโชกุนในแปลงเงาะ ซึ่งระยะห่างระหว่างต้นและแถวของต้นเงาะอยู่ที่ 10X10 เมตร จึงจำเป็นต้องปลูกระยะห่างน้อยเกินไป โดยข้อเสียของการปลูกแบบที่ 2 คือ ต้นชิดกันเกินไป แต่มีวิธีแก้ไข โดยการแต่งกิ่งให้เล็กลงและสูงขึ้น แต่ปัญหาที่ตามมา คือ ต้องใช้แรงงานเก็บส้มที่อยู่สูง และการแต่งกิ่งสูง

ถึงตอนนี้ คุณอดิเรก เรียนรู้เกี่ยวกับส้มโชกุนไว้มาก จึงตอนกิ่งส้มโชกุนเอง แต่ไม่จำหน่าย ยกเว้นเกษตรกรที่สนใจจริงมาขอไปปลูกก็จะให้ ไม่คิดค่าใช้จ่าย

คุณอดิเรก อธบายถึงการปลูกว่า ก่อนปลูก ให้ขุดหลุมลึก 50 เซนติเมตร ปากหลุมกว้าง 50 เซนติเมตร วางกิ่งตอนลงหลุม แล้วนำปุ๋ยคอกคลุกเคล้ากับดินที่ขุดขึ้นมา กลบลงไปในหลุม ไม่ต้องอัดดินแน่น ไม่ต้องรดน้ำ เพราะลงปลูกในเดือนพฤษภาคม ซึ่งตรงกับฤดูฝน ส้มจะได้น้ำจากน้ำฝนในฤดูพอดี ซึ่งเป็นความโชคดีที่ดินบริเวณไร่วังน้ำค้างเป็นดินเหนียว สภาพของดินเหมาะสำหรับปลูกส้ม หากปลูกส้มที่ดินร่วมปนทราย จะทำให้ส้มมีรสชาติเปรี้ยวมากกว่าหวาน

“ปกติที่อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ต้นกำเนิดของส้มโชกุน สภาพดินเป็นดินเหนียว ด้วยสภาพดินที่อำเภอปะเหลียนเป็นดินเหนียวเหมือนกัน สภาพอากาศเหมือนกัน มีความชื้นสูง ตอนกลางคืนอุณหภูมิต่ำ ฤดูร้อนจะร้อนไม่มาก ทำให้ปลูกส้มได้ผลดี”

การให้น้ำส้ม นับตั้งแต่ลงปลูกจะงดให้น้ำจนกว่าจะเข้าฤดูร้อน ในช่วงเดือนมกราคม หรือ เดือนกุมภาพันธ์ หรือเมื่อส้มมีอายุประมาณ 8-9 เดือน เพราะดินที่ได้จากน้ำฝนจะอุ้มน้ำไว้และเก็บความชื้นได้นาน เมื่อเข้าสู่ฤดูร้อน ดินค่อนข้างแล้ง ให้รดน้ำโดยการเปิดสปริงเกลอร์ ประมาณ 20 นาที จากนั้นเว้นระยะ 5 วัน แล้วให้น้ำในปริมาณเท่าเดิมใหม่ ทำอย่างนี้กระทั่งเข้าฤดูฝน จึงหยุดให้น้ำ

สำหรับปุ๋ยนั้น คุณอดิเรก คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภค พยายามทำให้ส้มโชกุนของไร่วังน้ำค้างปลอดสารเคมีมากที่สุด โดยให้ปุ๋ยคอกในช่วงที่ฝนเริ่มตก โรยรอบต้น ไม่ต้องพรวนดิน และให้ครั้งเดียวต่อปี ส่วนปุ๋ยเคมีให้เฉพาะช่วงที่ต้องการให้ต้นสมบูรณ์ คือ ระหว่างที่ส้มมีอายุ 1-3 ปีแรก ควรให้ปุ๋ยเคมี ทุก 3-4 เดือน เมื่อต้นมีสภาพสมบูรณ์แล้ว ก็ให้เฉพาะปุ๋ยคอกเพียงอย่างเดียว

“ช่วงที่ส้มเริ่มติดผลจะงดให้ปุ๋ย แต่ถ้าพบว่ามีโรคและแมลงกวน ต้องฉีดสารเคมีฆ่าแมลง โดยให้หลังจากติดดอกบานแล้ว 1 ครั้ง และเมื่อผลส้มขนาดเท่าผลมะนาวอีก 1 ครั้งเท่านั้น เพื่อให้สารเคมีตกค้างหมดไปก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิตไปขาย”

การแต่งกิ่ง ควรเริ่มเมื่อส้มเริ่มแตกยอดอ่อนแรก เพื่อให้ส้มได้รับธาตุอาหารอย่างทั่วถึง ไม่แย่งอาหารกัน นอกจากแต่งกิ่งด้านนอกของต้นแล้ว ควรแต่งกิ่งด้านในของต้นด้วย เพื่อให้อากาศและแสงผ่านเข้าถึงต้นด้านใน ป้องกันโรคและแมลงที่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งการแต่งกิ่งด้านในให้อากาศและแสงผ่านเข้ากลางลำต้น ช่วยได้มาก โดยคุณอดิเรก บอกว่า การแต่งกิ่งด้านใน ช่วยลดปัญหาโรคและแมลงได้มาก ซึ่งตั้งแตปลูกส้มมาเป็นเวลากว่า 10 ปี ยังไม่ประสบปัญหาโรคและแมลงแม้แต่ครั้งเดียว

แต่สิ่งหนึ่งที่ถือว่ามีส่วนช่วยลดปัญหาโรคและแมลง นอกจากการตัดแต่งกิ่งแล้ว คุณอดิเรก ยังนำภูมิปัญญาชาวบ้านมาใช้ เพื่อกัดแมลงวันทองตัวผู้ คือ การนำขวดน้ำพลาสติกที่ไม่ใช้แล้ว เจาะรูขนาดพอให้แมลงวันทองบินเข้าไปได้ นำสำลีชุดยาฆ่าแมลงติดไว้บริเวณปากขวด ส่วนกลางขวดห้อยสารล่อแมลงวันทองตัวผู้ จะทำให้แมลงวันทองตัวผู้เข้าไปติดกับภายในขวดตาย และเมื่อไม่มีแมลงวันทองตัวผู้ การวางไข่ของแมลงวันทองตัวเมียก็จะไม่เกิดประโยชน์ ซึ่งภูมิปัญญาชาวบ้านเช่นนี้ ควรแขวนไว้ระยะห่างแต่ละชิ้น 20 เมตร หากใกล้ไป อาจทำให้แมลวันทองบินเข้าไปในขวดไม่ถูก และควรเปลี่ยนสำลีชุบยาแมลง รวมทั้งสารล่อแมลงวันทองตัวผู้ทุกๆ 45 วัน ส่วนผีเสื้อ ซึ่งเป็นแมลงศัตรูพืชอีกชนิด ใช้แรงงานคนจับ เพราะผีเสื้อจะมีจำนวนมากเฉพาะช่วงที่ผลไม้สุก และจับเฉพาะเวลากลางคืน เท่านั้น

คุณอดิเรก แนะนำว่า ส้มโชกุนที่ดี ต้องมีรสชาติหวานนำเปรี้ยวตาม ผลส้มโชกุนจะทรงแป้น หากสุกได้ที่บริเวณก้นจะบุ๋ม รสชาติจะหวานนำเปรี้ยวตามผลผลิตที่ได้ต่อรุ่นอยู่ที่ 80 กิโลกรัมต่อต้น คุณอดิเรก มีคนงานคัดแยกขนาดส้มโดยใช้เครื่อง บรรจุส้มที่ได้ขนาดไว้ให้ลูกค้าประจำมารับไป วางจำหน่ายขึ้นห้างสรรพสินค้าชื่อดังในกรุงเทพฯ บางส่วนที่ไม่ได้ขนาด คุณอดิเรกจะนำไปวางขายหน้าร้านในตัวเมืองตรัง ในราคากิโลกรัมละ 150 บาท

ส้มโชกุนขึ้นชื่อของจังหวัดตรัง ก็เห็นจะมีที่ไร่วังน้ำค้าง ของคุณอดิเรก เพียงท่านเดียว สวนส้มโชกุนแห่งนี้ เปิดกว้างให้ผู้สนใจเยี่ยมชมและศึกษา ติดต่อได้ที่ คุณอดิเรก คงวิทยา ไร่วังน้ำค้าง หมู่ 11 ตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง หรือโทรศัพท์ 087-271-5052

หัตถกรรมไม้ไผ่บ้านทุ่งต้อม อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย เป็นอีกกลุ่มอาชีพที่ชาวบ้านทุ่งต้อมตั้งใจอนุรักษ์ไม้ไผ่ พืชในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์ จึงร่วมมือร่วมใจกันผลิตงานหัตถกรรมจากไม้ไผ่โดยการนำทักษะ ภูมิปัญญา ผสมผสานกับการออกแบบให้มีความทันยุคสมัย เน้นการผลิตให้มีความเป็นธรรมชาติโดยไม่ใช้โลหะ นับเป็นผลงานของชาวบ้านที่ใช้ความละเอียด ประณีต คงทน และแข็งแรง กระทั่งได้รับความสนใจสั่งซื้อจนผลิตไม่ทัน

คุณสี น้อยฟ้า อยู่บ้านเลขที่ 162 หมู่ที่ 5 บ้านทุ่งต้อม ตำบลศรีดอนชัย อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย ประธานกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่ทุ่งต้อม บอกว่า งานไม้ไผ่เป็นอาชีพที่ชาวบ้านในพื้นที่ทำกันมานานเป็นรายได้เสริมซึ่งต่างคนต่างทำ ผลิตเป็นสิ่งของเครื่องใช้จากไม้ไผ่ ทำแบบซ้ำๆ ตั้งราคาแล้วขายกันเอง ขายได้บ้างไม่ได้บ้าง ทำให้เสียโอกาสเนื่องจากในพื้นที่มีไผ่อยู่จำนวนมาก

ดังนั้น เมื่อสักปีกว่าจึงมาหารือกันว่าควรรวมเป็นกลุ่มดีกว่า เพราะแต่ละคนมีความสามารถทักษะ ภูมิปัญญา จะได้นำออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ขณะเดียวกัน ตั้งใจว่าจะผลิตของใช้จากไผ่โดยไม่ใช้ตะปู/น็อต เพื่อต้องการจะอนุรักษ์ความเป็นธรรมชาติไว้ให้ได้มากที่สุด โดยใช้ภูมิปัญญามาคิดประดิษฐ์และสร้างสรรค์งานให้สวยงาม ผลิตให้ตรงตามที่ตลาดต้องการใช้จริงๆ อยู่บนมาตรฐานที่ถูกต้อง เพื่อให้มีแหล่งขายที่ชัดเจนแน่นอน มีรายได้ดีขึ้น

คุณสีบอกถึงวิธีคัดเลือกไผ่มาผลิตชิ้นงานว่า จะไปหาไผ่ในป่าเป็นไผ่บง โดยเลือกดูลำที่ตรงที่สุด มีขนาดสักขวดเบียร์ ต้องมีสีเขียวเข้ม โดยเข้าไปตัดในป่าเฉลี่ยเดือนละครั้ง หรืออาจเร็วกว่าถ้ามีออเดอร์จำนวนมาก หลังจากลำเลียงไม้ไผ่มาถึงที่กลุ่มยังไม่สามารถใช้งานได้ทันที แต่จะนำมาแช่น้ำไว้ก่อน อย่างน้อย 2 คืน เพื่อป้องกันไม่ให้มีปลวกหรือมอดเกิดขึ้นภายหลัง

ผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่แต่ละแบบจะตัดชิ้นงานตามขนาดต่างๆ ที่กำหนดไว้แน่นอน แยกทำเป็นชิ้นส่วนชิ้นงานแต่ละอย่างไว้ก่อน เจาะรูให้เรียบร้อย โดยมีการแบ่งหน้าที่ของสมาชิกกลุ่มให้รับผิดชอบทำชิ้นส่วน แล้วจึงค่อยนำมาประกอบเข้ากันให้เป็นผลิตภัณฑ์ก่อนนำท่อนไม้ไผ่ที่ตัดแล้วไปเผาเพื่อสร้างสีสันลวดลาย การเผามีลักษณะแตกต่างกันทั้งแบบสีดำ สีเขียว หรือลวดลาย ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของการออกแบบ ทั้งนี้ ต้องเผานานเท่าไรอยู่ที่ประสบการณ์ของสมาชิก

ภายหลังจากเผาเรียบร้อยแล้วให้นำมาขัดด้วยกระดาษทรายเพื่อขจัดรอยไหม้ และเศษอื่นๆ ออกไป จึงทำให้ท่อนไม้ไผ่มีความมันสวยงาม ซึ่งวิธีนี้เป็นการเพิ่มลวดลายแบบธรรมชาติตามแนวทางภูมิปัญญาดั้งเดิม ภายหลังที่ขัดเสร็จแล้วจะพบว่ามีลายไม้ที่ผสมกับรอยเผาจะเกิดความสวยงามทันที

“ส่วนข้อต่อขนาดเล็กจะต้องใช้ไม้รวกที่ต้องเลือกขนาดให้มีความพอดีกับรูที่เจาะเตรียมไว้ และการประกอบเพื่อให้เข้าเป็นรูปทรงทำเป็นสลัก ลิ่ม เพื่อยึดชิ้นส่วนต่างๆ แล้วใช้เส้นหวายสำหรับเป็นวัสดุมัดยึดให้แน่น แข็งแรง ทั้งนี้ ก่อนนำเส้นหวายมาใช้จะต้องนำไปแช่น้ำก่อนเพื่อให้เหนียวป้องกันไม่ให้ขาดตอนมัด

จากนั้นจะฉีดพ่นยากันมอดเป็นขั้นตอนสุดท้ายเพื่อให้ผลิตภัณฑ์อยู่ได้นานเป็น 10 ปี แล้วจึงลงน้ำมันเคลือบเงา ดังนั้น งานทุกชิ้นที่ผลิตออกขายจึงล้วนมาจากการใช้ภูมิปัญญาโบราณที่ไม่จำเป็นต้องใช้โลหะเป็นตัวยึด แล้วถือเป็นจุดเด่นของสินค้าที่มาจากธรรมชาติล้วน”

สำหรับผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ที่กลุ่มผลิตเป็นหลัก ได้แก่ ชุดโต๊ะ-เก้าอี้ญี่ปุ่น และเก้าอี้นั่งแบบปรับเอนนอน นอกจากนั้น ยังผลิตเป็นของใช้ในครัวเรือน หรือสิ่งของตกแต่งบ้านตามความเหมาะสม แต่ละครั้งที่ผลิตถ้าเป็นชุดโต๊ะ-เก้าอี้ญี่ปุ่น สามารถผลิตได้วันละ 1 ชุด โดยกำหนดราคาขายชุดโต๊ะ-เก้าอี้ญี่ปุ่น 5,500 บาท ส่วนเก้าอี้นั่งแบบปรับเอนนอน ราคาตัวละ 1,000 บาท

งานหัตถกรรมจากไผ่ของกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่ทุ่งต้อม เกิดขึ้นจากความร่วมแรงกายใจของชาวบ้านในชุมชนซึ่งได้ถ่ายทอดชิ้นงานออกมาจากประสบการณ์ ความรู้ ภูมิปัญญาที่ถูกสะสมมา พร้อมกับร่วมแสดงความคิดเห็นและเสนอไอเดียต่างๆ อีกทั้งการแบ่งงาน แบ่งหน้าที่ของสมาชิกมีส่วนช่วยทำให้เกิดความรวดเร็ว แม่นยำ มีความละเอียดเรียบร้อย เพราะทุกคนต้องรับผิดชอบด้วยการตรวจสอบคุณภาพงานก่อน

ขณะเดียวกัน ได้รับความช่วยเหลือทางด้านองค์ความรู้จากหน่วยงานราชการต่างๆ อย่างกรมพัฒนาฝีมือแรงงานเชียงราย ทำให้สมาชิกมีความรู้เพิ่มขึ้นจึงทำให้ผลงานที่ออกมาทุกชิ้นมีความสวยงาม น่าจับต้อง เป็นที่สนใจของตลาดช่วยให้ขายได้คล่อง ได้ราคาดีกว่าทำเอง

“สินค้าของกลุ่มผลิตไม่ทัน ลูกค้าต้องสั่งจองล่วงหน้าเป็นเดือนเพราะมีคิวจองต่อเนื่อง ทั้งนี้ เพราะต้องใช้ความละเอียด ประณีตทุกขั้นตอน ทั้งนี้ ภายหลังจากผลิตเสร็จสมบูรณ์แล้วจะต้องมีการตรวจสอบตามรอยต่อ ความแน่นหนาของหวายที่มัดเพื่อให้มั่นใจว่ามีความแข็งแรง ปลอดภัยต่อลูกค้าอย่างแท้จริง เพราะไม่ต้องการให้เสียชื่อ” คุณสี กล่าวทิ้งท้าย

แม้ว่าจะมีนวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่สามารถผลิตสิ่งของเครื่องใช้ให้มีความทนทาน แข็งแรง ทันสมัย จนทำให้คุณค่าจากประโยชน์ของไผ่ลดลง แต่ถึงอย่างไรไผ่ก็ยังเป็นพืชที่รักษาเอกลักษณ์ความมีเสน่ห์ไว้สืบต่อไป…

สอบถามรายละเอียดสั่งซื้อผลิตภัณฑ์จากไผ่ของกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่ทุ่งต้อม ได้ที่ คุณพิชญาภา โทรศัพท์ (063) 772-0565 บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เปิดบู๊ธในงานมหกรรมอาหารโลก Anuga 2019 ที่เริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการที่เมืองโคโลญ ประเทศเยอรมนี ได้รับความสนใจจากผู้ร่วมงานอย่างคึกคัก และผลิตภัณฑ์ วีแกนลาซานญ่า แบรนด์ PURE ของ ท็อปส์ ฟู้ดส์ ได้เป็น 1 ใน 64 สุดยอดนวัตกรรมของงานนี้อีกด้วย

นายประสิทธ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร ซีพีเอฟ กล่าวว่า การร่วมมหกรรมอาหารและเครื่องดื่มที่ยิ่งใหญ่ระดับโลกอย่าง Anuga 2019 นับเป็นโอกาสที่ดีในการสร้างภาพลักษณ์ความเป็นผู้นำด้านอาหารครบวงจรที่ขับเคลื่อนด้วยการพัฒนาอย่างยั่งยืนบนเวทีการค้าสากล ด้วยการนำเสนอบู๊ธ ภายใต้แนวคิด Put Our Heart into Food บนพื้นฐานของ Innovation – People – Planet และยินดีที่ผลิตภัณฑ์ของบริษัทได้รับเลือกเป็นหนึ่งในสุดยอดนวัตกรรมในครั้งนี้ สะท้อนถึงการเป็นผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมอาหารบนเวทีโลกให้ชัดเจนยิ่งขึ้น

วีแกนลาซานญ่า แบรนด์ PURE เป็นผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมทานไม่มีเนื้อสัตว์ ผลิตด้วยเทคโนโลยีไมโครเวฟช่วยรักษารสชาติและคุณค่าทางโภชนาการ ไม่ต้องใช้สารปรุงแต่งอาหาร และมีอายุการเก็บรักษานานโดยไม่ใช้สารกันเสีย และที่สำคัญใช้บรรจุภัณฑ์ที่ทำจากเยื่อไม้สนย่อยสลายได้ ช่วยลดการใช้พลาสติก 85% ได้ผลตอบรับที่ดีจากผู้บริโภคหลังทดลองตลาด ที่ผ่านมายังได้รับรางวัลจาก Mercury’s 2018 สถาบันที่ดูแลมาตรฐานการบริการของธุรกิจสายการบิน และได้เป็นสุดยอดนวัตกรรมของ THAIFEX 2019 อีกด้วย

ขณะเดียวกัน “ไก่เบญจา” นวัตกรรมเนื้อไก่สดพรีเมียม แบรนด์ ยู ฟาร์ม เปิดตัวสู่ตลาดยุโรปเป็นครั้งแรก ได้รับการตอบรับที่ดี คู่ค้าพึงพอใจในคุณลักษณะเด่น ทั้งความนุ่ม ฉ่ำกว่าเนื้อไก่ทั่วไป มาจากธรรมชาติ 100% ปลอดการใช้ยาปฏิชีวนะและฮอร์โมนเร่งโต ตอบโจทย์เทรนด์ผู้บริโภคยุคใหม่ที่ให้ความสำคัญเรื่องคุณค่าทางโภชนาการและสุขภาพ

นอกจากนี้ การร่วมงาน Anuga 2019 ยังช่วยให้บริษัทได้รับรู้การเปลี่ยนแปลงเทรนด์อาหารของโลก เพื่อนำไปพัฒนาและปรับปรุงนวัตกรรมอาหารที่สอดคล้องกับโจทย์และความต้องการของผู้บริโภคทั่วโลกได้

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี – ซีพีเอฟ รันนิ่ง คลับ โดย บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) นำนักวิ่งกว่า 4,000 คน ร่วม เดิน-วิ่ง การกุศล CP ISAN RUN FOR CHARITY 2019 ปลุกพลังชาวโคราชออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ และร่วมสร้างประโยชน์ให้แก่ชุมชน นำรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายรวม 551,180 บาท สมทบทุนจัดซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ให้แก่โรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา และโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี โดยมี นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานเปิดงาน พร้อมด้วย นายวิโรจน์ คัมภีระ ประธานชมรม ซีพีเอฟ รันนิ่ง คลับ นายแพทย์จิรศักดิ์ วิจักขณาลัญฉ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา และ อาจารย์ ดร. นรีลักษณ์ สุวรรณโนบล หัวหน้าสาขาการพยาบาลครอบครัวและผดุงครรภ์ สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์และหัวหน้ากลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ร่วมเปิดงานในครั้งนี้

นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า ยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ซีพีเอฟ จัดกิจกรรมรณรงค์ให้ประชาชนในจังหวัดนครราชสีมาได้มาออกกำลังกายกันอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 แล้ว โดยครั้งนี้ยังคงได้รับการตอบรับจากพี่น้องประชาชนชาวโคราชและจังหวัดใกล้เคียงเป็นอย่างดี เข้าร่วม เดิน-วิ่ง กันอย่างคับคั่ง ถือเป็นการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ และส่งเสริมการท่องเที่ยวในท้องถิ่นตามนโยบายของรัฐ

นายวิโรจน์ คัมภีระ รองกรรมการผู้จัดการบริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ในฐานะประธานชมรม ซีพีเอฟ รันนิ่ง คลับ กล่าวว่า สำหรับ CP ISAN RUN FOR CHARITY 2019 เดิน-วิ่ง การกุศล ครั้งนี้ จัดขึ้นโดยความร่วมมือระหว่าง ชมรมซีพีเอฟ รันนิ่ง คลับ และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชสีมา ซึ่งมีโรงงานผลิตอาหารสัตว์บกซีพีเอฟ ปักธงชัย (PTF) โคกกรวด (KRF) และ ขอนแก่น (KKF) ผนึกกำลัง 3 โรงงาน ร่วมกันเป็นเจ้าภาพจัดงานในครั้งนี้ นอกจากจะเป็นการเชื่อมสัมพันธ์ และสร้างความสามัคคีให้กับพนักงานแล้ว ยังสานต่อแนวคิด และนโยบายของ ซีพีเอฟ ที่ต้องการส่งเสริมให้พนักงาน ตลอดจนคนในชุมชุนรอบสถานประกอบการ หันมาวิ่งออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ และทำประโยชน์ให้แก่สังคม โดยนำเงินรายได้จากการสมัคร หลังหักค่าใช้จ่าย สมทบทุนจัดซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ให้แก่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีและโรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา แห่งละ 275,590 บาท

นายแพทย์จิรศักดิ์ วิจักขณาลัญฉ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา และ อาจารย์ ดร. นรีลักษณ์ สุวรรณโนบล หัวหน้าสาขาการพยาบาลครอบครัวและผดุงครรภ์ สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์และหัวหน้ากลุ่มการพยาบาลโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี กล่าวร่วมกันว่า รู้สึกดีใจที่ประชาชนให้ความสนใจมาร่วมออกกำลังกายกันอย่างคึกคัก ส่งเสริมการสร้างสุขภาพที่ดี ป้องกันกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-communicable diseases; NCDs) และขอขอบคุณ ซีพีเอฟ และประชาชนทุกคน ที่ร่วมสนับสนุนอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้กับโรงพยาบาล ช่วยเพิ่มศักยภาพในการรักษาพยาบาล ให้สามารถรองรับปริมาณของผู้ป่วยในจังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดใกล้เคียงได้อย่างเพียงพอ